กระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์ ประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 พนักงานขององค์กรทุกแห่งในประเทศ จะต้องมีหลักฐานการฉีดวัคซีนโควิดครบแล้วเท่านั้น หรือต้องประวัติป่วยเป็นโรคโควิด-19 เเล้วหายจากอาการป่วยภายในระยะเวลานานไม่เกิน 270 วัน จึงจะสามารถกลับเข้าไปทำงานในออฟฟิศได้
ส่วนพนักงานที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน จะต้องมีผลการตรวจหาเชื้อโควิด ’เป็นลบ’ เท่านั้น ถึงจะเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศตามปกติได้ เเต่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจเองทั้งหมด และจะต้องเข้ารับการตรวจจากสถานที่ ซึ่งได้รับการรับรองโดยกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น
ทั้งนี้ ผลการทดสอบด้วย Antigen Rapid Test อย่างเร่งด่วน จะมีผลใช้ได้ตลอดระยะเวลาที่พนักงานอยู่ในที่ทำงาน 24 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม ภาครัฐมีข้อยกเว้นให้กับกลุ่มพนักงานที่เป็นสตรีมีครรภ์ที่ไม่ประสงค์รับวัคซีน และผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนด้วยเหตุผลทางการแพทย์ ซึ่งมีคำเเนะนำถึงเหล่านายจ้างว่าจะต้องดูเเลการทำงานของกลุ่มนี้เป็นพิเศษ เช่น กำหนดวิธีการทำงานรูปแบบใหม่เเละให้ทำงานที่บ้านไปก่อน
ล่าสุด ชาวสิงคโปรืกว่า 84% ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดครบโดสแล้ว และกว่า 85% ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส ท่ามกลางสถานการณ์ที่มียอดผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์เดลตา โดยมีการขยายมาตรการป้องกันการระบาดในปัจจุบันไปจนถึงวันที่ 21 พ.ย. เพื่อลดแรงกดดันในระบบสาธารณสุข เเละจะมีการทบทวนมาตรการในทุก 2 สัปดาห์
]]>
ยิ่งเมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่ เทรนด์ทำงานได้ทุกที่ ‘Remote Working’ ทำให้ออฟฟิศไม่ใช่เรื่องจำเป็นสูงสุด
เหล่านี้เป็น ‘โจทย์ท้าทาย’ ของฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่ต้องปรับตัว เปลี่ยนเเปลงการสื่อสารกับพนักงาน มาคิดกันใหม่ว่า ทำอย่างไรจะให้พนักงานมีความสุขเเละมีประสิทธิภาพ หาจุดสมดุลของความหลากหลาย บริหารคนต่างวัยให้มีเป้าหมายร่วมกัน ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดนี้
Positioning มีโอกาสได้พูดคุยกับ ‘เจน รุ่งกานต์ รตนาภรณ์’ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮสเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ DMHT เจ้าของแบรนด์สุรานอกอย่าง Johnnie Walker, Smirnoff, Hennessy ฯลฯ
คำเเนะนำเเละกลยุทธ์การ ‘ทรานส์ฟอร์ม’ จากผู้คลุกคลีอยู่ในวงการ HR มานานกว่า 20 ปี ผ่านงานทั้งสายพลังงาน อุตสาหกรรมยา จนมาถึงธุรกิจเครื่องดื่ม อย่าง ‘รุ่งกานต์’ มีเทคนิคต่างๆ ที่น่านำไปปรับใช้ได้ดีทีเดียว
เธอเล่าให้ฟังถึงการวางกลยุทธ์ดำเนินงานว่า ยึดหลักแนวคิด Connecting People to Purposes เชื่อมโยงบุคคลกับวัตถุประสงค์ของบริษัท โดยให้ทุกคนสามารถเป็นตัวเองได้ในการทำงาน ไม่จำกัดความคิด มอบอิสระในการออกแบบวิธีการทำงานและการแสดงออก พร้อมเสริมสร้างสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการไปถึงเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ให้พนักงานรู้สึกสบายใจและภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนบริษัท มาทำงานอย่างมีความสุขและกลับบ้านด้วยความรู้สึกที่ดี เติมเต็มความต้องการได้ ขณะเดียวกันก็ต้องต่อยอดไปสู่เป้าหมายทางอาชีพของพวกเขาด้วย”
อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่รุ่งกานต์นำมาใช้ในการผสาน ‘พนักงานต่างวัย’ ให้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ในการทำงานกัน ก็คือ Reverse Mentoring
โดย DMHT มีการจับคู่พนักงานมาเข้าร่วมโปรเเกรมนี้ เริ่มต้นด้วยคู่ของคุณ ‘อัลแบร์โต อิเบอัส’ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด กับพนักงาน Gen Y คนหนึ่ง ให้มาพูดคุยเเลกเปลี่ยน ‘ไลฟ์สไตล์’ เรียนรู้การทำงาน มุมมองของธุรกิจต่างๆ
ผลเบื้องต้นพบว่า เกิดไอเดียหลายอย่างจากการสนทนากัน โดยอัลแบร์โตที่ทำงานมากว่า 22 ปี ก็ได้เห็นถึงการคิดนอกกรอบ เทรนด์เเละนวัตกรรมใหม่ๆ ส่วนพนักงานรุ่นใหม่ก็ได้รู้ถึงประสบการณ์การทำงาน บทเรียนชีวิตเเละวิธีเเก้ปัญหาต่างๆ
“ถ้าโครงการทดลองนี้สำเร็จ เราจะขยายไปทำทั้งองค์กร เพื่อให้มีแพลตฟอร์มที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้”
สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมากในองค์กร ก็คือ ‘ความเท่าเทียม’ โดยยกตัวอย่างเป้าหมาย 10 ปีของดิอาจิโออย่าง SOCIETY 2030: SPIRIT OF PROGRESS
โดยในแผนงานนี้ มีประเด็นการส่งเสริมความหลากหลาย และการมีส่วนร่วมภายในองค์กรที่น่าสนใจ เช่น บริษัทตั้งเป้าว่าภายในปี 2030 จะมี ผู้นำหญิง ในองค์กรให้ได้สัดส่วน 50% มีผู้นำที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ให้ได้ 45% และจัดอบรมพัฒนาทักษะให้กับคนจำนวน 1.7 ล้านคน เเละสนับสนุนความหลากหลายในทุกตำแหน่งงาน
ปัจจุบัน DMHT มีสัดส่วนของผู้บริหารหญิงอยู่ที่ 50% แล้ว เฟสต่อไปคือการเพิ่มสัดส่วนของผู้หญิงในตำแหน่งที่เตรียมก้าวขึ้นสู่ระดับบริหารให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มโอกาสให้กับผู้หญิงในการก้าวสู่ตำแหน่งงานที่สังคมคุ้นเคยว่าผู้ชายมีบทบาทมากกว่า โดยริเริ่มออกแบบและดำเนินการโปรแกรม Female in Field Sales Incubation เพื่อปั้นผู้นำหญิงสู่การเป็นผู้จัดการเขต (District Manager) ภายในปี 2025
สำหรับในประเทศไทย DMHT มีนโยบายที่เปิดกว้างและสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ โดยบริษัทให้สิทธิ์พนักงานทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และ LGBTQIA+ ใช้สิทธิ์ลาคลอดได้ 26 สัปดาห์ พร้อมรับเงินเดือนเต็ม
หลังจากทำงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคลมากว่า 2 ทศวรรษ รุ่งกานต์ยอมรับว่า ไม่ว่าจะกี่ยุคสมัย มีพนักงานจำนวนไม่น้อยรู้จักไม่ใกล้ชิดกับฝ่าย HR มากนัก หลายคนมีภาพจำว่าเเผนกนี้เป็น ‘ผู้คุมกฎ’ หรือ ‘ครูปกครอง’ เวลามีการเรียกคุยจะรู้สึกกังวลว่าตัวเองทำผิดอะไรหรือไม่ นี่คือความท้าทายที่ต้องเปลี่ยนเเปลงภาพลักษณ์เหล่านี้ให้ได้
“เราต้องทำให้พนักงานเข้าใจว่าบทบาทของ HR คือ ‘เพื่อนร่วมงาน’ ที่มีหน้าที่ช่วยส่งเสริมพนักงานทุกคนให้มีพลังทำงานในทุกๆ ด้าน เรื่องของกฎระเบียบก็ยังจำเป็นต้องมี เเต่ HR ต้องใช้การสื่อสารรูปเเบบใหม่ให้เข้าถึงคนเเต่ละยุคสมัย”
เธอยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างการใช้หลัก ‘Why’ คือ HR ต้องอธิบายให้ได้ว่า ‘ทำไม’ จึงต้องมีกฎนี้ ทำไมจึงต้องทำกิจกรรมนี้ ถ้าทำตามเเล้วจะมีผลอย่างไร ถ้าไม่ทำตามจะส่งผลอย่างไร เเม้บางครั้งจะเป็นกฎเดิมที่ใช้ต่อกันมาเป็น 10 ปี ก็ต้องปรับการสื่อสารให้ทุกคนเข้าใจในบริบทสังคมใหม่ด้วย
สำหรับเเนวทางการบริหารงานบุคคลของดิอาจิโอนั้น มีการประยุกต์เทคโนโลยีกับปรัชญามาใช้งาน HR ที่มีชื่อว่า ‘DIAGEO Flex Philosophy’ ให้อิสระพนักงานในการบริหารจัดการเวลาทำงานของตนเอง ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน หรือเข้างานตาม Office Hours เพียงสามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพได้ตามเวลาที่กำหนด
ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ต้องให้พนักงาน Work from Home นั้น พบว่า พนักงานส่วนใหญ่ยังทำงานได้ตามปกติ แถม Productivity เพิ่มขึ้นอีก ใครเบื่อบรรยากาศทำงานที่บ้านจะมาทำงานที่ออฟฟิศก็ได้ บางคนชอบเริ่มงานตอนเช้า บางคนสายหน่อย หรือบางคนชอบทำงานตอนดึกๆ ก็สามารถจัดสรรเวลาเองได้
“หลักๆ คือเราให้ความสำคัญกับผลงานมากกว่าเวลาเข้างาน”
โดยฝ่าย HR จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง ‘สวัสดิการ’ ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและให้ตรงกับความต้องการของพนักงานมากที่สุด ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น เเต่ก่อนจะมีบริการคาเฟ่ในออฟฟิศ เเต่ช่วงโควิด-19 ต้องงดไปก่อน ก็จะมีการจัดข้อเสนออื่นๆ ให้เเทน
ในด้านการพัฒนาทักษะ DMHT มุ่งเสริมสร้างทักษะแห่งอนาคตที่จำเป็นให้แก่พนักงานตามความสนใจด้านอาชีพของแต่ละคน โดยให้พนักงานสามารถเลือกสวัสดิการที่ตรงกับความต้องการและไลฟ์สไตล์ของตนเองได้ สอดคล้องกับปรัชญาหลักของบริษัท นั่นก็คือ Celebrating Life, Every Day, Everywhere
ยกตัวอย่างเช่น เป้าหมายการอบรมทักษะบุคลากรในอุตสาหกรรมการบริการ ให้ได้ 15,000 คนผ่านโครงการ Learning for Life ภายในปี 2030 ครอบคลุมนักศึกษา ผู้ประกอบอาชีพการท่องเที่ยวและการบริการ ขยายการฝึกอบรมมาสู่บุคลากรในสายอาชีพการบริการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นการต้องออกจากงาน หรือหยุดงานชั่วคราว รวมถึงคนในชุมชน บุคคลที่มีความจำเป็นและกลุ่มผู้ขาดโอกาสทางสังคม
นอกจากนี้ ยังมีการจัดอบรมทักษะสำหรับบาร์เทนเดอร์ผ่าน Diageo Bar Academy เพื่อส่งเสริมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างรับผิดชอบในสังคม และการรับมือสถานการณ์ที่ท้าทายขณะทำงานในสายอาชีพ
เหล่านี้เป็นไปตาม Brand Purpose ของดิอาจิโอที่ว่า ทำอย่างไรให้คนอยากเฉลิมฉลอง แต่ไม่ใช่การสนับสนุนให้คนดื่มจนขาดสติ เเต่ต้องดื่มอย่างมีความรับผิดชอบ (Positive Drinking)
สำหรับเป้าหมายของประเทศไทย DMHT มุ่งเน้นไปที่เป้าหมายหลักใน 3 ด้าน จะดำเนินการผ่านโครงการที่มีอยู่แล้วเพื่อความต่อเนื่อง ได้แก่
หลังจากประสบการณ์ HR มากว่า 20 ปี รุ่งกานต์มองว่า สิ่งที่คนรุ่นใหม่มองหาจากองค์กรมากที่สุด คือการเปิดกว้างทางความคิด ให้พวกเขาได้มีโอกาสเเสดงศักยภาพเเละ ‘รับฟังข้อเสนอเเนะ’ โดยไม่ติดเรื่องอายุ พร้อมการอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น
รวมถึงการสนับสนุนให้ทุกคนมี ‘Career Path’ เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ เเละมีความสุขในการใช้ชีวิต
ส่วนสิ่งที่องค์กรอยากได้จาก ‘คนรุ่นใหม่’ ก็คือความคิดสร้างสรรค์ พลังในการทำงาน เเพชชั่นที่จะเห็นความก้าวหน้าเเละการเปลี่ยนเเปลง…
]]>
ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS Business กล่าวว่า COVID-19 ได้กลายเป็นตัวเร่งให้ทุกองค์กรปรับตัวเร็วขึ้น โดยพบว่าไม่ว่าองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่มีการปรับตัวมากถึง 18-40 เท่า จากการทำงานแบบเดิม ขณะที่บริษัทระดับ Top 10 ของไทยสามารถใช้ดิจิทัลสร้างการเจริญเติบโตของรายได้มากถึง 5 เท่า และทำกำไรได้กว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับบริษัทที่ไม่มีแผนที่จะทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของประเทศไทยในการทรานส์ฟอร์มไปสู่ดิจิทัลนั้นพบว่ามี Digital Leader เพียง 3% ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 5% ส่วนDigital Adopters (ที่เริ่มเปิดรับดิจิทัล) มี 22% ขณะที่ทั่วโลกเฉลี่ย 23% แม้จะน้อยกว่าแต่หากดูภาพรวมแล้ว บริษัทในประเทศไทยที่ ไม่มีแผนการนำดิจิทัลมาทรานส์ฟอร์มองค์กร มีเพียง 5% เท่านั้น เมื่อเทียบกับทั่วโลกที่มีสัดส่วนถึง 9%
จากการสำรวจพบว่า องค์กรส่วนใหญ่ที่นำดิจิทัลเข้ามาใช้ 38.6% เป็นการสร้างช่องทางการขายออนไลน์ 79.3% เปิดรับชำระเงินทางออนไลน์ และในช่วงสถานการณ์ล็อกดาวน์เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 องค์กรต่าง ๆ ได้สร้าง Online Channel มากขึ้นเป็นอันดับ 1 ถึง 57.1% ส่วนผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SME มีการปรับตัวชัดเจนขึ้น 4 ด้าน คือ เพิ่มการส่งเสริมการขายในตลาดออนไลน์, เพิ่มนวัตกรรมในองค์กร, เพิ่มความยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ เพื่อปรับโครงสร้างต้นทุน
“COVID-19 ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกไปแล้ว ทำให้โลกออนไลน์และดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต องค์กรธุรกิจก็ต้องทรานส์ฟอร์มไปสู่ดิจิทัล เพื่อให้การทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนมากขึ้น รวมถึงสร้าง New Business Model เพื่อตอบสนอง Lifestyle ใหม่เพื่อที่จะอยู่รอดท่ามกลางการระบาด”
แนวทางที่ของแนะคือหลัก 4 รู้ ได้แก่ รู้ตนเอง, รู้ลูกค้า, รู้เทคโนโลยี, รู้ partner ต้องประกอบไปด้วย 4 อย่างนี้เข้าด้วยกัน จึงจะนำไปสู่กระบวนการในการหาทางออกด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ได้
รู้ตนเอง คือ รู้เป้าหมายที่จะไป หรือรู้ว่าปัญหาที่ประสบอยู่คืออะไร รวมถึงรู้ความสามารถขององค์กรและบุคลากรว่าจะนำเทคโนโลยีมาใช้ได้เพียงได้
รู้ลูกค้า คือ รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร หรือประสบปัญหาอะไร เราจะไป capture value เหล่านั้นในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้อย่างไร
รู้เทคโนโลยี คือ รู้ว่าเทคโนโลยีจะไปตอบโจทย์จากการรู้ตนเองและรู้ลูกค้าได้อย่างไร เลือกเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น
รู้ partner คือ รู้ว่า partner รายใดที่น่าจะช่วยนำ technology กับ business expertise มาประกอบกันให้สามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่ง partner นั้นต้องไว้ใจได้ เพราะมีประสบการณ์, มีความสามารถ, และมี partners อีกมากมายที่จะร่วมกันทำให้เกิดความสำเร็จ
ทั้งนี้ 10 เทคโนโลยีที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญและพร้อมนำไปใช้ในทุกกระบวนการ ได้แก่ 5G, IoT, Cloud&EDGE Computing, Extended Reality, AI/Machine Learning, Robotics, Big Data & Analytics, Cyber Security, Robotic Process Automation และ Blockchain ซึ่ง AIS Business มีความพร้อมอย่างยิ่งในการทำงานร่วมกับทุกองค์กร เพื่อให้เราสามารถเดินหน้าฝ่าวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้ไปด้วยกันให้ได้ และก้าวสู่โลกของการทำ Digital Business ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
]]>Financial Times รายงานว่า การประกาศขายอาคารสำนักงานดังกล่าว อาจจะเข้ามาช่วยพยุงด้านการเงินของสายการบินที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโรคระบาด โดยสำนักงานใหญ่ของ British Airways มีมาตั้งเเต่ปี 1998 ใช้ค่าก่อสร้างราว 200 ล้านปอนด์ (ราว 8.6 พันล้านบาท) อยู่ใกล้สนามบินฮีทโธรว์ ในกรุงลอนดอน
วิถีการทำงานที่เปลี่ยนไป ผู้คนต้องทำงานที่บ้านในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้บรรดาบริษัทใหญ่ในอังกฤษ เริ่มหันมาปรับเปลี่ยนรูปแบบสำนักงานของตัวเอง
ยกตัวอย่างเช่น Lloyds ธนาคารยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ มีเเผนจะปรับลดพื้นที่สำนักงานลง 20% ภายใน 3 ปีนี้ และสถาบันการเงินอย่าง HSBC เล็งจะปรับลดพื้นที่สำนักงานลง 40% เช่นกัน
British Airways ระบุในแถลงการณ์ว่า จากการสำรวจความเห็นพนักงาน พบว่า หลายคนชอบทำงานจากที่บ้าน ดังนั้นนโยบายของบริษัทในอนาคต จึงมีแนวโน้มที่ ‘ยืดหยุ่น’ ขึ้นโดยจะผสมผสานระหว่างการทำงานที่บ้านและการทำงานที่ออฟฟิศ
“เรากำลังปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ เพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤต และกำลังพิจารณาว่ายังจำเป็นต้องมีพื้นที่สำนักงานที่ใหญ่ขนาดนี้อยู่หรือไม่”
ในปีที่ผ่านมา British Airways รัดเข็มขัดประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ รวมไปถึงการปลดพนักงานกว่า 1 หมื่นตำเเหน่ง ทำให้ยอดปัจจุบันเหลืออยู่ที่ 3 หมื่นคน ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำงานที่สำนักงานใหญ่ แต่เป็นนักบิน ลูกเรือ วิศวกรเเละเจ้าหน้าที่สนามบิน
อย่างไรก็ตาม เเม้การทำงานแบบเข้าออฟฟิศอาจจะค่อย ๆ ลดลง เเต่ทางฝั่งบริษัทเทคโนโลยีอย่าง ‘Google’ (กูเกิล) ซึ่งก็ให้พนักงาน Work from Home ได้ยาว ๆ กลับกำลังทุ่มเงินขยายพื้นที่สำนักงานให้มากขึ้น
Sundar Pichai CEO ของ Google บอกว่า ในอนาคตบริษัทมีแนวคิดที่จะทดสอบการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยอาจจะให้พนักงานทำงานอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ในออฟฟิศเพื่อการทำงานร่วมกันกับเพื่อนพนักงาน ส่วนวันที่เหลือให้ทำที่บ้าน
ดูเหมือนว่าการทำงานในองค์กรของ Google จะเน้นทำงานที่บ้าน แต่ล่าสุดกลับมีแผนที่จะลงทุน ‘7 พันล้านดอลลาร์’ ในการขยายพื้นที่สำนักงานและศูนย์ข้อมูลในสหรัฐอเมริกา และเตรียมจ้างงานพนักงานประจำเพิ่มอย่างน้อย 10,000 ตำแหน่งในปีนี้
โดย Google เตรียมจะลงทุนมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ในรัฐแคลิฟอร์เนียบ้านเกิดบริษัทในปีนี้ และได้วางแผนที่จะขยายสำนักงานอื่น ๆ รวมถึงการเพิ่มตำแหน่งงานหลายพันตำแหน่งในแอตแลนตา, วอชิงตัน ดี.ซี., ชิคาโก และนิวยอร์ก
ทั้งนี้ มีการวิเคราะห์ว่า ขณะที่บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งเติบโตขึ้นในช่วงที่มีการระบาดใหญ่และกำลังเพิ่มคนงานหลายพันคน แต่ในช่วงเวลาเดียวกัน บริษัทอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจำต้องปลดพนักงานหรือแม้กระทั่งปิดตัวลง เเละเทขายอาคารสำนักงาน ทำให้ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถที่จะ ฉวยโอกาส ในการเลือกซื้อ ’อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์’ โดยไม่คำนึงว่าพวกเขามีแผนระยะยาวสำหรับการเปลี่ยนไปทำงานระยะไกลมากขึ้นในอนาคตหรือไม่
อ่านต่อ : Google เล็งเพิ่มพื้นที่สำนักงานเป็น ‘สองเท่า’ แม้จะมีนโยบาย Work from Home ก็ตาม
ที่มา : Financial Times , Reuters
]]>‘นูทานิคซ์’ ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์คลาวด์ ได้เปิดเผยผลสำรวจผู้ประกอบธุรกิจพบว่า 86% ทั่วโลกสนใจใช้งาน ‘ไฮบริดคลาวด์’ ที่เป็นการผสมระหว่างพับลิคคลาวด์และไพรเวทคลาวด์ โดยคาดว่าภายใน 4 ปีข้างหน้าการใช้งานไฮบริดคลาวด์จะเติบโตขึ้น 4 เท่า ขณะที่การใช้งานดาต้าเซ็นเตอร์จะลดลงถึง 89%
โดยปัจจัยที่ทำให้องค์กรส่วนใหญ่เลือกจะมาใช้ไฮบริดคลาวด์ ก็คือ
“ที่น่าสนใจคือ การใช้เพื่อลดต้นทุนกลายเป็นสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญน้อยลงกว่าในอดีต ซึ่งเหลืออยู่แค่ 46% จากเดิมจะต้องมีกว่า 50%” ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์ กล่าว
ในส่วนของประเทศไทย ค่อนข้างมีทิศทางเดียวกับทั่วโลก โดย
ทั้งนี้ การประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ใช่เหตุผลหลักในการเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานไอทีในไทยเช่นกัน แรงจูงใจสามอันดับแรกในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ทันสมัยของบริษัทในไทยที่ตอบแบบสำรวจ ได้แก่
“ที่ค่าเฉลี่ยเรามากกว่าประเทศอื่นในเอเชียแปซิฟิกและค่าเฉลี่ยโลก เพราะองค์กรไทยจำนวนมากยังดำเนินงานในรูปแบบที่ไม่พึ่งพาระบบไอทีมากเท่าไร องค์กรเหล่านี้จึงยังไม่ให้ความสำคัญกับไฮบริดคลาวด์ แต่ถ้าเป็นองค์กรใหญ่ก็จะยังลงทุนต่อเนื่องอยู่แล้ว”
อีกสิ่งที่น่าสนใจคือ แม้ผู้ตอบแบบสำรวจทุกคนจะระบุว่า COVID-19 มีผลทำให้ต้องลงทุนในระบบคลาวด์เพิ่มขึ้น แต่ 15% ขององค์กรระบุว่าจะยัง ‘ไม่ลงทุนคลาวด์ในช่วง COVID-19’ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่า 8% ที่เป็นค่าเฉลี่ยของภูมิภาคและ 10% ของค่าเฉลี่ยโลก
ปัจจุบัน กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานไฮบริดคลาวด์เพิ่มสูงมากขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมและการเงินการธนาคาร และจากตัวเลขที่พบว่าองค์กรในไทย 45% ได้ลงทุนเพิ่มเรื่องไฮบริดคลาวด์ช่วง COVID-19 ก็ถือเป็นสัญญาณบวกต่อนูทานิคซ์ โดยถือเป็นแนวโน้มที่จะทำให้บริษัทจะเติบโตได้ดีมากกว่าปีที่ผ่านมา
]]>จากรายงาน World Economic Forum ฉบับล่าสุด เปิดเผยว่า การมาของ COVID-19 ที่ระบาดทั่วโลก เป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้มีการเปลี่ยนเเปลงทางเทคโนโลยีในสถานที่ทำงาน โดยตำเเหน่งงานของมนุษย์กว่า 85 ล้านตำแหน่งจะถูกทดเเทนด้วย “ระบบอัตโนมัติ” ภายใน 5 ปีข้างหน้า
“กว่า 2 ใน 5 ของบริษัทขนาดใหญ่ที่ถูกสำรวจ มีแผนจะลดพนักงานลง เนื่องจากการผสมผสานเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน”
จากการสำรวจบริษัททั่วโลกเกือบ 300 แห่ง พบว่า 4 ใน 5 ของผู้บริหารระดับสูง กำลังวางเเผนที่จะปรับการทำงานให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น ให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน ประชุมงานผ่านวิดีโอคอล เเละจะมีการปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะในด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง บริการอีคอมเมิร์ซ เเละการสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์
World Economic Forum ระบุว่า ภายในปี 2025 งานที่ถูกทำโดยมนุษย์จะถูกทดแทนด้วยระบบอัตโนมัติ มากถึง 85 ล้านตำแหน่ง ทั้งงานผู้ช่วยธุรการ พนักงานบัญชี ฝ่ายจัดการข้อมูล พนักงานบริการลูกค้า ฝ่ายบริการธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ยังมีความต้องการใช้ทักษะความสามารถของมนุษย์ มาช่วยควบคุมเเละดูเเลในงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นอย่าง ปัญญาประดิษฐ์ (AI) วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ระบบคลาวด์การพัฒนาผลิตภัณฑ์เเละธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนเเละสิ่งเเวดล้อม
“การเพิ่มขึ้นของระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ก็สามารถสร้างงานให้มนุษย์เพิ่มขึ้น 97 ล้านตำแหน่งทั่วโลก ภายใน 5 ปีข้างหน้าเช่นกัน”
ต่อไปนี้บริษัททั่วโลกจะมีการ “ฝึกอบรม” อัพสกิลเเละรีสกิลพนักงานที่มีอยู่มากขึ้น ซึ่งตอนนี้ยังมีพนักงานกว่าครึ่งหนึ่งที่ยังต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพื่อให้ทำงานกับระบบอัตโนมัติในเร็ววันนี้
โดยบริษัทชั้นนำมองว่า ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ จะมีความสำคัญกับการทำงานในองค์กรในอนาคต เเละคาดว่าพนักงานจะมีทักษะความอดทน ยืดหยุ่น และการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้ หลังผ่านพ้นวิกฤตโรคระบาด COVID-19
]]>
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในประเทศไทยเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังมีการเริ่มคลายล็อกดาวน์ในระยะที่ 2 เพื่อให้เศรษฐกินเริ่มฟื้นตัว แล้วได้ทำธุรกิจกันอีกครั้ง
ทางด้านขององค์กรเอง บางแห่งก็เริ่มมีสัญญาณให้พนักงานกลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศ หลังจากมีมาตรการ Work from Home กันเป็นเวลา 2 เดือนเต็มๆ แต่ยังคงรักษาระยะห่าง ลดความหนาแน่นของมวลชนอยู่
โดยที่ AIS ได้เริ่มให้พนักงานกลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศแล้ว แต่มีมาตรการความปลอดภัย ในหลักการสลับทีมเข้ามาทำงาน แบ่งเป็นทีม A, B สลับเข้าคนละ 2 สัปดาห์ ลดความหนาแน่นลง 50%
กานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยาก
“จากสถานการณ์ภาพรวมปัจจุบัน ที่การตรวจพบผู้ติดเชื้ออยู่ในอั
“ในส่วนของเอไอเอสนั้น บริษัทฯ ได้มีการติดตามสถานการณ์
AIS ให้พนักงานกลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศแบบ 50% ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคมเป็นต้นไป ด้วยแนวคิด “FIT FUN FAIR ชนะภัยโควิด” ภายใต้มาตรการดูแลด้านสุขอนามัย
1. แบ่งพนักงานออกเป็นทีม A, B ที่จะสลับกันเข้าทำงานในสำนักงา
2. บริหารรูปแบบการใช้พื้นที่ใหม่ต
3. มีการคัดกรองและดูแลด้านสุขอนามั
4. ยังคงให้พนักงานงดการเดินทางทั้
AIS ขึ้นชื่อว่าเป็นอีกองค์กรที่มีการดูแลพนักงานอย่างดี และอบอุ่น การต้อนรับพนักงานกลับเข้าทำงานของ AIS คงจะธรรมดาไม่ได้ โดยมีกิมมิกสำคัญอยู่ที่การมีชุด Welcome Back ที่เป็นเหมือนถุงยังชีพเพื่อต้อนรับพนักงาน
งานนี้ CEO สมชัย เลิสสุทธิวงค์ ได้ลงทุนแพ็กชุด Welcome Back เพื่อต้อนรับพนักงานด้วยตัวเอง ภายในประกอบด้วยวิตามินซี และ “กำลังใจ” ในการส่งต่อให้พนักงาน
สมชัยได้โพสต์ความในใจลงในเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาว่า
เกือบ 2 เดือนที่พวกเรา WFH เต็มรูปแบบ ถามว่าทำงานได้มั้ย ตอบเลยว่า ได้ ถามว่า บรรยากาศเหมือนเดิมมั้ย ตอบได้อีกเหมือนกันเลยว่า ก็ไม่เชิง เพราะยังไงการได้ทำงานรวมทีม เจอะหน้าตา (แม้จะใต้หน้ากาก) ก็ย่อมดีกว่าแน่ๆ
ปรากฏการณ์โควิด-19 บอกเราว่า ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน และผลกระทบมหาศาลที่เกิดขึ้นไปทั่วโลกวันนี้กำลังส่งผลเป็น Domino Effect สิ่งที่เราจะทำได้คือ เตรียมพร้อมให้มากที่สุด ทั้งเรื่อง Re Structure และการ Re Skill เพื่อเตรียมตัวในโลกหลัง COVID-19 นี้
แต่ยังไงผมก็คิดว่า COVID-19 ก็มีประโยชน์กับพวกเรา ใน 2-3 เรื่อง
1. เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เราต้องกระโดดออกจาก Comfort Zone ทำในสิ่งที่เมื่อก่อนอาจจะละเลย ไม่ยอมลงมือซะที ให้เกิดขึ้นจริงได้ เกิด new business model แบบเหนือความคาดหมาย เพราะ Digilization มันจะมาเร็วกว่าที่เราคิด
2. เป็นกระดิ่งเตือน ให้เราต้องย้อนกลับมาดูเป้าหมายของชีวิตเราให้ชัดๆ โดยเฉพาะการดูแลตัวเอง และคนที่เรารัก
3. เป็นตัวยืนยันว่า คนไทยไม่เคยทิ้งกัน และจะช่วยเหลือกันเสมอ แม้จะยากลำบากกันอย่างไร
วันนี้ วันที่เอไอเอสเราเริ่มต้อนรับพนักงานกลับเข้ามาทำงาน 50% เพราะแม้สถานการณ์จะเริ่มดีขึ้น แต่ต้องขอยืมคำคุณหมอทวีศิลป์มาบอกว่า “การ์ดต้องไม่ตก” มาใช้ เราเลยแบ่งทีมเป็น A,B ตามลักษณะงาน สลับกันเข้า Office คนละ 2 อาทิตย์ พร้อมจัดที่นั่งห่างๆ อย่างห่วงๆ และเน้นใช้ online first ในการทำงานทุกอย่าง
เมื่อวันศุกร์ ผมเลยขอมาช่วยทีม HR ที่เป็นแม่งานหลักในการดูแลพนักงานเป็นอย่างดีในช่วงที่ผ่านมา จัดชุด welcome back ส่งกำลังใจพร้อมวิตามินซี ต้อนรับน้องๆ กลับมาทำงาน เพื่อให้ทุกคนสุขภาพแข็งแรง พร้อมเดินต่อไปด้วยกัน
นูทานิคซ์ (Nutanix) บริษัทผู้ให้บริการด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง เผยผลสำรวจ การใช้งานคลาวด์องค์กร (Enterprise Cloud Index : ECI) ทั่วโลกเเละในประเทศไทย ครั้งที่ 2 พร้อมผลการวิจัยในการเลือกใช้ไพรเวทคลาวด์ ไฮบริดคลาวด์และพับลิคคลาวด์สำหรับองค์กร
ผลสำรวจนี้จัดทำโดย “แวนสัน บอร์น” ผู้ทำวิจัยในนามของนูทานิคซ์ ทำการวิจัยเพื่อจะได้ทราบถึงสถานะของการใช้คลาวด์ในองค์กรทั่วโลกและแผนการใช้งาน ซึ่งได้ทำการสอบถามผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวน 2,650 คนจาก 24 ประเทศทั่วโลก จากอุตสาหกรรมหลายประเภท หลายขนาดธุรกิจในภูมิภาคอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชียแปซิฟิก
จากรายงาน พบว่าองค์กรมีการวางแผนที่จะโยกการลงทุนไปสู่สถาปัตยกรรมไฮบริดคลาวด์อย่างจริงจัง รวมถึงแผนการปรับใช้ไฮบริดคลาวด์ อย่างมีนัยสำคัญในอีก 5 ปีข้างหน้า จากการสำรวจปี 2019 แสดงให้เห็นว่า 85%
ของผู้ตอบเลือกไฮบริดคลาวด์เพื่อใช้ในการทำงานด้านไอทีที่สมบูรณ์แบบ
สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ตอบสำรวจกว่า 73% ระบุว่าได้ย้ายแอปพลิเคชันของตัวเองกลับจากพับลิกคลาวด์มายัง on-premise ด้วยเหตุผลสำคัญเรื่อง “ค่าใช้จ่าย” ที่ควบคุมไม่ได้หรือมากเกินกว่าที่ประเมินไว้ และ 60% ระบุว่าความปลอดภัยคือปัจจัยสำคัญในการพิจารณาการใช้งานคลาวด์
เกือบสามในสี่ (73%) ของผู้ตอบแบบสอบถามรายงานว่า พวกเขากำลังย้ายแอปพลิเคชันบางตัวออกจากพับลิค คลาวด์ไปไว้ยังดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กร โดย 22% ของผู้ใช้เหล่านั้นกำลังย้ายแอปพลิเคชันมากกว่าห้าตัวขึ้นไป
ซึ่งการกระทำเช่นนี้ตอกย้ำว่าองค์กรจำเป็นต้องใช้คุณสมบัติที่ยืดหยุ่นของไฮบริดคลาวด์เพื่อทำให้องค์กรสามารถปรับใช้งานโครงสร้างพื้นฐานไอทีได้ตามเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
กว่าครึ่ง (60%) ของผู้ตอบแบบสอบถามปี 2019 กล่าวว่า สถานะด้านความปลอดภัยของคลาวด์จะมีผลกระทบอย่างมากที่สุดต่อแผนการเลือกใช้คลาวด์ในอนาคต ในทำนองเดียวกันความปลอดภัยของข้อมูลและการปฏิบัติตามข้อบังคับถือเป็นตัวแปรอันดับต้น ๆ (26%) ในการตัดสินใจเลือกใช้งานขององค์กร
ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าหนึ่งในสี่ (28%) ระบุว่าไฮบริดเป็นรูปแบบที่ปลอดภัยที่สุด ซึ่งนับเป็นจำนวนที่มากกว่าผู้เลือกไพรเวทคลาวด์/ระบบปิดแบบเดิมเพียงอย่างเดียว (21%) และเป็นจำนวนมากกว่าถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่เลือกแบบดั้งเดิมที่เป็นการเก็บในดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กร เพียงอย่างเดียว (13%) เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะองค์กรต่าง ๆ สามารถเลือกระบบคลาวด์ที่เหมาะสมกับความต้องการด้านความปลอดภัยของตน
บริษัทจำนวนมากยังตามไม่ทันกับการใช้คลาวด์ในองค์กร อย่างไรก็ตาม แผนงานต่าง ๆ ของผู้ตอบแบบสอบถามชี้ให้เห็นว่า ในระยะเวลาหนึ่งปี จำนวนองค์กรที่ไม่มีการใช้คลาวด์จะลดลงไปอยู่ที่ 6.5% และในระยะเวลาสองปี จะลดลงกว่าครึ่งไปอยู่ที่ 3%
ทั้งนี้รายงานพบว่าจำนวนองค์กรที่ไม่มีการใช้คลาวด์ในทวีปอเมริกาลดลงเล็กน้อยที่ระดับ 21% เมื่อเทียบกับแถบยุโรป-ตะวันออกกลาง-แอฟริกา (EMEA) ซึ่งลดลง 25% และเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) ลดลง 24%
ผู้ตอบแบบสอบถามปีนี้เกือบสามในสี่ (72%) กล่าวว่าการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลผลักดันให้เกิดการใช้งานระบบคลาวด์ในองค์กร ส่วนอีก 64% เห็นว่าการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในองค์กรของพวกเขา
ภาพรวมตลาดคลาวด์ทั่วโลก จากรายงานของ Gartner บริษัทวิจัยและที่ปรึกษา ระบุว่า สหรัฐอเมริกายังเป็นผู้นำในการเปลี่ยนระบบจัดเก็บข้อมูลมาไว้บนคลาวด์มาตั้งแต่ปี 2015 วัดจากสัดส่วนงบสำหรับบริการคลาวด์จะสูงถึง 14% ของงบไอทีทั้งหมดในบริษัท
ขณะที่ประเทศอย่าง แคนาดา สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ บราซิล และออสเตรเลีย จะใช้งบคลาวด์สัดส่วน 10-11.5%
ประเด็นที่น่าสนใจคือ “ญี่ปุ่น” ที่เป็นประเทศพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัย ลำดับต้นๆ ของโลก กลับ “ไม่นิยมใช้ระบบคลาวด์” โดยมีการใช้งบคลาวด์สัดส่วนเพียง 4.4% ของงบไอที และการเติบโตของงบที่ใช้กับคลาวด์ในญี่ปุ่นยังเติบโตน้อยกว่า 20% ในรอบ 5 ปี (2017-2022) สวนทางกับประเทศจีนซึ่งปัจจุบันใช้งบคลาวด์สัดส่วน 8% ของงบไอทีรวม แต่มีการเติบโตเร็วที่ 35% ในรอบ 5 ปี
ด้านองค์กรธุรกิจไทยยังไว้ใจการใช้งานศูนย์ข้อมูลดั้งเดิมอยู่ เเละมีลักษณะการใช้คลาวด์เเบบ “ใช้พับลิคคลาวด์” ก่อน จากนั้นจึงย้ายไปเป็นระบบไฮบริดคลาวด์ในภายหลัง
ผู้ตอบเเบบสอบถามกว่า 59 % ระบุว่าในปัจจุบันศูนย์ข้อมูลของตนไม่ได้ใช้ระบบคลาวด์ ตัวเลขดังกล่าวค่อนข้างสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ 52.79%
ปัจจุบันมีเพียง 29% ของธุรกิจในไทยที่ใช้ระบบไพรเวทคลาวด์ เมื่อเทียบกับทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 52% เเละในภูมิภาคเอเชียเเปซิฟิกซึ่งอยู่ที่ 53.57% ทั้งนี้ใน 3-5 ปีข้างหน้า ธุรกิจในประเทศไทย ยังวางเเผนจะลดการใช้ไพรเวทคลาวด์ให้เหลือเพียง 12%
โดย 76% ผู้ตอบเเบบสำรวจ เห็นด้วยเเละเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า ไฮบริดคลาวด์เป็นรูปเเบบไอทีที่เหมาะสมกับองค์กรของตน ซึ่งตัวเลขนี้ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 85.1% เเละในเอเชียเเปซิฟิก 84.34 % องค์กรส่วนใหญ่ในทุกภูมิภาคยังกล่าวว่า พวกเขาไม่พบโซลูชั่นที่เหมาะสมในการสร้างเเละจัดการสภาพเเวดล้อมระบบ ไฮบริดคลาวด์ จากผู้จัดจำหน่ายไอทีของตนในปัจจุบัน
เป็นไปเเนวทางเดียวกันกับเเนวโน้มทั่วโลก โดยปัจจัยเเรกที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ระบบคลาวด์ในองค์กรคือ การรักษาความปลอดภัย ส่วน 61% ของบริษัทส่วนใหญ่ เห็นด้วยว่าบริษัทของตนยังขาดผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ เเละ 60% เชื่อว่ากฎรเบียบของท้องถิ่น เช่น ข้อกำหนดในการเก็บข้อมูล จะส่งผลกระทบสำคัญต่อเเผนการใช้ระบบคลาวด์
ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการนูทานิคซ์ (Nutanix) ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ในประเทศไทยธุรกิจยังคงใช้แอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่บนโครงสร้างพื้นฐานดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมกว่า 59% ที่ยังไม่ใช้ระบบคลาวด์ นั่นคือ “โอกาส” การพัฒนาของระบบคลาวด์ในไทย
เขาอธิบายต่อว่า ความยืดหยุ่นเป็นหัวใจสำคัญในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงมีเเนวโน้มที่องค์กรจะไปเน้นที่มัลติคลาวด์และไฮบริดคลาวด์แทน ซึ่งมีส่วนช่วยรองรับความต้องการที่มีความเฉพาะเจาะจงของตลาด เช่น ช่วงเทศกาลช็อปปิงออนไลน์ 11.11 ที่มีความต้องการการประมูลผลระดับสูง นอกจากนี้ยังมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องยึดติดอยู่กับผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง
“ตอนนี้ลูกค้าของนูทานิคซ์ในไทย ตอนนี้มีราว 300 ราย เป็นกลุ่มลูกค้าที่เเตกต่างจากเมื่อ 6 ปีก่อนมาก ซึ่งเดิมจะจำกัดอยู่ในเเวดวงบริษัทที่ต้องใช้เทคโนโลยีเท่านั้น เเละตอนนั้นมีหลายบริษัทยังไม่เข้าใจการใช้คลาวด์ เเต่ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ กลุ่มธุรกิจหันมาใช้บริการ เพราะต้องการอำนวยความสะดวก ความเร็วเเละปลอดภัยให้ลูกค้า อย่างธุรกิจการเงิน ธุรกิจค้าปลีก รวมไปถึงโรงพยาบาล”
เขายกตัวอย่างถึง “โรงพยาบาลสงขลานครินทร์” ที่ใช้ระบบ Private Cloud มาช่วยให้เเพทย์เข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยได้จากอุปกรณ์ของตนเองจากทุกที่เเละทุกเวลา ด้วยวิธีการที่ไม่ซับซ้อนเเพทย์จำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลทางการเเพทบ์ได้เเม่ไม่ได้หรือในโรงพยาบาล หรือเเม้กระทั่งกรณีอยู่ต่างประเทศ เป็นระบบที่เริ่มลงทุนได้ที่ละน้อยตามงบประมาณ ถ่ายโอนข้อมูลเป็นรายปีได้
สำหรับกลยุทธ์ของ นูทานิคซ์ใน ปี 2020 นี้ต้องการจะเจาะกลุ่มลูกค้าขนาดกลางเเละขนาดเล็กมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนลูกค้า เเบ่งเป็นธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรชราว 60% เเละธุรกิจขนาดกลาง 40% โดยมองว่า Digital Transformation เเละพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจคลาวด์เติบโตต่อไป
FYI
]]>