มินเทล สำรวจความต้องการของผู้บริโภคด้านสุขภาพกับการทานอาหาร พบว่า ผู้บริโภคไทย 52% สนใจหาความรู้ด้านโภชนาการมากขึ้น สะท้อนว่าหลังโควิด-19 ชาวไทยมีความสนใจการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันสูงขึ้นกว่าเดิม ผ่านการดูแลอาหารการกินของตนเอง
อาหารสุขภาพที่ผู้บริโภคชาวไทยสนใจคืออะไรบ้าง? มินเทลพบว่า 7 ใน 10 ของคนไทยยกให้ “ผักผลไม้” เป็นสิ่งสำคัญที่ดีต่อสุขภาพ เป็นอาหารที่ช่วยเสริมโภชนาการได้
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคใหญ่ที่ทำให้คนไทยไม่ทานผักผลไม้มากนักคือเรื่อง “การเงิน” ทุกคนทราบประโยชน์ของผักผลไม้ แต่ผลสำรวจพบว่า ผู้บริโภคในชนบทมีเพียง 48% ที่ทานผักผลไม้เป็นประจำ ขณะที่ในเมืองจะมีสัดส่วนสูงกว่า โดยผู้บริโภคคนเมืองมี 56% ที่ทานผักผลไม้เป็นประจำ
กลุ่มที่รับผลกระทบหนักที่สุดคือ คนรุ่นใหม่วัยไม่เกิน 24 ปีที่มีสถานะทางการเงินระดับต่ำ กลุ่มนี้มีเพียง 37% ที่ได้ทานผักผลไม้เป็นประจำ
พิมพ์วดี อากิลา Associate Director แผนกอาหารและเครื่องดื่ม มินเทล รีพอร์ทส์ ประเทศไทย มองว่าแบรนด์สามารถนำอินไซต์นี้มาใช้ได้ เพราะคนไทยใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เพียงแต่ต้องการเข้าถึงผักผลไม้ได้ง่ายขึ้นผ่านการลดราคาสินค้าและแหล่งจำหน่าย ซึ่งที่จริงแล้วผักผลไม้ไทยตามฤดูกาลของไทยนั้นมีจำนวนมากและราคาจับต้องได้ จึงควรจะเป็นตัวเลือกอาหารเพื่อสุขภาพในราคาเป็นมิตร
นอกจากประเด็นผักผลไม้ คนไทยยังมีความสนใจการดูแลสุขภาพและโภชนาการด้านอื่นๆ ด้วย โดยมี 51% ที่ตอบว่าปัจจุบันหันมา “ทำอาหาร” ทานเอง ซึ่งดีต่อสุขภาพมากกว่า
คนไทยบางส่วนเริ่มสนใจการลดละเลิกเนื้อสัตว์ด้วย โดยมีผู้บริโภค 21% ที่สนใจลดการทานเนื้อสัตว์ และมีผู้บริโภค 24% ที่วางเป้าหมายจะเปลี่ยนจากการทานเนื้อสัตว์มาทานอาหาร Plant-based และผลิตภัณฑ์ทดแทนนม
มินเทลยังพบด้วยว่า เหตุปัจจัยที่ทำให้คนไทยใส่ใจโภชนาการมากขึ้น นอกเรื่องการป้องกันโรคแล้ว ยังมีเหตุอื่นๆ ด้วย เช่น 38% ต้องการกินเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และ 28% ทานเพื่อสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี
ข้อมูลเหล่านี้เป็นอินไซต์ที่น่าสนใจสำหรับแบรนด์ในการเข้าถึงผู้บริโภคด้วยมุมมองด้านสุขภาพ หรือพัฒนาสินค้าที่มีประโยชน์ทางโภชนาการกันมากขึ้น
]]>โดยผักและผลไม้กว่า 30 ชนิด ซึ่งรวมไปถึง แอปเปิล กล้วย ส้ม มะเขือเทศ มะเขือม่วง มะนาว เเตงกวาและกระเทียมต้น จะไม่สามารถวางขายด้วยการห่อบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก
ส่วนกลุ่มลูกพีช มะเขือเทศ เชอร์รี และถั่วแขก จะได้รับการผ่อนผันไปจนถึงเดือนมิ.ย. ปี 2023 ขณะที่ผักสลัดอองดีฟ หน่อไม้ฝรั่ง เห็ด เชอร์รี ผักสลัดและสมุนไพรบางชนิด จะได้รับการผ่อนผันถึงสิ้นปี 2024 เพื่อให้ผู้ประกอบการเเละผู้บริโภคค่อยๆ ปรับตัว
นอกจากนี้ รัฐบาลยังผ่อนผันให้ ‘ผลไม้สดหั่นชิ้น ผักสดและผลไม้สดบางประเภท’ ยังคงจำหน่ายในถุงพลาสติกหรือกล่องพลาสติกได้ ก่อนจะเลิกใช้อย่างเป็นทางการทั้งหมด ภายในสิ้นเดือน มิ.ย. ปี 2026
ความเคลื่อนไหวนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลฝรั่งเศสที่จะเลิกใช้พลาสติกแบบ ‘ใช้ครั้งเดียวทิ้ง’ (single use plastics) ให้ได้ภายในปี 2040
มีการประเมินว่า ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้มากกว่า 1 ใน 3 ในฝรั่งเศสจะวางจำหน่ายผ่านการห่อพลาสติก โดยการยกระดับมาตรการควบคุม จะช่วยลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ได้หลายพันล้านชิ้นในทุกๆ ปี พร้อมส่งเสริมการทดแทนด้วยวัสดุอื่นที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม หรือนำกลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิลได้
ทั้งนี้ ฝรั่งเศส สั่งเเบนการใช้หลอดพลาสติก ถ้วยและช้อนส้อม รวมถึงกล่องพลาสติกโพลีสไตรีน ในปี 2021 โดยหลายประเทศในยุโรปก็ได้ประกาศห้ามด้วยมาตรการที่คล้ายกันนี้
ในอังกฤษมีการใช้จานแบบใช้แล้วทิ้งมากถึง 1,100 ล้านใบ และช้อนส้อมแบบใช้แล้วทิ้งอีก 4,250 ล้านชิ้นต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาจาก ‘พลาสติก’ เเละมีเพียง 10% เท่านั้นที่ถูกไปนำรีไซเคิล
การห้ามจำหน่ายหลอดพลาสติก ก้านชงกาแฟพลาสติกและก้านสำลีพลาสติก มีผลบังคับใช้ในอังกฤษ มาตั้งเเต่ปี 2020
ทางการอังกฤษ ระบุว่า หลังได้สั่งห้ามใช้หลอดพลาสติกก้านชงกาแฟพลาสติกและก้านสำลีพลาสติกไปแล้ว และตอนนี้กำลังวางแผนที่จะขยายไปห้ามใช้ช้อน ส้อม ก้านลูกโป่งที่สามารถใช้วัสดุอื่นแทนได้
ที่มา : BBC , the guardian
]]>