จากมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดขึ้น เพื่อสกัดการเเพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อวานนี้ (20 ก.ค.64) รัฐบาลได้มีข้อกำหนด ‘เพิ่มเติม’ ควบคุมการปิดและเปิดให้บริการในสถานที่ต่างๆ ทั้งห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าเเละคอมมูนิตี้มอล ทั้ง 13 จังหวัด ‘พื้นที่สีแดงเข้ม’ เป็นเวลา 14 วันตามประกาศ หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
โดยอนุญาตให้ห้างฯ เปิดให้บริการได้เพียงแค่ 3 กิจการเท่านั้น คือ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านยา/เวชภัณฑ์ และสถานที่ฉีดวัคซีน
ดังนั้น ธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 3 กิจการดังกล่าว จะต้อง ‘ปิดให้บริการ’ ชั่วคราว รวมไปถึง “ร้านอาหารในห้างฯ” ที่ก่อนหน้านี้ยังเปิดให้บริการได้เเต่ต้องขายเเบบซื้อกลับบ้านและฟู้ดเดลิเวอรี่ “เเต่จากมาตรการล่าสุดนั้น ร้านอาหารในห้างฯ จะไม่สามารถขายได้เลยแม้แต่ช่องทางเดลิเวอรี่”
หลังปรับตัวรับวิกฤตโควิดมาหลายรอบ บรรดาร้านอาหารต้อง ‘ดิ้นรน’ อีกครั้งเพื่อให้ธุรกิจยังดำเนินต่อไปได้เเละต้องระบายวัตถุดิบที่มีอยู่
เเบรนด์ต่างๆ จึงตัดสินใจเเก้เกมนี้ ด้วยการประกาศ ’หาพื้นที่เช่า’ ที่มีทำเลอยู่นอกห้างสรรพสินค้า หลากหลายโซนในกรุงเทพฯ เพื่อทำเป็น ‘ครัวเเห่งใหม่’ เนื่องจากตอนนี้ หากเป็นร้านอาหารที่ตั้งอยู่ ‘นอกห้าง’ ยังสามารถเปิดขายเดลิเวอรี่ได้ถึงเวลา 20.00 น.
เริ่มจาก Zen Group เชนร้านอาหารรายใหญ่ ที่มีเเบรนด์ในมืออย่าง ZEN, On The Table และ AKA ระบุว่า
“ท่านใดมีร้านอาหารนอกห้าง ที่มีครัวและอุปกรณ์ครัว โดยไม่ได้เปิดร้าน สนใจอยากให้เช่า โซนดังต่อไปนี้ ลาดพร้าว อนุสาวรีย์ ทองหล่อ สาทร สีลม เพลินจิต พระราม 3 สาธุประดิษฐ์ รามอินทรา (แฟชั่นไอซ์แลนด์) เจริญนคร บางกะปิ สยาม พร้อมพงษ์ รัตนาธิเบศร์ งามวงศ์วาน ปิ่นเกล้า บางแค บางนา พระราม 9 สามารถติดต่อที่ [email protected] หรือโทร 084-675-7553”
ตามมาด้วย อัจฉรา บุรารักษ์ ผู้ก่อตั้ง iberry group เจ้าของร้านอาหารอย่าง กับข้าวกับปลา ทองสมิทธ์ เจริญแกง ฟ้าปลาทาน เบิร์นบุษบา โรงสีโภชนา เเละ รส’นิยม โพสต์ข้อความหาพื้นที่เช่าเเห่งใหม่ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า
“สืบเนื่องมาจาก การถูกสั่งปิดร้านอาหารในห้างทั้งหมด เพื่อนคนไหนมีร้านอาหารนอกห้าง โซนดังต่อไปนี้ มีอุปกรณ์ครัวแต่ไม่ได้เปิดร้าน สนใจอยากให้เช่าระยะสั้นบ้างไหมคะ ทองหล่อ เอกมัย ลาดพร้าว เรียบด่วนเอกมัย–รามอินทรา ราชพฤกษ์ บางจาก รบกวน ติดต่อ line add @iberrygroup นะคะ ขอบพระคุณค่ะ”
ด้าน ดุษิตา สถิรเศรษฐ รองประธานกรรมการ Sukishi Inter Group ร้านอาหารเกาหลีและญี่ปุ่นชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ตามหาพื้นที่เช่าทำครัวอาหารนอกห้างเช่นกัน โดยมองหาโซนใกล้ๆ ย่านพระราม 2 พระราม 3 ปิ่นเกล้า เซ็นทรัลพลาซ่า เวสต์เกต แฟชั่น ไอส์แลนด์ พระราม 9 บางกะปิ รังสิต รวมทั้ง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี หาดใหญ่ ติดต่อ inbox ไปโดยตรงได้ที่ https://www.facebook.com/dusita.satiraseth
Shinkanzen sushi ร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีสาขาหลายเเห่งในห้างฯ ออกประกาศว่า ทางร้านยังมีพนักงานอีกหลายคนที่ต้องดูเเล เพื่อให้พนักงานยังมีงานและรายได้ จึงขอประกาศตามหาพื้นที่เช่า (ระยะสั้น) ทำครัวชั่วคราวสำหรับขายเดลิเวอรี่ ไม่ว่าจะเป็น ตึกเเถว ร้านอาหารเก่า cloud kitchen หรือเป็นครัวโรงเเรมที่หยุดดำเนินการในช่วงนี้ โดยพื้นที่ที่ต้องการคือ
ส่งรายละเอียด มาที่ line@: @shinkanzensushi หรือ inbox มาที่เพจ Shinkanzen sushi
Potato Corner เเบรนด์เฟรนช์ฟรายส์ปรุงรส ก็ประกาศว่า ต้องการหาพื้นที่เช่าด่วน ในช่วง 14 วันนี้ (20 ก.ค. – 2 ส.ค.) โดยไม่จำเป็นต้องมีครัว หรือเป็นร้านอาหาร เพียงแค่มีขนาดพื้นที่มากกว่า 15 ตร.ม. ขึ้นไป ในโซนต่างๆ อย่าง ลาดพร้าว เอกมัย ศรีนครินทร์ บางนา บางใหญ่ ท่าพระ ห้วยขวาง บางกะปิ พระราม 3 เลียบทางด่วนรามอินทรา รังสิต ดอนเมือง รังสิต ปทุมธานี พระราม 2 บางแค คันนายาว ตลิ่งชัน แจ้งวัฒนะ งามวงศ์วาน สำโรง รัตนาธิเบศร์ สุขสวัสดิ์ ทุ่งครุ
คุณสมบัติของพื้นที่ ที่จำเป็นต้องมี
คุณสมบัติที่อาจจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
-อยู่ชั้น 1 และติดถนนใหญ่
-มีระบบระบายอากาศ
-มีตู้แช่สินค้า (หากมีรบกวนระบุจำนวนและขนาด)
-มีระบบ Internet
ส่งข้อมูลได้ที่อีเมล [email protected] และ [email protected] หรือ แชทตรงมาที่ @PotatoCornerTH >> https://lin.ee/b3zbp9R
ติดต่อเข้ามายัง inbox ของทางเพจ Boon Tong Kee – Thailand หรือโทร.083-096-0530 (ฝ่ายสรรหาสถานที่) โดยหากพื้นที่มีอุปกรณ์ครัว หรืองานระบบสำหรับร้านอาหารแล้ว จะพิจารณาเป็นพิเศษ
เรือนเพชรสุกี้ระบุว่า ขณะนี้ทางร้านมีความจำเป็นต้องหาสถานที่นอกศูนย์การค้า เพื่อเปิดให้บริการแบบเพิ่มเติม
เพราะมีพนักงานที่ต้องดูแล มีค่าใช้จ่ายที่ยังเดินไม่หยุด และมีวัตถุดิบที่ถ้าไม่คิดแก้ปัญหาจะเน่าเสียทั้งหมด
โดยมองหาอาคารพาณิชย์ที่ต้องการปล่อยให้เช่าชั่วคราว หรือระยะยาว ที่สามารถใช้ประกอบอาหารได้
หรือพื้นที่ร้านอาหารที่ปิดตัวลงชั่วคราวและสามารถปล่อยให้ทางร้านเช่าเปิดบริการได้ หรือเปิดครัวร้านอาหารอยู่แล้วต้องการลดต้นทุนโดยการหาผู้เช่าร่วม หรือแบ่งพื้นที่ให้เช่าร่วม ในโซนบางนา อ่อนนุช อุดมสุข นนทบุรี เเจ้งวัฒนะ จรัญสนิทวงศ์ พระราม 3 หรือพื้นที่อื่นๆ
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่น่าสนใจอย่างร้าน Ramenga ราเมงอะ ラーメン เมื่อต้องปิดร้านชั่วคราว 7 สาขาในห้างฯ ต้องหาทางระบายสต๊อกวัตถุดิบที่เตรียมไว้เพื่อทำราเมงถึง 1,600 ชาม
โดยทางร้านจะนำไปบริจาคให้องค์กรต่างๆ เพื่อดูแลจิตอาสาและผู้เดือดร้อน ซึ่งหากองค์กรไหน หรือที่ไหนต้องการ ราเมงไปสนับสนุน สามารถแจ้งมาทาง inbox เพจ เฟซบุ๊ก หรือ Line Ramenga https://lin.ee/fTeAHcM โดยเริ่มต้นด้วยการเเจกที่ศูนย์เอราวัณ ที่จัดหาเตียงให้ผู้ป่วยโควิด 200 ชาม
ด้าน Kouen Group ก็ออกประกาศชวนผู้ที่มีความสนใจอยากเพิ่มรายได้จากธุรกิจอาหาร โดยไม่จำเป็นต้องทำอาหารเป็น ซึ่งทางร้านจะมีทีมงานช่วยเทรนให้ทุกขั้นตอน แค่มีบ้านในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดย ณ ตอนนี้ กำลังอยู่ระหว่างการวางเเผนรายละเอียดต่างๆ สามารถติดต่อมาได้ตามอีเมล [email protected] , [email protected]
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของร้านอาหารจำนวนมากที่ต้อง ‘หาทางรอด’ ต่างๆ เพื่อให้ผ่านพ้นช่วงมาตรการล็อกดาวน์เเละวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ไปให้ได้
จากเป้าหมายเล็กๆ พลิกวิกฤตเป็นโอกาส หวังจะช่วยร้านอาหารไทยที่กำลังประสบปัญหา ‘อ่วมค่า GP’ ให้เหลือรายได้เพิ่มขึ้น จนมาถึงวันนี้ที่ Robinhood ‘สอบผ่าน’ มีกระเเสตอบรับอย่างดี เเละพร้อมประกาศจะไม่เก็บค่า GP ตลอดไป
อะไรคือสิ่งที่ ‘Robinhood’ ได้เรียนรู้ เป้าหมายที่เเท้จริงเเละเส้นทางธุรกิจต่อไปจะเป็นเช่นไร จะมีฟีเจอร์ใหม่ๆ เเบบไหนที่กำลังจะปล่อยออกมา ‘ลองของ’ ในตลาดอีกบ้าง Positioning จะพามาหาคำตอบกัน
ปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีการอัปเดตตัวเลขสถิติผู้ใช้เเอปพลิเคชัน Robinhood ออกมาให้เห็นถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยรวมถือว่า ‘เกินคาด’ จากเป้าหมายที่ทีมงานวางไว้
คำค้นหายอดนิยมสูงสุด ได้เเก่ แซลมอน, โจ๊ก, ก๋วยเตี๋ยว, ข้าวมันไก่เเละส้มตำ
พื้นที่ที่มีการสั่งออเดอร์เยอะที่สุด ได้เเก่ จตุจักร, ห้วยขวาง คลองเตย
โดยไรเดอร์มีช่วงเวลาในการรับงานเฉลี่ย 12 วินาทีต่อการสั่ง เเละมีรายได้จากการให้บริการรับส่งอาหารเฉลี่ยรอบละ 40-50 บาท
คำกล่าวของ โจ้-ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด บริษัทลูกของ SCB ที่พัฒนา Robinhood ขึ้นมาเป็นหนึ่ง CSR Project ของธนาคาร ที่ได้รับเงินทุนเพื่อช่วยสังคมราว 150 ล้านบาทต่อปี
การฉีกเเนวธุรกิจเเบงก์ มาลงทุนในศึก ‘ฟู้ดเดลิเวอรี่’ เมืองไทยของ SCB ครั้งนี้ สั่นสะเทือนวงการไม่น้อย จี้จุด Pain Point อย่างการไม่คิด GP ไม่คิดค่าสมัคร โอนเงินไวใน 1 ชั่วโมง
ท่ามกลางศึกฟู้ดเดลิเวอรี่ที่เเข่งขันกันดุเดือดเลือดพล่าน ‘เผาเงิน’ เเจกโปรโมชันกันเป็นว่าเล่น เเม้ตอนเเรก Robinhood บอกว่าจะไม่ทุ่มงบการตลาดเเบบเจ้าอื่น เพราะในงบร้อยกว่าล้านต่อปีนั้น เป็นงบที่ ‘รวมทุกอย่าง’ ทั้งการจัดการ พนักงาน ระบบหลังบ้านและเครือข่าย ซึ่งจะมีงบด้านการตลาดเหลืออยู่ไม่ถึง 20 ล้านบาท จึงเลือกจะไม่นำไปใช้เพื่ออัดโปรโมชัน
เเต่ตอนนี้หลังได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากๆ ก็จำเป็นต้อง ‘ขอทุนเพิ่ม’ จากบอร์ดบริหารเพื่อให้สอดคล้องกับการเติบโต
ปัจจุบัน Robinhood รั้งอันดับ 4 ในตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่เมืองไทย (ไม่ได้เป็นตัวเลขทางการ) เเต่ทางทีมประมาณการจากสถิติการสั่งออเดอร์ โดยอันดับ 1 เป็นของเจ้าใหญ่อย่าง GrabFood รองลงมาคือ FoodPanda ส่วนอันดับ 3 เป็นของ LINE MAN เเละตามมาด้วย Robinhood
กลยุทธ์การตลาดหลักๆ ที่ Robinhood จะนำมาทำโปรโมชันคือ LS ส่วนลดจากร้านค้าเอง ซึ่งเกิดจากการที่ทีมงานได้เข้าไปพูดคุยกับร้านค้าว่า เมื่อไม่เสียค่า GP ราว 30-35% (คอมมิชชันที่ต้องจ่ายให้เเพลตฟอร์ม) เเล้ว พอจะให้ ‘ส่วนลดเพิ่มเติม’ กับลูกค้าได้หรือไม่ ซึ่งร้านค้าจำนวนมากก็มีความสนใจเเละให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ปัจจุบันมีร้านค้าเลือกให้ส่วนลดกับผู้ใช้ราว 15% จากจำนวนร้านค้าทั้งหมด มีโปรโมชันส่วนลดเฉลี่ยราว 8-20% ต่อรายการ นอกจากนี้ยังถือเป็นการโปรโมตร้านขึ้นบนหน้าเเอปฯ ให้เห็นได้ง่ายไปในตัวด้วย
ธนา เล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังเปิดให้บริการ Robinhood มาได้ 3 เดือนกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเเก้ไขเเละนำไปพัฒนาต่อไป หลักๆ ได้เเก่
ในช่วงการเปิดตัวของ Robinhood บริษัทได้เเจก ‘โค้ดส่วนลดโดยไม่จำกัดการซื้อ’ ทำให้ร้านค้าและไรเดอร์ จำนวน 4 ร้านร่วมมือกับไรเดอร์ไม่กี่คน สั่งออเดอร์โดยใช้โค้ดส่วนลดผ่านระบบ และให้ไรเดอร์ที่ร่วมมือซึ่งอยู่ใกล้ร้านที่สุดเป็นคนกดรับออเดอร์ ร้านค้าจึงได้รับเงินจากโค้ดส่วนลด และไรเดอร์ได้รับค่าส่ง เเม้ไม่มีการซื้อขายจริงเกิดขึ้น ซึ่งทางทีมงานเห็นความเป็นไปที่เกิดขึ้น เพราะมีการมอนิเตอร์ข้อมูลตลอด
กรณีนี้ทำให้ Robinhood เสียหายราว 1 เเสนบาท จากนั้นทีมงานจึงเเก้ไขด้วยการมียอดซื้อขั้นต่ำก่อนใช้ส่วนลด
จากการประสานงานต่างๆ พบว่า ร้านค้าเชนใหญ่ เเม้จะเป็นเป้าหมายที่สร้างรายได้กว่าครึ่งหนึ่งบนฟู้ดเดลิเวอรี่ทั่วไป เเต่การติดต่อเพื่อให้เข้ามาในระบะมีความยากลำบากมาก เเละมี ‘ต้นทุน’ ที่ต้องเสียเยอะ จึงหันไปหา ‘ร้านเล็ก’ ให้ได้มากที่สุด เรียกได้ว่ามากกว่า 90% ของเเพลตฟอร์ม
เมื่อมีเสียงตอบรับดี กลายเป็นว่าร้านอาหารเชนใหญ่ มองเห็นโอกาสลูกค้าเเละเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรเองมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ก็มีร้านดังในเครือไมเนอร์ , CRC , The Mall และสยามพิวรรธน์
โดยเฉพาะในช่วงวันเงินเดือนออก ส่งผลให้การสั่งซื้ออาหารผ่าน Robinhood ก็ล่มตามไปด้วย เพราะมีช่องทางการชำระเงินผ่านระบบ SCB Easy และบัตรเครดิต ซึ่งจะมีการประสานงานระบบหลังบ้านกันต่อไป พร้อมขยายช่องทางชำระเงินอื่นๆ
หลังจากเปิดตัวมาได้สักพัก ฟีดเเบ็กที่ได้รับมากที่สุดคือการบอกว่าไรเดอร์ ‘มารยาทดี’ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เรียนรู้ว่าลูกค้าให้ความสำคัญกับการบริการมาก อย่างการ ‘พูดเพราะ-ยกมือไหว้’ ก็เป็นสิ่งเล็กๆ ที่ลูกค้าประทับใจ โดยทางธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้จัด ‘อบรมไรเดอร์’ เอง หลังจับมือกับ Skootar สตาร์ทอัพไทยที่ให้บริการส่งเอกสารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีคนขับในสังกัดประมาณ 10,000 ราย
สำหรับเเผนในปี 2564 ของ Robinhood ตั้งเป้ามีจำนวนผู้ใช้งาน 1 ล้านราย เพิ่มจำนวนร้านค้าให้ได้ 150,000 ร้าน มีไรเดอร์ 20,000 ราย จำนวนออเดอร์มากกว่า 25,000 รายการต่อวัน และมียอดธุรกรรมที่เกิดขึ้นราว 1.6 พันล้านบาท
พร้อมขยายบริการไป ‘ต่างจังหวัด’ เบื้องต้นที่วางไว้มี 5 จังหวัดคือ เชียงใหม่, ภูเก็ต, พัทยา, นครราชสีมา และขอนแก่น เเต่เนื่องจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ทำให้ต้องเลื่อนเมืองท่องเที่ยวออกไป เเละเริ่มที่นครราชสีมา และ ขอนแก่น ก่อน
สีหนาท ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการของ เพอร์เพิล เวนเจอร์ส บอกว่า กลยุทธืการเพิ่มจำนวนร้านอาหารในเเพลตฟอร์ม ทำควบคู่กันไปทั้ง ‘ออนไลน์-ออฟไลน์’ มีการโปรโมททางโซเชียลมีเดีย เเละให้พนักงานตามสาขาของธนาคารออกไปหาร้านค้าที่อยู่พื้นที่ใกล้เคียง เข้าไปช่วยทั้งการดาวน์โหลด ถ่ายรูปภาพอาหาร เเละให้คำเเนะนำต่างๆ รวมถึงนำเสนอเเอปฯ กับผู้ที่มาใช้บริการในสาขาด้วย
โดยปีนี้จะเริ่มเปิดรับร้านอาหาร ‘แบรนด์ดัง’ ต่างๆ เข้ามาเพื่อขยายฐานผู้ใช้ให้กว้างขึ้น มีเเคมเปญการตลาดกระตุ้นการใช้จ่าย ไปพร้อมๆ กับการออก ‘ฟีเจอร์’ ใหม่ พัฒนาเเอปพลิเคชั่นให้เท่าทันตลาด เช่น
นอกจากนี้ Robinhood จะเปิดให้บริการ ‘ซื้อสินค้าในตลาดสด’ โดยจะนำร่องที่ตลาดเสนีย์ ฟู้ดมาร์เก็ต, ตลาดมีนบุรี , ตลาดถนอมมิตรเเละตลาดบางใหญ่ ก่อนจะขยายให้ครบ 9 ตลาด ตามข้อตกลงกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ในส่วนของ ‘ไรเดอร์’ Robinhood โปรเจ็กต์ใหม่ที่น่าสนใจมาก นั่นก็คือการ ให้เช่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารายวัน เริ่มเเรกจะทดลองราว 200-400 คัน ส่วนราคานั้นประมาณไว้อยู่หลัก ‘ร้อยกว่าบาท’ เพื่อให้คนขับมีรายได้เหลือในการทำงาน หรือชาร์จไฟเองที่บ้านได้
โดยวางเเผนจะมีจุดชาร์จแบตเตอรี่ประมาณ 500 จุดทั่วกรุงเทพฯ เน้นใช้พื้นที่ใน ‘ตึกสาขา’ ของไทยพาณิชย์ที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างดี หรือจะชาร์จไฟเองที่บ้านก็ได้ คาดว่าจะเริ่มเปิดตัวได้ในช่วงปลายเดือนมี.ค.นี้ หลังจากทำข้อตกลงกับพาร์ทเนอร์เรียบร้อย
ธนา ย้ำว่าจุดมุ่งหมายของ Robinhood ยังคงเป็นการช่วยเหลือ ‘คนตัวเล็ก’ ฉะนั้นการไม่เรียกเก็บ ‘ค่า GP’ จะคงอยู่ตลอดไป
เเต่เมื่อลงมือทำธุรกิจก็ต้องมีรายได้เป็นธรรมดา ซึ่งในปี 2565 เเอปฯ จะเริ่มสร้างรายได้ด้วยการเป็น B2B Platform ที่มีข้อได้เปรียบจากการมีฐาน ‘ร้านอาหาร SMEs’ หลายเเสนร้านในระบบ
“ฟู้ดเดลิเวอรี่ส่วนใหญ่อยากโตไปเป็นเเบงก์ อยากโตเเล้วปล่อยกู้ เเต่เรามีเเต้มต่อคือเป็นเราเเบงก์อยู่เเล้ว”
เเละการเข้ามาเเบบ Late Comer ยิ่งต้องกลับหัวตีลังกา กลยุทธ์ไม่เรียกเก็บค่า GP สวนทางกับเจ้าอื่น เป็นหัวใจหลักที่ทำให้ Robinhood ได้ใจร้านค้า พอ ‘ได้ใจ’ กันเเล้วก็ไปต่อยอดทำธุรกิจอื่นได้ง่าย
โดยสเต็ปต่อไปจะเป็นการเข้าไปช่วยจัดการ Financial Service ช่วยการจัดการต่าง ๆ ทั้งด้านการจัดหาวัตถุดิบ เป็นตัวกลางระหว่างร้านค้ากับซัพพลายเออร์ เเละจะเข้าไปช่วยในด้าน Business Service พร้อมๆ กับการช่วยทำมาร์เก็ตติ้ง จากข้อมูลดาต้าผู้ใช้ที่มีอยู่
นี่คือทิศทางการหารายได้ต่อไปของ Robinhood ที่นอกเหนือจากการปล่อยสินเชื่อ ให้ครอบคลุมทุกการทำธุรกิจ เเละจะทำให้ร้านค้าได้ประโยชน์มากขึ้น
เป็น ‘ก้าวเเรก’ ของฟู้ดเดลิเวอรี่ของคนไทย ที่ต้องติดตามกันต่อไป…
]]>