เครียด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 20 Jun 2023 04:24:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 3 สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเสพติด “ความเครียด” พฤติกรรมที่เกิดขึ้นทั่วไปมากกว่าที่ใครคิด https://positioningmag.com/1434706 Tue, 20 Jun 2023 03:50:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1434706 “ความเครียด” แม้จะมีผลลบต่อชีวิตมากมาย แต่กลายเป็นว่าหลายคนสามารถ “เสพติด” ความเครียดได้จริงๆ จากการวิจัยโดยนักจิตวิทยา Harvard และการเสพติดความเครียดย่อมไม่เป็นผลดีต่อร่างกายในระยะยาว

Heidi Hanna นักประสาทวิทยา ให้ข้อมูลว่าความเครียดสามารถหลอกตัวเราเองได้ เพราะเมื่อเกิดความเครียดขึ้น สมองไม่ได้สั่งให้ร่างกายหลั่งเฉพาะฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา แต่ยังหลั่งโดปามีนมาด้วย ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้เป็นสารเคมีแห่ง “ความรู้สึกดี” จึงทำให้สมองเราจดจำพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดความรู้สึกดีนี้ไว้เพื่อทำซ้ำ

เธอกล่าวด้วยว่า ความเครียดสามารถสร้างภาวะเหมือน ‘เคลิ้มยา’ ได้ตามธรรมชาติ เพราะความเครียดจะไปกระตุ้นศูนย์กลางระบบประสาทที่เกี่ยวกับสิ่งกระตุ้นเร้าและความสนใจ หากเครียดติดต่อกันเป็นเวลานานก็จะทำให้ “เสพติดเหมือนกับการติดยา” ได้ด้วย

Debbie Sorensen นักจิตวิทยา Harvard ผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะหมดไฟ (burnout) เสริมประเด็นนี้ว่า คนเรามักจะทำตัวให้ยุ่ง มีอะไรทำตลอดเวลาเพื่อหลีกเลี่ยง “อารมณ์ที่ไม่สบายใจ” ทั้งหลาย เช่น ความเบื่อหน่าย ความเหงา ความเศร้า ซึ่งทำให้การเสพติดความเครียดเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปมากกว่าที่ใครๆ คิด

อย่างไรก็ตาม ทุกคนทราบดีว่าความเครียดไม่ใช่เรื่องที่ดีต่อร่างกายในระยะยาว อันตรายของการมีภาวะเครียดเรื้อรังคือโรคที่ติดตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่นๆ

 

3 สัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลัง “เสพติด” ความเครียด

ถ้าคุณทำได้ดีเวลามีกำหนดเส้นตายส่งงานเร่งด่วน และรู้สึกผิดทุกครั้งที่พักจากการทำงาน คุณอาจกำลังเสพติดความเครียดอยู่ก็ได้

Sorensen กล่าวว่า การเสพติดความเครียดมักจะเกิดขึ้นในคนที่ชอบกดดันตัวเองให้ประสบความสำเร็จ ทำให้คนที่ทะเยอทะยานอยากประสบความสำเร็จมักมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะหมดไฟและภาวะเครียดเรื้อรัง

แต่ความกดดันจากสังคมก็มีผลกับการเสพติดความเครียดได้เหมือนกัน “วัฒนธรรมคลั่งการเพิ่มพูนประสิทธิผลของงาน คือตัวการที่สร้างให้ ‘ความเครียด’ เป็นดั่งเหรียญตราเกียรติยศ” Sorensen กล่าว “วัฒนธรรมแบบนี้ทำให้เรารู้สึกดีในอัตตาของตัวเองเมื่อเรายุ่งกับการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพราะเราตีความว่ายิ่งงานยุ่งมากเท่าไหร่ก็คือการประสบความสำเร็จมากเท่านั้น”

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังเสพติดความเครียดเข้าแล้ว? Sorensen กล่าวว่ามี 3 สัญญาณที่มักจะพบเห็นได้ในกลุ่มคนที่เสพติดความเครียด ได้แก่

  • หลีกเลี่ยงที่จะนอนพักหรือพักผ่อน
  • คอยเช็กโทรศัพท์ตลอดเวลา
  • ตอบ “ได้” กับทุกสิ่งทุกอย่าง

ผู้ที่เสพติดความเครียดมักจะเลือกผลักตัวเองเข้าไปสู่สถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความเครียด แม้จะมีทางเลือกในการหลีกเลี่ยง และถึงแม้ว่าทั้งร่างกายและจิตใจคุณจะ “ร้องขอให้หยุด” แล้วก็ตาม

Sorensen กล่าวเสริมว่า พฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกด้วยว่าคุณกำลังอยู่ใน ‘Toxic Workplace’ ได้ด้วย โดยเป็นสังคมที่ทำงานเป็นพิษ ต้องการให้คุณทำเกินกำลังของตัวเองและต้องตอบสนองการทำงานได้ตลอดเวลา ซึ่งแปลว่าคุณอาจจะไม่ได้เสพติดความเครียด แต่คุณทำสิ่งเหล่านี้เพราะถูกบีบบังคับจากที่ทำงานมากกว่า หากตกอยู่ในสถานการณ์นี้ เธอขอแนะนำให้คุณพยายามขีดเส้นแบ่งระหว่างช่วงเวลาทำงานกับชีวิตส่วนตัว เพื่อทำให้ความเครียดลดลง

 

หยุดวงจรแห่งความเครียดอย่างไร

ยังไม่มีวิธีการตายตัวที่จะหยุดการเสพติดความเครียด แต่การออกกำลังกายและนั่งสมาธิถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะทั้งสองสิ่งนี้สามารถกระตุ้นการหลั่งสารแห่งความสุขคือฮอร์โมนโดปามีนและเอ็นโดรฟินได้

Sorensen กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือแต่ละคนต้องสังเกตตัวเองว่าอะไรที่ทำให้เกิดความเครียด สังเกตว่าเครียดแล้วทำอะไรบ้าง เช่น ปัญหาการนอนหลับ ปัญหาการทานอาหาร เสียสมาธิ อารมณ์เปลี่ยนไป และปกติแล้วเราแก้เครียดอย่างไร อะไรที่ทำให้เครียดน้อยลง และอะไรทำให้เครียดหนักกว่าเดิม

สุดท้ายแล้วสิ่งเดียวที่จะทำให้หยุดวงจรนี้ได้ คือการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ตนเองโดยแก้ไขในจุดที่ทำให้เครียด เช่น เปลี่ยนพฤติกรรมการนอนหลับ เปลี่ยนพฤติกรรมหยุดรับผิดชอบมากเกินตัว

Source

]]>
1434706
‘Burnout’ เป็นเหมือน ‘โรคติดต่อ’ ในออฟฟิศ อ่าน 5 ข้อแนะนำหยุดความคิด ‘หมดไฟ’ https://positioningmag.com/1352288 Fri, 17 Sep 2021 09:09:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352288 Burnout! คำนี้วนเวียนอยู่ในสังคมชาวออฟฟิศมาพักใหญ่ แต่ภาวะดังกล่าวไม่ได้เป็นเรื่องของคนใดคนหนึ่ง งานวิจัยพบว่าภาวะ ‘หมดไฟ’ เปรียบเสมือนโรคติดต่อ เมื่อใครสักคนเกิดภาวะนี้ขึ้นมักจะส่งต่ออารมณ์แบบเดียวกันในหมู่เพื่อนร่วมงานที่ใกล้ชิดกัน

สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักภาวะ Burnout หรืออาการ “หมดไฟ” ภาวะนี้คืออาการทางจิตใจซึ่งมักจะเกิดจากความเครียดในสถานที่ทำงาน ผลคือทำให้คนคนนั้นเหนื่อยล้า หมดพลังทั้งกายใจ ขาดความเชื่อมั่นในการทำงาน และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง

อาการ Burnout ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในฐานะโรคใหม่เรียบร้อยแล้ว และเป็นอาการทางใจที่ส่งผลทางกาย มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคนอนไม่หลับ

ล่าสุดภาวะหมดไฟจนไม่อยากจะลุกขึ้นไปทำงาน มีข้อมูลงานวิจัยใหม่ พบว่า อาจจะไม่ได้เกิดจากตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น แต่อาจจะเปรียบได้กับ ‘โรคติดต่อ’ ส่งต่อพลังงานลบกันในหมู่พนักงาน หรืออยู่ในออฟฟิศที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเกิดภาวะ Burnout

งานวิจัยของ Michigan State University พบว่าภาวะหมดไฟมักจะติดต่อกันในหมู่พนักงานที่ทำงานใกล้ชิดกัน หรือเป็นบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรเอื้อให้เกิดการ Burnout

เหตุผลเพราะเมื่อมีใครบางคนเริ่มหมดไฟ คนคนนั้นจะไม่สามารถสนับสนุนทีมได้เต็มที่ ทั้งประสิทธิภาพการทำงาน เวลา และอารมณ์ ซึ่งจะมีผลกระทบกับคนรอบตัวที่ทำงานด้วย และกลายเป็นลูกโซ่ทำให้คนอื่นๆ ห่อเหี่ยวตามกันไป

 

หยุดภาวะ Burnout ในสังคมออฟฟิศ

แม้ว่าภาวะหมดไฟเมื่อเกิดแล้วมักจะทำให้คนรอบตัวเป็นไปด้วย แต่ทางแก้ต้องเจาะลึกเป็นรายบุคคล เพราะแต่ละคนมีสาเหตุของอาการหมดไฟไม่เหมือนกัน จากความต้องการหรือความคาดหวังต่อการทำงานต่างกัน

งานวิจัยของ University of Zurich และ University of Leipzig ให้นิยามกระชับๆ ว่า ภาวะ Burnout จะเกิดขึ้นเมื่อคนคนนั้นไม่ได้สิ่งที่ต้องการอย่างเฉพาะเจาะจงจากการทำงาน

กุญแจสำคัญคือ แต่ละคนมีสิ่งที่ “ต้องการจริงๆ” ต่างกัน และไม่ใช่ว่าการได้อะไรมากขึ้นจากที่ทำงานจะทำให้ทุกคนพอใจเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น “การได้เลื่อนขั้น” ขึ้นไปเป็นหัวหน้างาน โดยทั่วไปแล้วคนเราน่าจะต้องการเติบโตในหน้าที่การงาน แต่บางคนก็ไม่ใช่ บางคนต้องการทำหน้าที่ที่ไม่ถูกจับจ้องและไม่ต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญ

ดังนั้น การจะต่อสู้กับภาวะหมดไฟสำเร็จ คุณต้องทำความเข้าใจตัวเองให้ได้ก่อนว่าตัวเองมีบุคลิกแบบไหน ต้องการอะไรจากการงาน

คำแนะนำจากบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Current Psychology มี ข้อแนะนำ 5 ข้อ เพื่อให้คุณแก้ไขปัญหา Burnout ดังนี้

1.ตั้งใจแก้ปัญหามากกว่าวิ่งหนีปัญหา หาทางเข้าใจและแก้ไขให้ได้ เช่น ถ้าคุณมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน ลองเปิดใจคุยกันดู ถ้าคุณทำงานไม่ไหวเพราะงานเยอะเกินไป ลองปรึกษาหัวหน้าให้ช่วยเหลือ รวมๆ ก็คือหาทางทำอะไรสักอย่าง มากกว่าจะเลี่ยงๆ ไป

2.เชื่อมั่นในทักษะของตนเอง แน่นอนว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบ แต่ภาวะหมดไฟมักเกิดจากความรู้สึกลบ กล่าวโทษ หรือตั้งคำถามต่อความสามารถของตน ถ้าเริ่มสงสัยในตัวเอง ลองลิสต์ถึงความสำเร็จที่ผ่านมา ทักษะและความเชี่ยวชาญของคุณมีอะไรบ้าง ต่อด้วยการมองหาว่าคุณอยากพัฒนาอะไรเพิ่มอีก

3.มองภาพให้ใหญ่ขึ้น อีกหนึ่งความรู้สึกของคน Burnout คือคนคนนั้นจะเริ่มมองตัวเองเล็กลง โลกแคบลง มองไปทางไหนก็ไร้ทางออก เรื่องนี้ต้องเปลี่ยนมุมมองตัวเองให้เชื่อมั่นว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นสำคัญ เช่น คุณไม่ได้แค่ทำงานบัญชีไปวันๆ แต่งานของคุณคือการตรวจสอบสุขภาพทางการเงินให้บริษัท

4.หล่อเลี้ยงความสัมพันธ์กับคนในบริษัท สาเหตุหนึ่งที่มักทำให้เกิดอาการหมดไฟ คือความรู้สึกถูกตัดขาด ไม่เป็นส่วนหนึ่งในสังคมที่ทำงาน อย่าปล่อยให้เป็นแบบนั้น ลองสร้างสายสัมพันธ์ที่แข็งแรงกับเพื่อนร่วมงานสัก 1-2 คน จะทำให้คุณมีคนรับฟังหรือช่วยเหลือ มีคนแลกเปลี่ยนสถานะในออฟฟิศ ทำให้คุณเห็นว่าคุณไม่ได้เผชิญความท้าทายอยู่คนเดียว

5.มองบวก อย่าโหดกับตัวเองเกินไป เตือนตัวเองเสมอว่าคุณกำลังเรียนรู้ และคุณไม่มีทางทำถูกไปทุกอย่างได้ วันนี้คุณอาจจะพลาด แต่พรุ่งนี้คุณจะลุกขึ้นใหม่และก้าวต่อไปด้วยพลังบวก

City College of New York พบว่า 86% ของคนที่พวกเขาทำการสำรวจ มีภาวะร่วมระหว่าง Burnout กับ “โรคซึมเศร้า” ดังนั้น ไม่ควรปล่อยให้ภาวะหมดไฟกัดกินหัวใจของคุณนานเกินไป…

Source

]]>
1352288
COVID-19 ทำคนเครียดพุ่ง เป๊ปซี่ ชิงเปิดตัว “Driftwell” เครื่องดื่มใหม่ ช่วยผ่อนคลาย นอนหลับง่ายขึ้น https://positioningmag.com/1297307 Wed, 16 Sep 2020 07:47:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297307 จากการเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้คนมีความเครียดเเละนอนไม่หลับกันเพิ่มมากขึ้น ยักษ์ใหญ่เเห่งวงการเครื่องดื่มโลกอย่างเป๊ปซี่ โคได้โอกาสออกผลิตภัณฑ์ใหม่ “Driftwell” มาเพื่อเจาะตลาดนี้

“Driftwell” เป็นเครื่องดื่มตัวใหม่ของเป๊ปซี่ จะเริ่มวางจำหน่ายทั่วสหรัฐฯ ผ่านช่องทางออนไลน์ในเดือนธันวาคมนี้ พร้อมจะวางขายในร้านค้าปลีก ภายในไตรมาสแรกของปี 2021

โดยมีการชูจุดเด่นว่า หากดื่มเเล้วจะช่วยให้ผ่อนคลายเเละนอนหลับได้ง่ายขึ้น ด้วยการผสมแอลธีอะนีน” (L-theanine) กรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐฯ ให้การยอมรับ ซึ่งพบได้ในชาเขียว ชาดำ และเห็ดบางชนิด

ที่มาของเครื่องดื่ม Driftwell นี้ เกิดจากโครงการการแข่งขันเสนอไอเดียภายในบริษัทของเป๊ปซี่ เพื่อนำไปต่อยอดผลิตเป็นสินค้าที่จำหน่ายในตลาดได้จริง โดย Emily Silver ผู้บริหารดูแลฝ่ายนวัตกรรม บอกว่า Driftwell เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากไอเดียของพนักงานที่ทำออกมาวางขายจริงได้เร็วที่สุดของบริษัท

โดย Driftwell จะถูกจัดอยู่ในประเภท Functional Water หรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ บรรจุในกระป๋องขนาด 7.5 ออนซ์ เหมาะที่จะดื่มในช่วงค่ำๆ ก่อนถึงเวลาเข้านอนโดยไม่ต้องลุกไปเข้าห้องน้ำในตอนกลางคืน มาพร้อมกลิ่นของแบล็กเบอร์รีและลาเวนเดอร์มีส่วนผสมของแอลธีอะนีนถึง 200 มิลลิกรัม ซึ่งมีงานวิจัยสนับสนุนว่า สารดังกล่าวมีส่วนช่วยลดความเครียดในสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความกังวลและปรับอารมณ์ก่อนนอนได้

สำหรับตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในอเมริกา ในปี 2019 มีมูลค่ากว่า 2.97 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 9.27 หมื่นล้านบาท) ตามรายงานของ Euromonitor เเละคาดว่าในปีนี้จะมียอดขายเติบโตได้เกือบ 5% จากความนิยมในเครื่องดื่มที่ช่วยผ่อนคลายที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดหนักในสหรัฐฯ ที่ยืดเยื้อ กระทบเศรษฐกิจเเละไม่มีความเเน่นอน ทำให้ชาวอเมริกันเกิดความเครียดมากขึ้นนั่นเอง

ขณะเดียวกัน ตลาดเครื่องดื่มลูกผสมเเบบ “ไฮบริด” ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกันในยุคนี้ จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการเครื่องดื่มที่สดชื่น แต่ต้องเป็นมิตรต่อสุขภาพ กลายเป็นทางเลือกใหม่ที่มีโอกาสทางการตลาดสูงโดยคู่เเข่งอย่าง โคคาโคล่า” ก็เตรียมวางจำหน่าย Coca-Cola With Coffee หรือโค้กผสมกาแฟ เพื่อเจาะตลาดอเมริกา ในช่วงเดือนมกราคม ปี 2021 

…ต้องรอลุ้นว่าจะเข้าไทยหรือไม่

 

ที่มา : CNBC , CNN

 

 

 

 

]]>
1297307