ภาระหนี้ต่อรายได้ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 10 Jun 2021 12:40:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 4 โจทย์เศรษฐกิจไทยหลังระบาดรอบสาม “กลุ่มเปราะบางทางการเงิน” พุ่งเป็น 22% https://positioningmag.com/1336392 Thu, 10 Jun 2021 12:24:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336392
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คงตัวเลขจีดีพีไทย +1.8% สำหรับปี 2564 จับตาการฉีดวัคซีนอีก 1-2 เดือน หากทำได้ตามเป้าหมาย มีลุ้นจีดีพีไทยผงกหัวขึ้นช่วงไตรมาสสุดท้าย
  • ชี้โจทย์ใหญ่เศรษฐกิจไทย 4 ด้าน คือ สถานะทางการคลัง, เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น, หนี้สินภาคครัวเรือน และ ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น
  • กังวล “กลุ่มเปราะบางทางการเงิน” พุ่งขึ้นจาก 10.8% เป็น 22.1% หนี้ครัวเรือนอาจแตะ 90% ในปีนี้ ต้องเร่ง “แก้หนี้” ในอนาคต
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์เศรษฐกิจไทยประจำเดือนมิถุนายน 2564 ยังคงยืนยันคาดการณ์เดิมเมื่อเดือนเมษายน ว่า ปีนี้จีดีพีไทยน่าจะเติบโต +1.8% (เป็นการปรับลดจากเมื่อต้นปีที่เคยคาดการณ์ไว้ +2.6% เนื่องจากมีการระบาดรอบ 3)

    สำหรับแนวโน้มหลังจากประเทศไทยเริ่มระดมฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 “ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่าต้องจับตาอัตราความเร็วการฉีดวัคซีนไปอีก 1-2 เดือนข้างหน้า หากอัตราการฉีดวัคซีนยังทำได้เท่ากับวันที่ 7-8 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมาอย่างสม่ำเสมอ เชื่อว่าประเทศไทยจะมีการฉีดวัคซีนครบ 100 ล้านโดสตามเป้า

    และหากประเทศไทยไม่มีการระบาดซ้ำ จำนวนผู้ติดเชื้อค่อยๆ ลดลงดังที่ผ่านมา คาดว่าการระบาดรอบนี้น่าจะคลี่คลายภายในเดือนกรกฎาคมนี้ และจะส่งผลให้เศรษฐกิจดีขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี เนื่องจากคนไทยจะกลับมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศสูงขึ้น ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์กรณีฐาน ปีนี้น่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 5.5 แสนคน

     

    4 โจทย์เศรษฐกิจที่ต้องจับตาต่อจากวัคซีน

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ต่อเนื่องถึงโจทย์เศรษฐกิจที่ต้องจับตา หลังจากไทยสามารถคลี่คลายเรื่องการกระจายวัคซีนแล้ว โดยมี 4 ข้อใหญ่ ดังนี้

    1.สถานะทางการคลัง จากการผ่าน พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท น่าจะทำให้หนี้สาธารณะของไทยเร่งตัวขึ้นเกิน 60% ของจีดีพีภายในปี 2565 ภาวะขาดดุลการคลังที่เกิดขึ้นในระยะสั้นอาจยังไม่เป็นประเด็น แต่ในระยะกลางและระยะยาวจะมีผลต่อการพิจารณาลงทุนของต่างชาติ

    2.เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นทุกรายการ ทำให้เกิดเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นเกือบทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่เร่งตัวขึ้นไปแล้วเมื่อเดือนเมษายน ต้องจับตาดูเฟดว่าจะส่งสัญญาณถอยจากนโยบายผ่อนคลายทางการเงินหรือไม่ ซึ่งอาจมีผลในปีหน้า

    3.หนี้สินภาคครัวเรือน สถานการณ์หนี้รายย่อยถดถอยลงตามคาด โดยคนไทยมีอัตราภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR) สูงขึ้นเฉลี่ย 46.9% มีกลุ่มเปราะบางทางการเงินเพิ่มขึ้นเป็น 22.1% และคาดว่าหนี้ครัวเรือนจะไปแตะ 90% ในปีนี้

    4.ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น 1% ซึ่งจะกระทบ SMEs เป็นเม็ดเงินประมาณ 23,600-23,800 ล้านบาท ในสถานการณ์ปกติผู้ค้ามักส่งผ่านต้นทุนนี้ไปสู่ราคาปลายทางทั้งหมด แต่เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจไม่ปกติ ผู้ค้าจึงต้องยอมรับต้นทุนไว้เองบางส่วนและลดกำไรลง

    อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีมาตรการภาครัฐช่วยเหลือ จึงช่วยแบ่งเบาภาระของทั้งผู้ค้าและผู้ซื้อ โดยคาดว่าจาก 100 ส่วน ผู้ค้าจะต้องแบกรับต้นทุน 10 ส่วน และอีก 90 ส่วนจะอยู่ที่ภาครัฐ 96% อยู่ที่ผู้บริโภคปลายทาง 4%

     

    “กลุ่มเปราะบางทางการเงิน” พุ่งพรวด

    ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ กล่าวถึงประเด็นสถานะทางการเงินรายย่อยที่ถดถอยลง โดยเปรียบเทียบเดือนมีนาคมกับเดือนมิถุนายน รายย่อยมีภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR) เพิ่มขึ้นจาก 42.8% เป็น 46.9% และสัดส่วนผู้ตอบที่มีรายได้ลดลง จากเดิมมี 56.2% เพิ่มเป็น 59.6% แล้ว

    เมื่อรายได้ลดลงแต่ค่าครองชีพไม่ลดลง จากเงินเฟ้อที่เร่งขึ้นและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ทำให้สัดส่วนคนไทยที่ไถลตัวไปสู่กลุ่มเปราะบางทางการเงินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากสัดส่วน 10.8% เป็น 22.1% (กลุ่มเปราะบางทางการเงิน หมายถึง ผู้ที่มี DSR มากกว่า 50%)

    ในแง่ความช่วยเหลือที่ต้องการ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามต้องการความช่วยเหลือจากรัฐหลักๆ คือ 1.ให้เงินช่วยเหลือ (46.6%) และ 2.ต้องการรายได้เพิ่ม (31.7%)

    ผู้ตอบแบบสอบถามต้องการแหล่งรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งทำให้การควบคุมสถานการณ์ระบาด และกลับมาใช้ชีวิตปกติ ท่องเที่ยว และมีแหล่งงาน เป็นเรื่องสำคัญมากในระยะสั้น

    ส่วนในระยะยาวเมื่อ COVID-19 คลี่คลาย ธัญญลักษณ์มองว่าจะมีโจทย์เศรษฐกิจรออยู่ในระยะถัดไปคือการ “แก้หนี้” โดยพบว่ามีคนไทยจำนวนมากที่เป็นหนี้นอกระบบอยู่ขณะนี้

    ]]>
    1336392
    จับตา ‘หนี้ครัวเรือน’ ปี 2564 จ่อทะลุ 91% ต่อจีดี​พี​ คนไทยติดวังวน ‘เเบกหนี้เพิ่ม’ เเต่รายได้ลด https://positioningmag.com/1312956 Tue, 05 Jan 2021 07:07:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312956 ปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงไม่หยุด จะส่งผลอันใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจเเละสังคมในช่วงต่อไป เมื่อหนี้สินเพิ่มพูนเเต่รายได้กลับลดลง ทำให้คนไทยต้องติดอยู่ในวังวนเเบกหนี้ไม่มีวันจบสิ้น

    โดยหนี้ครัวเรือนของไทยยังคงอยู่ในระดับสูงและมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางสัญญาณอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจในช่วงวิกฤต

    จากข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน (หนี้ครัวเรือน) ในไตรมาส 3 ปี 2563 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า หนี้ครัวเรือนไทยทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปีครั้งใหม่ที่ 86.6% ต่อจีดีพี (จากระดับ 83.8% ต่อจีดีพีในไตรมาส 2/2563) โดยเฉพาะสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์และบัตรเครดิต

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2564 หนี้ครัวเรือนไทยอาจพุ่งไป 91% ต่อจีดีพี หรืออาจสูงกว่านั้น หากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่หนักกว่าที่ประเมินไว้ เเละฟื้นตัวได้ล่าช้ากว่าเดิม ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปี 2564 จะเติบโตน้อยกว่ากรณีพื้นฐานที่ 2.6%

    นอกจากนี้ ยังพบว่ามีสัญญาณการเร่งตัวขึ้นของการก่อหนี้ก้อนใหม่ในภาคครัวเรือนในไตรมาสที่ 3/2563 โดยเฉพาะหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งสินเชื่อบ้านปล่อยใหม่ ยังคงขยับขึ้นอีกประมาณ 1.60 แสนล้านบาท คิดเป็น 88% ของการเพิ่มขึ้นของยอดคงค้างหนี้ครัวเรือน ซึ่งในไตรมาส 3/2563 หนี้ครัวเรือนมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นราว 1.82 แสนล้านบาท มาอยู่ที่ระดับ 13.77 ล้านล้านบาท

    ส่วนสัญญาณการก่อหนี้ในส่วนอื่นๆ ทั้งหนี้ก้อนใหญ่ อย่างหนี้เพื่อการประกอบอาชีพและหนี้เช่าซื้อรถยนต์ และหนี้เพื่ออุปโภคบริโภค เช่น บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ก็กลับมาเร่งสูงขึ้นในไตรมาสที่ 3/2563 อีกครั้ง จากที่มีทิศทางชะลอลงในไตรมาส 2/2563 ซึ่งมีการระบาดของ COVID-19 รอบแรก

    คนรายได้น้อยไม่ถึง 5 พัน/เดือน เเบกหนี้สูง 84% ต่อรายได้

    ผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ทรุดตัวรุนแรงจาก COVID-19 และหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอีกในปี 2563 ได้เพิ่มความเปราะบางทางการเงินให้กับครัวเรือนหลายกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีสถานะทางการเงินที่ค่อนข้างตึงตัวอยู่แล้วก่อนจะเกิดโรคระบาด

    เมื่อเจาะลึกลงไปจะพบว่า ภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR) โดยเฉลี่ยของครัวเรือนไทยทั้งประเทศอยู่ที่ 27% เเต่ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย หรือมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือนกลับมี DSR อยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยหลายเท่า

    โดยเฉพาะครัวเรือนในกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน มีภาระหนี้ต่อรายได้ สูงถึง 84% ขณะที่ครัวเรือนในกลุ่มที่มีรายได้ระหว่าง 5,000-10,000 บาทต่อเดือน มีภาระหนี้ต่อรายได้  40%

    สะท้อนให้เห็นว่า ความเปราะบางทางการเงินในภาคครัวเรือนของไทย ปรากฏชัดเจนมากขึ้นตามสัญญาณอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

    โดยภาพรวมครัวเรือนทั้งประเทศมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนลดลงในอัตราที่มากกว่าการลดลงของค่าใช้จ่ายต่อเดือน สวนทางกับภาระหนี้ที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ระดับการออมของครัวเรือนไทยอยู่ในสถานการณ์ที่อ่อนแอลง มาตั้งแต่ก่อนวิกฤต COVID-19

    โควิดรอบใหม่ต้องมีมาตรการช่วยลูกหนี้

    ความเสี่ยงการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อจังหวะการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปี 2564 และน่าจะมีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของกลุ่มลูกหนี้รายย่อยที่เคยได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่รวมๆ แล้วมีอยู่ประมาณ 10.68 ล้านบัญชี คิดเป็นภาระหนี้ประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท (ข้อมูลจาก ธปท. ณ เดือน ต.. 2563)

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ข้อมูลเบื้องต้นก่อน COVID-19 ระลอกใหม่จะสะท้อนว่าลูกหนี้รายย่อยส่วนใหญ่ของธนาคารพาณิชย์น่าจะสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติหลังหมดมาตรการฯ และลูกหนี้บางส่วนได้รับการช่วยเหลือโดยการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว

    แต่ต้องติดตามสถานการณ์ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปี 2564 อย่างใกล้ชิด เพราะจะมีนัยโดยตรงต่อกระแสรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน

    ภาพรวมของหนี้ครัวเรือนที่ทรงตัวสูงต่อเนื่อง เป็นหนึ่งในเครื่องชี้ที่ตอกย้ำปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย และความเปราะบางของฐานะทางการเงินในภาคครัวเรือนที่เป็นโจทย์รอการแก้ไข ต่อเนื่องจากการควบคุมการระบาดของ COVID-19 และการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ 

    โดยโจทย์เฉพาะหน้าที่สำคัญกว่า คือ การเตรียมมาตรการช่วยเหลือทางการเงินให้กับลูกหนี้ทั้งธุรกิจและครัวเรือน ให้ผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้ไปให้ได้

     

    ]]>
    1312956