บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 24 Sep 2020 12:08:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อ่าน 8 ข้อ ทำความเข้าใจธุรกิจ “เอสซีจี แพคเกจจิ้ง” ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้น SCGP https://positioningmag.com/1298532 Thu, 24 Sep 2020 11:16:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298532 บิ๊กธุรกิจบรรจุภัณฑ์อย่าง บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP) เตรียมระดมทุนในตลาดหุ้นไทยวันแรกเดือน ต..นี้ เพื่อขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เคาะราคาเปิดขายหุ้น IPO ออกมาแล้วเบื้องต้นที่ 33.50-35.00 บาทต่อหุ้น เปิดให้จองซื้อในวันที่ 28 .. – 7 .. (ขึ้นอยู่กับประเภทของผู้จองซื้อ) คาดระดมทุนได้ 4.3-4.5 หมื่นล้านบาท ถือว่าเป็นหุ้นที่น่าจับตามองของปีนี้ ท่ามกลางตลาดที่กำลังซบเซา 

ช่วงนี้ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ หรือเเพ็กเกจจิ้งเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เมื่อเดลิเวอรี่เฟื่องฟูจากอานิสงส์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ อีกทั้งเทรนด์รักษ์โลกเเละการลดใช้พลาสติกที่กำลังเเพร่หลาย ก็สร้างความท้าทายให้เหล่าผู้ผลิตต้องปรับตัวขนานใหญ่ โดย SCGP ถือเป็นเจ้าใหญ่ที่ครองตลาดอาเซียนถึง 36%

Positioning ขอสรุปพื้นฐานธุรกิจ เเผนเเละกลยุทธ์การเติบโต รายละเอียดไทม์ไลน์ของหุ้น IPO เเละภาพรวมอุตฯ บรรจุภัณฑ์ในอาเซียน จากการแถลงของวิชาญ จิตร์ภักดี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้งเเละทีมผู้บริหาร เบื้องต้นไว้ดังนี้

อนาคต เเพ็กเกจจิ้ง “อาเซียน” 

ภาพรวมธุรกิจบรรจุภัณฑ์ทุกประเภทในภูมิภาคอาเซียน มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่ารวมกว่า 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2561 ซึ่งคาดว่าในช่วง 6 ปี (ปี 2561-2567) จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 6.1% หรือมีมูลค่าตลาดบรรจุภัณฑ์รวมอยู่ที่ 72,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567

อาเซียน ถือเป็นตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง โดยประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ มีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคนและมี 4 เมกะเทรนด์ที่จะส่งผลดีต่อปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ อย่าง

  • อัตราการบริโภคบรรจุภัณฑ์กระดาษและบรรจุภัณฑ์จากพอลิเมอร์ที่เพิ่มขึ้น
  • การเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรและไลฟ์สไตล์
  • ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่กำลังเติบโตเฉลี่ย 26% ต่อปี และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
  • การเติบโตของธุรกิจเดลิเวอรี่

ขณะเดียวกัน ปัจจัยหนุนของการเพิ่มขึ้นของประชากร “วัยหนุ่มสาวรายได้ปานกลาง” ในอาเซียน เช่น เวียดนาม ก็เป็นโอกาสสำคัญที่จะสร้างเเพ็กเกจจิ้งที่มีความเเตกต่างเเละเป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อมมากขึ้น

ส่องธุรกิจ SCGP

เอสซีจี เริ่มต้นธุรกิจเยื่อและกระดาษในปี 2518 ภายใต้บริษัท The Siam Pulp and Paper ช่วง 30 ปีแรก ทำกระดาษบรรจุภัณฑ์ เยื่อกระดาษ บรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูก กระดาษพิมพ์เขียน เริ่มขยายธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ไปในอาเซียน โดยประเทศเเรก ฟิลิปปินส์ จากนั้นช่วงปี 2549-2557 ขยายไปยังเวียดนามและอินโดนีเซีย ก่อนจะลงทุนลงทุนบรรจุภัณฑ์วัตถุดิบ Polymer เเละรีแบรนด์เป็น SCG Paper ในปี 2557

จากนั้นตั้งเเต่ปี 2558 ถึงปัจจุบันมีการรีแบรนด์อีกครั้ง จาก SCG Paper เป็น SCG Packaging ครองส่วนแบ่งในตลาดอาเซียน 36% มีบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดราว 120,000 รายการ มีลูกค้าราว 4,000 ราย ผลิตตั้งแต่กล่องกระดาษลูกฟูก กล่องพิมพ์เพื่อแสดงสินค้า ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว บรรจุภัณฑ์แบบคงรูป

โดยสินค้ายอดนิยมตอนนี้ คือ “กระดาษบรรจุภัณฑ์” (Packaging Paper) เเละ “ถุงกระดาษรีไซเคิล” สําหรับสินค้าอุปโภคบริโภค และถุงอุตสาหกรรม

ผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก 2563 มีรายได้จากการขายรวม 45,903 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอานิสงส์การเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ฟู้ดเดลิเวอรี่ อาหารส่งออก สินค้าอุปโภคบริโภคที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพและสุขอนามัย

ขณะที่ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (ปี 2559-62) มีรายได้จากการขายเติบโตเฉลี่ยปีละ 6.1% และมีกำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ยปีละ 15.2% ในปี 62 มีรายได้จากการขาย 8.9 หมื่นล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 5.89 พันล้านบาท ขณะที่ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีรายได้จากการขาย 4.59 หมื่นล้านบาท เติบโต 10.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 4.2 พันล้านบาท เติบโต 45.6% จากงวดปีก่อน

ด้านสัดส่วนรายได้จากยอดขายทั้งหมดของ SCGP จากข้อมูลครี่งปีเเรก 2563 เเบ่งเป็นตามประเทศ ได้เเก่ ไทย 52% ประเทศอื่นในอาเซียน (อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์) 28% เเละประเทศอื่นๆ 20% หากเเบ่งตามสายผลิตภัณฑ์ ได้เเก่ กระดาษบรรจุภัณฑ์ 51% ผลิตภัณฑ์ขั้นปลายน้ำ 33% เเละสายธุรกิจเยื่อกระดาษ 16% 

ขณะที่หากเเบ่งเป็นตามประเภทธุรกิจของบรรจุภัณฑ์ ได้เเก่ อาหารเเละเครื่องดื่ม 42% ธุรกิจอื่นๆ 31% สินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการจำหน่ายเร็ว (FMCG) อุปกรณ์เเละอิเลกทรอนิกส์ 13%

SCGP มีหน่วยงาน Inspired Studio ออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยมีนักออกแบบ 36 คน มีนักวิจัยและพัฒนา 90 คน  นักค้นคว้าและวิจัย 12 คนเเละพนักงานขายและบริการลูกค้า 500 คน ปัจจุบันได้จดทะเบียนสิทธิบัตรกับกระทรวงพาณิชย์ 66 รายการ

บุกอาเซียนเต็มสูบ 

กลยุทธ์ต่อไปของ SCGP หลักๆ จะเน้นไปที่การ “ขยายลงทุนอาเซียน” โดยในปี 2563 บริษัทได้ทำการเจรจาและลงนามในสัญญาซื้อหุ้นกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (SOVI) ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกรายใหญ่ในเวียดนาม เเละกำลังอยู่ระหว่างขยายกำลังผลิตอีก 4 โครงการใช้งบลงทุนรวมกว่า 8,200 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยแล้วเสร็จในปี 2563–2564 ทั้งนี้ SCGP มีโรงงานอยู่เเล้ว 40 แห่งใน 5 ประเทศอาเซียน คือ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์เเละมาเลเซีย 

โดยเเบ่งงบลงทุนอย่างละเอียด ได้เเก่

  • เวียดนาม – ขยายกำลังผลิตบรรจุภัณฑ์เเบบอ่อนตัว เงินลงทุน 543 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 3/2563
  • อินโดนีเซีย – ขยายกำลังผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ เงินลงทุน 1,735 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 1/2564
  • ฟิลิปปินส์ – ขยายกำลังผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ เงินลงทุน 5,388 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 2/2564
  • ไทย – ขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์เเบบอ่อนตัว เงินลงทุน 600 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 3/2564

ที่ผ่านมา SCGP มีการปรับโมเดลธุรกิจของ SCGP จากอุตสาหกรรมการผลิตสู่การเป็น Packaging Solutions Provider มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบ B2B B2B2C และ B2C เน้นเร่งขยายไลน์บรรจุภัณฑ์ให้ครบวงจรมากขึ้นตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน นำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด เป็นวัสดุที่รีไซเคิลได้กว่า 95%

ผู้บริหาร SCGP มองตลาดบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทยช่วงครึ่งปีหลังว่า จะยังคงมีการเติบโตท่ามกลางความท้าทายของภาวะเศรษฐกิจ โดยภาคธุรกิจต่างๆ เริ่มทยอยกลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง

“คาดว่าจะส่งผลดีต่อการอุปโภคและบริโภค โดยเฉพาะสินค้าอาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเพื่อการดูแลสุขภาพ เเต่กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมยานยนต์ จะยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวเนื่องจากเป็นสินค้าคงทนและมีมูลค่าสูง” 

เตรียมขึ้นเป็น SET50

ผู้บริหาร SCGP ระบุว่า การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ครั้งนี้จะนำเงินเพื่อขยายธุรกิจ ทั้งในรูปแบบการขยายกำลังการผลิต การร่วมทุน การเข้าซื้อกิจการ การชำระคืนเงินกู้ยืม และสำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ

“ประมาณการเบื้องต้นของมูลค่าตลาดของบริษัทจะอยู่ที่ราว 1.4 แสนล้านบาท มีความเป็นไปได้สูงที่จะเข้าไปอยู่ใน SET50 ตั้งแต่วันแรกๆ ที่จะเข้าเทรดตามกฎตลาดหลักทรัพย์” 

SCGP จะเป็นหุ้น IPO ที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ภายในเดือนต.ค.2563 ซึ่งจะมีการกำหนดราคาซื้อขายวันสุดท้าย วันที่ 8 ต.ค.ที่จะถึงนี้ โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และมีบล.ไทยพาณิชย์ บล.บัวหลวง เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย

เคาะ 33.50-35.00 บาท/หุ้น รายย่อยขั้นต่ำ 1,000 หุ้น 

โดยหุ้น SCGP จะจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม หมวด “บรรจุภัณฑ์” ซึ่งจะมีการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนใหม่ไม่เกิน 1,296.68 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นที่เสนอขายให้กับประชาชนทั่วไป (IPO) จำนวนไม่เกิน 1,127.55 ล้านหุ้น คิดเป็น 26.5% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมด ส่วนที่เหลือไม่เกิน 169.1 ล้านหุ้น จะเป็นการขายหุ้นส่วนเกิน (Green Shore)

วีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม กล่าวว่า ช่วงราคาเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ของ SCGP ที่กำหนดไว้ 33.50-35.00 บาท/หุ้น นับว่าเป็นระดับที่น่าพอใจ มี P/E ที่ราว 22-23 เท่า เชื่อว่าผลประกอบการของ SCGP ยังมีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นต่อไปในอนาคต

สำหรับช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้นสำหรับหุ้น IPO ของ SCGP กำหนดที่ 33.50 -35.00 บาทต่อหุ้นนี้ “นักลงทุนรายย่อย” ต้องจองซื้อที่ 35.00 บาทต่อหุ้น ขั้นต่ำที่ 1,000 หุ้น มูลค่า 35,000 บาท และหากช่วงกำหนดราคาซื้อขายวันสุดท้ายวันที่ 8 ต.ค. ต่ำกว่าราคา 35 บาท หรืออาจมีคนเข้ามาจองซื้อมากจนล้นก็จะไม่สามารถจัดสรรให้ได้เต็มจำนวน ซึ่งส่วนเกินดังกล่าวบริษัทจะมีการคืนเงินให้กับผู้จองซื้อหลังจากปิดการจำหน่ายแล้ว

นักลงทุนสถาบัน เซ็นสัญญาซื้อเเล้ว 60% 

การเสนอขายหุ้นของ SCGP ครั้งนี้ ได้รับความสนใจจาก “นักลงทุนสถาบัน” โดยมีกลุ่มนักลงทุนหลักแบบเฉพาะเจาะจง (Cornerstone Investors) จำนวน 18 ราย ได้ลงนามในสัญญา Cornerstone Placing Agreement รวมทั้งสิ้น 676.53 ล้านหุ้น หรือ ประมาณ 60% ของจำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอ IPO

ประกอบด้วย นักลงทุนสถาบันในประเทศ 14 รายรวมทั้งสิ้น 600 ล้านหุ้น ได้เเก่ 1.บลจ.บัวหลวง จำนวน 135 ล้านหุ้น 2.บลจ.กสิกรไทย จำนวน 135 ล้านหุ้น 3.บลจ.ไทยพาณิชย์ จำนวน 81 ล้านหุ้น 4.บลจ.เอ็มเอฟซี จำนวน 63 ล้านหุ้น 5.บลจ.ทิสโก้ จำนวน 42 ล้านหุ้น 6.บลจ.กรุงไทย จำนวน 37 ล้านหุ้น

7.บลจ.ยูโอบี(ประเทศไทย) จำนวน 26 ล้านหุ้น 8.บลจ.ธนชาต จำนวน 25 ล้านหุ้น 9.บมจ.ไทยประกันชีวิต จำนวน 13 ล้านหุ้น 10.บลจ.อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำนวน 11 ล้านหุ้น 11.บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต จำนวน 8 ล้านหุ้น 12.บลจ.พรินซิเพิล จำนวน 8 ล้านหุ้น 13.บลจ.ภัทร จำนวน 8 ล้านหุ้น 14.บลจ.วรรณ จำนวน 8 ล้านหุ้น

ส่วนที่เหลือ 4 รายเป็นนักลงทุนสถาบันต่างประเทศรวม 76.53 ล้านหุ้น คือ 1.Avanda Investment Management Pte Ltd จำนวน 27 ล้านหุ้น 2.NTAsian Discovery Master Fund จำนวน 23 ล้านหุ้น 3.Ghisallo Master Fund LP จำนวน 13.265 ล้านหุ้น 4. Tydor Systematic Tactical Trading LP จำนวน 13.265 ล้านหุ้น

เเละที่เหลืออีก 15% จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC ที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรหุ้น 15% และอีก 25% จัดสรรให้ผู้มีอุปการคุณของ SCGP และผู้ถือหุ้นกู้ของ SCC และลูกค้าของผู้จัดการจำหน่ายและการรับประกันรวมทั้งหมด 11 แห่ง

ระยะเวลาจองซื้อ

สำหรับกำหนดระยะเวลาจองซื้อของผู้จองซื้อแต่ละประเภท มีดังนี้

  • ผู้ถือหุ้น SCC, ผู้ถือหุ้น SCGP, ผู้มีอุปการคุณของ SCGP รวมถึงผู้ถือหุ้นกู้ SCC สามารถจองซื้อได้ในวันที่ 28 ก.ย.- 2 ต.ค.2563 (เฉพาะวันทำการ)
  • ผู้จองซื้อรายย่อย สามารถจองซื้อได้ในวันที่ 1,2 และ 5 ต.ค.2563 โดยจองซื้อขั้นต่ำที่ 1,000 หุ้น มูลค่า 35,000 บาท วิธีการจัดสรรจะเป็นลักษณะ Small Lot First ทุกคนจะได้หุ้นเพียงแต่จะแจกเป็นรอบๆ จนกระทั่งหุ้นหมด
  • บุคคลตามดุลพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ สามารถจองซื้อได้ในวันที่ 5-7 ต.ค. 2563

คาดระดมทุนได้ 4.3-4.5 หมื่นล้าน

กุลเชฏฐ์ ธาราจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน SCGP กล่าวว่า การระดมทุนครั้งนี้ จะได้เงินมาประมาณ 4.3-4.5 หมื่นล้านบาท (รวมหุ้นส่วนเกิน) โดยจำนวนเงิน 27,000 ล้านบาท หรือราว 60% ที่จะใช้ในการขยายการเติบโตของธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม บริษัทมีการเติบโตแบบ Organic ซึ่งได้ลงทุนรวมไปกว่า 8,200 ล้านบาท ในการขยาย 4 โครงการในประเทศอาเซียน ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ด้านความแข็งแกร่งทางการเงิน มีหนี้สินต่อทุน (D/E) อยู่ที่ 0.9 เท่า เมื่อได้เงินจากการระดมทุนครั้งนี้ จะใช้เงินบางส่วนในการลดอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน เพื่อให้งบการเงินมีความแข็งแกร่งที่จะเติบโตต่อไป ซึ่งบริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลขั้นต่ำ 20% ของกำไรสุทธิ

ในเมื่อธุรกิจเเพ็กเกจจิ้งมีเเนวโน้มจะเติบโตต่อเนื่อง เเต่อะไรคือความท้าทายของ SCGP กุลเชฏฐ์  ตอบว่า “ความท้าทายของธุรกิจเรา คือการหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนเร็ว ดังนั้นการปรับตัวขององค์กร ผู้บริหารเเละทีมงานให้ทัน จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำให้ได้ ” 

 

]]>
1298532