บอลยูโร – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 19 Jun 2024 10:50:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “เครื่องใช้ไฟฟ้า” กำลังซื้อฝืดหลังพ้นหน้าร้อน “เพาเวอร์ มอลล์” ลุ้น “บอลยูโร 2024” ช่วยดันยอดขาย “ทีวี” https://positioningmag.com/1478885 Wed, 19 Jun 2024 09:51:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478885
  • “เพาเวอร์ มอลล์” เปิดข้อมูลตลาด “เครื่องใช้ไฟฟ้า” 4 เดือนแรกทำยอดขาย 78,000 ล้านบาท เติบโตดีจากโครงการ Easy e-Receipt และหน้าร้อนช่วยดันยอดขาย “แอร์”
  • แต่หลังเข้าเดือนพฤษภาคม กำลังซื้อชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัดจากสภาวะเศรษฐกิจ หวังกระแส “บอลยูโร 2024” ช่วยเพิ่มยอดขาย “ทีวี” กลับมาโต
  • “รัชตะ สุทธาพัฒน์ธานนท์” Chief Business Officer – Specialty Business “บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด” เปิดข้อมูลตลาด “เครื่องใช้ไฟฟ้า” ประเทศไทยปี 2567 ช่วง 4 เดือนแรกถือว่าเป็นช่วงที่ทำยอดขายดี มูลค่าตลาดขึ้นไปแตะ 78,000 ล้านบาท เติบโตแบบดับเบิลดิจิต

    ปัจจัยบวกมาจากโครงการ “Easy e-Receipt” ช้อปลดหย่อนภาษีที่สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2567 อานิสงส์ส่งให้ต้นปีเครื่องใช้ไฟฟ้าขายคล่อง

    เพาเวอร์ มอลล์
    “รัชตะ สุทธาพัฒน์ธานนท์” Chief Business Officer – Specialty Business “บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด”

    รวมถึงช่วงหน้าร้อนเดือนมีนาคม-เมษายนปีนี้ เนื่องจากอากาศร้อนจัด ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้ากลุ่ม “เครื่องปรับอากาศ” ทำยอดขาย 4 เดือนแรกโต 10-15% และพยุงตลาด “ตู้เย็น” ให้เติบโตซิงเกิลดิจิต

    “แต่ตลาดแอร์ผมคิดว่ายอดขายโตน้อยกว่าที่คาดไว้ เพราะอากาศปีนี้ร้อนจัดมากๆ ยอดขายแอร์ควรจะโตได้ถึง 30-40% ด้วยซ้ำ” รัชตะกล่าว

     

    เข้าเดือน 5 กำลังซื้อหด รอลุ้น “บอลยูโร 2024”

    รัชตะกล่าวต่อว่า หลังหมดปัจจัยหนุนในช่วงหน้าร้อน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมาการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเริ่มลดลงมาโตซิงเกิลดิจิต ด้วยสภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้อ

    อย่างไรก็ตาม กลุ่มตลาดที่ยังพอมีลุ้นปัจจัยหนุนพิเศษคือ “ทีวี” เพราะการแข่งขัน “บอลยูโร 2024” เริ่มเปิดฉากแล้ว และปกติมักจะเป็นปัจจัยหนุนยอดขายทีวี ตามด้วยในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้จะมีการแข่งขัน “โอลิมปิก 2024” ต่อเนื่อง น่าจะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อทีวีรวมถึงเครื่องเสียงมากขึ้น

    เครื่องใช้ไฟฟ้า

    “ตอนนี้อาจจะยังไม่คึกคักเพราะธรรมชาติของผู้บริโภคมักจะมาซื้อทีวีในช่วงใกล้จะถึงรอบน็อกเอาต์ ไม่ว่าจะเป็นบอลยูโรหรือบอลโลกจะเป็นแบบนี้เสมอ” รัชตะกล่าว โดยบอลยูโร 2024 จะเริ่มเข้าสู่รอบน็อกเอาต์ 16 ทีมสุดท้าย นัดแรกวันที่ 29 มิถุนายนนี้

    สำหรับตลาด “ทีวี” ปี 2567 รัชตะกล่าวว่า ยอดขายทั้งตลาดค่อนข้างฝืด 4 เดือนแรกทำยอดขายไปเพียง 5,000 ล้านบาท ติดลบประมาณ -10% จากปีก่อน ทำให้แบรนด์ทีวีต่างหมายมั่นว่าบอลยูโร 2024 จะช่วยหนุนทำยอดขายเติบโตพุ่ง 20-30% เพื่อให้ยอดขายเฉลี่ยทั้งปียังยืนระยะทรงตัวเท่ากับปีก่อนให้ได้

    เครื่องใช้ไฟฟ้า

    ภาพรวมตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าปี 2567 ทั้งปีนี้ รัชตะมองว่าน่าจะ ‘เติบโตเล็กน้อย’ จากปีก่อนที่มีมูลค่าตลาด 220,000 ล้านบาท โดยหวังว่าครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น และหากโครงการ “ดิจิทัล วอลเล็ต” ของรัฐบาลสามารถใช้จ่ายกับกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าได้จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อตลาดนี้ เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่น่าจะต้องการใช้ซื้อ “โทรศัพท์มือถือ” และเครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็นต่างๆ ภายในบ้าน

     

    “เพาเวอร์ มอลล์” วางเป้าโต 20-30% หลังสาขาใหม่รีโนเวตเสร็จ

    ด้านธุรกิจของ “เพาเวอร์ มอลล์” ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าในเครือเดอะมอลล์ กรุ๊ป รัชตะระบุว่ายอดขายปี 2566 เติบโต 10% ส่วนปี 2567 ตั้งเป้ายอดขายโตถึง 20-30% เนื่องจากสาขา 2 แห่งใน “เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ และ บางแค” เพิ่งรีโนเวตเสร็จสมบูรณ์พร้อมกับตัวศูนย์การค้าเมื่อเดือนธันวาคม 2566 ทำให้ปีนี้จะเป็นปีแรกที่สองสาขานี้กลับมาขายแบบเต็มปี

    ยอดขายจากสาขาบางกะปิและบางแคน่าจะช่วยดันยอดได้มากเพราะถือเป็นกลุ่มสาขาขายดี รองจากสยามพารากอน และ เอ็มโพเรียม

    นอกจากนี้ เพาเวอร์ มอลล์ เองมีการปรับตัวตามตลาด มีการจัดสรรพื้นที่ให้กับกลุ่มสินค้าขายดีอย่าง “แอร์” มากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงเน้นกลุ่มสินค้า “พรีเมียม” ต่างๆ เช่น ทีวีขนาดใหญ่ 75 นิ้วขึ้นไป, เครื่องซักผ้าฝาหน้า, สินค้าที่ผสานนวัตกรรม AI ซึ่งเป็นที่ต้องการของลูกค้า

    รวมถึง เพาเวอร์ มอลล์ ยังโหมตลาดด้วยการจัดมหกรรม “เพาเวอร์ มอลล์ อิเล็คทรอนิก้า โชว์เคส” ร่วมกับผู้ประกอบการแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้ากว่า 200 แบรนด์ รวบรวมหลากหลายกลุ่มสินค้า เช่น ทีวี เครื่องเสียง มือถือ แกดเจ็ต เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว ฯลฯ มาจัดโปรโมชันลดราคาพิเศษสูงสุด 60%, ผ่อน 0% นานสูงสุด 24 เดือน, แจกคูปองส่วนลดเงินสดสูงสุด 15,000 บาท ที่เพาเวอร์ มอลล์ ทุกสาขา ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน – 29 กรกฎาคม 2567

    ]]>
    1478885
    เจาะอินไซต์การรับชม ‘กีฬา’ และ ‘อีสปอร์ต’ ที่แบรนด์ต้องรู้ก่อนจะลงเงินโฆษณา https://positioningmag.com/1338835 Thu, 24 Jun 2021 11:28:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338835 หากพูดถึงเรื่อง กีฬา และ กีฬาอีสปอร์ต เชื่อว่าเป็นหนึ่งในคอนเทนต์ที่คนไทยหลายคนให้ความสนใจ ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่มาคู่กันก็คือ สปอนเซอร์ แต่หลายแบรนด์อาจจะยังไม่แน่ใจว่าในส่วนของรายการกีฬานั้นมีผู้ชมมากน้อยแค่ไหน เป็นใคร และจะได้อะไรกลับมา ดังนั้น นีลเส็น ประเทศไทย จึงได้ออกมาเปิดเผยถึงอินไซต์ว่าภาพรวมเป็นอย่างไรบ้าง

    ประชากรไทย 43 ล้านคนชมกีฬา

    จากผลสำรวจในช่วง 12 เดือน ที่ผ่านมาพบว่า ผู้ชมชาวไทย 84% หรือกว่า 43 ล้านคน กลับมารับชมกีฬา และมากกว่า 20 ล้านคน รับชมกีฬาในสนามแข่ง โดยคนไทย 19 ล้านคน เล่นกีฬา

    แพลตฟอร์มในการรับชมกีฬา 5 อันดับ ได้แก่

    • ฟรีทีวี (74%)
    • โซเชียลมีเดีย (69%)
    • สตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม (46%)
    • OTT แพลตฟอร์ม (44%)
    • เพย์ทีวี (37%)

    คนดูโหยหารายการกีฬา

    แม้ว่าช่วงการระบาดของ COVID-19 จะทำให้ไม่สามารถจัดแข่งขันกกีฬาได้ ซึ่งส่งผลกระทบให้ไม่มีรายการกีฬาถ่ายทอดสด จากยอดการรับชมเดือนละ 40-45 ล้านคนกลายเป็นศูนย์ในช่วงเดือนเมษายน 2020 แต่พอช่วงที่มีการผ่อนปรน มีการจัดแข่งขันกีฬาสดคนก็กลับมาชมกีฬาเหมือนเดิม อย่างที่ผ่านมา รายการ วอลเลย์บอลหญิงเนชั่นลีก 2021 สามารถทำเรตติ้งได้ 5.3%

    ส่งผลให้โฆษณาสามารถเข้าถึงคนดูได้มากขึ้น อาทิ มิตซูบิชิ สามารถเข้าถึงคนดูได้ 3.9 ล้านคน จากการแข่งขัน AFC U23 Championship Thailand 2020, Coca-Cola เข้าถึงคนดู 1.8 ล้านคนจากรายการ Thai Fight, Leo Soda เข้าถึงคน 1.1 ล้านคน จากรายการ Toyota Thai League และ Nescafe เข้าถึคนดู 5 ล้านคน จากรายการวอลเลย์บอลหญิงเนชั่นลีก 2021 สำหรับการแข่งขัน ฟุตบอลยูโร 2020 มียอดผู้ชมสะสม 8.1 ล้านคนในช่วง 12 วันที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารายการกีฬาที่สำคัญยังสามารถดึงดูดคนได้อยู่

    คนดูกีฬามักมีรายได้สูงกว่า

    ผู้ชมกีฬาส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีรายได้ สูง เมื่อเทียบกับผู้ชมทั่วไป โดยประเภทรายการกีฬาที่คนไทยสนใจมากสุดคือ

    • ฟุตบอล (61%) ผู้ชมส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อมากกว่าคนไทยทั่วไป ส่วนใหญ่อาศัยในกรุงเทพฯ และเขตเทศบาลต่างจังหวัด ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย
    • วอลเลย์บอล (53%) มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ส่วนใหญ่อาศัยในกรุงเทพฯ และเขตเทศบาลต่างจังหวัด กำลังซื้อระดับปานกลาง
    • แบตมินตัน (42%) ผู้ชมส่วนใหญ่รายได้ปานกลางถึงสูง อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นหลัก
    • มวยไทย (41%) จับกลุ่มรายได้น้อย ส่วนใหญ่อยู่ต่างจังหวัด

     

    โซเชียลช่องทางหลักติดตามข่าว

    โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางอันดับ 1 (80%) ตามด้วยทีวี (78%) แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่ง (75%) Social Messaging (63%) และ เว็บไซต์ต่าง ๆ (60%) ทั้งนี้ ช่องทางการติดตามโซเชียล 5 อันดับ ดังนี้

    • Facebook 93%
    • YouTube 92%
    • Instagram 66%
    • Twitter 61%
    • TikTok 55%

    สำหรับรายการแข่งขันที่คนไทยให้ความสนใจ ได้แก่ FIFA Would Cup 61%, Asian Game 55%, Sea Game 54% และ Asian Volleyball Cup 53%

    ส่วนการแข่งขันที่จัดเป็นฤดูการที่คนไทยสนใจ ได้แก่ Premier League 55%, UEFA Champions League 49%, UEFA Europa League 44% และ Toyota Thai League 43%

    ในส่วนของกีฬาโอลิมปิกที่จะจัดแข่งในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้พบว่า คนไทยให้ความสนใจเพียง 43% แม้ว่าจะรู้จักเกือบ 100% อย่างไรก็ตาม หากวัดตามจำนวนผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 60,000 บาทพบว่าพวกเขาให้ความสนใจ 53% สูงกว่าค่าเฉลี่ย

    สปอนเซอร์มีภาพลักษณ์ที่ดีสำหรับแฟนกีฬา

    • 65% ของผู้ชมเห็นด้วยว่าแบรนด์ผู้สนับสนุนกีฬาได้รับความสนใจจากผู้ชมมากขึ้น
    • 63% รู้สึกจดจำชื่อแบรนด์ได้
    • 60% รู้สึกว่าแบรนด์มีความรับผิดชอบต่อสังคม
    • 55% จะเลือกใช้แบรนด์สปอนเซอร์มากกว่าแบรนด์คู่แข่ง

    ที่น่าสนใจคือ สำหรับแฟนกีฬาจะให้ความสำคัญกับสปอนเซอร์มากกว่าผู้ชมทั่วไป โดยจะมีความภักดีต่อแบรนด์มากกว่า รักแบรนด์มากกว่า

    แฟนอีสปอร์ตเป็นวัยรุ่นรายได้สูง

    จากการสำรวจแฟนกีฬาอีสปอร์ตในพื้นที่กรุงเทพมหานครพบว่า 65% เป็นเพศชาย เป็นกลุ่มนักศึกษาหรือ Fist Jobber อายุเฉลี่ยประมาณ 27 ปี มีรายได้สูงกว่าเฉลี่ยคนกรุงที่ 45,000 บาท โดยเฉลี่ยมักจะใช้เวลา 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการ เล่นเกม และใช้เวลา 5 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์โดยเฉลี่ยในการ รับชมการแข่งขันอีสปอร์ต ดย  79% ดูเพราะชื่นชอบ 74% ดูเป็นงานอดิเรก และ 61% ดูเพื่อพัฒนาทักษะการเล่นเกม

     

    โทรศัพท์มือถือ เป็นอุปกรณ์หลักสำหรับใช้เล่นเกมและรับชมการแข่งขันมากถึง 88% ส่วนการเล่นเกมบน พีซี คิดเป็น 54% และมีเพียง 45% ที่ใช้เกม คอนโซล ส่วนแพลตฟอร์มที่ชาวอีสปอร์ตไทยใช้รับชมการแข่งขันอีสปอร์ต ได้แก่

    • YouTube 77%
    • Twitch 48%
    • Facebook 16%
    • mixer 12%
    • Garena 11%

    ทั้งนี้ 71% ของแฟนอีสปอร์ตมองว่าสปอนเซอร์ช่วยทำให้ประสบการณ์ดีขึ้น 69% รู้สึกว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มคอมมูนิตี้อีสปอร์ต และ 55% รู้สึกว่าแบรนด์ที่ได้รับการแนะนำจากนักกีฬาหรือสตรีมเมอร์ให้ความรู้สึกว่ามีความจริงใจ

    สรุป คนดูกีฬามีอำนาจการซื้อสูงกว่า โดยทีวียังคงเป็นช่องทางหลักในการรับชม แต่โซเชียลมีความสำคัญในการติดตามข่าวสาร ส่วนแบรนด์สปอนเซอร์จะได้รับผลบวกจากการสนับสนุนแน่นอน และแม้การแข่งขันกีฬาจะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แต่ผู้ชมกีฬาไม่เคยหายไปไหน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจอาจยังไม่ฟื้นจากพิษ COVID-19 แต่หากไม่ลงโฆษณาอาจทำให้แบรนด์ไม่ได้สื่อสาร ทำให้ถูกลืมและถูกคู่แข่งแทรกขึ้นมาได้ ดังนั้น ต้องวางแผนอย่างรัดกุมและเฉียบขาดมากขึ้น

    ]]>
    1338835
    อินไซต์ ‘บอลยูโร 2020’ ไม่คึกคัก คนไทยใช้จ่ายลด เงินสะพัดต่ำสุดรอบ 10 ปี ความเชื่อมั่นฟื้นช้า https://positioningmag.com/1338309 Tue, 22 Jun 2021 12:15:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338309 บอลยูโร 2020ไม่คึกคัก เจอพิษโควิดซัด คนไทยใช้จ่ายลด เงินสะพัดต่ำสุดในรอบ 10 ปี กว่า 50% ติดตามน้อยถึงไม่สนใจ

    จากผลสำรวจของ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถึงพฤติกรรมและการใช้จ่ายของผู้บริโภค ในช่วงมหกรรมฟุตบอลยูโร ปี 2020” จากกลุ่มตัวอย่าง 1,200 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15-18 มิถุนายน 2564 พบว่า

    ประชาชนส่วนใหญ่ใช้จ่ายน้อยลงทั้งในส่วนของการใช้จ่ายในระบบและนอกระบบ ผลกระทบหลักๆ มาจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้เงินสะพัดโดยรวมในช่วงการเเข่งขันฟุตบอลยูโร 2020 ลดลงถึง 20.3% ต่ำสุดในรอบ 10 ปี มูลค่าอยู่ที่ 62,440 ล้านบาท โดยเลือกใช้จ่าย 5 อันดับสูงสุดได้เเก่

    • ซื้ออาหาร เครื่องดื่ม 98.1 %
    • ซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ /อุปกรณ์รับสัญญาณ 64%
    • ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า 60.5%
    • ซื้ออุปกรณ์กีฬา 38.9 %
    • เล่นการพนัน 27.5%

    เเยกเป็นเงินสะพัดในระบบอย่างการซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์การดูฟุตบอล และอาหารจัดเลี้ยง อยู่ที่ราว 15,200 ล้านบาท ลดลง 15.1%

    ส่วนเงินสะพัดนอกระบบ จากการพนันฟุตบอล อยู่ที่ราว 45,800 ล้านบาท ลดลง 22.3% มีเป้าหมายเพื่อต้องการเงินรางวัล มากกว่าแฟชั่นหรือความสนุกสนาน ส่วนใหญ่เลือกเล่นผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด ตามด้วยคนรู้จักแนะนำ

    มีการใช้เงินในแต่ละนัดเฉลี่ย 1,000-5,000 บาท โดยที่มาของเงินมาจากเงินออมและรายได้ปกติ

    อย่างไรก็ตาม คาดว่าเม็ดเงินที่สะพัดในช่วงฟุตบอลยูโร จะมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมในปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.1% ซึ่งหากดูการขยายตัวเฉพาะไตรมาส 3 จะกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม 0.3% ส่วนการขยายตัวทั้งปีของเศรษฐกิจไทย คาดว่าจะอยู่ในกรอบ 2-2.5%  

    จากการสำรวจ ยังพบว่า ประชาชน 50% ติดตามน้อยถึงไม่สนใจ เเละอีก 50% ติดตามเหมือนเดิมและสนใจมากขึ้น

    ด้านการติดตามนั้น จะเป็นจากญาติหรือเพื่อน 53.5% โทรทัศน์ 49.8% ตามมาด้วยสื่อโซเชียล 47% เว็บไซต์ 41% หนังสือพิมพ์เเละนิตยสาร 8.3% วิทยุ 1.8% ส่วนใหญ่ติดตามรอบแรกและรอบชิง

    โดยทีมที่คนไทยเชียร์มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้เเก่ อังกฤษ โปรตุเกส ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยียม

    ส่วนทีมที่คาดจะได้คว้าแชมป์ยูโร 2020 คือ ฝรั่งเศส โปรตุเกส อิตาลี เยอรมัน และเบลเยียม เเละคาดว่าคู่ชิงอันดับแรกคือ อิตาลีฝรั่งเศส อันดับ 2 คือ เบลเยียมฝรั่งเศส อันดับ 3 คือ อิตาลีโปรตุเกส

    ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มองว่า สถานการณ์โควิด-19 ที่มียอดการติดเชื้อ และสายพันธุ์เดลต้ายังกระจายอยู่ จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้า และมีผลต่อจิตวิทยาของผู้บริโภค 

    หากรัฐกระจายวัคซีนได้ดีขึ้น อาจจะทำให้ผู้บริโภคมีความหวังเเละกลับมากล้าใช้จ่ายอีกครั้ง

    ส่วนมาตรการภาครัฐที่เยียวยาประชาชน อย่าง โครงการคนละครึ่งที่ให้วงเงินคนละ 3,000 บาท ยังน้อยไปที่เข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนมาตรการยิ่งใช้ยิ่งได้ก็ยังค่อนข้างอืด

    โดยหากเปิดประเทศได้ คาดว่าในช่วงไตรมาส 4 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 1 ล้านคน เม็ดเงินสะพัดราว 5-6 หมื่นล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มได้ประมาณ 0.2-0.3% ซึ่งหากโมเดลภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ได้ผลดีเชื่อว่าจะสร้างความเชื่อมั่นได้

     

    ]]>
    1338309