ผู้ติดเชื้อ COVID-19 – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 23 Dec 2021 12:14:57 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 วิจัยพบ “โอมิครอน” รุนแรงถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่า 15-20% เทียบกับ “เดลตา” https://positioningmag.com/1368493 Thu, 23 Dec 2021 09:11:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368493 ผลการศึกษาจากเคสจริงในอังกฤษพบว่า ผู้ติดเชื้อโรค COVID-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” มีแนวโน้มส่งผลรุนแรงถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่า 20% เมื่อเทียบกับเชื้อสายพันธุ์ “เดลตา” แม้ว่าการระบาดจะรวดเร็วกว่าและหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ดีกว่าก็ตาม

ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างเคร่งเครียดกับการค้นพบในระยะแรกว่า แม้ว่าความรุนแรงของเชื้อโรค COVID-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” น่าจะรุนแรงถึงแก่ชีวิตน้อยกว่า “เดลตา” แต่ก็ยังต้องชั่งน้ำหนักกับความสามารถของเชื้อที่แพร่ไปได้เร็วกว่า และหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนได้ดีกว่า แม้จะรุนแรงน้อยแต่การติดเชื้อเร็วก็อาจจะทำให้คนไข้ล้นระบบสาธารณสุขได้

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาจาก Imperial College London ซึ่งศึกษาจากกรณีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนในอังกฤษ พบว่า เชื้อสายพันธุ์นี้มีแนวโน้มทำให้เข้าโรงพยาบาลน้อยกว่าอีกด้วย

โดยการวิจัยนี้พบว่า ผู้ติดเชื้อโอมิครอนมีแนวโน้มเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่าผู้ติดเชื้อเดลตา 15-20% และแนวโน้มที่จะอยู่ในโรงพยาบาลระยะสั้นกว่าผู้ติดเชื้อเดลตา 1 วันหรือมากกว่าถึง 40-45% สะท้อนให้เห็นความรุนแรงของโรคต่ำกว่า

ทั้งนี้ พบว่าผู้ติดเชื้อที่เป็นการติดเชื้อซ้ำมีความเสี่ยงรุนแรงถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลต่ำกว่า 50-60% เมื่อเทียบกับผู้ติดเชื้อครั้งแรก รวมถึงพบว่าผู้ที่ฉีดวัคซีน AstraZeneca, Pfizer หรือ Moderna ครบโดสแล้ว จะลดความเสี่ยงการเข้าโรงพยาบาลได้อย่างชัดเจนเมื่อติดเชื้อโอมิครอน เทียบกับผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีนเลยและติดเชื้อเดลตา

การศึกษานี้เก็บข้อมูลจากผู้ติดเชื้อในอังกฤษระหว่างวันที่ 1-14 ธันวาคม 2021 แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน 56,000 เคส และสายพันธุ์เดลตา 269,000 เคส

ผู้วิจัยมีข้อคำนึงถึงระบุไว้ด้วยว่า การศึกษานี้ทำในอังกฤษซึ่งประชาชนมีอัตราเคยผ่านการติดเชื้อโรค COVID-19 มาแล้วถึง 17.3% ของประชากรทั้งหมด และอาจจะไม่ใช่ตัวเลขครบทั้งหมดด้วย มีความเป็นไปได้ว่าคนกว่าครึ่งหนึ่งของอังกฤษเคยผ่านการติดเชื้อมาแล้วก่อนจะเกิดการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน ทำให้การวิจัยนี้มีกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบ้างแล้วจากการที่เคยติดเชื้อ

สถานการณ์ปัจจุบันหลังการระบาดของโอมิครอน หลายประเทศทั่วโลกต่างสั่งยกระดับความเข้มงวดในการเข้าประเทศ บางประเทศเริ่มมีคำสั่งที่ลดการพบปะของผู้คน เช่น เนเธอร์แลนด์มีคำสั่งปิดร้านค้าที่ไม่จำเป็น ปิดบาร์ ฟิตเนส และสถานที่สาธารณะ ในบางประเทศสายพันธุ์โอมิครอนกำลังกลายเป็นสายพันธุ์หลักแทนที่เดลตาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา

Source: Imperial College London, Aljazeera

]]>
1368493
สรุป : ประเมินสถานการณ์โควิด-19 ในไทย กรณี ‘เเย่ที่สุด’ ยอดผู้ติดเชื้ออาจทะลุ 3 หมื่นราย/วัน เยียวยาล็อกดาวน์ ‘ยังไม่เพียงพอ’  https://positioningmag.com/1343138 Mon, 19 Jul 2021 11:41:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343138 ศบค. ประเมินสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย กรณีเเย่ที่สุดยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ อาจทะลุ 3.1 หมื่นรายต่อวัน ส่วนกรณีดีที่สุดยังแตะหมื่นรายต่อวัน หลายฝ่ายมอง ‘ล็อกดาวน์’ กระทบหนัก มาตรการเยียวยา ‘ยังไม่เพียงพอ’ 

19 .. 64 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถาการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. เเถลงตอนหนึ่งโดยกล่าวถึง ผลการศึกษาเเละประเมินความเป็นไปได้ของการติดเชื้อโควิด-19 ในไทย โดยมีการคาดการณ์ 2 รูปเเบบ ดังต่อไปนี้

1) งานวิจัยจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ.ดร.นวลจันทร์ สิงห์คราญ โดยใช้ข้อมูลถึง ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2564 มีการคาดการณ์โรคระบาดถึงช่วงสิ้นเดือนต.. ว่า

สถานการณ์แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้น หากไม่มีการทำอะไร หรือหรือไม่มีมาตรการไม่ได้ช่วยกันและปล่อยให้การติดเชื้อไปเรื่อยๆ คาดว่า การติดเชื้อสูงสุดจะอยู่ที่ 31,997 รายต่อวัน

เเละเเม้ว่าจะดำเนินการตามมาตรการต่างๆ เเละทุกคนช่วยกัน กรณีดีที่สุด ก็ยังจะอยู่ที่ 9,018-12,605 รายต่อวัน ส่วนค่ากลางจะอยู่ที่ 9,695 – 24,204 รายต่อวัน

2) การคาดการณ์ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้นำไปอ้างอิง ซึ่งประเมินโดยอิงจากเเนวโน้มการฉีดวัคซีนที่จะเกิดขึ้นถึงช่วงปลายปีนี้ ระบุว่า

ถ้าหากฉีดวัคซีนได้ดี เเละวัคซีนมาได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด ในไตรมาสที่ 4  ‘Best case’ กรณีที่ดีที่สุด จำนวนยอดผู้ติดเชื้อจะค่อยๆ ลดลง ตั้งเเต่ช่วงเดือนส..เเละก.. จากที่ ณ ตอนนี้ กำลังไต่ขึ้นไปเรื่อยๆ เเละจะสูงกว่า 15,000 รายต่อวัน 

แต่ถ้าในกรณีที่เเย่ที่สุด เเละมีการฉีดวัคซีนน้อย คาดว่ายอดผู้ติดเชื้อรายใหม่จะสูงถึงถึง 22,000 รายในเดือนส..และก..

โดยโฆษก ศบค. กล่าวว่าวันนี้เราไปแตะหมื่นอยู่หลายวันแล้ว สิ่งที่เราอยากจะเห็นคือลดลงไปกว่านี้ได้ไหม คนใดคนหนึ่งทำไม่ได้ ทุกคนต้องช่วยกัน เป็นอย่างนี้ทุกประเทศ ความสามัคคีเท่านั้นที่จะช่วยกันได้ เราจะผ่านความทุกข์ยากนี้ไปด้วยกัน” 

ทั้งนี้ ณ วันที่ 19 .. 64 ผู้ป่วยโควิด-19 ในไทย ที่ยังรักษาตัวอยู่ มีจำนวน 122,097 ราย เป็นการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 71,635 ราย รพ.สนาม 50,462 ราย ในจำนวนนี้อาการหนัก 3,595 ราย และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 856 ราย

ส่วนผู้รับการฉีดวัคซีน ณ วันที่ 18 .. 64 มีเข็มที่ 1 จำนวน 69,667 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 5,167 ราย และระหว่างวันที่ 28 .. – 18 .. 64 มีผู้รับวัคซีนสะสมทั้งหมด จำนวน 14,298,596 โดสคิดเป็นราว 21.6% ของสัดส่วนประชากร

ด้านความเห็นจากหอการค้าไทยระบุว่า หากมาตรการล็อกดาวน์ 14 วันเอาไม่อยู่ อาจจะต้องขยายล็อกดาวน์เพิ่มเติม จะทำให้เศรษฐกิจเสียหายคิดเป็นมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท โดยปรับการประเมินผลกระทบเศรษฐกิจสูญเสียต่อวันเพิ่มจาก 3,000 ล้านบาท เป็น 4,000 ล้านบาท จากการล็อกดาวน์เพิ่ม 13 จังหวัดซึ่งมองว่ามาตรการเยียวยาในปัจจุบันนั้นยังไม่เพียงพอ

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปี 2564 ของไทย เหลือเพียง 1.0% จากเดิมที่ 1.8% หลังการระบาดรุนเเรงกว่าที่คาด ซึ่งมาตรการ ‘ล็อกดาวน์’ ที่เกิดขึ้น กระทบธุรกิจเเละจ้างงานต่อเนื่อง พร้อมฉุด ‘กำลังซื้อ–ความเชื่อมั่นผู้บริโภค’ ให้ลดลง โดยประเมินว่านักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้จะมีเเค่ 2.5-6.5 แสนคน ส่วนเงินบาทนั้นจะอ่อนค่ายาว

แม้มีมาตรการเยียวยา แต่ชดเชยผลกระทบเศรษฐกิจไม่ได้ ฉีดวัคซีนอาจต่ำกว่าเป้าหมาย

ขณะเดียวกันเเนวโน้ม ‘หนี้ครัวเรือน’ ยังเพิ่มต่อเนื่อง ทำนิวไฮเเตะ 90.5% ไทยเสี่ยงเผชิญภาวะ ‘Debt Overhang’ เมื่อคนตกงาน-สูญเสียรายได้ ดิ้นรนหา ‘เงินกู้-เงินด่วน’ มาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน บางส่วนหันไปพึ่งพาหนี้นอกระบบมากขึ้น สวนทางเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวได้ช้า
 
ศูนย์วิจัย Economic Intelligence Center (EIC) ระบุว่า หนี้ครัวเรือนไทย ณ ไตรมาส 1 ปี 2564 แตะระดับ 90.5% ต่อ GDP สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และ ‘สูงสุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน’

 

 

 

]]>
1343138
มีภูมิจริงหรือไม่? “อังกฤษ” เริ่มทดลองการ “ติดเชื้อซ้ำ” ของอดีตผู้ป่วย COVID-19 https://positioningmag.com/1328471 Tue, 20 Apr 2021 11:56:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328471 อีกหนึ่งคำถามสำคัญของโรค COVID-19 คือ คนที่เคยผ่านการติดเชื้อมาแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันและไม่กลับมาเป็นซ้ำอีกจริงหรือไม่ ทำให้นักวิจัยอังกฤษทำการทดลองนำเชื้อเข้าสู่มนุษย์ (Human Challenge Study) นำคนที่หายป่วยแต่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนมาลองรับเชื้อไวรัสโคโรนาอีกครั้ง

โครงการวิจัยของมหาวิทยาลัย Oxford ประเทศอังกฤษ เริ่มขึ้นแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 19 เมษายน 2021 เพื่อหาคำตอบว่า “คนเราสามารถติดเชื้อโรค COVID-19 ซ้ำอีกได้หรือไม่”

โดยงานวิจัยครั้งนี้เป็นการทดลองแบบนำเชื้อเข้าสู่มนุษย์ (Human Challenge Study) มีอาสาสมัครวัยหนุ่มสาวอายุ 18-30 ปี จำนวน 64 คน ซึ่งเคยติดเชื้อโรค COVID-19 มาก่อน แต่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน

คนกลุ่มนี้จะถูกนำมารับเชื้อไวรัสโคโรนาอีกครั้งหนึ่ง และกักตัวไว้ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย Oxford อย่างน้อย 17 วัน เพื่อให้นักวิจัยศึกษาการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน

 

มีภูมิคุ้มกันแต่อาจจะไม่ 100%

ก่อนหน้านี้ วงการแพทย์มองว่าผู้ที่เคยผ่านการติดเชื้อมาแล้วจะไม่กลับมาเป็นโรคซ้ำอีก เพราะร่างกายจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา แต่ระยะหลังเริ่มมีตัวอย่างของคนที่เคยเป็นโรค COVID-19 แล้วกลับมาเป็นอีกได้

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาแบบเฝ้าสังเกตการณ์ ตีพิมพ์ในวารสาร Lancet เมื่อสัปดาห์ก่อน ผู้วิจัยเฝ้าสังเกตค่ายทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ ซึ่งมีคนหนุ่มสาวฝึกทหารอยู่ 3,000 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชายวัย 18-20 ปี

Photo : Shutterstock

จากการเฝ้าสังเกต 6 สัปดาห์ พบว่า พลทหารที่เคยเป็นโรค COVID-19 มีการกลับมาเป็นซ้ำในอัตรา 10% แต่เทียบกับพลทหารที่ไม่เคยเป็นโรค COVID-19 มีอัตราการติดเชื้อ 50% เท่ากับว่า ผู้ที่เคยเป็นโรค COVID-19 แล้วยังมีโอกาสติดเชื้อซ้ำ แต่จะน้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อเลย

อีกหนึ่งงานวิจัยจากเดนมาร์ก เฝ้าสังเกตสถิติกลุ่มคน 4 ล้านคนในประเทศ พบว่า การผ่านการติดเชื้อจะทำให้ร่างกายคนวัยไม่เกิน 65 ปีมีภูมิคุ้มกันได้ราว 80% ในระยะเวลา 6 เดือนหลังการติดเชื้อ แต่สำหรับคนวัยมากกว่า 65 ปี อัตราการคุ้มกันจะลดลงเหลือ 47%

สำหรับการวิจัยแบบอังกฤษจะเป็นการวิจัยระบบปิดที่ควบคุมตัวแปรได้ วิธีการนำเชื้อเข้าสู่มนุษย์เพื่อทดสอบแบบนี้เป็นวิธีที่ทำกันมานาน เคยใช้เพื่อผลิตวัคซีนที่มีมานาน เช่น วัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ และใช้เพื่อศึกษาโรคหลายชนิด เช่น ไข้มาลาเรีย ไข้หวัด ไทฟอยด์ อหิวาต์ เป็นต้น

Source: Forbes, Business Insider

]]>
1328471
หวั่นขาดแคลน! Top Glove ถุงมือยางเบอร์ 1 โลก “ปิดโรงงาน” กว่าครึ่งเหตุ พนง. ติดเชื้อ https://positioningmag.com/1307536 Wed, 25 Nov 2020 09:14:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307536 เมื่อผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ติดเชื้อเสียเอง! Top Glove บริษัทผลิตถุงมือยางรายใหญ่ที่สุดของโลก เตรียมปิดโรงงานชั่วคราวเกินครึ่งหนึ่งของที่ดำเนินการอยู่ในมาเลเซีย เนื่องจากมีพนักงานโรงงานติดเชื้อโรค COVID-19 ถึงเกือบ 2,500 คน ทำให้เกิดข้อกังวลว่าถุงมือยางอาจกลับมาขาดแคลนอีกครั้ง

Top Glove บริษัทยักษ์ถุงมือยางจากมาเลเซีย มีพนักงานรวมเกือบ 5,800 คน แต่หลังจากโรค COVID-19 ระบาดซ้ำในมาเลเซีย บริษัทตรวจพบว่าพนักงาน 2,453 คนติดเชื้อ

โรงงานและหอพักพนักงานของ Top Glove นั้นอยู่ในย่าน Meru ของมาเลเซีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการระบาดรอบใหม่เมื่อมีพนักงานติดเชื้อมากเกินครึ่ง ส่งผลให้บริษัทต้องปิดสายการผลิต 16 แห่งซึ่งอยู่ในย่านเสี่ยงสูงชั่วคราว ขณะที่อีก 12 แห่งเริ่มลดกำลังผลิตลง และบริษัทมีแผนจะปิดชั่วคราวโรงงานทั้ง 28 แห่งนี้ จากจำนวนโรงงานทั้งหมดที่มีในมาเลย์ 41 แห่ง เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่กระจายโรคในหมู่พนักงาน

Top Glove กล่าวว่า บริษัทมีมาร์เก็ตแชร์ในตลาดถุงมือยางทั่วโลกถึง 26% เป็นตัวเลขที่ทำให้บริษัทเป็นเจ้าตลาดอันดับ 1 ผ่านการผลิตถุงมือยางปีละ 9 หมื่นล้านคู่ และมีโรงงานทั้งในมาเลย์ จีน ไทย และเวียดนาม

(Photo: Pixabay)

จนถึงปัจจุบัน จำนวนถุงมือยางในโลกก็ยังแทบไม่เพียงพอหลังจากเกิดโรคระบาด COVID-19 ขึ้น ดีมานด์การใช้งานในโลกพุ่งสูงจนการส่งออกของ Top Glove เติบโตถึง 48% และสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางมาเลเซียเคยคาดการณ์ไว้ว่า สภาวะขาดแคลนถุงมือยาง รวมถึงชุด PPE จะเป็นเช่นนี้ไปจนถึงปี 2022 เลยทีเดียว

ดังนั้น การปิดโรงงานกว่าครึ่งหนึ่งของบริษัทรายใหญ่แห่งนี้อาจจะเป็น ‘ข่าวร้าย’ สำหรับคนทั่วโลก เพราะหากย้อนกลับไปในช่วงที่ COVID-19 เริ่มระบาดใหม่ๆ เมื่อบุคลากรการแพทย์ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัส ก็จะทำให้บุคลากรด่านหน้าเหล่านี้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และเมื่อติดเชื้อแล้วระบบสาธารณสุขก็จะขาดบุคลากรการแพทย์ไว้รับมือโรคในระยะต่อไป

 

ความจริงเปิดเผย…บริษัทขูดรีดแรงงาน

อีกแง่มุมหนึ่งของเรื่องนี้ การติดเชื้อในหมู่พนักงาน Top Glove ทำให้ทั่วโลกหันมาสนใจความเป็นอยู่ของพนักงานโรงงานถุงมือยางมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นชาวเนปาล บังกลาเทศ และอื่นๆ ที่อพยพเข้ามาทำงานในมาเลย์ และเมื่อดีมานด์ถุงมือยางในโลกสูงขึ้นจาก COVID-19 พนักงานเหล่านี้จะต้องทำงานถึง 72 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (หรือเฉลี่ยมากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่มีวันหยุด) และนอนแออัดกันในหอพักคนงาน รวมถึงได้ค่าจ้างต่ำ

ก่อนหน้านี้ กรมศุลกากรและป้องกันชายแดน (CBP) ของสหรัฐอเมริกา เคยกักสินค้าจากบริษัทลูกของ Top Glove ไม่ให้เข้าประเทศมาแล้ว เพื่อเป็นการตอบโต้บริษัทที่ต้องสงสัยว่าใช้แรงงานบังคับ โดย Top Glove เป็นหนึ่งในบริษัทที่ถูกรายงานว่า มีการบังคับให้พนักงานจ่ายเงินเพื่อเข้าทำงานในโรงงานถุงมือยาง เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานใช้หนี้และถูกผูกมัดไว้กับนายจ้าง

ขณะที่ ลิม วี ไช ผู้ก่อตั้ง Top Glove เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 14 ของมาเลเซีย ประจำปี 2020 จัดอันดับโดยนิตยสาร Forbes เขามีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิถึง 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากราคาหุ้น Top Glove พุ่งทะยาน 280% ในรอบ 4 เดือน (เม.ย.-ก.ค. 63)

อย่างไรก็ตาม ข่าวปิดโรงงานทำให้หุ้นบริษัท Top Glove ตกลง 7.48% ในวันอังคารที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา

Source

]]>
1307536
WHO คาดว่า วิกฤตโรคระบาด COVID-19 จะจบลงได้ ภายใน 2 ปี https://positioningmag.com/1293778 Sun, 23 Aug 2020 12:10:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293778 องค์กรอนามัยโลก เชื่อว่าจะหยุดการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ภายใน 2 ปี ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันที่ก้าวหน้าไปมาก พร้อมเริ่มรณรงค์การสวมหน้ากากอนามัยในเด็ก เเละเปรียบเทียบการคอร์รัปชันชุด PPE ว่าเป็นการก่ออาชญากรรม

นายเเพทย์ Tedros Ghebreyesus ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า โรคระบาด COVID-19 ถือเป็นวิกฤตสาธารณสุขครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษ โดยหวังว่าไวรัสโคโรน่าดังกล่าว จะหยุดแพร่ระบาดภายใน 2 ปี เช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ เมื่อปี 1918 ที่สิ้นสุดในระยะเวลาเดียวกันนี้

โดยปัจจัยหลักๆ มาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันที่จะช่วยให้สามารถหยุดการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ในระยะเวลาสั้นกว่า นอกเหนือจากนั้นยังมีความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกันของชาวโลกด้วย

ผู้อำนวยการใหญ่ WHO กล่าวอีกว่า เเม้การเดินทางที่เชื่อมต่อกันในปัจจุบัน จะทำให้เชื้อไวรัสมีโอกาสแพร่กระจายมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน เราก็มีเทคโนโลยีมีความรู้ที่จะหยุดยั้งมันได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ WHO ได้เลี่ยงใช้คำเรียกโรคไข้หวัดใหญ่ เมื่อ 102 ปีก่อนว่าไข้หวัดสเปนตามที่หลายคนคุ้นเคย เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของโรค เเต่สเปนได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยขณะนั้นมียอดรวมผู้เสียชีวิตทั้งหมดราว 50 ล้านคน จากจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมราว 500 ล้านคน และใช้เวลามากกว่า 2 ปี จึงสามารถควบคุมสถานการณ์ได้

ล่าสุด WHO ได้ร่วมมือกับสหประชาชาติในการเผยแพร่แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค COVID-19 ในเด็ก เเละเเนะนำให้ผู้มีอายุตั้งแต่ 12 ปีควรสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ส่วนผู้มีอายุน้อยกว่านั้นให้อยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้ปกครอง ขณะที่กรณีการคอร์รัปชันชุดป้องกันการติดเชื้อ (PPE) ที่เกิดขึ้นในแอฟริกาใต้นั้น ผอ.WHO เปรียบเทียบว่า ไม่ต่างอะไรจากการก่ออาชญากรรม เพราะทำให้บุคคลกรทางการแพทย์ที่กำลังทำหน้าที่ต้องเสี่ยงชีวิตไปด้วย

สำหรับยอดผู้ป่วยจาก COVID-19 สะสมทั่วโลก ตอนนี้อยู่ที่อย่างน้อย 22.5 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตสะสมอย่างน้อย 7.89 เเสนคน

 

ที่มา : BBC , VOA

]]> 1293778 อินเดีย สั่งระงับเเผนเปิด “ทัชมาฮาล” อีกครั้ง หลังยอดผู้ป่วย COVID-19 พุ่งขึ้นอันดับ 3 ของโลก https://positioningmag.com/1286649 Mon, 06 Jul 2020 10:29:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286649 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมเเห่งหนึ่งของโลกอย่างทัชมาฮาลยังคงต้องปิดต่อไป เนื่องจากหวั่นจะมีการระบาดซ้ำ หลังยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ของอินเดียพุ่งทำสถิติสูงสุดรายวันครั้งใหม่ ขึ้นเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกเเซงรัสเซีย

ทางการอินเดียสั่งระงับแผนการที่จะกลับมาเปิดทัชมาฮาลอนุสรณ์สถานแห่งความรักเเละมรดกโลกที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 17 ซึ่งมีกำหนดที่จะกลับมาเปิดอีกครั้งในวันนี้ (6 ..) ออกไปก่อน พร้อมมีคำสั่งขยายระยะเวลาการบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ควบคุมการเดินทาง ทั้งในและนอกเมืองอัครา รัฐอุตรประเทศ

เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้เหตุผลว่า การขยายเวลาสั่งปิดอนุสรณ์สถานต่างๆ เป็นไปเพื่อผลประโยชน์สาธารณะ จึงตัดสินใจว่ายังไม่ควรเปิดให้เยี่ยมชมในเวลานี้ เพราะหากมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้าไปในเมือง อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกใหม่ได้

ทั้งนี้ ทางการอินเดีย ไม่ได้ระบุระยะเวลาที่แน่ชัดว่าสถานี่ท่องเที่ยวที่สำคัญต่างๆ ทั่วประเทศ จะสามารถกลับมาเปิดได้อีกเมื่อใด โดยทัชมาฮาลได้ปิดทำการมาตั้งแต่เดือนมีนาคม

เมืองอัครา เป็นหนึ่งในคลัสเตอร์การแพร่ระบาดใหญ่แห่งแรกของ COVID-19 ในอินเดีย ขณะที่รัฐอุตรประเทศ ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในประเทศยังอยู่ในสถานการณ์การระบาดที่เลวร้าย

ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขของอินเดีย เปิดเผยว่าวันนี้พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ในประเทศช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเกือบ 2.5 หมื่นคน เเละมีผู้เสียชีวิตกว่า 613 คนในวันเดียว นับเป็นการทำสถิติยอดผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุดครั้งใหม่ ส่งผลให้ยอดติดเชื้อสะสมในอินเดียอยู่ที่  6.73 เเสนคน เเละยอดผู้เสียชีวิตสะสมราว 1.9 หมื่นราย ขึ้นมาเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐฯ เเละบราซิล

 

ที่มา : AFP

]]>
1286649
ความเสี่ยงเพิ่ม! สหรัฐฯ พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 อายุน้อยพุ่งสูง และเป็นกลุ่มไม่แสดงอาการ https://positioningmag.com/1284679 Mon, 22 Jun 2020 16:39:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284679 สหรัฐอเมริกายังเป็นประเทศที่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสูงที่สุดของโลก มีผู้ติดเชื้อสะสม 2.36 ล้านราย ผู้เสียชีวิตเกือบ 1.2 แสนราย โดยล่าสุดรัฐฟลอริดาและรัฐเท็กซัสพบว่า ผู้ติดเชื้อในวัยต่ำกว่า 40 ปีมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นหลังระดมตรวจหาเชื้อ ที่สำคัญคือกลุ่มคนวัยหนุ่มสาวถึงวัยทำงานเหล่านี้มักจะไม่แสดงอาการของโรค จึงเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น

รอน ดีแซนติส ผู้ว่าการรัฐฟลอริดา เตือนประชาชนว่า ขณะนี้ภาครัฐพบผู้ติดเชื้อในวัย 20-30 ปี และ 30-40 ปีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และกลุ่มผู้ติดเชื้อในวัยนี้มักจะไม่แสดงอาการของโรค COVID-19

การค้นพบเหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากรัฐฟลอริดาพยายามตรวจหาผู้ติดเชื้อมากขึ้น ทำให้ลักษณะอายุประชากรผู้ติดเชื้อเปลี่ยนแปลงไป โดยเทรนด์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนามีอายุน้อยลงกว่าเดิม และไม่เพียงแต่ฟลอริดาเท่านั้น สำนักข่าว CNN รายงานว่า บางส่วนของรัฐเท็กซัสกับรัฐจอร์เจียก็เกิดเทรนด์อายุผู้ติดเชื้อลดน้อยลงเช่นกัน รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐของรัฐเซาท์แคโรไลนาก็กล่าวเช่นกันว่าพบผู้ติดเชื้อวัยต่ำกว่า 30 ปีสูงขึ้น

ดังที่ทราบกันว่า หากผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาอยู่ในวัยหนุ่มสาวและไม่แสดงอาการ โอกาสเสี่ยงที่พวกเขาจะเป็นพาหะแพร่เชื้อต่อนั้นมีสูงมาก เพราะพวกเขาไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ จึงยังคงพบปะใกล้ชิดกับผู้อื่นตามไลฟ์สไตล์ของคนวัยนี้ โดยมีกลุ่มคนที่เสี่ยงที่สุดที่จะติดเชื้อคือพ่อแม่และปู่ย่าตายายของคนหนุ่มสาว

อีเวนต์หาเสียงของ “โดนัลด์ ทรัมป์” ที่ทัลซา โอคลาโฮมา คืนวันที่ 20 มิถุนายน 2020 (Photo : Twitter@realDonaldTrump)

สถานการณ์การระบาด COVID-19 ของสหรัฐฯ ยังไม่สู้ดีนัก โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่เริ่มลดลงบ้างในเดือนพฤษภาคม แต่เพิ่งกลับมาพุ่งขึ้นอีกครั้งช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางการเดินขบวนประท้วง #BlackLivesMatter ที่พาผู้คนจำนวนมากมาอยู่รวมกัน ไปจนถึงการดึงดันจัดอีเวนต์หาเสียงทางการเมืองของ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่เมืองทัลซา รัฐโอคลาโฮมา ซึ่งมีคนเข้าร่วมสูงถึง 6,200 คน เมื่อวันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน 2020 นอกจากนี้ยังมีปัญหาการไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำให้เว้นระยะห่างทางสังคมอีกมาก

ก่อนหน้านี้ ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหรัฐฯ (CDC) แนะนำให้ประชาชนอเมริกันสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน หรืออย่างน้อยขอให้ใส่ในสถานการณ์ที่เว้นระยะห่างทางสังคมไม่ได้ เนื่องจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่า หน้ากากอนามัยสามารถป้องกันบุคคลไม่ให้แพร่เชื้อไวรัสโคโรนาแก่ผู้อื่นได้จริง แต่ CDC แย้มออกมาแล้วว่า กำลังจะมีการปรับระดับคำแนะนำใหม่ เพราะได้พิสูจน์แล้วว่าหน้ากากอนามัยไม่เพียงแต่ป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนอื่น แต่ยังป้องกันไม่ให้คนอื่นแพร่เชื้อให้ผู้สวมใส่ได้ด้วย

อีกมาตรการหนึ่งที่สหรัฐฯ อาจจะใช้เพื่อช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อ เป็นคำพูดจากปาก “โดนัลด์ ทรัมป์” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ไปหาเสียง ณ เมืองทัลซา โดยเขากล่าวว่าการระดมตรวจหาผู้ติดเชื้อจำนวนมากเป็น “ดาบสองคม” เพราะ “ถ้าตรวจมากก็เจอมาก” ดังนั้น เขาต้องการให้ภาครัฐลดจำนวนการตรวจให้น้อยลงหลังจากนี้

Source

]]>
1284679
อังกฤษ เริ่มทดสอบว่า “สุนัข” ดมกลิ่นหาเชื้อ COVID-19 ในมนุษย์ได้หรือไม่ https://positioningmag.com/1278975 Sun, 17 May 2020 08:17:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278975 รัฐบาลอังกฤษ กำลังทดสอบว่าสุนัขสามารถดมกลิ่นหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในมนุษย์ได้หรือไม่

การทดสอบครั้งนี้ เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างโรงเรียนสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนของมหาวิทยาลัยลอนดอน มหาวิทยาลัยเดอรัม และมูลนิธิสุนัขตรวจสอบทางการแพทย์ (Medical Detection Dogs) ที่เคยฝึกสุนัขให้ตรวจหากลิ่นของผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคมาลาเรียเเละโรคพาร์กินสันได้เเล้ว

โดยรัฐบาลอังกฤษได้สนับสนุนเงินวิจัยอีก 5 เเสนปอนด์หรือราว 19 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการเชิงรุกของรัฐบาลที่ต้องการตรวจหาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ให้รวดเร็วที่สุด

ในการทดสอบเฟสเเรก จะใช้สุนัขพันธุ์ลาบราดอร์ และค็อกเกอร์ สแปเนียล 6 ตัว ที่ฝึกฝนมาเป็นพิเศษดมกลิ่นตัวอย่างที่หน่วยงานสาธารณสุขแห่งชาติและโรงพยาบาลลอนดอน นำตัวอย่างผู้ติดเชื้อและผู้ที่ไม่ติดเชื้อมาให้สุนัขเหล่านี้ทดลองดมกลิ่น โดยจะทำการฝึกฝนเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์

หากการทดสอบนี้ประสบความสำเร็จ จะต่อยอดเฟสสองด้วยการการทดสอบในสนามจริงเเละหากได้ผลลัพธ์ที่ดีเเละผ่านการรับรองอย่างเป็นทางการ ในอนาคตสุนัขจะสามารถดมกลิ่นคัดกรองผู้ป่วย COVID-19 ได้ 250 คนต่อชั่วโมง อย่างในสนามบินหรือที่อื่นๆ หรืออาจใช้เพื่อเตือนภัยล่วงหน้าได้ด้วย

จากผลการวิจัยตลอด 10 ปีที่ผ่านมาของมูลนิธิสุนัขตรวจสอบทางการแพทย์ ชี้ให้เห็นว่าสามารถฝึกสุนัขให้ดมกลิ่นโรคที่มีความเจือจางเทียบเท่ากับการละลายน้ำตาล 1 ช้อนชาในสระว่ายน้ำขนาดโอลิมปิก 2 สระ โดยทาง ดร. Claire Guest ผู้ร่วมก่อตั้งเเละผู้บริหารมูลนิธิฯ มั่นใจว่าสุนัขของเราจะสามารถหากลิ่นของ COVID-19 ได้

ด้านศาสตราจารย์ James Logan เเห่งโรงเรียนสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อน ยกตัวอย่างว่า การที่สุนัขสามารถดมกลิ่นหาเชื้อมาลาเรียได้ถูกต้องก็เพราะมีกลิ่นเฉพาะตัว ดังนั้นเมื่อโรคทางเดินหายใจสามารถเปลี่ยนกลิ่นตัวคนได้ ก็มีความหวังว่าสุนัขจะตรวจหาเชื้อ COVID-19 ได้เช่นกัน

 

ที่มา : BBC

]]> 1278975