วัคซีน COVID-19 – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 10 Feb 2022 12:13:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ไฟเซอร์” คาดปีนี้ฟัน 54,000 ล้านเหรียญ จากขายวัคซีน-ยาต้านไวรัส COVID-19 https://positioningmag.com/1373542 Thu, 10 Feb 2022 08:55:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373542 ไฟเซอร์คาดการณ์ ยอดขายวัคซีน COVID-19 และยาต้านไวรัสแพ็กซ์โลวิดของบริษัทน่าจะสูงถึง 54,000 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ ขณะ WHO กระตุ้นประเทศรวยเร่งอัดฉีดช่วยเหลือโครงการแจกจ่ายวัคซีน เพื่อปิดฉาก COVID-19 ในฐานะสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสุขภาพทั่วโลกภายในปี 2022 

บริษัทไฟเซอร์ แถลงคาดการณ์เมื่อวันอังคารที่ 8 .. ว่า ยอดขายวัคซีน COVID-19 และยาต้านไวรัสแพ็กซ์โลวิดของบริษัทในปีนี้อาจสูงถึง 54,000 ล้านดอลลาร์ นอกจากนั้นไฟเซอร์ยังแจกแจงว่า บริษัทกำลังเจรจากับกว่า 100 ประเทศเกี่ยวกับแพ็กซ์โลวิด และสามารถผลิตยาตัวนี้ได้ถึง 120 ล้านคอร์ส หากจำเป็น

ไฟเซอร์บอกว่า ในปีนี้รายรับจากยาแพ็กซ์โลวิดน่าจะได้สูงเป็นกอบเป็นกำ ถึงแม้วัคซีนที่บริษัทพัฒนาร่วมกับไบโอเอ็นเทคของเยอรมนีนั้น อาจมียอดขายสุดท้ายต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 32,000 ล้านดอลลาร์ หรือลดลงจากยอดขายปีที่ผ่านมา 13% โดยปีที่แล้วไฟเซอร์ต้องปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ยอดขายวัคซีนหลายรอบเนื่องจากได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากทั่วโลก

ในอีกด้านหนึ่ง อับดิ มาฮาหมูด ผู้จัดการฝ่ายอุบัติการณ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงเมื่อวันอังคารที่ 8 .. ว่า นับจากที่โอมิครอนได้รับการประกาศว่า เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว จนถึงขณะนี้ ทั่วโลกมีเคสผู้ติดเชื้อ 130 ล้านคน และเสียชีวิต 500,000 คน ทั้งๆ ที่ช่วงเวลานี้โลกมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพแล้วก็ตาม

เขาสำทับว่า ขณะที่ทุกคนพูดกันว่า โอมิครอนไม่ร้ายแรง แต่คนเหล่านั้นมองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่า มีคนตายถึงครึ่งล้านแล้วนับจากตัวกลายพันธุ์นี้ถูกตรวจพบครั้งแรก

Photo : Shutterstock

ทางด้าน มาเรีย ฟาน เคอร์โคฟ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคเกี่ยวกับ COVID-19 ของ WHO สำทับว่า เพียงแค่จำนวนผู้ติดโอมิครอนที่ทราบแน่ชัดก็ยังน่าตกตะลึง โดยตัวเลขจริงจะสูงกว่านี้มาก และเสริมว่า ขณะนี้โลกยังอยู่ในระยะกลางๆ ของการระบาดใหญ่ โดยสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนในหลายประเทศยังไม่ถึงจุดสูงสุด และเป็นไปได้ว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีกหลายสัปดาห์

ในข้อมูลทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ซึ่งปรับปรุงแก้ไขล่าสุด ที่เผยแพร่ในเวลาต่อมาของวันอังคาร WHO ระบุว่า สัปดาห์ที่แล้วพบผู้เสียชีวิตเกือบ 68,000 คน เพิ่มขึ้น 7% จากสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ดี จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง 17% อยู่ที่เกือบ 19.3 ล้านคน

หากแยกตามภูมิภาค เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยุโรปมีสัดส่วนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 53% ของยอดรวมทั่วโลก ขณะที่ผู้เสียชีวิตอยู่ในระดับ 35% รองลงมาคือทวีปอเมริกา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 23% ของทั่วโลก และเสียชีวิตคิดเป็น 44%

รายงานยังบอกอีกว่า ลักษณะสำคัญของโรคระบาดใหญ่ในขณะนี้ก็คือ เกิดระบาดอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในทั่วโลกของสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งเวลานี้ตรวจพบในเกือบทุกประเทศแล้ว

ทั้งนี้ โอมิครอนคิดเป็น 96.7% ของตัวอย่างที่รวบรวมในช่วง 30 วันหลังสุด ที่ได้ทำการลำดับพันธุกรรมและอัพโหลดลงบนฐานข้อมูลกลางโควิด-19 โลก หรือ GISAID ขณะที่เวลานี้เดลตา มีสัดส่วนแค่ 3.3% เท่านั้น

ปัจจุบัน มีผู้เสียชีวิตจากโควิดรวมกว่า 5.7 ล้านคน และผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 392 ล้านคนนับจากที่ไวรัสนี้อุบัติขึ้นในจีนเมื่อเดือนธันวาคม 2019 ขณะเดียวกันมีการฉีดวัคซีนไปแล้วเกือบ 10,250 ล้านโดส

Source

]]>
1373542
WHO ขึ้นทะเบียนวัคซีน “Covaxin” ของอินเดียแล้ว! ประสิทธิภาพป้องกัน 78% https://positioningmag.com/1361719 Fri, 12 Nov 2021 09:06:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361719 วัคซีนตัวแรกที่พัฒนาโดยบริษัทอินเดีย “Covaxin” (โคแวกซิน) ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ได้ในกรณีฉุกเฉินจาก WHO แล้ว โดยรับรองประสิทธิภาพที่ 78% และยังไม่มีข้อกังวลด้านความปลอดภัย ถือเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายตัวที่สามที่ได้รับการขึ้นทะเบียนต่อจาก Sinovac และ Sinopharm

องค์การอนามัยโลก (WHO) รับรองให้วัคซีน Covaxin หรือรหัสชนิดวัคซีน BBV152 เป็นวัคซีนที่สามารถใช้ได้ในกรณีฉุกเฉิน หลังจากผ่านการทดลองเฟส 3 เรียบร้อย โดยระบุว่าวัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพอยู่ที่ 78% หลังฉีดครบสองโดสไปเป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน รวมถึงยังไม่มีรายงานข้อกังวลด้านความปลอดภัย

วัคซีน Covaxin เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายที่เกิดจากความร่วมมือพัฒนาของสามสถาบัน ได้แก่ บริษัท บารัต ไบโอเทค, สภาวิจัยด้านการแพทย์แห่งอินเดีย และ สถาบันไวรัสวิทยาแห่งชาติของอินเดีย

ถือเป็นวัคซีนตัวที่ 8 ที่ได้รับการรับรองจาก WHO ตามหลังวัคซีน Pfizer/BioNTech, Moderna, AstraZeneca, Johnson&Joshnson, Sinopharm และ Sinovac

โดยองค์การอนามัยโลกยังระบุด้วยว่า วัคซีนเชื้อตายนี้มีความเหมาะสมอย่างมากกับประเทศรายได้ต่ำจนถึงรายได้ปานกลาง เนื่องจากการจัดเก็บง่ายกว่า แตกต่างจากวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีอื่นซึ่งมักจะต้องเก็บในอุณหภูมิเย็นจัด ทำให้การขนส่งยากลำบากในประเทศเหล่านั้นและต้นทุนสูง

อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มีรายงานข้อกังวลด้านความปลอดภัย แต่ต้องพึงระวังด้วยว่าการทดลองที่ผ่านมาของ Covaxin มีเฉพาะในอินเดียเท่านั้น ทำให้ความหลากหลายด้านชาติพันธุ์ผู้ทดลองใช้วัคซีนจะค่อนข้างต่ำ

รวมถึงผลการทดลองวัคซีนตัวนี้มาจากช่วงเดือนพฤศจิกายน 2020 จนถึงมกราคม 2021 หรือเมื่อเกือบ 1 ปีก่อน ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลตา แต่นักวิจัยได้ศึกษาในภายหลัง พบว่าคนไข้บางคนในกลุ่มทดลองดังกล่าวติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาอยู่ ซึ่งคนไข้กลุ่มนี้ยังตอบสนองกับ Covaxin แต่ประสิทธิภาพจะต่ำลง

ก่อนหน้าที่ WHO จะรับรอง Covaxin ได้รับการรับรองให้ใช้งานแล้วใน 17 ประเทศ เช่น อินเดีย เนปาล หมู่เกาะมอริเชียส อิหร่าน ฟิลิปปินส์ เม็กซิโก ปารากวัย กายานา ซิมบับเว เป็นต้น ทั้งนี้ ประเทศไทยเราก็เคยมีการเปิดเจรจากับบารัต ไบโอเทคเมื่อเดือนเมษายนปีนี้ แต่ยังไม่มีความคืบหน้าตามมา

Source

]]>
1361719
“มาเลเซีย” ฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่ครบ 80% แล้ว เป้าหมายต่อไป “วัยรุ่น” และเข็มบูสเตอร์ https://positioningmag.com/1353151 Thu, 23 Sep 2021 05:39:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353151 ประชากรผู้ใหญ่ใน “มาเลเซีย” ได้รับวัคซีนครบ 80% แล้ว เป้าหมายต่อไปคือการฉีดวัคซีนในกลุ่มวัยรุ่นและให้เข็มบูสเตอร์กลุ่มเสี่ยงสูง ตามแผนการกลับมาใช้ชีวิตปกติภายในสิ้นเดือนหน้า

“อิสมาอิล ซาบรี ยาค็อบ” นายกรัฐมนตรี ประเทศมาเลเซีย พร้อมด้วย “ไครี จามาลุดดิน” รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ประกาศผ่านบัญชีทวิตเตอร์ว่า มาเลเซียบรรลุเป้าหมายฉีดวัคซีนให้ประชากรวัยผู้ใหญ่ครบ 80% แล้ว เมื่อช่วงเที่ยงวันที่ 21 ก.ย. 2021 (ถ้าหากนับเป็นสัดส่วนประชากรทั้งหมด มาเลเซียฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว 57.1%)

ไครีเสริมด้วยว่า หลังจากนี้คณะกรรมการพิเศษด้านซัพพลายวัคซีนป้องกัน COVID-19 จะมุ่งดึงประชากรวัยผู้ใหญ่ที่เหลืออีก 20% มารับวัคซีน

แต่เดิมมาเลเซียมีแผนฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่ให้ครบ 100% ภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ แต่เนื่องจากไวรัสเดลตาแพร่ระบาดได้เร็วกว่า ทำให้ต้องปรับแผนใหม่เป็นการทยอยเปิดกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศแบ่งเป็นเฟสๆ ระหว่างเดินหน้าฉีดวัคซีนให้มากที่สุด และมองว่าจะต้องใช้ชีวิตร่วมกับการระบาดให้ได้

อีกหนึ่งเป้าหมายในแผนฉีดวัคซีนคือ มาเลเซียเริ่มฉีดวัคซีนให้เด็กวัยรุ่นอายุ 12-17 ปีแล้วในเดือนนี้ และมีเป้าจะฉีดวัคซีนในวัยรุ่นอย่างน้อย 1 โดสให้ครบ 60% ของประชากรวัยรุ่นภายในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน และต้องการจะฉีดครบโดสก่อนเปิดเทอมใหม่ในปี 2022

นอกจากนี้ จะเริ่มให้วัคซีนเข็มบูสเตอร์แก่กลุ่มเสี่ยงสูงและบุคลากรหน้าด่านในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม เพราะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพวัคซีนจะเริ่มต่ำลงเมื่อรับวัคซีนไปแล้วหลายเดือน ดังที่เห็นในรัฐซาราวัค พื้นที่ที่มีการระบาดสูงสุด

วัคซีนหลักที่มาเลเซียใช้แล้ว ได้แก่ Sinovac, AstraZeneca และ Pfizer-BioNTech และมีการสั่งวัคซีน Cansino กับ Sputnik V ไว้ด้วยเช่นกัน

เกนติ้ง ไฮแลนด์ หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่จะเปิดให้ประชาชนมาเลย์เที่ยวได้เดือนหน้า (Photo : Shutterstock)

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา มาเลเซียมีผู้ติดเชื้อใหม่ 15,759 คน เป็นตัวเลขที่เริ่มลดลงมานับตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่เคสใหม่เคยขึ้นไปพีคที่มากกว่า 20,000 รายต่อวัน ขณะที่ผู้เสียชีวิตเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 108 ราย

มาเลเซียกำลังค่อยๆ ผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยหวังจะกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ทั้งหมดภายในสิ้นเดือนตุลาคม ล่าสุด เพิ่งประกาศผ่อนคลายเคอร์ฟิว ให้ร้านอาหารและห้างร้านต่างๆ ทำการได้ในเวลา 6 โมงเช้า ถึง เที่ยงคืน (การทานอาหารในร้าน จำกัดเฉพาะผู้ที่รับวัคซีนครบโดสแล้วเท่านั้น)

รวมถึงเปิดโครงการนำร่องกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศไปเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2021 อนุญาตให้ประชาชนที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วสามารถเดินทางไปเที่ยวเกาะลังกาวีได้ จากนั้นมาเลย์จะเริ่มเปิดแหล่งท่องเที่ยวอีก 3 แห่ง วันที่ 1 ต.ค. นี้ คือ เกนติ้ง ไฮแลนด์, มะละกา และ เกาะติโอมัน

Source

]]>
1353151
จีนเตรียมผลิต ARCoVax วัคซีน mRNA ตัวแรกของประเทศ ฉีดแค่เข็มเดียว https://positioningmag.com/1351222 Fri, 10 Sep 2021 04:16:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351222 กลุ่มสื่อจีนรายงานว่า จีนเตรียมเปิดสายการผลิตวัคซีน “ARCoVax” ซึ่งเป็นวัคซีนต้านโควิด-19 แบบ mRNA ชนิดแรกที่จีนพัฒนาขึ้นเองในเดือน ต.ค. 64

รายงานระบุว่า ARCoVax เป็นวัคซีนที่พัฒนาร่วมกันโดย บ. ซูโจว อบอเจน (Suzhou Abogen), บ.ยูนนาน วาวแวกซ์ ไบโอเทคโนโลยี (Yunnan Walvax Biotechnology) และสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหารจีน (Academy of Military Medical Sciences)

โรงงานผลิตวัคซีนดังกล่าวตั้งอยู่ที่เมืองอวี้ซี มณฑลยูนนาน ด้วยเงินลงทุนรวม 520 ล้านหยวน หรือราว 2,600 ล้านบาท มีกำลังการผลิตวัคซีน mRNA 200 ล้านโดสต่อปี

วัคซีน ARCoVax มีวิธีการใช้โดยการฉีดเพียงครั้งเดียว สามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1 สัปดาห์ หรือที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัคซีนนี้ต่ำกว่ายี่ห้อต่างประเทศ

วัคซีน ARCoVax ได้รับการอนุมัติให้เริ่มการทดลองทางคลินิกระยะสุดท้ายในเม็กซิโก และอินโดนีเซียแล้ว

ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า ความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนดังกล่าวจะทำให้ทางเลือกในการฉีดวัคซีนในจีนมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการฉีดไขว้ระหว่างวัคซีน mRNA กับวัคซีนเชื้อตาย และการใช้วัคซีน mRNA เป็นบูสเตอร์

Source

]]>
1351222
สหรัฐฯ บริจาควัคซีนให้เวียดนามแล้ว 6 ล้านโดส เตรียมเปิดสนง.ศูนย์ควบคุมโรคในฮานอย https://positioningmag.com/1348854 Wed, 01 Sep 2021 14:26:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348854 วันที่ 25 ส.ค. กมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศว่า จะจัดหาวัคซีนป้องกันไวรัส COVID-19 ให้กับเวียดนามเพิ่ม 1 ล้านโดส โดยเสนอความช่วยเหลือเพิ่มเติมให้กับประเทศที่กำลังเผชิญกับการระบาดของ COVID-19 ที่พุ่งสูง และอัตราการฉีดวัคซีนที่อยู่ในระดับต่ำ

แฮร์ริสกล่าวในที่ประชุมทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีฝ่าม มีง จีง ของเวียดนามว่า วัคซีนจะมาถึงเวียดนามใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า ที่ทำให้ยอดวัคซีนที่สหรัฐฯ บริจาคให้กับเวียดนามรวมเป็น 6 ล้านโดส

นอกจากวัคซีนล็อตใหม่แล้ว สหรัฐฯ จะมอบทุน 23 ล้านดอลลาร์ในแผนช่วยเหลือชาวอเมริกัน และเงินทุนฉุกเฉินผ่านทางศูนย์ควบคุมโรค และองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) เพื่อช่วยเวียดนามขยายการแจกจ่าย และการเข้าถึงวัคซีน ต่อสู้กับการะบาดของ COVID-19 และเตรียมพร้อมรับภัยคุกคามจากโรคในอนาคต นอกจากนี้กระทรวงกลาโหมยังส่งมอบตู้แช่แข็ง 77 ตู้สำหรับจัดเก็บวัคซีนทั่วประเทศ

หลังการหารือทวิภาคี แฮร์ริสได้ยืนสงบนิ่งไว้อาลัยท่ามกลางสายฝนและวางดอกไม้ยังอนุสรณ์ซึ่งเป็นจุดที่เครื่องบินของจอห์น แมคเคน ถูกกองกำลังเวียดนามเหนือยิงตกในปี 2510 เนื่องในวันครบรอบ 3 ปี การเสียชีวิตของวุฒิสมาชิกแมคเคน

ความช่วยเหลือเกี่ยวกับ COVID-19 นี้ เป็นส่วนหนึ่งของการประกาศการเป็นหุ้นส่วน และการสนับสนุนเวียดนามในหลากหลายด้าน ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการเยือนของแฮร์ริส ระหว่างการเดินทางทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นาน 1 สัปดาห์ ซึ่งรวมทั้งการเยือนสิงคโปร์ในช่วงต้นสัปดาห์ ที่มีเป้าหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เพื่อต่อต้านอิทธิพลจีน

เวียดนาม
Photo : Shutterstock

การประกาศยังรวมถึงการลงทุนครั้งใหม่เพื่อช่วยเวียดนามเปลี่ยนไปสู่ระบบพลังงานสะอาด และขยายการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า การลดอัตราภาษีการส่งออกสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ และความช่วยเหลือในการกำจัดอาวุธที่ยังไม่ระเบิดที่ตกค้างจากสงครามเวียดนาม

ระหว่างการพบหารือกับประธานาธิบดีเหวียน ซวน ฟุ้ก แฮร์ริสได้แสดงการสนับสนุนที่จะส่งเรือตรวจการณ์ของหน่วยยามฝั่งของสหรัฐฯ มายังเวียดนาม เพื่อช่วยป้องกันผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของประเทศในทะเลจีนใต้ และได้แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงต่อการรุกล้ำของปักกิ่งในน่านน้ำพิพาท

แฮร์ริส ที่เป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนแรกที่เยือนเวียดนาม ได้กล่าวกับประธานาธิบดีเวียดนามว่า “ความสัมพันธ์ของเราเดินทางมาไกลมากในช่วง 25 ปี” และเธอยังประกาศเปิดสำนักงานศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสำนักงานใหม่ของ CDC นี้ เป็น 1 ใน 4 สำนักงานระดับภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งมุ่งเน้นการร่วมมือกับรัฐบาลในภูมิภาคในด้านการวิจัยและฝึกอบรมเพื่อรับมือและป้องกันวิกฤตด้านสุขภาพ

การประกาศเปิดสำนักงาน CDC มีขึ้นในขณะที่เวียดนามกำลังต่อสู้กับการติดเชื้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ในประเทศที่เป็นผลจากการระบาดของสายพันธุ์เดลตา และอัตราการฉีดวัคซีนที่อยู่ในระดับต่ำ จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ที่พุ่งสูงขึ้นทำให้ประเทศต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์นครโฮจิมินห์ ศูนย์กลางธุรกิจของประเทศและเป็นศูนย์กลางของการระบาดระลอกล่าสุด

Source

]]>
1348854
หุ้น​ COVID-19 ตัวไหนปัง! พร้อมชี้เป้า ETF ลงทุนรับดีมานด์ทั่วโลก https://positioningmag.com/1347296 Sat, 21 Aug 2021 14:18:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347296
ตอนนี้…เวลานี้ ใครๆ ก็เรียกหาวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพราะพวกเรารู้ว่า วัคซีนจะเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้โลกของเราเอาชนะโรคระบาดครั้งสำคัญนี้ได้ แต่การผลิตวัคซีน รวมไปถึงจัดสรรและกระจายตามความต้องการของแต่ละประเทศทั่วโลก ยังทำได้ไม่ทั่วถึง จำเป็นต้องใช้เวลาอย่างมาก

อัปเดตถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2564 ประชากรในสัดส่วน 30.02% ทั่วโลกได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส และสัดส่วน 15.7% คือประชากรที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว ยังไม่ใช่สัดส่วนที่จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หรือทำให้แต่ละประเทศเปิดพรมแดนเพื่อออกเดินทางกันอีกครั้ง

กว่า 8 เดือน นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 จนถึงสิงหาคม 2564 ที่กระจายวัคซีนไปแล้วกว่า 4,480 ล้านโดสทั่วโลก ตราบใดที่เชื้อไวรัส COVID-19 ยังสามารถกลายพันธุ์ไปได้อีกหลายสายพันธุ์ ทำให้เกิดการระบาดได้อย่างรวดเร็วและอาการมีความรุนแรงมากขึ้น การพัฒนาวัคซีนให้ดียิ่งขึ้นไปอีก…มีความจำเป็นอย่างมาก

ถ้าเชื้อไวรัสนี้ยังอยู่ ความต้องการวัคซีนก็ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เป็น Recurring Demand เหมือนกับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่เราฉีดทุกปี

นั่นหมายว่า การวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 จะไม่ได้จบเพียงเท่านี้ กำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้น การลงทุนใหม่ๆ จะตามมา บริษัทไหนที่อยู่ในแวดวงวิทยาศาสตร์และการแพทย์ มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาวัคซีน…กำลังเป็นโอกาสลงทุนครั้งสำคัญ

หุ้นวัคซีน COVID-19 ราคาขึ้นแรง

รู้หรือไม่ว่า… โดยทั่วไปแล้วการพัฒนาวัคซีนในแต่ละชนิด ใช้เวลาตั้งแต่ 5-10 ปี หรืออาจจะนานกว่านั้น จนกว่าจะผลิตวัคซีนมีคุณภาพที่ดี ซึ่งไม่ง่ายนัก… ที่จะเอาชนะโรคระบาดที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

แต่สำหรับ COVID-19 นับเป็นโรคอุบัติใหม่ ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ห้วงเวลาการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนใช้เวลาไม่ถึง 9 เดือน ตัดขั้นตอนการทดสอบหลายระดับ ให้เหลือเพียง 3 ระยะ เพื่อให้ได้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากพอในระดับที่สามารถใช้ได้ในร่างกายมนุษย์

Photo : Shutterstock

นอกจากนี้รัฐบาลแต่ละประเทศต่างเร่งรัดรับรองการใช้วัคซีน COVID-19 เป็นการฉุกเฉิน (Emergency Use) เพราะการแพร่ระบาดจนมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกรวมๆ กว่า 4.328 ล้านคน (ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564) ไม่ใช่ตัวเลขน้อยๆ

เมื่อเวลาไม่คอยท่า แต่ละบริษัทในกลุ่มบริการสุขภาพทั่วโลกต่างเร่งสปีดพัฒนาวัคซีน บางบริษัทได้รับงบสนับสนุนจากรัฐบาล จึงเป็นที่มาของวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพื่อกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน หรือกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน มีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่

1.Genetic Vaccine

วัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยใช้ยีนของไวรัส หรือที่เรารู้จักกันว่า วัคซีน mRNA (Messenger RNA) ปัจจุบันมี 2 ผู้ผลิต ได้แก่ Pfizer (ร่วมกับ BioNTech ของเยอรมนี) และ Moderna จากสหรัฐฯ

โรคระบาด COVID-19 กลายเป็นตัวเร่งครั้งสำคัญที่ทำให้เกิดวัคซีน mRNA แรกของโลก โดยมีรายงานว่า ให้ประสิทธิภาพป้องกัน และไม่ทำให้เจ็บป่วยรุนแรงได้สูงถึง 94-95% [4]

vaccine covid-19 pfizer
Photo : Shutterstock

นอกจากนี้วัคซีน mRNA ยังมีรายงานด้วยว่า ยังมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ได้ เช่น สายพันธุ์อินเดีย (เดลตา) เป็นต้น

ส่งผลให้ความต้องการวัคซีน mRNA พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศต่างเร่งรัดส่งคำสั่งซื้อหลายล้านโดส เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดโดยเร็วที่สุด จนมีข่าวว่าภูมิภาคอาเซียนมียอดคำสั่งซื้อเต็มโควตาปี 2564 แล้ว หากต้องการจะสั่ง ต้องรอปีต่อไป [6]

สำหรับ 3 บริษัทที่พัฒนาวัคซีน มีราคาหุ้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ Moderna (+534.3%) BioNTech (+463.22%) และ Pfizer (+32.43%) (ข้อมูล ณ วันที่  11 สิงหาคม 2564)

Photo : Shutterstock

ด้วยเหตุผลของประสิทธิภาพของวัคซีน mRNA สูงพอที่จะป้องกันหลากหลายสายพันธุ์ของ COVID-19 ทำให้มีหลายบริษัทเตรียมที่จะพัฒนาวัคซีนประเภทนี้ด้วย เช่น

  • Sanofi จะลงทุน 400 ล้านยูโรเพื่อพัฒนาและผลิตวัคซีน mRNA เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการต่อสู้กับ COVID-19
  • Fosun Pharma เซ็นร่วมมือกับ BioNTech เพื่อผลิตวัคซีน mRNA ในจีน กำลังการผลิต 1,000 ล้านโดส ลงทุนร่วมกัน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

แต่ก็มีรายงานว่า วัคซีน mRNA มีผลข้างเคียงเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Heart Inflammation) โดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้เพิ่มคำเตือนลงไปในฉลากวัคซีนด้วย

2. Viral Vector Vaccine

วัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยใช้ไวรัสที่ทำให้อ่อนลง และไม่ก่อให้เกิดโรค มาตัดต่อใส่สารพันธุกรรมของ COVID-19 ปัจจุบันมี 4 แบรนด์ที่พัฒนาวัคซีนประเภทนี้ ได้แก่ AstraZeneca (ร่วมกับ University of Oxford) จากสหราชอาณาจักร, Johnson & Johnson จากสหรัฐฯ, CanSino Biologics จากจีน และ Sputnik V (Gamaleya Research Institute of Epidemiology and Microbiology) จากรัสเซีย

โดย AstraZeneca เป็นวัคซีนที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้ทั่วโลก เพราะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่โดสแรก และมีงานวิจัยฉีดผสมกับวัคซีน mRNA เพื่อป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ด้วย

Astrazeneca Vaccine
Photo : Shutterstock

สำหรับวัคซีน Johnson & Johnson ที่ฉีดเพียงเข็มเดียว มีประสิทธิภาพสูงถึง 85% ส่วน AstraZeneca จำนวน 2 โดส มีประสิทธิภาพ 82% และ Sputnik V จำนวน 2 โดส มีประสิทธิภาพสูงถึง 92%

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าวัคซีน Viral Vector มีรายงานเรื่องผลข้างเคียงคือ เกิดลิ่มเลือดในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย มาจากทั้ง AstraZeneca และ Johnson & Johnson แต่ก็ยังมีเปอร์เซ็นต์การเกิดไม่สูงมาก

สำหรับราคาหุ้นที่ผลิตวัคซีน Viral Vector ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มี CanSino Biologics ราคาเพิ่มขึ้น 69.58% และ Johnson & Johnson ราคาเพิ่มขึ้น 17.39% ส่วน AstraZeneca เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.86% (ข้อมูล ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564)

3. Protein-based Vaccine

วัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยใส่ชิ้นส่วนโปรตีนของไวรัส เรียกอีกอย่างว่า Subunit Vaccine โดยบริษัทพัฒนาวัคซีนนี้ คือ Novavax จากสหรัฐฯ มีรายงานว่า ประสิทธิภาพการป้องกันสูงถึง 90%

ขณะนี้วัคซีนของ Novavax ยังไม่ได้มีสถานะการรับรองจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) FDA และสำนักงานคณะกรรมอาหารและยา (อย.) ของไทย คาดว่า เร็วๆ นี้ อาจจะมีความคืบหน้า มีการรับรองและอนุมัติแบบ Emergency Use

Photo : Shutterstock

ความหลากหลายของวัคซีน จะช่วยให้ผู้คนทั่วโลกเข้าถึงวัคซีนได้ง่ายขึ้น เพราะภูมิคุ้มกันของมนุษย์มีความซับซ้อน บางคนอาจจะแพ้วัคซีนชนิดใดชนิดหนึ่งได้ ดังนั้น Subunit Vaccine ของ Novavax จะเป็นทางเลือกหนึ่งในการต่อสู้กับ COVID-19

ราคาหุ้นของ Novavax ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น สะท้อนมุมมองเชิงบวก และผลสำเร็จของวัคซีนเช่นเดียวกัน 28.96% (ข้อมูล ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564)

4. Whole-virus Vaccine

วัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยใช้ไวรัสที่ทำให้อ่อนลง หรือไม่ทำงาน เรียกอีกอย่าง Inactivated Virus Vaccine หรือ วัคซีนเชื้อตาย ปัจจุบันจีนยังเป็นประเทศหลักที่ผลิตวัคซีนประเภทนี้ เช่น CoronaVac (Sinovac Biotech) และ Sinopharm จากจีน และยังมี Covaxin (Bharat Biotech พัฒนาร่วมกับ Indian Council of Medical Research) จากอินเดีย

เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่ทำการทูตวัคซีน จึงส่งออกวัคซีนทั้ง 2 แบรนด์ไปยังประเทศด้อยพัฒนา และกำลังพัฒนาทั่วโลก ในรูปแบบทั้งขาย และบริจาค จึงทำให้วัคซีนเชื้อตาย ถูกฉีดให้กับประชาชนส่วนใหญ่ในเอเชีย แอฟริกาใต้ และอเมริกาใต้

Photo : Shutterstock

สำหรับ Covaxin ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองทางคลินิก และยื่นขอการรับรองจาก WHO แต่กำลังประสบปัญหากับข้อตกลงส่งมอบวัคซีนกับประเทศในอเมริกาใต้ เช่น บราซิล ปารากวัย

ส่วนราคาหุ้น Sinopharm ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 9.67% (ข้อมูล ณ วันที่  11 สิงหาคม 2564)

ในกลุ่มวัคซีนทั้ง 4 ประเภทนี้ มีการพัฒนามาแล้ว 21 แบรนด์ทั่วโลก และได้รับรอง Emergency Use ในบางประเทศ ส่วนที่ WHO รับรองแล้วมี 6 บริษัท ได้แก่ Pfizer-BioNTech Moderna AstraZeneca Johnson & Johnson Sinopharm และ Sinovac 

นอกจากนี้โรคระบาด COVID-19 ยังเป็นแรงส่งให้กับนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และบุคลากรทางการแพทย์ ในการพัฒนาวัคซีนให้มีความหลากหลายมากขึ้น ล่าสุดมีการพัฒนาวัคซีนชนิดพ่นจมูก (Intranasal) ของบริษัท Meissa ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนทดลองกับสัตว์ มีรายงานว่า สามารถป้องกันสายพันธุ์อังกฤษ (อัลฟา) และแอฟริกาใต้ (เบตา) ได้ โดยจะเป็นวัคซีนที่สามารถสร้างแอนติบอดีในระบบทางเดินหายใจ และหากจามออกมา จะไม่แพร่เชื้อ

หุ้นชุดตรวจ COVID-19 ที่น่าสนใจ

ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนามาโดยตลอด ทำให้การตรวจ COVID-19 เบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองจากที่บ้าน โดยคุณไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงในการออกไปข้างนอก

คุณสามารถใช้ชุดตรวจแบบ Rapid Test เป็นชุดตรวจที่ทราบผลเร็วภายใน 30 นาที ปัจจุบันมีผู้ผลิตจากหลายๆ ชาติ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ จีน ออสเตรเลีย ฟินแลนด์ และเกาหลีใต้ รวมทั้งมีการขึ้นทะเบียนรับรองการใช้งานนับสิบแบรนด์ในทุกประเทศ ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.Rapid Antigen Test

ใช้ตรวจหาเชื้อ COVID-19 เพื่อประเมินการติดเชื้อเบื้องต้น โดยใช้การเก็บตัวอย่างด้วยการแยงไม้เข้าไปในโพรงจมูก ช่องคอ และน้ำลาย คล้ายคลึงกับการตรวจ RT-PCR (Real-time Polymerase Chain Reaction) ของโรงพยาบาล หากประเมินว่า ได้รับเชื้อมาแล้ว 5-14 วัน จะได้ผลตรวจที่แม่นยำ

สำหรับไทย อย. เพิ่งประกาศให้ประชาชนสามารถซื้อชุดตรวจ ​​Rapid Antigen Test มาใช้เองได้แล้ว โดยก่อนหน้านี้ ไม่อนุญาตให้ซื้อขายตามร้านขายยา แต่ในหลายๆ ประเทศ ประชาชนสามารถหาซื้อได้เอง อย่างในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป

Photo : Shutterstock

2. Rapid Antibody Test

ใช้ตรวจหาภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทาน COVID-19 โดยใช้วิธีเจาะเลือดที่ปลายนิ้วหรือท้องแขน สามารถตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อได้ในวันที่ 10 เป็นต้นไป นับจากที่คาดว่า ได้รับเชื้อ

การใช้ชุดตรวจ Rapid Antibody Test ผลที่ได้จะไม่ตรงกับวัตถุประสงค์คัดกรองการติดเชื้อเบื้องต้น เพราะการตรวจภูมิคุ้มกัน COVID-19 ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อเพียงอย่างเดียว การฉีดวัคซีนป้องกัน และผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคนี้ สามารถตรวจพบภูมิต้านทานที่เพิ่มขึ้นได้

Photo : Shutterstock

ปัจจุบัน อย. ไทย ยังไม่รับรองให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงชุดตรวจ Rapid Antibody Test แต่จะอนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ใช้ตรวจได้เท่านั้น ส่วนประเทศอื่นๆ อย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ประชาชนสามารถเข้าถึงชุดตรวจนี้ได้

ตัวอย่างหุ้นบริษัทที่ผลิตชุดตรวจที่น่าสนใจ บางรายเป็นผู้ผลิตทั้ง Rapid Antigen Test และ Rapid Antibody Test ได้แก่ Abbott Laboratories จากสหรัฐฯ ราคาหุ้นได้รับอานิสงส์จาก COVID-19 เพิ่มขึ้นเป็น 22.65% ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา (ข้อมูล ณ วันที่  11 สิงหาคม 2564) โดยได้ผลิตชุดตรวจ Rapid Antigen Test แบบการ์ด ด้วยราคาเพียง 5 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมแสดงผลภายใน 15 นาทีผ่านแอปพลิเคชัน ส่วน Roche จากสวิตเซอร์แลนด์ ราคาเพิ่มขึ้น 16.32% ในช่วงเวลาเดียวกัน

ชี้เป้า ETF ลงทุนหุ้น COVID-19

เชื้อ COVID-19 ค้นพบครั้งแรกในจีนเมื่อปลายปี 2563 จนตอนนี้ระยะผ่านมานานกว่า 1 ปีครึ่ง ทั่วโลกยังเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดหลายระลอก

บางประเทศคุมได้เร็ว แต่ก็ยังกลับมาระบาดได้อีก บางประเทศเลือกที่จะเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ได้สัดส่วนมากกว่า 70% ของประชากร มีเป้าหมายให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่โดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะคลายมาตรการล็อกดาวน์ เปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเปิดการท่องเที่ยว

ขณะที่หลายๆ ประเทศพยายามสั่งจองวัคซีนหลายล้านโดส จากหลายๆ แบรนด์ผู้ผลิต เพื่อมาฉีดให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด เนื่องจากไม่สามารถคุมการแพร่ระบาดได้ การสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับประชาชน จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด

มิฉะนั้น…จะเปิดประเทศไม่ได้ จะเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ได้ เศรษฐกิจเสียหายหนักและใช้เวลานานกว่าจะฟื้นตัวเท่าช่วงก่อนเกิด COVID-19

Photo : Shutterstock

แม้วัคซีนเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ แต่เรายังคาดการณ์ไม่ได้ว่า โลกจะเอาชนะ COVID-19 ได้หรือไม่ หรือจะต้องเผชิญกับการแพร่ระบาด รวมทั้งไวรัสกลายพันธุ์ไปจนถึงเมื่อไร

มันเป็นวิกฤตของโลกที่กำลังสะเทือนเศรษฐกิจทุกประเทศ ในทางกลับกัน…โอกาสการลงทุนก็อยู่กับบริษัทที่พัฒนาและผลิตวัคซีน ยาต้านไวรัส และชุดตรวจ Rapid Test รวมทั้งถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

อย่างที่เราได้รวบรวมข้อมูลหุ้นวัคซีนและชุดตรวจ COVID-19 วัดกันที่ราคาหุ้นระยะสั้น ส่วนใหญ่มีทิศทางที่ดีจากการพัฒนาวัคซีนได้สำเร็จ มียอดสั่งซื้อจากทั่วโลก และการพัฒนาวัคซีนรุ่นใหม่ๆ รวมไปถึงการคิดค้นชุดตรวจที่แสดงผลรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ธุรกิจบริการสุขภาพ และเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างจีโนมิกส์  จึงมีความน่าสนใจมากในยุค New Normal นี้ โดย Jitta Wealth ได้คัดเลือก ETF 2 กอง เข้ามาเป็นตัวแทนของธีมธุรกิจเมกะเทรนด์ในกองทุนส่วนบุคคล Thematic อย่างธีมสุขภาพ (Healthcare) และธีมจีโนมิกส์ (Genomics) ที่ได้รับอานิสงส์จากวิกฤต COVID-19 ด้วย

Photo : Shutterstock

ธีมสุขภาพ มี iShares Global Healthcare ETF (IXJ) ลงทุนในหุ้นธุรกิจบริการสุขภาพทั่วโลกประมาณ 110 บริษัท เป็น Passive Fund โดยมีดัชนีอ้างอิง S&P Global 1200 Healthcare Sector Index ลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสเติบโตจากวิกฤต COVID-19 เช่น บริษัท Johnson & Johnson บริษัท Pfizer บริษัท Moderna บริษัท AstraZeneca บริษัท Sanofi บริษัท Abbott Laboratories และ Roche

ผลตอบแทนของ IXJ

  • ย้อนหลัง 1 ปี (1 สิงหาคม 2563 – 31 กรกฎาคม 2564) อยู่ที่ +21.87%
  • ปี 2564 (1 มกราคม – 11 สิงหาคม 2564) อยู่ที่ +13.26%
  • นับตั้งแต่จัดตั้ง ETF (13 พฤศจิกายน 2544) อยู่ที่ +374.37%

ธีมจีโนมิกส์ มี iShares Genomics Immunology and Healthcare ETF (IDNA) ลงทุนในหุ้นที่พัฒนานวัตกรรมจากระบบพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต วินิจฉัยโรคในระดับยีน และลงลึกไปถึงระบบภูมิคุ้มกันวิทยา ซึ่งการพัฒนาวัคซีน mRNA คือ การใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์ด้วย

IDNA เป็น Passive Fund โดยมีอ้างอิง 2 ดัชนี คือ NYSE FactSet Global Genomics และ Immuno Biopharma Index ลงทุนหุ้นที่พัฒนาวัคซีน mRNA เช่น บริษัท Moderna บริษัท BioNTech และบริษัท Sanofi

ผลตอบแทนของ IDNA

  • ย้อนหลัง 1 ปี (1 สิงหาคม 2563 – 31 กรกฎาคม 2564) อยู่ที่ +34.49%
  • ปี 2564 (1 มกราคม – 11 สิงหาคม 2564) อยู่ที่ +13.17%
  • นับตั้งแต่จัดตั้ง ETF (11 มิถุนายน 2562) อยู่ที่ +115.01%

สำหรับ การลงทุนในธุรกิจบริการสุขภาพในจีน ตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่และเป็นผู้พัฒนาวัคซีนจำนวนมหาศาลของโลกเช่นเดียวกับสหรัฐฯ กองทุนส่วนบุคคล Thematic ของ บลจ. จิตต เวลธ์ มีธีมตลาดหุ้นจีน iShares MSCI China ETF (MCHI) ที่ลงทุนในหุ้น Sinopharm และ CanSino Biologics ด้วย

]]>
1347296
สหรัฐฯ ยืนยัน! เคสฉีดวัคซีนครบแล้วติดเชื้อโควิดเสียชีวิต คิดเป็นแค่ 0.001% https://positioningmag.com/1345166 Fri, 06 Aug 2021 14:23:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345166 สำนักข่าว CNN รายงานข้อมูลล่าสุดของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (CDC) ว่า 99.99% ของเคสฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังติดเชื้อ COVID-19 (breakthrough case) ในสหรัฐฯ อาการไม่รุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต

ข้อมูลดังกล่าวชี้ไปในทิศทางเดียวกับที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขทั่วสหรัฐฯ เน้นย้ำมาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาว่า วัคซีน COVID-19 มีประสิทธิภาพสูงมากในการป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตจาก COVID-19 และเป็นอาวุธที่ดีที่สุดของประเทศในการชะลอการแพร่ระบาดของโรคระบาดใหญ่และหลีกเลี่ยงความทุกข์ทรมานไปมากกว่านี้

CDC รายงานว่า มีเคสฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังติดเชื้อ 6,587 รายจนถึงวันที่ 26 กรกฎาคม โดยมี 6,239 คนป่วยหนักถึงขั้นเข้ารักษาตัวในโรงพงพยาบาล และในนั้นเสียชีวิต 1,263 ราย แต่ CNN ระบุว่า ในช่วงเวลาเดียวกันมีประชาชนมากกว่า 163 ล้านคนในสหรัฐฯ ที่ฉีดวัคซีน COVID-19 ครบแล้ว

สำนักข่าว CNN รายงานว่า เมื่อแยกตามอาการของเคสฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังติดเชื้อ พบว่ามีไม่ถึง 0.004% ที่ป่วยหนักถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลและไม่ถึง 0.001% ที่เสียชีวิต ยิ่งไปกว่านั้น ราว 74% ของเคสฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังติดเชื้อทั้งหมด ยังเกิดขึ้นในกลุ่มคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป

Photo : Shutterstock

อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวของ CNN ระบุว่า นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา ทาง CDC มุ่งเน้นตรวจสอบเฉพาะเคสป่วยหนักและเสียชีวิตจาก COVID-19 ในกลุ่มคนที่ฉีดวัคซีนครบแล้วเท่านั้น ไม่รวมถึงเคสอาการป่วยเล็กๆ น้อยๆ

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ เผยแพร่รายงานฉบับหนึ่งเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ว่า ตัวกลายพันธุ์เดลตาก่อปริมาณไวรัสพอๆ กับในคนที่ฉีดวัคซีนแล้วกับคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนหากพวกเขาติดเชื้อ และพวกผู้เชี่ยวชาญบอกต่อว่า แม้วัคซีนทำให้ผู้ฉีดมีความเป็นไปได้น้อยลงที่จะติดเชื้อ แต่หากคนเหล่านั้นติดเชื้อ พบว่าพวกเขามีแนวโน้มแพร่กระจายเชื้อได้แบบเดียวกับคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน

ผลการศึกษาดังกล่าวโน้มน้าวให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญของ CDC อัปเดตคำแนะนำด้านการสวมหน้ากากในวันอังคารที่ 3 ส.ค. แนะนำให้คนฉีดวัคซีนครบแล้วกลับมาสวมหน้ากากยามอยู่ในร่ม ตามพื้นที่ต่างๆ ที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในระดับสูง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อตัวกลายพันธุ์เดลตา ส่วนคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนนั้นยังคงแนะนำให้สวมหน้ากากต่อไปจนกว่าจะฉีดวัคซีนครบแล้ว

Photo : Shutterstock

CNN รายงานต่อว่า นอกเหนือจากเคสอาการรุนแรงแล้ว ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของทางการโดยมูลนิธิ Kaiser Family Foundation ยังพบว่าเคสฉีดวัคซีนแล้วติดเชื้อในทุกกรณี ทั้งป่วยเล็กน้อย ป่วยหนัก และเสียชีวิตถือว่าเกิดขึ้นน้อยมากๆ

มีราวๆ ครึ่งหนึ่งของรัฐต่างๆ ทั่วสหรัฐฯ ที่รายงานเกี่ยวกับเคสฉีดวัคซีนแล้วติดเชื้อ COVID-19 และในแต่ละรัฐดังกล่าวมีไม่ถึง 1% ที่เกิดเคสฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังติดเชื้อ ไล่ตั้งแแต่ระดับ 0.01% ในคอนเนตทิคัต ไปจนถึง 0.9% ในโอคลาโฮมา

มูลนิธิ Kaiser Family Foundation ยังพบด้วยว่ามากกว่า 90% ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ และมากกว่า 95% ของผู้ป่วยหนักถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิต เป็นกลุ่มคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน ในนั้นหลายรัฐมีเคสผู้ติดเชื้อใหม่ที่เป็นคนยังไม่ฉีดวัคซีนคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 98% เลยทีเดียว

ผู้เชี่ยวชาญเน้นว่าแม้คนฉีดวัคซีนครบแล้วยังสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้ แต่วัคซีนยังคงปกป้องพวกเขาได้เป็นอย่างดีจากการติดเชื้ออาการหนัก ทั้งนี้ ท่ามกลางจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องจากตัวกลายพันธุ์เดลตา พวกผู้นำท้องถิ่นทั่วอเมริการายงานว่า ผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ คือกลุ่มคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน

บรรยากาศการต่อคิวเข้ารับวัคซีน COVID-19 ในนครนิวยอร์ก สหรัฐฯ

ด้วยตัวกลายพันธุ์เดลตาแพร่เชื้อได้ง่ายมาก อดีตเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรัฐฯ รายหนึ่งจึงเตือนว่าประชาชนที่ไม่ได้รับการป้องกัน ทั้งจากวัคซีนและจากการเคยติดเชื้อมาแล้ว ดูเหมือนคงไม่รอดพ้นจากการติดเชื้อ

ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับเคสผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นและความอันตรายของสายพันธุ์เดลตา อัตราการเข้าฉีดวัคซีนของประชาชนในสหรัฐฯ กลับมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 สัปดาห์หลังสุด โดยรัฐต่างๆ ที่เคยล้าหลังในโครงการฉีดวัคซีน พบเห็นจำนวนประชาชนฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซีเอ็นเอ็นวิเคราะห์ข้อมูลของซีดีซี

เวลานี้ค่าเฉลี่ย 7 วัน ประชาชนรายใหม่เข้าฉีดวัคซีนในสหรัฐฯ อยู่ที่ 652,084 ราย เพิ่มขึ้นจาก 3 สัปดาห์ที่แล้ว 26%

Source

]]>
1345166
รู้จัก “Stevanato” บริษัทอิตาเลียนผู้ผลิต “ขวดแก้ว” วัคซีน COVID-19 มากที่สุดในโลก https://positioningmag.com/1344298 Tue, 27 Jul 2021 14:19:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344298 “Stevanato” บริษัทอิตาเลียนผู้ผลิต “ขวดแก้ว” และกระบอกฉีดยา เบื้องหลังขวดแก้วถึง 90% ที่ใช้ในการบรรจุวัคซีนป้องกัน COVID-19 เข้าจดทะเบียน IPO ในตลาดหุ้นนิวยอร์กแล้ว โดยบริษัทนี้เป็นธุรกิจครอบครัวที่ตั้งขึ้นเมื่อ 72 ปีก่อน

บริษัทสัญชาติอิตาลี Stevanato Group ไม่เป็นที่รู้จักเท่าใดนักจนกระทั่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กไปเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2021 ระดมทุนได้ 672 ล้านเหรียญสหรัฐในวันแรกที่เข้าตลาด (ประมาณ 22,140 ล้านบาท) นับเป็นการเปิด IPO ที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทจากอิตาลีในตลาดหุ้นสหรัฐฯ นับตั้งแต่ที่ Ferrari เคยเข้าจดทะเบียนเมื่อปี 2015

การเข้าตลาดของบริษัททำให้ครอบครัว Stevanato ผู้ก่อตั้ง ยิ่งร่ำรวยขึ้นอีก โดยผู้ก่อตั้งคือ Giovanni Stevanato ตั้งบริษัทนี้ขึ้นเมื่อปี 1949 ปัจจุบันบริษัทคือผู้ครองส่วนแบ่งตลาด 90% ของการผลิตขวดแก้วและกระบอกฉีดวัคซีน COVID-19 รวมถึงเป็นเจ้าตลาดหลอดและปากกาฉีดยาอินซูลินอีกด้วย

ขณะนี้ผู้กุมบังเหียนบริษัทคือ Franco Stevanato วัย 48 ปี เขาเป็นหลานชายของ Giovanni เขาคือผู้นำบริษัทเข้าสู่ยุคใหม่จากการเปิด IPO ในวอลล์สตรีท

Franco Stevanato ประธานกรรมการ Stevanato Group รุ่น 3 ของครอบครัว

Franco กล่าวกับนิตยสาร Forbes ว่า ปู่ของเขาก่อตั้งบริษัทนี้ในแบบ “สตาร์ทอัพ” เพราะช่วง 3-4 ทศวรรษแรกของบริษัท พวกเขาไม่ทำเงินเลย

ปู่ Giovanni ตั้งบริษัทที่เมืองเวนิซ เริ่มแรกผลิตขวดแก้วบรรจุไวน์กับน้ำหอม จนถึงต้นทศวรรษ 1970s ที่บริษัทเปลี่ยนมาบุกตลาดเวชภัณฑ์ และเติบโตจนเป็นผู้นำตลาดนี้ จากนั้นก็ทยอยขยายตัวไปตั้งโรงงานในเม็กซิโกเมื่อปี 2007 และในจีนเมื่อปี 2012 ตามด้วยสหรัฐฯ ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี 2016 (ขณะนี้มีโรงงาน 14 แห่งใน 4 ประเทศ)

จนกระทั่ง ปี 2020 นี้เองที่บริษัทเติบโตก้าวกระโดด ทำกำไรเป็นเท่าตัวแตะ 94 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3,100 ล้านบาท) และทำให้ Sergio Stevanato รุ่น 2 ของบริษัทในวัย 79 ปีกลายเป็นมหาเศรษฐีโลก ยิ่งเปิด IPO แล้ว หุ้นที่เขายังถืออยู่ในบริษัทสัดส่วน 53% ทำให้เขามีสินทรัพย์ถึง 3,100 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.02 แสนล้านบาท) ยังไม่รวมเงินสดและการลงทุนอื่นๆ อีก เช่น ไร่องุ่นทำไวน์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี

หลอดและปากกาฉีดยา หนึ่งในผลิตภัณฑ์สร้างรายได้หลักของ Stevanato

การระดมทุนในตลาดครั้งนี้ Stevanato Group จะนำไปขยายโรงงาน เปิดสายการผลิตขวดแก้ว กระบอกฉีดยา และหลอดยา บริษัทจะบุกเปิดโรงงานใหม่ที่รัฐอินเดียนา สหรัฐฯ จากการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าราว 2.9 ล้านเหรียญ (ประมาณ 96 ล้านบาท) เพื่อแลกกับการสร้างงานในพื้นที่ราว 200 ตำแหน่ง

จริงๆ แล้ว บริษัท Stevanato เน้นการผลิตหลอดและปากกาฉีดยาเป็นหลัก สินค้านี้คิดเป็น 45% ของยอดขายบริษัทเมื่อปี 2020 จนกระทั่งเกิดวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ในอิตาลี บริษัทจึงกลายเป็นหัวหอกในการผลิตขวดแก้วและกระบอกฉีดยาสำหรับรองรับการผลิควัคซีน

อย่างไรก็ตาม แม้จะผลิตมากที่สุดในโลก แต่สินค้ากลุ่มขวดแก้ววัคซีนคิดเป็นเพียง 4% ของรายได้บริษัท โดย Franco ระบุว่า COVID-19 ยังเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ ธุรกิจที่บริษัททำ

“เราจะลงทุนวิจัยและพัฒนาต่อไป เพื่อสร้างไปป์ไลน์ของสินค้าให้ต่อเนื่องและยกระดับให้ดียิ่งขึ้น” Franco กล่าว

Source

]]>
1344298
“มาเลเซีย” ตั้งเป้าฉีดวัคซีนผู้ใหญ่ครบ 100% ภายในต.ค. วัคซีน 70% เป็น mRNA https://positioningmag.com/1343009 Mon, 19 Jul 2021 05:00:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343009 นายกรัฐมนตรี มูห์ยิดดิน ยัสซิน แห่งมาเลเซียประกาศเป้าหมายฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้กับประชากรวัยผู้ใหญ่ครบทุกคนภายในเดือน ต.ค. โดยเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการต่อสู้ COVID-19 ระลอกใหม่ที่ทำให้ยอดผู้ป่วยในแดนเสือเหลืองพุ่งสูงกว่าวันละ 1 หมื่นคน

ผู้นำมาเลเซียระบุว่า รัฐบาลจะเพิ่มกำลังการฉีดวัคซีนให้ได้ถึง 500,000 โดสต่อวัน เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อตัวกลายพันธุ์ต่างๆ ที่ติดต่อกันได้ง่าย

“การฉีดวัคซีนยังคงเป็นหัวใจหลักที่จะช่วยให้เราสามารถเอาชนะ COVID-19 และเดิมทีเราได้ตั้งกรอบเวลาไว้ว่าจะฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากร 80% ภายในไตรมาสแรกของปี 2022 จากนั้นก็เลื่อนเข้ามาเป็นเดือน ธ.ค. ปี 2021 และเวลานี้เราจะเร่งเป้าหมายในการฉีดวัคซีนให้เร็วยิ่งขึ้นอีก” มูห์ยิดดิน แถลงผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 ก.ค.

รัฐบาลมาเลเซียยังมีแผนเร่งฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 โดสในประชากรผู้ใหญ่ของรัฐสลังงอร์ และกรุงกัวลาลัมเปอร์ให้ครบ 100% ภายในวันที่ 1 ส.ค. ในขณะที่รัฐซาราวักคาดว่าจะบรรลุเป้าหมายเดียวกันในช่วงสิ้นเดือน ส.ค.

“เกือบทุกรัฐจะต้องมีอัตราการฉีดวัคซีนเกิน 50% ภายในสิ้นเดือน ส.ค. และเกิน 70% ในทุกรัฐภายในเดือน ก.ย.”

มาเลเซียได้สั่งจองวัคซีนเอาไว้มากกว่า 76.1 ล้านโดส โดย 70% เป็นวัคซีนชนิด mRNA ของไฟเซอร์ ส่วนที่เหลือเป็นวัคซีนของซิโนแวค, แอสตร้าเซนเนก้า และแคนซิโน

มูห์ยิดดินเผยว่า รัฐบาลมาเลเซียได้รับวัคซีนมาแล้ว 20 ล้านโดสจากจำนวนทั้งหมดที่สั่งจองไว้

“ยอดส่งมอบโดยรวมจะเพิ่มเป็น 30 ล้านโดสภายในสิ้นเดือนนี้, 40 ล้านโดสในเดือน ส.ค., 53 ล้านโดสในเดือน ก.ย. และ 58 ล้านโดสในเดือน ต.ค. ส่วนที่เหลือจะทยอยส่งเข้ามาระหว่างเดือน พ.ย. จนถึงเดือน ม.ค. ปี 2022”

Source

]]>
1343009
อินโดฯ เบรกขาย “ซิโนฟาร์ม” แก่บุคคลทั่วไป หลังผู้เชี่ยวชาญเตือนสร้าง “ความเหลื่อมล้ำ” https://positioningmag.com/1341890 Tue, 13 Jul 2021 15:19:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341890 บริษัทเวชภัณฑ์ของอินโดนีเซียเลื่อนแผนการจำหน่ายวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ให้แก่ประชาชนโดยตรง หลังมีข้อท้วงติงจากผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขว่ากลยุทธ์การตลาดเช่นนี้อาจสร้างความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งรัฐบาลอินโดนีเซียก็มีนโยบายฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ฟรีให้แก่ประชากรทุกคนอยู่แล้ว

เสียงวิพากษ์วิจารณ์มีขึ้นท่ามกลางตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตที่พุ่งทุบสถิติ ซึ่งทำให้ระบบสาธารณสุขในบางพื้นที่ของเกาะชวาอยู่ในภาวะตึงตัวอย่างหนัก

บริษัท คีเมีย ฟาร์มา (Kimia Farma) เป็นรัฐวิสาหกิจด้านยาและเวชภัณฑ์ของอินโดนีเซีย ออกมาประกาศวันนี้  ว่าจะเลื่อนการจำหน่ายวัคซีนซิโนฟาร์มออกไปก่อน และขอเวลาเตรียมคำชี้แจงต่อประชาชน

“เราขอเลื่อนการจำหน่ายวัคซีนออกไปก่อน หลังจากที่มีผู้ให้ความสนใจอย่างมาก” โนเวีย วาเลนตินา โฆษก คีเมีย ฟาร์มา อาโปเทก (Kimia Farma Apotek) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ คีเมีย ฟาร์มา ให้สัมภาษณ์

ก่อนหน้านี้ ทางบริษัทประกาศจะนำวัคซีนซิโนฟาร์มมาจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปในราคา 879,140 รูเปียะห์ต่อวัคซีน 2 โดส (ราว 1,978 บาท) เพื่อช่วยเร่งการสร้าง “ภูมิคุ้มกันหมู่” ในแดนอิเหนา แต่มีเสียงสะท้อนจากบุคลากรด้านสาธารณสุขว่าเวลานี้ควรจะเน้นฉีดวัคซีนฟรีให้แก่ประชากรกลุ่มเสี่ยงก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ

“ต่อไปหากมีวัคซีนมากพอแล้ว เราอาจจะเปิดทางเลือกสำหรับการซื้อวัคซีน แต่ไม่ใช่ตอนนี้” ดียาห์ ซามีนาร์ซิห์ หนึ่งในที่ปรึกษาอาวุโสของเลขาธิการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุ

Photo : Shutterstock

กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้ โดยขอให้สื่อไปสอบถามรายละเอียดจาก คีเมีย ฟาร์มา เอาเอง

อินโดนีเซียเริ่มกระจายวัคซีนซิโนฟาร์มผ่านโครงการที่ให้บริษัทเอกชนสามารถสั่งซื้อวัคซีนไปฉีดให้แก่พนักงานของตนเองได้

ปัจจุบันอินโดนีเซียมียอดติดเชื้อสะสมกว่า 2.5 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ประมาณ 64,000 คน ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าสถานการณ์โรคระบาดแดนอิเหนาอาจรุนแรงกว่าที่สถิติทางการประกาศ เนื่องจากยังมีการตรวจเชื้อน้อยมาก

งานวิจัยด้านเซรุ่มวิทยาที่เผยแพร่โดยฝ่ายบริหารกรุงจาการ์ตาเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้วพบว่า ประชากรจาการ์ตา 44.5% หรือประมาณ 4.7 ล้านคนจากทั้งหมด 10.6 ล้านคน มีภูมิคุ้มกันต่อ COVID-19 แล้วในเดือน มี.ค.

Source

]]>
1341890