ภูมิคุ้มกันหมู่ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 24 May 2021 06:27:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ภูมิคุ้มกันหมู่เป็นไปได้แค่ไหน ในวันที่เชื้อ COVID-19 กลายพันธุ์? https://positioningmag.com/1333491 Mon, 24 May 2021 06:14:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333491 เมื่อการระบาดของไวรัส COVID-19 เริ่มระบาดไปทั่วโลกตั้งแต่ปี 2020 รัฐบาลและหน่วยงานด้านสุขภาพหลายแห่งดูเหมือนจะตั้งความหวังไว้ที่ ‘ภูมิคุ้มกันหมู่’ (Herd Immunity) ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประชากรมีภูมิคุ้มกันจำนวน ‘มากพอ’ จนช่วยป้องกันการกระจายเชื้อระหว่างคนสู่คน โดยมีทฤษฎีคือ 60-70% ของประชากร จากนั้นการแพร่กระจายของไวรัสจะค่อย ๆ ลดลงและผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อจะได้รับการป้องกัน เนื่องจากจากโอกาสที่ไวรัสจะแพร่กระจายนั้นน้อยลง

ปัจจุบัน มีผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกรวมกว่า 164 ล้านคนและเสียชีวิต 3.4 ล้านคน แม้ว่าขณะนี้โลกจะมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงและโครงการสร้างภูมิคุ้มกันกำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็วทั่วโลก ทำให้เกิดความหวังว่าเมื่อประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนเพียงพอแล้วก็จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้

ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่า COVID-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นเหมือนกับ ‘ไข้หวัดใหญ่’ ซึ่งหมายความว่าจะยังคงแพร่ระบาดได้ในบางส่วนของประชากรซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามตามฤดูกาล และหวังว่ามันจะมีอันตรายน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่มันก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะเกิด การกลายพันธุ์ ที่ทราบแน่ชัดว่าภูมิคุ้มกันหมู่จะสามารถป้องกันได้หรือไม่

Photo : Shutterstock

นักระบาดวิทยา ลอเรน แอนเซล เมเยอร์ส ผู้อำนวยการ University of Texas Covid-19 Modeling Consortium อธิบายว่า ภูมิคุ้มกันหมู่เป็นแนวคิดที่ว่าถ้าฉีดวัคซีนให้คนทั่วโลกเพียงพอ ไวรัสจะไม่มีที่ใดแพร่กระจายได้และการแพร่ระบาดจะหายไปอย่างสมบูรณ์

“น่าเสียดายที่เราอยู่ห่างไกลจากความเป็นจริง เพราะไวรัสยังคงแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในหลายทวีป สายพันธุ์ใหม่ที่สามารถแพร่กระจายผ่านภูมิคุ้มกันได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหลายประเทศล้าหลังกว่าสหรัฐอเมริกาในการฉีดวัคซีน” 

แม้แต่ในเมืองของสหรัฐอเมริกาภูมิคุ้มกันก็ยังอยู่ในระดับวิกฤต โดยมีการประเมินว่าความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนมีตั้งแต่ต่ำกว่า 40% ไปจนถึงมากกว่า 80% ขึ้นอยู่กับว่าละแวกที่อยู่อาศัย ขณะที่ประชากรอายุต่ำกว่า 12 ปี ยังไม่สามารถรับวัคซีนได้ ตราบใดที่ยังมีภูมิคุ้มกันต่ำ ไวรัสที่ซ่อนตัวอยู่นี้จะยังคงแพร่กระจายและสร้างสายพันธุ์ใหม่ต่อไป

Photo : Shutterstock

ดร. วิลเลียม เพทรี ศาสตราจารย์ด้านโรคติดเชื้อ มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย ซึ่งช่วยเป็นผู้นำโครงการระดับโลกเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันโรคโปลิโอในฐานะประธานคณะกรรมการวิจัยโปลิโอขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า สำหรับการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ระดับโลกเคยสำเร็จเพียง ‘ครั้งเดียว’ ก็คือการกำจัด ‘ไข้ทรพิษ’ ในปี 1980 หลังจากการรณรงค์การฉีดวัคซีนอย่างเข้มข้นทั่วโลก นอกจากนี้เรายังเข้าใกล้ภูมิคุ้มกันหมู่ทั่วโลกสำหรับ ‘โรคโปลิโอ’

ดังนั้น การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่สามารถทำได้ทั่วโลก แต่ต้องอาศัยความพยายามพิเศษร่วมกับความร่วมมือระดับโลกเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่ฉีดวัคซีนเนื่องจากยังลังเล อีกทั้งหลายประเทศยังเข้าถึงวัคซีนไม่เท่ากัน ไม่เหมือนในสหรัฐอเมริกา และแม้อเมริกาจะได้รับการฉีดวัคซีนเยอะ แต่อาจต้องรอถึงปี 2022 หรือนานกว่านั้นจึงจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่

ซามูเอล สคาร์ปิโน นักวิจัยด้านโรคติดเชื้อ มหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์น สหรัฐอเมริกา มองว่า ตราบใดที่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าวัคซีนแต่ละยี่ห้อสามารถ ‘หยุดยั้งการแพร่เชื้อ’ ได้แค่ไหน เราก็คงยังไม่สามารถบอกได้ว่า ‘ภูมิคุ้มกันหมู่’ จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และ ‘ค่าร้อยละ’ ที่น้อยที่สุดของจำนวนประชากรที่ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรค (Herd Immunity Threshold) ควรเป็นเท่าใด จึงจะก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่

Photo : Shutterstock

เช่นเดียวกับ สเตฟาน ฟลาสช์ นักระบาดวิทยาแห่ง London School of Hygiene & Tropical Medicine มองว่า การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ไม่สามารถเกิดจากการฉีดวัคซีนเพียงอย่างเดียว เพราะวัคซีนที่มีอยู่ยังไม่สามารถหยุดการแพร่กระจายเชื้อได้ โลกจึงต้องคิดหาวิธีว่าจะอยู่ร่วมกับไวรัสชนิดนี้อย่างไร

อย่างไรก็ตาม เมเยอร์สตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าจะไม่ได้รับภูมิคุ้มกันหมู่ แต่วัคซีนอาจช่วยให้ COVID-19 กลายเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงน้อยกว่าเดิม ดังนั้น ถึงจะไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่หรือกำจัดเชื้อไวรัสให้หายไป แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่กลับสู่สภาวะปกติไม่ได้ เพราะปัจจุบัน เริ่มเห็นจำนวนผู้ป่วยรายใหม่และการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเริ่มลดลงแล้ว

“ด้วยรูปแบบที่เกิดขึ้นใหม่และจำนวนการฉีดวัคซีนที่ต่ำ จึงไม่มีการรับประกันว่าเราจะไปถึงจุดนั้นได้ แต่ยิ่งมีคนฉีดวัคซีนมากเท่าไหร่ภัยคุกคามก็จะยิ่งลดลงเร็วขึ้นเท่านั้น”

CNBC / theconversation

]]>
1333491
‘อินโดนีเซีย’ ปักเป้าสร้าง ‘ภูมิคุ้มกันโควิดหมู่’ ภายใน 1 ปี https://positioningmag.com/1316425 Tue, 26 Jan 2021 06:24:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1316425 อินโดนีเซีย ประเทศที่มีประชากรกว่า 250 ล้านคน ซึ่งถือว่ามากที่สุดในภูมิภาคอาเซียนเพิ่งได้เปิดตัวโครงการฉีดวัคซีน COVID-19 เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา หลังจากที่รัฐบาลอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินในการฉีดวัคซีนที่พัฒนาโดย ‘Sinovac Biotech’ ของจีน

นางศรี มุลยานี อินทราวาตี รัฐมนตรีคลังอินโดนีเซีย กล่าวว่า การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญแสดงให้เห็นว่าอินโดนีเซียต้องใช้เวลาประมาณ 15 เดือน ในการฉีดวัคซีนให้กับประชากรประมาณ 180 ล้านคน เพื่อให้มี ‘ภูมิคุ้มกันหมู่’ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนจำนวนมากพอมีภูมิคุ้มกันพอที่จะพัฒนาการป้องกันโรคเพื่อไม่ให้แพร่ระบาดได้ง่ายอีกต่อไป และเพื่อให้ประชาชนมีภูมิต้านทานต่อโรค COVID-19 มากพอ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อพยุงเศรษฐกิจ

“เราเห็นว่าการระบาดของโรคไม่ได้ลดลงและเราต้องเฝ้าระวังต่อไป”

ศรี มุลยานี กล่าวต่อว่า อินโดนีเซียจะให้ความสำคัญกับการซื้อวัคซีน รวมทั้งการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องสำหรับครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและธุรกิจขนาดเล็ก โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณของ GDP ที่ 5.7% ในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าปีที่แล้วที่ขาดดุลงบประมาณที่ 6.1% ของ GDP

“ประเทศอินโดนีเซียยังถือว่าได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโรคไม่หนักหนานักเมื่อเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาคและในกลุ่มเศรษฐกิจ G-20 โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวประมาณ 2.2% ในปี 2020 ก่อนที่จะฟื้นตัวกลับมาเติบโตราว 5% ในปีนี้”

SUMEDANG, WEST JAVA, INDONESIA – 2020/12/20: A guard wearing a facemask as a measure against coronavirus scans the temperature of a kid before allowing him inside Puspa Nature Tourism Park.
Natural attractions become the ideal destination for residents to go for vacation during the COVID-19 pandemic as a way to avoid crowds. (Photo by Algi Febri Sugita/SOPA Images/LightRocket via Getty Images)

อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ต้องการ ‘เร่ง’ กระบวนการดังกล่าวเพื่อให้ได้มาซึ่งภูมิคุ้มกันหมู่ภายใน 12 เดือนซึ่งเป็นงานที่ท้าทายอย่างมาก เพราะจากภูมิประเทศอินโดนีเซียที่เป็นหมู่เกาะที่มีประชากรประมาณ 250 ล้านคนกระจายตัวกันหลายพันเกาะ

ทั้งนี้ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ถือเป็น 2 ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ COVIID-19 มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามข้อมูลที่รวบรวมโดยมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ โดยอินโดนีเซียมีรายงานการติดเชื้อสะสมมากกว่า 989,200 รายและเสียชีวิตกว่า 27,800 ราย ในขณะที่ฟิลิปปินส์มีผู้ป่วยมากกว่า 513,600 รายและมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 10,200 ราย

Source

]]>
1316425
เปิดเหตุผล ทำไม ‘อินโดนีเซีย’ เลือกฉีดวัคซีน COVID-19 ให้คนวัยทำงาน ก่อนผู้สูงอายุ? https://positioningmag.com/1313072 Wed, 06 Jan 2021 10:39:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313072 ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลกอย่างอินโดนีเซียวางเเผนจะเริ่มเเจกจ่ายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้กับประชาชนกว่าร้อยล้านคนภายในเดือนมีนาคมนี้

ในขณะที่หลายชาติ ทั้งสหรัฐฯ เเละยุโรป เลือกฉีดวัคซีนให้กับผู้สูงอายุ’ ก่อนเนื่องจากเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจเเละโรคเเทรกซ้อนมากกว่า

เเต่อินโดนีเซียกลับมีเเนวทางที่เเตกต่างออกไป โดยมีแผนจะฉีดให้กับประชากรวัยทำงาน เป็นกลุ่มแรกๆ ถัดจากกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์เเละเจ้าหน้าที่ทางการ โดยหวังว่าช่วยขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 

เเละนี่คือมุมมองของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับข้อดีและความเสี่ยงที่อินโดนีเซียเลือกใช้แนวทางนี้ 

ทำไมต้องฉีดวัคซีนให้กลุ่มอายุ 18-59 ปี ก่อน?

อินโดนีเซีย เตรียมแจกจ่ายให้ประชาชนในเฟสแรก ด้วยวัคซีนของบริษัท Sinovac Biotech ของจีน โดยรัฐบาลได้ทำข้อตกลงซื้อวัคซีน 125.5 ล้านโดส ซึ่งตอนนี้วัคซีนล็อตแรก 3 ล้านโดสได้มาถึงอินโดนีเซียแล้ว

ขณะที่วัคซีนของ Pfizer คาดว่าจะส่งถึงอินโดนีเซียในช่วงไตรมาส 3 เป็นต้นไป ส่วนวัคซีนที่พัฒนาโดย AstraZeneca-Oxford จะเริ่มแจกจ่ายในช่วงไตรมาส 2

การฉีดวัคซีนของอินโดนีเซีย จะเริ่มจากบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ทางการก่อน จากนั้นจะแจกจ่ายให้คนวัยทำงาน ที่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี ซึ่งเป็นลำดับการเข้าถึงวัคซีนที่เเตกต่างจากสหรัฐฯ เเละสหราชอาณาจักร ที่ให้ความสำคัญกับผู้สูงวัยก่อน ทำให้การเเจกจ่ายวัคซีนครั้งนี้ จึงถูกจับตามองจากนานาประเทศเป็นพิเศษ 

โดยวัคซีน Sinovac ของจีนนั้นได้ทำการทดลองทางคลินิกกับกลุ่มคนในช่วงวัย 18-59 ปี แตกต่างจากวัคซีนของประเทศตะวันตกอย่าง Pfizer และ Moderna ที่มีผลการทดลองออกมาแล้วว่า ใช้ได้ผลดีกับคนทุกช่วงอายุ

Peter Collignon ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาด จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ให้ความเห็นว่า ไม่มีใครฟันธงได้ว่าวิธี (เเจกจ่ายวัคซีน) เเบบไหนเป็นวิธีที่ถูกต้อง เเละยังไม่เเน่ชัดว่ากลยุทธ์ของอินโดนีเซียอาจช่วยชะลอการเเพร่ระบาดของโรคได้จริง 

เเต่การที่รัฐบาลอินโดฯ ใช้วิธีที่เเตกต่างจากสหรัฐฯ และยุโรป ถือว่าเป็นประโยชน์เชิงข้อมูล เพราะเราจะได้เห็นผลลัพธ์ที่แตกต่าง ส่วนจะได้เป็นคำตอบที่ถูกต้องหรือไม่ ก็ต้องรอดูต่อไป

Photo : Shutterstock

ด้านศาสตราจารย์ Dale Fisher จาก Yong Loo Lin School of Medicine มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ บอกว่า เขาเข้าใจถึงเหตุผลที่อินโดนีเซียเลือกวิธีนี้ เพราะคนวัยทำงานมีกิจกรรมมากกว่า เข้าสังคมมากกว่า และเดินทางบ่อยกว่า ดังนั้นยุทธศาสตร์นี้ น่าจะช่วยลดการแพร่ระบาดในชุมชนได้เร็วกว่าการมุ่งฉีดวัคซีนให้ผู้สูงวัย

แน่นอนว่าคนแก่ ก็ย่อมมีความเสี่ยงที่จะมีอาการของโรคและเสียชีวิตได้มากกว่า ดังนั้นการฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุก็เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล ซึ่งผมมองเห็นข้อดีของทั้งสองกลยุทธ์” Fisher ระบุ

 ‘ภูมิคุ้มกันหมู่’ กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

เป้าหมายหลักๆ ของอินโดนีเซียคือการทำให้เกิด ‘herd immunity’ หรือการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ โดยการทำให้สัดส่วนของประชากรผู้มีภูมิคุ้มกันแล้วมีจำนวนมากพอ จนเชื้อไวรัสไม่สามารถแพร่กระจายหรือถูกส่งผ่านไปยังคนอื่นได้ ซึ่งจะนำไปสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเเละสังคมอย่างรวดเร็ว

Budi Gunadi Sadikin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย กล่าวว่า อินโดนีเซียจำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้ประชากร 181.5 ล้านคน หรือประมาณ 67% ของประชากรทั้งหมด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และต้องการวัคซีนเกือบ 427 ล้านโดส กรณีที่ต้องฉีดวัคซีนให้ประชากรคนละ 2 ครั้ง เพื่อลดอัตราการสูญเสีย 15%

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังสงสัยเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เนื่องจากจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อค้นคว้าว่าผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเเล้วจะยังสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้อีกหรือไม่

Photo : Getty Images

นักเศรษฐศาสตร์ มองอีกมุมว่า โครงการฉีดวัคซีนให้เกิด ‘herd immunity’ ที่จะประสบความสำเร็จนั้น จะต้องครอบคลุมประชากรประมาณ 100 ล้านคนจึงจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากทำให้ประชากรเหล่านี้จะกลับมาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจเช่นการใช้จ่ายและการผลิต

Faisal Rachman นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร Mandiri บอกว่า ประชาชนวัยทำงาน อายุ 18-59 ปี เป็นกลุ่มที่มีความต้องการบริโภคสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ

พวกเขาจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น เพราะการบริโภคในครัวเรือนมีส่วนช่วยเศรษฐกิจของอินโดนีเซียมากกว่า 50% ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นในประเทศนั้น เป็นการลดความเชื่อมั่นของประชาชน

อินโดนีเซียมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เเต่การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ปะทุขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ส่งผลให้เศรษฐกิจต้องเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปี โดยรัฐบาลคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะหดตัวถึง 2.2%  

 

 

ที่มา : Reuters , Jakartapost

]]>
1313072