หุ้นไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 17 Jan 2024 02:17:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 InnovestX แนะนำกลยุทธ์การลงทุนปี 2024 เน้นแนว VI ให้เป้า SET Index ในช่วง 1,650-1,700 จุด https://positioningmag.com/1458912 Wed, 17 Jan 2024 01:45:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458912 บล. อินโนเวสท์ เอกซ์ (InnovestX) แนะนำกลยุทธ์การลงทุนในปี 2024 คือ “A Year of Value Investing” โดยให้เหตุผลจากตลาดหุ้นไทยนั้นมีหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่ามาก และเป็นโอกาสดีในการลงทุนระยะยาว ขณะเดียวกันก็แนะนำให้กระจายพอร์ตการลงทุนไปยังต่างประเทศเนื่องจากมีทางเลือกที่หลากหลายกว่า

InnovestX แนะนำกลยุทธ์การลงทุนในปี 2024 คือ “A Year of Value Investing” หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า VI ซึ่งป็นโอกาสดีในการลงทุนระยะยาว ขณะเดียวกันก็แนะนำให้กระจายพอร์ตการลงทุนเไปยังต่างประเทศด้วย เนื่องจากมีสินทรัพย์ทางเลือกที่หลากหลายกว่า

สำหรับมุมมองเศรษฐกิจโลก InnovestX มองว่า เศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้ว สหรัฐฯ ยุโรป กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 และจะทำให้ธนาคารกลางของสหรัฐฯ (Fed) ลดดอกเบี้ย 1% ในครึ่งปีแรก ในขณะที่เศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยแรงหนุนจากการผ่อนคลายนโยบายการเงิน แต่ยังเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะเงินฝืด

ในส่วนของเศรษฐกิจไทยในปี 2024 ทาง InnovestX มองว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่าง Digital Wallet เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้ โดยคาดว่า GDP ไทยจะเติบโตได้มากถึง 4.1% อย่างไรก็ดีถ้าหากมาตรการนี้ไม่ผ่าน คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 3.2% เท่านั้น

ขณะเดียวกันในปีนี้ InnovestX ยังมองว่ายังเป็นปีที่ตลาดหุ้นโลกและไทยยังคงมีความผันผวน ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นจาก 3 ปัจจัย ได้แก่

  1. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจเกิดภาวะถดถอยในช่วงครึ่งปีแรก ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่จะลดลงเร็วตามที่ตลาดการเงินกำลังคาดหรือไม่ โดยหากเป็นไปตามคาดจะส่งผลต่อดีต่อตลาดหุ้นเกิดใหม่และตลาดหุ้นไทย (การลดลงช้ากว่าคาดอาจทำให้ตลาดหุ้นผิดหวัง) ด้านเศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างที่เป็นอุปสรรคสำคัญทำให้การเติบโตชะลอตัวลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่นโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นจะเริ่มหยุดนโยบายผ่อนคลายเมื่อไร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่นและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน และยังรวมถึงความคืบหน้าของโครงการ Digital Wallet ว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายของรัฐบาลหรือไม่
  2. เรื่อง Geopolitics ถือเป็นปัจจัยที่จะสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินเพิ่มขึ้นบางช่วงเวลา เนื่องจากมีโอกาสกระทบต่อเศรษฐกิจโดยผ่านทั้งทางเงินเฟ้อ หากความขัดแย้งกระทบต่อราคาพลังงานและอาหาร รวมถึงการขนส่งสินค้า
  3. ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ ซึ่งเรื่องดังกล่าวคาดการณ์ได้ยากแต่ไม่ควรมองข้าม

สำหรับเป้าหมายของ SET Index ในปี 2024 ทาง InnovestX คาดการณ์ว่าจะอยู่ในช่วง 1,650-1,700 จุด โดยจุดเข้าซื้อที่สำคัญอยู่ที่ 1,400-1,450 จุด

นอกจากนี้ InnovestX ยังแนะนำให้นักลงทุนกระจายพอร์ตการลงทุนไปยังต่างประเทศ เนื่องจากยังมีความสำคัญ และยังเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุน เนื่องจากมีสินทรัพย์ทางเลือกที่หลากหลายกว่า แม้ว่าจะมีนโยบายการเก็บภาษีซึ่งสร้างความกังวลให้กับตลาดก็ตาม

]]>
1458912
ทรีนีตี้ มองปีหน้าหุ้นไทยชนะหุ้นโลกได้ ให้เป้าหมายดัชนีอยู่ที่ 1560 – 1650 จุด แนะนำลงทุนหุ้นปันผลสูง https://positioningmag.com/1449290 Wed, 25 Oct 2023 15:53:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449290 บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด มองเทรนด์การลงทุนปีหน้าว่าหุ้นไทยชนะหุ้นโลกได้ ให้เป้าหมายดัชนีอยู่ที่ 1560 – 1650 จุด แนะนำลงทุนหุ้นปันผลสูง โดยกลุ่มที่แนะนำลงทุนได้แก่ กลุ่มค้าปลีก กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม กลุ่มโทรคมนาคม

วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางการลงทุนโค้งสุดท้ายของปีว่า ปีนี้หุ้นไทยทำผลตอบแทนได้แย่กว่าตลาดหุ้นหรือสินทรัพย์อื่นๆ เนื่องจากปัจจัยของผลตอบแทนพันธบัตร ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากธนาคารกลางต่างๆ ปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา

นอกจากนี้กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ยังมองว่าอีกสาเหตุสำคัญของหุ้นไทยให้ผลตอบแทนที่แย่คือปริมาณเงินตามความหมายแคบ (M2) ของไทยต่ำสุดในรอบ 20 ปี ส่งผลทำให้สภาพคล่องในประเทศไทยลดลง

ขณะเดียวกันเขามองว่าในช่วงปลายปี เม็ดเงินที่ลงทุนในตลาดหุ้นประเทศต่างๆ ในเอเชียจะมีความผันผวนมากทั่วภูมิภาค

สำหรับปัจจัยบวกในการลงทุนในช่วงหลังจากนี้

  1. คาดการณ์การเติบโตของกำไรต่อหุ้นหรือ EPS ของหุ้นไทยเติบโตที่ 15% ในปี 2024 สู่ระดับ 113 บาทต่อหุ้น จากที่เติบโตติดลบ -5.4% ในปี 2023
  2. มีโอกาสมากกว่า 60% ที่ Fed Fund Rate ถึงจุดสูงสุดไปแล้วที่ 5.25-5.5% และมีโอกาสต่ำกว่า 40% ที่ Fed อาจจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง ในช่วงเดือน ธ.ค. 2023
  3. ทาง ทรีนีตี้ คาดการณ์ GDP ไทยเติบโตที่ 3.6% ในปี 2024 เมื่อเปรียบเทียบกับ 3% ในปี 2023 ในขณะที่ประเทศอื่น เช่น จีน สหรัฐ Euro ต่างมีการเติบโตที่ถดถอยในปี 2024 เมื่อเปรียบเทียบ 2023
  4. ธนาคารแห่งประเทศไทยมีมุมมองเชิงบวกเพิ่มขึ้นอย่างมากต่อแนวโน้มอุปสงค์ภายในประเทศ สาเหตุหลักจากมาตรการลดค่าครองชีพและมาตรการกระตุ้นการบริโภค
  5. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่แท้จริง (เมื่อลบเงินเฟ้อแล้ว) หรือ Real Bond Yields ของไทยจะสูงกว่าของสหรัฐฯ เกือบ 0.5% ค่าเงินบาทอาจจะแข็งค่าขึ้น
วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล – กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด (ภาพจากทางบริษัท)

ทางด้านของปัจจัยลบในการลงทุนนั้น เช่น อัตราผลตอบแทนเงินปันผลของตลาดหุ้นต่างๆ ทั่วโลก ยังต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ มาตรวัดความเสี่ยงตลาดหุ้นผ่าน VIX Index บ่งบอกว่าตลาดหุ้นโลกยังไม่ได้รวมความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างเต็มที่ รวมถึงความเสี่ยงที่ราคาน้ำมันดิบทะลุ 100 ดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่ปี 2024 บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ยังมองตลาดหุ้นไทยยังเป็นบวก เนื่องจากมูลค่าของตลาดหุ้นไทยถูกสุดในรอบ 15 ปี (ในเทอม PBV) และมองว่าดอกเบี้ยนโยบายของไทยทำจุดสูงสุดไปแล้ว อาจมีการปรับลดดอกเบี้ยในกลางปีหน้าได้ นอกจากนี้ยังเชื่อว่าหุ้นไทยในปีหน้าจะชนะผลตอบแทนหุ้นโลกได้

ตรงข้ามกับตลาดพันธบัตรของไทยในปี 2024 บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด คาดว่านักลงทุนอาจทำการขายออก เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลอินเดียเข้ามาอยู่ในดัชนีพันธบัตรรัฐบาลของ J.P. Morgan Government Bond Index ทำให้สัดส่วนของไทยที่แต่เดิมอยู่ที่ 10% ลดลงเหลือแค่ 8% เท่านั้น คาดว่าเม็ดเงินจะไหลออกราวๆ 170,000 ล้านบาท

สำหรับธีมการลงทุนในไตรมาส 4 นี้ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ แนะนำลงทุนในหุ้นกลุ่มที่จ่ายเงินปันผลในอนาคตสูง และค่า P/E ต่ำ รวมถึงเป็นหุ้นที่มีความผันผวนน้อยกว่าตลาด โดยกลุ่มที่แนะนำลงทุนได้แก่ กลุ่มค้าปลีก กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม กลุ่มโทรคมนาคม

]]>
1449290
เอเซีย พลัส มองหุ้นไทยไตรมาส 4 มีลุ้นเป็นขาขึ้น จากปัจจัยมูลค่ายังถูก-กำไรบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มฟื้นตัว https://positioningmag.com/1446789 Wed, 04 Oct 2023 17:31:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446789 บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด มองหุ้นไทยในไตรมาส 4 ของปีนี้มีลุ้นขาขึ้นจากปัจจัยบวก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่ใกล้จบรอบ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเป้าดัชนีหุ้นไทยในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 1,524 จุด

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด ได้ให้มุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นไทยไตรมาส 4 ของปี 2023 มีโอกาสได้เห็นทิศทางกลับเป็นขาขึ้น แม้ว่าจะมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเกิดสภาวะถดถอย แต่มองว่าการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ใกล้จบ และน่าจะมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 5.5%

ในมุมมองของเศรษฐกิจจีน เทิดศักดิ์มองว่าภาคอสังหาน่าจะใช้เวลาหลายปีในการฟื้นตัว แต่ภาคอุตสาหกรรมอื่นฟื้นตัวดีมาก ถ้าหากไปดูตัวเลขเศรษฐกิจ

ขณะเดียวกันรองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัยของ เอเซีย พลัส ได้กล่าวถึงสภาวะที่ตลาดหุ้นไทยที่มีการเทขายในช่วงหลายวันที่ผ่านมา รวมถึงค่าเงินบาทของไทยที่อ่อนค่านั้นเกิดจากสาเหตุมาจากการปรับสมดุลในเรื่องภาคการเงิน ซึ่งเป็นผลของผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอเมริกาที่นักลงทุนมองว่าจะมีการคงอัตราดอกเบี้ยยาวนานกว่านั้น

ผลที่เกิดขึ้นทำให้เกิดสภาวะตลาดผันผวนจากเม็ดเงินไหลออกจากที่ที่มีผลตอบแทนต่ำ อย่างเช่น ไทย ฯลฯ ไหลกลับไปยังสหรัฐฯ ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า คาดว่าต้องใช้เวลาอีกสักพัก โดยเทิดศักดิ์ชี้ว่าถ้าค่าเงินบาทเริ่มนิ่งถึงจะสะท้อนภาพว่าเป็นยังไงหลังจากนี้

เขายังแนะนำว่าถ้าหากเป็นนักลงทุนที่เน้นซื้อขายระยะสั้น ช่วงนี้ถือว่าเสี่ยงมาก ถ้านักลงทุนระยะยาวเหมาะกับการซื้อหุ้น โดยมองว่าปัจจัยพื้นฐานตอนนี้ถูกมาก โดยอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) เหลือเพียง 1.46 เท่า จากผลของดัชนีหุ้นไทยนับตั้งแต่ต้นปีปรับตัวลดลงมาแล้วกว่า 10%

นอกจากนี้ เอเซีย พลัส ยังมองประเด็นในไทยนั้นเห็นพัฒนาการเชิงบวกมากขึ้นเรื่อยๆ จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการลดราคาพลังงาน ฟรีค่าธรรมเนียม VISA ความคาดหวังจากโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทในระยะถัดไป รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่กำลังเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่น

สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปีนี้มองกำไรบริษัทจดทะเบียนเติบโตจาก โดยปัจจัยหลักจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดยเป้าหมายดัชนีหุ้นไทยในปีนี้ เอเซีย พลัส มองไว้ที่ 1,524 จุด

เอเซีย พลัส ยังมองว่าหุ้นไทยมีโอกาสจำกัดในการปรับตัวลดลงอีก และปัจจุบันถือว่าอยู่ในโซนที่หุ้นราคาถูก แนะนำนักลงทุนทยอยสะสมหุ้นที่มีพื้นฐานเด่น ราคาน่าสะสม และมีปัจจัยเฉพาะตัวหนุนให้มีโอกาสฟื้นตัวเด่นกว่าตลาด เช่น AOT, SCGP, PTTEP, TOP, BCPG, TU และ III

ขณะที่เหตุการณ์ที่มีการกราดยิงในห้างสรรพสินค้าชื่อดัง เอเซีย พลัส มองว่ามีผลต่อความรู้สึกของนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยแน่ๆ โดยส่วนใหญ่ถ้ามองจากอดีตผลกระทบเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ​ 2 อาทิตย์ ตอนนี้มองว่าหุ้นที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดนเทขายมาก และมองเห็นโอกาสที่จะฟื้นตัวกลับมาได้

]]>
1446789
หลักทรัพย์บัวหลวงมองเป้า SET Index สิ้นปี 1,625 จุด ชี้ปัจจัยบวกด้านการเมืองหนุนหุ้นไทยฟื้นตัวได้ https://positioningmag.com/1442778 Tue, 29 Aug 2023 14:03:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1442778 บล.บัวหลวง มองเป้าดัชนีหุ้นไทยสิ้นปีที่ 1,625 จุด ชี้ปัจจัยบวกด้านการเมือง ภาคการส่งออกที่อาจฟื้นตัวในช่วงสิ้นปี หรือแม้แต่ภาคการท่องเที่ยวไทย ส่งผลทำให้หุ้นไทยกลับมาฟื้นตัวได้ ขณะเดียวกันก็มองว่าขาลงหุ้นไทยอยู่ในจุดจำกัดแล้ว

ชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ กรรมการผู้จัดการ สายงานค้าหลักทรัพย์ บล.บัวหลวง (BLS) ได้กล่าวถึงมุมมองในเรื่องตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมาว่าตลาดต่างประเทศเช่น เยอรมัน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ถือว่าเป็นขาขึ้น ดูดีกว่าหุ้นไทย ซึ่งล่าสุดกำไรจดทะเบียนของหุ้นไทยนั้นไม่เติบโต ส่งผลทำให้นักวิเคราะห์ปรับเป้าหมายหุ้นไทยลงมาแม้แต่ตลาดหุ้นจีนก็ปรับลงมาเหมือนกัน

เขายังกล่าวถึงประเด็นบวกคือเงินเฟ้อลดลงทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาพลังงานกับราคาอาหาร โดย BLS มองราคาน้ำมันดิบ West Texas อยู่ราวๆ 70-90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และมองว่าราคาน้ำมันจะปรับขึ้นไปแรงๆ ไม่น่ามีแล้ว กำลังการผลิตสำรองของน้ำมันดิบสามารถรองรับได้ แตกต่างกับอดีต

ขณะเดียวกัน ชัยพรมองเศรษฐกิจเอเชียในปี 2023-2024 การเติบโตของเศรษฐกิจเอเชียยังเติบโตได้อย่างโดดเด่น และอัตราเงินเฟ้อยังลดลง ส่งผลทำให้อัตราจับจ่ายใช้สอยได้ประโยชน์มากขึ้น เขายังคาดว่าปีหน้าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางน่าจะปรับลดลงได้

ทางด้านเศรษฐกิจจีน ถ้าหากหดตัวหรือฟื้นตัวช้ากว่าคาดหรือมีปัจจัยทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของจีนแย่ไปกว่าเดิม ชัยพรมองว่าจะส่งผลกระทบกับไทยทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยว การลงทุน หรือแม้แต่การดัมพ์ราคาสินค้าสู่ประเทศอาเซียนหรือตลาดโลก ซึ่งสินค้าบางอย่างจากจีนเป็นคู่แข่งโดยตรงกับผู้ผลิตในไทยทำให้บริษัทไทยค้าขายยากขึ้น

ชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ – กรรมการผู้จัดการ สายงานค้าหลักทรัพย์ บล.บัวหลวง

สำหรับเศรษฐกิจไทย เขามองว่าอยู่ในช่วงท้ายๆของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยของเอเชียกับไทยอยู่ในจุดสูงสุด มองคุณภาพหนี้ ในการปล่อยสินเชื่อ ธนาคารยังปล่อยแบบระมัดระวัง จะเห็นว่าคำขอการกู้ซื้ออสังหาถูกปัดตกมากถึง 50% ช่วงเวลาปกติจะไม่เกิน 25% ขณะที่ระดับหนี้ภาคครัวเรือนไทยยังสูงกว่า 80%

ชัยพรมองว่าเรื่องนี้ถือเป็นโจทย์ที่ยากสำหรับรัฐบาลชุดใหม่ เพราะหนี้ภาคครัวเรือนและหนี้ภาครัฐเมื่อเทียบ GDP อยู่ในระดับชนเพดาน เมื่อเทียบกับรัฐบาลในอดีตที่หนี้ต่ำกว่าสามารถออกนโยบายได้มากกว่า ดังนั้นการกระตุ้นหรือการกู้เงินจะทำได้ค่อนข้างลำบากและต้องระมัดระวัง

ข่าวดีของเศรษฐกิจไทยที่ชัยพรมองคือ ภาคการส่งออกของไทยที่อาจดีขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ รวมถึงภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดีเขาคาดว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาไทยจะอยู่ที่ราวๆ 25 ล้านคน สาเหตุจากนักท่องเที่ยวจีนที่ออกนอกประเทศช้ากว่าคาด เนื่องจากค่าตั๋วเครื่องบินและค่าโรงแรมมีราคาแพงขึ้น ทำให้นักท่องเที่ยวจีนเน้นท่องเที่ยวภายในประเทศมากกว่า

สำหรับปัจจัยภายในประเทศ และต่างประเทศที่น่ากังวลในเชิงการลงทุน ไม่ว่าจะเป็น

  • เรื่องนโยบายภาครัฐ การบริหารเงิน Digital Wallet หัวละ 10,000 บาทสำหรับคนไทยอายุ 16 ปีขึ้นไป
  • ความพยายามแก้ไขกฎหมายให้มีการจัดเก็บกำไรของผู้ที่ลงทุนในตลาดหุ้น รวมถึงการเก็บภาษีซื้อขายหุ้น
  • การปรับค่าแรงขั้นต่ำ
  • นโยบายด้านพลังงานน้ำมันและไฟฟ้า
  • เศรษฐกิจจีน

มุมมองสำหรับหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปี 2023 กรรมการผู้จัดการ สายงานค้าหลักทรัพย์ บล.บัวหลวง มอง Sentiment หุ้นไทยดูดีมากขึ้นหลังจากได้รัฐบาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมองว่าโอกาสที่หุ้นไทยจะตกลงเหลือน้อยมาก โดยมองกรอบด้านล่างดัชนีหุ้นไทยที่ 1,500 จุด ส่วนกรอบบนอยู่ที่ 1,625 จุด

หุ้นที่ได้ประโยชน์หลังจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นการส่งออก กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคภายในประเทศที่จะได้รับประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจที่ค่อยๆ ฟื้นตัว และนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล กลุ่มธนาคาร กลุ่มธุรกิจด้านการท่องเที่ยว รวมถึงหุ้นกลุ่มจัดเก็บหนี้

ขณะที่หุ้นกลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยง กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาคก่อสร้าง กลุ่มขนส่งเดินเรือ รวมถึงหุ้นกลุ่มปิโตรเคมี

สำหรับการจัดพอร์ตลงทุน BLS แนะนำลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้ภาคเอกชน Investment Rating สัดส่วน 32% ทองคำ 13% ส่วนที่เหลือแนะลงทุนในตลาดหุ้น 55% โดยตลาดหุ้นต่างประเทศที่เราชอบ คือ เวียดนาม ฮ่องกง และสหรัฐฯ

]]>
1442778
Asia Plus มองหุ้นไทยหลังเลือกตั้ง ได้ลุ้นเม็ดเงินต่างชาติ แม้ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก https://positioningmag.com/1427701 Tue, 18 Apr 2023 17:36:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427701 บล.เอเซีย พลัส (Asia Plus) มองหุ้นไทยหลังเลือกตั้งในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2023 ยังมีความผันผวนจากปัจจัยภายนอก แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะกำลังฟื้นตัวก็ตาม ขณะเดียวกันก็มองว่าหุ้นไทยยังได้ลุ้นเม็ดเงินจากนักลงทุนชาวต่างชาติ จากกำไรของบริษัทจดทะเบียนไทยที่ยังเติบโตได้

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส ได้กล่าวถึงปัจจัยภายนอกสำคัญที่กระทบกับเศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลก นั่นก็คือการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมาอย่างรวดเร็ว

เขาชี้ว่าการที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาได้ขึ้นดอกเบี้ย ผลกระทบนั้นเป็นสิ่งที่กำลังเริ่มขึ้น ซึ่งผลกระทบจะทำให้หลายบริษัทที่ปรับตัวไม่ได้ เริ่มมีปัญหา รวมถึงบางสถาบันการเงินที่มีพอร์ตสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูงนั้นทำให้นักลงทุนเริ่มหวาดกลัวในเรื่องความเสี่ยงของสถาบันการเงินเหล่านี้

ขณะเดียวกันความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะถดถอยล่าสุดของสหรัฐคือ 65% นอกจากนี้ยังมีเรื่องของเงินเฟ้อ แม้ว่าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว แต่ก็ยังประมาทไม่ได้ เนื่องจากแรงกระตุ้นเงินเฟ้อจากปัจจัยต่างๆ ทำให้เทิดศักดิ์มองว่าภาพรวมของปัจจัยภายนอกดูไม่ค่อยสดชื่นเท่าไหร่

กลับมามองที่เศรษฐกิจไทยแล้วนั้น เขาชี้ว่าในรอบที่ผ่านมาเห็นการเติบโตได้หลังจากปิดประเทศไปเป็นเวลาเกือบ 2 ปี และเศรษฐกิจไทยนั้นเติบโตจากฐาน GDP ที่ต่ำ และยังมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรองรับ รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เข้ามาไทยล่าสุดมากถึง 6.6 ล้านคน เทิดศักด์มองว่านักท่องเที่ยวกลับมาเร็วกว่าคาดด้วยซ้ำ มองว่าอาจเป็นปัจจัยบวกที่กระตุ้นเศรษฐกิจ

เขาชี้ว่าประเทศไทยไม่น่าจะเกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากข้อมูลล่าสุดโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะถดถอยตอนนี้อยู่ที่ 15% เท่านั้น

ไม่เพียงเท่านี้ในไตรมาส 2 ในไทยยังมีปัจจัยเลือกตั้งที่จะเข้ามาสนับสนุน เขาได้ชี้ข้อมูลว่าหลังจากเลือกตั้งเสร็จสิ้นในช่วง 1 เดือน ตามสถิติดัชนีหุ้นไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นบวกได้ราว 3.81% แต่เขามองว่าในรอบการเลือกตั้งครั้งนี้อาจไม่เหมือนเดิมได้

รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย ของ Asia Plus ยังชี้ว่าตลาดหุ้นไทยจะฟื้นขึ้นอยู่กับผลของการเลือกตั้ง เขามองว่านักลงทุนมองถึงไอเดียใหม่จากรัฐบาลใหม่ ถ้าหากมีพรรคใดพรรคหนึ่งครองเสียงข้างมาก ก็อาจเป็นปัจจัยผลักดันหุ้นไทย แต่ถ้าหากเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรคเขาชี้ว่าผลอาจออกมาแบบเดิมได้

ถ้าหากมองไปยังนโยบายการเมืองต่างๆ แล้วนั้น เขาชี้ว่านโยบายสำคัญๆ เช่น นโยบายลดภาระของประชาชน เพิ่มเงินในกระเป๋า และรวมถึงสวัสดิการต่างๆ แต่ก็เทิดศักดิ์ก็มีความกังวลถึงนโยบายต่างๆ ว่าการใส่เงินเข้าไปแล้วไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ และเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจไม่เกิดขึ้นจริง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาคือหนี้สาธารณะที่เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ Asia Plus ยังมองว่าจะมีเม็ดเงินไหลออกมาลงทุนในตลาดหุ้น ไทย จีน หรือไต้หวัน เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ขณะที่ตลาดหุ้นไทยคาดว่ามีกำไรเติบโตในปี 2023 ราวๆ 12.6% ทำให้ได้ลุ้นเม็ดเงินไหลเข้าไทยได้ โดยมองหุ้นไทยซื้อขายอยู่ในกรอบ 1,544 ถึง 1,630 จุด

อย่างไรก็ดีความเสี่ยงของหุ้นไทยที่ Asia Plus มองคือปัจจัยภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ รวมถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาหรือยุโรปที่อาจถดถอยนั้นส่งผลต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้

]]>
1427701
“สารัชถ์ รัตนาวะดี” GULF แชมป์เศรษฐีหุ้นไทย 3 สมัย รวย 1.7 แสนล้านบาท https://positioningmag.com/1365873 Wed, 08 Dec 2021 15:50:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365873 ตลาดหุ้นไทยฟื้นหลัง COVID-19 คลี่คลาย หนุนความมั่งคั่งเศรษฐีหุ้นไทยปี 2564 พุ่ง 3.3 แสนล้านบาท “สารัชถ์ รัตนาวะดี” ครองหุ้นกัลฟ์ขึ้นแท่นแชมป์เศรษฐีหุ้นไทย 3 สมัย รวย 1.7 แสนล้านบาท รวยขึ้น 5.7 หมื่นล้าน

“นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ” นั่งเศรษฐีหุ้นอันดับ 2 ถือหุ้นบางกอกแอร์เวย์ส-โรงพยาบาลกรุงเทพ/นนทเวช รวมมูลค่า 5.8 หมื่นล้านบาท “นิติ โอสถานุเคราะห์” ทายาทโอสถสภา โชว์พอร์ตหุ้นมูลค่า 5.6 หมื่นล้านบาท ติดอันดับ 3

วารสารการเงินธนาคาร ร่วมกับ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการจัดอันดับเศรษฐีหุ้นไทยติดต่อกันปีนี้เป็นปีที่ 28 แล้ว โดยวัดจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ประเภทบุคคลธรรมดาในประเทศที่ถือหุ้นสูงสุด 10 อันดับแรกของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาด mai ตามการปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นล่าสุดก่อนวันที่ 30 กันยายน 2564

สำหรับผลการจัดอันดับเศรษฐีหุ้นไทยปี 2564 ใน วารสารการเงินธนาคาร ฉบับเดือนธันวาคม 2564 ปรากฏว่า แชมป์เศรษฐีหุ้นไทยปี 2564 ยังคงเป็นของ สารัชถ์ รัตนาวะดี กรรมการ รองประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF ซึ่งเป็นการครองแชมป์ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 โดยถือหุ้นมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับ 1 รวม 173,099.73 ล้านบาท รวยเพิ่มขึ้น 57,809.73 ล้านบาท หรือ 50.14% ซึ่งสารัชถ์เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ของ GULF ในสัดส่วน 35.55%

มูลค่าความมั่งคั่งของ สารัชถ์ เศรษฐีหุ้น 3 สมัย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ที่ได้ก้าวเข้ามาเป็นแชมป์เศรษฐีหุ้นไทยเป็นปีแรก โดยสารัชถ์ผู้ถือหุ้นมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับ 1 มีความมั่งคั่งรวม 120,959.99 ล้านบาท ต่อมาในปีที่ 2 ความมั่งคั่ง 115,289.99 ล้านบาท และทะยานสู่ 173,099.73 ล้านบาท ในปีนี้ จากราคาหุ้นของ GULF ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อปี 2560

เศรษฐีหุ้นอันดับ 2 ได้แก่ นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ หรือ หมอเสริฐ เจ้าของกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพและสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส โดยถือครองหุ้นมูลค่ารวม 58,217.83 ล้านบาท รวยเพิ่มขึ้น 8,138.52 ล้านบาท หรือ 16.25%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 3 ในปีนี้ ยังคงเป็นของ นิติ โอสถานุเคราะห์ นักลงทุนรายใหญ่ ทายาทอาณาจักรโอสถสภา โดยถือครองหุ้นมูลค่ารวม 56,253.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,071.53 ล้านบาท หรือ 16.75% จากการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นที่อยู่ในพอร์ตลงทุนที่มีชื่อนิติเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรกในปีนี้

เศรษฐีหุ้นอันดับ 4 ได้แก่ สมโภชน์ อาหุนัย เจ้าของ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) กิจการธุรกิจพลังงาน จำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หลังจากหล่นไปอยู่ในอันดับ 8 เมื่อปีที่แล้ว โดยมีมูลค่าหุ้น EA ที่ถือครองในสัดส่วน 23.21% มูลค่า 53,026.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18,613.93 ล้านบาท หรือ 54.09%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 5 และ 6 ได้แก่ 2 เจ้าของ บมจ.เมืองไทยแคปปิตอล (MTC) หรือชื่อเดิมคือ เมืองไทยลิสซิ่ง โดย ดาวนภา เพ็ชรอำไพ ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 5 จากอันดับ 6 เมื่อปีที่แล้ว โดยถือหุ้น MTC ในสัดส่วน 33.96% มูลค่า 41,940 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,480 ล้านบาท หรือ 18.27% ส่วน ชูชาติ เพ็ชรอำไพ ขึ้นจากอันดับ 7 มาอยู่อันดับ 6 โดยถือครองหุ้นรวมมูลค่า 41,631.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,354.06 ล้านบาท หรือ 18.01%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 7 ได้แก่ วนรัชต์ ตั้งคารวคุณ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท ทีโอเอ ทายาทคนโตของอาณาจักรสี TOA หล่นมาอยู่อันดับ 7 จากอันดับ 4 เมื่อปีที่แล้ว โดยถือครองหุ้นรวมมูลค่า 35,100.85 ล้านบาท ลดลง 6,112.30 ล้านบาท หรือ 14.83%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 8 ปีนี้ ตกเป็นของ ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่ม บริษัท บี.กริม กลุ่มธุรกิจสัญชาติเยอรมันยักษ์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าแห่งธุรกิจพลังงาน, โรงไฟฟ้า, อุปกรณ์การแพทย์, เครื่องปรับอากาศ, คมนาคม และอสังหาริมทรัพย์ โดยขยับขึ้นจากอันดับ 10 เมื่อปีที่แล้ว จากการถือครองหุ้นมูลค่ารวม 26,028.87 ล้านบาท ลดลง 770.38 ล้านบาท หรือ 2.87%

เศรษฐีหุ้นอันดับ 9 ได้แก่ ณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ กรรมการผู้จัดการ บมจ.คาราบาวกรุ๊ป (CBG) ก้าวเข้ามาติดทำเนียบ TOP 10 เศรษฐีหุ้นไทย โดยขึ้นมาอยู่อันดับ 9 จากอันดับ 11 เมื่อปีที่แล้ว ถือหุ้น CBG ในสัดส่วน 21% มูลค่า 25,200 ล้านบาท รวยเพิ่มขึ้น 630 ล้านบาท หรือ 2.56% จากราคาหุ้น CBG ที่ยังคงปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เศรษฐีหุ้นอันดับ 10 ได้แก่ คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) กลับเข้าสู่ TOP 10 เศรษฐีหุ้นไทยอีกครั้ง โดยขึ้นมาอยู่ในอันดับ 10 หลังจากหล่นไปอยู่อันดับ 12 เมื่อปีที่แล้ว โดยหุ้นที่คีรีถือครองมีมูลค่ารวม 24,632.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,051.52 ล้านบาท หรือ 19.69%

ทั้งนี้ หลังจากปัจจัยลบต่างๆ ในปีที่ผ่านมาได้คลี่คลายลง ทำให้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกผ่านจุดต่ำสุดจากผลกระทบของ COVID-19 ไปแล้ว และเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลจากการระดมฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัส COVID-19 ที่ทำให้มีผู้ป่วยอาการหนักและผู้เสียชีวิตน้อยลง หลายประเทศเริ่มคลายมาตรการล็อกดาวน์เพื่อเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ทำให้มีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในตลาดหุ้นเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้น

โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 ซึ่งเป็นวันที่ใช้คำนวณมูลค่าความมั่งคั่งของเศรษฐีหุ้นไทยปี 2564 ปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 1,605.68 จุด จากปี 2563 ที่อยู่ในระดับ 1,237.04 จุด เพิ่มขึ้น 368.64 จุด คิดเป็น 29.80% ทำให้มูลค่าความมั่งคั่งของเศรษฐีหุ้นไทยในปี 2564 เพิ่มขึ้น 331,463 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม คงต้องติดตามสถานการณ์กันต่อไป เพราะล่าสุดมีการพบไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ใหม่โอไมครอน (Omicron) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลว่าอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำมากกว่าการกลายพันธุ์ของไวรัสในอดีต และอาจจะลดประสิทธิภาพของวัคซีนเจเนอเรชั่น 1 ลง ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจช้ากว่าที่คาดการณ์ และแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบมาถึงความมั่งคั่งในทำเนียบเศรษฐีหุ้นไทยปีหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

]]>
1365873
10 กลยุทธ์ลงทุนช่วงครึ่งปีหลัง 2564 จาก KBANK รับเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ‘หุ้นยุโรป’ โดดเด่น https://positioningmag.com/1338447 Wed, 23 Jun 2021 10:03:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338447 KBANK มองบวกเศรษฐกิจโลกปี 64 มีเเนวโน้มขาขึ้น จากเเรงหนุนฉีดวัคซีน ช่วงครึ่งปีหลังจะฟื้นตัวแบบขรุขระเเนะกลยุทธ์เพิ่มน้ำหนักลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะ ‘หุ้นยุโรปที่จะโดดเด่นต่อจากสหรัฐฯ เเละสินทรัพย์ทางเลือก ปรับลดทองคำเเละพันธบัตรรัฐบาล ส่วนหุ้นไทยยังน่าสนใจ เเต่ต้องจับตาการคุมโรคระบาดรับมือโควิดกลายพันธุ์

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การเร่งฉีดวัคซีน เดินหน้าเปิดเมือง รวมถึงนโยบายการเงินและการคลังที่ยังผ่อนคลาย เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจโลกปีนี้เติบโตได้ดี

เเต่การฟื้นตัวในแต่ละภาคธุรกิจรวมถึงภูมิภาคนั้นเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน ภาคบริการมีแนวโน้มนำการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง หลังจากที่การค้าและการบริโภคฟื้นตัวได้ดีก่อนหน้านี้ และมีแนวโน้มถึงจุดสูงสุดแล้ว

แต่ละประเทศก็ฟื้นตัวไม่พร้อมกัน จีนได้ฟื้นตัวนำหน้าไปแล้ว ตามมาด้วยสหรัฐฯ และตอนนี้มาที่ยุโรป ส่วนประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) น่าจะฟื้นตัวในลำดับถัดไป หากคุมโควิดได้

Photo : Shutterstock

เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ปรับขึ้นแบบ ‘ขรุขระ’ 

ภาพรวมเศรษฐกิจโลก น่าจะขยายตัวสูงสุดในไตรมาส 3 ของปีนี้ หลังกลุ่มประเทศพัฒนาเเล้ว เริ่มขยับขึ้นเข้าใกล้ระดับก่อนโควิด-19 มากขึ้น ส่วนภาพรวมการลงทุนในปีนี้ มีความแตกต่างจากปีก่อนค่อนข้างมาก

โดยทิศทางการฟื้นตัวของสินทรัพย์ต่างๆ โดยเฉพาะสินทรัพย์เสี่ยง จึงไม่ได้เป็นลักษณะ V Shape แบบในช่วงที่ผ่านมาแล้ว แต่จะเป็นการปรับตัวขาขึ้นแบบขรุขระ ที่ต้องเผชิญกับหลุมบ่อระหว่างทาง จึงต้องปรับมุมมองการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 

  • จีน : เศรษฐกิจจีนจะยังคงแข็งแกร่งในปีนี้ แต่มาตรการทางการเงินและการคลังจะเริ่มลดลงเพื่อลดความร้อนแรง ดังนั้นเราจะเห็นเศรษฐกิจจีนเติบโตในอัตราที่ชะลอลง 
  • สหรัฐฯ: การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2564 ได้รับแรงหนุนหลักจากสหรัฐฯ ซึ่งต่างจากช่วงที่ผ่านมาที่จีนเป็นส่วนสำคัญการเติบโตของเศรษฐกิจโลก 
  • ยุโรป: แม้ยุโรปจะเริ่มฉีดวัคซีนช้ากว่าสหรัฐฯ แต่ก็สามารถเร่งการฉีดวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะหนุนภาคบริการที่เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจยุโรป นอกจากนี้เศรษฐกิจยุโรป ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากทั้งวงเงิน Recovery Fund และธนาคารกลางยุโรปก็ยังคงมาตรการผ่อนคลาย 

ผู้บริหาร KBank Private Banking มองว่า การลงทุนระยะยาวผ่านการกระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์จะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนในระยะสั้น

โดยจะยังคงเน้นการลงทุนหุ้นในธีม Winner of New Economy, Health is Wealth, Save the World และ Laggard and Cyclical Upturns ที่ล้วนมีปัจจัยสนับสนุนเฉพาะ รวมไปถึงความสามารถในการคัดเลือกหุ้นของผู้จัดการกองทุนชั้นนำของโลก จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว  

เงินเฟ้อพุ่ง เเค่ ‘ชั่วคราว’ 

ด้าน ศิริพร สุวรรณการ Managing Director – Private Banking Financial Advisory Head ธนาคารกสิกรไทย ระบุว่า ความเสี่ยงสำคัญเป็นเรื่องการกระจายวัคซีนทั่วโลกยิ่งฉีดช้า เชื้อไวรัสยิ่งมีโอกาสกลายพันธ์สูง

อีกหนึ่งความความเสี่ยง คือ เศรษฐกิจที่เติบโตจนร้อนแรงเกินไป ทำให้ต้องถอนมาตรการทางการคลังและการเงินเร็วเกินกว่าที่ตลาดคาด

ส่วนตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก เป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากเป็นกาดีดตัวกลับของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในปีก่อน ที่ได้รับแรงกดดันจากการหยุดชะงักของเศรษฐกิจ ได้แก่ ราคาน้ำมัน ราคาทองแดง และราคาเหล็ก ฯลฯ

เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นเป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น แม้ว่าเงินเฟ้อจะเริ่มปรับเพิ่มขึ้น แต่ทั่วโลกยังคงอยู่ในยุคของเงินเฟ้อต่ำ” 

ขณะที่ความกังวลจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะเริ่มผ่อนคลายนโยบายและถอนสภาพคล่องนั้น ล่าสุดในการประชุม FOMC เดือนมิ.. Fed ได้ปรับเพิ่มประมาณการ GDP การจ้างงาน และเงินเฟ้อ สำหรับปี 2565 และ 2566 เพียงเล็กน้อยซึ่งเป็นการปรับให้สอดคล้องกับมุมมองของตลาดเท่านั้น

แต่การเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญจากการประชุม ได้แก่ การคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งภายในปี 2566 และการเริ่มหารือเกี่ยวกับการลดการซื้อสินทรัพย์แล้ว

อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามการประชุม FOMC อีกครั้งในช่วงเดือนส.. ที่จะเริ่มเห็นสัญญาณลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE) ลงในช่วงปี 2565 เเละจะเริ่มลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ตั้งแต่ต้นปลายปี 2565 เดือนละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 

คาดว่า ขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในช่วงกลางปี 2566 โดยการขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในปี 2566 ถือว่ามีโอกาสสูง และอยู่ในวิสัยที่เหมาะสม 

10 กลยุทธ์ลงทุนครึ่งปีหลัง

ตรีพล ภูมิวสนะ Managing Director – Private Banking Business Head แนะนำ 10 กลยุทธ์การลงทุนสำหรับช่วงครึ่งปี จากแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจ ได้แก่

  1. ลงทุนต่อเนื่องในสินทรัพย์เสี่ยง (Stay invested in risky assets) จากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีในปีนี้ จะช่วยหนุนกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียน รวมถึงแนวโน้มเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเพียงชั่วคราว จะยังหนุนสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นให้ไปต่อได้
  2. ลงทุนในหุ้นกลุ่มวัฏจักร และ Value ที่ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว (Capture the recovery with cyclical and value stocks) ปัจจุบันหุ้น Growth นั้นถูกซื้อขายที่ราคาสูงกว่าหุ้น Value อยู่มาก นอกจากนี้ แนวโน้มผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับสูงขึ้น จะเป็นแรงหนุนให้กับหุ้น Value มากกว่าหุ้น Growth
  3. อย่าพลาดการลงทุนในหุ้นยุโรป (Don’t miss Pan-European equities) เพราะหุ้นยุโรปและหุ้นอังกฤษมี ระดับ Valuation ที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับประเทศอื่น และมีศักยภาพการเติบโตของกำไรสูง
  4. ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจะปรับเพิ่มขึ้น (Yields to move up at a regular pace) โดยประเมินว่าผลตอบเเทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ 2% ณ สิ้นปี 2564 และ 2.5% ในช่วงปลายปี 2565 สอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวของดอกเบี้ยนโยบาย Fed
  5. ลงทุนในตราสารหนี้ที่ให้ดอกเบี้ยสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในจีน (Use carry strategies to generate yield) เพราะโดยเฉลี่ยตราสารหนี้จีนให้ผลตอบแทนมากกว่าตราสารหนี้สหรัฐฯ ที่มีอายุเท่ากันถึง 1.5% นอกจากนั้น ตราสารหนี้จีนจะได้ประโยชน์จากทิศทางเงินหยวนที่แข็งค่าอีกด้วย
  6. คงมุมมองบวกต่อค่าเงินหยวน และหาจังหวะเข้าซื้อค่าเงินยูโร (Remain overweight RMB and look for attractive entry points on EUR) เราคาดว่าเงินหยวนจะแข็งค่าสู่ระดับ 6.22 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี หนุนโดยส่งออกและดุลการชำระเงินที่แข็งแกร่ง ขณะที่ยูโรจะแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.23 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ยูโร ภายในสิ้นปีนี้
  7. คงมุมมองว่าดอลลาร์สหรัฐ จะอ่อนค่า (Remain slightly bearish on the dollar) จากข้อมูลในอดีต ดอลลาร์สหรัฐมักอ่อนค่ากว่ามูลค่าที่เหมาะสม เมื่อเศรษฐกิจโลกเติบโตได้ดี ดังเช่นในปัจจุบัน
  8. ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวลดลง (Remain bearish on gold) ทองคำจะถูกกดดันจากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ทั้งนี้ เราคาดว่า ณ สิ้นปีนี้ ราคาทองคำจะอยู่ที่ระดับ 1,600 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
  9. มองหุ้นโครงสร้างพื้นฐานให้ผลตอบแทนโดดเด่น (Infrastructure should outperform) หนุนโดยแผนการฟื้นฟูของสหรัฐฯ และยุโรป ที่พุ่งเป้าไปยังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก เราจึงคาดว่าราคาหุ้นกลุ่มนี้จะสามารถปรับขึ้นได้ดี หนุนโดยกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าต่อเนื่อง
  10. การลงทุนในบริษัทที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน จะเป็นกุญแจสำคัญของพอร์ตแห่งอนาคต (Sustainability is a key driver of portfolio performance) บริษัทที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนจากการปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจ เช่น บริษัทน้ำมันที่เปลี่ยนธุรกิจไปสู่การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์หรือระบบโซลาร์เซลล์แทน โดยในระยะยาว บริษัทเหล่านี้ถือเป็นผู้นำเทรนด์เศรษฐกิจในโลกอนาคต

สำหรับการหาโอกาสในการสร้างผลตอบแทนเพิ่มในช่วงตลาดที่หลากหลายและมีความผันผวนสูง เเนะให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน ‘สินทรัพย์ทางเลือก’ เช่น หุ้นนอกตลาดเเละ ‘กองรีท’ (REIT) ไปจนถึงกลยุทธ์การลงทุนแบบ Hedge Fund หรือ Structured Notes

ส่วนหุ้นกู้เอกชนจีน’ นั้น ดอกเบี้ยในฝั่งประเทศเกิดใหม่จะน่าสนใจกว่าประเทศพัฒนาแล้ว ตลาดหุ้นกู้จีนก็ยังมี
เสถียรภาพมากขึ้น โดยการลงทุนในหุ้นกู้จีนในบริษัทที่ปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง และมีการเติบโตของกำไรสุทธิที่ดีคาดว่าจะช่วงพยุงพอร์ตโดยรวมได้ดี

“การคัดสรรหุ้นกู้คุณภาพมีความสำคัญ ในทางกลับกัน ก็ให้ลดน้ำหนักการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เพราะจะได้รับผลกระทบจากบอนด์ยีลด์ขาขึ้นที่จะทำให้ราคาปรับลง รวมถึงอัตราผลตอบแทนก็ต่ำมาก อาจไม่สามารถชดเชยกับแนวโน้มราคาที่ปรับลงได้” 

ด้านภาพรวมตลาดหุ้นไทย มองว่ายังมีความน่าสนใจ เพราะราคาไม่แพงและบริษัทจดทะเบียนยังทำกำไรได้ พร้อมปัจจัยหนุนจากฝั่งยุโรป เเต่ก็ยังมีความท้าทายที่ต้องจับตาอย่างเรื่องการควบคุมโควิด-19 ระลอก 3 การกระจายวัคซีน และแผนการรับมือกับการกลายพันธุ์ ซึ่งหากสามารถเปิดประเทศได้ทันดีมานด์โลก ก็จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ เเต่ถ้าไม่ทันก็จะส่งผลกระทบหนัก โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวเเละบริการที่เป็นหนึ่งในเสาหลักสำคัญของไทย

 

]]>
1338447
มองตลาด IPO ในอาเซียนยัง ‘ร้อนเเรง’ จับตาครึ่งปีหลัง ‘หุ้นไทย’ มีแนวโน้มทำสถิติสูงสุด https://positioningmag.com/1337449 Thu, 17 Jun 2021 05:13:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337449 นักวิเคราะห์จาก Dealogic ประเมินตลาด IPO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงร้อนเเรงจับตาครึ่งปีหลัง หุ้นไทยโดดเด่นมีแนวโน้มทำสถิติสูงสุดในปีนี้

Ken Fong หัวหน้าฝ่ายวิจัยตลาดทุนหุ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Dealogic ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC ว่า ในปีนี้จำนวนการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก (IPO) ในตลาดหุ้นไทย มีแนวโน้มจะทำสถิติสูงสุด เมื่อเทียบกับตลาดอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประเทศไทยกำลังไปได้สวย และยังคงมีแนวโน้มที่ดีต่อจากปีที่แล้ว

จากข้อมูลของ Dealogic ระบุว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2021 มูลค่าดีล IPO ในตลาดหุ้นไทย อยู่ที่ 2.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เเละยังไม่มีทีท่าว่าจะอ่อนแรงลง ทำให้คาดการณ์ว่า IPO ในตลาดหุ้นไทยจะทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ได้ในปีนี้

ตามปกติเเล้ว ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีรายชื่อบริษัทที่เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ราว 30 รายต่อปี ส่วนใหญ่จะเลือกเข้าจดทะเบียนและซื้อขายในช่วงครึ่งปีหลัง

ประมาณ 70-80% ของการทำ IPO มักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 4 และ ไตรมาส 3 ของทุกปี” 

โดยหุ้น IPO ในประเทศไทย นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน มีการเข้าจดทะเบียนแล้ว 14 ราย คิดเป็นครึ่งหนึ่งของข้อมูลเชิงสถิติรายปี ซึ่งมีเม็ดเงินจากการทำ IPO สูงกว่าค่าเฉลี่ยของแต่ละปีที่ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐไปเรียบร้อยแล้ว

Fong มองว่า เเม้ผลกระทบจากวิกฤตโรคระบาด จะส่งผลต่อตลาดหุ้นหลายแห่ง แต่ไม่ได้สร้างความเสียหายต่อตลาด IPO มากนัก

สำหรับตลาด IPO ของประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็เป็นที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะตลาดฟิลิปปินส์ที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง เมื่อบริษัท ‘Monde Nissin’ ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ของประเทศนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาด ขณะที่ตลาดหุ้น IPO ในมาเลเซียและสิงคโปร์ อยู่ในภาวะค่อนข้างเงียบเหงา

Fong กล่าวเสริมถึงประเด็นที่น่าสนใจอย่าง ‘Very high one-day pop’ หรือหุ้น IPO ที่เป็นที่นิยมแค่วันเดียว คือเเม้ตลาดหุ้นในอาเซียนจะมีทิศทางที่ดี เเต่มักจะได้รับความสนใจเเค่วันที่เข้าซื้อขายวันเเรก

ยกตัวอย่างหุ้น IPO ในไทย เช่น หุ้นของบมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก หรือ OR ที่เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย ไปเมื่อเดือนก..ที่ผ่านมา โดยมีราคาซื้อขายวันแรกเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 62.5% และหุ้นของ บมจ.เงินติดล้อ หรือ TIDLOR ที่ราคาซื้อขายก็เพิ่มขึ้นประมาณ 25% จากราคา IPO ในวันเปิดตัว

โดยทั้ง 2 บริษัทดังกล่าว ติด 1 ใน 3 ของบริษัทจดทะเบียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมูลค่าเกิน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เขายืนยันว่า ช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ตลาดหุ้น IPO ในอาเซียนจะยังร้อนแรงต่อเนื่อง เเละการเสนอขายหุ้นขนาดใหญ่เหล่านี้ ก็มีส่วนช่วยกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ก้าวเข้ามาสู่ตลาด IPO ได้มากขึ้นเช่นกัน

 

ที่มา : CNBC , SET 

 

]]>
1337449
ปรากฏการณ์ DELTA หุ้นเด้งเเห่งปี 2020 พุ่งทะยาน…เหนือคำทำนาย https://positioningmag.com/1312243 Sun, 27 Dec 2020 18:41:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312243 DELTA ขึ้นเเท่นสุดยอดหุ้นเด็ดของปีนี้ไปอย่างไร้ข้อกังขา พุ่งทะยานขึ้นมาด้วยราคาที่เกินไขว่คว้า ทำ All Time High ดันมูลค่าบริษัทเกิน 8.5 เเสนล้านบาท ติดระดับท็อป 3 ตอนนี้เป็นรองเเค่บิ๊กน้ำมันอย่าง PTT เเละเจ้าท่าอากาศยานไทยอย่าง AOT เท่านั้น (จ่อเเซงในเร็วๆ นี้)

นับว่าเป็นปรากฏการณ์ใหญ่ของตลาดหุ้นไทยในรอบหลายปี เพราะ DELTA เป็นหุ้นเด้งเหนือความคาดหมาย’ ราคาเพิ่มขึ้นถึง 2,600% จากจุดต่ำสุดในเดือนมีนาคม เด้งขึ้นมาเเล้วกว่า 24 เด้ง ภายในเวลาเดือน ทะลุ 684 บาท (ณ วันที่ 25 .. 2020) 

ย้อนกลับไป เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2019 หุ้นของ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA ปิดที่ราคาเเค่ 53.50 บาท ไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากนัก เพราะผลกระกอบการในปีนั้นที่ชะลอตัวลง โดยมีกำไรสุทธิ 2,960 ล้านบาท ลดฮวบไปกว่าครึ่งจากปี 2018 ที่มีกำไรสุทธิ 5,137 ล้านบาท

ในช่วงต้นปี หุ้นของ DELTA ก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ไม่น้อย โดยเดือนมีนาคม ราคาหุ้นตกต่ำสุดถึงระดับ 27 บาท หลังถูกเทขายเช่นเดียวกับหุ้นตัวอื่นในตลาด ก่อนจะขยับขึ้นมาอยู่ในระดับ 50-200 กว่าบาท อยู่สักระยะ หลายคนไม่อาจคาดคิดว่าเมื่อถึงวันใกล้สิ้นปีนี้ ราคาจะพุ่งขึ้นมาเกิน 600 บาทได้

ณ วันที่ 25 .. 2020 มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ของ DELTA ขยับมาอยู่ที่ 853,209.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 786,474.10 ล้านบาท จากสิ้นปี 2562 อยู่ที่ 66,734.92 ล้านบาท ขึ้นเเท่นอันดับที่ 3 จากเคยอันดับที่ 54 เมื่อสิ้นปี 2019

วันที่ 28 ธันวาคม 2020 เวลาประมาณ 10.45 น. DELTA มีมูลค่าบริษัททะลุ 1 ล้านล้านบาทแล้ว จากราคาหุ้นละ 810 บาท ส่งผลให้มูลค่าบริษัทของ DELTA แซงหน้า AOT ขึ้นเป็นบริษัทมูลค่าสูงสุดอันดับ 2 ของประเทศ เตรียมจ่อเเซงเบอร์ 1 อย่าง ปตท.
เเม้ตอนนี้มาร์เก็ตเเคปจะใกล้เคียงกันมาก เเต่เมื่อดูกำไรจากผลประกอบการของ ปตท. กับ DELTA นั้น “ห่างกันมาก” โดยในปี 2019 ปตท. มีกำไรสุทธิราว 9.2 หมื่นล้านบาท ขณะที่ DELTA มีกำไรสุทธิเเค่ 2,960 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม เป็นไปตามที่หลายคนคาด หลังดีดไปจนสุดเพดาน ในวันที่ 29 ธันวาคม 2020 หุ้น DELTA เริ่ม “ผันผวนหนัก” เปิดตลาดเช้าติดลบที่ -11% ลงไปจุดต่ำสุดอยู่ที่ 428 บาทต่อหุ้นเเล้ว มูลค่าบริษัทหายไปหลายเเสนล้านบาท

Photo : deltathailand

DELTA ทำธุรกิจอะไรบ้าง ?

DELTA เป็นบริษัทลูกของ DELTA Electronics (Taiwan) ประเทศไต้หวัน ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์เพาเวอร์ซัพพลายและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ถูกนำใช้เป็นส่วนประกอบในหลายอุตสาหกรรม เช่น วงการพลังงาน อุปกรณ์สำนักงาน เครื่องมือแพทย์ รถยนต์และโทรคมนาคม ฯลฯ

จุดดึงดูดของ DELTA คือการเป็นผู้ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สําหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ยานยนต์เเห่งอนาคตที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐทั่วโลกเเละบริษัทเอกชนก็ทุ่มลงทุนในด้านนี้กันมหาศาล

การมาของเทรนด์โลกพลังงานสีเขียวก็เข้าทาง DELTA ไปเต็มๆ เพราะมีส่วนธุรกิจทั้งการผลิตสถานีชาร์จประจุไฟฟ้ารถยนต์ไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงาน พลังงานหมุนเวียน และมอเตอร์ไดรฟ์พลังงานสูง

รายได้ของ DELTA  เเบ่งตามผลิตภัณฑ์ ได้เป็น 4 ส่วน โดยอิงจากรายได้รวมของบริษัท เปี 2019 ที่ 51,896 ล้านบาท ดังนี้ 

  • กลุ่มผลิตภัณฑ์เพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ 

ผลิตและการบริการแบบครบวงจรด้านการจัดการพลังงาน และการจัดการความร้อน มีสัดส่วนรายได้อยู่ที่ 63.1% หรือราว 32,746 ล้านบาท 

  • กลุ่มผลิตภัณฑ์โครงสร้างพื้นฐาน

สำหรับเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล โซลูชันเครือข่าย ระบบพลังงานสำหรับพลังงานทดแทน และเครื่องชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า มีสัดส่วนรายได้อยู่ที่ 32.4% หรือราว 16,814 ล้านบาท

  • กลุ่มผลิตภัณฑ์อัตโนมัติ

อุปกรณ์อัตโนมัติสำหรับภาคอุตสาหกรรม ระบบโรงงานอัจฉริยะ รวมถึงระบบแสงสว่าง และระบบเฝ้าระวังอัตโนมัติสำหรับอาคาร มีสัดส่วนรายได้อยู่ที่ 4.2% หรือราว 2,179 ล้านบาท

  • อื่นๆ 0.3%
Photo : deltathailand.com

DELTA มีฐานการผลิตอยู่ในภูมิภาคต่างๆ เเละมีลูกค้ารายใหญ่ทั่วโลกเเบ่งรายได้จากแหล่งต่างๆ ได้เเก่ เอเชีย 36% สหรัฐอเมริกา 34% ยุโรป 28% และอื่นๆ อีก 2%

ด้านผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปีของ DELTA นั้น ได้เเก่
ปี 2017 รายได้ 50,330 ล้านบาท กำไรสุทธิ 4,931 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 53,937 ล้านบาท กำไรสุทธิ 5,137 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 51,897 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,960 ล้านบาท

จะเห็นได้ว่าก่อนวิกฤต COVID-19 รายได้ของ DELTA ค่อนข้างทรงตัวเเละ “ไม่หวือหวามากนัก” จนกระทั่งถึงปีนี้รายได้ของบริษัทกลับมาก้าวกระโดดอานิสงส์ในช่วงล็อกดาวน์ที่ทำให้ธุรกิจด้าน Cloud , Data Center และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้ผลประกอบการของบริษัทหลักทรัพย์กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เติบโต

ในผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2020 บริษัทได้สร้างเซอร์ไพรส์ด้วยการฟื้นตัวแรงเกินคาด ทำกำไรสุทธิ 2,021 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 132% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 136% จากไตรมาสก่อน

ทำไมราคาหุ้น DELTA พุ่งแรงขนาดนี้ ?

ช่วงครึ่งปีหลัง หุ้น DELTA เริ่มคักคัก ดันราคาขยับขึ้นต่อเนื่อง มีนักลงทุนบางกลุ่มเข้ามาทยอยเก็บหุ้นกักตุนล่วงหน้า

ราคาหุ้นของ DELTA ขยับขึ้นมาปรับขึ้นมาเทรดเหนือ 100 บาท เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม เเละรายได้ผลประกอบการในไตรมาส 3 ไม่ทำให้นักลงทุนผิดหวัง กำไรสุทธิเพิ่มเป็น 2,642 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 327.25% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 618.38 ล้านบาท เติบโตในทุกธุรกิจ ผลักดันให้ราคาหุ้นพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ

ประกอบกับการได้เข้าคำนวณใน MSCI เเละกำลังเตรียมเข้าไปคำนวนในดัชนี ‘SET50’ ซึ่งจะมีผลในต้นปี 2021 ทันที ก็ทำให้ได้รับแรงส่งจากเหล่ากองทุนต่างๆ ซึ่งการที่หุ้น DELTA มีมาร์เก็ตแคปใหญ่เป็นอันดับ 3 ตามราคาหุ้นปัจจุบัน จะมีนำ้หนักต่อ SET ประมาณ 5% เลยทีเดียว

สำหรับ 5 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ณ วันที่ 25 ธันวาคม ได้เเก่

1.บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) PTT มูลค่าบริษัท 1.1 ล้านล้านบาท
2.บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) AOT มูลค่าบริษัท 8.9 แสนล้านบาท
3.บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มูลค่าบริษัท 8.5 แสนล้านบาท
4.บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) มูลค่าบริษัท 5.3 แสนล้านบาท
5.บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) มูลค่าบริษัท 5.3 แสนล้านบาท

ในช่วงต้นเดือนธันวาคม ราคาหุ้น DELTA พุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดที่ระดับ 400 บาทเเม้จะเป็นหุ้นพื้นฐานดี มีปัจจัยการเติบโตที่เกื้อหนุน เเละตอนนี้ทางบริษัทยังมุ่งหน้าขยายธุรกิจที่เกี่ยวกับ 5G ทั้งในส่วนของ Power Supply และ Server ด้วย เเต่หลังจากราคาเกิน 400 บาท นักวิเคราะห์ก็เริ่มจับทิศทางไม่ได้เเล้ว

เเม้บริษัทแม่ที่ไต้หวัน ราคาหุ้นก็ยังไม่พุ่งสูงขึ้นขนาดเท่าบริษัทลูกในไทย

DELTA ชี้แจงผ่านตลาดหลักทรัพย์ เรื่องสถานการณ์ซื้อขายหลักทรัพย์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญว่า ตามที่บริษัทไม่มีพัฒนาการที่สําคัญใดๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณและราคาการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท

ด้านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยกับอีไฟแนนซ์ไทยว่าตลท.ยังไม่พบความผิดปกติในการซื้อขายหุ้นของ DELTA

เเต่การที่ราคาหุ้น DELTA สูงกว่าปัจจัยพื้นฐานไปไกลมากๆเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังนักลงทุนต้องถามใจตัวเองให้ดี

สิ่งที่ต้องจับตามองอย่างยิ่ง คือเรื่อง “Free Float ต่ำเพราะปัจจุบัน DELTA มีสัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายย่อยเพียง 22.35% ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าบริษัท การที่หุ้นส่วนมากถือครองโดยรายใหญ่ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงของราคาได้ง่าย หากมีการทุ่มซื้อหรือเทขาย ดังนั้นผู้ลงทุนต้องพิจารณาให้รอบด้านเเละตัดสินใจให้รอบคอบ

ปีหน้าคงต้องใจจดใจจ่อ ดูว่าหุ้นตัวเเรงทะลุอวกาศอย่าง DELTA จะเป็นไปในทิศทางใดกันเเน่…

 

—ล่าสุด ณ วันที่ 30 ธันวาคม ตลท. เตือนนักลงทุนระวังซื้อขายหุ้น ‘DELTA’ มีความผันผวนสูง โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาเหวี่ยงจาก 378 บาท ไปเเตะสูงสุด 838 บาท ปิดที่ 474 บาท มูลค่าซื้อขายกว่า 8,000 ล้าน/วัน กำลังอยู่ระหว่างติดตาม-ตรวจสอบสภาพการซื้อขายอย่างใกล้ชิด

 

 

ที่มา : SET , ข้อมูลประจำปี DELTA , MGR Online (1), (2)

]]>
1312243
พิษ COVID-19 สะเทือน “ตลาดหุ้นไทย” มาร์เก็ตแคป หายไปเกือบ 5 ล้านล้านบาท https://positioningmag.com/1288567 Mon, 20 Jul 2020 07:00:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288567 PwC วิเคราะห์มาร์เก็ตแคป 100 บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกเพิ่มขึ้น 20% ในปี 2019 เเต่สะดุด COVID-19 ทำไตรมาสแรกปีนี้ หดตัว 15% ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลงมากที่สุด ส่วนมาร์เก็ตแคปตลาดหุ้นไทยหายไปเกือบ 5 ล้านล้านบาท

โดยบริษัทผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของซาอุดีอาระเบียซาอุดิ อารามโก” ครองแชมป์บริษัทที่มีมาร์เก็ตแคปสูงที่สุดของโลก หลังสร้างสถิติการเข้าตลาดด้วยมูลค่าไอพีโอสูงที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ ส่วนมาร์เก็ตแคปของ “ไมโครซอฟท์” และแอปเปิล” สิ้นมี.. 63 สูงกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ชาญชัย ชัยประสิทธิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยถึงรายงาน Global Top 100 companies by market capitalisation ของ PwC ที่ทำการวิเคราะห์มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ของ 100 อันดับบริษัทที่มีมาร์เก็ตแคปสูงที่สุดของโลกใน 2 ช่วงเวลา ได้แก่ ระหว่างเดือน มีนาคม ถึง ธันวาคม 2562 และ มกราคม ถึง มีนาคม 2563 เพื่อให้ทราบถึงการดำเนินงานของบริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกเหล่านี้ว่าเป็นอย่างไร และก่อนที่วิกฤต COVID-19 จะส่งผลกระทบต่อตลาดโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมถึงวิธีการรับมือกับภาวะวิกฤตในช่วงแรกว่า ในช่วงระหว่างเดือน มีนาคม ถึง ธันวาคม ปีที่ผ่านมา มาร์เก็ตแคปของ 100 บริษัทขนาดใหญ่ชั้นนำของโลกเติบโตอย่างแข็งแกร่งและมีผลการดำเนินงานที่ยังคงสามารถยืนอยู่เหนือคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันได้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 ท่ามกลางความผันผวนของตลาดที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 

Photo : Shutterstock

ด้านรอส ฮันเตอร์ หัวหน้าศูนย์ไอพีโอของ PwC กล่าวว่า ในช่วง 9 เดือน สิ้นสุดธันวาคมปีที่ผ่านมา มาร์เก็ตแคปของ 100 บริษัทขนาดใหญ่ของโลกเติบโตขึ้นที่ 20% โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของ ซาอุดิ อารามโก ที่กลายมาเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดของโลกหลังการเข้าตลาด และแม้ว่ามูลค่าตลาดรวมในช่วง 3 เดือนถัดมา จะปรับตัวลดลงถึง 15% แต่บริษัทที่ติดอันดับท็อป 100 ของโลกก็ยังคงมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าดัชนีในกลุ่มอุตสาหกรรมของพวกเขา ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า นักลงทุนให้ความสำคัญกับคุณภาพ ขอบเขต และแนวทางในการรับมือกับวิกฤตของบริษัทขนาดใหญ่ รวมไปถึงการลงทุนหลังสถานการณ์ COVID-19 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว 

10 ใน 100 บริษัทยักษ์ใหญ่ มาร์เก็ตแคปยังโตในช่วง COVID-19 

สำหรับซาอุดิ อารามโก” นั้น ได้ติดอันดับ 100 บริษัทขนาดใหญ่ของโลก โดยอยู่ในอันดับที่ 1 หลังจากสร้างสถิติมูลค่าไอพีโอที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ของโลกเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา และนับแต่นั้นเป็นต้นมา ก็ยังคงสามารถรักษาอันดับในตำแหน่งนี้ไว้ได้

เช่นเดียวกันกับ ไมโครซอฟ และ แอปเปิล ที่แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่มาร์เก็ตแคปของทั้ง 2 บริษัทกลับปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ สิ้นเดือนมีนาคม 2563 ในส่วนแอมะซอน มาร์เก็ตแคปของบริษัท วันที่ 31 มีนาคม 2563 แตะ 9.71 แสนล้านดอลลาร์ และหลังจากนั้นก็ได้พุ่งสูงเกิน 1 ล้านล้านดอลลาร์ เนื่องจากความต้องการช้อปปิ้งออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลพวงจากมาตรการการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

นอกจากนี้ ข้อมูลยังพบว่า มีเพียง 10 บริษัทใน 100 บริษัทขนาดใหญ่ของโลกเท่านั้นที่มีมาร์เก็ตแคปเพิ่มขึ้น ระหว่างเดือนธันวาคม 2562 ถึง มีนาคม 2563 ยกตัวอย่าง เช่น เน็ตฟลิกซ์ ที่ขยับจากการเป็น 1 ใน 10 บริษัทที่มีมาร์เก็ตแคปลดลงมากที่สุดในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม ถึง ธันวาคม 2562 (-9%) มาเป็นบริษัทที่มีมาร์เก็ตแคปเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นอันดับที่ 2 สิ้นเดือนมีนาคม 2563 (+16%)

ขณะที่ เทสล่า ที่ติดอันดับ 100 บริษัทขนาดใหญ่ของโลก และติดอันดับ 1 ใน 10 บริษัทที่มาร์เก็ตแคปเพิ่มขึ้นทั้ง 2 ช่วงเวลา โดยมีมาร์เก็ตแคปปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่ามาที่ 9.6 หมื่นล้านดอลลาร์

(Photo by Sean Gallup/Getty Images)

มุมมองในระดับภูมิภาค

จากการสำรวจพบว่า ทุกภูมิภาคทั่วโลกเห็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นของมาร์เก็ตแคปของบริษัทที่ถูกรวมอยู่ใน 100 อันดับบริษัทขนาดใหญ่ของโลกจนถึงเดือนธันวาคม 2562 ก่อนที่มาร์เก็ตแคปของบริษัทเหล่านี้จะปรับตัวลดลงในทุก ประเทศ (ยกเว้น ซาอุดีอาระเบีย)

โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ มาร์เก็ตแคปของบริษัทสัญชาติยุโรปที่ติดอันดับ 100 บริษัทขนาดใหญ่ของโลก มีการปรับตัวลดลงมากที่สุดถึง 25% (9.56 แสนล้านล้านดอลลาร์)

ส่วนบริษัทสัญชาติอังกฤษที่ติดอันดับท็อป 100 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ มีมาร์เก็ตแคปเพิ่มขึ้น 2% ในช่วงเดือนมีนาคม ถึง ธันวาคม 2562 ก่อนที่จะปรับตัวลดลงถึง 28% เดือนมีนาคม 2563

อย่างไรก็ดี บริษัทสัญชาติอเมริกัน ยังคงครองอันดับที่ 1 ในแง่ของจำนวนบริษัทที่ติดอันดับและมูลค่ามาร์เก็ตแคป โดยแม้ว่า มาร์เก็ตแคปในช่วงเดือนธันวาคม 2562 ถึง มีนาคม 2563 จะลดลงมาที่ 2,204 พันล้านดอลลาร์ (14%) ก็ตาม ในส่วนของบริษัทสัญชาติจีน ที่มีจำนวนบริษัทในรายชื่อ 100 บริษัทขนาดใหญ่ของโลกมากเป็นอันดับที่ 2 หรือ 14 บริษัท ได้ลดจำนวนลงไป 1 แห่งในปีนี้ ซึ่งนี่ยิ่งทำให้ช่องว่างอันดับระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสหรัฐอเมริกานั้นกว้างขึ้น

COVID-19 กระทบมาร์เก็ตแคปของบริษัทไทย

สำหรับภาพรวมตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ก็ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ไม่แตกต่างจากทั่วโลก จริงอยู่ว่า ภาพรวมในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยดูเหมือนค่อย ฟื้นตัวขึ้น แต่ไม่ได้สะท้อนถึงปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีเม็ดเงินจากการออกมาตรการกระตุ้นทางการคลังและการเงินของรัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกที่ถูกอัดฉีดเข้ามาในระบบ ทำให้เม็ดเงินเหล่านั้นไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นภูมิภาคในช่วงสั้น 

จากข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพบว่า มาร์เก็ตแคปของตลาดหุ้นไทย สิ้นเดือน มีนาคม 2563 อยู่ที่ราว 12 ล้านล้านบาท หรือลดลงเกือบ 28% จากเดือน ธันวาคม 2562 ที่ 16.7 ล้านล้านบาท เมื่อพิจารณามาร์เก็ตแคปของหุ้นในกลุ่ม SET100 ซึ่งเป็นหุ้น 100 อันดับแรกของบริษัทขนาดใหญ่ที่จัดอันดับตามมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเฉลี่ยต่อวันในตลาดหุ้นไทยก็ลดลงเช่นกันราว 20% ที่ 9.4 ล้านล้านบาท สิ้นเดือน มีนาคม 2563 จาก 11.8 ล้านล้านบาท เดือน ธันวาคม 2562

การปรับตัวเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นจะยั่งยืนหรือไม่ องค์ประกอบสำคัญอยู่ที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน และภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งแนวโน้มเศรษฐกิจไทยเวลานี้ส่งสัญญาณชะลอตัวที่ชัดเจน กำลังการผลิตมีแนวโน้มลดลง ตามปริมาณการส่งออกที่ลดลง การท่องเที่ยวที่ซบเซา และการบริโภคภายในประเทศที่ชะลอตัว ดังนั้น นักลงทุนจึงต้องติดตามปัจจัยต่าง เหล่านี้อย่างใกล้ชิด เพราะคาดว่า ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ จะเห็นความชัดเจนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะเป็นไปในทิศทางใด และผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าวต่อการลงทุนชาญชัยระบุ 

 

 

]]>
1288567