บัดเจ็ทโฮเทล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 23 May 2024 13:58:14 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สตาร์ทอัพสายโรงแรม “OYO” ยกเลิกเปิด IPO หันพึ่งนักลงทุนแม้จะถูกลดมูลค่าบริษัทฮวบ 70% https://positioningmag.com/1474914 Thu, 23 May 2024 13:50:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1474914 สตาร์ทอัพสายโรงแรมจากอินเดีย “OYO” ถอนตัวจากการเปิด IPO ในตลาดหุ้นอินเดียเป็นครั้งที่สอง และหันไปพึ่งพิงนักลงทุนอย่างที่เคย แม้จะถูกลดมูลค่าบริษัทลงมากกว่า 70% เทียบกับจุดพีคที่เคยไปถึงเมื่อปี 2021

OYO Hotels and Homes เป็นบริษัทในเครือ Oravel Stays จากอินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่มีแบ็กอัพรายใหญ่คือ SoftBank จากญี่ปุ่น ที่ผ่านมาบริษัท OYO พยายามจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินเดียมาแล้ว 2 ครั้ง แต่กลับถอนตัวและยกเลิกไปทั้งหมด

ล่าสุดมีรายงานว่า OYO กำลังเข้าสู่การระดมทุนรอบใหม่ แต่ถูกตีมูลค่าบริษัทลดลงเหลือเพียง 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงถึง 74% จากเมื่อปี 2021 ซึ่งบริษัทเคยมีมูลค่าสูงถึง 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นรอบที่มี Microsoft มาร่วมลงทุนด้วย

The Economics Times รายงานว่า Ritesh Agarwal ผู้ก่อตั้ง OYO กำลังพูดคุยกับนักระดมทุนที่เป็นผู้มีความมั่งคั่งสูงอยู่หลายราย โดยสำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า หนึ่งในนั้นที่แสดงความสนใจคือ กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติมาเลเซีย

รายละเอียดการลงทุนยังพูดคุยกันอยู่ แต่ทาง OYO คาดการณ์ว่าการระดมทุนรอบนี้จะได้เงินลงทุนรวม 70-80 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการระดมทุนรอบนี้จะเป็นการ ‘รีไฟแนนซ์’ หนี้สินของบริษัท

ย้อนกลับไปในเส้นทาง IPO ของบริษัท OYO บริษัทเคยยื่นไฟลิ่งขอจดทะเบียนในตลาดหุ้นครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2021 ก่อนที่ SoftBank ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่จะตัดสินใจลดการตีมูลค่าบริษัทนี้ลงจากเดิม 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐ เหลือเพียง 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ต่อมา OYO ต้องทำเอกสาร IPO ใหม่ ลดขนาดบริษัทลงประมาณ 40-60% และยื่นไฟลิ่งใหม่อีกครั้งเมื่อเดือนเมษายน 2023

หลังจากนั้นกลับมีข่าวออกมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ว่าบริษัทได้ถอนตัวจากการเปิด IPO เป็นครั้งที่สอง ก่อนที่ทางตลาดหุ้นอินเดียจะยืนยันเองในเดือนนี้ว่า OYO ได้ถอนตัวไปแล้วจริงๆ

ปัจจุบัน SoftBank มีหุ้นอยู่ใน OYO เป็นสัดส่วน 46% ตามด้วยผู้ก่อตั้งและซีอีโอ Ritesh Agarwal ถือหุ้น 33% ส่วนที่เหลือเป็นนักลงทุนรายอื่นๆ เช่น Lightspeed, Peak XV Partners

OYO มีการดำเนินธุรกิจในไทยด้วยเช่นกัน โดยเข้ามาเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 ใช้โมเดลธุรกิจแบบแฟรนไชส์ คือให้ใช้แบรนด์สวมในโรงแรมเดิม รวมถึงใช้ระบบบริหารและจองห้องพักของ OYO เป้าหมายของบริษัทคือบรรดาโรงแรมบัดเจ็ทขนาดเล็กที่เข้าถึงลูกค้ายากเมื่อไม่มีแบรนด์ นอกจากนี้ ปีนี้บริษัทยังแตกแบรนด์ใหม่ชื่อ ‘Palette’ มาเจาะตลาดโรงแรมระดับกลางในไทยด้วย

Source

]]>
1474914
เช็กชื่อผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด “โรงแรม 3 ดาว” เมืองไทย https://positioningmag.com/1388761 Tue, 14 Jun 2022 14:12:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388761 หลังจาก “เซ็นทรัลพัฒนา” ประกาศแผนลงมาจับตลาด “โรงแรม 3 ดาว” กลายเป็นอีกหนึ่งรายใหญ่ที่เข้าสู่ตลาด โดยแต่ละรายมีทิศทางการทำธุรกิจที่ทั้งเหมือนและแตกต่าง เราไปเช็กชื่อกันว่าโรงแรม 3 ดาวในไทยมีเชนใดบ้างในขณะนี้ และมุ่งเน้นลูกค้ากลุ่มไหนเป็นหลัก

เครือ Accor – Ibis, Ibis Style

ราคาเริ่มต้นต่อคืน: 900-1,700 บาท
จำนวนโรงแรมในไทย: 21 แห่ง
แผนการเปิดตัวในอนาคต: 2 แห่ง (ไอบิส สไตล์ ทวินทาวเวอร์ส และ ไอบิส เชียงใหม่ นิมมาน)
คอนเซ็ปต์และเป้าหมายลูกค้า: โรงแรมในสไตล์เรียบง่าย ทันสมัย สนุกสนาน พนักงานเป็นมิตร ในราคาประหยัด เจาะกลุ่มทั้งนักท่องเที่ยวและกลุ่มเดินทางเพื่อธุรกิจ

โรงแรม 3 ดาว
ไอบิส สไตล์ กรุงเทพฯ-รัชดา

เครือ IHG – Holiday Inn Express

ราคาเริ่มต้นต่อคืน: 1,300-2,000 บาท
จำนวนโรงแรมในไทย: 6 แห่ง
แผนการเปิดตัวในอนาคต: อย่างน้อย 7 แห่ง
คอนเซ็ปต์และเป้าหมายลูกค้า: โรงแรมเรียบง่ายและดูดี ตอบสนองลูกค้าที่ต้องการที่พักเพื่อการพักผ่อน เติมพลัง และทำงานเล็กๆ น้อยๆ โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบที่ลูกค้าต้องการ

Holiday Inn Express สุขุมวิท 11

เครือ BWH Hotel Group – Best Western

ราคาเริ่มต้นต่อคืน: 900-1,500 บาท
จำนวนโรงแรมในไทย: 5 แห่ง
แผนการเปิดตัวในอนาคต: N/A
คอนเซ็ปต์และเป้าหมายลูกค้า: โรงแรมออกแบบทันสมัย ต้อนรับอย่างอบอุ่น มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ เช่น Free Wi-Fi, เครื่องชงชากาแฟในห้อง, บริการเครื่องปรินท์ เน้นทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนและธุรกิจ (ทั้งนี้แบรนด์จะมีระดับ Plus และ Premier ที่ยกระดับขึ้นมาเป็น 4 ดาวด้วย)

Best Western Royal บุรีรัมย์

เครือดุสิตธานี – ASAI (อาศัย)

ราคาเริ่มต้นต่อคืน: 1,000-1,500 บาท
จำนวนโรงแรมในไทย: 1 แห่ง (อาศัย เยาวราช)
แผนการเปิดตัวในอนาคต: 1 แห่ง (อาศัย สาทร)
คอนเซ็ปต์และเป้าหมายลูกค้า: Eat, Work, Play กินดื่ม ทำงาน พักผ่อน ประสบการณ์แบบลักชัวรีในราคาจับต้องได้ เชื่อมโยงกับชุมชนท้องถิ่นในทำเล

อาศัย เยาวราช

เครือเซ็นทารา – COSI (โคซี่)

ราคาเริ่มต้นต่อคืน: 500-1,000 บาท
จำนวนโรงแรมในไทย: 3 แห่ง
แผนการเปิดตัวในอนาคต: N/A
คอนเซ็ปต์และเป้าหมายลูกค้า: โรงแรมสุดชิคที่มีหลายฟังก์ชันเปิด 24 ชั่วโมง เช่น คาเฟ่, โซเชียลฮับ, ห้องซักผ้าหยอดเหรียญ พร้อมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เหมาะกับวัยรุ่น

โรงแรม 3 ดาว
COSI พัทยา วงศ์อมาตย์ บีช

เครือ CPN x เซ็นทารา – Go! Hotel

ราคาเริ่มต้นต่อคืน: 900-1,100 บาท
จำนวนโรงแรมในไทย: (อยู่ระหว่างก่อสร้าง)
แผนการเปิดตัวในอนาคต: 25 แห่ง (ภายใน 5 ปี)
คอนเซ็ปต์และเป้าหมายลูกค้า: โรงแรมระดับพรีเมียมแมสขนาด 79 ห้อง ทำเลติดศูนย์การค้า ทั้งในหัวเมืองหลักและเมืองรอง เหมาะกับทั้งนักท่องเที่ยวและการเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ สามารถพักผ่อนค้างคืนได้ในโรงแรมที่มีมาตรฐาน

โรงแรม 3 ดาว
ภาพจำลอง Go! Hotel

บีทู โฮเทล – B2 (บีทู)

ราคาเริ่มต้นต่อคืน: 400-900 บาท
จำนวนโรงแรมในไทย: 55 แห่ง
แผนการเปิดตัวในอนาคต: 100 สาขา (ภายใน 5 ปี) โดยมี 20 แห่งที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และจะเปิดภายในปีหน้า
คอนเซ็ปต์และเป้าหมายลูกค้า: โรงแรมบูทีคในราคาจับต้องได้ การออกแบบและตกแต่งมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับเอกลักษณ์พื้นที่ โดยมีแผนผนึกกับร้านกาแฟ Wake Up Coffee 24 ชั่วโมงเข้าไปในบางสาขา หลังจากที่เครือเพิ่งเทกโอเวอร์ร้านกาแฟเข้ามาเมื่อปี 2563

ดิ เอราวัณ กรุ๊ป – Hop Inn (ฮ็อป อินน์)

ราคาเริ่มต้นต่อคืน: 600-900 บาท
จำนวนโรงแรมในไทย: 47 แห่ง
แผนการเปิดตัวในอนาคต: 53 แห่ง (ภายใน 5 ปี) โดยมี 7 แห่งที่อยู่ระหว่างก่อสร้างแล้ว
คอนเซ็ปต์และเป้าหมายลูกค้า: ที่พักที่ให้ประสบการณ์คุณภาพสำหรับนักเดินทางเพื่อธุรกิจและท่องเที่ยว มีมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา

โรงแรม 3 ดาว
ฮ็อป อินน์ ชัยภูมิ

จะเห็นว่าแบรนด์โรงแรม 3 ดาวส่วนใหญ่จะมองทั้งกลุ่มผู้เข้าพักเพื่อการพักผ่อนและการเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ แต่จะเน้นหนักไปทางใดขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งของโรงแรมแต่ละแห่ง และทุกแบรนด์จะเสนอมาตรฐานโรงแรมที่เพียงพอให้ลูกค้ารู้สึกได้รับประสบการณ์ที่ดี ในราคาที่จับต้องได้ง่าย

ส่วนแบรนด์ใหม่ๆ ของเชนโรงแรมไทยอย่าง COSI, Go! Hotel หรือ ASAI จะเห็นชัดมากขึ้นว่ามีการนำเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับนักเดินทางแบบ Workation วิถีการทำงานแบบใหม่ของคนยุคนี้ที่มักจะนำงานไปทำด้วยระหว่างท่องเที่ยว หรือตั้งใจเปลี่ยนไปทำงานแบบ Work from Anywhere ระยะหนึ่งในสถานที่ที่ผ่อนคลายได้มากกว่า

 

โรงแรม 3 ดาว หอมหวานเพราะกระแสไทยเที่ยวไทย

กระแสการลงทุนโรงแรมระดับ 3 ดาวของผู้เล่นรายใหญ่เริ่มขึ้นตั้งแต่ก่อนเกิด COVID-19 ยกตัวอย่าง เครือดุสิตธานี ที่เคยมีแผนจะเปิดโรงแรม ASAI ถึง 10 แห่งในช่วงเปิดตัวแบรนด์เมื่อ 4 ปีก่อน

แม้ว่า COVID-19 อาจจะทำให้แผนลงทุนของบริษัทต่างๆ ชะลอลงไปบ้าง แต่โรงแรม 3 ดาวก็ยังเป็นตลาดที่น่าสนใจของรายใหญ่ ตัวอย่างเช่น ดิ เอราวัณ กรุ๊ป ที่เลื่อนแผนเปิดตัวโรงแรมใหม่ออกไปหลายแห่ง และมีการขายโรงแรมไอบิส สมุย บ่อผุด กับเรเนซองส์ เกาะสมุย รีสอร์ท แอนด์ สปา ออกจากพอร์ต ในทางกลับกัน บริษัทจะลงทุนกับโรงแรม Hop Inn อย่างต่อเนื่อง เพราะเห็นเทรนด์แล้วว่าตลาดไทยเที่ยวไทยฟื้นได้เร็วกว่า โรงแรมบัดเจ็ทแบบนี้สามารถทำอัตราเข้าพักได้เฉลี่ยถึง 60% และบางสาขาขึ้นไปถึง 80-90%

ฝั่งหน้าใหม่แต่อยู่ในเครือใหญ่อย่าง บริษัท แฮมป์ตัน โฮเทล แอนด์ เรสซิเดนซ์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (HHR) ในเครือออริจิ้น แย้มแผนแล้วว่าบริษัทกำลังพัฒนาเชนของตนในชื่อ “แฮมป์ตัน” ซึ่งเป็นแบรนด์โรงแรม 3 ดาว วางราคาที่ประมาณ 1,200 บาทต่อคืน เหตุที่สนใจตลาดระดับนี้เพราะเป็นระดับเจาะตลาดนักท่องเที่ยวไทยที่ยั่งยืนกว่า และในหน้าเทศกาลยังมีโอกาสปั้นราคาขึ้นไปสูงได้ใกล้เคียงกับโรงแรม 4 ดาว ทำกำไรได้ดียิ่งขึ้น

เซ็นทรัลพัฒนาก็เช่นกัน การลงทุนกับโรงแรม Go! Hotel เพราะเล็งเห็นกระแสการท่องเที่ยวในประเทศ การฟื้นตัวของการเดินทางทั้งเพื่อพักผ่อนและธุรกิจ รวมถึง Workation ด้วย

]]>
1388761
เชนโรงแรมอินเดีย “OYO” บุกไทยอย่างเป็นทางการ ซุ่มทำตลาด 8 เดือนกวาดพอร์ตแล้ว 8,000 ห้อง https://positioningmag.com/1253360 Tue, 12 Nov 2019 09:27:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1253360 สตาร์ทอัพรับบริหารโรงแรมระดับโลก “OYO” เปิดตัวในไทยอย่างเป็นทางการ หลังเข้าตลาด 8 เดือนเซ็นดีลรับบริหารแล้ว 250 แห่ง รวม 8,000 ห้อง วางโมเดลธุรกิจเจาะโรงแรมขนาดเล็กในราคาบัดเจ็ทโฮเทล

สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นที่กำลังมาแรงอย่าง OYO ในที่สุดก็เข้าเปิดตัวในประเทศไทยหลังจากลงตลาดไปแล้วมากกว่า 80 ประเทศ และสร้างปรากฏการณ์การเติบโตของธุรกิจโรงแรมที่เร็วที่สุดในโลก นับจากเดือนธันวาคม 2017 บริษัทนี้รับบริหารโรงแรมอยู่ 53,000 ห้อง ภายในเดือนกันยายน 2019 ตัวเลขนั้นพุ่งทะยานไปถึง 1 ล้านห้อง และกลายเป็น แบรนด์ที่มีโรงแรมในเครือมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ภายในระยะเวลาหลังก่อตั้งเพียง 6 ปี

สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศที่ 5 ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่ OYO เข้ามาเปิดตลาดต่อจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดย “อชูโตช สิงห์” ผู้อำนวยการบริหาร ประจำประเทศไทย OYO เปิดเผยว่าหลังจากเข้าสู่ตลาด 8 เดือน ปัจจุบันแบรนด์มีโรงแรมในเครือแล้ว 8,000 ห้อง จาก 250 โรงแรม กระจายอยู่ใน 13 จังหวัด เช่น กรุงเทพฯ พัทยา ภูเก็ต หัวหิน เชียงใหม่ เชียงราย ตราด สุราษฎร์ธานี ขอนแก่น เป็นต้น

สตาร์ทอัพผู้ดิสรัปต์วงการ

โมเดลธุรกิจรับบริหารโรงแรมของ OYO ที่เข้ามาดิสรัปต์วงการคือการเลือกจับกลุ่มฐานพีระมิด นั่นคือกลุ่มโรงแรมขนาดเล็กต่ำกว่า 100 ห้องต่อแห่งและอยู่ในกลุ่มราคาบัดเจ็ทโฮเทล รวมถึงเป็นระบบแบบแฟรนไชส์ที่เข้าไปฝึกบุคลากรของโรงแรมที่มีอยู่เดิมให้ทำงานตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ โดยบริษัทเพียงแต่มีผู้จัดการพื้นที่คอยดูแลห่างๆ

โรงแรม OYO ในไทย (photo: oyorooms.com)

สิ่งเหล่านี้ต่างจากเชนโรงแรมยักษ์ใหญ่ดั้งเดิมที่มักเลือกรับบริหารโรงแรมขนาดกลาง หรือถ้าเป็นขนาดเล็กก็จะเป็นโรงแรมแบบบูทิคโฮเทลที่ได้ราคาดี รวมถึงการบริหารงานจะว่าจ้างบุคลากรภายใต้การควบคุมโดยตรงของเชนโรงแรมนั้นๆ

ดังนั้น OYO จึงเป็นการจับเป้าหมายตลาด B2B ที่เป็นรายย่อย โรงแรมหลายแห่งที่แบรนด์นี้บริหารอยู่มีจำนวนห้องเพียงหลักสิบ และระบบแฟรนไชส์ทำให้ขยายตัวได้เร็วกว่าการเข้าบริหารเองโดยตรง

(จากซ้าย) อชูโตช สิงห์ ผู้อำนวยการบริหาร ประจำประเทศไทย OYO , อัลปานา ดูเบ อุปทูต ณ สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย และ มัณดา ไวดิย่า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกกลาง OYO

“มัณดา ไวดิย่า” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกกลาง OYO เสริมด้วยว่า การที่บริษัทสามารถประเมินโรงแรมที่จะเข้าบริหารได้เร็ว และบริหารแบบแฟรนไชส์ได้ เพราะบริษัทใช้เทคโนโลยีเป็นแกนหลัก

ตัวอย่างเช่น การตรวจโรงแรมของออดิทก่อนจะเสนอแผนและสัญญาดำเนินงานนั้น บริษัทใช้แอปพลิเคชั่นมือถือในการตรวจตามคีย์ที่วางเอาไว้และระบบจะประเมินแผนงานออกมาอัตโนมัติ ทำให้ออดิทของบริษัททำงานด้านสัญญารับบริหารได้เร็วกว่าระบบเชนโรงแรมดั้งเดิมถึง 10 เท่า

ส่วนการบริหารโรงแรม บริษัทมีแพลตฟอร์มสำเร็จรูป OYO Os ที่ใช้บริหารแบบ end-to-end ตั้งแต่รับจองห้อง เช็กประวัติลูกค้า สั่งงานและตรวจงานทำความสะอาด รับออเดอร์อาหาร จัดการการเงิน จนถึงวิเคราะห์ดาต้าทั้งหมดของโรงแรม

นอกจากนี้ บริษัทยังมีแพลตฟอร์มจองออนไลน์ของตนเองทั้งบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น แม้ว่าจะไม่ได้ปิดกั้นการปล่อยห้องขายบน OTA (Online Travel Agency) อื่นๆ แต่พบว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ผู้เข้าพักจะจองผ่านระบบของ OYO มากกว่า 80%

ช้อนโรงแรมในภาวะวิกฤตเข้าระบบ

OYO ยังวางกลุ่มเป้าหมายของตัวเองเป็นโรงแรมเล็กๆ ที่อยู่ในภาวะซบเซา โดยบริษัทจะเข้าไปวางแผนปรับโฉมโรงแรมให้เป็นไปตามมาตรฐานและขึ้นป้ายแบรนด์ เช่น ทาสีใหม่ เปลี่ยน amenities ในห้องพัก เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งถ้าเจ้าของโรงแรมไม่พร้อมลงทุน OYO พร้อมจะร่วมลงทุนด้วยในการปรับโฉม

เมื่อพาร์ตเนอร์กับ OYO บริษัทจะเข้าติดตั้งป้ายแบรนด์โรงแรม (photo: oyorooms.com)

จากนั้นจะเป็นการลงระบบ OYO Os ให้ใช้บริหาร ซึ่งจะปรับราคาขึ้นลงตามภาวะตลาดตามที่ระบบ OYO ประเมินด้วยการเก็บดาต้าพอยท์ต่างๆ เช่น ราคาและจำนวนห้องพักว่างในทำเลเดียวกัน จำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามา และในภาพใหญ่นั้นบริษัทจะสร้างแบรนด์ให้น่าเชื่อถือเพื่อเพิ่มผู้เข้าพัก

เหล่านี้แลกกับสัญญาบริหารระยะ 1-5 ปีพร้อมค่าคอมมิชชั่นที่เจ้าของจ่ายให้บริษัทตามรายได้ที่เกิดขึ้นจริง

“เราให้องค์ความรู้ในการบริหารราคาให้ตรงกับตลาด ทำให้โรงแรมเล็กๆ ปรากฏบนแพลตฟอร์มการขายออนไลน์มากขึ้น และทำให้โรงแรมมีมาตรฐาน” อชูโตชกล่าว “เราเก็บค่าคอมมิชชั่นจากรายได้ที่เข้ามา ดังนั้นรายได้ยิ่งมาก ทุกคนก็ยิ่งได้มาก เราจึงเป็นพาร์ตเนอร์ที่เติบโตไปพร้อมกัน”

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่า OYO จะมีแต่ข้อดี สำนักข่าว Skift รายงานถึงแบรนด์ OYO ในสหรัฐอเมริกาว่าสร้างความปวดหัวให้ผู้จัดการไม่น้อย แม้ว่าจะทำให้รายได้โรงแรมเพิ่มขึ้นและมีแขกเข้าพักมากขึ้นจริง แต่ระบบ Os ทำงานได้ไม่ดีนัก ทำให้เกิดภาวะ Overbooking บ่อยครั้ง รวมถึงแบรนด์ใช้กลยุทธ์ตัดราคาซึ่งบางครั้งถูกลงมากจนมีแขกที่ไม่พึงประสงค์เข้าพัก

ในไทยนั้น Positioning สำรวจราคาจองออนไลน์ของโรงแรม OYO ประเทศไทย พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในช่วงราคา 400-700 บาทต่อคืน และมีบางแห่งที่ลงไปต่ำสุดที่ 280 บาทต่อคืน

ตลาดบัดเจ็ทโฮเทล 1 ล้านห้อง

อชูโตชกล่าวต่อว่า บริษัทประเมินว่าประเทศไทยมีตลาดบัดเจทโฮเทลอยู่ประมาณ 30,000-50,000 แห่ง จำนวนรวมมากกว่า 1 ล้านห้องทั่วประเทศ ซึ่งอาจเป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัทได้ในอนาคต ถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ แต่ที่บริษัทตัดสินใจเข้าสู่ประเทศไทยเป็นอันดับ 5 ในภูมิภาคนี้ทั้งที่ขนาดตลาดน่าสนใจ เพราะผู้ประกอบการไทยมีความรู้ในการดำเนินธุรกิจอยู่แล้วและเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้ OYO ต้องคิดโมเดลธุรกิจอย่างละเอียดขึ้นเพื่อจะเจาะตลาด

แม้จะไม่ยอมปริปากบอกเป้าหมายที่ชัดเจน แต่มัณดาแย้มว่า OYO ต้องการเป็นเชนโรงแรมชั้นนำในไทย ซึ่งหากจะติดอันดับต้นๆ ได้ต้องขยายพอร์ตไปถึง 30,000-40,000 ห้องให้ได้ในเร็ววัน

]]>
1253360