ส่งออก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 14 Nov 2024 08:45:34 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “เวียดนาม” ส่งออกชาแซงหน้าญี่ปุ่น 9 เดือนแรกส่งออกชาไปแล้วกว่า 189 ล้านเหรียญสหรัฐ https://positioningmag.com/1498531 Tue, 12 Nov 2024 08:09:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1498531 เวียดนาม” ถือเป็นประเทศที่มีการผลิตใบชาและมีความนิยมในการดื่มชาเป็นจำนวนมาก ทำให้ตลาดใบชาเวียดนามได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยภายในสิ้นเดือนกันยายนปี 2024 มีการส่งออกใบชาเวียดนามไปแล้วประมาณ 108,000 ตัน เพิ่มขึ้น 31.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีมูลค่าการซื้อขายกว่า 189 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 34.2% เทียบกับช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ที่เวียดนามเป็นผู้ส่งออกชาอันดับ 8 ของโลก และมีรายได้ 135 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการส่งออกชาประมาณ 78,000 ตัน

Hoang Vinh long ประธานสมาคมใบชาเวียดนาม (Vietnamese Tea Associatio) กล่าวว่า เวียดนาม มีจังหวัดที่มีชื่อเสียงในการเพาะปลูกใบชา อย่าง Yen Bai, Ha Giang และ Son La (จังหวัดในภาคเหนือของเวียดนาม) ซึ่งถือเป็นจุดแข็งในการเพาะปลูกใบชาเนื่องจากสภาพอากาศและดินเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นชา ทำให้ได้ผลผลิตในปริมาณที่เยอะแม้จะมีพื้นที่เพาะปลูกที่ลดลง

อีกทั้งมีผู้เชี่ยวชาญและผู้บริโภคจากต่างประเทศที่ชื่นชมคุณภาพใบชา และเชื่อมั่นว่าใบชาเวียดนามสามารถแข่งขันกับใบชาประเทศอื่น ๆ ได้ ทำให้ใบชาเวียดนามมีการส่งออกไปกว่า 100 ประเทศ โดยมีตลาดหลักได้แก่ ปากีสถาน ไต้หวัน รัสเซีย จีน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป นอกจากนั้นยังมีการแปรรูปชาประมาณ 15 ประเภท โดยสินค้าหลักคือ ชาดำและชาเขียว

เมื่อเปรียบเทียบการบริโภคชาระหว่างประเทศและในประเทศในปี 2022 พบว่า ภายในประเทศมีการขายใบชาไป 48,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 325 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ด้านการส่งออกมีการส่งออกใบชาไปกว่า 146,000 ตัน สร้างมูลค่าประมาณ 237 ล้านเหรียญสหรัฐ

เนื่องจากใบชาเวียดนามมีราคาส่งออกยังไม่สูงมาก โดยมีราคาส่งออกเฉลี่ยน้อยกว่า ราคาของประเทศอื่น ๆ เช่น อินเดียและศรีลังกาที่มีราคาสูงกว่าเวียดนามเฉลี่ย 35% และ 55 % จึงทำให้เวียดนามกลายเป็นผู้ผลิตและส่งออกชารายใหญ่อันดับที่ 5 ของโลก

จากข้อมูลของ TradelMax เผยว่าในปี 2022 เวียดนามอยู่ในอันดับที่ 8 ของผู้ส่งออกชา โดยอันดับ 1 คือ จีน มีมูลค่าการส่งออก 3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 2 คือ เคนย่า มูลค่า 1.39 พันล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 3 คือ ศรีลังกา มูลค่า 1.24 พันล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 4 อินเดีย มูลค่า 752 ล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 5 UAE มูลค่า 440 ล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 6 โปแลนด์ มูลค่า 253 ล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 7 เยอรมัน มูลค่า 235 ล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 8 เวียดนาม มูลค่า 223 ล้านเหรียญสหรัฐ อันดับ 9 ญี่ปุ่น มูลค่า 170 ล้านเหรียญสหรัฐ และ อันดับ 10 อังกฤษ มูลค่า 123 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในขณะที่ประเทศไทย สินค้าในกลุ่มชาและผลิตภัณฑ์ชาที่ไทยส่งออกมากที่สุด คือ สินค้าชาสำเร็จรูป โดยในช่วงปี 2560 – 2564 ไทยส่งออกสินค้าชาสด ชาหมักและชาผงสำเร็จรูปเฉลี่ย 47.31 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

ทั้งนี้ Nguyen Quoc Manh รองผู้อํานวยการกรมการผลิตพืชผลของเวียดนาม กล่าวว่า ปริมาณชาที่บริโภคในประเทศมีเพียงหนึ่งในสามของปริมาณการส่งออกชา แต่มูลค่าของการบริโภคภายในประเทศนั้นสูงกว่า เวียดนามจึงต้องหาวิธีเพิ่มมูลค่าการส่งออก ซึ่งยังคงเป็นเรื่องที่มีความท้าทายสําหรับอุตสาหกรรมชาของเวียดนามอย่างมาก

ที่มา : VietnamPlus

]]>
1498531
“ญี่ปุ่น” เปิดสถิติปี 2023 ส่งออก “โชยุ” กว่า หมื่นล้านเยน ส่งไป “สหรัฐอเมริกา” มากสุด  https://positioningmag.com/1498234 Sat, 09 Nov 2024 02:40:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1498234 “ญี่ปุ่น” เปิดสถิติปี 2023 ส่งออก “โชยุ” กว่า หมื่นล้านเยน ส่งไป “สหรัฐอเมริกา” มากสุด 

หากใครเป็นสายกินอาจจะรู้ว่า “วาโชกุ” คืออาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ที่มีการใช้วัตถุดิบตามฤดูกาลอย่างชำนาญ และได้รับการยอมรับจาก UNESCO ในปี 2013 ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติอีกด้วย 

อานิสงส์เทรนด์อาหารแบบวาโชกุได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ “ซีอิ๋ว” หรือ “โชยุ” (Shoyu) (ซอสถั่วเหลือง) ของญี่ปุ่นมีอัตราการส่งออกที่เติบโตขึ้นเช่นกัน โดยข้อมูลของศุลกากรโตเกียว รายงานว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม มีตัวเลขการส่งออกโชยุเกิน 6.85 พันล้านเยน เนื่องจากความนิยมของวาโชกุยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกระแสการจดทะเบียนฯยูเนสโก

นอกจากนั้นข้อมูลศุลกากรโตเกียวยังเผยว่า ในปี 2023 การส่งออกโชยุเพิ่มขึ้นเป็น 1 หมื่นล้านเยน นับเป็นครั้งแรกที่มีการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์เทียบเท่ากับในปี 1988 ซึ่งสมาคมโชยุญี่ปุ่นได้ระบุเพิ่มเติมว่า จํานวนร้านอาหารญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกโชยุเพิ่มขึ้นเช่นกัน

สหรัฐอเมริกา ถือเป็นตลาดส่งออกโชยุอันดับต้นๆ ของญี่ปุ่น โดยมูลค่าส่งออกในปี 2023 คิดเป็น 17.9% ของการส่งออกโชยุทั้งหมด ตามด้วยส่งออกไปจีน 8.2% และเกาหลีใต้ 7.0%

ผู้ผลิตโชยุรายใหญ่ของญี่ปุ่น อย่าง Kikkoman Corp. กล่าวว่า โชยุส่วนใหญ่ทํามาจากถั่วเหลือง ข้าวสาลี และเกลือ และใช้วิธีการผลิตแบบดั้งเดิมในสมัยเอโดะ (1603-1867) ที่มีความซับซ้อน ทำให้โชยุมีหลากหลายประเภทขึ้น โดยหลักๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด คือ โชยุอุสุคุจิ โชยุชนิดอ่อน , โชยุทามาริ (เข้มข้นกว่าโคอิคุจิ) ,โชยุชิโระ (ชนิดอ่อน มีรสหวานที่สุด) , โชยุไซชิโคมิ ที่เป็นการหมักซ้ำกันสองครั้ง  และ โชยุโคอิคุจิ ที่มีความเข้มข้น เป็นชนิดที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายที่สุด โดยคิดเป็น 84.9% ของการส่งออกโชยุทั้งหมดในปี 2022 และ 2023 

ทั้งนี้ ปริมาณการส่งออกโชยุของญี่ปุ่นมีมากถึง 26,542 กิโลลิตรใน 7 เดือนแรกของปี 2024 แซงหน้าอัตราการส่งออกสูงสุดในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2022 และปริมาณการส่งออกในปี 2023 อยู่ที่ 41,114 กิโลลิตร 

ที่มา : Japan Today

 

]]>
1498234
กระแส AI บูม “ไต้หวัน” รับอานิสงส์ ส่งชิปออกเพิ่มขึ้น 22% ทำนิวไฮ 5.6 ล้านล้านบาท https://positioningmag.com/1498150 Fri, 08 Nov 2024 10:23:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1498150 ปัจจุบัน เซมิคอนดักเตอร์ (สารกึ่งตัวนำที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้า หรือ ชิป) เป็นส่วนประกอบ ที่ตั้งแต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงกังหันลมรวมถึงขีปนาวุธต่างก็ขาดไม่ได้ และยังเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่ช่วยผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจในหลายประเทศ 

ซึ่ง “ไต้หวัน” ได้กลายเป็นมหาอํานาจระดับโลกเพราะผลิตชิปส่งออกไปทั่วโลก โดยมีการรายงานว่า มูลค่าผลผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวันคาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้น 22% ในปีนี้ คิดเป็นมากกว่า 5.3 ล้านล้านดอลลาร์ไต้หวัน หรือประมาณ 5.6 ล้านล้านบาท หลังจากที่ผลผลิตลดลง 10.2% เหลือ 4.3 ล้านล้านดอลลาร์ไต้หวัน (4.5 ล้านล้านบาท) ในปี 2566 เนื่องจากความต้องการด้านคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคซบเซาลง

Cliff Hou (侯永清) ประธานสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ไต้หวัน และรองประธานอาวุโสของ Taiwan Semiconductor Manufacturing Co (TSMC, 台積電) บริษัทผลิตชิปยักษ์ใหญ่ของไต้หวันที่ครองตลาดผลิตชิปมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกและมี Apple Inc และ Nvidia Corp เป็นพันธมิตรหลัก แสดงความเห็นว่า 

ปัจจุบันเศรษฐกิจหลายๆ ประเทศรวมถึงไต้หวันมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากการเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนโดย AI ซึ่งไต้หวันควรเร่งการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อรักษาตำแหน่งผู้ผลิตและส่งออกชิปที่อุตสาหกรรมทั่วโลกขาดไม่ได้ 

โดยคําพูดของ Cliff Hou เกิดขึ้นหลังจากที่ Donald Trump คว้าชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดย Donald Trump เคยกล่าวในตอนหนึ่งของการให้สัมภาษณ์ในรายการพอดแคสต์ว่า ไต้หวันได้ครองส่วนแบ่งของอุตสาหกรรมชิปของสหรัฐฯ ไปกว่า 95% ทําให้ Cliff Hou เกิดความกังวลว่า ไต้หวันอาจโดนภาษีส่งออกชิปที่สูงขึ้น เนื่องจาก Donald Trump อาจผลักดันนโยบายคุ้มครองการค้าขึ้นใหม่

ทั้งนี้ ไต้หวันยังไม่ได้รับการแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับภาษีใหม่ที่เกี่ยวกับด้านเซมิคอนดักเตอร์จากสหรัฐฯ

ที่มา : Nikkei 

]]>
1498150
ขนม-ของทานเล่นไทยมาแรง ส่งออก 8 เดือน กวาดรายได้กว่า 583 ล้านดอลลาร์สหรัฐ https://positioningmag.com/1496825 Thu, 31 Oct 2024 08:01:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1496825 การบริโภคของทานเล่นหรือสแน็ค (Snacks) มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นอาหารที่บริโภคง่าย ตอบโจทย์พฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ที่ต้องการตัวช่วยในการสร้างความเพลิดเพลินในระหว่างทำงาน

ข้อมูลจาก Global Trade Atlas (GTA) พบว่า ในปี 2566 ไทยมีมูลค่าการส่งออกสแน็ค(คัดเลือกและจัดกลุ่มสินค้าโดย สนค. เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพสินค้า) ประมาณ 1,954.7 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 5.8% จากปีก่อนหน้า โดยส่งออกไปที่ จีน 18.1% ของมูลค่าการส่งออกสแน็คของไทย สหรัฐอเมริกา 15.3% ออสเตรเลีย 7.0%  กัมพูชา 5.3% และเวียดนาม 5.0%

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ในช่วง 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค. 2567) ที่ผ่านมา ไทยมีการส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารว่างและของทานเล่นไปตลาดโลก มูลค่า 583 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เบเกอรี่และขนมขบเคี้ยว สัดส่วน 69% ของการส่งออกอาหารว่างทั้งหมด ขนมที่ทำจากน้ำตาล สัดส่วน 20% และขนมปรุงแต่งจากโกโก้ สัดส่วน 11%

โดยมี อาเซียน เป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่ง มีสัดส่วนการส่งออกสินค้าอาหารว่างของไทยไปอาเซียนรวมกันถึง 36% ของการส่งออกสินค้าอาหารว่างทั้งหมด ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา ตามด้วยสหรัฐอเมริกา จีน ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น

นอกจากนั้นสินค้ากลุ่มอาหารว่างและของทานเล่นของไทย ยังได้รับความนิยมสูงในตลาดคู่ค้า FTA เช่นกัน โดยในช่วง 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค. 2567) ไทยส่งออกสินค้าอาหารว่างและของทานเล่นไปตลาดคู่ FTA มูลค่า 372 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 64% ของการส่งออกสินค้ากลุ่มของว่างและของทานเล่นของไทยทั้งหมด

ซึ่งตลาดคู่ค้า FTA ที่ขยายตัวดี ได้แก่ อาเซียน ขยายตัว 8% จีน ขยายตัว 6% ออสเตรเลีย ขยายตัว 7% ญี่ปุ่น ขยายตัว 33% และเกาหลีใต้ ขยายตัว 11%

ปัจจุบันสินค้ากลุ่มของว่างทานเล่นของไทยทุกรายการ (พิกัดศุลกากร 1704 18 และ 1905) สามารถส่งออกไปประเทศคู่ค้า FTA 14 ประเทศ โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ได้แก่ อาเซียน จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮ่องกง และชิลี

ส่วน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย และเปรู ได้ยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่ให้ไทยแล้ว แต่ยังคงเก็บภาษีนำเข้าในบางรายการ อาทิ ญี่ปุ่น เก็บภาษีนำเข้าขนมปังกรอบ 0.3% บิสกิตหวาน 20.4% และแครกเกอร์และคุกกี้ 15% และ เกาหลีใต้ เก็บภาษีนำเข้าขนมปังกรอบ 5% และเบเกอรี่ ระหว่าง 5-8% เป็นต้น

ทั้งนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า จากงานวิจัยของ Mordor Intelligence มีการคาดการณ์ว่า ตลาดกลุ่มอาหารว่าง จะมีมูลค่าถึง 560 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2571 มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยถึง 17% ต่อปีอีกด้วย

ที่มา : กรมเจจาการค้าระหว่างประเทศ

]]>
1496825
อินเดียกำลังพิจารณาห้ามส่งออก 4 แร่หายากสำคัญ จากปัจจัยเรื่องความมั่นคงของประเทศ https://positioningmag.com/1441648 Sun, 20 Aug 2023 07:42:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441648 อินเดียเตรียมพิจารณาออกมาตรการใหม่ นั่นก็คือห้ามส่งออก 4 แร่หายากสำคัญ โดยให้เหตุผลว่าแร่ธาตุเหล่านี้มีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวต่อจากการแบนห้ามส่งออกข้าวเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

Business Standard สื่อธุรกิจในประเทศอินเดีย รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า รัฐบาลอินเดียพิจารณาแบนการส่งออกแร่หายาก (Rare Earth) สำคัญ 6 ชนิด ซึ่งถือเป็นความเคลื่อนไหวต่อจากการห้ามส่งออกข้าวในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

แร่หายากที่รัฐบาลอินเดียเตรียมพิจารณาแบนการส่งออกได้แก่ ลิเทียม เบริลเลียม ไนโอเบียม แทนทาลัม ซึ่งแร่เหล่านี้มีประโยชน์ตั้งแต่การนำไปใช้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ใช้สำหรับพัฒนาอุปกรณ์ด้านทหาร ไปจนถึงใช้ในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอินเดียอาวุโสที่ไม่ระบุตัวตนได้กล่าวว่า รัฐบาลกำลังวางแผนที่จะห้ามการส่งออกแร่ธาตุเหล่านี้ เนื่องจากมีความสำคัญในอุตสาหกรรมพลังงาน และยังมีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ รวมถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้วย

สำหรับอินเดียไม่ใช่ประเทศแรกที่มีโอกาสแบนการส่งออกแร่เหล่านี้ ก่อนหน้านี้ไม่กี่เดือนจีนได้แบนการส่งออกโลหะสำหรับผลิตชิปมาแล้ว รวมถึงแบนการส่งออกแร่หายากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริการวมถึงพันธมิตร

นอกจากนี้ยังมีอินโดนีเซียที่แบนการส่งออกนิกเกิลมาแล้ว โดยให้เหตุผลว่าต้องการที่จะให้ผู้ผลิตที่ใช้แร่ธาตุดังกล่าวเข้ามาตั้งโรงงานในประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และสร้างการจ้างงานในประเทศ

นอกจากแร่หายากแล้ว เมื่อเดือนที่ผ่านมา อินเดียเพิ่งจะแบนการส่งออกข้าว เนื่องจากข้าวในประเทศมีราคาสูงขึ้น และต้องการให้ราคาในประเทศนั้นคงตัวมากกว่านี้ ซึ่งแดนภาระตะนี้ถือว่ามีสัดส่วนในการส่งออกข้าวมากถึง 40% เป็นรองจากประเทศจีนเท่านั้น

หลังจากกรณีของประเทศอินเดีย หรือแม้แต่จีนแล้ว มีความเป็นไปได้ว่าหลังจากนี้เราอาจเห็นหลายประเทศที่มีแร่ธาตุสำคัญ อาจใช้มาตรการห้ามส่งออก โดยให้เหตุผลถึงด้านความมั่นคง หรือไม่แล้วก็ด้วยปัญหาด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบริษัทต่างๆ ทั่วโลกที่ต้องการใช้แร่ธาตุเหล่านี้ไม่น้อย

]]>
1441648
Unicharm ชูจุดขาย Made in Japan เเข่งสินค้าจีน เพิ่มยอดส่งออกตลาดเอเชีย-ไทย เท่าตัว https://positioningmag.com/1353420 Sun, 26 Sep 2021 09:56:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353420 ‘Unicharm’ เดินเกมเเข่งสินค้าจีน ชูจุดขาย ‘Made in Japan’ ปรับยอดส่งออกหน้ากากอนามัย เพิ่มเป็นเท่าตัว ภายในปี 2023 รับความต้องการในเอเชียพุ่ง จับกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง โดยเฉพาะในไทย อินโดฯ เเละเวียดนาม

Nikkei Asia รายงานว่า Unicharm (ยูนิชาร์ม) เเบรนด์ผู้ผลิตของใช้ส่วนบุคคลจากญี่ปุ่น ที่มีสินค้าติดตลาดอย่างหน้ากากอนามัย ผ้าอนามัย เเละผ้าอ้อม ฯลฯ มีเเผนจะเพิ่มการส่งออกเป็นเท่าตัว ไปยังตลาดเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม พร้อมจะขยายตลาดในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีรายได้สูง

ที่ผ่านมา บริษัทจัดจำหน่ายหน้ากากอนามัยรุ่น Cho-Kaiteki และ Cho-Rittai 3D Mask ได้ถึง 1.3 พันล้านชิ้นในปีที่แล้ว เเละมีการวางขายในต่างประเทศประมาณ 10% โดยส่วนใหญ่ผลิตในญี่ปุ่น

สำหรับกลยุทธ์เพื่อชิงตลาดครั้งนี้ Unicharm จะมีการปรับแพ็กเกจใหม่ ขยายโลโก้ Made in Japan ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เพื่อชูจุดเเข็งจากชื่อเสียงคุณภาพสินค้าที่ผลิตในญี่ปุ่น ดีไซน์ให้สวมใส่สบาย เน้นการป้องกันมลพิษเเละโควิด-19 ไปพร้อมๆ กัน

หน้ากากอนามัยของ Unicharm เเพงกว่าราคาเฉลี่ยในตลาดเอเชียอื่นๆ ถึง 5 เท่า โดยบริษัทมุ่งเป้าไปที่กลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ปานกลางสูง ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยในเขตเมือง

ความต้องการสวมใส่หน้ากากที่มีคุณภาพสูงยังมีอยู่มาก แม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าก็ตามตัวแทนของบริษัทระบุ

ก่อนที่จะเกิดวิกฤตโควิด บริษัทพยายามจะทำตลาดหน้ากากอนามัยในต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ เเละตอนนี้ได้ผู้บริโภคก็หันมาสวมหน้ากากอนามัย ด้วยความจำเป็นที่ต้องป้องกันไวรัส

โดยในปีที่แล้ว Unicharm เปิดให้โรงงานตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศที่พุ่งสูงขึ้นเเละเริ่มติดตั้งเครื่องจักรเเละอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับส่งออกไปต่างประเทศ

ทั้งนี้ ในตลาดอินโดนีเซียและไทย Unicharm ครองส่วนแบ่งสูงสุดในกลุ่มผ้าอ้อมเด็กเเละผ้าอ้อมผู้ใหญ่ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยของผู้หญิง

ล่าสุด Unicharm ได้ตั้งเป้าเพิ่มยอดขาย เป็น 1.4 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มอีกกว่า อีก 90% ภายในปี 2030 ซึ่งรายได้จากการส่งออกจะมีสัดส่วนมากถึง 70% ทำให้ต้องเร่งพัฒนาเพื่อเเข่งขันในตลาดนี้ให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการชิงตลาดกับสินค้าที่ราคาถูกกว่ากับจีน

โดยแม้ดีมานด์ของหน้ากากอนามัยในทั่วโลกในช่วงโรคระบาดจะพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ เเต่ส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่ยังตกอยู่เป็นของสินค้าจากจีน

ข้อมูลของบริษัทวิจัย Euromonitor และหน่วยงานส่งออกของญี่ปุ่น ระบุว่า ปี 2020 ตลาดหน้ากากอนามัยทั่วโลกเติบโต 3 เท่า ส่วนในอาเซียนโตขึ้นถึง 5 เท่า โดยสินค้าจากจีนครองส่วนแบ่งในตลาดโลกเพิ่มขึ้นเป็น 74% จากเดิม 39%

 

ที่มา : Nikkei Asia 

]]>
1353420
สภาพัฒน์ หั่นเป้าจีดีพีไทย ปี 64 เหลือ 0.7-1.2% ฟื้นตัว ‘อย่างช้าๆ’ ต้องเร่งคุมการระบาด https://positioningmag.com/1346823 Mon, 16 Aug 2021 05:33:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346823 สภาพัฒน์ฯ เเถลงจีดีพีไตรมาส 2 ขยายตัว 7.5% จากฐานที่ต่ำเเละอานิสงส์ส่งออก มองเศรษฐฏิจไทยยังไม่ถดถอยในทางเทคนิค เเต่กำลังขยายตัวลดลงเรื่อยๆ เเละมีเเนวโน้มฟื้นตัว ‘อย่างช้าๆ’ ปรับลดประมาณการจีดีพีทั้งปีนี้ เหลือ 0.7 -1.2% เเนะรัฐฉีดวัคซีน-เยียวยาให้ทั่วถึง เร่งคุมการระบาดให้ได้ในไตรมาส 3 

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เเถลงว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ขยายตัว 7.5% ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง 2.6% ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY)

และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2564 อยู่ที่ 0.4% (QoQ_SA) รวมครึ่งแรกของปี 2564 เศรษฐกิจไทย ขยายตัวที่ 2%

โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของการลงทุนรวม 8.1% ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัว 27.5% สาขาอุตสาหกรรมขยายตัว 16.8% สาขาขนส่งขยายตัว 11.6% 

เศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกขยายตัวได้ 2% นั้นเป็นผลมาจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว เเละส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวในภาคการส่งออก มาตรการเยียวยา และกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ

อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 38.8 จากระดับ 42.5 ในไตรมาสก่อนหน้า

การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้น การบริโภคภาคเอกชน เริ่มกลับมาขยายตัว ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐชะลอลง และการส่งออกบริการลดลง

ด้านการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว โดยคาดว่าปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในไทยประมาณ 1.5 แสนคน จากประมาณการเดิมที่ราว 5 แสนคน

โดยรวมครึ่งแรกของปี 2564 การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลง 17.2% ต่อเนื่องจากการลดลง 37.1% ในช่วง 4 ครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง 99.4% และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่  12.20%

เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ในระดับหนึ่ง ในทางเทคนิคถือว่ายังขยาย และไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอย แต่มีโมเมนตัมที่ทำให้การขยายตัวลดลงจากการระบาดที่รุนเเรง ตั้งเเต่ช่วงเดือน เม..ที่ผ่านมา

ขณะที่อัตราการว่างงานง อยู่ที่ 1.9% ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 2% ในไตรมาสก่อนหน้า และ 2%ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ 2.4% ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 16.4 หมื่นล้านบาท) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ 2.47 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 8,825,097.8 ล้านบาท คิดเป็น 56.1% ของ GDP

ลดเป้าจีดีพีปี 64 โตเฉลี่ย 1% ต้องเร่งคุมโควิดให้ได้ในไตรมาส

สำหรับเเนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวราว 0.7–1.2 (มีค่ากลางอยู่ที่ 1%) ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ จากการลดลง 6.1% ในปี 2563 แต่เป็นการปรับลดจาก 1.5 – 2.5% ในการประมาณการครั้งก่อน

ทั้งนี้ การประเมินดังกล่าว มีขึ้นภายใต้สมมติฐานที่คาดว่า ตัวเลขการติดเชื้อโควิดรายใหม่ จะผ่านจุดสูงสุดได้ปลายเดือน ส..นี้ และจะลดลงช่วงปลายเดือนก.. 64 เเละอาจะมีการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ในไตรมาสสุดท้ายของปี

ปัจจัยเสี่ยง : การขยายตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังมีข้อจำกัดสำคัญๆ ได้เเก่

1) การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 ที่มีความรุนแรงและยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง

2) ข้อจำกัดด้านฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจท่ามกลางการว่างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงและได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดระลอกใหม่

3) ภาคการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการระบาดในพื้นที่การผลิตรวมทั้งปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่การผลิตและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

4) ความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก

ปัจจัยบวก : เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2564 ยังมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวอย่างช้าๆโดยได้รับการสนับสนุนจาก

1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก

2) แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายลงทุนและมาตรการเศรษฐกิจของภาครัฐ

3) การปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของรายได้ภาคเกษตร

4) ฐานการขยายตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ

คาดว่ามูลค่าการส่งออก สินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ จะขยายตัว 16.3% การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 5% , 1.1% และ 4.7% ตามลำดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัว 8.7% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยคาดว่าจะ อยู่ในช่วง 1.0 – 1.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 2.0% ของ GDP

Photo : Shutterstock

เเนะรัฐกระจายวัคซีน เยียวยาให้ทั่วถึง ออกมาตรการหนุนฟื้นตัว

ด้านข้อเสนอเเนะของสภาพัฒน์ ในการบริหารเศรษฐกิจช่วงที่เหลือของปี 2564 มี 7 ประเด็นที่ รัฐควรให้ความสำคัญ คือ

1) การควบคุมสถานการณ์การระบาดให้อยู่ในวงจำกัด ลดการแพร่เชื้อในครัวเรือนชุมชนและกลุ่มแรงงาน เร่งรัดจัดหาและการกระจายวัคซีนอย่างเพียงพอและทั่วถึง

2) การช่วยเหลือเยียวยา ประชาชน แรงงาน และภาคธุรกิจในช่วงที่การระบาดของโรคมีความรุนแรง ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการสร้างงานใหม่ และมาตรการพัฒนาทักษะแรงงาน พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมในลักษณะเฉพาะเจาะจงให้กับผู้ประกอบการธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบรุนแรง

3) การดำเนินมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อสถานการณ์การระบาดผ่อนคลายลงให้ความสำคัญกับมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวภายในประเทศ

4) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า ควบคุมการแพร่ระบาดในฐานการผลิตที่สำคัญ เร่งแก้ไขปัญหาขาดแรงงานต่างชาติในภาคการผลิต สร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ

(5) การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ

6) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน เช่น สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่อแนวทางการควบคุมการระบาดภายในประเทศ ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้เกิดการลงทุนจริง เน้นมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก อำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุน

7) การรักษาบรรยากาศทางการเมืองและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

 

อ่านรายละเอียดฉบับเต็ม : ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 2/2564 และแนวโน้มปี 2564

]]>
1346823
จับตา ‘คลัสเตอร์โรงงาน’ หากคุมไม่อยู่ โควิดลุกลาม-ยืดเยื้อ ฉุด ‘ส่งออก’ เสียหาย 1.9 แสนล้าน https://positioningmag.com/1344693 Fri, 30 Jul 2021 10:29:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344693 โจทย์ใหญ่ ‘คลัสเตอร์โรงงานหากคุมไม่อยู่ โควิดลุกลามยืดเยื้อ เสี่ยงกระทบภาคส่งออกตัวหลักฟื้นเศรษฐกิจไทยต้องสะดุด เสียหายถึง 1.9 แสนล้านบาท ฉุดการเติบโตต่ำกว่า 7%  ชะลอดีมานด์ตลาดอาเซียน เเนะรัฐเร่งทำ Bubble and Sealed ฉีดวัคซีนให้แรงงานภาคการผลิตโดยเร็ว 

ข้อมูลล่าสุดจาก Thai Stop Covid โดยกรมอนามัย ระบุว่า นับตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนกรกฎาคม 2564 มีโรงงานผลิตที่ต้องเผชิญกับปัญหาการติดเชื้อโควิดแล้วมากถึง 1,607 โรงงาน เป็นโรงงานขนาดใหญ่ 67% ซึ่งมีแรงงานจำนวนมาก มีทั้งโรงงานผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศและป้อนตลาดต่างประเทศ 

คลัสเตอร์โรงงาน จึงเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ นอกเหนือไปจากแคมป์ก่อสร้าง

โรงงานส่วนใหญ่ที่พบปัญหาการติดเชื้อจะอยู่ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยางพาราและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ

โดยประเทศไทยมีโรงงานใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้มากถึง 11,637 แห่ง มีแรงงาน 1.96 ล้านคน และมีมูลค่าตลาดต่อปีเท่ากับ 8.87 ล้านล้านบาท มีสัดส่วนส่งออกกว่า 57% และจากการที่เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานค่อนข้างมาก เมื่อมีผู้ติดเชื้อจึงมีโอกาสที่จะเกิดการแพร่กระจายสูง ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้มาตรการปิดโรงงานหยุดกระบวนการผลิตชั่วคราวได้ 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า หากมีการปิดคลัสเตอร์โรงงาน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมข้างต้นเป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อควบคุมการระบาด จะก่อให้เกิดการสูญเสียมูลค่า 3.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 4% ของมูลค่าตลาด 

สำหรับอุปทานสินค้าป้อนตลาดจากโรงงานในอุตสาหกรรมอาหารยานยนต์ ยางพาราและพลาสติก จะได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานเร็วที่สุด เพราะมีสินค้าคงคลังน้อยกว่าช่วงปกติ

ดังนั้น หากไม่สามารถควบคุมการระบาดคลัสเตอร์โรงงานได้ ภาครัฐต้องมีการล็อกดาวน์โรงงานเพิ่มขึ้น หรือขยายระยะเวลาปิดโรงงานออกไป คาดว่าจะทำให้ปัญหา Supply Disruption ชัดเจนมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกที่เป็นเครื่องยนต์หลักในการฟื้นเศรษฐกิจครั้งนี้ 

นอกจากสินค้าส่งออกทั้ง 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเเล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจอาเซียนได้รับผลกระทบจากการเผชิญกับยอดผู้ติดเชื้อโควิดใหม่เพิ่มสูงขึ้นมากขึ้น โดยเฉพาะ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ทำให้ประเทศเหล่านี้ต้องกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั้งประเทศ ส่งผลต่อความต้องการสินค้าส่งออกจากไทยในช่วงครึ่งปีหลัง

การส่งออกใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม คิดเป็น 2 ใน 3 ของมูลค่าการส่งออกไปตลาดอาเซียน ซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท

เเนะทำ ‘Bubble and Sealed’ ในโรงงาน เร่งฉีดวัคซีน สกัดความเสียหาย 

เมื่อพิจารณาประเทศคู่ค้าหลัก ทั้งสหรัฐฯ จีน และยุโรป ที่เศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนต่อเนื่อง สะท้อนจากการส่งออกไปตลาดคู่ค้าหลักในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ที่ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ถึง 23.4% และมีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่อง

เหล่านี้ จะช่วยชดเชยผลกระทบจากการชะลอตัวลงของตลาดอาเซียนที่ในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวได้ 11.2% ส่งผลให้การส่งออกรวม 5 กลุ่มอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง

ประกอบกับ หากสามารถเร่งหยุดยั้งการระบาดของคลัสเตอร์โรงงานได้เร็ว จะหนุนให้ภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยทั้งปี 2564 ขยายตัวได้ในระดับสูงที่ 9.4% เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อน

เเต่หากไม่สามารถควบคุมคลัสเตอร์โรงงานได้ ทำให้กระบวนการผลิตหยุดไปอีก 2 สัปดาห์ จะเกิดความเสียหาย 1.9 แสนล้านบาท เป็นปัจจัยฉุดการส่งออกทั้งปีโตได้เพียง 6.8%

ttb analytics เเนะว่า เพื่อลดการระบาดและลุกลามของคลัสเตอร์โรงงาน รัฐต้องมีกระบวนการเร่งตรวจหาและคัดแยกผู้ติดเชื้อออกจากโรงงาน เเละการทำ Bubble and Sealed เพื่อควบคุมดูแลรักษาผู้ติดเชื้อในโรงงานไม่ให้แพร่กระจายออกไป

ต้องเร่งฉีดวัคซีนให้กับแรงงานภาคการผลิตที่มีจำนวนมาก ถือเป็นมาตรการเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือดำเนินการ เพื่อให้ภาคการผลิตและส่งออกของไทยยังรักษาอัตราการเติบโตได้ต่อเนื่อง ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว

 

 

]]>
1344693
จุดเปลี่ยน เมื่อโลก ‘ไม่สนใจ’ ไทย นักลงทุนหาย ส่งออก-ผลิตเทคฯ ล้าหลัง ติดหล่มคอร์รัปชัน https://positioningmag.com/1343221 Tue, 20 Jul 2021 12:32:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343221 เมื่อไทยไม่น่าดึงดูดส่งสัญญาณต่างชาติเทขายหุ้นต่อเนื่อง นักลงทุนไทยหนีไปต่างประเทศกว่า 3 แสนล้าน การลงทุน FDI ลดลงเรื่อยๆ ติดหล่มคอร์รัปชัน สูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านส่งออกผลิตเทคโนโลยีล้าหลัง-ตกยุค ทำเเค่รับจ้างผลิต เวียดนามเเซงขึ้นมาชิงส่วนเเบ่งตลาด เเนะรัฐต้องเร่งส่งเสริม 4 ด้าน เพราะ ‘ถึงเวลาต้องเปลี่ยน’ 

KKP Research กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ออกบทวิเคราะห์ จุดเปลี่ยนการส่งออก เมื่อโลกเริ่มไม่สนใจไทยอีกต่อไป โดยจับสัญญาณความสนใจการลงทุนที่ลดลงในหลายมิติ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

มิติแรก คือ การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น ตลาดหุ้น ที่นักลงทุนต่างชาติมีสัญญาณขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันนักลงทุนในไทยก็เริ่มออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในปี 2021 ที่ในไตรมาส 1 นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในต่างชาติแล้วกว่า 3 แสนล้านบาท

มิติที่สอง คือ การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) พบว่าในปัจจุบันต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาค ในขณะที่บริษัทไทยก็เริ่มออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน

มิติที่สาม เป็นหนึ่งในส่วนสำคัญ คือ การสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก โดยในปี 2021 การส่งออกทั่วภูมิภาคขยายตัวอย่างแข็งแกร่งตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวได้เร็ว แต่สัญญาณที่เราเห็น คือ การส่งออกของไทยฟื้นตัวได้ช้ากว่าหลายประเทศในโลก

“โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทย มีสัดส่วนของสินค้าส่งออกที่ใช้เทคโนโลยีต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง ซึ่งสะท้อนว่าไทยมีคู่แข่งที่น่ากลัวเพิ่มขึ้น และต่างชาติกำลังมีความต้องการสินค้าไทยลดน้อยลง” 

สินค้าส่งออกไทย กำลังจะ ‘ตกยุค’ 

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ความสามารถในการแข่งขันที่ ‘ลดลง’ มาจากปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยที่ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ดังต่อไปนี้

สาเหตุในชั้นแรก เกิดจากสินค้าส่งออกหลักของไทยปัจจุบันกำลังเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ โดย สินค้าใน 5 กลุ่มหลัก คือ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ สินค้าเกษตร และปิโตรเคมี มีสัญญาณชะลอตัวลงหรือไม่สามารถขยายตัวได้ดีเท่ากับในอดีต

เมื่อพิจารณาความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Revealed Comparative Advantage) พบว่าสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว มีความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงชัดเจนที่สุด

[เวียดนามชิงส่วนเเบ่งตลาดโลก เเซงไทย]

ส่วนแบ่งตลาดโลกในกลุ่มสินค้าหลักทั้งหมดเริ่มคงที่ในระยะหลัง ในขณะที่ประเทศคู่แข่งอย่าง ‘เวียดนาม’ มีส่วนแบ่งตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นและแซงไทยในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดของสินค้ากลุ่มนี้ค่อนข้างคงที่ คือ 1.42% ในปี 1995 และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.45% ในปี 2018

“ขณะที่เวียดนาม เริ่มจากไม่มีสินค้าส่งออกกลุ่มนี้เลยในปี 1995 กลับมีส่วนมีส่วนแบ่งตลาดถึง 4.1% ในปี 2018 สอดคล้องกับโครงสร้างการส่งออกของเวียดนามที่มีการพัฒนาต่อเนื่อง”

และในปัจจุบันมีการส่งออกสินค้าในกลุ่มโทรศัพท์แบบเครื่องและพกพาถึงประมาณ 20% ของการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ส่วนแบ่งตลาดโลกในสินค้าเกษตรของเวียดนามเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนอยู่ที่ระดับ 1.48% ในระดับใกล้เคียงกับไทยที่ 1.99% ในปี 2018

[ผลิตเทคฯ ล้าหลัง ]

ยิ่งไปกว่านั้นสินค้าส่งออกของไทยหลายอย่างกำลังเผชิญความท้าทายจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ และปัจจัยสนับสนุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศที่เริ่มแย่ลงเรื่อย ๆ เช่น

1) สินค้าอิเลกทรอกนิกส์ ที่ไทย ‘ไม่มีการส่งออก’ ใหม่ ๆ เช่น เช่น ชิปหรือเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ที่กำลังเป็นที่ต้องการทั่วโลก และไทยยังเป็นฐานการผลิต Hard Disk Drive เป็นหลักซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ เช่น Solid State Drive

2) ‘เครื่องใช้ไฟฟ้า’ ที่ได้รับอานิสงส์จากการลงทุนทางตรงจากญี่ปุ่น เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลงที่ชัดเจนขึ้น และบริษัทญี่ปุ่นเริ่มมีกำไร

3) ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบเก่า ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า

4) สินค้าเกษตรกำลังเผชิญหน้ากับคู่แข่งที่มากขึ้น ในขณะที่ผลิตภาพการผลิตของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ

5) อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีความเสี่ยงจากต้นทุนที่อาจสูงขึ้นในอนาคต ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่เริ่มมีปริมาณการผลิตลดลงเรื่อยๆ

ไม่ได้เป็นเจ้าของ ไม่มีเทคขั้นสูง ทำแค่ ‘รับจ้างผลิต’ 

สาเหตุในชั้นที่สอง ไทยไม่มีสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง และทำหน้าที่เพียงรับจ้างผลิต เมื่อพิจารณาโครงสร้างการเติบโตของสินค้าส่งออกไทยในช่วงกว่า 25 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีการเติบโตในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นกลางเฉพาะรถยนต์

“ไม่มีทิศทางการพัฒนาไปสู่การส่งออกในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่ชัดเจน เมื่อเทียบกับต่างประเทศเเล้ว ไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่น้อยกว่าภูมิภาค คือ 19%” 

เมื่อเทียบกับการส่งออกทั้งหมดเท่านั้นในปี 2019 เทียบกับเวียดนามที่ 28% และเอเชียที่ 26% ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการเติบโตเฉลี่ยในช่วงปี 2010-2019 ในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เพียง 2.2% ขณะที่เอเชียโตเฉลี่ยถึง 6.6% โครงสร้างการส่งออกที่ยังเป็นสินค้าแบบเก่าทำให้ในช่วงที่ผ่านมา การส่งออกไทยฟื้นตัวได้ช้ากว่าหลายประเทศในภูมิภาค

อีกประเด็นที่น่ากังวล คือ ประเทศไทยทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตสินค้าและไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มจากการผลิต (Value added) ที่บริษัทไทยสร้างได้ พบว่าอยู่ในสัดส่วนคงที่มาโดยตลอด สะท้อนว่าในช่วงที่ผ่านมายังไม่เกิดกระบวนการถ่ายโอนเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาสู่ประเทศไทย

นอกจากนี้ ปัจจัยเชิงโครงสร้างอื่น ๆ โดยเฉพาะประเด็นการเข้าสู่ สังคมสูงอายุ’ ที่เลี่ยงไม่ได้ จะเป็นอีกปัจจัยลบต่อการเติบโตระยะยาวของเศรษฐกิจ ทั้งมิติขนาดของตลาดและความพร้อมของแรงงาน ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น การขาดการลงทุนเพื่อวิจัยและพัฒนาใหม่ ๆ ทำให้ความน่าสนใจในการลงทุนในไทยลดน้อยลงไป

ผูกขาดสินค้า ติดหล่มคอร์รัปชัน

สาเหตุในชั้นสุดท้าย คือ นโยบายของรัฐยังไม่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระยะยาว เมื่อพิจารณาจากดัชนีความสามารถในการแข่งขันที่จัดทำโดย IMD (World Competitiveness Index) ไทยอยู่ในลำดับที่ 40 ในปี 2019 ซึ่งแม้ไทยไม่อยู่ในลำดับที่แย่มาก แต่มีอุปสรรคใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาสั้น ๆ และส่งผลไปถึงโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่สามารถพัฒนาไปตามเทรนด์โลก ทั้งในช่วงที่ผ่านมาและต่อเนื่องถึงอนาคต

ไม่ว่าจะเป็นการผูกขาดของตลาดสินค้าในประเทศจาก ‘ปัญหาการคอร์รัปชัน’ การเอื้อประโยชน์พวกพ้องทำให้ไม่เกิดการลงทุนในสินค้ากลุ่มใหม่ ๆ เพราะไม่คุ้มค่าสำหรับบริษัท ปัญหาด้านคุณภาพแรงงาน ที่แรงงานยังไม่ถูกพัฒนาไปเป็นแรงงานที่มีทักษะสูง และไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและท้าทายของเศรษฐกิจระยะยาว ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐในไทยยังไม่ให้ความสำคัญในการมีโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล และการปฏิรูปกฎระเบียบที่เหมาะสมพร้อมดึงดูดการลงทุน

Photo : Shutterstock

พึ่งพาท่องเที่ยวไม่ได้อีกต่อไป

จากปัญหาความสามารถในการแข่งขันเหล่านี้ อาจกำลังผลักให้เศรษฐกิจไทยก้าวเข้าสู่ ‘จุดเปลี่ยน’ ในอย่างน้อยใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ

เศรษฐกิจไทยในอดีตที่พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวอาจไม่ได้ผลอีกต่อไปในอนาคต

หากประเทศไทยยังไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างการส่งออกที่ชัดเจนอาจทำให้สินค้าส่งออกไทยไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าเดิม หรืออาจหดตัวลงในบางกรณี เช่น หากทั่วโลกหันไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทน จะกระทบภาพการส่งออกรถยนต์และการจ้างงานในประเทศอย่างมหาศาล

ดุลการค้าของไทยอาจจะเกินดุลลดลงและสร้างความเสี่ยงกับฐานะการเงินระหว่างในระยะยาว

ในวันนี้หลายฝ่ายยังเชื่อว่าดุลบุญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลอยู่จะกลับมาเกินดุลจากนักท่องเที่ยวที่จะทยอยกลับมาในปี 2564 และ 2565

KKP Research ต้องการชี้ให้เห็นว่ายังมีความเสี่ยงใน ‘กรณีเลวร้าย’ ที่ความสามารถในการแข่งขันของไทยแย่ลงไปเรื่อย ๆ และไทยเสียส่วนแบ่งตลาดในสินค้าส่งออกหลักของไทย ทำให้รายได้ของคนในประเทศลดลงและไทยต้องหันมานำเข้าสินค้าที่เคยส่งออก เป็นไปได้ที่จะทำให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเปลี่ยนจากเกินดุลเป็นขาดดุล สร้างความเสี่ยงให้เงินบาทเปลี่ยนทิศทางจากแข็งค่าเป็นอ่อนค่าลงได้

อย่างไรก็ตาม สินค้าส่งออกไทยยังมีข้อได้เปรียบในแง่ความซับซ้อนของสินค้าที่อยู่ในระดับค่อนข้างดีและสามารถต่อยอดสู่สินค้าใหม่ ๆ ได้ แนวทางการพัฒนาสินค้าของไทยยังสามารถต่อยอดจากสินค้ากลุ่มเดิมทั้งจากการเร่งให้เกิดการถ่ายโอนเทคโนโลยีมาสู่ผู้ประกอบการไทย และการขยายการผลิตสินค้าไปในกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีใกล้เคียงเดิม โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้ายานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เครื่องจักร และเคมีภัณฑ์

เเนะรัฐส่งเสริม 4 ด้าน 

KKP Research เเนะนำว่าเพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีได้ ภาคเอกชนต้องมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน และรัฐก็มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทาง ส่งเสริม และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญใน 4 ด้าน คือ

1) การพัฒนาคุณภาพปัจจัยการผลิต ลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ พัฒนาการศึกษาและคุณภาพแรงงานให้มีทักษะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ

2) การเข้าถึงตลาดและเพิ่มขนาดของตลาด เพื่อขายสินค้าผ่านการทำข้อตกลงการค้าเสรี อย่างไรก็ตาม ไทยยังต้องพัฒนาเศรษฐกิจและสินค้าในประเทศให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก

3) โครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ทันสมัย เช่น การขนส่ง การปรับปรุงกฎระเบียบด้านภาษีและการใช้สิทธิทางภาษีให้วางแผนและเข้าใจง่าย การเตรียมความพร้อมด้าน ICT และ High Speed Broadband

4) สถาบันเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการส่งเสริมการแข่งขันที่เสรี ปราศจากการคอร์รัปชัน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในสินค้ากลุ่มใหม่ ๆ ได้

KKP Research ระบุว่า ในระยะต่อไปรัฐจำเป็นต้องดำเนินโยบายเชิงรุกมากขึ้นเพื่อพูดคุยและทำความเข้าใจความต้องการของนักลงทุน ออกนโยบายเพื่อดึงดูดการลงทุนต่างชาติรายใหม่ ๆ ที่ตรงจุดเพื่อสร้างจุดเริ่มต้นให้ไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ๆ ได้

“แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอาจใช้เวลายาวนานกว่าจะเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตามมา การไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจและหวังพึ่งพาเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจเดิม ๆ อาจไม่ใช่คำตอบสำหรับวันนี้” 

 

 

 

 

]]>
1343221
GDP สิงคโปร์ ขยายตัว 14.3% ในไตรมาส 2 โตสูงสุดในรอบ 11 ปี ‘ภาคบริการ-ก่อสร้าง’ คัมเเบ็ก https://positioningmag.com/1342303 Wed, 14 Jul 2021 09:58:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342303 กระจายวัคซีนที่ได้ผลดี เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ผลักดันให้ เศรษฐกิจสิงคโปร์กลับมาฟื้นตัวต่อเนื่องการผลิตบริการก่อสร้างคัมเเบ็ก โดยล่าสุดตัวเลข GDP ในไตรมาส 2/2021 ขยายตัวที่ 14.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา หลังเผชิญวิกฤตโรคระบาดใหญ่

โดยเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2010 ช่วงหลังวิกฤตการเงินโลก ที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสิงคโปร์ ณ ตอนนั้น ขยายตัวได้ถึง 18.6%

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของสิงคโปร์ ยังไม่กลับมาเท่าช่วงก่อนโควิด-19 เพราะเเม้จะเป็นฟื้นตัวระดับสูง เเต่ก็เป็นผลจากการมีฐานที่ต่ำในปีก่อน ซึ่งเมื่อเทียบกับตัวเลขในไตรมาสแรกของปีนี้ ก็จะพบว่า GDP สิงคโปร์ ยังคงหดตัวที่ 2% 

ท่ามกลางยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้น ทำให้รัฐต้องออกข้อจำกัดต่างๆ พร้อมมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมที่เข้มงวดในช่วง 4 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนพ.ค.ถึงเดือนมิ.ย.ของปีนี้ รวมไปถึงการห้ามรับประทานอาหารในร้านอาหารด้วย

เเต่ทางอุตสาหกรรมใหญ่ๆ อย่างภาคการผลิต บริการเเละก่อสร้าง เริ่มกลับมาขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด

โดยกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ เเถลงว่า ในภาคการผลิต มีการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 18.5% จากปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และวิศวกรรมพรีซิชั่น ที่ขยายตัวได้อย่างเเข็งเเกร่งจากอุปสงค์ความต้องการอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเศรษฐกิจโลกกลับมาฟื้นตัว

ขณะที่ภาคบริการ กลับมาขยายตัวได้ 9.8% เเละภาคการก่อสร้าง ขยายตัวได้ถึง 98.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

Photo : Shutterstock

แม้ว่าภาคธุรกิจเหล่านี้ จะยังคงมีอุปสรรคจากข้อจำกัดด้านการเดินทางและการรวมตัวทางสังคม ไปจนถึงการขาดเเคลนเเรงงานต่างชาติเเต่ก็มีสัญญาณฟื้นตัวได้ดี โดยการเติบโตของภาคบริการนั้น ได้กลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส

Alex Holmes นักเศรษฐศาสตร์ของ Capital Economics มองว่าวัคซีนโควิด จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้สิงคโปร์กลับมาเปิดพรมแดนได้อีกครั้งอย่างค่อยเป็นค่อยไป’ เพื่อส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว ให้มีการเติบโตจากปัจจัยภายใน พร้อมๆ กับการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์และเวชภัณฑ์ที่กำลังไปได้ดีจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น

สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูงสุดของโลก โดยกว่า 70% ของจำนวนประชากรในประเทศ 5.69 ล้านคน ได้รับวัคซีนโควิด-19 แล้วอย่างน้อย 1 โดส และกว่า 41% ได้รับวัคซีนครบ 2 โดส

ทั้งนี้ รัฐบาลสิงคโปร์คาดการณ์ว่าภาพรวมเศรษฐกิจทั้งปีนี้ จะเติบโต 4% ถึง 6% ส่วนประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ตอนนี้ก็มีเวียดนามที่เพิ่งประกาศตัวเลข GDP ในไตรมาส 2/2021 ว่าเพิ่มขึ้นในระดับ 6.6%

 

ที่มา : Nikkei Asia , CNBC

 

]]>
1342303