ภาวะโลกร้อน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 02 Jun 2024 12:19:58 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 น้ำส้มราคาทำสถิติสูงสุดใหม่ ผลจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ผู้ผลิตต้องดิ้นรนหาผลไม้อื่นผสมทดแทน https://positioningmag.com/1476146 Fri, 31 May 2024 08:24:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1476146 ใครที่ชื่นชอบอาหารเช้า หนึ่งในเครื่องดื่มสำคัญนั่นก็คือ ‘น้ำส้ม’ อาจมีราคาที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญมาจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในประเทศบราซิล ซึ่งถือเป็นประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก ส่งผลทำให้ผลผลิตส้มลดลงอย่างมาก

ราคาน้ำส้มได้ทำสถิติสูงสุดใหม่อีกครั้ง จากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลทำให้มีผลผลิตที่น้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบราซิล ซึ่งเป็นแหล่งผลิตส้มรายใหญ่นั้นประสบปัญหาสภาวะร้อนจัด ส่งผลทำให้ราคาของผลส้มมีราคาที่สูงมากขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ในรอบ 1 ปี

ศูนย์วิจัย Fundecitrus ในประเทศบราซิลได้ออกรายงานว่า คลื่นความร้อนในประเทศในช่วงปี 2023 ได้ส่งผลต่อการเก็บเกี่ยวส้มในฤดูกาลล่าสุด และคาดว่าผลผลิตในประเทศบราซิลจะมีปริมาณที่ต่ำสุดในรอบ 30 ปี

ปัจจุบันบราซิลถือว่าเป็นผู้ส่งออกน้ำส้มรายใหญ่ โดยกำลังการผลิต 70% ของประเทศนั้นเพื่อการส่งออกเป็นหลัก

นอกจากนี้พายุเฮอริเคนที่พัดพาเข้าสู่มลรัฐฟลอริดาซึ่งถือเป็นแหล่งปลูกส้มที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา รวมถึงการแพร่ระบาดของโรคกรีนนิ่งในส้ม ยังทำให้ผลผลิตส้มลดลง

สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในบราซิลและสหรัฐอเมริกา ทำให้ราคาน้ำส้มเข้มข้นแช่แข็งซื้อขายล่วงหน้าในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กนั้นมีราคาขึ้นมาแล้วมากถึง 200% ล่าสุดอยู่ที่ 4.77 ดอลลาร์สหรัฐต่อปอนด์ เป็นราคาทำสถิติสูงสุดในรอบ 1 ปี

ผลที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ผลิตน้ำส้มหลายแห่งต้องเริ่มนำน้ำผลไม้อื่นเข้ามาผสม เพื่อที่จะลดการพึ่งพาน้ำส้มแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นการผสม น้ำส้มแมนดาริน น้ำองุ่น น้ำลูกแพร์ หรือแม้แต่น้ำแอปเปิล เข้าไปในขั้นตอนการผลิต

ไม่ใช่แค่ราคาน้ำส้มเท่านั้น แต่ในช่วงที่ผ่านมา ราคากาแฟ ซึ่งมีแหล่งการผลิตในบราซิลเช่นกันนั้น ก็ประสบปัญหาผลผลิตลดลงจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน จนสร้างความปวดหัวให้ทั้งผู้ผลิต หรือแม้แต่ผู้บริโภคที่ต้องแบกรับราคาจากเรื่องดังกล่าว

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นย่อมทำให้ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคนั้นเพิ่มมากขึ้นไม่มากก็น้อย

ที่มา – The Guardian, CNBC

]]>
1476146
ผู้บริโภคเตรียมตัว! ภัยแล้งกระทบผลผลิต “กาแฟ” เวียดนาม – บราซิล ราคาพุ่งสูงสุดในรอบ 16 ปี https://positioningmag.com/1471281 Fri, 26 Apr 2024 09:22:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1471281 คอกาแฟเตรียมรับแรงกระแทกด้านราคา ภัยแล้งปีนี้กระทบหนักต่อผลผลิต “กาแฟ” ในเวียดนามและบราซิล สองแหล่งปลูกเมล็ดกาแฟโรบัสตาหลักของโลก ราคาเมล็ดกาแฟพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 16 ปี คาดต้นทุนราคาจะถูกส่งต่อเป็นลูกโซ่สู่ผู้บริโภคปลายทาง

“เวียดนาม” เป็นแหล่งเพาะปลูกและส่งออกเมล็ดกาแฟสายพันธุ์โรบัสตาที่ใหญ่ที่สุดคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของซัพพลายทั่วโลก ตามด้วย “บราซิล” ที่ส่งออกมากไม่แพ้กัน แต่ทั้งสองประเทศนี้กำลังเผชิญภัยแล้งจาก “เอลนีโญ” ซึ่งทำให้ราคาเมล็ดกาแฟในตลาดฟิวเจอร์พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 16 ปี

ปัญหาโลกร้อนกระทบทำให้เกิดภัยแล้งในเวียดนาม จะทำให้การเพาะปลูกกาแฟปีนี้ติดดอกติดผลได้น้อยลง มีผลต่อเนื่องถึงการเก็บเกี่ยวเมล็ดกาแฟปีหน้าที่จะมีซัพพลายน้อยลงแน่นอน เมื่อแนวโน้มเป็นเช่นนี้ทำให้ราคาเมล็ดกาแฟปรับขึ้นและมีการส่งออกน้อยลง

เมื่อเดือนมีนาคม 2024 สมาคมกาแฟแห่งเวียดนามคาดการณ์ว่า การส่งออกกาแฟของประเทศจะลดลง 20% ในช่วงเดือนตุลาคม 2023 – เดือนกันยายน 2024 เทียบกับช่วงเดียวกันของรอบปีก่อนหน้า

Tran Thi Lan Anh ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริษัท Vinh Hiep บริษัทนำเข้าส่งออกของเวียดนาม นำความเห็นจากเกษตรกรและพ่อค้าคนกลางในตลาดกาแฟมารายงานว่า ราคาเมล็ดกาแฟต่อกิโลกรัมน่าจะปรับขึ้นได้อีก 15% จากราคาปัจจุบัน โดยสำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า โอกาสที่กาแฟจะขึ้นราคาได้อีกทำให้เกษตรกรเวียดนามพากัน ‘กักตุน’ กาแฟไว้ก่อนเป็นบางส่วน เพื่อหวังว่าจะขายได้ในราคาที่สูงขึ้นอีกในอนาคต

ฝั่งซัพพลายกาแฟน้อยลง แต่ฝั่งดีมานด์ปรับเพิ่มขึ้น จึงทำให้ราคากาแฟทะยาน ปัจจุบันตลาดที่กำลังมาแรงสำหรับการขายกาแฟคือ “เอเชีย” เพราะเศรษฐกิจเอเชียมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น ประชากรมีรายได้ใช้จ่ายมากขึ้น และ “กาแฟ” คือหนึ่งในสินค้าที่คนนิยม สถิติจากองค์กรกาแฟสากล พบว่า การบริโภคกาแฟในทวีปเอเชียเมื่อปี 2023 ปรับขึ้น 15% เทียบกับปี 2018 และเป็นตลาดใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปยุโรป

กาแฟพันธุ์โรบัสตาเป็นกาแฟที่มักจะใช้ในการผลิตกาแฟผงสำเร็จรูป แต่ต้นทุนที่สูงขึ้นนี้คงต้องรออีกสักพักกว่าที่จะกระทบเป็นลูกโซ่ถึงผู้บริโภคปลายทาง

Source

]]>
1471281
UN เผย ‘เอเชีย’ ขึ้นแท่นทวีปที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา ‘สภาพอากาศสุดขั้ว’ มากที่สุดในปี 2023 https://positioningmag.com/1471267 Fri, 26 Apr 2024 08:45:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1471267 เชื่อว่าคนไทยทุกคนต่างก็สัมผัสได้กับ ความร้อน ที่สูงขึ้นทุกปี ๆ และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่ประเทศไทย แต่หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียต่างก็เจอกับปัญหา สภาพอากาศสุดขั้ว ที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ซึ่ง UN ได้เปิดเผยว่า เอเชีย ถือเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในปีที่ผ่านมา

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก World Meteorological Organization : WMO) ซึ่งเป็นหน่วยงานสภาพอากาศของสหประชาชาติ (UN) ระบุว่า ในปี 2023 ที่ผ่านมา เอเชียเป็นภูมิภาคที่ประสบภัยพิบัติมากที่สุดในโลก เนื่องจากสภาพอากาศที่รุนแรงและภัยคุกคามด้านสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อน

“ในปีที่ผ่านมา หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียเผชิญกับปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ ควบคู่ไปกับสภาวะที่รุนแรง ตั้งแต่ภัยแล้ง คลื่นความร้อน ไปจนถึงน้ำท่วมและพายุ” เซเลสต์ เซาโล เลขาธิการ WMO กล่าว

ประชาชนมากกว่า 9 ล้านคน บนทวีปได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและพายุ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 ราย ขณะเดียวกันแนวโน้มคลื่นความร้อนที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคยังคงดำเนินต่อไป โดยรายงานเตือนว่า ตัวบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ เช่น อุณหภูมิพื้นผิว การละลายของธารน้ำแข็ง และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ส่งสัญญาณถึงสภาวะที่เลวร้ายลงและความจำเป็นในการป้องกันความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่เพิ่มมากขึ้นในเอเชีย

ในปี 2023 อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วเอเชียสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ เนื่องจากแนวโน้มภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่านับตั้งแต่ช่วงปี 1960-1990 ซึ่งทำให้เอเชียร้อนขึ้นเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก โดยมีผู้เสียชีวิตและความสูญเสียทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น โดยรายงานพบว่า อุณหภูมิในพื้นที่ตั้งแต่ไซบีเรียตะวันตกไปจนถึงเอเชียกลาง และจากจีนตะวันออกไปจนถึงญี่ปุ่นนั้นสูงขึ้นเป็นพิเศษ ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ เช่น ญี่ปุ่นและคาซัคสถานเผชิญกับความร้อนที่ร้อนสูงสุดเป็นประวัติการณ์

แม้ว่า WMO พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในเอเชียได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนฝนอย่างมาก แต่ก็มีเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วมากมายที่ทำให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วม ตามรายงานล่าสุดพบว่า น้ำท่วมรุนแรงในจีนและความแห้งแล้งในอินเดียทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิกมูลค่า 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้ว

น้ำท่วมหนักทางตอนเหนือของจีนในเดือนกรกฎาคม ซึ่งประสบพายุที่เลวร้ายที่สุดในรอบหลายปี ในขณะที่เมืองหลวงของปักกิ่งมีฝนตกหนักที่สุดในรอบ 140 ปี ส่วนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนประสบปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง โดยมีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าปกติเกือบทุกเดือนของปี 2023 

อินเดียยังต้องเจอกับปัญหาน้ำท่วมและความแห้งแล้ง และในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อินเดียมีเดือนที่ร้อนที่สุดในโลกนับตั้งแต่เคยบันทึกไว้ และอินเดียยังเผชิญกับคลื่นความร้อนในเดือนเมษายนและมิถุนายน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดดมากกว่า 100 ราย 

Source

]]>
1471267
รู้หรือไม่? ความเสียหายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกมีมูลค่าสูงถึง 1.4 หมื่นล้านบาท/วัน https://positioningmag.com/1449104 Tue, 24 Oct 2023 10:34:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449104 ทุกวิกฤตไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ไฟป่า พายุ ดินถล่ม ฝุ่น PM2.5 ฯลฯ ล้วนเป็นปัญหาที่เกิดจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกทั้งสิ้น และจากการประเมินพบว่า ความเสียหายที่เกิดจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ สูงถึง 391 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/วัน ตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

ผลการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications เผยให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยกว่าแสนล้านต่อปีตั้งแต่ปี 2543 ถึง 2562 หรือเฉลี่ยประมาณ 391 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน (ราว 1.4 หมื่นล้านบาท)

“เราพบว่าค่าเสียหายที่เกิดจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศสูงถึงปีละ 1.43 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ/ปี โดย 63% เกิดจากการสูญเสียชีวิตของมนุษย์ ส่วนที่เหลือเกิดจากการทำลายทรัพย์สินและทรัพย์สินอื่น ๆ”

โดยปีที่มีการสูญเสียมากที่สุดคือปี 2551 ตามมาด้วยปี 2546 และ 2553 ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง ไม่ว่าจะเป็น พายุไซโคลนนาร์กิสถล่มพม่าในปี 2551 คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 80,000 ราย หรือในปี 2546 เกิดคลื่นความร้อนรุนแรงทั่วทวีปยุโรปคร่าชีวิตผู้คนไป 70,000 ราย และในปี 2553 เกิดคลื่นความร้อนในรัสเซีย และความแห้งแล้งในโซมาเลีย

ยิ่งเมื่ออุณหภูมิโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้นและภัยพิบัติรุนแรงขึ้น โดยในปี 2566 นี้ โลกได้บันทึกสถิติว่าเป็นปีที่ ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ปีนี้จะมีภัยพิบัติเกิดขึ้นมากมาย อาทิ ไฟป่าที่ร้ายแรงสุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ที่เมืองเมาวี รัฐฮาวาย และทั่วยุโรปต้องดิ้นรนกับอุณหภูมิที่ร้อนจัดและน้ำท่วมที่รุนแรง

นอกจากนี้ ปีนี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีที่รูปแบบสภาพอากาศเอลนิโญยังคงดำเนินอยู่แม้เข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งหมายความว่าพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก เช่น ทางตอนเหนือของอลาสกาและชายฝั่งอ่าวไทย มีแนวโน้มที่จะเผชิญฝนที่ตกในช่วงฤดูหนาวมากกว่าปกติ

อย่างไรก็ตาม แม้การประเมินความเสียหายจะดูมีมูลค่าสูงหลักหมื่นล้านบาทต่อวัน แต่มีการตั้งข้อสังเกตว่ามีการประเมินต้นทุนที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่ำเกินไป เนื่องจากยังไม่มีการนำปัจจัยอย่าง การสูญเสียผลิตภาพที่เกิดจากคลื่นความร้อน ผลกระทบด้านสุขภาพจิตที่เกิดจากผู้คน หรือการสูญเสียการเข้าถึงการศึกษาและงานหากสถานที่ทำงานได้รับความเสียหาย

ด้วยความเสียหายที่มหาศาล รัฐบาลทั่วโลกจึงเห็นพ้องในข้อตกลงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในกรุงปารีสปี 2558 ที่จะจำกัดความร้อนทั่วโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม และดำเนินการพยายามที่จะจำกัดอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นให้เหลือ 1.5 องศาเซลเซียส

ก็ต้องดูกันว่ามาตรการต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนรถอีวี การนำพลังงานสะอาดมาใช้ จะช่วยลดอุณหภูมิให้โลกได้สำเร็จหรือไม่? เพราะจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ น่าจะเป็นสัญญาณเตือนว่าโลกต้องการการเยียวยาอย่างรอไม่ได้

]]>
1449104
ภาวะ “โลกเดือด” สร้างโอกาสในวิกฤตให้กับผู้ผลิต “ไวน์” ในสวีเดน รัสเซีย และอังกฤษ https://positioningmag.com/1442236 Fri, 25 Aug 2023 02:21:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1442236 2023 คือปีแห่งความท้าทายทางธรรมชาติ ภาวะ “โลกเดือด” ทำให้อากาศป่วน แต่ในวิกฤตยังมีโอกาสของกลุ่มผู้ผลิต “ไวน์” ในเขตหนาวอย่างสวีเดน รัสเซีย และอังกฤษ ซึ่งพบว่าฤดูเพาะปลูกในประเทศยาวขึ้นจากอากาศที่อุ่นผิดปกติ

ในปีแห่งภาวะโลกเดือด นักทำ “ไวน์” ในสวีเดนซึ่งปกติไม่ใช่แหล่งไวน์ที่มีชื่อเสียงแถวหน้าของโลก แต่ปีนี้จะเป็นปีที่พวกเขาคว้าโอกาส

“ผมเห็นการเติบโตของสิ่งต่างๆ ที่ไม่อาจฝันถึงได้เมื่อ 30-40 ปีก่อน” Göran Amnegård นักทำไวน์ที่เริ่มต้นธุรกิจในสวีเดนเมื่อ 20 ปีก่อน กล่าวกับสำนักข่าว AP

ขณะที่แหล่งผลิตไวน์แถวหน้าของโลก เช่น ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี ต่างได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ทำให้ขาดแคลนน้ำและอุณหภูมิในฤดูหนาวร้อนผิดปกติ แต่กลับกัน ในสวีเดนที่ปกติอากาศหนาวจัด ปีนี้อากาศจึงอุ่นขึ้นเหมาะแก่การผลิตไวน์คุณภาพดี

AP รายงานว่า อากาศที่อุ่นขึ้นในสวีเดนทำให้ฤดูเพาะปลูกยาวขึ้นอีกประมาณ 20 วัน ทำให้ปกติที่เพาะปลูกได้ 4 เดือนครึ่งถึง 5 เดือนต่อปี กลายเป็น 6 เดือนถึง 6 เดือนครึ่งต่อปี

จากปี 1961 มาจนถึงปี 2016 อากาศในสวีเดนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียส และคาดการณ์กันว่าภายในศตวรรษนี้ อากาศจะอุ่นขึ้นอีก 2-7 องศาเซลเซียส

ไม่ใช่แค่สวีเดนที่รับอานิสงส์จากภาวะโลกร้อน ตั้งแต่ปี 2016 ก็เคยมีรายงานแล้วว่า ทั้งรัสเซียและอังกฤษต่างมีแหล่งผลิตไวน์ที่คุณภาพดีขึ้นเพราะอากาศอุ่น

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไวน์สวีเดนก็ยังโตช้า โดยในปี 2021 ไวน์สวีเดนมีการส่งออกมูลค่ารวม 26.3 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น แต่ในปีเดียวกันประเทศผู้ผลิตไวน์ดั้งเดิมอย่างฝรั่งเศสและอิตาลีสามารถส่งออกไวน์ด้วยมูลค่าสูงถึง 11,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 7,700 ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ

ส่วนหนึ่งที่ยังมีการส่งออกน้อย เพราะอุตสาหกรรมไวน์สวีเดนเติบโตช้า ซัพพลายการผลิตมีการเติบโตเพียง 10% ต่อปี

อย่างไรก็ตาม ภาวะโลกร้อนอาจจะดีกับผู้ผลิต “ไวน์” แต่ไม่ได้ดีกับภาพรวมของประเทศแถบสแกนดิเนเวียเท่าไหร่นัก เมื่อต้นเดือนนี้เอง นอร์เวย์และสวีเดนประกาศแจ้งเตือนภัยพิบัติเพราะมีฝนตกหนักจนทำให้รถไฟตกราง มีผลกระทบต่อผู้โดยสารมากกว่า 100 คน และอุทกภัยยังมีผลต่อเส้นทางสัญจรบนถนนทั่วประเทศทั้งสอง

โลกร้อนไม่ได้ทำให้แหล่งผลิตไวน์เท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป ความร้อนยังทำให้น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลาย และขั้วโลกเหนือนั้นอุดมไปด้วยน้ำมัน แร่ และปลา ทำให้หลายประเทศจับจ้องที่จะเข้าครองพื้นที่ โดยเฉพาะรัสเซียที่เริ่มเข้าไปยึดครองแล้วตั้งแต่ปี 2022

Source

]]>
1442236
‘เอเชียตะวันออกเฉียงใต้’ ทำสถิติ ‘ร้อน’ สุดเป็นประวัติการณ์ คาดในช่วง 10 ปีข้างหน้าอาจแตะ 51 องศาเซลเซียส https://positioningmag.com/1430633 Tue, 16 May 2023 07:43:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1430633 ชาวไทยอย่างเราอยากชินแต่ก็คงไม่ชินสักทีกับสภาพอากาศที่ร้อนระอุขึ้นทุกวัน ๆ ได้แต่หวังว่าที่กรมอุตุฯ คาดว่าจะมีฝนจะตกจริงอย่างที่ว่า แน่นอนว่าไม่ใช่ไทยที่ร้อนขึ้น แต่เป็นทั้งภูมิภาค และนี่ยังไม่ใช่จุดสูงสุด แต่ยังร้อนขึ้นได้อีกในช่วง 10 ปีจากนี้ โดยภูมิภาคเอเชียอาจร้อนได้สูงสุด 51 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว

ปัจจุบัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด ซึ่งทำให้เกิดคลื่นความร้อนบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น และทำให้มลพิษทางอากาศในภูมิภาคเลวร้ายลง การรวมกันของความร้อนสูงและระดับหมอกควันสูงในภูมิภาคทำให้ความเสี่ยงของการเจ็บป่วยจากความร้อนเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับปัญหาระบบทางเดินหายใจและหัวใจและหลอดเลือด

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกทำให้ทั้งคลื่นความร้อนและมลพิษทางอากาศทวีความรุนแรงขึ้นในภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประสบกับอุณหภูมิที่ร้อนระอุในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยบางพื้นที่ทำสถิติสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์

อย่างเมือง เตืองเดือง ใน เวียดนาม อุณหภูมิพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 44.2 องศาเซลเซียส ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ตามมาด้วย หลวงพระบาง ในประเทศ ลาว มีอุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 43.5 องศาเซลเซียส ในช่วงวันเสาร์ที่ผ่านมา 

ส่วน กรุงเทพฯ เมืองหลวงของ ไทย ก็เจอกับอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 41 องศาเซลเซียส ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นกัน ด้านอุณหภูมิใน สิงคโปร์ เองแม้จะไม่สูงเท่าประเทศก่อนหน้า โดยอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส แต่ก็เท่ากับสถิติสูงสุดตลอดกาลที่บันทึกไว้เมื่อ 40 ปีก่อน

สำหรับอุณหภูมิที่ร้อนระอุในปีนี้สามารถเชื่อมโยงกับปัญหาหลายอย่าง รวมถึงปริมาณน้ำฝนที่ลดลงในช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา และปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งเป็นรูปแบบสภาพอากาศที่โดยทั่วไปจะนำสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งมาสู่ภูมิภาค 

เดือนที่ร้อนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยทั่วไปคือตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอุณหภูมิมักจะสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส โดยทั่วไปแล้วฤดูแล้งของภูมิภาคจะสิ้นสุดลงเมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูมรสุม ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิเย็นลงและมีฝนตกชุก

อย่างไรก็ตาม การศึกษาในปี 2565 จากวารสาร Communications Earth & Environment เตือนว่า ระดับความร้อนที่เป็นอันตรายนั้นคาดว่าจะเกิดขึ้นบ่อยขึ้น 3 ถึง 10 เท่าภายในสิ้นศตวรรษนี้ โดยภูมิภาคเขตร้อนรวมถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียอาจเผชิญกับ ความร้อนที่อันตรายอย่างยิ่ง ที่ 51 องศาเซลเซียส หรือเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตามการศึกษา และเอเชียเผชิญกับอันตรายทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง และไต้ฝุ่น นอกเหนือไปจากความร้อนและความชื้นที่เพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้ ในปี 2565 ถือเป็นปีที่ทั่วโลกเผชิญกับอากาศที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ เนื่องจากความร้อนของมหาสมุทรเพิ่มขึ้นและน้ำแข็งที่ปกคลุมทะเลในแอนตาร์กติกาละลายจนใกล้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ตามข้อมูลของรัฐบาลสหรัฐฯ

]]>
1430633
‘IMF’ ชี้ ประเทศกำลังพัฒนาต้องใช้เงินกว่า 1.6 แสนล้านเหรียญเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน https://positioningmag.com/1407079 Mon, 07 Nov 2022 11:40:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1407079 เมื่อวานนี้เป็นวันแรกที่เปิดฉากการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP 27 ที่ประเทศอียิปต์ โดยมีการเสนอให้ประเทศร่ำรวยจ่ายชดเชยค่าเสียหายจากภาวะโลกร้อน รวมถึงการจัดหาเงินทุนให้กับประเทศที่มีรายได้ต่ำ หรือประเทศยากจน เพราะประเทศร่ำรวยนั้นก่อให้เกิดมลพิษมากกว่า แต่ IMF มองว่าแค่นั้นไม่พอ

ก่อนการประชุม สหประชาชาติเรียกร้องให้ เพิ่มเงินทุนและการดำเนินการตามมาตรการ เพื่อช่วยให้ประเทศที่เปราะบางปรับตัวเข้ากับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ อย่างไรก็ตาม คริสตาลินา จอร์จีวา หัวหน้ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF กล่าวว่า ประเทศที่ร่ำรวยเพียงอย่างเดียวไม่สามารถ ปิดช่องว่างเงินทุนสำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ ดังนั้น จำเป็นต้องมีการ ลงทุนภาคเอกชน มากขึ้นเพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

“ความช่วยเหลือสาธารณะและเงินทุนจากรัฐบาลของประเทศพัฒนาแล้วเพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพอที่จะปิดช่องว่างเงินทุนในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศกำลังพัฒนา” คริสตาลินา กล่าว

ตามรายงานของสหประชาชาติ ประเทศที่อ่อนแอและกำลังพัฒนาจะต้องใช้เงินระหว่าง 1.6-3.4 แสนล้านดอลลาร์ภายใน 10 ปีนี้ เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ และต้องใช้สูงถึง 5.65 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2050

“ความต้องการในการปรับตัวในประเทศกำลังพัฒนานั้นตั้งเป้าให้พุ่งสูงขึ้นถึง 3.4 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 แต่การสนับสนุนด้านการปรับตัวในปัจจุบันมีน้อยกว่า 1 ใน 10 ของเงินจำนวนนั้น” อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติกล่าว

อิงเกอร์ แอนเดอร์เซน กรรมการบริหารโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศกำลังพัดถล่มหลังจากพายุถล่มมนุษยชาติ อย่างเห็นตลอดปี 2022 อาทิ เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปากีสถาน, คลื่นความร้อนในจีน

ซึ่งการหยุดชะงักของซัพพลายเชนที่เกิดจากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงมากกว่าปัญหาที่เกิดจากการระบาดใหญ่ ดังนั้น จำเป็นต้องมีการผลักดันให้มากขึ้นเพื่อให้ธุรกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วมีความรับผิดชอบต่อการลดการปล่อยมลพิษ และภาษีและกฎระเบียบเป็นกลไกสำคัญที่รัฐบาลหลายแห่งสามารถใช้ได้

“เราต้องตระหนักว่าเราล้าหลังในการปกป้องสวัสดิภาพของลูกหลานของเรา ภายในปี 2020-2030 เราต้องลดการปล่อยมลพิษระหว่าง 25-50% แต่ปัจจุบันการปล่อยมลพิษยังคงเพิ่มขึ้น”

Source

]]>
1407079
“เซ็นทรัลพัฒนา” ย่อยเรื่องยั่งยืนให้เข้าถึงง่าย กับงาน “The Urgent Project – Better Future is Now” https://positioningmag.com/1405344 Wed, 26 Oct 2022 04:00:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1405344

ในช่วงหลายปีมานี้ได้เห็นหลายภาคส่วนต่างให้ความสำคัญถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ไม่ว่าจะพูดถึงเรื่องภาวะโลกร้อน ภาวะโลกรวน การรณรงค์รักษาต่างแวดล้อมต่างๆ ภาคธุรกิจต่างมีเป้าหมาย Net Zero กันเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คิด

เราจึงได้เห็นงานอีเวนต์ต่างๆ หรือ Expo ใหญ่ๆ ที่ออกมาพูดถึงเรื่อง Sustainable กันแบบล้นหลาม มีทั้งในแง่ของวิชาการ และภาคปฏิบัติ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างการรับรู้ บอกให้ทราบถึงปัญหาโลกร้อน

แต่ต้องบอกว่า ตอนนี้ทาง “เซ็นทรัลพัฒนา” ได้จัดงาน “The Urgent Project – Better Future is Now” เป็นครั้งแรกของงาน Sustainability Experiential Space ใจกลางเมืองที่เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 1 โซน Beacon เริ่มตั้งแต่วันนี้ -30 ต.ค 65

งานนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นการย่อยเรื่องความยั่งยืนที่ใครๆ ต่างพูดถึงกัน ให้เข้าใจง่ายมากที่สุด เป็นการเชื่อมโยงเข้ากับไลฟ์สไตล์ ทั้งการใช้ชีวิต การกิน การแต่งกาย ทุกอย่างรอบตัวล้วนมีส่วนช่วยโลกได้ ผ่านการจำลองไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้นำเบอร์หนึ่งอสังหาริมทรัพย์ไทยเพื่อความยั่งยืน มุ่งมั่นสร้างโลกที่ดีขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์ Imagining better futures for all พร้อมเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero 2050 ด้วยกลยุทธ์ Power of Synergy ได้จับมือร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ได้แก่ กลุ่ม ปตท.(PTT Group) นำโดย EVme, on-ion และ Swap & Go, บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG, บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด, บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด, บริษัท ธนบุรีพานิชย์ จำกัด, บริษัท อีวี ไพรมัส จำกัด และ บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด ร่วมด้วยพันธมิตรอีกมากมายขับเคลื่อนแนวทางด้านความยั่งยืน ภายในงาน “The Urgent Project – Better Future is Now” งานด่วน งานร้อน ของคนรักโลก

นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบมจ. เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า

“เซ็นทรัลพัฒนา เราเดินหน้าพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อสร้าง Sustainable Ecosystem ที่แข็งแกร่งและยั่งยืน ในฐานะของ‘นักพัฒนาพื้นที่’ แห่งอนาคตที่เชื่อมโยงและสร้างสมดุลระหว่าง People และ Planet เข้าด้วยกัน ด้วยการเป็น Center of Life เพื่อดูแลทั้งผู้คน ชุมชนในทุกที่ที่เราไปตั้งอยู่ พร้อมส่งต่อโลกและสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับผู้คนในรุ่นต่อๆ ไป”

สำหรับงาน “The Urgent Project – Better Future is Now” ครั้งแรกกับ Sustainability Experiential Space ใจกลางเมือง พบกับโซนไฮไลท์ภายในงาน ได้แก่

 

  • Urgent Island พื้นที่ทดลอง ‘เร่งด่วน-เรียนรู้-กู้โลก’ เปลี่ยนการรักษ์โลกให้เป็นเรื่องสนุกจากเซ็นทรัลพัฒนา ทั้ง Central Pattana Sustainability Story, Live Better, Eat Better, Style Better
  • Pavilion for Betterment Zone 1:

– พบกับ Interactive game ‘Mission 1.5’ จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกันจุดประกายไอเดียช่วยโลก

– VOLT City EV รถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าขับเคลื่อนแบบ 100% ดีไซน์สวยแบบ Minimal ในราคาที่จับต้องได้ สามารถชาร์จไฟบ้านได้ใช้ปลั๊กปกติได้เลย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

– SCG Green Choice ฉลากที่ให้การรับรองผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยส่งเสริมในเรื่องสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยที่ดี มาเป็นตัวช่วยผู้บริโภคในการเลือกผลิตภัณฑ์ให้ง่ายยิ่งขึ้น

– เนสท์เล่ชวนคุณมาดูแลฟื้นฟูโลกของเราไปพร้อมกัน เริ่มจากสิ่งเล็กๆ ใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน มาร่วมเล่นเกมแยกขยะ มาดูกันว่าเพียงแยกขยะแค่ 1 ชิ้นลงถังรีไซเคิล เราสามารถช่วยโลกให้น่าอยู่ขึ้นได้อย่างไร

– Loopers แพลตฟอร์มรวบรวม และส่งต่อเสื้อผ้ามือสองคุณภาพดี ให้เสื้อผ้าทุกตัวถูกใช้ และถูกดูแลอย่างรู้คุณค่าตลอดอายุการใช้งาน

  • Pavilion for Betterment Zone 2:

– พบกับ บูธกิจกรรมจาก กรุงเทพมหานคร ที่นำแนวทางการจัดการขยะ และ เวิร์คช็อปต่างๆ ที่ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม

– Evolt X SC GRAND ร่วมกันออกแบบกระเป๋าผ้าจากวัสดุรีไซเคิล 100% รับปรึกษาเรื่องการติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน

– Tempered คาเฟ่แนวใหม่ ที่ทำด้วยใจเพื่อโลก โซน Chocolate Lab เป็น Zero Waste เปลือกจากโกโก้เรายังนำไปทำชาและปุ๋ย โซน Café ใช้บรรจุภัณฑ์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Biodegradable Grade

– SCG Bi-ionครั้งแรกกับประสบการณ์อาบป่ากลางเซ็นทรัลเวิลด์พร้อมสัมผัสอากาศสะอาดปลอดภัยที่สร้างได้จากระบบ SCG Bi-ion

– CIRCULAR T-Shirt Club ผลิตจากวัตถุดิบสิ่งทอรีไซเคิล 100% ไม่ผ่านการฟอกย้อม ช่วยลดการใช้น้ำ และลดการใช้ยาฆ่าแมลง ในการปลูกฝ้ายใหม่ ช่วยประหยัดพลังงาน และ ช่วยลดการปล่อยก๊าซ CO2 อีกทั้งยังช่วยลดขยะที่เกิดขึ้น จากกระบวนการผลิต

– Yindii (ยินดี) แอปพลิเคชั่นส่งอาหารส่วนเกินจากร้านอาหาร ร้านกาแฟ และร้านขายของชำ โรงแรม และซูเปอร์มาร์เก็ต ในราคาถูก โดยเป้าหมายเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมจากสภาวะโลกร้อน

นอกจากนี้ เซ็นทรัลพัฒนายังมุ่งสู่การเป็นองค์กร Retail-Led Mixed-Use Developer รายแรกสู่ Net Zero ในปี 2050ผ่านการดำเนินกลยุทธ์สำคัญ 2 ส่วนคือ

1. INSIDE-OUT: สร้างสรรค์ Culture ของภายในองค์กร โดยได้นำร่อง Green Initiatives ไปแล้วหลายโครงการด้วยกัน อาทิ สร้างมาตรฐานอาคารเขียวระดับสากล ด้วยการติดตั้งเซลล์ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในทุกโครงการ พัฒนาอาคารอัจฉริยะหรือ Building Automation การติดตั้ง Recycle Station นอกจากนี้ยังเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อชุมชน ตั้งเป้าปลูกต้นไม้ให้ได้ 1 ล้านต้น

2. OUTSIDE-IN: ส่วนที่เป็นการ creating shared value สร้างคุณค่าร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย นําเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติเป็นแนวทางใน 3 มิติ คือ เศรษฐกิจ สร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ กระจายรายได้ให้กับชุมชนและท้องถิ่น ส่งเสริมวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ท้องถิ่น, สังคม : เป็น Public space ที่ยกระดับคุณภาพชีวิต มีพื้นที่สีเขียว มีพื้นที่ออกกำลังกาย มีพื้นที่ workshop และสิ่งแวดล้อม สร้าง collaboration เพื่อไปสู่ circular economy ทุกๆ โครงการใหม่ของเราจะเน้นเรื่อง Green และ Energy

พลาดไม่ได้กับไฮไลต์อีกมากมาย! อีเวนต์สำหรับสายรักษ์โลกจากเซ็นทรัลพัฒนาผนึกพลังทุกภาคส่วนโชว์เคสทั้ง How-to และ Inspiration ตรงกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ พร้อมกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย…The Urgent Project – Better Future is Now รักโลก รอไม่ได้ ตั้งแต่วันที่ 21-30 ต.ค. 65 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ชั้น 1 โซน Beacon

 

]]>
1405344
วิกฤตกิมจิ! “ผักกาดขาว” ในเกาหลีใต้ขาดแคลนเพราะอากาศเปลี่ยน สินค้าจีนดัมพ์ราคาตีตลาด https://positioningmag.com/1402766 Fri, 30 Sep 2022 17:37:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1402766 ภูมิอากาศป่วนจนเกิดฝนตกหนักผิดปกติในเกาหลี ทำให้ผลผลิต “ผักกาดขาว” ขาดแคลน ราคาพุ่งสูงจนเกิด “วิกฤตกิมจิ” ผู้ผลิตสู้ราคาไม่ไหว ซ้ำยังถูกกิมจิจีนราคาถูกตีตลาด รัฐบาลเกาหลีเปิดนโยบายแก้ปัญหาด้วยการสร้างคลังผักกาดขาวขนาดยักษ์

รัฐบาลเกาหลีใต้กำลังเร่งสร้างคลังสต็อกผักกาดขาว 2 แห่ง พื้นที่แห่งละ 9,900 ตารางเมตร หรือรวมแล้วเทียบเท่ากับสนามฟุตบอล 3 แห่ง ซึ่งสามารถเก็บสต็อกผักกาดขาวสดได้วันละ 10,000 ตัน และเก็บกิมจิผักกาดดองได้วันละ 50 ตัน

การก่อสร้างคลังเก็บผักกาดขาวนี้จะใช้งบประมาณ 58,000 ล้านวอน (ประมาณ 1,500 ล้านบาท) และจะสร้างเสร็จภายในปี 2025

สำหรับผู้ผลิตกิมจิขณะนี้ต้องผจญปัญหาขาดแคลนผักกาดขาว และราคาผักกาดขาวสูงเกินไป โดยผักกาดขาวถือเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ทำกิมจิ แม้จะใช้ผักอื่นแทนได้ แต่ความนิยม 3 ใน 4 ของกิมจิเกาหลีจะทำมาจากผักชนิดนี้

กิมจิ ขาดแคลน
กิมจิ เป็นเครื่องเคียงที่ต้องมีในอาหารเกือบทุกมื้อของคนเกาหลี (Photo: makafood / Pexels)

ปัญหาขาดแคลนผักกาดขาวขณะนี้เกิดจากภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงในเกาหลีใต้ ปีนี้เกิดฝนตกหนักผิดปกติจนทำลายเรือกสวนที่ใช้ปลูกผักกาดขาว เมื่อซัพพลายขาด ราคาย่อมพุ่งขึ้นตามกลไกตลาด แถมปีนี้ยังมีปัญหาอัตราเงินเฟ้อเข้ามาซ้ำเติม ทำให้ผักกาดขาวในเกาหลีใต้นั้นราคาทะยานเป็นเท่าตัวภายในเวลาไม่ถึง 3 เดือน

“ปกติเราจะซื้อผักกาดขาวไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนเพื่อเก็บสต็อกไว้ใช้ในช่วงที่ราคาผักกาดขาวสูงขึ้น แต่ปีนี้สต็อกเราไม่เหลือแล้ว” อันอิกจิน ประธานบริหารบริษัททำกิมจิ ชองวัน ออกานิก กล่าวถึงสต็อกที่หายไปในปีนี้

เมื่อวัตถุดิบแพงขึ้น ทำให้บริษัทของเขาก็ต้องขึ้นราคากิมจิเช่นกัน โดยปัจจุบันขายในราคากิโลกรัมละ 5,000 วอน (ประมาณ 130 บาท)

ถึงแม้ราคาจะปรับขึ้น แต่ดีมานด์ก็ยังเพิ่มขึ้นอยู่ดี เพราะผู้บริโภคมองว่าการซื้อวัตถุดิบสดมาหมักกิมจิเองกลับแพงกว่า ทำให้ยอดขายกิมจิสำเร็จรูปสูงขึ้น ข้อมูลจาก Hanaro Mart เชนซูเปอร์มาร์เก็ตเกาหลีพบว่ายอดขายกิมจิเพิ่มขึ้น 20% เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เทียบกับปีก่อนหน้า

 

กิมจิจีนพยายามตีตลาดมาตลอด

อุตสาหกรรมกิมจิของเกาหลีใต้อยู่ในช่วงขาลงมาระยะหนึ่งแล้ว เพราะการนำเข้ากิมจิจากจีนซึ่งมักจะทำราคาเหลือเพียง 1 ใน 3 ของราคากิมจิเกาหลี ล่าสุดกิมจิจีนสามารถครองตลาดเกาหลีใต้ได้ถึง 40% แล้ว

วิกฤตนี้ทำให้ผู้ผลิตกิมจิเกาหลีต้องปิดกิจการ แค่เพียงปีที่แล้ว ผู้ผลิตกิมจิเกาหลีปิดตัวทั้งแบบถาวร ชั่วคราว และที่เปลี่ยนไปผลิตสินค้าอื่น รวมกันมากกว่า 1,000 ราย (ข้อมูลจาก Korea Rating & Data)

ยิ่งเกิดปัญหาผักกาดขาวในเกาหลี ยิ่งทำให้อุตสาหกรรมย่ำแย่ลง ทำให้ผู้ผลิตกิมจิหวังว่ารัฐบาลจะช่วยปกป้องผู้ผลิตในเกาหลีไม่ให้สูญเสียตลาดไปมากกว่านี้

นั่นทำให้รัฐบาลมีโครงการสร้างคลังสต็อกผักกาดขาว โดยหวังว่าจะทำให้ผู้ผลิตกิมจิเกาหลีแข็งแรงขึ้นในระดับโลก และถ้าหากคลังสินค้าสองแห่งแรกประสบความสำเร็จ ก็น่าจะมีการสร้างคลังแบบนี้เพิ่มอีก

แม้ในประเทศจะถูกจีนตีตลาด แต่การส่งออกกิมจิเกาหลีนั้นกลับเพิ่มขึ้น โดยปี 2021 ยอดส่งออกกิมจิเพิ่มขึ้น 10.7% มูลค่าทะลุ 160 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6,000 ล้านบาท) ถือเป็นสถิติประวัติการณ์ ยอดส่งออกเหล่านี้เกิดจากการใช้ ‘soft power’ ของเกาหลี ผู้คนทั่วโลกเกิดกระแสเกาหลีฟีเวอร์เพราะซีรีส์เรื่อง Squid Game ที่ฉายทาง Netflix และวงศิลปิน K-Pop มากมายที่ไปสู่ตลาดโลกได้สำเร็จ ทำให้อาหารเกาหลีกลายเป็นที่ต้องการมากยิ่งขึ้น

Source

]]>
1402766
10 ประเทศที่ได้รับ “ผลเสีย” หนักที่สุดจาก “ภาวะโลกร้อน” https://positioningmag.com/1398350 Wed, 31 Aug 2022 05:55:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1398350 ภาวะอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather) กำลังเล่นงานโลกใบนี้อย่างหนัก ปีนี้ปากีสถานเผชิญกับมหาอุทกภัยที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,000 คน แต่ในยุโรปและประเทศจีนกลับเกิดภัยแล้งจนพืชผลการเกษตรเสียหาย สิ่งเหล่านี้เกิดจากภาวะโลกร้อน (Climate Change) ที่หนักข้อขึ้น

แม้ว่าทั้งโลกจะได้รับ “ผลเสีย” จาก “ภาวะโลกร้อน” กันทั้งหมด แต่จริงๆ แล้วมีประเทศที่ต้องรับผลหนักกว่าประเทศอื่น ส่วนใหญ่แล้วเป็นประเทศรายได้ต่ำ เพราะไม่มีทรัพยากรเพียงพอเท่ากับประเทศรายได้สูงเพื่อที่จะรับมือกับปัญหาภัยพิบัติ

ข้อมูลจาก Notre Dame Global Adaptation Initiative และ Germanwatch’s Climate Risk Index ประเมิน 10 ประเทศที่ได้รับผลเสียหนักที่สุดจากภาวะโลกร้อน ไว้ดังลิสต์ด้านล่างนี้ (*เรียงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ)

1.อัฟกานิสถาน

ระหว่างปี 1950-2010 อุณหภูมิในอัฟกานิสถานเพิ่มขึ้น 1.8 องศาเซลเซียส และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 1.4 องศาเซลเซียส ภายในปี 2050 (กรณีเลวร้ายที่สุดอาจเพิ่มขึ้นถึง 6 องศาเซลเซียสภายในปี 2100)

อากาศที่ร้อนขึ้นทำให้น้ำฝนน้อยลงถึง 40% และเกิดภัยแล้ง แต่ในขณะเดียวกัน ความร้อนทำให้หิมะบนเทือกเขาละลายและเกิดน้ำท่วมตามริมฝั่งแม่น้ำ เมื่อเผชิญสภาพที่ทั้งแล้งและน้ำท่วม พืชผลเกษตรจึงเสียหายหนัก และทำให้ประเทศขาดแคลนอาหาร

อัฟกานิสถาน (Photo: Mohammad Husaini / Pexels)
2.บังคลาเทศ

ระหว่างปี 2000-2019 บังคลาเทศเผชิญสภาวะอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather) ไปทั้งหมด 185 ครั้ง สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ 3,720 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.35 แสนล้านบาท)

USAID เคยรายงานไว้เมื่อปี 2018 ว่า 89% ของชาวบังคลาเทศอาศัยอยู่ในพื้นที่ “เสี่ยงสูง” หรือ “เสี่ยงสูงมาก” ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และมีชาวบังคลาเทศถึง 11% ที่จะต้องสูญเสียแผ่นดินบ้านเกิดตัวเองไปในภายในปี 2050 เนื่องจากระดับน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น

3.ชาด

ชาด ประเทศในทวีปแอฟริกา เผชิญกับภัยแล้งรุนแรงในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา ทะเลสาบชาดซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ แห้งเหือดไปแล้วถึง 90% จนทะเลสาบกลายสภาพเป็นเหมือนแอ่งฝุ่นมากกว่าแอ่งน้ำ

ชาดยังเป็นประเทศทะเลทรายด้วย ทำให้เมื่อเกิดภาวะอากาศสุดขั้ว เกิดฝนตกหนักผิดปกติเมื่อใดประเทศก็จะต้องเผชิญน้ำท่วมใหญ่ในปีนั้น เนื่องจากทะเลทรายไม่สามารถอุ้มน้ำเอาไว้ได้

ทะเลสาบชาดหดตัวรุนแรง ทั้งจากการใช้น้ำมากเกินไปและภัยแล้ง (By Blank_Map-Africa.svg: Andreas 06derivative work / Common Wiki)
4.เฮติ

“ภาวะโลกร้อนคือความหวาดหวั่นใหญ่หลวงในเฮติ มันยากมากสำหรับเราที่จะต่อสู้กับโลกร้อน” Joseph Jouthe รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม (ณ ขณะนั้น) ของเฮติ กล่าวไว้ในงาน COP25 ปี 2019

เฮติเป็นหนึ่งในประเทศทะเลแคริบเบียนซึ่งอยู่ในเขตเข็มขัดเฮอริเคน ทำให้ต้องเผชิญผลเสียของภาวะโลกร้อนสูง ไม่ใช่แค่เฮติที่โดนหนัก ประเทศโดมินิกันซึ่งเป็นเพื่อนบ้านก็เช่นกัน แต่เฮติมีทรัพยากรในการป้องกันประเทศจากภัยพิบัติต่ำที่สุด 96% ของชาวเฮติจะอยู่ในความเสี่ยงหากเกิดภัยพิบัติขึ้น รวมถึงปัญหาทางการเงินทำให้ประเทศฟื้นตัวได้ยาก

ธนาคารโลกเคยประเมินไว้ว่า แผ่นดินไหวปี 2010 ที่คร่าชีวิตคนเฮติไป 250,000 คน และสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจไป 120% ของจีดีพีโลก ต่อมาในปี 2016 เฮอริเคนแมทธิวสร้างความเสียหายไป 1 ใน 3 ของจีดีพีประเทศ

5.เคนยา

ภัยแล้งคือปัญหาหนักที่สุดของเคนยา ประเทศในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา แค่เพียงปี 2019 ปีเดียว ภัยแล้งสร้างความเสียหายให้เคนยาไปแล้ว 708 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 25,800 ล้านบาท)

เคนยาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของทวีปแอฟริกา แต่ก็ยังหนีไม่พ้นปัญหาโลกร้อน ในทางกลับกัน การที่เคนยาเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ก็จะเกิดผลต่อเนื่องแก่ประเทศเพื่อนบ้านด้วย ซึ่งรัฐบาลเคนยาก็ไม่นิ่งนอนใจ ทั้งที่เคนยามีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 0.1% ของโลก แต่ประเทศได้ให้คำมั่นไว้ว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 32% ให้ได้ภายในปี 2030

เคนยา (Photo: Adi Perets / Pexels)
6.มาลาวี

มาลาวีเป็นประเทศในเขตแอฟริกาตะวันออก และเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ในจุดศูนย์กลางไซโคลนอิดาอีเมื่อปี 2019 ไซโคลนลูกนั้นถือเป็นพายุที่คร่าชีวิตคนไปมากที่สุดและสร้างความเสียหายสูงที่สุดเท่าที่มีบันทึกในภูมิภาคนี้ โดยผลจากไซโคลนอิดาอีทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,000 คน มีคนได้รับผลกระทบกว่า 3 ล้านคน และสร้างความเสียหายกว่า 2,200 ล้านเหรียญ (ประมาณ 80,000 ล้านบาท)

อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นเพียงหนึ่งในเหตุการณ์ล่าสุด ประเทศนี้ต้องเผชิญผลจากโลกร้อนมาตั้งแต่ปี 1961 ภาวะอากาศสุดขั้วทำให้เกิดทั้งปัญหาฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ภัยแล้ง และน้ำท่วม จนพืชผลเกษตรเสียหาย โดยประเทศนี้มีประชากรถึง 80% ที่พึ่งพิงรายได้จากการเกษตร

บ้านเรือนพังเสียหายจากไซโคลนอิดาอีในมาลาวี (Photo: Shutterstock)
7.ไนเจอร์

80% ของคนไนเจอร์พึ่งพิงรายได้จากการเกษตร ทำให้ประเทศอยู่บนความเสี่ยง เพราะอุณหภูมิของประเทศปรับสูงขึ้นเร็วกว่าค่าเฉลี่ยโลก 1.5 เท่า ภายในปี 2100 ผู้เชี่ยวชาญด้านโลกร้อนคาดว่าไนเจอร์จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 3-6 องศาเซลเซียส จากปัจจุบันที่ไนเจอร์มีปัญหาขาดแคลนอาหาร ขาดแคลนน้ำ ซึ่งก่อให้เกิดอาชญากรรมในประเทศ อนาคตข้างหน้าจะยิ่งเต็มไปด้วยวิกฤตและความตึงเครียด

ตั้งแต่ปี 1968 ไนเจอร์เกิดภัยแล้งติดต่อกันหลายปีมาหลายครั้ง ธนาคารโลกรายงานว่า พื้นที่เกษตรของไนเจอร์ลดลงและลดคุณภาพลงด้วยมาตั้งแต่ทศวรรษ 1970s แต่ในทางกลับกัน น้ำท่วมกลับรุนแรงขึ้นทุกทีโดยเฉพาะในภาคใต้ของประเทศ ภาวะโลกร้อนจึงทำให้เกษตรกรไนเจอร์เป็นผู้รับผลหนักที่สุด

8.ปากีสถาน

ประเทศที่เพิ่งเผชิญภัยพิบัติครั้งใหญ่ในเดือนสิงหาคม แต่สัญญาณเตือนมีมาตั้งแต่เมื่อเดือนกรกฎาคม 2021 ซึ่งอุณหภูมิในเมืองจาโคบาบัดของปากีสถานพุ่งขึ้นไปถึง 126 องศาฟาเรนไฮต์ ร้อนจนถูกขนานนามว่าเป็นเมืองที่ร้อนที่สุดในเอเชีย และร้อนรุนแรงจนมนุษย์ทนไม่ได้ อีกเมืองหนึ่งของปากีสถานคือเมืองการาจี ก็เป็นจุดศูนย์รวมแห่งภัยพิบัติอันเนื่องมาจากโลกร้อน โดยที่เมืองนี้มีคนอยู่อาศัยถึง 14.9 ล้านคน

ประเทศปากีสถานเองมีการกระทำที่ยิ่งเร่งปฏิกิริยานั่นคือการตัดไม้ทำลายป่า ปัจจุบันปากีสถานเหลือป่าเพียง 4% ของพื้นที่ประเทศ เพราะประเทศนี้มีกลุ่มมาเฟียตัดไม้ผิดกฎหมาย เมื่อป่าไม้น้อยลง มีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะพุ่งขึ้น 3.9 องศาฟาเรนไฮต์ภายใน 3 ทศวรรษ

เมื่ออากาศร้อนขึ้น ธารน้ำแข็งจากเทือกเขา 3 ลูกของปากีสถาน คือ ฮินดูกูช, หิมาลัย และการาโกรัม จึงละลายออกมาต่อเนื่อง ทำให้เกิดทั้งภัยแล้งรุนแรงและน้ำท่วมอย่างที่เกิดในปีนี้

ธารน้ำแข็งบนยอดเขา K2 ปรากฏภาพการละลายมาตั้งแต่ปี 2011 (Photo: Shutterstock)
9.โซมาเลีย

เหมือนกับเคนยา โซมาเลียเผชิญภัยแล้งครั้งใหญ่ที่สุดของแอฟริกาในรอบ 40 ปี จนทำให้บางภูมิภาคของประเทศเข้าขั้นเกิดภัยพิบัติขาดแคลนอาหาร มากกว่า 60% ของประเทศนี้เป็นกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ทำให้การมีน้ำฝนเพียงพอเป็นเรื่องสำคัญมากในการหล่อเลี้ยงฝูงสัตว์ของพวกเขา แต่ในทศวรรษที่ผ่านมา เรื่องนี้กลายเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ

ยิ่งไปกว่านั้น 3 ทศวรรษที่ผ่านมา โซมาเลียเกิดสงครามกลางเมือง ความขัดแย้งยิ่งทำให้โครงสร้างพื้นฐานของเมืองและระบบป้องกันภัยพิบัติล้มเหลว

10.ซูดาน

เมื่อปี 2016 นักวิทยาศาสตร์ด้านโลกร้อน Jos Lelieveld กล่าวว่า ภายในศตวรรษนี้ ส่วนหนึ่งของทวีปแอฟริกาเหนือจะร้อนจน “ไม่สามารถอยู่อาศัยได้” และประเทศหนึ่งที่เสี่ยงที่สุดคือ ซูดาน

เหมือนกับหลายประเทศในแอฟริกา ซูดานพึ่งพิงการทำเกษตรและเลี้ยงสัตว์ ทำให้ต้องพึ่งพิงฟ้าฝนในการอยู่รอด แต่ความขัดแย้งในประเทศก็ยิ่งทำให้การแก้ปัญหาไม่เกิดขึ้นเหมือนๆ กับโซมาเลีย

Source

 

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

]]>
1398350