ลาพักร้อน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 14 Jul 2024 09:57:16 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จุดสมดุลในการ “ลาหยุดพักผ่อน” คือ “8 วัน” ไม่น้อยไปจนเหมือนไม่ได้หยุด ไม่มากไปจนรู้สึกเบื่อ https://positioningmag.com/1482586 Sat, 13 Jul 2024 10:43:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1482586 เคยไหม? ไปเที่ยวสั้นไปจนเหมือนกะพริบตาทีเดียวต้องกลับมาทำงานแล้ว แต่บางครั้งก็เที่ยวนานไปจนเริ่มเบื่อ งานวิจัยพบว่าจุดสมดุลที่สุดในการ “ลาหยุดพักผ่อน” ของคนเราคือ “8 วัน” ต่อทริป เป็นจุดที่เหมาะสมกำลังดีในการเติมพลังจากการท่องเที่ยว

หากตัดปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลาหยุดเพื่อไปเที่ยวพักผ่อนออกไป เช่น งบประมาณ จำนวนวันลาพักร้อนที่บริษัทอนุญาต นักวิทยาศาสตร์มีการวิจัยพบว่า จำนวนวันที่ดีที่สุดในการลาหยุดไปเที่ยวต่อหนึ่งทริปคือ “8 วัน”

งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Happiness Studies ในปี 2012 มีการศึกษาวิจัยว่าจำนวนวันหยุดพักผ่อนมากน้อยส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีอย่างไร ผลปรากฏว่าความสุขของคนเราระหว่างไปเที่ยวจะขึ้นสู่จุดสูงสุดในวันที่ 8 ของการท่องเที่ยว

งานวิจัยยังพบด้วยว่า หลังจากกลับมาทำงานแล้วความสุขของคนเราจะกลับสู่จุดปกติภายใน 1 สัปดาห์ แม้ว่าจะไปเที่ยวมานานแรมเดือนก็ตาม ทุกอย่างจะกลับเป็นปกติในสัปดาห์เดียว

Woman traveler on boat joy nature view rock island scenic landscape Khao Sok National Park, Famous attraction adventure place travel Thailand, Tourism beautiful destinations Asia holiday vacation trip

Jessica de Bloom หนึ่งในนักวิจัยงานดังกล่าว ให้สัมภาษณ์กับ The Washington Post เมื่อปี 2024 ว่า การวิจัยครั้งนั้นยากที่การวัดผล เพราะแต่ละคนมีวิธีพักผ่อนในแบบที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ทุกคนก็จะรู้สึกว่าจุดพีคของการไปเที่ยวจะอยู่ในช่วงประมาณวันที่ 8 รวมถึงคนที่ไปเที่ยวยาวนานกว่า 8 วันก็รู้สึกเช่นเดียวกัน

ด้าน Ondrej Mitas นักวิจัยและวิทยากรอาวุโสด้านความเป็นอยู่ที่ดีและคุณภาพชีวิตจาก Breda University กล่าวกับ The Washington Post ว่า เหตุที่จุดที่มีความสุขที่สุดระหว่างการท่องเที่ยวอยู่ที่ช่วงสัปดาห์กว่าๆ เท่านั้น เป็นเพราะถ้าผ่านระยะเวลาไปนานกว่านั้น ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ได้รับระหว่างท่องเที่ยวจะเริ่มกลายเป็นความเคยชิน ในทางกลับกัน ถ้าการท่องเที่ยวสั้นเกินไปก็จะยังไม่รู้สึกว่าได้หลีกหนีจากโลกการทำงานนานเพียงพอ

Photo : Shutterstock

อย่างไรก็ตาม ทริปเที่ยว 8 วันอาจจะเป็นตัวเลขในอุดมคติ แต่ไม่ใช่ทุกคนจะทำตามได้ เพราะกฎหมายและวัฒนธรรมในการลาหยุดงานที่ต่างกันทั่วโลก อย่างใน “ทวีปยุโรป” มีค่าเฉลี่ยวันลาพักร้อน 25 วันต่อปี ขณะที่ “สหรัฐฯ” พนักงานเอกชนมีวันลาพักร้อน 11-20 วันต่อปี และพนักงานจำนวนมากที่ไม่มีวันลาพักร้อนโดยได้รับเงินเดือนเลย หรืออย่างใน “ไทย” จำนวนวันลาพักร้อนส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 6-15 วันต่อปี ทำให้คนทำงานหลายประเทศอาจจะไม่สามารถลาได้ยาวถึง 8 วัน

นอกจากนี้ การทำงานรูปแบบใหม่ที่ “ทำงานจากที่ไหนก็ได้” ก็จะทำให้การปลีกตัวจากการทำงานได้ตลอดทริปยากยิ่งขึ้น มีการศึกษาในสหรัฐฯ เมื่อปี 2018 พบว่า 52% ของลูกจ้างตอบว่าตนหยิบงานขึ้นมาทำบ้างระหว่างลาพักร้อน (งานเล็กๆ น้อยๆ เช่น ตอบอีเมล เข้าประชุมออนไลน์) ซึ่งหลังจากผ่านโควิด-19 เชื่อแน่ว่าตัวเลขนี้จะยิ่งเพิ่มขึ้นด้วยการปรับตัวของที่ทำงานให้ยืดหยุ่นกับการทำงานจากที่ไหนก็ได้ได้มากกว่าเดิม

น่าสนใจว่าด้วยสภาวะการทำงานที่เปลี่ยนไป พนักงานถูกตามงานได้ทุกที่ หรือกระทั่งจัดทริป ‘Bleisure’ เพื่อไปนั่งทำงานจากริมทะเลแบบพักผ่อนไปด้วยทำงานไปด้วย จำนวนวันที่เหมาะสมในการลาหยุดจะเปลี่ยนตามไปด้วยไหม หรือระยะเวลาจะไม่สำคัญอีกต่อไปแล้ว

Source

]]>
1482586
“ลาพักร้อนได้ไม่จำกัด” นโยบายที่หลายบริษัทยักษ์สหรัฐฯ นำมาใช้ “ข้อดี-ข้อเสีย” คืออะไร? https://positioningmag.com/1415509 Mon, 16 Jan 2023 05:43:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1415509 Microsoft เป็นบริษัทล่าสุดที่ปรับนโยบายให้พนักงาน “ลาพักร้อนได้ไม่จำกัด” หลังจากหลายบริษัทใหญ่ของสหรัฐฯ วางนโยบายนี้ไปแล้ว เช่น Adobe, Netflix, Salesforce ฯลฯ ไปดูกันว่าทำไมบริษัทถึงยอมสร้างนโยบายเช่นนี้ ข้อดี-ข้อเสีย คืออะไรบ้าง?

วันนี้ (16 มกราคม 2023) เป็นวันแรกที่ Microsoft เฉพาะในสหรัฐฯ เริ่มใช้นโยบาย “ลาพักร้อนได้ไม่จำกัด” โดยเป็นวันลาที่จ่ายเงินเดือนให้ด้วย (PTO: Paid Time-Off) จากปกติพนักงานประจำของบริษัทจะได้โควตาวันลาพักร้อนต่างกัน พนักงานที่เพิ่งเข้าใหม่ ถ้าอยากลายาวๆ ก็มักจะต้องสะสมวันลา แต่นโยบายนี้อนุญาตให้พนักงานใหม่ใช้ได้ทันทีด้วย เรียกว่าเข้ามาปีแรกก็ลายาวได้เลยถ้าอยากทำ

ทั้งนี้ วันหยุดและวันลาด้วยเหตุอื่นๆ ก็ยังมีโควตาให้ตามปกติ เช่น วันหยุดตามเทศกาล, ลากิจ, ลาป่วย, ลาเพื่อทำหน้าที่คณะลูกขุน ฯลฯ การลาหยุดของพนักงานจึงยืดหยุ่นมากนับแต่นี้ไป

Microsoft ไม่ใช่บริษัทแรกที่ใช้นโยบายนี้ ก่อนหน้านี้มีสารพัดบริษัทใหญ่ที่เริ่มใช้ไปก่อนแล้ว เช่น Adobe, LinkedIn, Netflix, Oracle, Salesforce เป็นต้น

Smile Freedom and happiness woman on beach. She is enjoying serene ocean nature during travel holidays vacation outdoors. asian beauty

ข้อดี-ข้อเสียของนโยบาย “ลาพักร้อนได้ไม่จำกัด”

ทำไมนโยบาย “ลาพักร้อนได้ไม่จำกัด” จึงถูกนำมาใช้ในกลุ่มบริษัทใหญ่เหล่านี้ ทั้งที่ฟังดูน่าจะเป็นผลเสียกับบริษัทมากกว่าผลดี

เหตุผลนั้นมาจากความต้องการดึงดูด “ทาเลนต์” ให้มาทำงานกับบริษัท และอินไซต์ของทาเลนต์หรือพนักงานยุคนี้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อ “Work-Life Balance” (สมดุลชีวิตกับการทำงาน) ในสหรัฐฯ มีการศึกษาของ BrightPlan พบว่า 78% ของพนักงานต้องการมี Work-Life Balance

ดังนั้น การมีนโยบายลาพักร้อนได้ไม่จำกัด จึงเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของความยืดหยุ่นในการจัดการตนเองได้ว่า เมื่อไหร่ที่อยากทำงาน และเมื่อไหร่ที่อยากลาหยุดไปพักสมองบ้าง

อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่เป็นความเสี่ยง จากการรวบรวมโดย LinkedIn แพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมในแวดวงทำงาน ข้อดีข้อเสียของนโยบาย “ลาพักร้อนได้ไม่จำกัด” ได้แก่

ข้อดี

1.สร้างขวัญกำลังใจให้พนักงาน

การออกนโยบายนี้ทำให้พนักงานรู้สึกว่า บริษัท “ไว้ใจ” ในการตัดสินใจของพนักงานเอง และยังให้ความสำคัญกับสุขภาพของพนักงานทั้งกายและใจ พนักงานสามารถลาหยุดเพื่อพักใจหรือจัดการธุระฉุกเฉินในครอบครัวได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องใช้โควตาวันลาพักร้อน ความไว้ใจ ยืดหยุ่น เคารพต่อความเป็นอยู่พนักงานของบริษัท จะทำให้บรรยากาศในการทำงานอบอุ่นกว่า

2.ใช้เป็นสวัสดิการที่ ‘ดีกว่า’ เพื่อดึงดูดทาเลนต์

ปัจจุบันพนักงานไม่ได้มองแค่ฐานเงินเดือนในการสมัครงานหรือตัดสินใจที่จะอยู่ต่อกับบริษัท สวัสดิการต่างๆ ที่บริษัทให้ก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ดังที่กล่าวไปว่า 78% ของพนักงานอเมริกันต้องการความยืดหยุ่นในชีวิต ดังนั้น บริษัทที่มีสิทธิลาพักร้อนได้ไม่จำกัดก็จะกลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของพนักงานที่มีความสามารถ

3.ช่วยสร้างประสิทธิภาพการทำงาน

เนื่องจากการพักผ่อนเป็นเรื่องที่ดีต่อตัวพนักงาน เมื่อใดก็ตามที่พนักงานไม่ได้ลาพักร้อน การทำงานหนักติดต่อกันไม่ได้หยุดจะส่งผลต่อวงจรอื่นในชีวิต เช่น ชีวิตครอบครัว สุขภาพจิต และวนกลับมาเป็นชีวิตการงานที่เหนื่อยล้า ขาดแรงบันดาลใจ แถมยังส่งต่อความรู้สึกทดท้อแบบนี้ไปให้คนอื่นในทีมอีก แต่เมื่อมีวันลาพักร้อนได้ไม่จำกัด ทำให้พนักงานได้พักและกลับมาทำงานอย่างมีพลัง สร้างประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น

Photo : Shutterstock
ข้อเสีย

1.พนักงานอาจหาประโยชน์จากนโยบายนี้จนเกินควร

พนักงานส่วนใหญ่มักจะมีความเกรงใจและลาพักร้อนแต่พอดี แต่ทุกที่อาจได้เจอพนักงานที่จ้องหาผลประโยชน์โดยการลาไม่จำกัดจริงๆ ซึ่งทำให้การทำงานในทีมติดขัด ลดประสิทธิภาพงาน และทำให้กำลังใจของทีมทั้งหมดลดลง หากบริษัทใดที่พบว่ามีพนักงานลามากเกินสมควร อาจจะต้องพิจารณาเปลี่ยนนโยบายเพราะนโยบายนี้อาจไม่เหมาะกับวัฒนธรรมองค์กรของคุณ

2.พนักงานอาจเลือกลาในช่วงที่บริษัทต้องการตัวมากที่สุด

คล้ายกับข้อแรกคือ พนักงานบางรายอาจไม่เกรงใจทีมโดยการลาพักร้อนในช่วงที่รู้ว่าบริษัทจะยุ่งมากที่สุด หรือเลือกลาในช่วงเดดไลน์ของโปรเจ็กต์ที่กำลังทำกันอยู่ หากบริษัทพบปัญหาแบบนี้ อาจจะต้องมีกฎเพิ่มเติมในการลาว่าบริษัทสามารถขอให้เลื่อนการลาพักร้อนออกไปหลังจากช่วงที่สำคัญของบริษัท

3.การให้วันลาพักร้อนเพิ่มเป็นรางวัล…จะทำไม่ได้อีกแล้ว

ก่อนนี้หลายบริษัทอาจจะใช้จำนวนวันลาพักร้อนต่อปีเป็นสวัสดิการสำคัญ ใช้ต่อรองแพ็กเกจเพื่อดึงคนเข้าทำงาน ใช้เป็นรางวัลสำหรับการทำงานที่ดีหรือการเลื่อนตำแหน่ง แต่เมื่อทุกคนจะลาเท่าไหร่ก็ได้ทั้งบริษัท สิ่งนี้ก็จะไม่ใช่รางวัลอีกแล้ว บริษัทจะต้องหาสิ่งจูงใจอื่นๆ แทน

โดยสรุปแล้ว นโยบาย “ลาพักร้อนได้ไม่จำกัด” มีทั้งข้อดีข้อเสียซึ่งบริษัทต้องบริหารจัดการ แต่ดูจากจำนวนบริษัทใหญ่ที่หันมาใช้นโยบายนี้มากขึ้นเรื่อยๆ การวางสวัสดิการข้อนี้น่าจะได้ผลจริงในการดึงทาเลนต์ไว้กับตัว

 

Source: The Verge, LinkedIn

]]>
1415509