ผลิตเครื่องบิน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 19 Nov 2020 13:34:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Boeing 737 Max กลับมาแล้ว! “สหรัฐฯ” ชาติแรกที่เปิดไฟเขียวให้ทำการบิน https://positioningmag.com/1306870 Thu, 19 Nov 2020 11:53:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306870 Boeing 737 Max เครื่องบินรุ่นเจ้าปัญหาที่ประสบเหตุเครื่องบินตก 2 ครั้งภายใน 5 เดือน และถูกคำสั่งห้ามทำการบินตั้งแต่เดือนมีนาคม 2019 ขณะนี้ FAA แห่งสหรัฐฯ อนุญาตให้กลับมาทำการบินแล้ว หลังบริษัทปรับเปลี่ยนดีไซน์และซอฟต์แวร์จนทางการ “มั่นใจ 100%” ว่าปลอดภัย รอดูท่าที “ยุโรป-จีน” จะปลดล็อกหรือไม่

สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (FAA) อนุญาตให้เครื่องบิน Boeing 737 Max กลับมาทำการบินได้อีกครั้งหลังถูกสั่งห้ามบินมานาน 20 เดือน โดยต้องมีการเปลี่ยนดีไซน์เครื่องบินและซอฟต์แวร์ให้ถูกต้อง ตามที่ FAA ได้ตรวจสอบแล้วว่าเป็นจุดที่ต้องแก้ไขเพื่อป้องกันอุบัติเหตุอย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีต รวมถึงต้องฝึกนักบินใหม่สำหรับเครื่องรุ่นนี้

สตีฟ ดิกสัน หัวหน้า FAA ระบุว่า สำนักงานฯ มีความมั่นใจ 100% ว่าเครื่องบินรุ่นนี้ปลอดภัยแล้วหลังปรับแก้ “เราได้ทำทุกสิ่งที่มนุษย์จะสามารถทำได้เพื่อให้แน่ใจว่าอุบัติเหตุเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก” เขากล่าว

“เดวิด คาลฮูน” ประธานและซีอีโอบริษัท Boeing

ด้าน “เดวิด คาลฮูน” ประธานและซีอีโอบริษัท Boeing ย้ำว่า ตั้งแต่เกิดหายนะขึ้นกับเครื่องรุ่นนี้ บริษัทได้ขันน็อตระเบียบปฏิบัติและวัฒนธรรมองค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยให้เข้มงวดมากขึ้น “เราจะไม่ลืมทุกชีวิตที่สูญเสียไปในโศกนาฏกรรมทั้งสองครั้ง ซึ่งทำให้เราตัดสินใจหยุดการผลิต” คาลฮูนนั้นเป็นประธานคนใหม่ที่เพิ่งขึ้นมารับตำแหน่งปีก่อน หลังจาก “เดนนิส มุยเลนเบิร์ก” ซีอีโอคนก่อนถูกไล่ออกเซ่นหายนะจากเครื่องบินรุ่นนี้

“เหตุการณ์เหล่านี้และบทเรียนที่ได้รับได้เปลี่ยนแปลงบริษัทของเรา และทำให้เรามุ่งจุดสนใจไปที่คุณค่าหลักของบริษัทคือความปลอดภัย คุณภาพ และความซื่อสัตย์” คาลฮูนกล่าว

 

ครอบครัวเหยื่อผิดหวังกับการตัดสินใจ

เครื่องบินรุ่น 737 Max ของ Boeing เป็นโมเดลที่สายการบิน Lion Air และ Ethiopian Airlines นำมาใช้งานช่วงปลายปี 2018 และกลายเป็นโศกนาฏกรรมเมื่อมี 2 เที่ยวบินที่ใช้เครื่องนี้ตกติดๆ กันภายในรอบ 5 เดือน มีผู้เสียชีวิตรวม 346 ราย ในที่สุดเครื่อง 737 Max จึงถูกสั่งหยุดบินไปเมื่อเดือนมีนาคม 2019

สำนักข่าว BBC รายงานจากมุมมองของครอบครัวเหยื่อผู้เสียชีวิตว่า “รู้สึกค่อนข้างผิดหวัง” กับการตัดสินใจของ FAA และพวกเขาไม่มีความมั่นใจในหน่วยงานผู้คุมกฎการบินหรือบริษัท Boeing ซึ่งพยายามจะชี้ว่าอุบัติเหตุนี้เกิดจากความผิดพลาดของนักบินและยังคงสู้คดีกับครอบครัวของเหยื่อในชั้นศาล

ตั้งแต่เกิดเหตุโศกนาฏกรรมขึ้น Boeing ถูกตั้งคำถามเรื่องวัฒนธรรมองค์กรในการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นหลัก และ FAA ก็เช่นกัน กลายเป็นหน่วยงานที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่าจะยืนหยัดต่อต้านบริษัทยักษ์ใหญ่ได้หรือไม่ เมื่อพวกเขาเคยปล่อยให้เครื่องบินที่มีปัญหาอย่างหนักขึ้นบินมาแล้ว

 

สายการบินไหนจะกลับมาใช้ 737 Max

สำหรับสายการบินที่สั่งซื้อเครื่องและจะนำ 737 Max กลับมาบินใหม่ ขณะนี้มี American Airlines ที่ประกาศแล้วว่าจะเริ่มนำขึ้นบินอีกครั้งวันที่ 29 ธันวาคมนี้ ส่วน United Airlines และ Southwest Airlines ประกาศว่าจะนำขึ้นบินปีหน้า

อย่างไรก็ตาม มีเสียงตอบรับทางลบจากนักเดินทางเช่นกันว่า หากสายการบินนำเครื่องรุ่นนี้กลับมาบิน ควรจะต้องแจ้งให้ผู้โดยสารที่ทำการจองเที่ยวบินไปแล้ว แต่มาทราบทีหลังว่าจะเปลี่ยนรุ่นเครื่องบินในการเดินทาง สามารถขอเปลี่ยนไฟลท์บินได้ฟรี เพราะแม้ว่าจะได้รับการรับรองมาแล้วแต่เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นต้องใช้เวลาในการเรียกความมั่นใจกลับมา

 

รอดูยุโรป-จีนจะปลดล็อกหรือไม่

สำนักงานด้านการบินแห่งต่อไปที่น่าจับตาคือ องค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป (EASA) ว่าจะปลดล็อกให้ Boeing 737 Max ขึ้นบินด้วยหรือไม่

โดย สำนักข่าว Reuters รายงานว่าสำนักงานด้านการบินอื่นๆ ทั่วโลกกำลังรอดูท่าทีของ EASA เพราะถือเป็น
สำนักงานที่ถ่วงดุลกับ FAA ได้อย่างเท่าเทียม ในฐานะผู้ใกล้ชิดกับบริษัท Airbus แห่งฝรั่งเศส คู่แข่งของ Boeing ดังนั้น EASA จึงเข้าตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของ 737 Max อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด

อีกประเทศหนึ่งที่สำคัญมากในการให้การรับรอง 737 Max คือ “จีน” เพราะเป็นเจ้าตลาดใหญ่ของสายการบินไปแล้ว รวมถึงจะเป็นอิทธิพลสำคัญต่อสายการบินเอเชียนอื่นๆ ด้วย และเป็นที่หวั่นเกรงกันว่า เนื่องจาก Boeing เป็นบริษัทอเมริกัน เครื่อง 737 Max อาจจะเป็นตัวประกันใหม่ของจีนในการต่อรองทางการเมืองกับสหรัฐฯ

“เรากังวลว่าเรื่องนี้อาจจะถูกนำไปเป็นเครื่องมือกดดันชิ้นใหม่ระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯ กับจีน” เบอร์เก็ต ฮูอี้ นักวิเคราะห์จาก Morningstar กล่าว “อย่างไรก็ตาม เรามองกันว่ารัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐฯ จะเปลี่ยนแปลงและลดระดับการแข่งขันในเชิงนโยบายการค้า ดังนั้น ก็อาจจะเพิ่มโอกาสให้ทางการจีนยอมรับรองการใช้เครื่องบินรุ่นนี้อีกครั้ง”

Source: BBC, Reuters

]]>
1306870
Boeing ช้ำหนัก ปลดพนักงานรวม 3 หมื่นคน ภายในสิ้นปี 2021 รอธุรกิจการบินฟื้นตัวอีก 3 ปี https://positioningmag.com/1303572 Thu, 29 Oct 2020 07:18:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303572 COVID-19 ทำให้การเดินทางทางอากาศทั่วโลกแทบจะหยุดนิ่ง สายการบินมีปัญหาทางการเงินล้มละละลายไปหลายเจ้า ต้องปลดพนักงาน ลดค่าใช้จ่าย รวมไปถึงชะลอยกเลิกคำสั่งซื้อเครื่องบินลำใหม่ด้วย

Boeing (โบอิ้ง) ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของโลกของสหรัฐฯ เผยผลประกอบการขาดทุนติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4 จากผลกระทบการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เเละคำสั่งห้ามนำเครื่องรุ่น 737 Max ขึ้นบินที่ทำให้ยอดขายทรุดหนักต่อเนื่อง

ย้อนไปเมื่อช่วงต้นปี 2020 ทาง Boeing ประกาศว่าจะปลดพนักงานล็อตใหญ่ 19,000 คน เเต่มาถึงตอนนี้ที่แนวโน้มยอดขายเครื่องบินยังไม่เเน่นอน ล่าสุดบริษัทต้องประกาศปลดพนักงาน รอบ 2” เพิ่มอีก 7,000 คน รวมกับพนักงานที่ลดลงตามปกติ จะลดลงทั้งสิ้น 30,000 คน คิดเป็น 19% ของจำนวนพนักงานที่มีก่อน COVID-19 โดยภายในสิ้นปี 2021 Boeing จะเหลือพนักงานราว 1.3 เเสนคน จากจำนวน 1.6 เเสนคน

เราจำเป็นที่จะต้องปรับให้เข้ากับความเป็นจริงของตลาดใหม่ และเปลี่ยนธุรกิจให้ยืดหยุ่นมากขึ้นในระยะยาว” Dave Calhoun ซีอีโอของ Boeing กล่าว เเละคาดว่า การเดินทางทางอากาศในปีนี้ จะอยู่ที่ประมาณ 30-35% เเละน่าจะกลับสู่ระดับก่อนโรคระบาด ในอีกประมาณ 3 ปีข้างหน้า

Boeing ขาดทุนต่อเนื่องมา 4 ไตรมาสแล้ว โดยล่าสุดไตรมาส 3 ของปีนี้ บริษัทขาดทุน 466 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่กำไรถึง 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนรายได้ใน 9 เดือนแรกของปี 2020 บริษัททำได้ 42,000 ล้านดอลลาร์ ลดลงกว่า 30%

Boeing

ซีอีโอ Boeing หวังว่า บริษัทจะได้รับการอนุมัติให้นำส่งเครื่องรุ่น 737 Max ภายในไตรมาส 4 ของปีนี้ หลังเกิดอุบัติเหตุที่เครื่องรุ่นดังกล่าวตกที่เอธิโอเปียและอินโดนีเซีย และทำให้มีการระงับการบินเครื่องรุ่นนี้มาตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีที่แล้ว

เขาบอกกับนักวิเคราะห์ว่า ครึ่งหนึ่งของเครื่องบินในกลุ่ม MAX จำนวน 450 ลำที่ผลิตเสร็จแล้ว น่าจะมีการส่งมอบให้กับสายการบินที่เป็นลูกค้าได้ภายในสิ้นปีหน้า และส่วนที่เหลือราว 225 จะเริ่มทยอยนำส่งในปี 2022

 

ที่มา : BBC , Reuters

]]>
1303572
คู่ปรับ “Boeing – Airbus” ร่วมชะตากรรม ขาดทุนยับกว่าที่คาด ลดผลิตเครื่องบิน ปลดพนักงานเพิ่ม https://positioningmag.com/1290404 Fri, 31 Jul 2020 12:16:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290404 สองยักษ์ใหญ่เเห่งวงการผลิตเครื่องบิน ที่ฟาดฟัดกันมาหลายยุคหลายสมัยอย่าง Boeing เเละ Airbus กำลังตกที่นั่งลำบากร่วมกันหลังต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 โดยทั้งสองบริษัทมีผลประกอบการขาดทุนมากกว่าที่คาดไว้ จำเป็นต้องปรับลดพนักงานเพิ่ม เเละลดการผลิตเครื่องบินรุ่นหลักลงอีก

ธุรกิจการบินฟื้นตัวช้าเเละต้องรออีกหลายปี ล่าสุด Boeing ผู้ผลิตเครื่องบินสัญชาติสหรัฐฯ รายงานผลประกอบการในไตรมาสขาดทุนถึง 2,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.4 หมื่นล้านบาท) และรายได้ในช่วงเวลาเดียวกันลดลง 25% เหลือ 11,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.6 เเสนล้านบาท)

Dave Calhoun ซีอีโอของ Boeing บอกว่า ตัวเลขในไตรมาส 2 “ย่ำแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้มาก สะท้อนให้เห็นว่าการเเพร่ระบาดของ COVID-19 นั้นส่งผลกระทบอย่างรุนเเรงต่ออุตสาหกรรมการบิน เเละสถานการณ์นี้ยังจะต้องคงอยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่ง

คงต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี กว่าที่อุตสาหกรรมการบินจะฟื้นตัวสู่ระดับก่อน COVID-19”

ด้วยปัจจัยความต้องการเดินทางที่ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงข้อจำกัดพรมเเดนเเละมาตรการควบคุมโรคในเเต่ละประเทศ ทำให้สายการบินชะลอการซื้อเครื่องบินใหม่ ทำให้ผู้ผลิตต้องเลื่อนการส่งสินค้าและบริการซ่อมบำรุงหลายด้าน

ก่อนหน้านี้ ทางสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ออกมาปรับคาดการณ์ใหม่ว่า ธุรกิจการบินจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด เเละต้องรอไปจนถึงปี 2024 กว่าที่จำนวนผู้โดยสารทั่วโลกจะกลับมาเท่าช่วงก่อนโรคระบาด เเละเเม้อัตราการเดินทางทางอากาศได้ผ่านจุดต่ำสุดไปเเล้ว เเต่อุตสาหกรรมการบินจะกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆ เเละยังถือว่าอ่อนแออยู่มาก

Boeing ประกาศว่า จะลดการผลิตเครื่องบินตระกูล 777 และ 787 และเลื่อนการเปิดตัวเครื่องบินรุ่นใหม่อย่าง 777X ได้อย่างเร็วที่สุด คือภายในปี 2022

นอกจากนี้ Boeing ยืนยันอย่างเป็นทางการเเล้วว่าจะเลิกผลิตเครื่องบินเครื่องบินโดยสาร Boeing 747 จัมโบ้เจ็ต เจ้าของฉายาราชินีเเห่งท้องฟ้าสัญลักษณ์ของการเดินทางระยะไกล ภายในปี 2022 นี้ จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การเดินทางทั่วโลกต้องหยุดชะงัก เเละปัจจุบันสายการบินต่างๆ ก็หันมาใช้เครื่องบินรุ่นประหยัดเชื้อเพลิงกันมากขึ้น ตามเทรนด์ของยุคสมัย

ขณะเดียวกัน Boeing ก็ต้องรีบปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อพยุงธุรกิจให้อยู่รอด เนื่องจากคำสั่งซื้อเครื่องบินที่ลดฮวบ ด้วยการปลดพนักงานภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งพนักงานของบริษัทราว 19,000 คน จากพนักงานทั่วโลกราว 1.6 เเสนคน จะต้องถูกเลิกจ้างก่อนกำหนด เเละล่าสุดก็เพิ่งมีการส่งข้อความถึงพนักงานว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดการจ้างงานเพิ่มเติมอีก

Photo : Shutterstock

ด้านคู่ปรับตลอดกาลอย่าง Airbus ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ สัญชาติฝรั่งเศส เปิดเผยผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ว่า ขาดทุน 1,900 ล้านยูโร (ราว 7 หมื่นล้านบาท) รายได้ในช่วงเวลาเดียวกันลดลง 39% เหลือ 18,900 ล้านยูโร (ราว 6.9 เเสนล้านบาท) โดยอัตราการส่งมอบเครื่องบินในช่วงเวลานี้ลดลง 50% เหลือเพียง 196 ลำ ต่ำสุดในรอบ 16 ปี

Guillaume Faury ซีอีโอของ Airbus มองว่าวิกฤต COVID-19 คือปัจจัยที่ส่งผลกระทบรุนเเรงมากที่สุดตอนนี้ ซึ่งบริษัทได้ปรับลดการผลิตลงเเล้ว 40% รวมถึงการลดการผลิตเครื่องบินรุ่น A 350 ลงอีก เหลือเพียง 5 ลำต่อเดือน

สำหรับเเผนปรับโครงสร้างองค์กรของ Airbus จะมีการปลดพนักงานราว 15,000 คนภายในกลางปีหน้า ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในฝรั่งเศสและเยอรมนี จากพนักงานกว่า 1.35 เเสนคนทั่วโลก

ด้านสหภาพแรงงานฝรั่งเศส เรียกร้องให้ Airbus ชะลอการปรับโครงสร้างบริษัทออกไปก่อน โดยมองว่าการปลดพนักงานในครั้งนี้รุนแรงเกินไปและอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงกับอุตสาหกรรมการบินของยุโรปในอนาคต รวมถึงอาจทำให้ธุรกิจซัพพลายเออร์ขนาดเล็ก ได้รับผลกระทบอย่างรุนเเรง หาก Airbus ลดการผลิตลงในช่วง 2 ปีต่อจากนี้

ทั้งนี้ Boeing เเละ Airbus ครองส่วนแบ่งตลาดเครื่องบินพาณิชย์ทั่วโลกไปแล้ว 91% โดย Boeing ครองส่วนแบ่งตลาดอยู่ 45.69% และ Airbus ครองส่วนแบ่งอยู่ 45.35%

 

ที่มา : Reuters , Airbus.com

]]> 1290404 ไวรัสสะเทือนวงการผลิตเครื่องบิน Rolls-Royce จ่อปลดพนักงานกว่า 8,000 คน https://positioningmag.com/1276639 Sun, 03 May 2020 07:43:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276639 COVID-19 สะเทือนอุตสาหกรรมการบินตั้งเเต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ สายการบินบางแห่งเจอมรสุมต้องยื่นล้มละลาย ขณะที่ฝ่ายผู้ผลิตกำลังเเห่ปลดพนักงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย

ล่าสุดเเหล่งข่าวผู้บริหารระดับสูง เปิดเผยกับ Financial Times ว่า Rolls-Royce Holdings ผู้ผลิตเครื่องยนต์ของเครื่องบินรายใหญ่จากเกาะอังกฤษ กำลังตัดสินใจที่จะปลดพนักงานกว่า 8 พันคน จากพนักงานทั่วโลก 5.2 หมื่นคน โดยจำนวนนี้เป็นพนักงานในสหราชอาณาจักรราว 2.3 หมื่นคน ซึ่งบริษัทคาดว่าจะแจ้งจำนวนพนักงานที่จะเสียตำแหน่งได้อย่างเเน่ชัด ภายในสิ้นเดือนพ.ค.นี้

โดยคาดการณ์ว่าบริษัทจะลดพนักงานส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักร รวมไปถึงในสิงคโปร์และเยอรมนี อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามของ Reuters ทางสหภาพเเรงงานของสหราชอาณาจักรยังไม่ได้เเสดงความคิดเห็นต่อกรณีนี้

ขณะเดียวกัน การปลดพนักงานกว่า 15% นี้จะทำควบคู่ไปกับเเผนการประหยัดค่าใช้จ่าย 750 ล้านยูโร (ราว 2.6 หมื่นล้านบาท) ที่จะต้องดำเนินการต่อไป หนึ่งในนั้นคือการลดเงินเดือนทั่วพนักงานทั่วโลกลงอย่างน้อย 10% ในปีนี้

สำหรับเเผนการปลดพนักงานของ Rolls-Royce ครั้งนี้ถือว่า “หนักกว่า” เหตุวินาศกรรม 9/11 เมื่อปี 2001 ที่บริษัทเคยปลดพนักงานกว่า 5 พันคน

ในช่วงการระบาดของ COVID-19 หลายประเทศต้องออกมาตรการล็อกดาวน์ งดการเดินทางทั้งในเเละต่างประเทศ ทำให้สายการบินต่างๆ ต้องจอดเครื่องบินไว้ชั่วคราว ต้องระงับเเผนสั่งซื้อเครื่องบินใหม่ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจของ Rolls-Royce ที่เป็นผู้ผลิต “เครื่องยนต์” ให้กับเครื่องบินทั้ง Airbus, Boeing เเละเจ้าอื่นๆ อีกมากมาย

ก่อนหน้านี้ Boeing ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตเครื่องบินแห่งสหรัฐฯ ก็เพิ่งประกาศเตรียมปลดพนักงาน 16,000 คน หลังไตรมาสแรกรายได้หดไปแล้ว 26% และขาดทุน 641 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อ่านเพิ่มเติม : Boeing ปลดพนักงาน 16,000 คน หลังประเมิน “อุตสาหกรรมการบิน” จะไม่ฟื้นอีกหลายปี

ที่มา : Reuters, BBC

 

]]>
1276639