น้ำมันพืช – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 31 Jan 2024 10:27:31 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดแผน “ล่ำสูง” เจ้าของ “หยก” น้ำมันปาล์มเบอร์ 2 ของตลาด บุกหนักกลุ่มน้ำมันพืชเพื่อสุขภาพ https://positioningmag.com/1460982 Wed, 31 Jan 2024 05:50:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460982
  • “ล่ำสูง” บริษัทเจ้าของน้ำมันพืชตรา “หยก” ประกาศความสำเร็จขึ้นเป็นเบอร์ 2 ในตลาดน้ำมันปาล์ม แผน 5 ปีข้างหน้าขอท้าชิงเบอร์ 1
  • ลุยผลักดันสินค้าพรีเมียมกลุ่มน้ำมันพืชเพื่อสุขภาพผ่านแบรนด์ “หยก เอ็กซ์ตร้า” และ “เนเชอเรล” เชื่อตลาดเติบโตสูงหลังผู้บริโภครักสุขภาพมากขึ้นและกลุ่มขนมเบเกอรีมาแรง
  • บริษัท ล่ำสูง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) อาจไม่คุ้นหูคนไทย แต่ถ้าเอ่ยชื่อน้ำมันพืชตรา “หยก” คงมีน้อยคนนักที่ไม่รู้จัก เพราะเป็นน้ำมันพืชที่ทำยอดขายได้อันดับต้นๆ ของตลาดและอยู่มานาน

    โดยตัวบริษัทล่ำสูงเองปีนี้ก่อตั้งครบรอบ 50 ปี มีสินค้าหลักคือน้ำมันปาล์ม และมีซัพพลายเชนการผลิตครบวงจรตั้งแต่ธุรกิจปลูกปาล์มน้ำมัน โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบใน จ.ตรัง จนถึงโรงกลั่นน้ำมันปาล์มที่นิคมฯ บางปู จ.สมุทรปราการ รวมถึงมีไลน์ธุรกิจจากการเข้าซื้อกิจการ บริษัท อาหารสากล จำกัด (มหาชน) หรือ UFC ผลิตสินค้ากลุ่มผักผลไม้กระป๋อง น้ำผลไม้พร้อมดื่ม และซอสปรุงรสแบรนด์ UFC ทั้งหมดนี้ทำรายได้ให้บริษัทเมื่อปี 2565 ไป 11,670 ล้านบาท กำไรสุทธิ 432 ล้านบาท

    เจาะเฉพาะตลาด “น้ำมันพืช” ข้อมูลจาก Euromonitor สำรวจตลาดน้ำมันพืชในไทยปี 2563 พบว่ามีมูลค่าตลาดเกือบ 25,000 ล้านบาท และมีผู้เล่นหลัก 5 แบรนด์ คือ มรกต, องุ่น, หยก, เกสร และกุ๊ก

    ตลาดน้ำมันพืชยังแบ่งสัดส่วนตามชนิดน้ำมันด้วย ได้แก่ น้ำมันปาล์ม 56% น้ำมันถั่วเหลือง 40% น้ำมันรำข้าว 2% และน้ำมันพืชอื่นๆ 2%

    ล่ำสูง หยก
    ตัวอย่างพอร์ตสินค้าของ “ล่ำสูง”

    ส่วนในพอร์ตสินค้าของล่ำสูงปัจจุบัน เรียกได้ว่ามีครบทุกประเภทน้ำมันที่ท้องตลาดต้องการ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันตลาดแมสอย่าง น้ำมันปาล์ม กับ น้ำมันถั่วเหลือง รวมถึงกลุ่มน้ำมันเพื่อสุขภาพ ได้แก่ น้ำมันรำข้าว, น้ำมันคาโนล่า, น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันทานตะวัน, และน้ำมันมะกอก ทำให้พร้อมทำการตลาดกับผู้บริโภคในทุกประเภทสินค้า

     

    “หยก” ขึ้นแท่นที่ 2 ในตลาดน้ำมันปาล์ม

    สำหรับทิศทางธุรกิจของล่ำสูงในทศวรรษที่หกนี้ “ภูมิเกียรติ โชติชัยชรินทร์” กรรมการผู้จัดการ และ “ณฐภา เศรษฐนันท์” ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์น้ำมันพืชหยก สองผู้บริหารจากล่ำสูงร่วมให้ข้อมูล ชูกลยุทธ์แข่งขันต่อในตลาดน้ำมันปาล์ม และจะบุกหนักผลักดันสินค้าน้ำมันพืชเพื่อสุขภาพด้วย

    ผู้บริหารล่ำสูง: (จากซ้าย) “ณฐภา เศรษฐนันท์” ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์น้ำมันพืชหยก, “ภูมิเกียรติ โชติชัยชรินทร์” กรรมการผู้จัดการ และ “ปิยธิดา สุขจันทร์” กรรมการบริหาร – การสร้างกิจกรรมตอบแทนสังคมเพื่อความยั่งยืน

    ปัจจุบันพอร์ตรายได้ของล่ำสูงหลักๆ 85% มาจากน้ำมันปาล์ม และสินค้าจากปาล์ม เช่น มาการีน ส่วนที่เหลือ 15% คือน้ำมันเพื่อสุขภาพและสินค้าอื่นๆ เช่น แป้งสาลี, พาสต้า

    ผู้บริหารล่ำสูงระบุว่า น้ำมันปาล์ม “หยก” จะยังคงเป็นสินค้าเรือธงของบริษัท โดยเมื่อปลายปี 2566 บริษัทสามารถดันยอดขาย “หยก” ให้ขึ้นเป็นเป็นแบรนด์อันดับ 2 ในตลาดน้ำมันปาล์มสำเร็จ

    อย่างไรก็ตาม แบรนด์อันดับ 1 คือ “มรกต” นั้นยังมีส่วนแบ่งตลาดที่สูงกว่ามาก แต่บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะท้าชิงอันดับ 1 ให้ได้ภายใน 5 ปี

     

    ยึดฐานแฟนคลับให้มั่น – ดึงแบรนด์ให้เด็กลง

    การจะขึ้นไปตีชิงตลาดน้ำมันปาล์มมาได้นั้น หยกได้วางแผนไว้ทั้งการยึดฐานเดิม และดึงคนหนุ่มสาวให้เข้าหาแบรนด์มากขึ้นด้วย

    “ผลวิจัยตลาดชัดเจนว่า น้ำมันปาล์มซึ่งเป็นสินค้าแมสนั้นผู้บริโภคจะมองปัจจัยแรกคือ ‘ราคา’ แต่ถ้าสมมติในตลาดมี 3-4 ยี่ห้อราคาเท่ากัน ปัจจัยถัดมาที่ผู้บริโภคสนใจก็จะมองเรื่องรูปลักษณ์ ทั้งสีของน้ำมันในขวด การออกแบบขวด ฉลาก และโลโก้ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปัจเจกที่แต่ละคนชอบไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ถ้าชอบแบบไหนก็จะชอบแบบนั้นไปตลอด” ณฐภากล่าว

    หยก น้ำมันพืช
    น้ำมันพืช หยก เอ็กซ์ตร้า

    ดังนั้น การตลาดต่อจากนี้หยกจะพยายามสร้าง ‘คอมมูนิตี้’ ออนไลน์ โดยเน้นที่คนรักการทำอาหาร เพื่อให้คนที่ติดใจแบรนด์หยกยังคงเลือกซื้อหยกอย่างต่อเนื่อง

    อีกส่วนหนึ่งคือการทำตลาดผ่าน KOL และ Content Creator โดยเฉพาะในช่องทางที่กำลังมาแรงอย่าง TikTok

    “เดี๋ยวนี้คนชอบดูคอนเทนต์จาก KOL มากกว่าเซเลปที่ดังมากๆ เพราะคอนเทนต์รู้สึก ‘เรียล’ ดูใช้จริงมากกว่า กลายเป็นว่าการใช้ KOL ที่ยอดติดตามอาจจะไม่เกิน 5 หมื่นคน กลับได้ผลกว่าสำหรับสินค้าเรา” ณฐภากล่าว “การใช้ KOL ยังตรงเป้าหมายของเราที่อยากเจาะกลุ่มผู้บริโภควัยประมาณ 25-30 ปีมากขึ้น กลุ่มนี้เขาจะเริ่มเป็นวัยรับหน้าที่ซื้อของเข้าบ้าน กลายเป็นคนตัดสินใจซื้อ เราจึงต้องทำแบรนด์ให้เด็กลงเพื่อเจาะเขาให้ได้”

     

    น้ำมันพืช “เพื่อสุขภาพ” เจาะราคาพรีเมียม

    อีกเป้าหมายหนึ่งของล่ำสูงคือการเจาะตลาดน้ำมันพืชเพื่อสุขภาพ ซึ่งทางภูมิเกียรติ เอ็มดีล่ำสูงมองว่า คนไทยเริ่มใส่ใจสุขภาพมากขึ้นในช่วงโควิด-19 ทำให้ยอดขายน้ำมันพืชกลุ่มนี้ดีขึ้น และน่าจะเป็นเทรนด์ต่อเนื่องในระยะยาว

    รวมถึงมีเทรนด์จากกลุ่มขนมเบเกอรีที่ขายดีขึ้น เป็นที่นิยมของคนไทย และขนมประเภทนี้จะนิยมใช้ส่วนผสมจากน้ำมันคาโนล่าและน้ำมันทานตะวัน ภาพรวมของน้ำมันพืชเพื่อสุขภาพจึงมีอนาคตที่สดใส

    น้ำมันพืช เนเชอเรล ใช้บุกตลาดระดับพรีเมียม

    ขณะนี้ทางล่ำสูงสร้างแบรนด์สำหรับน้ำมันพืชเพื่อสุขภาพไว้ 2 ระดับ คือ ตลาดระดับกลางใช้แบรนด์ “หยก เอ็กซ์ตร้า” ส่วนตลาดระดับพรีเมียมใช้แบรนด์ “เนเชอเรล”

    “เราจะเน้นผลักดันน้ำมันพืชเพื่อสุขภาพกับกลุ่มรายได้ระดับบนและระดับกลางก่อน เพราะพวกเขาคือผู้มีกำลังซื้อสูงที่สุด สามารถเลือกรับประทานและนำไปบอกต่อได้” ภูมิเกียรติกล่าว

    โดยปัจจุบันล่ำสูงระบุว่าบริษัทเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันคาโนล่าแล้ว และจะพยายามทำตลาดในกลุ่มน้ำมันเพื่อสุขภาพอื่นๆ ให้ได้ยอดขายสูงขึ้นทั้งหมด

    ภูมิเกียรติกล่าวปิดท้ายถึงแนวโน้มตลาดน้ำมันพืชในปี 2567 ว่า ปีนี้อาจจะยังเป็นปีที่ “น้ำมันปาล์ม” ขายดีกว่า “น้ำมันพืชเพื่อสุขภาพ” ด้วยภาวะเศรษฐกิจยังมีผลต่อการเลือกซื้อ ผู้บริโภคเน้นที่ราคาเป็นหลัก แต่เชื่อว่าใน 3-5 ปีนี้เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น น้ำมันพืชเพื่อสุขภาพน่าจะกลับมาทำยอดเติบโตดีเหมือนในช่วงโควิด -19 เกิดขึ้น

    ]]>
    1460982
    อินโดฯ ห้ามส่งออก ‘น้ำมันปาล์ม’ ทุกประเภท สะเทือนตลาดโลก https://positioningmag.com/1383375 Thu, 28 Apr 2022 12:10:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383375 รัฐบาลอินโดฯ สั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มทุกประเภทหลังเกิดปัญหาขาดเเคลนในประเทศ สร้างความวิตกต่อตลาดโลกที่ราคาพุ่งแตะจุดสูงสุดแล้ว

    อินโดนีเซีย กำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำมันสำหรับประกอบอาหารภายในประเทศ จนทำให้ราคาขายในตลาดพุ่งสูงขึ้น ผู้บริโภคในหลายเมืองต้องรอนานเป็นชั่วโมงเพื่อต่อคิวซื้อสินค้าจำเป็น

    โดยรัฐบาลจะขยายมาตรการระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม เป็นห้ามการส่งออกผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปาล์มทุกประเภท ทั้งน้ำมันปาล์มดิบ (CPO), น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (RPO), น้ำมันปาล์มโอเลอิน (RBD), น้ำมันทิ้งจากกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม (POME) และน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว รวมถึงปาล์มดิบด้วย หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยประกาศว่าจะระงับการส่งออกเฉพาะผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มโอเลอินเท่านั้น

    การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สอดคล้องกับการตัดสินใจของประธานาธิบดี หลังจากได้พิจารณาข้อเสนอแนะและความคิดเห็นจากประชาชนเเล้ว” 

    โดยรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการจัดสรรปริมาณน้ำมันพืชให้เพียงพอต่อประชากร 270 ล้านคนเป็นลำดับแรก

    ประธานาธิบดี Joko Widodo กล่าวว่า อินโดนีเซียเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลก เเต่กลับประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมันพืชที่ใช้ประกอบอาหาร

    โดยรัฐบาลวางแผนกลับมาส่งออกน้ำมันปาล์มอีกครั้ง หากราคาน้ำมันปาล์มในประเทศลดลงเหลือลิตรละ 14,000 รูเปียห์ จากที่ตอนนี้ราคาน้ำมันปาล์มในประเทศพุ่งขึ้นไปที่ลิตรละ 26,000 รูเปียห์ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

    ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มคิดเป็น 60% ของปริมาณทั้งหมดในตลาดโลก โดยมีอินเดีย จีน สหภาพยุโรปและปากีสถาน เป็นประเทศนำเข้าน้ำมันปาล์มรายใหญ่จากอินโดนีเซีย

    AFP รายงานว่า ปัญหาขาดแคลนน้ำมันปาล์มในอินโดนีเซีย ยืดเยื้อมานานหลายเดือน อันเป็นผลมาจากกฎหมายที่ไม่รัดกุมและความไม่เต็มใจของผู้ผลิตน้ำมันปาล์ม ที่ไม่อยากนำสินค้าวางขายในประเทศ เเต่ไปเน้นส่งออกไปขายต่างประเทศแทน เพราะเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันพืชในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ผลิตได้กำไรมากกว่า

    ขณะเดียวกัน วิกฤตรัสเซียยูเครนก็มีส่วนทำให้ราคาน้ำมันพืชพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้

    โดยธนาคารโลก ได้เตือนถึงวิกฤตราคาอาหารเเละพลังงานพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปี นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ซึ่งครัวเรือนยากจนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากพวกเขาต้องแบ่งรายได้มาใช้สำหรับค่าอาหารและพลังงานมากขึ้น

     

    ที่มา : Reuters , AFP 

    ]]>
    1383375
    ซูเปอร์มาร์เก็ตในอังกฤษ จำกัดซื้อ ‘น้ำมันพืช’ จากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน อินโดฯ ระงับส่งออก https://positioningmag.com/1382552 Sun, 24 Apr 2022 09:34:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382552 ค้าปลีกยักษ์ใหญ่อย่าง Tesco เเละซูเปอร์มาร์เก็ตรายอื่นๆ ในสหราชอาณาจักร ประกาศจำกัดการซื้อน้ำมันพืชของลูกค้า ท่ามกลางภาวะขาดเเคลนจากผลกระทบวิกฤตรัสเซียยูเครนเเละอินโดนีเซียสั่งระงับส่งออกน้ำมันปาล์มไปต่างประเทศ

    โดย Tesco กำหนดให้ลูกค้าสามารถซื้อน้ำมันพืชได้ไม่เกินคนละ 3 ขวด ส่วนห้าง Waitrose และ Morrisons มีผู้ซื้อจำกัดที่ละ 2 รายการ จำกัดให้ลูกค้าซื้อได้ไม่เกินคนละ 2 ขวด

    ผลิตภัณฑ์น้ำมันดอกทานตะวันส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรนำเข้ามาจากยูเครน การรุกรานยูเครนของรัสเซียส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออก ทำให้เกิดการขาดแคลนและต้องหาน้ำมันพืชอื่นๆ มาทดแทนเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันปรุงอาหารเเพงขึ้นตามไปด้วย

    สมาคมผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกแห่งสหราชอาณาจักร ระบุว่า ข้อจำกัดนี้จะเป็นเพียงมาตรการชั่วคราวเท่านั้นเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนจะเข้าถึงสินค้า

    โดยกลุ่มน้ำมันมะกอกและน้ำมันดอกทานตะวัน จะอยู่ในลิสต์ที่ถูกจำกัดการซื้อตามซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่ง ทั้งในหน้าร้านและสั่งทางออนไลน์

    “ผู้ค้าปลีกกำลังทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์เพื่อเพิ่มการผลิตน้ำมันปรุงอาหารทางเลือก เพื่อลดผลกระทบต่อผู้บริโภค”

    บริษัทวิจัยค้าปลีก Assosia วิเคราะห์ว่า อุปทานน้ำมันดอกทานตะวันที่ลดลงอันเป็นผลมาจากความขัดแย้งในยูเครนกำลังส่งผลกระทบต่อราคาในตลาด โดยพบว่า น้ำมันดอกทานตะวันยี่ห้อหนึ่งมีการปรับขึ้นราคามากกว่า 10% ตั้งเเต่ช่วงเดือนม.ค.ที่ผ่านมา

    ด้านรัฐบาลอินโดนีเซีย เพิ่งตัดสินใจออกคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มไปต่างประเทศ โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 เม..นี้ เพื่อเป็นการช่วยตรึงราคาไม่ให้พุ่งขึ้นไปกว่านี้ และแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มที่ใช้ทำอาหารภายในประเทศ

    ทั้งนี้ อินโดนีเซียถือเป็นหนึ่งในประเทศส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุด คิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดโลกและเป็นสินค้าเกษตรที่เป็นรายได้สำคัญของประเทศ

     

    ที่มา : BBC , theguardian 

     

    ]]>
    1382552
    สงครามรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อ ดัน ‘ราคาอาหารโลก’ พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ https://positioningmag.com/1381139 Fri, 08 Apr 2022 17:19:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381139 ราคาอาหารโลก แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมีนาคม จากผลกระทบสงครามรัสเซียยูเครนที่ส่งผลต่อตลาดสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิด โดยเฉพาะธัญพืชและน้ำมันพืช

    รายงานล่าสุดขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เปิดเผยว่า การหยุดชะงักของภาคการส่งออกและการคว่ำบาตรจากนานาชาติต่อรัสเซีย กระตุ้นให้เกิดความกังวลต่อวิกฤตความอดอยากทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งตอนนี้ผลกระทบดังกล่าวยังดำเนินอยู่ต่อเนื่อง

    รัสเซียและยูเครน นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่เพาะปลูกธัญพืชหลักของโลก โดยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์หลักหลายรายการ อย่างเช่น ข้าวสาลี น้ำมันพืช และข้าวโพด

    ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อาหารโลกพุ่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในเดือนมีนาคม แตะระดับสูงสุดเท่าที่เคยมีมา หลังความตึงเครียดของสงคราม สร้างความวิตกไปทั่วตลาด” FAO ระบุในแถลงการณ์

    ดัชนีราคาอาหารของ FAO รายงานสถิติสูงสุดในเดือนก.. พุ่งขึ้น 12.6% เมื่อเดือนที่แล้ว เเละเป็นการขึ้นเเบบก้าวกระโดดครั้งใหญ่สู่ระดับสูงสุดใหม่ นับตั้งแต่ FAO ก่อตั้งมาในปี 1990

    โดยดัชนีราคาอาหาร ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงรายเดือนของสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อขายมากสุดทั่วโลก เฉลี่ยที่ 159.3 จุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

    สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์มีราคาปรับขึ้นทำสถิติใหม่เป็นประวัติการณ์ ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมันพืช ธัญพืช และเนื้อสัตว์ ขณะที่ราคาน้ำตาลและผลิตภัณฑ์จากนม ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างมากเช่นกัน

    ทั้งนี้ รัสเซียและยูเครน มีการส่งออกข้าวสาลีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นอันดับต้นๆ ของโลก คิดเป็นสัดส่วนถึง 30% ของการบริโภคข้าวสาลี และ 20% ของการบริโภคข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั่วโลก

    ขณะที่เเหล่งเพาะปลูกข้าวสาลีแห่งอื่นอย่างสหรัฐฯ ก็เจอผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ ทำให้ราคาข้าวสาลีในสหรัฐฯ พุ่งขึ้นเกือบ 20%

    ด้านดัชนีราคาน้ำมันพืชของ FAO เพิ่มขึ้น 23.2% โดยได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันเมล็ดทานตะวันที่สูงขึ้น เนื่องจากยูเครนเป็นชาติผู้ส่งออกหลัก ผลกระทบด้งกล่าวทำให้ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งในยุโรปต้องจำกัดการซื้อน้ำมันพืชเพื่อไม่ให้เกิดปัญญาการกักตุนสินค้า

    นอกจากวิกฤตทางด้านอาหารเเล้ว ความขัดแย้งรัสเซียยูเครน ยังส่งผลต่อราคาน้ำมันและก๊าซ ซึ่งมีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นไปทั่วโลก และอาจทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก หลังเพิ่งฟื้นตัวได้จากโควิด-19

     

    ที่มา : AFP 

    ]]>
    1381139