สินเชื่อผ่อน 0% – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 15 Mar 2022 07:47:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กว่าครึ่งของ Gen Z มองวิธีชำระเงินแบบ BNPL ในแง่ลบ วินัยการเงินลดลงจากการยืมเงินอนาคต https://positioningmag.com/1377561 Tue, 15 Mar 2022 07:03:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377561 การศึกษากระแส Buy Now Pay Later (BNPL) ในหมู่ผู้บริโภคอเมริกัน พบว่า 52% ของคน Gen Z มองวิธีชำระเงินแบบนี้ในแง่ลบ เพราะทำให้วินัยการเงินเสีย แต่ยังถือเป็นวัยที่เปิดรับมากที่สุดเทียบกับวัยอื่น ฟากเอเชีย กระแสการ “ซื้อก่อนผ่อนทีหลัง” ลุยตลาดได้ชัดเจนขึ้นเมื่อปี 2021 โดยมีคนรุ่นใหม่เป็นเป้าหมายหลัก และดูจะเปิดใจรับมากกว่า

ผลวิจัยจากบริษัท Student Beans บริษัทเทคด้านการตลาด ศึกษาการใช้วิธีชำระเงินแบบ Buy Now Pay Later (BNPL) ซึ่งกำลังเป็นกระแสฮิตในช่วงที่ผ่านมา พบว่าคน Gen Z ประมาณ 1 ใน 3 ชื่นชอบวิธีชำระเงินแบบนี้ แต่ก็มีมากกว่าครึ่งที่มองว่าเป็นวิธีชำระเงินที่ทำให้วินัยการเงินเสียไป

BNPL หมายถึงการจ่ายแบบ “ซื้อก่อนผ่อนทีหลัง” คล้ายกับการผ่อนผ่านบัตรเครดิต แต่ส่วนใหญ่แพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่ไม่ใช่ธนาคารและเข้ามาให้บริการ จะตัดวงรอบการผ่อนไม่เกิน 6 เดือน ดอกเบี้ย 0% และจับมือกับร้านค้าแบรนด์ระดับกลางๆ การชำระต่อบิลไม่สูงมาก ต่างจากการผ่อนกับบัตรเครดิตที่มักจะมีตัวเลือกให้ผ่อนเมื่อเป็นการซื้อของชิ้นใหญ่ราคาสูง แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการมีค่าธรรมเนียมปรับหากชำระคืนไม่ตรงเวลา

แน่นอนว่าหลักการทางจิตวิทยาของบริการนี้จะคล้ายกับผ่อนผ่านบัตรเครดิตเช่นกัน เพราะทำให้การซื้อถูกแบ่งออกเป็นเงินก้อนเล็กๆ จากการซื้อน้ำหอมที่ต้องจ่ายครั้งเดียว 3,000 บาท กลายเป็นจ่ายเพียงเดือนละ 1,000 บาทติดต่อกัน 3 เดือน เป็นต้น

Contactless and cashless payment through qr code and mobile banking

การวิจัยครั้งนี้ศึกษาในวัยรุ่นอเมริกัน Gen Z ซึ่งพบว่า วัยรุ่น 34% มองว่า BNPL เป็นบริการที่ดีเยี่ยม แต่กลับกัน มีถึง 52% ที่ยังไม่แน่ใจ เพราะเห็นว่าเป็นการส่งเสริมให้วินัยการเงินเสียไป

“แม้ว่าบริการซื้อก่อนผ่อนทีหลังจะล่อตาล่อใจ คุณก็ต้องมั่นใจว่าคุณมีทุนพอที่จะจ่ายเงินคืนจากที่ยืมล่วงหน้ามา” Student Beans ให้คำแนะนำ “ควรจะวางแผนจ่ายล่วงหน้าด้วยการทำตารางงบประมาณการเงินส่วนตัว ใช้เครื่องมือคำนวณให้ชัดเจนว่าการเงินต่อเดือนของคุณเป็นอย่างไร และอะไรที่เหมาะสมกับงบที่ตนเองมี”

 

ยิ่งสูงวัยกว่า ยิ่งกังวลกับ BNPL

แม้ตัวเลข 52% ของ Gen Z ดูเหมือนว่ามาก แต่ก็ยังน้อยกว่ากลุ่มที่สูงวัยกว่า เช่น กลุ่มพ่อแม่ของ Gen Z (มักจะเป็นคนวัย Gen X) มีถึง 60% ที่มองว่าการซื้อก่อนผ่อนทีหลังเป็นความเสี่ยง และจะทำให้คนวัยหนุ่มสาวซื้อของมากกว่าที่ตัวเองจะจ่ายไหว ยิ่งขึ้นไปถึงระดับปู่ย่าตายาย (มักจะเป็นคนวัยเบบี้บูม) มีถึง 67% ที่มองว่าการผ่อนแบบนี้เป็นความเสี่ยงทางการเงิน

วัยรุ่น Gen Z อเมริกัน นิยมซื้อเสื้อผ้าเพื่อใส่ถ่ายคอนเทนต์ลง Instagram/TikTok

อย่างไรก็ตาม มีคนทุกวัยที่เข้ามาใช้บริการแต่นำไปซื้อสินค้าต่างกัน Gen Z นิยมใช้เพื่อซื้อเสื้อผ้า ขณะที่ Gen X และเบบี้บูมจะใช้ซื้อสินค้าไอทีซึ่งมีราคาสูง

“โดยเฉลี่ยแล้ววัยรุ่นอเมริกันจะใช้เงินเดือนละประมาณ 103.16 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3,400 บาท) ที่ดึงออกจากงบซื้ออาหาร มาซื้อเสื้อผ้าแทน จุดประสงค์เพื่อใส่ถ่ายรูปลง Instagram และ TikTok เท่านั้น” ผลการสำรวจระบุ

 

BNPL เริ่มบุกตลาดเอเชีย

สำหรับในเอเชีย เริ่มเห็นแอปฯ สำหรับชำระเงินแบบ BNPL บุกตลาดชัดเจนขึ้นเมื่อปี 2021 มีประเทศที่เป็นตลาดหลัก เช่น จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ไทย, อินโดนีเซีย

โดยเฉพาะในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Buy Now Pay Later เห็นโอกาสการบุกตลาดสูงมาก เนื่องจากประชากรจำนวนมากเข้าไม่ถึงเครดิตธนาคาร ทำให้ไม่มีบัตรเครดิต ขณะที่แพลตฟอร์มเหล่านี้สมัครง่ายกว่าบัตรเครดิตธนาคารมาก

ปัจจุบันผู้เล่นหลักที่เห็นการบุกชัดเจน เช่น Razer, Grab, Shopee กลุ่มนี้เป็นการเพิ่มฟังก์ชันใหม่ภายในแอปฯ หลักของตนเอง และมีกลุ่มที่เป็นแอปฯ ซื้อก่อนผ่อนทีหลังโดยเฉพาะ เช่น Atome, Pine Labs, Pace, EmpatKali เป็นต้น

BNPLสิ่งที่เหมือนกับกับฝั่งตะวันตกคือผู้ใช้เป้าหมายส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นที่ถนัดการใช้เทคโนโลยี ข้อมูลจาก Pace ซึ่งให้บริการในสิงคโปร์, มาเลเซีย และฮ่องกง ระบุว่า ผู้ใช้แอปฯ ของบริษัท 72% เป็นคน Gen Y และ Gen Z

Pace ยังบอกด้วยว่า ถ้าเจาะลึกเฉพาะคน Gen Z มีถึง 55% ที่เป็น “แฟนตัวยง” ของการชำระเงินด้วย BNPL โดยคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ไม่มีบัตรเครดิต และเชื่อว่าการใช้ BNPL คือการบริหารกระแสเงินสด รวมถึงมองบวกว่าบริการแบบนี้จะไม่ทำให้พวกเขาเป็นหนี้ เพราะเป็นการจ่ายเงินก้อนเล็กๆ เท่านั้น เห็นได้ว่าโอกาสฝั่งเอเชียดูจะมากกว่าฝั่งสหรัฐฯ เพราะมุมมองผู้ใช้เปิดกว้างกว่า

สอดคล้องกับข้อมูลจาก Atome ที่บุกตลาดไทยเมื่อเดือนกันยายนปีก่อน พบว่ามีคนไทยเพียง 7-8 ล้านคนที่ถือบัตรเครดิต และเป้าหมายหลักคือกลุ่มคนวัย 18-30 ปี เป็นคนทำงานอิสระจำนวนมาก ทำให้เข้าไม่ถึงบัตรเครดิตอยู่แล้ว จึงมีโอกาสสูงที่จะเจาะตลาด

ต้องติดตามต่อว่าการทำตลาดในเอเชียจะเติบโตได้มากแค่ไหนจากนี้ และจะมีผู้เล่นรายใหม่ๆ เข้าไทยอีกหรือไม่

Source: foxbusiness, 2c2p, CNAluxury

]]>
1377561
“ไฮเออร์” ขึ้นอันดับ 1 ตลาดแอร์ แผนปี’65 เปิดธุรกิจ “Yudee” ผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้า 0% 24 เดือน https://positioningmag.com/1367594 Fri, 17 Dec 2021 10:49:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1367594
  • ไฮเออร์ (Haier) ประกาศยอดขายปี 2564 โต 29% รวม 7,921 ล้านบาท แต่ตกเป้าเล็กน้อยจากการล็อกดาวน์ปิดห้างฯ ช่วงกลางปี
  • ยอดขายกลุ่ม “แอร์” ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของตลาดหากวัดจากจำนวนเครื่อง ขณะที่ “ตู้เย็น” ขึ้นมาเป็นอันดับ 4 จากเดิมเคยอยู่ในอันดับ 7
  • เตรียมเปิดโมเดลธุรกิจใหม่Yudee” (อยู่ดี) ให้ลูกค้าผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้าไฮเออร์ได้โดยไม่ต้องผ่านบัตรเครดิต อัตราดอกเบี้ย 0% สูงสุด 24 เดือน จ่ายได้ผ่านโมบายแบงกิ้ง
  • ปี 2565 ตั้งเป้าเติบโตอีก 33% ยังเน้นสินค้าเรือธง คือ แอร์, ตู้เย็น, ตู้แช่ และบุกหนักกลุ่ม “ทีวี” เตรียมออกใหม่ 17 รุ่น
  • “จาง เจิ้งฮุ้ย” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไฮเออร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับ “ธเนศร์ บินอาซัน” รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไฮเออร์ อีเลคทริคอล แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศรายได้ปี 2564 ของ “ไฮเออร์” ประเทศไทย ทำได้รวม 7,921 ล้านบาท เติบโต 29% เทียบกับปีก่อน สวนทางกับตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมที่เติบโตเพียง 0.3% เทียบกับปีก่อน เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ

    อย่างไรก็ตาม รายได้ปีนี้ของไฮเออร์ถือว่าตกเป้าประมาณ 6% จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากการปิดล็อกดาวน์ช่วงกลางปี ทำให้แบรนด์ขาดช่องทางขายผ่านโมเดิร์นเทรดไประยะหนึ่ง แต่ก็ยังเป็นผลดำเนินงานที่น่าพอใจ

    ไฮเออร์
    เครื่องปรับอากาศ สินค้ากลุ่มหลักของไฮเออร์

    สำหรับผลดำเนินงานเป็นรายกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้

    • เครื่องปรับอากาศ ยอดขายรวม 3,117 ล้านบาท เติบโต 9% ขึ้นเป็นผู้นำอันดับ 1 ในกลุ่มตลาดแอร์หากวัดจากจำนวนเครื่อง โดยมีส่วนแบ่งตลาด 7%
    • ตู้เย็น ยอดขายรวม 1,673 ล้านบาท เติบโต 27% ขึ้นเป็นแบรนด์อันดับ 4 มีส่วนแบ่งตลาด 1% จากเดิมเคยอยู่ในอันดับ 7 โดยการเติบโตที่ดีมาจากการขายตู้เย็นหลายประตูที่มีดีมานด์สูง
    • เครื่องซักผ้า ยอดขายรวม 1,166 ล้านบาท เติบโต 39% เป็นแบรนด์อันดับ 4 ในตลาด
    • ตู้แช่ ยอดขายรวม 792 ล้านบาท เติบโต 32% เป็นแบรนด์อันดับ 1 ในตลาด มีส่วนแบ่ง 38%
    • ทีวี ยอดขายรวม 410 ล้านบาท เติบโต 111%
    • เครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ ยอดขายรวม 300 ล้านบาท เติบโต 76%
    • เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ยอดขายรวม 178 ล้านบาท เติบโต 89% (ตัวอย่างสินค้า เช่น เตาอินดัคชั่น หม้อหุงข้าว เครื่องปั่น)
    • เครื่องทำน้ำอุ่น ยอดขายรวม 170 ล้านบาท เติบโต 45%

    ทั้งนี้ สำหรับช่องทางขาย ไฮเออร์ทำยอดขายผ่านอี-คอมเมิร์ซไป 643 ล้านบาท เติบโต 132% โดยหมวดสินค้าที่ขายดีผ่านออนไลน์คือกลุ่มแอร์และตู้เย็น โดยเฉพาะตลาดระดับกลางถึงล่าง

     

    Yudee โมเดลใหม่ให้ลูกค้าผ่อน 0%

    “วรลักษณ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา” ผู้จัดการกลุ่มธุรกิจอยู่ดี บริษัท ไฮเออร์ อีเลคทริคอล แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงโมเดลธุรกิจใหม่ในปี 2565 บริษัทจะเปิดโมเดล Yudee” (อยู่ดี) ให้ลูกค้าสามารถผ่อน 0% สินค้าไฮเออร์ในกลุ่มแอร์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ตู้แช่ และโทรทัศน์ ระยะเวลาตั้งแต่ 12-24 เดือน กลุ่มเป้าหมายทั้งลูกค้าที่ไม่มีบัตรเครดิต และลูกค้าที่มีบัตรเครดิตแต่ไม่ต้องการเสียวงเงินในบัตรไปกับการผ่อนสินค้าชิ้นใหญ่

    ไฮเออร์ลูกค้าที่จะผ่อนผ่าน Yudee สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Yudee มาใช้ในการชำระเชื่อมต่อกับโมบายแบงกิ้ง โดยในแอปฯ นี้จะมีฟังก์ชันเชื่อมต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้า IoT ของไฮเออร์ได้ด้วย สามารถใช้แอปฯ ทำหน้าที่เหมือนรีโมตกับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ เช่น เปิด-ปิดปรับอุณหภูมิแอร์

    วรลักษณ์วางเป้าหมายลูกค้าผ่อนผ่าน Yudee ปี 2565 เป้ามีผู้ใช้งาน 58,000 ราย มูลค่ายอดขาย 338 ล้านบาท และเติบโตจนถึงปี 2567 มีผู้ใช้งาน 200,000 ราย มูลค่ายอดขาย 1,200 ล้านบาท กลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการดึงลูกค้า

     

    ปี 2565 วางเป้าโตอีก 33% เน้นกลุ่มทำความเย็น-ทีวี

    ด้าน “ปิยะศักดิ์ ศรีบัว” ผู้อำนวยการฝ่ายขาย ไฮเออร์ กล่าวถึงตลาดปีหน้าว่า แบรนด์จะยังเน้นตลาดในกลุ่มทำความเย็น คือ แอร์ ตู้เย็น ตู้แช่ ซึ่งแบรนด์มีความแข็งแกร่งในตลาด รวมถึงจะเน้นการทำตลาดกลุ่ม “ทีวี” ซึ่งปีนี้จะเห็นได้ว่ายอดขายเติบโตสูงมากโดยเฉพาะทีวีขนาดใหญ่ ทำให้ปีหน้าไฮเออร์จะลุยออกทีวีรุ่นใหม่ถึง 17 รุ่น

    ไฮเออร์
    ตู้เย็นแบบหลายประตูปีนี้เป็นสินค้ามาแรง หลังจากลูกค้าอยู่บ้านกันมากขึ้น

    ธีมการออกสินค้าในปีหน้าจะเน้นเรื่องฟังก์ชัน Smart Home เป็นสินค้านวัตกรรม เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าคำสั่งเสียงที่เชื่อมต่อกับระบบ Google Assistant หรือ Alexa

    ด้านการพัฒนากลยุทธ์การขายและการตลาด จะมีการปรับหน้าร้านดีลเลอร์ให้โชว์นวัตกรรมของไฮเออร์มากขึ้น และจะมีการจัดกิจกรรมวิ่งมาราธอนของแบรนด์เพื่อวางภาพลักษณ์เป็นแบรนด์ที่ใส่ใจสุขภาพลูกค้า เสริมด้วยการใช้ KOL รีวิวสินค้าเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจสินค้าได้ง่ายขึ้น

    ไฮเออร์
    ทีมผู้บริหารไฮเออร์: (จากซ้าย) วรลักษณ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา, จาง เจิ้งฮุ้ย, ธเนศร์ บินอาซัน และปิยะศักดิ์ ศรีบัว

    ธเนศร์กล่าวว่า เป้าหมายรายได้ปีหน้าของไฮเออร์จะยังโตต่อเนื่อง ตั้งเป้า 10,500 ล้านบาท เติบโต 33% จากปีนี้ ขณะที่ตลาดรวมเครื่องใช้ไฟฟ้าไทย คาดว่าปี 2564 จะอยู่ที่ 84,000 ล้านบาท และปี 2565 น่าจะขึ้นไปแตะ 86,000 ล้านบาท เติบโต 4% ตามสภาพเศรษฐกิจที่น่าจะฟื้นตัว ยกเว้นว่าไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนจะมีผลกระทบในไตรมาส 1 มากกว่าที่คาดไว้

    ส่วนข้อกังวลสำหรับปีหน้า ยังกังวลเรื่องกำลังซื้อของคนไทย แม้ว่าเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น แต่ผลกระทบจากช่วง COVID-19 อาจจะยังมีอยู่ รวมถึงกังวลในแง่การจัดการต้นทุน เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบการผลิตสูงขึ้น ค่าขนส่งสูงขึ้น แต่ไฮเออร์ได้วางแผนรับมือไว้แล้ว และคาดว่าต้นทุนที่กระทบกับทุกเจ้าในตลาดน่าจะทำให้การทำสงครามราคาเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงในปีหน้า

    ]]>
    1367594
    ‘ร้อยเดียวก็แบ่งจ่ายได้’ Atome เขย่าไทย บริการ “ผ่อน 0%” ตั้งแต่เสื้อผ้ายันเครื่องสำอาง https://positioningmag.com/1350829 Wed, 08 Sep 2021 09:20:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350829 “ผ่อน 0%” จะไม่ได้มีเฉพาะการซื้อสินค้าราคาสูง เช่น ทีวี ตู้เย็น อีกต่อไป เมื่อแอปฯ Atome (อะโทมี่) จากสิงคโปร์บุกไทย แค่ผูกบัตรเดบิต/เครดิตสามารถแบ่งจ่ายไร้ดอกเบี้ยได้ 3 เดือน ยอดซื้อขั้นต่ำ 100 บาทก็ใช้ได้ โดยมุ่งเป้ากลุ่มเสื้อผ้าแฟชั่น บิวตี้ ไลฟ์สไตล์ และท่องเที่ยว มีแบรนด์เป็นพันธมิตรแล้ว 36 ราย เช่น GQ, ALDO, Charles & Keith, EVEANDBOY, Agoda

    วิธีชำระเงินแบบ Buy Now Pay Later (BNPL) หรือซื้อก่อนจ่ายทีหลัง ในไทยอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เพราะส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับโปรโมชันบัตรเครดิต และมักจะเป็นสินค้าชิ้นใหญ่ราคาสูงเท่านั้นที่มีโปรฯ ให้ใช้

    แต่ตลาดอาจจะเปลี่ยนไปเมื่อ Atome (อะโทมี่) แพลตฟอร์มชำระเงินจากสิงคโปร์บุกไทย บริการของ Atome คือ ให้ลูกค้าผูกบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตกับแอปพลิเคชัน จากนั้นนำแอปฯ ไปใช้ซื้อสินค้ากับร้านค้าพันธมิตรได้ทั้งหน้าร้านและออนไลน์ ลูกค้าสามารถแบ่งชำระเงินบิลนั้นเป็น 3 งวด 3 เดือน โดยคิดดอกเบี้ย 0% และไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ

    โดยฝั่งที่จะเสียค่าบริการคือร้านค้า จะถูกคิดค่าธรรมเนียมจากการทำรายการชำระเงิน แต่ร้านค้าจะได้รับชำระเงินเต็มทันที

    Atome เปรียบเทียบว่า บริการของตนนั้นเหนือกว่าบัตรเครดิตเพราะถ้าหากลูกค้า ‘เบี้ยวหนี้’ จะไม่มีการคิดดอกเบี้ย (เทียบกับบัตรเครดิตดอกเบี้ยผิดนัดชำระสูงถึง 16-18%) แต่ยังมีค่าปรับการผิดนัดชำระที่ 0.53% ของยอดหนี้ และลูกค้าแต่ละรายมีโอกาสผิดนัดชำระไม่เกิน 2 ครั้ง จากนั้นจะถูกระงับออกจากระบบ

     

    เน้น ‘สายแฟ’ และ ‘บิวตี้’ ของราคา 2-3 พันบาท

    “ภูมิพงษ์ ตันเจริญผล” ผู้จัดการทั่วไป Atome ประเทศไทย อธิบายที่มาของแอปฯ มีการเปิดตัวแห่งแรกในสิงคโปร์ อยู่ภายใต้เครือสตาร์ทอัพ Advance Intelligence Group ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพระดับ Series C ที่มีเทคโนโลยีบิ๊กดาต้าและ e-KYC เป็นฐานประเมินความเสี่ยงเป็นหนี้เสียของลูกค้าให้กับ Atome

    ปัจจุบันแอปฯ ขยายตัวไปแล้ว 9 ประเทศแถบเอเชีย เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ฯลฯ จุดมุ่งเน้นหลักจะเป็นสินค้าหมวดแฟชั่น บิวตี้ ไลฟ์สไตล์ และอีคอมเมิร์ซ โดยรวมทุกประเทศที่ไปปักหมุด มีพันธมิตรแบรนด์ค้าปลีกแล้ว 5,000 แบรนด์ มีฐานบัญชี 20 ล้านราย และมียอดใช้จ่ายผ่านแอปฯ สะสม 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

    สำหรับการเข้ามาบุกไทย ขณะนี้มีพันธมิตรแล้ว 36 รายใน 4 หมวดคือ แฟชั่น บิวตี้ ไลฟ์สไตล์ และท่องเที่ยว (ดูรายชื่อแบรนด์ได้ในภาพด้านล่าง) โดยอนาคตจะเร่งขยายพันธมิตรให้ครอบคลุมกว่านี้

    ภูมิพงษ์กล่าวว่า Atome มีขั้นต่ำการใช้จ่ายที่แบ่งชำระได้แค่ 100 บาทเท่านั้น ทำให้ครอบคลุมสินค้าทุกชิ้นแน่นอน ส่วนวงเงินสูงสุด ถ้าลูกค้าผูกกับบัตรเดบิตจะได้วงเงิน 10,000 บาท ถ้าผูกบัตรเครดิตได้วงเงิน 20,000 บาท แต่หลังจากนี้ เมื่อบริษัทมีดาต้าลูกค้ามากพอ จะมีการให้ credit score ลูกค้าเพื่อเพิ่มวงเงินได้เป็นรายๆ ไป

    เขายังเปิดเผยด้วยว่า เท่าที่เคยให้บริการมา ลูกค้ามักจะซื้อของเฉลี่ย 70 เหรียญสหรัฐต่อบิล หรือประมาณ 2,000-3,000 บาท เห็นได้ชัดว่าสินค้าที่ผ่อนชำระไม่จำเป็นต้องเป็นเงินก้อนใหญ่ ตรงกับเป้าหมายสินค้าแฟชั่นและบิวตี้

     

    เจาะช่องว่างคนถือ “บัตรเดบิต”

    ตลาดที่ Atome เล็งเห็นนั้นคือผู้ถือบัตรทั้งหลายซึ่งจะนำมาผูกกับแอปฯ นอกจากบัตรเครดิตแล้ว ตลาดที่สนใจอย่างมากคือผู้ถือ “บัตรเดบิต”

    ภูมิพงษ์กล่าวว่า ในประเทศไทยมีการใช้บัตรเครดิต 24 ล้านใบ แต่โดยเฉลี่ยแล้ว 1 คนจะมีบัตรเครดิต 3 ใบ ทำให้จริงๆ แล้วมีคนที่เข้าถึงบัตรเครดิตแค่ 7-8 ล้านคนเท่านั้น

    Photo : Shutterstock

    เทียบกันแล้ว ผู้ถือบัตรเดบิตมีมากกว่า 3 เท่า หรือเท่ากับมากกว่า 20 ล้านคนที่มีบัตรเดบิต เป็นเป้าหมายของแอปฯ นี้ เพราะเป็นกลุ่มคนที่ไม่ค่อยได้โปรโมชันดีๆ เหมือนบัตรเครดิต ทั้งที่หลายคนมีกำลังซื้อ โดยเฉพาะคนวัย 18-30 ปี ที่ยุคนี้หันมาเป็นฟรีแลนซ์ ยูทูปเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ มากขึ้น กลุ่มนี้จะเข้าไม่ถึงบัตรเครดิตและถือบัตรเดบิตกันมากกว่า

     

    เพิ่มขนาดตะกร้าให้ร้านค้า 30%

    ตัดภาพมาที่ฝั่งร้านค้า ในเมื่อแอปฯ จะเก็บค่าธรรมเนียมกับร้านแล้วทำไมร้านต้องเป็นพันธมิตร? ภูมิพงษ์อธิบายจากสถิติที่เก็บมา ร้านค้าจะได้ประโยชน์ 3 อย่างจาก Atome คือ

    1.ลูกค้าเพิ่ม ‘basket size’ ในการช้อปประมาณ 30% เพราะผลจากการแบ่งจ่ายได้ทำให้ลูกค้าสบายใจขึ้นที่จะจับจ่าย เป็นผลดีกับร้านค้า

    2.โอกาสเปลี่ยนยอดเข้าชมเป็นยอดขาย (conversion rate) สูงขึ้น เพราะการมีตัวเลือกแบ่งชำระ 3 เดือนทำให้ลูกค้าตัดสินใจง่าย

    3.แอปฯ มีการเก็บบิ๊กดาต้าของพฤติกรรมลูกค้าไว้ให้แบรนด์ สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ใช้งานทำการตลาดเพิ่มได้

     

    อุปสรรค : คนไทยไม่รู้จัก BNPL

    ข้อมูลจาก Worldpay from FIS ระบุว่า การชำระเงินแบบ Buy Now Pay Later จะเติบโต 43% ต่อปีไปจนถึงปี 2024 เป็นหนึ่งในวิธีชำระเงินที่โตเร็วที่สุด แต่สำหรับในไทย วิธีชำระเงิน BNPL ยังไม่ค่อยคุ้นหู

    “ภูมิพงษ์ ตันเจริญผล” ผู้จัดการทั่วไป Atome ประเทศไทย

    ภูมิพงษ์มองว่าสิ่งนี้จะเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่ง ทำให้บริษัทต้องสร้างการรับรู้ทั้งวิธีชำระเงินและแบรนด์ของตนเองในไทย โดยจะลงทุนด้านการตลาดสูง ทั้งนี้ จะเริ่มทุ่มการตลาดเมื่อสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลายมากกว่านี้ และค้าปลีกไทยเริ่มฟื้นตัว

    ส่วนคู่แข่งในไทย ระบุว่ายังไม่มีคู่แข่งโดยตรง Atome น่าจะเป็นรายแรกๆ ที่เปิดตัวเป็นช่องทางชำระ BNPL ผ่านแอปฯ แต่ในต่างประเทศล้วนมีคู่แข่งในตลาด ทำให้ต้องจับตามองเสมอว่าคู่แข่งจะเริ่มเข้ามาบุกไทยเมื่อไหร่ อย่างไรก็ตาม การเข้ามาก่อนและมีพันธมิตรก่อนย่อมได้เปรียบ

    Atome ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย คือภายในสิ้นปีนี้หวังมีผู้ใช้ถึง 200,000 คน และภายในสิ้นปี 2022 ต้องการมีผู้ใช้ทะลุ 2 ล้านคน!

    ]]>
    1350829
    Grab เดินเกมรุก ‘ไฟเเนนซ์’ ให้สินเชื่อร้านค้า-ไรเดอร์ ผ่อน 0% ขยายจับ ‘บุคคลทั่วไป’ ในอนาคต https://positioningmag.com/1337959 Mon, 21 Jun 2021 11:53:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337959 เป็นที่ทราบกันดีว่า แอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ยักษ์ใหญ่อย่าง ‘Grab’ (เเกร็บ) วางโพสิชันตัวเองไว้เป็น ‘Super App’ รวมบริการหลายอย่างไว้ในที่เดียว หนึ่งในนั้นก็คือบริการทางการเงินเเละในปีนี้ก็ได้เห็นกลยุทธ์ขับเคลื่อนด้านสินเชื่อเด่นชัดขึ้น พร้อมเตรียมขยายจับ ‘บุคคลทั่วไปในอนาคต

    วรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ประเทศไทย เล่าว่า ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายของผู้ประกอบการร้านอาหารเเละพาร์ตเนอร์คนขับอย่างมาก เมื่อเจอวิกฤตเศรษฐกิจทำให้รายได้ลดลง ขาดเงินทุนพยุงธุรกิจ เหล่านี้ทำให้ความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แม้ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะมีการชะลอตัวของยอดสินเชื่อใหม่

    Grab มีไรเดอร์ (คนขับ) ผู้จัดส่งอาหารและพัสดุ และพาร์ตเนอร์ร้านค้า รวมกว่า 4 แสนราย ในจำนวนนี้ใช้บริการสินเชื่อ แกร็บไฟแนนซ์ รวมกัน 1 เเสนราย ประมาณ 80% เป็นพาร์ตเนอร์คนขับ ผู้จัดส่งอาหารและพัสดุ และอีก 20% เป็นพาร์ตเนอร์ร้านค้า

    โดยสินเชื่อที่ Grab นำเสนอให้พาร์ตเนอร์คนขับและร้านค้า เป็นสินเชื่อเงินสดระยะสั้นระยะเวลาผ่อนชำระ 3-6 เดือน มีวงเงินสูงสุด 1 เเสนบาท อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอกสูงสุด 33% ต่อปี ตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะขึ้นอยู่กับรายละเอียดและเงื่อนไขการกู้ของพาร์ตเนอร์ร้านค้า

    ปัจจุบัน Grab ให้บริการสินเชื่อใน 2 รูปแบบ ได้เเก่

    • สินเชื่อเงินสดสำหรับร้านค้า

    ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มียอดกู้เฉลี่ย 7 หมื่น – 1 เเสนบาท พิจารณาวงเงินผ่าน Credit Scoring จากข้อมูลใน Grab เริ่มเปิดให้บริการในเดือนม.. 64 โดยร้านค้าสามารถเลือกว่าจะผ่อนเป็นรายวัน หรือจะผ่อนเป็นรายเดือนก็ได้ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า มีหลายร้านเลือกผ่อนรายวันเพราะเป็นเงินจำนวนไม่มาก พอหมุนได้ในหลักร้อย

    “เรากำลังเตรียมนำเสนอบริการผ่อนชำระสินค้ารายวัน 0% แก่พาร์ตเนอร์ร้านค้าภายในสิ้นเดือนมิ.ย.นี้ เพื่อสนับสนุนร้านอาหารในการต่อยอดธุรกิจ แบ่งเบาภาระการลงทุนอุปกรณ์ต่างๆ”

    • สินเชื่อรายย่อยสำหรับไรเดอร์

    จุดเด่นของสินเชื่อนี้ คือจะคล้ายกับการผ่อน 0%’ ของบัตรเครดิต เเต่จะเจาะกลุ่มไรเดอร์โดยเฉพาะ เพราะหลายคนมีความต้องการอยากซื้อสินค้าต่างๆ เเต่เข้าถึงบัตรเครดิตยาก เพราะไม่มีสลิปเงินเดือน เเต่ Grab มีข้อมูลรายได้ของไรเดอร์ช่วยประเมินสถานะการกู้ได้

    เป็นสินเชื่อผ่อนของที่ไรเดอร์สามารถซื้อมือถือและเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อต่างๆ ที่ Grab หามาให้บริการ โดยคิดดอกเบี้ย 0% ระยะเวลาการผ่อน 3-6 เดือน ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มียอดกู้เฉลี่ย 1-2 หมื่นบาทตามราคาสินค้า โดยไรเดอร์นิยมซื้อเครื่องปรับอากาศ สมาร์ทโฟนเเละทีวี

    ใช้ AI คำนวณสินเชื่อ 

    ข้อได้เปรียบของ Grab นอกจากมีจำนวนไรเดอร์เเละร้านค้าจำนวนมากเเล้ว นั่นก็คือ การคำนวณวงเงินสินเชื่อด้วย AI วิเคราะห์ข้อมูลด้านต่างๆ เป็น ‘Data Driven Lending’ อุดช่องว่างของธนาคารที่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันหรือหลักฐานยืนยันรายได้ที่เเน่นอน 

    โดย Credit Scoring เป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการปล่อยสินเชื่อ รวมไปถึงชั่วโมงการทำงาน พฤติกรรม และรายได้ที่ได้จากบริษัท เพื่อหาวงเงินสูงสุดที่เหมาะสมให้ผู้กู้ เป็นระบบที่ช่วยให้คนทําดี ได้ดี

    เมื่อถามถึงความเสี่ยงด้านการชำระหนี้ เขามองว่าไรเดอร์หลายคนไม่ได้ทำงานนี้เป็นประจำก็จริง เเต่ยอดเงินกู้ไม่ได้สูงมาก ไม่คุ้มที่จะสูญเสียช่องทางรายได้ ถ้าวงเงินเป็นล้าน เราคงไม่ได้ปล่อยกู้

    แกร็บไฟแนนซ์ เตรียมจะขยายบริการครอบคลุมทุกจังหวัดที่ Grab ให้บริการจากที่ผ่านมากระจุกในจังหวัดใหญ่เเละจะทยอยเพิ่มสินค้าในรายการผ่อนให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า

    ปีนี้เราไม่ได้ตั้งเป้าเป็นตัวเลขว่าคนจะเข้ามาใช้บริการสินเชื่อเท่าไหร่ เเต่หวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

    สร้าง Loyalty ภายใน เตรียมขยายสู่ ‘ภายนอก’ 

    สำหรับ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ปเป็นกลุ่มธุรกิจที่แกร็บตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2561 มีเป้าหมายให้บริการด้านการเงินเเบบครบวงจร ผ่าน 4 บริการหลัก ได้แก่

    Grab Pay – ระบบจ่ายเงินให้ไรเดอร์ ร้านอาหาร เเละอีวอลเล็ตของผู้ใช้
    Grab Insure – ให้บริการประกันต่างๆ เป็น micro insurance
    Grab Finance – ให้บริการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ เเละ Credit Score
    Grab Invest – บริการเงินฝากการลงทุน

    ในปีหน้า Grab เราจะขยายไปด้านเงินฝาก เเละการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน เพื่อให้ครอบคลุมบริการทางการเงินทุกด้าน

    โดยรายได้จากดอกเบี้ยต่างๆ มีเเนวโน้มจะเติบโตเรื่อยๆ จากตลาดที่เติบโตขึ้น ความต้องการบริการทางการเงินที่มากขึ้น ซึ่งในอนาคตจะกลายมาเป็นหนึ่งในรายได้หลักของ Grab 

    นอกจากนี้ การออกสินเชื่อให้ไรเดอร์เเละร้านอาหาร ยังเป็นการสร้าง  ‘Loyalty’ ต่อเเบรนด์ กระตุ้นให้คนต้องขยันทำงานมากขึ้น สร้างรายได้มากขึ้น พร้อมทั้งยังต้องมีพฤติกรรมที่ดียกระดับบริการให้ถูกใจลูกค้า เพื่อไม่ให้เสียเครดิตเพื่อยื่นกู้เงิน

    แกร็บไฟแนนซ์ ยังคงให้บริการเฉพาะกับไรเดอร์และร้านค้าในระบบ แต่ในอนาคตหวังว่าจะให้บริการกับบุคคลทั่วไปภายนอกได้

    ต้องจับตามองว่าธุรกิจไฟแนนซ์ของ Grab จะขยายไปในทิศทางใด เเม้ทางผู้บริหารจะยืนยันว่า ตอนนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมุ่งเเข่งขันในตลาดสินเชื่อ Non-Bank ก็ตาม….

     

    ]]>
    1337959