ยูโอบี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 15 Jun 2024 03:58:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 UOB เผย “โอนย้ายลูกค้า Citi เป็นไปด้วยดี มองปัญหาการจ่ายเงินเกิดจากพฤติกรรมลูกค้าคนละแบบ แต่แก้ปัญหาแล้ว” https://positioningmag.com/1478242 Fri, 14 Jun 2024 14:30:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478242 ในช่วงที่ผ่านมาลูกค้าของ Citi ที่ได้โอนย้ายมาเป็นลูกค้า UOB ประสบปัญหาไม่ว่าจะเป็นทั้งการไม่สามารถติดต่อกับ Call Center ได้ หรือแม้แต่ปัญหาระบบการกระจายยอดชำระอัตโนมัติ ซึ่งล่าสุดสถาบันการเงินรายนี้ได้กล่าวว่าปัญหาดังกล่าวได้กำลังทยอยแก้ปัญหาอยู่

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย (UOB) ได้ชี้แจงเรื่องราว รวมถึงการแก้ไขปัญหา หลังจากไม่กี่วันที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ทางธนาคารเร่งให้ทางธนาคารแก้ไขปัญหาการถ่ายโอนบัญชีลูกค้าจากซิตี้แบงก์ (Citi) มายังธนาคาร และกำชับให้ธนาคารเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจาก UOB ได้ซื้อธุรกิจรายย่อยของซิตี้แบงก์ในประเทศไทย ประกอบไปด้วยกลุ่มลูกค้าสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันและมีหลักประกัน ธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง และธุรกิจเงินฝากรายย่อย ในปี 2022 และยังรวมถึงประเทศอื่นไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม

Positioning รวบรวมประเด็นสำคัญจากผู้บริหารของ UOB หลังจากมีการย้ายลูกค้าจากเดิมที่อยู่ Citi มายังระบบของ UOB ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายนเป็นต้นมา

การย้ายระบบเป็นไปได้ด้วยดี

ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวว่า ธนาคารได้ดำเนินการโอนย้ายบัญชีลูกค้าจากซิตี้แบงก์ ประเทศไทย จำนวนกว่า 1.2 ล้านราย มายังระบบของธนาคารยูโอบี โดยเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 21 เมษายน ที่ผ่านมาและในขั้นตอนการโอนย้ายมีความปลอดภัยที่ดี

เขายังชี้ว่าการย้ายลูกค้าจากแพลตฟอร์มหนึ่งมาอีกแพลตฟอร์มหนึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ และมีความขลุกขลั่กหลายเรื่อง

ในขณะที่ วีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า การโอนย้ายสำเร็จทั้งลูกค้ารายย่อยรวมถึงลูกค้า Wealth ซึ่งทางธนาคารรับทราบว่าทุกการเปลี่ยนแปลง ลูกค้าไม่ได้รับความสะดวกสบาย ทางธนาคารขออภัยในความไม่สะดวก

ปัญหาเรื่อง Call Center

กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า UOB ได้เพิ่มจำนวน Call Center มากถึง 1,000 คน (จากเดิม 500 คน) และเรื่องดังกล่าวมีการเตรียมพร้อมหลายเดือนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการฝึกพนักงาน เป็นต้น

แต่เนื่องจากปริมาณการโทรเข้ามาของลูกค้าในเดือนเมษายน และพฤษภาคม นั้นเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า แม้จะเพิ่มพนักงานแล้วเท่าตัว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เธอได้ให้รายละเอียดเป็นเพราะว่าระยะเวลาการพูดคุยเฉลี่ยของลูกค้านั้นเพิ่มมากขึ้นเฉลี่ยต่อลูกค้า 1 รายอยู่ที่ 700 วินาที ซึ่งปกติแล้วจะอยู่ที่ 350 วินาที เนื่องจากลูกค้าต้องการให้ช่วยสมัคร บริการ UOB TMRW ซึ่งลูกค้ามากกว่า 90% ของ Citi ได้สมัครบริการ UOB TMRW แล้ว

นอกจากนี้ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น เธอได้กล่าวว่าได้แบ่งกลุ่มของ Call Center ให้แยกรับปัญหาในเรื่องต่างๆ เช่น การสมัคร UOB TMRW การรับปัญหาเรื่อง Statement ซึ่งลูกค้าบางคนไม่ได้เก็บไว้ รวมถึงปัญหาเรื่องระบบการ กระจายยอดชำระอัตโนมัติ (Payment Apportionment)

(จากซ้าย) วีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand / ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ / ยุทธชัย เตยะราชกุล กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย / ภาพจาก UOB Thailand

เปิดบริการในหลายช่องทาง

วีระอนงค์ ยังได้กล่าวว่า ปัญหาของ Call Center ในช่วงแรกนั้นได้แก้ปัญหาโดยการฝึกพนักงาน Call Center เพิ่มเติม และยังมีการนำพนักงานที่เกี่ยวข้องในส่วนต่างๆ มาช่วยในเรื่องนี้ด้วย ขณะเดียวกันทาง UOB ได้เปิดช่องทางในการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น ทั้งมีการส่งอีเมล หรือเปิดรับปัญหาจาก Social Network ต่างๆ สามารถส่งข้อความเข้ามาได้ และยังรวมถึงการให้บริการของสาขาได้มีการขยายเวลาทำการในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ดีพอสมควร

ในเดือนเมษายน กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวว่าธนาคารได้รับคำแนะนำจากธนาคารแห่งประเทศไทย และมีการรายงานกลับไปเป็นระยะๆ และทุกสัปดาห์มีการประชุมร่วมกันด้วย และปัญหาที่เกิดขึ้นเธอซาบซึ้งธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องของการแก้ไขปัญหาลูกค้า

สำหรับการแก้ปัญหาระยะสั้น วีระอนงค์ ได้กล่าวว่า หากลูกค้าโทรเข้ามาที่ UOB จะต้องรับสายได้ สามารถมีการส่ง Statement ได้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มที่ลดลงแล้วแต่เธอยังจับตามองอยู่ และพยายามทำให้ลูกค้าสบายใจมากขึ้น

ในส่วนการแก้ปัญหาระยะกลางคือปรับปรุงกระบวนการ โดยเฉพาะเรื่องของระบบการจ่ายเงิน เพราะพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป เลยต้องรีบแก้ไข ทำให้ดีมากกว่านี้ และยังรวมถึงก็สิทธิประโยชน์ให้กับลูกค้า ตอบโจทย์ลูกค้า มีแคมเปญต่างๆ ไม่หยุดทำแคมเปญ

เธอยังมองว่า ที่ผ่านมาธนาคารได้เน้นสื่อสารเรื่องการโอนย้ายลูกค้าเลยทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสิทธิประโยชน์หายไป แต่หลังจากนี้ธนาคารจะสื่อสารเพิ่มมากขึ้น

ผู้บริหารของ UOB Thailand ชี้ว่าปริมาณการโทรเข้ามาของลูกค้าลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า / ข้อมูลจาก UOB Thailand

ปัญหาเรื่องของระบบการกระจายยอดชำระอัตโนมัติ

ยุทธชัย เตยะราชกุล กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวถึงปัญหาของระบบ Payment Apportionment ซึ่งทำให้ลูกค้าหลายรายเกิดความไม่พอใจ นั้นเขามองว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมลูกค้าของ Citi และ UOB ที่แตกต่างกัน

เขาได้กล่าวถึงพฤติกรรมลูกค้า UOB คือจะจ่ายครั้งเดียวจบ แต่สำหรับลูกค้า Citi กลับเลือกจ่ายทีละบัตรเครดิต ซึ่งบางบัตรนั้นลูกค้าจ่ายเต็ม บางบัตรเครดิตลูกค้าจ่ายขั้นต่ำ ในการแก้ปัญหาตอนนี้คือทางธนาคารกำลังพัฒนาระบบให้เลือกจ่ายได้ตามปกติ

ซึ่งปัญหาดังกล่าว กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย มองว่าส่งผลทำให้การพูดคุยกับ Call Center ยาวนานมากขึ้น

ตอนนี้เวฟดอกเบี้ยให้หมด จะไม่เกิด Late Charge และถ้าขึ้นในเครดิตบูโร จะช่วยอัปเดต ลูกค้าที่กระทบนั้นหลักพันราย ตอนนี้แทบไม่เหลือแล้ว และตอนนี้ทยอยปรับประวัติลูกค้าแล้ว และดูแลลูกค้าเป็นอย่างดี จากปัญหาการกระจายยอด

ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้น เขาได้กล่าวว่าจะแก้ปัญหาให้ โดยธนาคารจะดำเนินการยกเลิก Payment Apportionment ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันสรุปยอดบัญชีวันที่ 24 มิถุนายน เป็นต้นไป สำหรับการใช้งานบัตรเครดิต

กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ยังกล่าวว่า สำหรับลูกค้าที่สมัครบัตรเครดิตใบใหม่ของ UOB อาจมีความล่าช้าไปบ้าง ซึ่งตอนนี้ทางธนาคารกำลังปรับปรุงระบบให้ดีมากขึ้น นอกจากนี้เขายังกล่าวถึงยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตในเดือนเดือนพฤษภาคมมีลดลงบ้าง แต่เดือนมิถุนายนนั้นยอดการใช้จ่ายได้กลับมาปกติแล้ว

]]>
1478242
UOB จับมือ 5 พาร์ตเนอร์ เปิดตัวบัตรเครดิต Co brand ย้ำสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น ตั้งเป้าปี 67 ยอดใช้จ่ายโต 10% https://positioningmag.com/1456483 Wed, 20 Dec 2023 05:12:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1456483 ยูโอบี จับมือ 5 พาร์ตเนอร์ เปิดตัวบัตรเครดิต Co brand ไม่ว่าจะเป็น Makro, Grab, Lazada, Mercedes หรือแม้แต่การบินไทย โดยยืนยันว่าสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นจากเดิม ไม่ลดลง ขณะเดียวกันคาดว่าในปี 2567 จะมียอดใช้จ่ายบัตรของลูกค้าเพิ่มขึ้นถึง 10%

ยูโอบี (UOB) ได้จับมือ 5 พาร์ตเนอร์ เปิดตัวบัตรเครดิต Co brand ไม่ว่าจะเป็น Makro, Grab, Lazada, Mercedes หรือแม้แต่การบินไทย โดยได้ยืนยันถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรเพิ่มมากขึ้น ไม่ได้ลดลง และตั้งเป้าว่าภายในปี 2567 นั้นยอดใช้จ่ายบัตรของลูกค้าจะเติบโตได้ถึง 10%

หลังการเข้าซื้อกิจการธุรกิจลูกค้ารายย่อยของ Citi สำเร็จในปี 2565 ที่ผ่านมา ทำให้ธนาคารมีจำนวนลูกค้ารายย่อยเกือบ 8 ล้านรายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ธนาคารมีฐานลูกค้ารายย่อยใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย หรือแม้แต่ฐานลูกค้าบัตรเครดิตที่เติบโตมากขึ้นกว่าเดิมกลายเป็น 1 ใน 3 ของผู้เล่นรายใหญ่

ภาพบัตรเครดิตใหม่ ของ 5 พาร์ตเนอร์หลังอยู่ภายใต้ชายคาของ UOB

สำหรับแบรนด์ที่ได้เปิดตัวบัตรเครดิต Co brand และสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มเติม ได้แก่

  • Grab โดยสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มจากเดิมคือ เพิ่ม Code ทุกวันศุกร์ รับคะแนน 3 เท่าในกลุ่มแฟชั่น ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ หรือกลุ่ม Healthcare ถ้าหากผู้สมัครบัตรใหม่ยังได้สิทธิ์ Grab Unlimited 1 ปีเพิ่มด้วย
  • Lazada สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มจากเดิมคือมีการแจก Code ของ Lazada มากกว่าเท่าตัว เมื่อเทียบกับของเดิม
  • Makro สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มจากเดิมคือ ได้แต้ม 2 เท่าถ้าหากซื้อสินค้าใน Makro ในวันที่ 16 ของเดือน
  • การบินไทย สิทธิประโยชน์จะมีการเปิดตัวในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2567
  • Mercedes สิทธิประโยชน์จะมีการเปิดตัวในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2567

สุพรทิพย์ พงศาชำนาญกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Head of Card Business ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า UOB รู้สึกตื่นเต้นกับความร่วมมือครั้งนี้มาก เพราะจะทำให้ธนาคารมอบบริการทางการเงินที่หลากหลายเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์และความสนใจของลูกค้าที่แตกต่างกัน

เธอยังกล่าวเสริมว่า ความร่วมมือครั้งนี้ช่วยให้ UOB มอบบริการด้านการเงินที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่ในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมถึงภูมิภาคอาเซียน และนี่เป็นสิ่งทำให้ธนาคารยูโอบีมีความโดดเด่นและแตกต่าง

นอกจากนี้การเปิดตัวบัตร Co brand ทั้ง 5 นี้ แสดงถึงความมุ่งมั่นของธนาคาร ในการทำให้ธนาคารเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของลูกค้า บัตรแต่ละใบได้รับการออกแบบเพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้ตรงใจกลุ่มลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์แตกต่างกัน 

สิทธิประโยชน์บัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นของ UOB กับ 5 พันธมิตร

ไม่เพียงเท่านี้ UOB ยังมีการออกแบบบัตรเครดิตใหม่ โดยเสนอความเป็นแต่ละแบรนด์ เช่น Grab แสดงถึงเรื่องของความไม่จำกัด (Unlimited) บัตร Royal Orchid ของการบินไทยที่มีความเรียบแต่หรู ทางด้านบัตรของ Lazada ที่เป็นแนวตั้งนั้นมองเรื่องความแตกต่าง ขณะที่ Mercedes แสดงถึงแบรนด์แบบเรียบหรู เป็นต้น

ทาง UOB ยังกล่าวถึงการมอบสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับลูกค้าผู้ถือบัตร ไม่ว่าจะเป็นการจองตั๋วคอนเสิร์ตของ Taylor Swift ในช่วงที่ผ่านมา หรือแม้แต่การจองตั๋วคอนเสิร์ตของ Ed Sheran ในประเทศไทยที่ได้สิทธิพิเศษกับผู้ถือบัตรของ UOB ก่อนใคร

ผู้บริหารของ UOB ยังกล่าวว่า “ตั้งแต่ลูกค้ารู้ว่า Citi จะมาอยู่กับ UOB ลูกค้ามีความกังวลถึงสิทธิประโยชน์อย่างมาก แต่ธนาคารได้ต่อยอดสิทธิประโยชน์จากเดิม เช่น แต้มสะสมไม่หมดอายุ มีแคมเปญพิเศษให้โดยตลอด โดยคนที่ถือบัตรเดิมของ Citi ได้สิทธิประโยชน์ใหม่เช่นกัน และจะมีการส่งบัตรเครดิตใบใหม่ให้ในช่วงต้นปี 2567”

]]>
1456483
ปรากฏการณ์ Taylor Swift ส่งผลให้ UOB ได้ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 89% ในไตรมาสที่ผ่านมา https://positioningmag.com/1449401 Thu, 26 Oct 2023 10:20:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449401 คอนเสิร์ตของ Taylor Swift ที่จัดในประเทศสิงคโปร์ ได้สร้างผลดีกับสถาบันการเงินอย่าง UOB เมื่อรายได้ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 89% ในไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากเหล่าแฟนคลับแห่กันสมัครและใช้งานบัตรเครดิตเพื่อที่จะจองตั๋วคอนเสิร์ต

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวว่า UOB สถาบันการเงินในสิงคโปร์ ได้รายงานผลประกอบการในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา โดยรายได้ค่าธรรมเนียมของบัตรเครดิตของสถาบันการเงินรายดังกล่าวเพิ่มขึ้นมากถึง 89% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา และยังทำสถิติใหม่ด้วย

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้รายได้ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตของ UOB เพิ่มมากขึ้นก็คือ ผลจากปรากฏการณ์คอนเสิร์ตของ Taylor Swift ที่จัดในประเทศสิงคโปร์ ทำให้เหล่าแฟนคลับแห่กันสมัครบัตรเครดิตในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เนื่องจากสิทธิพิเศษของผู้ถือบัตรคือสามารถที่จะจองตั๋วคอนเสิร์ตได้ก่อนใคร

ปกติแล้วรายได้ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตคิดเป็นสัดส่วน 10% ของรายได้รวมทั้งหมดของ UOB แต่ปรากฏการณ์คอนเสิร์ตของ Taylor Swift ที่จัดในประเทศสิงคโปร์ส่งผลทำให้ไตรมาสที่ผ่านมารายได้นั้นทะลุเป้าเกือบ 20% ของรายได้รวมทั้งหมด

ไม่ใช่แค่ Taylor Swift เท่านั้น ล่าสุดทาง UOB ได้จับมือกับผู้จัดคอนเสิร์ต Ed Sheeran ในการให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ถือบัตรเครดิตของสถาบันการเงินรายนี้สามารถซื้อตั๋วคอนเสิร์ตได้ก่อนใครด้วย

Wee Ee Cheong ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของ UOB ได้กล่าวว่า ถ้าคุณมีบัตรเครดิตของ UOB ก็ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบเล็กๆ น้อยๆ และจะมีอีกมากมายตามมาในภายหลังอย่างเช่น คอนเสิร์ตของ Ed Sheeran ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกัน (กับคอนเสิร์ตของ Taylor Swift)

]]>
1449401
ดีล 1.2 เเสนล้านกับทิศทางธุรกิจรายย่อย ‘ซิตี้กรุ๊ป’ ในมือ UOB ต่อยอดลูกค้า ‘เครดิตดี’ https://positioningmag.com/1370465 Fri, 14 Jan 2022 11:54:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370465 ดีลใหญ่วงการธนาคารในตลาดอาเซียน เมื่อยูโอบี (UOB) เร่งสปีดโค้งสุดท้ายคว้าดีลซื้อธุรกิจรายย่อยซิตี้กรุ๊ป’ (Citigroup) ในประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซียเเละเวียดนาม ด้วยมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท

ย้อนไปเมื่อช่วงต้นปี 2564 “ซิตี้กรุ๊ปประกาศขายกิจการลูกค้ารายย่อยใน 13 ประเทศทวีปเอเชียและยุโรปตะวันออก รวมถึงประเทศไทย จากแรงกดดันของนักลงทุนที่ต้องการให้ธนาคารลดต้นทุน โดยธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อเงินฝาก จะถูกขายออกทั้งหมด ซึ่งทางซิตี้จะหันไปมุ่งเน้นธุรกิจบริหารความมั่งคั่งเเละธุรกิจลูกค้าสถาบันเเทน

จากนั้นมาก็มีกระเเสข่าวต่างๆ เกี่ยวกับการเเข่งขันเข้าซื้ออย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของไทยนั้นก็มีตัวเต็งที่มาในช่วงเเรกๆ อย่างธนาคารกรุงเทพและธนาคารกรุงศรีฯ เเต่ในท้ายที่สุดธนาคารยูโอบีก็ชนะดีลนี้ไปได้

การตัดสินใจเข้าซื้อครั้งนี้ หลักๆ มาจากตลาดในประเทศไทยเเละเป็นราคาที่เหมาะสมผู้บริหารกลุ่มธนาคารยูโอบีกล่าว โดยขอให้ลูกค้ามั่นใจว่าจะมีการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ไม่บกพร่องเเละไม่มีอะไรหยุดชะงัก

ทุ่มซื้อ 1.2 เเสนล้าน 

กลุ่มธนาคารยูโอบี ได้ทำข้อตกลงเพื่อเข้าซื้อกิจการลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป ซึ่งรวมถึงสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันและมีหลักประกัน ธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง และธุรกิจเงินฝากรายย่อย (ธุรกิจลูกค้ารายย่อย) ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม (การเสนอซื้อกิจการ) และรวมไปถึงพนักงานธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป

การพิจารณาข้อเสนอเงินสดสำหรับการเสนอซื้อกิจการนี้ จะคำนวณจากค่าพรีเมียมรวม 915 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 2.25 หมื่นล้านบาท) บวกกับมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป 4,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 9.86 หมื่นล้านบาท) ทำให้เกิดมูลค่าในซื้อกิจการครั้งนี้ อยู่ที่เกือบ 5,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือกว่า 1.2 แสนล้านบาท 

คาดว่าจะลดอัตราส่วนของเงินกองทุนขั้นที่ 1 (Common Equity Tier 1 หรือ CET1) ของธนาคารลง 0.7% เป็น 12.8% ตามสถานะเงินทุน ณ วันที่ 30 กันยายน 2021 ผลกระทบต่ออัตราส่วน CET1 คาดว่าจะมีไม่มากและจะยังอยู่ภายในข้อกำหนดด้านกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแล

นับเป็นทิศทางการขยายขอบเขตธุรกิจครั้งใหญ่ของยูโอบี เพื่อเจาะฐานลูกค้าผู้มีกำลังซื้อในอาเซียน และเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การเติบโตในกลุ่มลูกค้าส่วนบุคคล เพิ่มเป็น 2 เท่าได้ภายใน 5 ปี

เพิ่มฐานลูกค้าอาเซียนเป็น 2 เท่า 

ปัจจุบันธุรกิจลูกค้ารายย่อยหรือ Retail Banking ของซิตี้กรุ๊ป มีสินทรัพย์สุทธิรวมทั้งสิ้นประมาณ 4,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 9.9 หมื่นล้านบาท) และฐานลูกค้าราว 2.4 ล้านราย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2021 และมีรายได้ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564

ส่วนธุรกิจ Retail Banking ของ UOB ใน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีฐานลูกค้าจำนวน 2.89 ล้านราย ดังนั้น เมื่อเข้าทำการซื้อกิจการรายย่อยของซิตี้กรุ๊ปแล้ว จะทำให้ฐานลูกค้ายูโอบีเพิ่มเป็น 5.29 ล้านราย

โดยเเบ่งเป็นในไทยราว 2.4 ล้านราย มาเลเซียราว 1.5 ล้านราย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลูกค้ารวม 1.2 ล้านราย เเละเวียดนามอีกเกือบ 2 เเสนราย ซึ่งในเวียดนามส่วนใหญ่จะเป็นฐานลูกค้าของซิตี้ ทำให้ยูโอบีสามารถเจาะตลาดที่กำลังเติบโตสูงได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการซื้อธุรกิจครั้งนี้

หากไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกรรมนี้ในครั้งเดียว การเสนอซื้อกิจการนี้คาดว่าจะช่วยเพิ่มกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ของธนาคาร และผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ของธนาคารยูโอบีได้ทันที

ยูโอบีคาดว่าส่วน ROE จะเพิ่มขึ้นเป็น 13% ในปี 2566 จากปีนี้ที่อยู่เฉลี่ยราว 10% เเละประเมินว่ารายได้จากการขยายกิจการครั้งนี้น่าจะเพิ่มขึ้นราว 1.4 เท่า ซึ่งจะมีรายได้ชัดเจนขึ้นในช่วงปี 2567-2569 

คาดเเล้วเสร็จ กลางปี 65 ถึงต้นปี 67

การเข้าซื้อกิจการในแต่ละประเทศ จะเสร็จสมบูรณ์เมื่อได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานกำกับดูแลธนาคารตามเงื่อนไขของแต่ละประเทศ รวมถึงประเทศสิงคโปร์ คาดว่าจะแล้วเสร็จระหว่างกลางปี 2565 ถึงต้นปี 2567 ขึ้นอยู่กับความคืบหน้าและผลของกระบวนการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลธนาคาร

ภายในครึ่งแรกของปี 2565 ธนาคารจะเข้าไปดำเนินการควบรวมกิจการในส่วนของประเทศไทยและมาเลเซียก่อน จากนั้นในช่วงครึ่งหลังของปี จะเข้าไปดำเนินการในส่วนของอินโดนีเซีย และเวียดนาม

โดยในไทยเเละมาเลเซีย คาดว่าจะควบรวมต่างๆ ทั้งด้านระบบเเละพนักงานเเล้วเสร็จในช่วงไตรมาส 2 ปี 2566  อินโดนีเซียในช่วงไตรมาส 4 ปี 2566 เเละเวียดนามในช่วงไตรมาส 1 ปี 2667”

ในระหว่างนี้ จะยังคงใช้ชื่อ Citi ไปก่อน เเละจะมีการเปลี่ยนให้ลูกค้ามาอยู่ภายใต้ยูโอบีทั้งหมดในช่วงปลายปี 2565 

ตลาดไทยหอมหวาน ลูกค้าเครดิตดี 

วี อี เชียง รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารยูโอบี (UOB) กล่าวว่า ลูกค้ารายย่อยในไทย เป็นพอร์ตที่มีคุณภาพ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ในระดับดีเเละจัดการได้ เเละลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มมีกำลังซื้อ จึงมองว่าจะเอื้อต่อการเติบโตของยูโอบีได้

การตัดสินใจเข้าซื้อครั้งนี้ หลักๆ มาจากตลาดในประเทศไทย

ประเมินว่า ยูโอบีจะมีส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจรายย่อยของไทย อยู่ที่อันดับ 6 ขยับขึ้นมาจากปัจจุบันที่อยู่อันดับ 7 ขณะที่ธุรกิจบัตรเครดิต ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 3 จากอันดับ 8 และมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น เป็น 2.4 ล้านราย จากปัจจุบันที่ 1.3 ล้านราย

ผู้บริหารยูโอบี มองว่า การซื้อกิจการลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปใน 4 ประเทศ นับเป็นโอกาสครั้งใหญ่ที่มาถึงในเวลาที่เหมาะสม เเละเป็นการเข้าซื้อในราคาที่เหมาะสมเพื่อขยายฐานลูกค้าได้ถึงสองเท่า เพิ่มความเเข็งเเกร่งด้านพันธมิตร เเละการเติบโตในภูมิภาคอาเซียน

เรามุ่งหวังที่จะโอนย้ายพอร์ตโฟลิโอธุรกิจที่มีคุณภาพของซิตี้กรุ๊ป และเตรียมต้อนรับทีมงาน สร้างคุณค่าให้กับฐานลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ของเราที่ขยายใหญ่ขึ้น

พร้อมยืนยันว่าพนักงานกว่า 5,000 รายในธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป จากทั้ง 4 ประเทศ จะยังได้ทำงานเช่นเดิม หลังกระบวนการเข้าซื้อกิจการเสร็จสิ้น โดยไม่มีแผนปลดพนักงานเพราะถือเป็นทีมที่มีคุณภาพ

เน้นดิจิทัล Cross sale ต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ 

สำหรับกลยุทธ์ธุรกิจรายย่อยของธนาคารยูโอบี จะมุ่งเน้นไปที่การเจาะกลุ่มลูกค้ามั่งคั่งกำลังซื้อสูง ที่เพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เป็นจุดเด่นของซิตี้กรุ๊ปจะยังมีการสานต่อเเละขยายความร่วมมือกับพันธมิตรมากขึ้น ฟีเจอร์ไหนที่ลูกค้าสนใจ ก็จะมีการสื่อสารกับลูกค้าทันที พร้อมผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย Cross sale ระหว่าง 2 ธนาคารเพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์อื่นต่อไป

นอกจากนี้ จะมุ่งการเข้าหากลุ่มคนรุ่นใหม่ ผ่าน UOB TMRW แพลตฟอร์มดิจิทัลของธนาคาร และให้บริการด้านการเงินผ่านช่องทางที่หลากหลาย (Omni-channel) เเละใช้ AI มาช่วยพัฒนาธุรกิจเเละบริการลูกค้าซึ่งความท้าทายของการโอนย้ายธุรกิจครั้งนี้ก็คือการรวมระบบเน็ตเวิร์กให้มาใช้เเพลตฟอร์มเดียวกัน

การเสนอซื้อกิจการนี้จะขยายเครือข่ายพันธมิตรของยูโอบี และเพิ่มขนาดธุรกิจลูกค้ารายย่อยในทั้ง 4 ประเทศขึ้นเป็นสองเท่า เร่งให้บรรลุเป้าขยายฐานลูกค้าในภูมิภาคเร็วขึ้นถึง 5 ปี

ด้าน ทีบอร์ พานดิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ Citi ประเทศไทย เผยว่า ธุรกรรมนี้เป็นผลดีต่อลูกค้า เพื่อนร่วมงาน และองค์กรของเรา Citi มุ่งมั่นที่จะทำให้ธุรกรรมนี้เป็นไปอย่างราบรื่น และในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในการให้บริการแก่ลูกค้าธนาคารกลุ่มลูกค้าบุคคลและลูกค้ากลุ่มบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) ของเรา

ต้องติดตามต่อไปว่า Retail Banking ซิตี้โฉมใหม่ภายใต้บ้านยูโอบีจะเป็นไปในทิศทางใด

]]>
1370465
เปิดศึกหาลูกค้าเงินกู้ ! บิ๊กธนาคาร เเข่งปล่อยสินเชื่อเอาใจ “ผู้ขายออนไลน์” บนอีคอมเมิร์ซ https://positioningmag.com/1256601 Wed, 11 Dec 2019 09:44:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256601 ธนาคารยักษ์ใหญ่ในไทยกำลังลงสนาม “สินเชื่อออนไลน์” เอาใจเหล่า “ผู้ขายอีคอมเมิร์ซ” กันโครมๆ ทั้งปล่อยหมัดเด็ดกู้เร็วใน  1 นาทีไม่ต้องใช้เอกสาร หรือให้วงเงินกู้ 1 ล้านในวันเดียว ถ้ามีเงินหมุนเวียนธุรกิจดี

การขยับมา “หาลูกค้าเงินกู้” บนเเพลตฟอร์มใหม่ของธนาคาร ถือเป็น “Big Move” สำคัญทั้งด้านความท้าทายเเละโอกาส เพราะในไทยมีพ่อค้าเเม้ค้าที่เป็น SMEs รายย่อยเยอะมาก ครองตลาดขายของออนไลน์ เเตกต่างจากประเทศอื่นที่มักเป็นบริษัทห้างร้านใหญ่

เเละเหมือนเป็นการอุดช่องโหว่ “กู้นอกระบบ” ที่ไม่ปลอดภัยของไทยด้วย ซึ่งมักจะเป็นปัญหาของคนค้าขายไทยมาช้านาน นั่นคือการ “หมุนเงินไม่ทัน หาที่กู้ไม่ได้” คราวนี้ถ้าคุณค้าขายด้วยความสุจริต มีประวัติดีก็สามารถกู้ได้จากแอปพลิเคชั่นมือถือ ไม่ต้องเสียเวลามาธนาคาร ได้ทุนมาสต็อกของทันเทศกาลช้อปปิ้งใหญ่อย่าง 11.11 , 12.12

เรียกได้ว่า “วิน-วิน” กันทั้ง 3 ฝ่าย คือผู้ขายได้เงินทุนมาหมุนทัน ขายของดี – ธนาคารได้ดอกเบี้ย – เเพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดขายมากขึ้น สร้าง Branding เเละช่วยผู้ขายชั้นดีขยายกิจการในระยะยาว

ศึกชิงตลาดเงินกู้ผู้ขายออนไลน์  

ธนาคารกสิกรไทย เพิ่งออกสโลเเกน “ปฏิวัติเงินกู้ผู้ขายออนไลน์ รู้ผลไว 1 นาที” มาหมาดๆ หลังจับมือกับอีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่เเห่งอาเซียนอย่าง Lazada (ลาซาด้า) เเละ Shopee (ช้อปปี้) เเละวันนี้ (11 ธ.ค. ) ธนาคารยูโอบี ก็เปิดตัว สินเชื่อ UOB BizMerchant เพื่อใช้หมุนเวียนในธุรกิจวงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท อนุมัติใน 1 วันพร้อมระบบบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ ตอบโจทย์ลูกค้าธุรกิจรายย่อยเหมือนกัน

สยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า “เราเล็งเห็นถึงความต้องการในกลุ่มผู้ค้าอีคอมเมิร์ซ ด้านความต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อใช้หมุนเวียนในธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ธุรกิจเอสเอ็มอีปัจจุบันต้องใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ซ รวมถึงสื่อโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ เพื่อทำการตลาดและเพิ่มยอดขายโดยรวม เราเข้าใจความท้าทายในเรื่องการบริหารจัดการออร์เดอร์และสต็อกสินค้าผ่านช่องทางการขายหลายช่องทาง จึงเป็นที่มาของความร่วมมือกับ Lazada และเบ็นโตะเว็บในครั้งนี้ ที่จะทำให้เราสามารถช่วยผู้ค้า ทั้งในเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่รวดเร็ว พร้อมเครื่องมือในการช่วยจัดการระบบร้านค้า”

ด้าน วีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า  “เราเชื่อว่าผู้ประกอบการต้องการเงินทุนหมุนเวียน ต้องมีการสต็อกของไม่ว่ารายเล็กหรือรายใหญ่ ดังนั้นเราจึงให้กู้ตั้งเเต่ 2,000 บาทขึ้นไป โดยไม่ต้องเสียเวลาไปธนาคาร ไม่ต้องยื่นเอกสาร ให้เอาเวลาไปทำมาหากินขายของดีกว่า ง่ายกว่าการแชทไปขอยืมเงินเพื่อนเสียอีก”

“เราตั้งเป้าไว้ว่าสิ้นปี 2563 จะปล่อยกู้ได้ราว 1 หมื่นคน คิดเป็นวงเงินรวม 1,000 ล้านบาท เเละคิดว่ายอดจะโตได้กว่านี้อีก เพราะเเพลตฟอร์ม Lazada ใหญ่มาก”

ผู้บริหารกสิกรไทย ยังให้สัมภาษณ์อีกว่า “จะมีรายได้จากในส่วนของดอกเบี้ยอย่างเดียว ซึ่งก็เป็นความท้าทายของกสิกรไทยเช่นกันในแพลตฟอร์มนี้ แต่ด้วยปัจจุบันเรามีลูกค้าเงินกู้ในระบบที่เป็น SMEs ถึง 40% จึงต้องการสนับสนุนอย่างแท้จริง”

เทียบชัดๆ เงินกู้ออนไลน์ UOB vs KBank

UOB BizMerchant  

สินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซบนแพลตฟอร์ม Lazada สินเชื่อดังกล่าวมอบ วงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท โดยมีกำหนดระยะเวลาสัญญา 12 เดือน อนุมัติวงเงินภายภายใน 1 วัน เมื่อได้รับเอกสารครบ ลดระยะเวลาจากเดิม 7 วัน ในการขอสินเชื่อธุรกิจแบบเดิม เนื่องจากธนาคารจะใช้ข้อมูลเชิงลึกจากลาซาด้า ในการพิจารณาการให้สินเชื่อ

โดยผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซในนามบุคคลทั่วไปหรือจดทะเบียนนิติบุคคล ดำเนินธุรกิจบน Lazada  มาอย่างน้อย 6 เดือน และมีรายได้รวมเฉลี่ยในรอบ 6 เดือนล่าสุดมากกว่า 500,000 บาทขึ้นไป สามารถยื่นขอสินเชื่อ UOB BizMerchant ได้ และรับสิทธิพิเศษใช้บริการจากเบนโตะเว็บ ฟรี 3 เดือนแรก เพื่อบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดต้นทุน ทั้งในเรื่องการจัดการคลังสินค้า การคำนวณค่าจัดส่ง บริหารคำสั่งซื้อจากหลายช่องทาง การตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขาย เป็นต้น

Kbank Lazada (Xpress Loan)

จุดเด่นอยู่ที่การอนุมัติเร็ว ดอกเบี้ยต่ำ ไม่ต้องใช้หลักประกัน ไม่ต้องมีเอกสาร และฟรีค่าธรรมเนียม ด้วยวงเงินกู้จาก 20,000 – 600,000 บาท เพื่อช่วยให้ผู้ขายออนไลน์บนลาซาด้า มีเงินทุนเพื่อหมุนเวียนและต่อยอดได้ทันความต้องการของธุรกิจ

โดยผู้กู้ต้องเปิดร้านกับ Lazada มาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน มีประวัติการค้าขายที่ดี มียอดขายสม่ำเสมอ มีความน่าเชื่อถือเเละมีการเปิดบัญชีกับธนาคารกสิกรไทย โดยจะได้รับการอนุมัติผ่านเเอปพลิเคชั่นอย่างเร็วที่สุดคือ 1 นาที เงินโอนเข้าบัญชีทันที เเละต้องดูเป็นรายบุคคล ซึ่งลาซาด้าจะเป็นผู้รับรองให้ว่าผู้ประกอบการว่าโปรไฟล์ดีพอจะกู้ผ่านหรือไม่

ส่วนอัตราดอกเบี้ยนั้น จะมีการคิดเเบบ Personalised Interest Rate ที่คิดดอกเบี้ยในอัตราตามรายบุคคล เช่นหากคุณทำการค้าขายบน Lazada มายาวนาน ยอดขายสม่ำเสมอ รายได้ดี ก็จะได้รับดอกเบี้ยต่ำมากเป็นพิเศษ

ทั้งนี้ ช่วงเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา กสิกรไทยได้ประกาศความร่วมมือกับ ช้อปปี้ (Shopee) โดยมีการให้ “เงินกู้ธุรกิจออนไลน์” (MADFUND) ของร้านค้าบนแพลตฟอร์มของช้อปปี้ ไม่ต้องยื่นเอกสาร ไม่ต้องมีหลักประกัน สมัครง่ายผ่านแอปพลิเคชัน K PLUS คัดกรองผู้รับสินเชื่อจากข้อมูลรายได้ และพฤติกรรมการค้าขายอื่น ๆ ประกอบกัน ด้วยวงเงินอนุมัติสูงสุด 600,000 บาทเช่นเดียวกัน

มองอนาคต ตลาดขายของออนไลน์ไทย 

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA ได้เริ่มจัดเก็บสถิติตั้งแต่ปี 2557 ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท เติบโต 10.4%  และปี 2561 มูลค่าพุ่งไปที่ 3.2 ล้านล้านบาท เติบโต 14.0%

ด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีอัตราการเติบโตสะสมต่อปีอยู่ที่ 33% ระหว่างช่วงปี 2558-2562 ซึ่งปัจจัยหลักมาจากภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่คาดว่าจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยมีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นจาก 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีนี้ เป็น 18,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ภายในปี 2568 (อ้างอิงข้อมูลจาก Google, Temasek, Bain & Company e-Conomy SEA 2019 Report)

แจ๊ค จาง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) กล่าวถึงความเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซในอาเซียนเเละไทยว่า มีการเติบโตเป็นเท่าตัวเเละมีจำนวนผู้ซื้อโตกว่า 100% อย่างไรก็ตาม เเม้ตัวเลขจะดูเยอะเเต่คิดเป็นเพียง 3% ของภาพรวมทั้งหมด ด้วยจีนมีอยู่ถึง 20% เเละสหรัฐฯ อยู่ที่ 15% เเละนี่คือข้อบ่งชี้ว่าตลาดไทยเเละอาเซียนยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีก จึงเป็นเป้าหมายของลาซาด้าที่ต้องการจะยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs รายย่อยเพราะเชื่อว่าไม่มีแบรนด์ใดใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไปสำหรับการประสบความสำเร็จในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ในขณะที่ จอห์น แวกเนอร์ กรรมการผู้จัดการ Facebook ประเทศไทย กล่าวว่า “การที่มีผู้ซื้อขายผ่านเเชทออนไลน์ในไทยมากขึ้นนั้นเป็นการผสมผสานข้อดีของการซื้อขายสินค้าในโลกออนไลน์เเละออฟไลน์ เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าที่มีลักษณะพิเศษไม่เหมือนประเทศอื่น โดยในไทยจะเป็นการพูดคุยเเบบ treat me like a friend ให้ความรู้สึกสนิทสนม ผู้ซื้อรู้สึกสบายใจ เข้าถึงง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่เน้นความเป็นสังคมและชุมชน เเละนั่นคือจุดเด่นของการขายสินค้าผ่านการเเชทออนไลน์ที่กำลังเติบโตนี้”

ผู้บริหาร Facebook มองว่า ในปี 2020 องค์กรหรือบริษัทห้างร้านใหญ่ จะกระโดดเข้ามาในตลาด Conversational Commerce มากขึ้น หลังจากผู้ประกอบการรายเล็ก หรือ SMEs คลองตลาดค้าปลีกออนไลน์ในไทยมานาน ซึ่งธุรกิจก็ต้องรีบปรับตัวให้ทันรับเทรนด์นี้

อ่านเพิ่มเติม : รู้จัก Conversational Commerce คนไทยซื้อของออนไลน์ผ่าน “แชท” มากสุดในโลก

 

]]>
1256601