เคทีซี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 11 Dec 2024 13:38:03 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 KTC บทใหม่ภายใต้ CEO หญิง “พิทยา วรปัญญาสกุล” ทรานส์ฟอร์มสู่องค์กรดิจิทัลเต็มตัว https://positioningmag.com/1502970 Wed, 11 Dec 2024 10:33:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1502970 เคทีซีเผยแผนยุทธศาสตร์ปี 2568 ยกระดับทั้งองค์กรสู่ดิจิทัลอย่างยั่งยืน “Building  a Sustainable Future Through Digital Transformation” เตรียมพร้อมระบบไอทีและแผนการพัฒนาโครงสร้างการทำงานเชิงลึก ผลักดันบุคลากรทุกฝ่ายติดอาวุธความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เสริมประสิทธิภาพการทำงาน ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อสร้างประสบการณ์สมาชิกแบบครบวงจร พร้อมขยายฐานสมาชิกให้เติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่การบริหารพอร์ตสินเชื่อคุณภาพ 

พิทยา วรปัญญาสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผย “เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2568 จะขยับตัวดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐ จะช่วยเพิ่มรายได้ในภาคประชาชนและสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งถือเป็นสัญญาณบวกกับธุรกิจบริการสินเชื่อผู้บริโภค สำหรับทิศทางธุรกิจเคทีซีในปี 2568 เราได้เตรียมการเพื่อก้าวสู่องค์กรดิจิทัลอย่างยั่งยืน ด้วยกลยุทธ์ “Building a Sustainable Future Through Digital Transformation” บน 4 แนวทางหลัก ประกอบด้วย 

  1. Reach Better: ใช้ช่องทางดิจิทัลในการขยายฐานสมาชิกกลุ่มใหม่ที่นิยมทำรายการด้วยตนเองตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการด้วยการพัฒนา E-Application ที่ง่าย ไร้รอยต่อ และปลอดภัย สามารถรู้ผลการสมัครได้รวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมพัฒนาและทดสอบเครื่องมือในการประเมินคุณภาพสินเชื่อ (Credit Scoring Model) ใหม่ๆ เพื่อแสวงหาโอกาสของการขยายฐานสมาชิกที่ยังอยู่ในระดับความเสี่ยงที่รับได้ 
  2. Grow Healthier: การบริหารฐานข้อมูลสมาชิกอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมพัฒนาบริการใหม่ๆ บนแอป KTC Mobile ที่ทำให้สมาชิกสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ของเคทีซีได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ตอบโจทย์ความต้องการของสมาชิก และสร้างความมั่นใจในการใช้จ่าย
  3. Bond Tighter: เพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยของบริการรวมถึงการสื่อสารบนช่องทางออนไลน์ทั้งผ่านแอป “KTC Mobile” Line Connect, Facebook และเว็บไซต์ www.ktc.co.th เพื่อให้สมาชิกใช้งานง่าย สะดวกและมั่นใจมากขึ้น รวมถึงเครื่องมือที่ช่วยให้ทีมงานคอนแทคเซ็นเตอร์ (Contact Center) สามารถให้บริการตอบคำถามได้รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้สมาชิกได้รับความพึงพอใจมากที่สุด
  4. Work Smarter: เตรียมความพร้อมด้านเครื่องมือ กระบวนการและการพัฒนาทักษะ (Upskill) ด้านไอทีให้กับบุคลากรเคทีซีทั้งองค์กร ส่งเสริมการคิดริเริ่มและปรับปรุงกระบวนการทำงาน โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพงาน ลดค่าใช้จ่าย และพัฒนาทักษะของพนักงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง 

สำหรับเป้าหมายการทำธุรกิจในปี 2568 เคทีซีคาดว่าพอร์ตสินเชื่อรวมจะขยายตัวที่ 4-5% และคุมอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL Ratio) รวมให้อยู่ในระดับไม่เกิน 2% และมีแผนระดมเงินกู้ยืมระยะยาวประมาณ 15,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของพอร์ตสินเชื่อ ลงทุนด้านเทคโนโลยี รวมถึงรองรับหุ้นกู้และเงินกู้ยืมระยะยาวที่จะครบกำหนดประมาณ 13,000 ล้านบาท 

ในส่วนของยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตปี 2568 คาดการเติบโตที่ประมาณ 10-12% ด้วยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรที่ไม่ต่ำกว่า 320,000 ล้านบาท เพิ่มจำนวนสมาชิกใหม่ 250,000 บัตร เน้นกลุ่มผู้มีรายได้ 50,000 บาทขึ้นไป รวมถึงกลุ่มคนเริ่มทำงาน (First Jobber) สร้างความแตกต่างในด้านการทำกิจกรรมทางการตลาดและส่งเสริมการขายโดยใช้จุดแข็งด้านคะแนนสะสม KTC FOREVER ในการเพิ่มมูลค่าให้สมาชิกโดยร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจทุกหมวดสำคัญ เช่น หมวดอาหาร ช้อปปิ้ง เติมน้ำมัน และท่องเที่ยว เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์สมาชิกทุกกลุ่มเซ็กเมนต์

สำหรับธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ตั้งเป้าเติบโตที่ 3% เน้นขยายฐานสมาชิกใหม่ผ่านพันธมิตรธุรกิจต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงสินเชื่อผ่านช่องทางสมัครสินเชื่อออนไลน์ E-Application ที่ลูกค้าสามารถทำรายการได้ด้วยตนเอง รู้ผลอนุมัติพร้อมรับเงินโอนเข้าบัญชีภายใน 30นาที พร้อมสร้างประสบการณ์การใช้งานให้กับสมาชิกผ่านฟังก์ชัน “รูด โอน กด ผ่อน” ครบจบในบัตรเดียว และสานต่อโครงการ “เคลียร์หนี้” เพื่อเสริมวินัยทางการเงินแก่สมาชิก 

ส่วนสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ตั้งเป้าการเติบโตที่ 3,000 ล้านบาท เน้นขยายพอร์ตสินเชื่อคุณภาพผ่านสาขาธนาคารกรุงไทยตัวแทนจำหน่าย และพันธมิตรธุรกิจต่างๆ เน้นเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ประจำและเจ้าของกิจการขนาดเล็กที่เป็นเจ้าของรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ และกำลังมองหาสินเชื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ง่ายและปลอดภัย พร้อมรับวงเงินใหญ่สูงสุด 100% ของราคาประเมิน อนุมัติไวภายใน 1 ชั่วโมง รับเงินทันที โดยไม่ต้องมีคนค้ำประกัน 

เคทีซีพร้อมพัฒนาองค์กรด้วยกลยุทธ์ที่ยั่งยืน ในการสร้างนวัตกรรมทางการเงินที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการอย่างมีประสิทธิภาพและรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินอย่างยั่งยืน และธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงในอนาคต”

]]>
1502970
“พิทยา​ วรปัญญาสกุล” แม่ทัพ KTC คนใหม่ พร้อมทีมผู้บริหารหญิงล้วน กับภารกิจกำไรหมื่นล้าน https://positioningmag.com/1448781 Thu, 19 Oct 2023 09:04:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1448781 KTC จัดทัพองค์กรครั้งใหญ่ หลังจากที่ “ระเฑียร​ ศรีมงคล​” CEO ที่อยู่กับองค์กรยาวนานถึง 11 ปี ถึงคราวเกษียณอายุ พร้อมกับได้ส่งไม้ต่อให้กับ “พิทยา​ วรปัญญาสกุล” นั่งแท่น CEO คนใหม่ โดยมีผลในวันที่ 1 ม.ค. 2567 ทั้งนี้ยังคงมีภารกิจสำคัญกับเป้าหมายกำไรหมื่นล้านภายใน 5 ปี

CEO คู่บุญของ KTC

ถ้าพูดถึงชื่อ “ระเฑียร​ ศรีมงคล” ขึ้นชื่อว่าเป็น CEO คู่บุญของ ​KTC หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ที่อยู่กับบริษัทมายาวนาน 11 ปี เตรียมปิดฉากอำลาตำแหน่งในวันที่ 31 ธ.ค. 2566 หลังจากที่ต่ออายุเกษียณอายุมาแล้วถึง 2 รอบ

ระเฑียรได้เข้ารับตำแหน่ง CEO ของ KTC เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2555 ในตอนนั้นสถานการณ์ของบริษัทเรียกได้ว่าย้ำแย่สุดๆ มีผลการดำเนินงานขาดทุนกว่าพันล้าน แต่พ่อมดระเฑียรสามารถเสกผลกำไรภายในปีแรกตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งได้ แม้จะเริ่มที่หลักร้อยล้าน แต่ก็ค่อยๆ ไต่เป็นระดับพันล้านได้ในปีต่อๆ มา

ktc

ระเฑียรจบการศึกษาหลากหลายสาขา เช่น แพทยศาสตรบัณฑิต (ศิริราช) มหาวิทยาลัยมหิดล, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปริญญาโทรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พร้อมกับมีประสบการณ์ทำงานหลากหลาย ตั้งแต่การเป็นหมอรักษาโรคทั่วไป เข้าสู่วงการธนาคารและผ่านหน้าที่หลากหลาย เช่น Chief Dealer ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, กรรมการรองผู้จัดการ บงล. เอกธนา, เข้าร่วมงานกับธนาคารนครหลวงไทย ที่กลายธนาคารธนชาตหลังรวบกิจการ ซึ่งเป็นแบงก์ล่าสุดก่อนออกมาร่วมงานกับ KTC และเคยเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ เช่น บริษัท ทีโอที ประธานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น

นับเป็น CEO ที่มีความผสมผสานอย่างหลากหลาย จากประสบการณ์และการสั่งสมความรู้ทุกมิติ ตั้งแต่การเรียนหมอ เคยใช้วิชาชีพในการรักษาผู้คน การเรียนบริหารธุรกิจ เป็นผู้บริหารสถาบันการเงิน รวมไปถึงความสนใจวิชาโหราศาสตร์ พยากรณ์ศาสตร์ ที่มาจากความชอบ และอ่านหนังสือทุกประเภท รวมไปถึงหนังสือพระ

เปิดใจการคัดเลือก CEO ใหม่

หลังจากเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มติบอร์ดบริหารได้แต่งตั้ง “พิทยา​ วรปัญญาสกุล” ขึ้นแท่น CEO คนใหม่อย่างเป็นทางการ และในขณะเดียวกันระเฑียรก็ได้เปิดใจครั้งแรกที่ทริปขอบคุณสื่อมวลชนที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปีนี้เดินทางไปยังประเทศสาธารณรัฐทูร์เคีย (ตุรกี) ภายใต้ธีม “The Story Continues…The Next Journey Begins” เป็นการส่งไม้ต่อถึงกลุ่มผู้บริหารรุ่นใหม่ ภายใต้ DNA เดิม

ระเฑียรกล่าวเปิดว่า “ใครที่จะขึ้นมาเป็น CEO ต่อจะต้องไม่เปลี่ยนแปลง ต้องมีกำไรต่อ มีเป้าหมายมีกำไรหมื่นล้านภายใน 4-5 ปี สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมีความท้าทายรอบด้าน กระบวนการที่จะคัดเลือก CEO จึงสำคัญ หลายคนให้ความแข็งแกร่งด้าน Hard Skills แต่ที่ KTC มีสกิลในการปรับตัวสูง Hard Skills จึงไม่สำคัญ สิ่งที่สำคัญคือ ผู้นำต้องมี Leadership OS (The Operating System) ก็เลยมาดูว่าใครที่มีความเป็นผู้นำ สามารถสร้าง Leadership OS ใน KTC ได้ ก็เลยเลือกพิทยาที่มีคุณสมบัติพร้อม”

ktc

ระเฑียรขยายความถึง Leadership OS มีใจความสำคัญ 3 อย่าง ได้แก่

  1. สร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นกับคน ห่วงใยผู้ที่เกี่ยวข้อง พาร์ตเนอร์ ลูกค้า มีความอบอุ่นใจ ลูกน้องสามารถแสดงความเห็นที่แตกต่างได้ ชัดเจน ไม่ปลิ้นปล้อนกลับไปกลับมา และแฟร์ คนที่ทำมากต้องได้มากกว่าคนที่ทำน้อย
  2. มีความชัดเจนในการดำเนินการ มีความคิด การตัดสินใจที่เฉียบขาด
  3. มีทิศทางการทำงานที่ต่อเนื่อง ทำสิ่งที่ทำมาแล้ว และส่งต่อเนื่องในอนาคตได้ มีการสร้างแรงจูงใจที่ดี สร้างสิ่งแวดล้อมให้อยากทำงาน มีความมั่นใจในงานที่ตัวเองทำ และมีคอนเนกชั่นที่ดี

พิทยาเป็นลูกหม้อร่วมงานในสายงานการตลาดกับ KTC มายาวนานถึง 26 ปี และมีบทบาทสำคัญในการร่วมผลักดันองค์กรเคทีซีให้เติบโตอย่างยั่งยืน ปัจจุบันพิทยาดำรงตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส กลุ่มงาน การตลาดและสื่อสารองค์กร (Chief Marketing & Communications Officer) ดูแลสายงาน การตลาดบัตรเครดิต การตลาดดิจิทัล และช่องทางออนไลน์ รวมทั้งสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์องค์กร ก่อนหน้านี้เป็นกรรมการและกรรมการตรวจสอบ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจจัดการกองทุน

ความท้าทาย กับเป้าหมายกำไรหมื่นล้าน

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา KTC สร้างผลประกอบการ New High อย่างต่อเนื่อง ยกเว้นช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ทุกธุรกิจต่างหยุดชะงัก เมื่อเศรษฐกิจกลับมาเดินหน้า ระเฑียรได้เคยวางเป้าหมายใหญ่ไว้ว่า KTC จะต้องมีกำไรหมื่นล้านให้ได้ภายในปี 2570 หรือราวๆ ภายใน 4-5 ปี

เมื่อพิทยาเข้ามารับช่วงต่อ ก็ต้องเจอกับโจทย์ยากนี้เช่นกัน เพียงแต่พิทยาได้เปิดใจว่า “จะพยายามทำให้ได้เร็วที่สุด” โดยที่ไม่กดดันตัวเอง และทีมงานจนเกินไป

พิทยา เล่าถึงแผนธุรกิจในปี 2567 ว่า ยังมองเห็นโอกาสในการเติบโตของธุรกิจสินเชื่อทั้ง 3 ธุรกิจ คือธุรกิจบัตรเครดิต, สินเชื่อบุคคล และสินเชื่อเคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน เพราะเชื่อว่ายังมีผู้บริโภคที่ต้องการสินเชื่ออยู่อีกมาก โดยจะเน้นขยายฐานสมาชิกไปยังผู้ที่มีความต้องการสินเชื่อเป็นหลัก และไม่ชักจูงให้สมาชิกมีภาระหนี้ที่เกินความจำเป็น สอดคล้องกับแนวทางการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Lending) ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ktc

“การนำพาธุรกิจเคทีซีต่อจากนี้จะตั้งอยู่บน 3 องค์ประกอบคือ คน-กระบวนการ-เทคโนโลยี เริ่มจาก คน ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญที่เราดูแลและให้ความสำคัญมาตลอด ในปีหน้าจะมุ่งพัฒนาและส่งเสริมความเป็นผู้นำของผู้บริหารรุ่นใหม่ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น พร้อมทั้งพัฒนาผู้บริหารระดับกลาง โดยเน้นการสร้างความเป็นผู้นำเพื่อจะร่วมกันขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ สำหรับกระบวนการจะให้ความสำคัญกับการออกแบบและปรับกระบวนการทำงานให้กระชับรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน โดยยึดสมาชิกเป็นศูนย์กลาง มีความเข้าใจความต้องการของสมาชิกและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อทำการตลาด พร้อมทั้งปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และบริการของเคทีซี

ส่วนเรื่องเทคโนโลยีนั้น เคทีซียังคงให้ความสำคัญกับการใช้งานคลาวด์ (Cloud Computing) ในโครงสร้างระบบทางด้านไอที รวมถึงการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งจะมีการใช้งานมากยิ่งขึ้น และจะส่งผลดีในเรื่องความปลอดภัย ความเสถียร ยืดหยุ่น คล่องตัว รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในด้านต้นทุนการดำเนินงานและคุณภาพการให้บริการ  นอกจากนี้ เคทีซียังเล็งเห็นโอกาสในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาเพิ่มศักยภาพขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงวิธีการที่ปัจจุบันเคทีซีได้ใช้  AI อยู่แล้วให้ใช้งานได้ดีขึ้น หรือการเริ่มศึกษาทดลองและใช้ Generative AI ในกระบวนการทำงานต่างๆ ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อสมาชิก หรือเพื่อปรับปรุงคุณภาพของพอร์ตสินเชื่อ”

ธุรกิจบัตรเครดิต

สำหรับแผนในปี 2567 ธุรกิจบัตรเครดิต ปัจจุบันมีจำนวนบัตร 2.6 ล้านใบ จากลูกค้า 2.2 ล้านราย ยอดแอคทีฟ 90% ตั้งเป้ามีสมาชิกบัตรใหม่เพิ่มขึ้น 230,000 ใบ และมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรฯ เติบโต 15% จากปี 2566 โดยในปี 2567 จะเป็นปีที่ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยสำหรับสมาชิกในทุกขั้นตอนของการใช้บริการบัตรเครดิตเคทีซี ด้วยการพัฒนาแอปฯ “KTC Mobile” ต่อเนื่อง รวมทั้งต่อยอดผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต “เคทีซี ดิจิทัล” (KTC DIGITAL CREDIT CARD) ให้ตอบโจทย์การใช้งานออนไลน์มากขึ้น ด้วยการพัฒนาช่องทางสมัครบัตรออนไลน์ E-Application เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่ที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนออนไลน์

ktc

เน้นทำการตลาดในกลุ่มผู้มีรายได้ต่อเดือน 50,000 บาทขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่ทำให้การใช้จ่ายโดยรวมเติบโตได้ดี อีกทั้งจะเดินหน้าสร้างคุณค่าร่วม (Co-creating value) กับพันธมิตรหลากหลายธุรกิจ ทั่วประเทศกว่า 2 พันราย เพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้กับสมาชิกบัตร

ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล

สินเชื่อส่วนบุคคลยังเป็นธุรกิจที่เน้นการเติบโตทางธุรกิจควบคู่ไปกับการบริหารพอร์ตสินเชื่อคุณภาพ โดยในปี 2567 ตั้งเป้าเติบโต 5% จำนวนสมาชิกบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” เพิ่มขึ้น 100,000 ราย ด้วยแผนกลยุทธ์หลัก 2 เรื่อง คือ 1. สรรหาสมาชิกใหม่ที่มีคุณภาพ เน้นการรับสมัครผ่านช่องทางสมัครสินเชื่อออนไลน์ E-Application เพื่อให้สมาชิกทำรายการได้ด้วยตนเอง และรู้ผลอนุมัติแบบเรียลไทม์ พร้อมรับเงินโอนเข้าบัญชีทันที รวมทั้งจะพัฒนากระบวนการรับสมัครผ่านเว็บไซต์ของเคทีซีและของพาร์ตเนอร์

ktc

2. สร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้บัตรกดเงินสดให้กับสมาชิก “เคทีซี พราว” กว่า 700,000 ราย ไม่ว่าจะเป็นการ “รูด โอน กด ผ่อน” โดยจะเพิ่มฟังก์ชันการเบิกถอนและใช้วงเงินผ่านแอปฯ “KTC Mobile” ให้รองรับการโอนเงินไปยังบัญชีพร้อมเพย์ เพิ่มเติมจากการโอนเงินเข้าบัญชีได้หลากหลายธนาคารในปัจจุบัน รวมทั้งจะยังคงจัดแคมเปญ “เคลียร์หนี้เกลี้ยง” ที่โดนใจสมาชิกมาตลอด 10 กว่าปี เพื่อส่งเสริมและตอบแทนให้ผู้ที่ใช้สินเชื่ออย่างมีวินัย ได้รับสิทธิ์ลุ้นเคลียร์หนี้กับเคทีซี

ธุรกิจเคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน

สำหรับธุรกิจสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ยังคงเน้นการขยายตัวของพอร์ตสินเชื่อต่อเนื่อง โดยตั้งเป้ายอดอนุมัติสินเชื่อใหม่ปี 2567 ที่ 6,000 ล้านบาท ด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ 1. เน้นสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ด้วยคอนเทนต์ที่เน้นความบันเทิง เข้าถึงง่ายผ่านช่องทางออนไลน์และโซเชียล มีเดีย เสริมด้วยโฆษณาออฟไลน์ และสื่อตามพื้นที่สาขาของธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศ

ktc

2. ผนึกกำลังกับธนาคารกรุงไทยในการขยายฐานลูกค้า ผ่านสาขาธนาคารกว่า 900 แห่งเป็นหลัก เสริมด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ของธนาคาร อย่าง NEXT ถุงเงินและเป๋าตัง โดย “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อเดียวของธนาคารกรุงไทย ที่สามารถทำรายการอนุมัติได้แบบเรียลไทม์ พร้อมรับเงินทันที  3. ตอกย้ำและเสริมความแกร่งให้กับจุดแข็งผลิตภัณฑ์ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ในฐานะผู้บริการรายเดียวที่ให้วงเงินใหญ่สูงสุด 1 ล้านบาท อนุมัติสินเชื่อภายใน 1 ชั่วโมง พร้อมรับเงินทันที และยังขยายฐานไปยังผลิตภัณฑ์ใหม่ “สินเชื่อทะเบียนรถบิ๊กไบค์ เคทีซี พี่เบิ้ม” พร้อมบัตรกดเงินสด เคทีซี พี่เบิ้ม อีกด้วย

ในส่วนของ MAAI by KTC ในปี 2567 มีแผนจะขยายจำนวนพันธมิตรธุรกิจขนาดกลางและใหญ่อีกไม่ต่ำกว่า 20 ราย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนสมาชิก MAAI ประมาณ 2 ล้านราย โดยพันธมิตรเป้าหมายของแพลตฟอร์ม MAAI จะอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่เน้นสร้างความถี่ในการกลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการซ้ำ แพลตฟอร์ม MAAI ยังมีการนำเสนอโมเดลการให้บริการที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยพันธมิตรร้านค้าบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับผลประกอบการของเคทีซี แจ้งงบการเงินรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา กำไรสุทธิ 5,534 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% โดยกำไรสุทธิไตรมาส 3/2566 เท่ากับ 1,857 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.7% พอร์ตสินเชื่อรวมขยายตัว 10% อยู่ที่ 106,701 ล้านบาท จากปัจจัยสนับสนุนของการบริโภคภาคเอกชน

มีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมอยู่ที่ 14.9% และมีส่วนแบ่งตลาดของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเท่ากับ 12.1% ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2565 ในขณะที่สัดส่วนของลูกหนี้สินเชื่อบุคคล (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน) อยู่ที่ 6.2% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม

มีฐานสมาชิกรวม 3,331,065 บัญชี แบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,616,269 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 69,225 ล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรรวม 9 เดือนเท่ากับ 192,270 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.7% NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.3% พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 714,796 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” และดอกเบี้ยค้างรับ  30,246 ล้านบาท

เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เท่ากับ 2,058 ล้านบาท NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 3.1% ยอดสินเชื่อลูกหนี้ใหม่ (New Booking) ของ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ในไตรมาส 3/2566 เท่ากับ 794 ล้านบาท และรอบเก้าเดือนของปี 2566 มีมูลค่า 1,929 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อมีมูลค่า 3,369 ล้านบาท โดยมียอดปล่อยสินเชื่อใหม่ของรถขนาดใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรม (Commercial Loan) ในรอบ 9 เดือนของปี 2566 ที่ 1,446 ล้านบาท

]]>
1448781
KTC มองเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดี คาดสินเชื่อยังเติบโตได้ถึง 15% ขณะที่ NPL ลดลง https://positioningmag.com/1433873 Tue, 13 Jun 2023 06:03:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433873 เคทีซี (KTC) มองเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีส่งผลต่อตลาดสินเชื่อของไทย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรนั้นเพิ่มสูงขึ้น โดยบริษัทคาดว่าในปีนี้พอร์ตสินเชื่อรวมเติบโต 15% และมีตัวเลข NPL ต่ำกว่า 1.8% 

ในงานเสวนา KTC FIT Talks ครั้งที่ 9 ในหัวข้อ จับเข่าคุยเรื่องเศรษฐกิจและธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคครึ่งหลังปี 2566 ชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส กลุ่มงานบริหารการเงิน บมจ. บัตรกรุงไทย หรือ KTC ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับตลาดสินเชื่อของไทยว่ายังเติบโตได้ดี สอดคล้องกับคาดการณ์จาก TDRI ที่มองว่า GDP ไทยปีนี้จะโตได้ 3.5%

รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสของ KTC ได้กล่าวว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา ส่งผลให้ KTC สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ และมีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรที่เติบโตอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงปัจจัยสำคัญคือ การที่รัฐบาลยกเลิกมาตรการล็อคดาวน์จากโควิด-19 ทำให้เกิดกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ ส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัว

เขาชี้ว่า “สินเชื่อผู้บริโภคนั้นเมื่อรายได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการได้เงินกู้ที่มากขึ้น” นอกจากนี้ ชุติเดช ได้กล่าวถึงความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการที่ผู้บริโภคต้องการจับจ่ายใช้สอย (Pent Up Demand) โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในต่างประเทศ

ชุติเดช ชยุติ – รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส กลุ่มงานบริหารการเงิน บมจ. บัตรกรุงไทย

ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา KTC มีอัตราการเติบโตของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรอยู่ที่ 22.5% สูงกว่าอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตที่ 17.7% ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรของบริษัทฯ อยู่ที่ 12.2%

นอกจากนี้รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสของ KTC ยังได้กล่าวถึงการเตรียมตัวรับมือกับสภาวะเศรษฐกิจ เช่น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ช่วงที่ผ่านมาบริษัททำอะไรเยอะมาก เช่น ออกบัตรเน้นการท่องเที่ยว หรือแม้แต่การปรับปรุงระบบการทำงาน

ขณะที่ต้นทุนทางการเงินของบริษัทคาดว่าจะอยู่ที่ 2.7% แม้คาดการณ์จะมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ตาม บริษัทได้ออกหุ้นกู้ไปแล้วถึง 4,000 ล้านบาทเพื่อล็อกต้นทุนทางการเงินไว้

เป้าหมายของบริษัทในปีนี้คือพอร์ตสินเชื่อรวมเติบโต 15% ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเติบโต 10% พอร์ตสินเชื่อบัตรกดเงินสดเคทีซี พราว เติบโต 7% ยอดอนุมัติสินเชื่อเคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน เพิ่ม 9,000 ล้านบาท และ NPL น้อยกว่า 1.8% 

]]>
1433873
KTC เผยยอดใช้จ่ายบริการกลุ่มสุขภาพและความงามฟื้นตัวเท่ากับก่อนช่วงโควิดระบาดแล้ว https://positioningmag.com/1407648 Thu, 10 Nov 2022 12:36:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1407648 ผู้บริหารของ บมจ. บัตรกรุงไทย (KTC) ได้เปิดเผยถึงยอดใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ในหมวดสุขภาพและความงามติดอันดับ 4 จากยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของบริษัททั้งหมดในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา และยอดใช้จ่ายเองยังฟื้นตัวกลับมาเท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้วด้วย

สิรีรัตน์ คอวนิช ผู้อำนวยการการตลาดบัตรเครดิต บมจ. บัตรกรุงไทย (KTC) ได้เปิดเผยว่าภาพรวมลูกค้าที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของ KTC ด้านสุขภาพและความงามระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายนในปีนี้ถือว่าเติบโตอย่างมากไม่ว่าจะเป็นปัจจัยจากสถานการณ์โควิดที่ผ่อนคลายขึ้น ส่งผลทำให้หลายกิจกรรมในหมวดดังกล่าวกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง

โดยปัจจัยสำคัญของกลุ่มโรงพยาบาลได้แก่ เมื่อมีมาตรการผ่อนคลาย รวมถึงผู้ป่วยโควิดลดลงนั้นทำให้โรงพยาบาลมีความพร้อมในการรักษาผู้ป่วยโรคอื่นๆ มากขึ้น ประกอบกับผู้ป่วยกลับมารักษาในบริการที่เคยชะลอการรักษาในช่วงโควิดระบาดหนัก เช่น บริการผ่าตัดต่างๆ หรือบริการทันตกรรม ซึ่งเป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงนั้นเพิ่มมากขึ้น

ผู้อำนวยการ-การตลาดบัตรเครดิตของ KTC ได้กล่าวว่า หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 คนทั่วไปสนใจสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะโปรโมชันต่างๆ นั้นมีผู้บริโภคสนใจจริงๆ เช่น การทำโปรโมชันด้านสุขภาพกับโรงพยาบาลต่างๆ

ขณะที่หมวดความสวยความงามนั้นผู้บริหารของ KTC รายนี้ได้เปิดเผยว่า หมวดดังกล่าวนั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังจากบริการเหล่านี้เปิดให้บริการได้ตามปกติ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ของกลุ่มความสวยงามนี้เป็นลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงและใช้บริการต่อเนื่อง อาทิ โปรแกรมยกกระชับและศัลยกรรมความงาม

เธอยังกล่าวเสริมว่า “เทรนด์ความงามกำลังมาแรงสำหรับผู้บริโภคในยุคนี้ที่ต้องการเสริมความมั่นใจเพื่อให้ตัวเองดูดี โดยผู้บริโภคที่มีอายุน้อยยังหันมาดูแลตัวเองในด้านความงามเพิ่มมากขึ้น” ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลทำให้ยอดการใช้งานบัตรนั้นเพิ่มสูงขึ้น

ทางด้านหมวดกีฬาและฟิตเนสก็กลับมาคึกคักอีกครั้ง จากปัจจัยการแข่งขันกีฬาต่างๆ รวมถึงการจัดงานวิ่งหรือปั่นจักรยานที่กลับมาจัดงานได้อีกครั้ง โดย KTC ได้อ้างอิงข้อมูลแพลตฟอร์มสมัครงานวิ่งรายหนึ่ง ได้คาดว่าในปีนี้จะมีการจัดงานวิ่งประมาณ 600 ถึง 700 งาน ส่งผลให้สมาชิกเริ่มซื้อสินค้าอุปกรณ์กีฬาและบริการฟิตเนส สำหรับใช้ในการเตรียมตัวฝึกซ้อมเพื่อแข่งขันมากขึ้น

นอกจากนี้ KTC ยังมองถึงส่วนของสปอร์ตแฟชั่นที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่ส่งผลให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่แค่การใส่เล่นกีฬาเพียงอย่างเดียว จึงทำให้เกิดการซื้อซ้ำมากขึ้น”

ปัจจุบัน Market Share ในตลาดบัตรเครดิตของไทยนั้น KTC มีส่วนแบ่งที่ 12% และเธอได้กล่าวว่าถ้าเจาะแต่ละ Segment น่าจะมีส่วนแบ่งมากกว่า 12% ด้วยซ้ำ

สำหรับกลยุทธ์การตลาดในหมวดสุขภาพและความงามของ KTC หลังจากนี้ จะเน้นทำการตลาดที่เข้าถึงแต่ละกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยศึกษาข้อมูลจากพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้าที่มีกำลังซื้อ เพื่อนำเสนอสิทธิพิเศษที่ตรงกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

นอกจากนี้ KTC ยังเตรียมรุกกลุ่มสุขภาพและความงามออกไปยังต่างจังหวัดโดยเน้นขยายสิทธิพิเศษไปยังร้านค้าท้องถิ่นที่คนต่างจังหวัดนิยมไปใช้ ซึ่งจะส่งผลให้ยอดการใช้จ่ายในหมวดสุขภาพและความงามสูงขึ้น และมีส่วนในการเร่งให้ยอดการใช้จ่ายรวมผ่านบัตรเครดิตในปีนี้เติบโตตามที่บริษัทฯ คาดการณ์  

]]>
1407648
KTC กรุยเส้นทางใหม่ ปั้น MAAI By KTC รุกตลาด “ลอยัลตี้ แพลตฟอร์ม” ครบวงจร https://positioningmag.com/1370794 Tue, 18 Jan 2022 13:53:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370794 เมื่อไวรัส COVID-19 อยู่กับเราเข้าสู่ปีที่ 3 ภาคธุรกิจมีการปรับตัว พลิกมุมคิดกันหลายตลบ เพื่อความอยู่รอด และรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยที่ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ดูจะมีความท้าทายรอบด้าน แต่ก็ยังมีการเติบโตท่ามกลางวิกฤต ทำให้ KTC มีการปรับตัวครั้งใหญ่ ชู 2 โปรดักต์ฮีโร่ “เคทีซี พี่เบิ้ม” และ “MAAI By KTC” หวังสร้างกำไรที่ยั่งยืน

เดินหน้าสร้างนิวไฮระลอกใหม่!

ในปี 2564 ที่ประเทศไทย และทั่วโลกต้องเจอกับความผันผวน ความไม่แน่นอนต่างๆ รอบตัว แต่ KTC ยังคงสร้างกำไรแบบนิวไฮได้ แต่ก็ต้องบอกว่ายังต้องเจอกับความท้าทายรอบด้าน พร้อมกับมาตรการด้านดอกเบี้ยจากทางภาครัฐ ทำให้ธุรกิจสินเชื่อ และบัตรเครดิตไม่สามารถขยายตัวได้เท่าที่ควร

ทำให้ KTC ต้องสร้างเส้นทางใหม่เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนมากขึ้น หวังดันพอร์ตเกินแสนล้านบาท พร้อมกับสร้างกำไรนิวไฮอีกระลอก โดยพระเอกและนางเอกในปีนี้อยู่ที่ 2 โปรดักต์ ได้แก่ “เคทีซี พี่เบิ้ม” ธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ และ “MAAI By KTC” ให้บริการด้านลอยัลตี้ แพลตฟอร์มแบบครบวงจร

ktc

ระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

“หลังจากสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น และมีการเปิดประเทศตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 เป็นต้นมา ส่งผลให้เศรษฐกิจ และการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีกับตลาดสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค และเป็นโอกาสที่จะผลักดันธุรกิจเคทีซีให้เติบโต และมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างสถิติใหม่ของการทำกำไรสูงสุดมากกว่า 6,000 ล้านบาท กับพอร์ตสินเชื่อที่เกินแสนล้านบาท ด้วยสองโมเดลธุรกิจใหม่ที่เราตั้งใจสร้างขึ้นกับการออกเดินทางครั้งใหม่ เพื่อส่งความสุขเป็นของรับขวัญสมาชิกหลังผ่านความทุกข์จากวิกฤต รวมทั้งการเดินหน้าธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล เพื่อขยายฐานสมาชิกกลุ่มใหม่และดูแลคุณภาพพอร์ตลูกหนี้ตลอดจนคัดสรรสิทธิประโยชน์ที่ทรงคุณค่าตอบสนองทุกความต้องการของสมาชิกกว่า 3.3 ล้านบัญชี”

รู้จัก MAAI BY KTC ยูนิตที่คิดแบบสตาร์ทอัพ

ในปีนี้ KTC ได้ฤกษ์คลอดลูกสาวคนใหม่ได้แตกเป็นอีกหนึ่งธุรกิจภายใต้บัตรเครดิต ก็คือ MAAI BY KTC เป็นบริการลอยัลตี้ แพลตฟอร์มแบบครบวงจร เรียกว่าไม่ได้เป็นการหาลูกค้าในกลุ่มสินเชื่ออีกต่อไป แต่เป็นการหาลูกค้ากลุ่มองค์กร ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นพาร์ตเนอร์ของ KTC อยู่หรือไม่ ก็สามารถใช้บริการได้

ระเฑียรเล่าว่า การเปิดยูนิต MAAI BY KTC เหมือนเป็นการคิด การทำงานแบบ “สตาร์ทอัพ” เป็นครั้งแรก เพราะแต่เดิม KTC จะเป็นองค์กรที่ค่อนข้างจะ Conservative (อนุรักษนิยม) ไม่ค่อยลงทุนในสตาร์ทอัพ เพราะรู้สึกไม่คุ้มกับการเอาเงินไปเผา ถ้าในภาษาธุรกิจ เรียกง่ายๆ ว่า ในการจะออกโปรดักต์แต่ละครั้งต้องมีการวางแผน การคิดที่ถี่ถ้วน กว่าจะลงทุนในแต่ละครั้ง

ktc

แต่ MAAI BY KTC เป็นการคิดแบบสตาร์ทอัพ มีทีมแบบสตาร์ทอัพ ที่ปล่อยให้ทดลองตลาด ดูผลตอบรับ และขยายผลในอนาคต เพื่อเชื่อมต่อเป็นอีโคซิสเท็มของ KTC

ทางด้าน ประณยา นิถานานนท์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – การตลาดบัตรเครดิต ผู้ดูแลโปรเจกต์ MAAI BY KTC เริ่มเล่าว่า

“เริ่มคิดโปรเจกต์นี้ได้ประมาณ 1 ปี คุณระเฑียรให้ไอเดียว่าลองคิดว่าจะ Diversify ธุรกิจอะไรได้บ้าง ลอยัลตี้มันมีโอกาสยังสามารถต่อยอดได้ เราเลยต่อยอดจากจุดแข็งที่เราทำคะแนนสะสม KTC FOREVER มา 25 ปี เราแข็งแกร่งในการทำระบบตรงนี้ จึงนำเสนอเป็นอีโคซิสเท็ม การบริหารจัดการข้อมูลลูกค้า การเก็บข้อมูล ระบบคะแนนสะสม การโอน แลกคะแนน ตั้งเป้าว่าปีนี้จะต้องมี 10 พันธมิตร และมีสมาชิก 1 ล้านราย”

MAAI BY KTC เป็นลอยัลตี้ แพลตฟอร์มแบบครบวงจร เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ให้บริการกับพันธมิตรมีโซลูชันส์ที่สำคัญ คือ

  1. ระบบบริหารจัดการสมาชิก (Membership Management)
  2. ระบบบริหารจัดการคะแนน (Point System Management) ไม่ว่าเป็นคะแนนของพันธมิตรเอง หรือจะใช้คะแนน MAAIPOINT ในการทำ Loyalty Program ก็ทำได้เช่นกัน โดยคะแนน MAAIPOINT นี้ สามารถใช้เป็นคะแนนกลางในการแลกเปลี่ยนกับคะแนนอื่นๆ ในกลุ่มพันธมิตรบน MAAI Platform ได้ด้วย
  3. ระบบบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ในรูปแบบคูปองอิเล็กทรอนิกส์ (e-Coupon Management) เพื่อให้การแลกคะแนนมีความหลากหลาย ตรงใจกลุ่มลูกค้าสมาชิก ไม่ว่าจะแลกเป็นอีคูปอง (E-Coupon) หรือแลกสินค้าได้ที่ร้านค้าพันธมิตรทั่วไป ครอบคลุมทุกหมวดการใช้จ่าย อาทิ ร้านค้า โรงภาพยนตร์ ร้านอาหารและบริการเดลิเวอรี่

ktc

ที่มาของคำว่า MAAI (มาย) มาจากคำว่า MAK MAAI (มากมาย) หมายถึงสิทธิประโยชน์ที่มากมาย กับร้านค้าพันธมิตรที่มากมาย และความสะดวกในการใช้ที่มากมาย อีกทั้งยังพ้องเสียงกับคำว่า Mine ที่ต้องการสื่อถึงสิทธิประโยชน์ที่เป็นของผู้ใช้ และเพื่อผู้ใช้

ถ้าถามว่ามีความแตกต่างจาก KTC FOREVER อย่างไร KTC FOREVER เกิดจากการใช้บัตรเครดิตของ KTC อย่างเดียวเท่านั้น แต่ MAAI เป็นธุรกิจ B2B กลุ่มเป้าหมายแรกคือ กลุ่มพันธมิตรธุรกิจ

เริ่มเปิดทดลองระบบในเดือนมกราคม 2565 จะเปิดให้พนักงาน KTC ได้ทดลองใช้ในช่วงเริ่มต้นกับ 16 ร้านค้าและจะขยายพันธมิตรร้านค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้เริ่มใส่คะแนนในระบบ 300 ล้านคะแนน

“เคทีซี พี่เบิ้ม” กับเป้าหมายเบิ้มๆ

KTC ได้ปั้นเคทีซี พี่เบิ้มมาระยะหนึ่งแล้ว เป็นธุรกิจสินเชื่อที่มีหลักประกัน เป็นเซ็กเมนต์ที่มีการเติบโตสูง ที่ผ่านมา KTC ได้เร่งขยายฐานสมาชิกต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้พอร์ตโตแบบก้าวกระโดด และพร้อมตั้งเป้าสินเชื่อที่ 11,500 ล้านบาทในปี 2565

กลยุทธ์สำคัญเน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่แบบเชิงรุก ผ่านบริการพี่เบิ้ม เดลิเวอรี่ โดยใช้ทีมขายของ KTC ทั่วประเทศไปให้บริการสินเชื่อถึงบ้านของลูกค้า หรือสถานที่ที่ลูกค้าสะดวกด้วยความรวดเร็ว ผูกไปกับช่องทางของเครือข่ายธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศกว่า 900 สาขา และกรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง (KTBL) 11 สาขา ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลัก และจะเน้นสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเปิดรับเป็นหลัก

ktc

รวมทั้งสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบัตรกดเงินสด “เคทีซี พี่เบิ้ม” เป็นครั้งแรกของสินเชื่อทะเบียนรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ในรูปแบบของบัตรกดเงินสด ที่ลูกค้าสามารถรูด-โอน-กด-ผ่อน ผ่านบัตรได้ทันที ครอบคลุมถึงธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ (Hire Purchase) ภายใต้ใบอนุญาตของกรุงไทยธุรกิจ ลีสซิ่ง ซึ่งเคทีซีถือหุ้นอยู่ 75.05%

พร้อมพัฒนากระบวนการทำงานด้วยหลักการของดิจิทัล ทวิน (Digital Twin) โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการสมัคร และอนุมัติสินเชื่อ เพื่อให้บริการมีความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเติมเต็มช่องว่างในตลาด ด้วยจุดแข็งที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น ด้วยวงเงินใหญ่ที่ขยายถึง 1 ล้านบาท อนุมัติใน 2 ชั่วโมง พร้อมรับเงินทันที รับทุกอาชีพและเอกสารง่าย ไม่ยุ่งยาก

ขยายบัตรเครดิตให้ตรงใจ

สำหรับธุรกิจบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคลในปี 2565 เน้นการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้ที่มีคุณภาพดี ขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่ ตลอดจนรักษาฐานสมาชิกปัจจุบันด้วยการสร้างประสบการณ์ที่ดีผ่านกิจกรรมส่งเสริมการตลาดที่ตรงใจผู้บริโภค โดยกลยุทธ์ธุรกิจบัตรเครดิต จะเน้นการขยายฐานบัตรร่วมกับพันธมิตรรายใหญ่ ทั้งการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ และพัฒนาปรับปรุง (Relaunch) บัตรเครดิตร่วม (Co-brand) ให้มีสิทธิประโยชน์ตรงใจและผูกสมาชิกกับบัตรในระยะยาวมากขึ้น

จะยังคงใช้คะแนน KTC FOREVER และการผ่อนชำระรายเดือนเป็นแรงขับเคลื่อนกิจกรรมการตลาด และในปี 2565 จะใช้ความแข็งแกร่งของเครือข่ายพันธมิตรขยายไปยังร้านค้ากลุ่มพรีเมียม และไลฟ์สไตล์มากขึ้น เพื่อตอบรับความต้องการของกลุ่มสมาชิกระดับบนที่มีอยู่ และดึงดูดกลุ่มเป้าหมายใหม่เพิ่มขึ้น

โดยคาดว่ายอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในปี 2565 จะเติบโต 10% จากปี 2564 หรือประมาณ 220,000 ล้านบาท

ktc

]]>
1370794
คุยกับธุรกิจ “ท่องเที่ยว” เปิดประเทศ 1 พ.ย. ต่างชาติจะกลับมาแค่ไหน? คนไทยจะเที่ยวหรือเปล่า? https://positioningmag.com/1358808 Wed, 27 Oct 2021 12:46:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1358808 KTC จัดเสวนากับกลุ่มผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว มองอนาคตเปิดประเทศ 1 พ.ย.นี้ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ชาวต่างชาติจะกลับมามากแค่ไหน และคนไทยพร้อมเที่ยวหรือยัง ติดตามได้ที่นี่

บัตรเครดิตเคทีซี จัดเสวนาออนไลน์ “เคทีซีผนึกพันธมิตรธุรกิจ ร่วมบุกตลาดท่องเที่ยวไทยเต็มสตีม” มีผู้เข้าร่วมการเสวนาจากหลายธุรกิจ ได้แก่

  • โชติช่วง ศูรางกูร รองกรรรมการผู้จัดการ บริษัท หนุ่มสาวทัวร์ จำกัด และ อุปนายก สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.)
  • วุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ นายกสมาคมสวนสนุกและสวนพักผ่อนหย่อนใจแห่งประเทศไทย (TAPA) และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามพาร์คซิตี้ จำกัด ผู้บริหาร “สวนสยาม”
  • ธเนศ ศุภรสหัสรังสี รักษาการประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.ชลบุรี
  • ปิ่นยศ พิบูลสงคราม Head of Commercial สายการบินไทยเวียตเจ็ท
ผู้เข้าร่วมเสวนากับเคทีซี

การเสวนามีหลายประเด็นที่น่าสนใจซึ่งเราได้รวบรวมมาไว้ที่นี่ เพื่อให้ผู้ประกอบการเกี่ยวเนื่องได้เห็นภาพคาดการณ์ธุรกิจท่องเที่ยว

 

คนไทยพร้อมหรือยัง “เที่ยวในประเทศ”

“โชติช่วง” จากหนุ่มสาวทัวร์และอุปนายก สทน. กล่าวถึงตลาดนักท่องเที่ยวไทยว่า การท่องเที่ยวเป็นความต้องการของคน เมื่ออัดอั้นมานานแล้วเปิดให้เที่ยวได้ ลูกค้ามีแนวโน้มที่จะกลับมาเที่ยว แต่ลูกค้าก็มีหลายกลุ่ม ทั้งที่กังวลมาก กังวลน้อย และไม่กังวลเลย รวมถึงมีทั้งลูกค้าที่พร้อมด้านการเงิน และคนที่ไม่พร้อม ดังนั้น กลุ่มที่น่าสนใจจะเป็นตลาดกลางถึงไฮเอนด์ที่พร้อมด้านการเงิน และไม่กังวล ภาพรวมจึงคาดว่าการท่องเที่ยวในประเทศน่าจะค่อยๆ ฟื้นตัว

สอดคล้องกับ “ปิ่นยศ” ไทยเวียตเจ็ท ที่มองลูกค้าเป็นหลายกลุ่มมากขึ้นจากความกังวล เช่น กลุ่มวัยรุ่นจะมีความกังวลน้อย กลุ่มที่มีครอบครัวแล้วและมีลูกเล็กหรือมีผู้สูงวัยในบ้าน จะกังวลมากกับการเดินทาง ทำให้การตลาดต้องแยกกลุ่มเหล่านี้แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม จากการคลายล็อกดาวน์ทำให้เห็นตัวเลขการบินในประเทศดีขึ้น และไทยเวียตเจ็ทปรับเส้นทางบินมาเป็นเส้นทางบินในประเทศเป็นหลักอยู่ก่อนแล้ว ทำให้พร้อมรับดีมานด์ ส่วนเส้นทางบินต่างประเทศกำลังทยอยเพิ่มเส้นทาง โดยปลายเดือนพฤศจิกายนนี้คาดว่าจะเปิดรูท กรุงเทพฯ-ไทเป เพิ่มเติม

 

1 พ.ย. “ต่างชาติ” จะเข้ามามากแค่ไหน

“ธเนศ” ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.ชลบุรี มองการเปิดประเทศให้ต่างชาติ 46 ประเทศเข้าสู่ไทยได้โดยไม่ต้องกักตัว (เฉพาะ 17 พื้นที่ผ่อนปรน) คาดว่าชาวต่างชาติไม่น่าจะเดินทางเข้ามาเร็ว เพราะประเทศไทยมีขั้นตอนและเงื่อนไขค่อนข้างมาก เช่น ต้องตรวจ RT-PCR มีการซื้อประกันวงเงินสูง เมื่อเจรจากับพาร์ตเนอร์เอเจนซีทัวร์ต่างประเทศ ลูกค้าจะไม่ค่อยนิยมเลือกประเทศไทยก่อนประเทศอื่นที่สะดวกกว่า

Photo : Shutterstock

อีกประการหนึ่งคือ ประเทศหลักๆ ที่นิยมเดินทางมาไทย เช่น รัสเซีย อินเดีย ยังไม่อยู่ในลิสต์ 46 ประเทศความเสี่ยงต่ำ ขณะที่ “จีน” ยังติดปัญหาเมื่อชาวจีนเดินทางกลับเข้าประเทศตนเองจะต้องกักตัว 10-21 วัน ขึ้นอยู่กับเมืองที่พำนัก จึงไม่สามารถคาดหวังได้

นอกจากนี้ การเปิดประเทศวันที่ 1 พ.ย. นี้นักท่องเที่ยวต้องใช้ Thailand Pass ซึ่งมีเวลาดำเนินการ 7 วัน ทำให้กว่าจะเข้ามาไทยได้จริงๆ อย่างเร็วจะเป็นวันที่ 8-9 พ.ย. และจากความยุ่งยากก็จะทำให้นักเดินทางที่กลับเข้ามาก่อนตามโครงการนี้คือคนไทยที่จะกลับบ้าน หรือต่างชาติที่มีบ้านในไทย

สรุปทำให้ผู้ประกอบการในพัทยาประเมินว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้จริงๆ น่าจะมี 3-4 หมื่นคนต่อเดือนในช่วงปลายปีนี้ เทียบกับปกติพัทยามีต่างชาติเข้ามาเดือนละ 1 ล้านคน ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องเน้นนักท่องเที่ยวไทยต่อไปก่อน สำหรับโรงแรมหรือสถานที่ท่องเที่ยวที่ที่ผ่านมาเน้นรับชาวต่างชาติและไม่สามารถปรับมาหาคนไทยได้ ก็อาจจะยังต้องปิดชั่วคราวต่อไป

 

ดึง “ยุโรป” ไม่ทัน หวังเปิดเฟส 2 มีไต้หวัน-รัสเซียในลิสต์

สอดคล้องกับ “โชติช่วง” ที่เห็นว่ามาตรการเปิดประเทศของรัฐยังไม่ค่อยสะดวกนัก “เหมือนเราเปิดประตูไว้ให้แบบแง้มๆ คนที่จะเข้ามาคือต้องอยากมาจริงๆ จนยอมบีบตัวเองผ่านประตูเข้ามา”

(Photo: Shutterstock)

สำหรับตลาดยุโรปซึ่งมีรายชื่ออยู่ในลิสต์ประเทศความเสี่ยงต่ำหลายประเทศ โชติช่วงมองว่าน่าจะไม่ทันต่อการวางแผนทริปปลายปีซึ่งเป็นทริป ‘หนีหนาว’ ของชาวยุโรป

“ธรรมชาติของชาวยุโรปเขามักจะใช้เวลาเตรียมทริปนาน 6-12 เดือน กฎบ้านเขาเริ่มเปิดให้ออกนอกประเทศได้ตั้งแต่ 1 ก.ค. 64 แปลว่า ณ ตอนนี้หรือปลายปีนี้ เขามักจะมีทริปของเขาแล้ว ส่วนใหญ่จะไปแถบชายทะเลเมดิเตอเรเนียน” โชติช่วงกล่าว ดังนั้น หากหวังนักท่องเที่ยวตะวันตกอาจจะต้องมองเป็นช่วงฤดูร้อนของไทยปีหน้า

โชติช่วงยังหวังด้วยว่า ภาครัฐจะมีการเปิดเฟส 2 ลิสต์ประเทศเสี่ยงต่ำเร็วๆ นี้ และหวังให้มีเขตปกครองไต้หวันและประเทศรัสเซียในลิสต์ เพราะเป็นเป้าหมายลูกค้าหลักของไทย

 

วอนรัฐฟังเสียงเอกชน เพิ่มความสะดวกให้กับการเข้าไทย

“วุฒิชัย” แห่งสวนสยาม เสริมในด้านการทำงานร่วมกับภาครัฐ เห็นว่าการเปิดประเทศ 1 พ.ย.นี้ แม้ไม่ได้ทำให้ธุรกิจฟื้นตัวทันที แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะคล้ายกับภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ เมื่อเปิดมาปฏิบัติจริงแล้วจะเห็นข้อติดขัดและได้แก้ปัญหา ซึ่งรัฐควรจะรับฟังจากภาคเอกชน

“อยากให้รัฐฟังเอกชนว่าข้อติดขัดนั้นคืออะไร เพราะว่าเราเป็นคนฟัง feedback จากลูกค้าโดยตรง อย่าลืมว่าเราไม่ใช่ทางเลือกเดียวของลูกค้า เรามีคู่แข่ง ถ้าเราไม่สะดวก เขาก็มีทางเลือกอื่น ดังนั้น ผลประโยชน์ของชาติเรามีร่วมกันนะครับ” วุฒิชัยกล่าว

เช่นเดียวกับ “ธเนศ” ที่มองสอดคล้องกันว่ารัฐควรจะมีมาตรการที่สอดคล้องไปด้วยกันทั้งสุขอนามัยและเศรษฐกิจท่องเที่ยว เช่น ที่ผ่านมาเคยมีช่วงที่รัฐให้เปิดบริการโรงแรมได้ แต่ไม่อนุญาตให้เปิดสระว่ายน้ำ ซึ่งทำให้ลูกค้าไม่ตัดสินใจมาเที่ยวเพราะไม่มีสระว่ายน้ำเป็นจุดดึงดูด

ส่วนการดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขณะนี้กำลังนำเสนอให้รัฐผ่อนปรนต่างชาติที่เข้าโปรแกรมแซนด์บ็อกซ์ ให้ลดการตรวจแบบ RT-PCR มาเป็นการใช้ ATK ที่ตรวจโดยบุคลากรการแพทย์ เพื่อให้ต้นทุนลดลงและใช้เวลาน้อยลงด้วย

โชติช่วงทิ้งท้ายในภาพรวมธุรกิจท่องเที่ยวที่ยังคงยากลำบาก (แต่มีความหวัง) ในระยะนี้ว่า ผู้ประกอบการยังต้องปรับตัวและระวังตัวกันต่อเนื่อง วันนี้ตลาดกำหนดเทรนด์ให้เรา จากเมื่อก่อนเราคือผู้กำหนดตลาด แต่ไม่ใช่เราไม่ทำอะไรเลย เราต้องคาดการณ์ตลาดให้ออก”

]]>
1358808
KTC จัดทัพกลยุทธ์กระตุ้นหมวดท่องเที่ยวปลายปี 2564 หลังคลายล็อกดาวน์ https://positioningmag.com/1351356 Sat, 11 Sep 2021 14:09:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351356 เคทีซีปรับกลยุทธ์การตลาดในหมวดท่องเที่ยวให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน เน้นพัฒนาบริการของ KTC World Travel Service ภายใต้ 3 แกนหลัก ซ่อม สร้าง และสนับสนุน พร้อมจัดโครงการ “เที่ยว… อยู่ได้” ช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย คาดมีจำนวนผู้ประกอบการกว่า 200 รายจากทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ  

เจนจิต ลัดพลี ผู้อำนวยการ การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวและสันทนาการ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“จากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19ภาครัฐได้มีนโยบายในการปิดประเทศ ปิดสถานที่ท่องเที่ยว รวมถึงมาตรการในการเดินทางเข้าจังหวัด ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ และมีผู้ประกอบการฯ ที่ต้องปิดกิจการไปจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยธุรกิจบัตรเครดิตในหมวดท่องเที่ยวของเคทีซีก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างจากภาพรวมของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเช่นกัน”

สืบเนื่องจากการปรับมาตรการของภาครัฐที่เริ่มผ่อนคลาย ทำให้ประชาชนเริ่มมีความต้องการที่จะเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น แต่รูปแบบการท่องเที่ยวจะปรับเปลี่ยนไปจากเดิม นักเดินทางจะมีความระมัดระวังในการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น การท่องเที่ยวแบบกรุ๊ปทัวร์ใหญ่ๆ ไปกันหลายๆ คน หรือ Collective จะลดน้อยลง

ถึงแม้เทรนด์การท่องเที่ยวแบบเดินทางคนเดียวหรือไปกันเป็นกลุ่มเล็กๆ จะเป็นที่นิยม แต่นักเดินทางก็จะมองหาตัวกลางในการให้บริการด้านการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น เป็นเพราะต้องการความมั่นใจว่าจะได้รับข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนและรวดเร็วที่สุด รวมถึงบริการที่มีคุณภาพ ครอบคลุมการให้บริการเปลี่ยนหรือยกเลิกตั๋วเครื่องบินและโรงแรมที่พัก ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงวิกฤตนี้ ถึงแม้ว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่อทริปเพิ่มสูงขึ้นก็ตาม โดยการท่องเที่ยวในยุคปัจจุบันมี 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. Domestic Travelers: กลุ่มนักท่องเที่ยวในประเทศ เป็นกลุ่มที่มีทิศทางว่าจะกลับมาได้เร็วที่สุด
  2. Premium Travelers:  กลุ่มพรีเมี่ยม เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบน้อย การที่ไม่เดินทางเป็นผลจากมาตรการภาครัฐเท่านั้น ดังนั้นเมื่อรัฐประกาศปรับมาตรการ นักเดินทางกลุ่มนี้จึงสามารถเดินทางได้ทันที เนื่องจากได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว
  3. Essential Travelers:  กลุ่มนี้เป็น Segment ที่ต้องเดินทางเพราะมีความจำเป็น เช่น ไปทำงาน หรือไปเรียนหนังสือ

สำหรับ Destination ที่นักเดินทางให้ความสนใจ คือแหล่งท่องเที่ยวที่มีจำนวนคนไม่มาก สามารถเว้นระยะห่างได้ เช่น การท่องเที่ยว Outdoor เพื่อทำกิจกรรมกลางแจ้ง กางเต้นท์ ท่องเที่ยวในสไตล์ธรรมชาติ รวมถึงการท่องเที่ยวแบบ Unseen หรือ Lesser Known”

ในส่วนของผู้ประกอบการท่องเที่ยว พบว่าผู้ประกอบการรายใหญ่มีการปรับตัวอย่างมาก อาทิ การพัฒนา Application ให้เป็น One stop Service การขยายบริการไปยังสินค้าบริการที่เกี่ยวเนื่อง ตัวอย่างเช่นกรณีของสายการบินแอร์เอเชียที่เข้าซื้อกิจการของโกเจ็ค / OTA รายใหญ่ๆ มีการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นำเสนอ Bundle Package มากขึ้น มีการพัฒนา Loyalty Program ของตนเอง หรือบางสายการบินก็ได้มีการหารายได้เสริม เช่น การขายสินค้าต่างๆ

ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา จากนโยบายภาครัฐที่ขอความร่วมมือเรื่องของการ WFH และงดเดินทาง เป็นเหตุให้สมาชิกบัตรฯ ก็ไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ ส่งผลให้การใช้จ่ายในหมวดท่องเที่ยวของเคทีซีได้รับผลกระทบเช่นกัน ทั้งนี้ เคทีซีจึงได้ปรับกลยุทธ์การตลาดเน้นพัฒนาเรื่องการให้บริการของศูนย์บริการการเดินทางและท่องเที่ยวสำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี หรือ KTC World Travel Service ด้วยการ ซ่อม ปรับปรุงการบริการให้ดียิ่งขึ้น

รวมถึงการ Rebuild KTC World Travel Service สร้างบริการที่มีความแตกต่าง (Unique Service) ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน จาก Reservation เป็น Counsellor / ขยายบริการเป็น 24 ชั่วโมง เพื่อพร้อมรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดของสมาชิก เช่น การถูกยกเลิกไฟลท์ / การขยายบริการทางไลน์ เพื่อให้สมาชิกติดต่อได้สะดวกยิ่งขึ้น และการปรับปรุงเว็บไวต์ www.ktc.co.th/ktcworld และ สนับสนุนสานความสัมพันธ์กับพันธมิตรธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

เมื่อมีการปรับมาตรการ การท่องเที่ยวเริ่มมีสัญญานกลับมาฟื้นตัว และเพื่อขานรับการท่องเที่ยวในประเทศที่ในช่วงไตรมาส 4 นี้ เคทีซีจึงได้จัดโครงการ “เที่ยว… อยู่ได้”  ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว อาทิ สถานที่ท่องเที่ยว หมวดรถเช่า และบริษัทนำเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากวิกฤตโควิด-19 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

Photo : Shutterstock

ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการออกแบบ จัดทำ และผลิตสื่อแบนเนอร์เพื่อทำการประชาสัมพันธ์ผ่าน 7 ช่องทางของเคทีซี อาทิ จดหมายรายเดือนสำหรับสมาชิกบัตรเคทีซี / Facebook: KTC Real Privileges / เว็บไซต์เคทีซี / KTC Line Official / E-Newsletter / IG: KTC Card และแอป KTC MOBILE เพื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจและบริการไปยังฐานสมาชิกกว่า 2.6 ล้านคน

นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ผู้ประกอบการได้มีช่องทางขายหรือตัวแทนจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนด้วยตัวเอง ผ่านทาง KTC World Travel Serviceพร้อมกันนี้ เคทีซียังได้สนับสนุนโปรโมชันพิเศษ มอบเครดิตเงินคืน 10% ให้กับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่ใช้จ่าย ณ ร้านค้า หรือสถานประกอบการที่ร่วมรายการ เพียงใช้คะแนน KTC FOREVER เท่ายอดใช้จ่าย และลงทะเบียนแลกรับผ่านเว็บไซต์ www.ktc.co.th/ktctravel ระยะเวลาโครงการระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2564 – 31 ธันวาคม 2564”

สำหรับแคมเปญการตลาดอื่นๆ ของเคทีซีในช่วงปลายปี 2564 จะครอบคลุมทุกเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว ทั้ง “ทางอากาศ” โดยร่วมกับสายการบินในประเทศ 6 สายการบิน “ทางบก” ได้จับมือกับผู้ประกอบการบริการรถเช่า และรถไฟไทย และ “ทางเรือ” ได้ร่วมมือกับบริการเรือเฟอรี่และการล่องเรือครุยส์ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ รวมถึงบริการการจองโรงแรมกับ OTA ชั้นนำอีกด้วย

]]>
1351356
KTC ดันกำไรครึ่งปีแรก 3,352 ล้านบาท โต 20.1% กำไรไตรมาส 2 โต 48% https://positioningmag.com/1342840 Fri, 16 Jul 2021 14:07:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342840 เคทีซีแจ้งกำไรสุทธิครึ่งปีแรกโต 20.1% เท่ากับ 3,352 ล้านบาท ส่วนของกำไรสุทธิไตรมาส 2 เท่ากับ 1,703 ล้านบาท เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวมเพิ่มขึ้น ในขณะที่ NPL อยู่ในระดับใกล้เคียงเดิม พร้อมเดินหน้าครึ่งปีหลังขยายธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกันให้ครบวงจร รักษาฐานสมาชิกและบริหารคุณภาพพอร์ตลูกหนี้

ระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“ภาพรวมของอุตสาหกรรมสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในช่วง 6 เดือนของปีนี้ยังคงเติบโต ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 สำหรับภาพรวมการดำเนินงานธุรกิจของเคทีซียังผ่านไปได้ดี โดยเรียนรู้จากประสบการณ์มาเป็นเข็มทิศในการปรับแผนกลยุทธ์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 บริษัทฯ มีการขยายตัวของลูกหนี้บัตรเครดิตเท่ากับ 10.4% (อุตสาหกรรมโต 8.6%) ทำให้เคทีซีมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 13.7% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีสัดส่วน 13.5% ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 5.4% (อุตสาหกรรมโต 2.2%) และสัดส่วนลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 4.7%”

สถานการณ์แพร่รระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่องถึงระลอก 3 ได้ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและการจัดหาสมาชิกใหม่ทำได้ยากขึ้น รวมถึงการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้รวมและปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรขยายตัวได้ไม่มาก เคทีซีจึงมีแผนสร้างโมเดลธุรกิจขยายตัวไปยังสินเชื่อมีหลักประกันมากขึ้น โดยได้เข้าซื้อหุ้น 75.05% ของบริษัท กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด (KTBL) เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2564 และภายหลังการตรวจสอบตามเงื่อนไขเสร็จสิ้นในเดือนพฤศจิกายน 2564 KTBL จะเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของเคทีซี

ผลการดำเนินงานสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 เคทีซีมีกำไรสุทธิในช่วงครึ่งปีแรก 3,352 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.1% และมีกำไรสุทธิในไตรมาส 2 เท่ากับ 1,703 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.2%

แม้ว่าบริษัทฯ จะมีรายได้รวมลดลง แต่ยังสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายรวมให้ต่ำลง จากการลดค่าใช้จ่ายทางการเงินและผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลงไปได้ อีกทั้งมีรายได้หนี้สูญได้รับคืนอยู่ในระดับที่ดีขึ้น และรักษาอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL) อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงเดิม ท่ามกลางสถานการณ์ที่มีหลายปัจจัยผันแปร

จึงเป็นผลให้ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เคทีซีมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานรวมต่อรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย มีกำไรก่อนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลงที่ -5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการมีพอร์ตลูกหนี้คุณภาพดี ทำให้ความจำเป็นในการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นน้อยลงไปด้วย ส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทฯ เติบโตตามสัดส่วนข้างต้น

โดยที่เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวม 89,444 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ฐานสมาชิกรวม 3.3 ล้านบัญชี แบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,544,573 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 55,708 ล้านบาท

ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรครึ่งปีแรกเท่ากับ 94,160 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.9% (ไตรมาส 2 มูลค่า 45,739 ล้านบาท ขยายตัว 13.1%) NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้รวมอยู่ที่ 4.4% เพิ่มขึ้นจาก 1.9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2564 จากสาเหตุหลักของการนับรวมพอร์ตลูกหนี้สัญญาเช่าซื้อจาก KTBL ประกอบกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้ความสามารถในการชำระของลูกหนี้ลดลง และ NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้บัตรเครดิตเท่ากับ 1.5%

พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 802,971 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคลและดอกเบี้ยค้างรับรวม 29,480 ล้านบาท NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้บุคคลอยู่ที่ 3.0% พอร์ตลูกหนี้ตามสัญญาเช่า 4,255 ล้านบาท NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าเท่ากับ 51.7%

เคทีซียังสามารถทำรายได้รวมในไตรมาส 2/2564 ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 5,406 ล้านบาท แบ่งเป็น

  • รายได้ดอกเบี้ยรวม (รวมรายได้ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน) 3,430 ล้านบาท (ธุรกิจบัตรเครดิต 1,639 ล้านบาท สินเชื่อบุคคล 1,766 ล้านบาท
  • รายได้ดอกเบี้ยจากลูกหนี้ตามสัญญาเช่าของ KTBL 25 ล้านบาท) ลดลง -5.6% จากการปรับลดเพดานดอกเบี้ยในธุรกิจบัตรเครดิตเป็น 16%
  • รายได้ค่าธรรมเนียม (ไม่รวมค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน) 1,042 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.6% จากรายได้ค่าธรรรมเนียม Interchange
  • รายได้ค่าธรรมเนียมส่วนลดจากร้านค้าผู้รับชำระบัตรที่เป็นสมาชิกของเคทีซีเพิ่มขึ้นเป็น 42,625 ร้านค้า
  • รายได้ค่าธรรมเนียมในการเบิกเงินสดล่วงหน้าเพิ่มขึ้น แต่ค่าธรรมเนียมในการติดตามหนี้ลดลง
  • รายได้หนี้สูญได้รับคืน 833 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 19.3%) และรายได้อื่นๆ 100 ล้านบาท ในขณะที่รายได้รวมครึ่งแรกของปี 2564 อยู่ที่ 10,798 ล้านบาท ลดลง -2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • ค่าใช้จ่ายรวมในไตรมาส 2/2564 เท่ากับ 3,278 ล้านบาท ลดลง -17.3% แบ่งเป็นผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 1,144 ล้านบาท (ลดลง -45.1%) ต้นทุนทางการเงิน 359 ล้านบาท (ลดลง -5.3%) และค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานรวม 1,775 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 18.3%)
  • วงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) จำนวน 22,330 ล้านบาท ต้นทุนการเงิน 2.62% และอัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 2.45 เท่า ต่ำกว่าภาระผูกพันที่กำหนดไว้ที่ 10 เท่า
]]>
1342840
KTC หั่นเป้ารูดบัตรเหลือ 2 เเสนล้าน ปรับมูฟครึ่งปีหลัง รออัดโปร-แลกพอยต์ คุมเข้มบัตรใหม่ https://positioningmag.com/1340915 Thu, 08 Jul 2021 08:30:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340915 KTC มองโควิดลากยาวฉุดการใช้จ่าย หวังฟื้นตัวได้ช่วงปลายปี หั่นเป้าใช้จ่ายเหลือ 5% หรือราว 2 แสนล้านบาท จากเป้าหมายเดิม 8% หรือ 2.2 แสนล้านบาท เลือกทำการตลาดเฉพาะบุคคลให้ตรงจุดมุ่ง Partnership Marketing ช่วยคู่ค้าอัดโปรฯ แลกพอยต์ กระตุ้นยอดขาย เน้นวงเงินยอดใช้จ่ายไม่สูงแต่ต่อเนื่อง

พิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจบัตรเครดิตบริษัท บัตรกรุงไทย จํากัด (มหาชน) หรือ KTC ให้สัมภาษณ์ว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ยอดรวมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต (Spending) อยู่ที่ 94,000 ล้านบาท เติบโต 4% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เเต่ต่ำกว่าที่คาดไว้

ดังนั้น บริษัทจึงปรับลดเป้ายอดใช้จ่ายบัตรเครดิตทั้งปี 2564 เหลือเติบโตที่ 5% หรือราว 200,000 ล้านบาท จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ 8% หรือราว 2.2 แสนล้านบาท

ที่ผ่านมา เริ่มเห็นการเติบโตในเดือนเม.. เเต่พอเข้าเดือนพ.. ก็เริ่มกระตุกอีกครั้ง เมื่อต้องเจอโรคระบาดระลอกที่ 3 ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงเดือนมิ.. จากเดิมที่เคยคาดหวังว่าตัวเลขจะเป็นบวกไปเรื่อยๆ เเต่ตอนนี้กลับติดลบ

ต้องยอมรับว่าปัจจัยเหล่านี้ จะกระทบต่อเป้าหมายในช่วงปลายปีของเรา การเจอสถานการณ์เช่นนี้ คงทำให้การหาสมาชิกบัตรใหม่ทำได้ยากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันฐานสมาชิกบัตรเครดิต KTC มีจำนวน 2.5  ล้านใบ สมาชิกบัตรฯ ใหม่ตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 95,000 ใบ จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งปี 230,000 ใบ

พิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – ธุรกิจบัตรเครดิตบริษัท บัตรกรุงไทย จํากัด (มหาชน)

ปกติเเล้ว ช่องทางขยายฐานสมาชิกที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือ ผ่านสาขาธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศ และหน่วยงาน Outsource Sales พนักงานเซลส์จากภายนอก เเต่ในยุคโควิด-19 ต้องเว้นระยะห่าง การไปพบปะลูกค้าทำได้ยากขึ้น รวมไปถึงคุณภาพการเงินของลูกค้าก็ลดลงด้วย

ทั้งนี้ อัตราการอนุมัติบัตรเครดิตใหม่ของ KTC อยู่ที่ 36% ลดลงจากเดิมที่เคยอยู่กว่า 40% โดยยังคงเจาะกลุ่มเป้าหมายหลักคือกลุ่มที่มีรายได้ 30,000 บาทขึ้นไป สัดส่วนสมาชิกอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 55% และจังหวัดอื่นๆ 45%

เราเชื่อว่าถ้าผ่านพ้นวิกฤตช่วงนี้ไป ยอดบัตรใหม่น่าจะกระเตื้องขึ้น เเต่คิดว่าในช่วงไตรมาส 3 ยังคงไม่ฟื้นตัวได้เร็ว อาจจะค่อยๆ ขยับขึ้นไปรอโอกาสสุดท้ายในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งปกติก็เป็นไฮซีซั่นที่การใช้จ่ายกลับมาอยู่เเล้ว

รูดซื้อ ‘ประกัน’ มากสุด ช้อปออนไลน์-เเต่งบ้านพุ่ง 

สำหรับหมวดหมู่ที่ผู้ถือบัตร KTC นิยมใช้จ่ายมากที่สุด คือหมวดประกัน ซึ่งครองอันดับ 1 มาหลายปีเเล้ว ตามมาด้วยอันดับ 2 อย่างการเติมน้ำมัน

ส่วนอันดับ 3 โตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญคือวาไรตี้สโตร์มาร์เก็ตเพลลสเช่น เช่น Shopee และ Lazada จากเทรนด์การช้อปปิ้งออนไลน์ อันดับ 4 คือ ซูเปอร์มาร์เก็ต เพราะคนซื้อของกักตุนที่บ้านเยอะขึ้น เเละอันดับ 5 คือสุขภาพโรงพยาบาล

ส่วนหมวดเฟอร์นิเจอร์ของตกเเต่งบ้านก็มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ จากการที่หลายคนต้องทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ปรับเปลี่ยนชีวิตมาอยู่บ้านมากขึ้น ขณะที่หมวดการใช้จ่ายที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ก็คือ การท่องเที่ยวเเละแฟชั่น

ปัจจุบันวงเงินใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 6,000 บาทต่อราย ลดลงจากราว 7,000 บาท ส่วนหนึ่งมาจากการใช้บัตรเครดิตเพื่อซื้อสินค้าเล็กๆน้อยๆ ตามร้านสะดวกซื้อและช้อปปิ้งออนไลน์ได้มากขึ้น ต่างจากเดิมที่มักจะใช้ซื้อสินค้าใหญ่ๆ

รอจังหวะอัดโปรฯ-แลกพอยต์ กระตุ้นปลายปี 

สำหรับกลยุทธ์การตลาดธุรกิจบัตรเครดิตครึ่งปีหลังของปี 2564 นั้น จะมีการเปลี่ยนเเปลงไปตามสถานการณ์ โดยเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล เเละยึดหลัก ‘Partnership Marketing’ สร้างความสัมพันธ์กับพันธมิตรให้หลากหลายมากขึ้น

เเต่เดิมเราคิดว่าในไตรมาสที่ 3 จะเริ่มบุกทำการตลาดเเบบเต็มสูบมากขึ้น เเต่พอเจอสถานการณ์เช่นนี้ ทำให้ทีมต้องกลับมาคิดทบทวนใหม่ โดยทุกวันนี้โปรโมชันของเรามีทำไว้รออยู่เเล้ว เพียงเเต่ว่าเมื่อคนยังไม่กล้าออกมา เราก็คงไม่กล้าที่จะทุ่มโปรโมตมากๆ

การตลาดช่วงนี้จึงจะต้องเน้นไปที่การทำความเข้าใจกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น เมื่อการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ยังจำเป็น เเละการสั่งสินค้าออนไลน์กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตไปเเล้ว

ในช่วงที่คนมีความกังวลมากมาย เเบรนด์ต้องสื่อสารให้ตรงกับเขามากกว่าจะไปพูดสารพัดเรื่อง พยายามให้ข่าวสารที่มีประโยชน์เเละไม่รบกวนลูกค้ามาก

มุ่งเน้นกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้สมาชิกเลือกใช้บัตรเครดิตของ KTC เป็นอันดับแรก หรือตั้งเป็น Default Card ที่ใช้เป็นประจำในทุกวัน โดยร่วมกับพันธมิตรมอบสิทธิประโยชน์และใช้จุดแข็งด้านคะแนนสะสมเน้นวงเงินยอดใช้จ่ายไม่สูงแต่ต่อเนื่อง

ทีมการตลาดทำงานใกล้ชิดกับพาร์ตเนอร์ เมื่อพาร์ตเนอร์ต้องการความช่วยเหลือ เราก็ช่วยได้ เช่น ธุรกิจโรงเเรมในกรุงเทพฯ ที่หันมาจับลูกค้าคนไทยเเละขายอาหารมากกว่าห้องพัก ทาง KTC ก็โปรโมตโปรโมชันเเพ็กเกจเมนูอาหารสำหรับคน Work from Home ให้ ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

พร้อมกันนี้ ยังมี KTC U SHOP ซึ่งเป็นบริการขายสินค้าออนไลน์ที่ใช้เป็นช่องทางในการสนับสนุนพันธมิตรและผู้ประกอบการที่สนใจนำเสนอสินค้าให้แก่สมาชิกบัตรฯ ซึ่งสมาชิกสามารถชำระด้วยคะแนน KTC FOREVER หรือบัตรเครดิตเคทีซีได้

ขณะเดียวกัน บริษัทได้พัฒนาศักยภาพของแอปฯ KTC Mobile ให้มีบริการที่สะดวก เน้นใช้งานง่าย และรวดเร็วขึ้น เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของสมาชิกที่คุ้นชินกับการทำรายการแบบออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันมียอดสมาชิกโหลดใช้งาน KTC Mobile แล้ว 1.8 ล้านราย มียอดใช้ทำธุรกรรมสม่ำเสมอ (Active) คิดเป็นประมาณ 75% จากฐานลูกค้าทั้งหมด 2.5 ล้านราย

ในไตรมาส 3 นี้ เราจะนำเสนอน้องกะทิเเชทบอทตัวใหม่ที่จะมาพูดคุยสื่อสารเเละช่วยเหลือลูกค้าด้วย” 

NPL ยังคุมได้ เข้มอนุมัติบัตรใหม่ 

จากกรณีภาครัฐ กำลังจะมีนโยบายปรับเพดานอัตราดอกเบี้ยในกลุ่มสินเชื่อรายย่อยอีกครั้งนั้น KTC คาดว่าไม่ได้รับผลกระทบ เพราะดอกเบี้ยบัตรฯ ได้ถูกปรับลดลงมาที่ระดับ 16% แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ต้องรอความชัดเจนทางธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.)

ด้านคุณภาพสินเชื่อ หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) นั้น ผู้บริหาร KTC มองว่า ณ ขณะนี้ถือว่าอยู่ในระดับที่ควบคุมได้แม้ว่าแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจ โดยในไตรมาส 1 NPL อยู่ที่ 1.4% และขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1.5% ในเดือนพ.. ซึ่งอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับภาพรวมอุตสาหกรรม ที่เดือนเม.. NPL อยู่ที่ 2.3%

การที่ NPL ของเราอยู่ในระดับต่ำได้ ส่วนหนึ่งมาจากการคัดกรองลูกค้าใหม่ที่เข้มงวดและอนุมัติยากขึ้น โดยจะดูที่ความสามารถในการชำระหนี้เป็นหลัก

 

 

]]>
1340915
KTC กับความท้าทายปี 2564 ปลุกธุรกิจ “สินเชื่อมีหลักประกัน” สร้างพลังคลื่นใต้น้ำ https://positioningmag.com/1328671 Wed, 21 Apr 2021 09:00:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328671 เคทีซีเร่งรุกขยายขอบเขตธุรกิจสินเชื่อ หวังสร้างโอกาสสู่ผู้นำธุรกิจสินเชื่อเบ็ดเสร็จครบวงจร เตรียมศึกษาโมเดลธุรกิจใหม่สินเชื่อมีหลักประกันหลังการเข้าถือหุ้นใหญ่เคทีบี ลีสซิ่ง เน้นกำไรโตแบบค่อยเป็นค่อยไป และสานต่อการพัฒนาคนกระชับองค์ความรู้แน่น ให้คนกับเทคโนโลยีทำงานร่วมกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความสำเร็จเดียวกัน

ระเฑียร ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“วิกฤติที่รุนแรงของโควิด-19 และมาตรการต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนต่อเนื่อง เป็นตัวกระตุ้นให้แผนยุทธศาสตร์ของเคทีซีในปี 2564 นี้ ต้องเร่งเปลี่ยนแปลงองค์กรแบบก้าวกระโดด สร้างโอกาสธุรกิจใหม่ให้เคทีซีเติบโตได้มากขึ้นและเร็วขึ้น คู่ขนานไปกับการทำธุรกิจเดิม เน้นทำกำไรแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสร้างคลื่นใต้น้ำจนเป็นพลังคลื่นลูกใหญ่รับเกมธุรกิจที่ไม่มีวันสิ้นสุด (Infinite Game)

โดยจะมุ่งขยายขอบเขตธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกันที่หลากหลาย เพื่อให้เคทีซีเป็นหนึ่งในผู้เล่นหลักในตลาดที่ผู้บริโภคมองหา ซึ่งการเข้าถือหุ้นในบริษัท กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด หรือ เคทีบี ลีสซิ่ง ถึง 75.05% จะทำให้เคทีซีสามารถทำธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่งทุกประเภท ต่อยอดธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกันได้อย่างครบวงจร และยังได้ใช้ประโยชน์จากสาขาและฐานลูกค้าที่มีอยู่เดิม โดยบริษัทฯ จะเข้าไปศึกษาระบบในเคทีบี ลีสซิ่ง และคาดว่าจะเริ่มออกแบบโมเดลธุรกิจได้หลังจากผ่านการประชุมผู้ถือหุ้น”

ลุย “เคทีซี พี่เบิ้ม” เต็มสูบ

สำหรับธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ “เคทีซี พี่เบิ้ม” ถึงแม้จะเป็นธุรกิจน้องเล็กที่เพิ่งเข้ามาเมื่อปลายปี2563 แต่เราคาดหวังจะมุ่งขยายตลาดเป็นหลักในปี 2564 ด้วยความที่เป็นสินเชื่อมีหลักประกันซึ่งมีความสี่ยงต่ำ และให้ผลตอบแทนรวดเร็วสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน โดยจะเน้นทำการตลาดผ่านระบบออนไลน์ มีทีมงาน “พี่เบิ้ม Delivery” ติดต่อประสานงานกับลูกค้าเป้าหมายโดยตรง

ktc พี่เบิ้ม

พร้อมแผนขยายพื้นที่ให้บริการไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น เริ่มต้นที่ภาคตะวันออก ภาคเหนือตอนบนและภาคใต้ตอนบน อีกทั้งร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจและธนาคารกรุงไทยขยายฐานสมาชิกและออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ ตลอดจนร่วมมือกับเคทีบี ลีสซิ่ง เพื่อหาโอกาสต่อยอด และสนับสนุนธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถร่วมกัน เพื่อให้ครอบคลุมความต้องการกลุ่มเป้าหมายและสร้างประสบการณ์ที่ดี ด้วยเป้าหมายยอดสินเชื่อในปี 2564 ประมาณ 1,000 ล้านบาท

บัตรเครดิต สินเชื่อ เป้าโต 8%

ในส่วนของธุรกิจเดิมซึ่งเป็นบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล บริษัทฯ จะมุ่งรักษาคุณภาพพอร์ตลูกหนี้ที่ดีเน้นรักษาฐานสมาชิกปัจจุบัน ด้วยการสร้างประสบการณ์ที่ดีผ่านกิจกรรมส่งเสริมการตลาดทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ รวมทั้งให้ความสำคัญกับระบบปฏิบัติการและระบบไอทีที่มีเสถียรภาพ เพื่อให้สมาชิกเกิดความมั่นใจและได้รับความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยทุกครั้งที่ทำรายการธุรกรรม

โดยกลยุทธ์หลักในการทำตลาดธุรกิจบัตรเครดิต จะยังใช้คะแนน KTC FOREVER ขับเคลื่อนกิจกรรมการตลาด เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการใช้จ่ายผ่านบัตร อีกทั้งรักษาและขยายความแข็งแรงของเครือข่ายพันธมิตรคู่ค้า เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตร และสนับสนุนการเติบโตของพันธมิตรด้วยผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ของเคทีซี

เน้นส่งเสริมการตลาดในลักษณะออนไลน์มากขึ้น ตอบโจทย์พฤติกรรมการใช้บัตรของผู้บริโภคปัจจุบัน ที่เปลี่ยนจากใช้เงินสดมาจ่ายผ่านบัตรเครดิต รวมถึงสร้างคอนเทนต์ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีผ่านช่องทางสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยตั้งเป้าหมายยอดใช้จ่ายในปี 2564 เติบโต 8% หรือประมาณ 210,000 ล้านบาท

สินเชื่อส่วนบุคคล ใช้งานง่าย

ในขณะที่ธุรกิจสินเชื่อบุคคลจะใช้กลยุทธ์การตลาดสร้างความผูกพันกับฐานสมาชิกเดิม วางตัวเป็นบัตรกดเงินสดใบแรกที่ลูกค้านึกถึงเมื่อจำเป็นต้องใช้เงิน โดยออกแคมเปญแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายและส่งเสริมให้สมาชิกมีวินัยการชำระเงิน อีกทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้บริการทางออนไลน์มากขึ้น ด้วยจุดเด่น “รูด โอน กด ผ่อน” ภายในบัตรเดียว กับบริการเบิกเงินสดออนไลน์ผ่านแอปฯ “KTC Mobile” 24 ชั่วโมงแบบเรียลไทม์เข้าบัญชีธนาคารได้ถึง 13 ธนาคาร และบริการ

เพิ่มวงเงินฉุกเฉินหรือขอรหัสเบิกถอนเงินสดที่ทำรายการได้เองตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ จะเดินหน้าสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับลูกค้าอย่างยั่งยืน ผ่านการจัดสัมมนาให้ความรู้การเงิน และคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์ในรูปแบบของสื่อที่เข้าใจง่าย รวมทั้งเวิร์กช็อป “สัมมนาพารวย” ที่เน้นการนำไปประกอบอาชีพสร้างรายได้เสริม พร้อมคำแนะนำด้านการคำนวณต้นทุนและวิธีหาช่องทางขายเพื่อสร้างรายได้ในอนาคต โดยตั้งเป้ารักษายอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลในปี 2564 ให้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

คัดกรองเคทีซี พราวมากขึ้น

สำหรับกลยุทธ์การขยายฐานสมาชิกบัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” จะให้ความสำคัญกับการคัดกรองผู้สมัครมากขึ้น เพื่อให้ได้กลุ่มลูกค้าคุณภาพที่ต้องการสินเชื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและมีวินัยทางการเงิน ลดความเสี่ยงจากสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันและอัตราหนี้ครัวเรือนที่ยังสูง

ผ่าน 4 ช่องทางหลักคือ ธนาคารกรุงไทย ผู้แนะนำผลิตภัณฑ์ทางการเงินเคทีซี (อิสระ) ทั่วประเทศ เคทีซี ทัช ทุกสาขาและเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายทางโทรศัพท์ (Telesales) โดยในปี 2564 ตั้งเป้าหมายจำนวนสมาชิกใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา คือ บัตรเครดิต 235,000 ใบ และสมาชิกบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” 135,000 ราย

ในส่วนของการขยายฐานร้านค้ารับบัตรเคทีซี จะเน้นช่องทางออนไลน์มากขึ้น ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร ทั้งธนาคารกรุงไทยและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อเข้าถึงร้านค้าขนาดกลาง ร้านค้าขนาดเล็กและร้านค้าออนไลน์ รองรับการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ และโซเชียล คอมเมิร์ซ รวมถึงเพิ่มช่องทางรับชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Link Pay และสแกน QR Code ที่ลูกค้าสามารถทำรายการธุรกรรมได้ง่ายด้วยตนเอง รวดเร็วและสะดวกทุกที่ทุกเวลา

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ในองค์กรต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคนเคทีซีให้เตรียมพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงและการขยายธุรกิจที่กำลังจะเกิดขึ้น ส่งเสริมให้คนทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก้าวไปกับองค์กรทุกสถานการณ์ ทั้งเรื่องของดิจิทัล การรีสกิลและอัพสกิลในเนื้องาน โดยพนักงานสามารถเลือกเรียนรู้ได้เองตามความสมัครใจผ่านอีเลิร์นนิ่งและการเข้าคอร์สเรียน

“อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้บริษัทฯ ยังต้องประเมินผลกระทบต่อเนื่องเป็นระยะ โดยคาดว่าสภาพคล่องส่วนเกินในตลาดยังมีอยู่และอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนจัดสัดส่วนเงินกู้ยืมระยะสั้นมากขึ้น และระดมเงินกู้ยืมระยะยาวไม่เกิน 12,000 ล้านบาท ในช่วงอายุที่สั้นลงจากเดิม เพื่อรองรับหุ้นกู้ที่ครบกำหนดในปี 2564 และการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อบริษัทฯ โดยจะเน้นการบริหารต้นทุนทางการเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้เป็นสำคัญ และบริหารพอร์ตลูกหนี้โดยรวมให้มีคุณภาพที่ดี โดยคาดว่าในปี 2564 บริษัทฯ จะมีอัตราการเติบโตของกำไรในระดับที่ยอมรับได้และดีกว่าปีที่ผ่านมา”

ผลประกอบการเคทีซี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563

  • กำไรสุทธิ 5,332 ล้านบาท
  • เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวมเท่ากับ 90,149 ล้านบาท
  • NPL ต่อเงินให้สินเชื่อรวมเท่ากับ 1.8%
  • ฐานสมาชิกรวม 3.4 ล้านบัญชี แบ่งเป็นธุรกิจบัตรเครดิต 2,575,684 บัตร สินเชื่อลูกหนี้บัตรเครดิตรวม 60,235 ล้านบาท
  • NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้บัตรเครดิต 1.3%
  • ธุรกิจสินเชื่อบุคคลมีจำนวนทั้งสิ้น 814,329
  • บัญชียอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลรวม 29,915 ล้านบาท
  • NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเท่ากับ 2.7%
]]>
1328671