วิกฤตประชากร – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 17 Dec 2020 02:04:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ญี่ปุ่น ปรับขึ้นค่าประกันสังคม ผู้สูงอายุ 75 ปีขึ้นไปจ่าย 2 เท่า เพื่อลดภาระคนรุ่นใหม่ https://positioningmag.com/1310720 Wed, 16 Dec 2020 13:23:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1310720 รัฐบาลญี่ปุ่น เคาะเเผนปรับขึ้นค่าประกันสังคมสำหรับกองทุนรักษาพยาบาลของผู้ที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไปที่มีรายได้เกิน 2 ล้านเยนต่อปี เพื่อเเบ่งเบาภาระของคนรุ่นใหม่ เเละต่อสู้กับวิกฤตประชากรขั้นรุนเเรง

นโยบายนี้จะทำให้ชาวญี่ปุ่นที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไปที่มีรายได้เกิน 2 ล้านเยนต่อปี (ราว 5.8 เเสนบาท) เเละคู่สมรสอายุ 75 ปีขึ้นไปที่มีรายได้รวมกันเกิน 3.2 ล้านเยนต่อปี (9.2 เเสนบาท) จะต้องเสียค่าประกันสังคมเพิ่มเป็น 20% ของรายได้ทั้งหมด จากเดิมที่เคยต้องจ่ายเพียง 10%

โดยคาดว่าโครงการนี้จะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2022 ซึ่งจะมีคนญี่ปุ่นราว 3.7 ล้านคนได้รับผลกระทบ 

โยชิฮิเดะ ซูงะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนใหม่ ที่เพิ่งขึ้นรับตำเเหน่งไปเมื่อช่วงเดือน ก.. ระบุว่า รัฐบาลต้องการจะ
ลดภาระของคนรุ่นใหม่ วัยทำงานที่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นจากปัญหาประชากร โดยต้องการสร้างระบบประกันสังคมที่ยุติธรรมสำหรับทุกคน

การที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มขั้น ทำให้ค่าใช้จ่ายสวัสดิการของรัฐด้านประกันสังคมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ขณะเดียวกัน เมื่ออัตราการเกิดใหม่ลดลงก็ทำให้มีประชากรวัยเเรงงานที่เป็นส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจจ่ายภาษีลดลง อีกทั้งคนหนุ่มสาวที่ใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็ต้องเเบกรับภาระทางสังคมเพิ่มขึ้น

Photo : Shutterstock

ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการผลักดันกฎหมายให้ภาคเอกชนขยายระยะเวลาทำงาน หรือขยายเวลาเกษียณอายุให้กับลูกจ้างไปจนถึงอายุ 70 ปี จากเดิมที่บริษัทญี่ปุ่นมีภาระผูกพันที่จะต้องให้พนักงานทำงานจนถึงอายุ 65 ปี

เเม้ในขณะนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะยังไม่ได้บังคับให้ทุกบริษัทต้องรักษาสภาพพนักงานไปจนถึงอายุ 70 ปี เเต่ก็ให้เป็นตัวเลือกมาลองใช้ 5 เเบบ ได้เเก่ การขยายเวลาเกษียณอายุ การปลดลูกจ้างต่อเมื่อไม่สามารถทำงานได้ เเละการอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานเกินอายุที่กำหนด

เเละมีตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการทำงานยุคใหม่อีก 2 เเบบคือ การให้บริษัทจ้างงานลูกจ้างที่เกษียณอายุแล้วในรูปแบบฟรีแลนซ์เเละให้จ้างงานลูกจ้างให้ทำงานเป็นการกุศลของบริษัท โดยคาดว่าจะบังคับใช้ให้ได้ภายในเดือนเมษายน ปี 2021

 

 

ที่มา : JapanTimes , JapanToday

]]>
1310720
วิกฤตประชากรญี่ปุ่น : ขยายเวลาเกษียณอายุการทำงานเป็น 70 ปี แก้ปัญหาขาดเเรงงาน https://positioningmag.com/1263684 Fri, 07 Feb 2020 19:04:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1263684 การเป็นสังคมสูงวัยเต็มขั้นของญี่ปุ่น กำลังสร้างความกังวลให้กับการพัฒนาประเทศชาติ เพราะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม โครงสร้างงบประมาณประกันสังคม อีกทั้งยังขาดเเคลนเเรงงานเเละมีอัตราการเกิดต่ำ

ล่าสุดกับความพยายามแก้ปัญหาของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการผลักดันกฎหมายให้ภาคเอกชนขยายระยะเวลาทำงานหรือ “ขยายเวลาเกษียณอายุ” ให้กับลูกจ้างไปจนถึงอายุ 70 ปี จากเดิมที่บริษัทญี่ปุ่นมีภาระผูกพันที่จะต้องให้พนักงานทำงานจนถึงอายุ 65 ปี

เเม้ในขณะนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะยังไม่ได้บังคับให้ทุกบริษัทต้องรักษาสภาพพนักงานไปจนถึงอายุ 70 ปี
เเต่ก็ให้เป็นตัวเลือกมาลองใช้ 5 เเบบ ได้เเก่ การขยายเวลาเกษียณอายุ การปลดลูกจ้างต่อเมื่อไม่สามารถทำงานได้
เเละการอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานเกินอายุที่กำหนด

มีตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการทำงานยุคใหม่อีก 2 เเบบคือ การให้บริษัทจ้างงานลูกจ้างที่เกษียณอายุแล้วในรูปแบบ “ฟรีแลนซ์” เเละให้จ้างงานลูกจ้างให้ทำงานเป็นการกุศลของบริษัท

โดยจะมีผลักดันร่างกฎหมายนี้เข้าสู่สภานิติบัญญัติ และคาดว่าจะบังคับใช้ให้ได้ภายในเดือนเมษายนปี 2021

ต่อจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นวางแผนจะทำให้การขยายเวลาเกษียณอายุงานไปถึง 70 ปีกลายเป็นพันธะผูกพันในอนาคต ซึ่งหากมองอีกมุมก็สร้างความกังวลให้กับคนรุ่นใหม่ไม่น้อย เพราะการทำงานตลอดชีวิตของพวกเขาจะต้องยืดไปอีก 5 ปีนั่นเอง

วิกฤตประชากรญี่ปุ่น อีกด้านที่น่าวิตกคือมีอัตราการเกิดที่ต่ำมาก โดยในปี 2019 มีเด็กเกิดใหม่ลงต่ำกว่า 900,000 คน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีการเก็บสถิติมาในรอบ 120 ปี

อัตราการเกิดที่ลดลงจนน่ากังวลเช่นนี้ จะนำไปสู่การขาดเเคลนวัยเเรงงานซึ่งเป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมเเละเป็นกลุ่มคนจ่ายภาษี ซึ่งจะมีผลกระทบด้านสวัสดิการมากขี้น เนื่องจากรัฐต้องใช้เงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุจำนวนมากในประเทศ

ที่ผ่านมาทางการญี่ปุ่นพยายามอย่างหนักที่จะเพิ่มอัตราการเจริญพันธุ์ (Fertility Rate) ให้เป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ที่ 1.8 ภายในสิ้นปี 2025 โดยออกมาตรการสนับสนุนการเลี้ยงเด็กและการจ้างงานคนรุ่นใหม่ เพื่อจูงใจให้ประชาชนมีบุตรกันมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม อัตราการเจริญพันธุ์ที่เป็นค่าเฉลี่ยการให้กำเนิดบุตรต่อประชากรของผู้หญิงในญี่ปุ่น เมื่อปรับตามรายอายุและหมวดอายุของสตรีแล้ว ยังอยู่ที่ 1.42 ในปี 2018

นอกจากนี้ จำนวนคู่รักที่แต่งงานใหม่ในปี 2019 ลดลงกว่า 3,000 คู่ เเละต่ำกว่า 583,000 คู่ เป็นครั้งแรกนับตั้งเเต่หลังสงครามโลก ขณะเดียวกันคู่แต่งงานที่มีการหย่าร้างในปี 2019 ก็เพิ่มขึ้นประมาณ 2,000 คู่ โดยอยู่ที่ 210,000 คู่

อ่านเพิ่มเติม : วิกฤตประชากรญี่ปุ่น : จำนวนเด็กเกิดใหม่ปีนี้ ต่ำสุดในรอบ120 ปี เเต่งงานน้อย-หย่าร้างเพิ่ม

 

ที่มา : japantoday , scmp

]]>
1263684
วิกฤตประชากรญี่ปุ่น : จำนวนเด็กเกิดใหม่ปีนี้ ต่ำสุดในรอบ120 ปี เเต่งงานน้อย-หย่าร้างเพิ่ม https://positioningmag.com/1258430 Wed, 25 Dec 2019 04:06:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258430 เด็กเกิดใหม่ในญี่ปุ่นปีนี้ ลดจำนวนลงต่ำกว่า 900,000 คน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีการเก็บสถิติมาในรอบ 120 ปี

กระทรวงสวัสดิการสังคมของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ทารกเกิดใหม่ของญี่ปุ่นในปี 2019 อยู่ที่ประมาณ 864,000 คน
ลดลง 54,000 จากปีที่แล้ว ขณะที่จำนวนประชากรที่เสียชีวิตในปี 2019 อยู่ที่ 1,376,000 คน

ทำให้เกิดส่วนต่างของทารกเกิดใหม่และผู้เสียชีวิตถึง 512,000 คน ซึ่งเป็นช่วงห่างที่กว้างที่สุด นับจากการเก็บสถิติมาตั้งเเต่ปี 1899

อัตราการเกิดที่ลดลงจนน่ากังวลเช่นนี้ สร้างเเรงกดดันด้านสวัสดิการมากขี้น เนื่องจากการใช้เงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุจำนวนมากในประเทศ อาจส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจได้

ที่ผ่านมาทางการญี่ปุ่นพยายามอย่างหนักที่จะเพิ่มอัตราการเจริญพันธุ์ (Fertility Rate) ให้เป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ที่ 1.8 ภายในสิ้นปี 2025 โดยออกมาตรการสนับสนุนการเลี้ยงเด็กและการจ้างงานคนรุ่นใหม่ เพื่อจูงใจให้ประชาชนมีบุตรกันมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม อัตราการเจริญพันธุ์ที่เป็นค่าเฉลี่ยการให้กำเนิดบุตรต่อประชากรของผู้หญิงในญี่ปุ่น เมื่อปรับตามรายอายุและหมวดอายุของสตรีแล้ว ยังอยู่ที่ 1.42 ในปี 2018

ข้อมูลของกระทรวงยังระบุอีกว่า จำนวนคู่รักที่แต่งงานใหม่ในปี 2019 ลดลงกว่า 3,000 คู่ เเละต่ำกว่า 583,000 คู่
เป็นครั้งแรกนับตั้งเเต่หลังสงครามโลก ขณะเดียวกันคู่แต่งงานที่มีการหย่าร้างในปี 2019 ก็เพิ่มขึ้นประมาณ 2,000 คู่ โดยอยู่ที่ 210,000 คู่

หากมองในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา อัตราการเกิดในญี่ปุ่นลดลงกว่า 30% โดยในปี 1991 มีทารกเกิดใหม่ในญี่ปุ่นอยู่ระดับ 1,247,000 คน ขณะที่นับตั้งเเต่ปี 2018 ที่ผ่านมาจำนวนการเกิดของทารกลดลงเฉลี่ยราว 28,000 คนต่อปี

ประกอบกับอีกปัจจัยคือ ญี่ปุ่นมีประชากรหญิงวัยเจริญพันธุ์ในช่วงอายุตั้งแต่ 25-39 ปี ลดลงต่อเนื่อง โดยข้อมูล ณ วันที่ 1 ก.ค. พบว่า ประชากรหญิงที่มีอายุอยู่ในช่วง 30 ปี มีอยู่จำนวน 6.83 ล้านคน ขณะที่ประชากรหญิงที่มีอายุอยู่ในช่วง 20 ปี อยู่ที่ 5.77 ล้านคน

ประชากรในญี่ปุ่นเริ่มลดจำนวนลงเป็นครั้งแรกในตั้งแต่ปี 2005 โดยที่อัตราการเสียชีวิตของประชาชนแซงหน้าอัตราการเกิด แม้ว่าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นแต่อัตราการลดลงของประชากรยังคงมีแนวโน้มดำเนินต่อไปเป็นปีที่ 13 ติดต่อกัน นับตั้งแต่ปี 2007

 

ที่มา :
Kyodo : Japan sees record low number of babies born in 2019
Japantimes : Babies born in Japan to drop below 900,000 in 2019 for first time

]]>
1258430