เงินทุน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 30 Jun 2024 04:20:31 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “Cartier Women’s Initiative” ทุนจาก “คาร์เทียร์” เพื่อผลักดัน “ผู้ประกอบการหญิง” ทั่วโลก https://positioningmag.com/1480368 Sat, 29 Jun 2024 11:25:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1480368 ครบรอบ 17 ปีโครงการ Cartier Women’s Initiative จาก “คาร์เทียร์” โครงการมอบทุนและเครือข่ายเพื่อช่วยผลักดัน “ผู้ประกอบการหญิง” ทั่วโลกที่ทำธุรกิจเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม โดยการพิจารณารางวัลครั้งล่าสุดมี “กรองกมล เดอเลออน” เป็นหญิงไทยคนแรกที่ได้ทำหน้าที่คณะกรรมการตัดสิน

“Cartier Women’s Initiative” หรือ CWI เป็นโครงการที่ก่อตั้งเมื่อปี 2006 ด้วยจุดมุ่งหมายของ “คาร์เทียร์” ที่ต้องการสนับสนุนรางวัลและเครือข่ายผู้ประกอบการให้กับ “ผู้หญิง” ที่ทำธุรกิจเพื่อสังคมทั่วโลก โดยที่ผ่านมา 17 ปีโครงการนี้มีการมอบรางวัลให้ผู้ประกอบการสตรีไปแล้ว 330 ราย ใน 66 ประเทศ มูลค่าเงินรางวัลสะสม 9.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 349 ล้านบาท)

การตัดสินรางวัลจะมอบให้กับผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคม มีการทำกำไรได้จริง และยังอยู่ในช่วง ‘early stage’ หรือเพิ่งเริ่มทำธุรกิจมาไม่เกิน 6 ปี

โดยรางวัลปัจจุบันมี 11 รางวัล แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • 9 รางวัลที่แบ่งตามภูมิภาคผู้สมัคร ได้แก่ ละตินอเมริกาและแคริบเบียน, อเมริกาเหนือ, ยุโรป, แอฟริกากลุ่มใต้ทะเลทรายซาฮาราและพูดภาษาฝรั่งเศส, แอฟริกากลุ่มพูดภาษาอังกฤษและโปรตุเกส, ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ, เอเชียตะวันออก, เอเชียใต้และเอเชียกลาง, โอเชียเนีย
  • 2 รางวัลเฉพาะทาง ได้แก่ รางวัล Science & Technology Pioneer Award และรางวัล Diversity, Equity & Inclusion Award (*รางวัลล่าสุดที่ไม่จำกัดเพศผู้สมัคร)

เมื่อปี 2024 ที่ผ่านมานั้น ผู้ชนะรางวัลแต่ละสาขา อันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ และอันดับ 3 ได้รับเงินรางวัล 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับประเทศไทยนั้นเคยมีผู้ชนะรางวัล CWI หนึ่งคนคือ “สาลินี ถาวรนันท์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสว่าง จำกัด ซึ่งได้รับรางวัลนี้เมื่อปี 2014 โดยบริษัทของเธอเป็นโมเดลธุรกิจการติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้ชุมชนในพื้นที่ห่างไกล

Cartier Women’s Initiative
“กรองกมล เดอเลออน” Vice President ของ Beacon Venture Capital และเป็นหนึ่งในกรรมการตัดสิน Cartier Women’s Initiative ปี 2024

นอกจากจะมีผู้ชนะรางวัลแล้ว ปี 2024 ยังเป็นปีแรกที่มีคณะกรรมการตัดสินรางวัลเป็นผู้หญิงไทย คือ “กรองกมล เดอเลออน” ซึ่งเป็น Vice President ของ Beacon Venture Capital มาช่วยพิจารณาผู้สมัครและเป็นที่ปรึกษาให้โครงการ

“วินจี ซิน” ผู้อำนวยการโครงการ CWI ในโอกาสมาเยือนประเทศไทยได้แบ่งปันข้อมูลว่า โครงการ CWI ไม่เพียงแต่ให้ทุนรางวัลเท่านั้น แต่ผู้ที่ชนะรางวัลจะได้อยู่ในคอมมูนิตี้ที่สนับสนุนผู้ประกอบการ ทั้งจากรุ่นพี่ที่ชนะรางวัล กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ รวมกว่า 700 คน ซึ่งจะช่วยให้คำแนะนำการทำธุรกิจและเป็นเครือข่ายในการต่อยอดต่อไปได้ ทำให้ที่ผ่านมาผู้ชนะรางวัล CWI ร้อยละ 94 สร้างรายได้เติบโตขึ้นได้สำเร็จ ร้อยละ 42 ทำกำไรสูงขึ้น และร้อยละ 56 สามารถขยายธุรกิจไปต่างประเทศได้ในเวลา 3 ปีหลังรับรางวัล

Cartier Women’s Initiative
“วินจี ซิน” ผู้อำนวยการโครงการ Cartier Women’s Initiative

 

ชวนผู้ประกอบการหญิงไทยสมัครชิงรางวัล

ซินบอกด้วยว่า จากการทำโครงการ CWI ในช่วงแรกๆ ของโครงการมักจะพบว่า ปัญหาหลักของ “ผู้ประกอบการหญิง” คือการเริ่มต้นธุรกิจค่อนข้างยาก ต้องอาศัยแรงสนับสนุนที่จะลงมือทำ แต่ในระยะ 5-6 ปีหลังมานี้ ผู้หญิงมีความกล้าที่จะเริ่มต้นธุรกิจสูงขึ้นมาก แต่การจะ ‘สเกล’ ขยายธุรกิจให้เต็มศักยภาพและเข้าถึงแหล่งทุนที่จะทำเช่นนั้นยังคงเป็นโจทย์ยาก ทำให้ CWI จะเข้ามาช่วยสนับสนุนในส่วนนี้ได้

ด้านกรองกมลเล่าจากประสบการณ์การตัดสินรางวัลปีล่าสุด พบว่ามีผู้สมัครชาวไทยยื่นใบสมัครมาทั้งหมด 8 คน แต่น่าเสียดายที่ทั้งหมดไม่สามารถก้าวสู่รอบ Top 5 ได้

อย่างไรก็ตาม ซินเสริมว่าประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีสตรีอยู่ในระดับบริหารของบริษัทเป็นสัดส่วนที่สูงมากหากเทียบกับค่าเฉลี่ยโลก ดังนั้น มองว่าผู้ประกอบการหญิงไทยมีศักยภาพที่จะชนะรางวัลนี้ได้ และขอให้ไม่ท้อในการสมัคร เพราะผู้ชนะหลายคนที่ไม่ผ่านเข้ารอบในปีแรก แต่ยังมุ่งมั่นทำธุรกิจและยื่นสมัครอีกครั้งจนชนะได้ในที่สุด

Cartier Women’s Initiative

กรองกมลยังให้คำแนะนำด้วยว่า สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสมัคร CWI ควรจะมีคุณสมบัติ ดังนี้

1.โมเดลธุรกิจมีความยั่งยืน สามารถทำกำไรได้จริง และมีแผนลงทุนเพื่อการเติบโตในระยะยาว หากเป็นไปได้ควรต่อยอดได้มากกว่าตลาดในประเทศ

2.รู้จักธุรกิจของตนเองอย่างถ่องแท้ รู้โอกาสได้เปรียบของธุรกิจตนเองที่เหนือกว่าคู่แข่ง

3.สร้างธุรกิจที่สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ให้กับสังคมและโลกใบนี้อย่างน้อยด้านใดด้านหนึ่ง

สำหรับการต่อยอดโครงการ Cartier Women’s Initiative นั้น วินจี ซินกล่าวว่าปัจจุบันโครงการเริ่มขยายโมเดลทำโครงการในระดับท้องถิ่นบ้างแล้วเพื่อทำลายกำแพงภาษาลง หันมาสร้างโครงการโดยใช้ภาษาท้องถิ่นแทนภาษาอังกฤษ เช่น ในประเทศจีน โครงการเริ่มสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการในเซี่ยงไฮ้และร่วมมือกับโรงเรียนด้านธุรกิจในประเทศจีนเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ ในอนาคต โครงการมีแผนจะขยายโมเดลนี้ไปยังโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น และอาจจะขยายเข้ามาในไทยเร็ว ๆ นี้

Cartier Women’s Initiative

]]>
1480368
จับตา ยุค ‘ตื่นทอง’ ของสตาร์ทอัพอาเซียน เงินระดมทุนเพิ่มขึ้นเท่าตัว ปั้นยูนิคอร์นรุ่นใหม่ https://positioningmag.com/1372526 Tue, 01 Feb 2022 09:44:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372526 เหล่าสตาร์ทอัพดาวรุ่งในอาเซียน ระดมทุนได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 2.57 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2021 เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีก่อนหน้านี้

ช่วงวิกฤตโควิด-19 นักลงทุนทั่วโลกอที่ถือครองเงินสดจำนวนมาก ต่างพยายามเข้ามามีส่วนร่วมในตลาดอาเซียน ที่เป็นเหมือนขุมทองด้านเทคโนโลยีเเห่งใหม่ของโลก จากศักยภาพการเติบโตท่ามกลางการขับเคลื่อนของเศรษฐกิจดิจิทัล

บรรดากองทุนต่างๆ เเละบริษัทร่วมทุนขนาดใหญ่ กำลังแสวงหาโอกาสการลงทุนที่จะช่วยให้ได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญจึงประเมินว่า ยุคตื่นทอง” (Gold Rush) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะยังคงดำเนินต่อไปในปีนี้ หลังปั้นยูนิคอร์นได้ถึง 25 บริษัท เเละเงินลงทุนกำลังจะเข้าหากลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ที่ยังมีต่ำกว่ามูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์มากขึ้น 

อาเซียน เนื้อหอมดึงดูดเงินทุนทั่วโลก 

รายงานของ SE Asia Deal Review ที่รวบรวมโดย DealStreetAsia แพลตฟอร์มข้อมูลสตาร์ทอัพของสิงคโปร์ ระบุว่า ในปี 2021 ที่ผ่านมาสตาร์ทอัพในภูมิภาคนี้สามารถระดมทุนได้ถึง 2.57 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.7 เท่า จาก 9.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 และมากกว่าปี 2018 ที่เคยมีมีการระดมทุนสูงสุดที่ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตัวเลขการระดมทุนที่เพิ่มขึ้น เป็นสัญลักษณ์ของตลาดใหม่ที่กำลังเติบโต เเละยังเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกที่มีต่อตลาดอาเซียน ทั้งในแง่การเป็นตลาดเกิดใหม่สำหรับธุรกิจและศูนย์กลางนวัตกรรมทางเทคโนโลยีระดับโลก” DealStreetAsia กล่าวในบทวิเคราะห์

ยุค Gold Rush เเห่งอาเซียน 

ระบบนิเวศของสตาร์ทอัพในอาเซียน เริ่มเติบโตในช่วงต้นปี 2010 ตามหลังจีนอยู่ประมาณ 5-10 ปี ท่ามกลางช่วงธุรกิจสมาร์ทโฟนที่เข้ามาเจาะตลาดอาเซียน 

จนกระทั่งก่อนเกิดโรคระบาด เงินทุนส่วนใหญ่เริ่มตกไปอยู่กับกลุ่มสตาร์ทอัพใหม่ที่เติบโตอย่างโดดเด่นอย่าง Grab ของสิงคโปร์ เเละ Gojek คู่แข่งจากอินโดนีเซีย

โดยหนึ่งในนักลงทุนรายใหญ่ที่เข้ามาบุกอาเซียน ก็คือ ‘SoftBank Group’ ของญี่ปุ่น ที่ทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์ให้กับ Grab และ Tokopedia แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย

สำหรับบริษัทที่ระดมทุนได้มากในปี 2021 คือGoTo’ ของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นบริษัทเทคฯ ที่เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการระหว่าง Gojek เเละ Tokopedia ซึ่งระดมทุนได้ราว 1,600 ล้านดอลลาร์ รวมถึงเงินทุนที่ Gojek ระดมทุนได้ก่อนรวมกิจการกันทำให้เป็นบริษัทที่ระดมทุนได้มากที่สุดอันดับสองของภูมิภาค 

Photo : Shutterstock

ขณะที่ Grab ระดมทุนได้ 675 ล้านดอลลาร์ ก่อนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ในเดือนธ..ที่ผ่านมา ขึ้นเป็นบริษัทใหญ่สุดอันดับที่ 4

เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดของการระดมทุนในปี 2018 เราได้เห็นการกระจายตัวของแหล่งเงินทุนไปยังบริษัทที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งในตลาดและภาคส่วนต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพและการเติบโตของระบบนิเวศ

Yinglan Tan ผู้จัดการกองทุน Insignia Ventures เเสดงความคิดเห็นของเขาในรายงาน DealStreetAsia โดยเขาอธิบายสถานการณ์ปัจจุบันว่าเป็น “ยุคตื่นทองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

ปี 2021 ปั้นยูนิคอร์น 25 ตัว จับตาสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ 

เมื่อแยกตามภาคธุรกิจเเล้ว สตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทคถือเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับการระดมทุนมากที่สุดในปี 2021 โดยระดมทุนได้กว่า 5,830 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 4 เท่าจาก 1,460 ล้านดอลลาร์ในปี 2020

โดยการระบาดของโควิด-19 ได้กระตุ้นให้เกิดการชำระเงินแบบไร้เงินสดมากขึ้นและบริการทางการเงินออนไลน์อื่นๆมากขึ้น

บริการเหล่านี้มีผลกระทบทางสังคมนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมากหากเทียบกับตลาดที่พัฒนาแล้วจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชนรายใหม่เเละการเปิดบัญชีออนไลน์มากขึ้น

ยกตัวอย่าง เช่น สตาร์ทอัพ Mynt ของฟิลิปปินส์ หรือที่รู้จักกันในชื่อกระเป๋าเงินเคลื่อนที่ GCash ที่ได้รับการสนับสนุนโดยบิ๊กเทคของจีนอย่าง Ant Group ระดมทุนได้ 475 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 จากบรรดานักลงทุนระดับโลก ซึ่งรวมถึง Warburg Pincus กองทุนเพื่อการลงทุนหุ้นนอกตลาดจากสหรัฐฯ

ด้านภาคโลจิสติกส์ตามมาเป็นอันดับสอง ด้วยยอดการระดมทุนได้ประมาณ 5,560 ดอลลาร์ในปี 2021 ด้วยปัจจัยหนุนการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จากความต้องการของผู้บริโภคที่ช้อปปิ้งออนไลน์เเละส่งพัสดุเพิ่มขึ้นมาก  

การลงทุนที่เพิ่มขึ้น ก็มาพร้อมกับการประเมินมูลค่าที่สูงขึ้นเช่นกัน โดยบริษัททั้ง 4 แห่ง ได้แก่ Mynt, MoMo, J&T Express และ Ninja Van ก็มีมูลค่าทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์ได้ปีที่แล้ว นับเป็นอีกกลุ่มสตาร์ทอัพยูนิคอร์นที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคนี้

DealStreetAsia ระบุว่า มีสตาร์ทอัพ 25 แห่งจาก 6 ประเทศอาเซียน ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทยูนิคอร์นได้ในปี 2021 โดยทั้งหมดมีมูลค่ารวมอยู่ที่ราว 55,400 ล้านดอลลาร์ และส่วนใหญ่เป็นบริษัทสตาร์ทอัพในอินโดนีเซียและสิงคโปร์

นอกจากนี้ ยังมียูนิคอร์นที่เพิ่งเกิดใหม่ที่น่าสนใจอย่าง Carro แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำหรับรถยนต์มือสอง ของสิงคโปร์ , บริษัทโลจิสติกส์ของไทย Flash Express และร้านกาแฟในเครือ Kopi Kenangan ของอินโดนีเซีย

เหล่าผู้เชี่ยวชาญ มองว่าการไหลเข้ามาของเงินทุนจะดำเนินต่อเนื่องในปี 2565 เนื่องจากมีเงินทุนจากภายนอกเข้ามาให้ความสนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่ยังมีต่ำกว่ามูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์

]]>
1372526
รู้จัก ‘Funding Societies’ เเพลตฟอร์มระดมทุนเจ้าใหญ่ รุกหา SMEs ไทย ให้ ‘เงินทุน’ เเบบไม่มีหลักประกัน https://positioningmag.com/1318596 Mon, 15 Feb 2021 13:29:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318596 การไม่เข้าถึงเเหล่งเงินทุน เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของ SMEs เเละสตาร์ทอัพสัญชาติไทยเรื่อยมา เเละยิ่งเพิ่มมากขึ้นในยามเศรษฐกิจตกต่ำ เหล่านี้เป็นช่องว่างธุรกิจที่ดึงดูดให้แพลตฟอร์มระดมทุนจากต่างประเทศ เริ่มเข้ามาคว้าโอกาสนี้ในไทยกันมากขึ้น

ล่าสุดFunding Societies’ แพลตฟอร์มเงินทุนดิจิทัลสำหรับ SMEs รายใหญ่ที่สุดในอาเซียน เป็นอีกเจ้าที่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในบ้านเรา หลังได้รับใบอนุญาตการเป็นผู้ให้บริการระบบ Crowdfunding หรือแพลตฟอร์มระดมทุน โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (...) 

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับFunding Societiesเเพลตฟอร์มระดมทุนที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างนักลงทุนเเละผู้ประกอบการรายย่อยให้มาพบกัน

ทำไม Funding Societies ถึงมาไทย ?

Funding Societies คือแพลตฟอร์มเงินทุนดิจิทัล ที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย เปิดกิจการมาตั้งเเต่ปี 2015 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการระดมทุนอย่างถูกต้องทั้งในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เเละล่าสุดในไทย

ที่ผ่านมามีการระดมทุนรวมมากกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (4.5 หมื่นล้านบาท) ได้สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ทั้งในสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มาแล้วจำนวน 65,000 ราย มีนักลงทุนทั้งหมดบนแพลตฟอร์มราว 200,000 ราย 

มีบริษัทนักลงทุนใหญ่ๆ เข้าร่วมระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มของ Funding Societies อย่าง Sequoia India, Softbank Ventures Asia Corp, Qualgro, LINE Ventures ฯลฯ โดยได้รับการระดมทุน Series C 1,300 ล้านบาท (ราว 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา

เรามองเห็นศักยภาพของ SMEs และสตาร์ทอัพที่มีอยู่หลายล้านรายในประเทศไทย พวกเขาควรได้รับโอกาสทางการเงินที่เท่าเทียม วารุน บันดารี กรรมการผู้จัดการใหญ่ Funding Societies ประเทศไทย กล่าว

จากข้อมูลของบริษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) ระบุว่า แม้ประเทศไทยจะมีผู้ประกอบการ SMEs มากกว่า 3 ล้านราย แต่มากกว่าครึ่งกำลังประสบปัญหาการไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนได้ โดยเฉพาะเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น

วารุน บันดารี กรรมการผู้จัดการใหญ่ Funding Societies ประเทศไทย

ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เกิดช่องว่างทางการเงินแก่ธุรกิจ SMEs มากกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.2 ล้านล้านบาท) เเละภาวะขาดแคลนเงินทุนยิ่งทวีความเลวร้ายมากขึ้นในวิกฤตโรคระบาด เพราะสถาบันการเงินต่างพยายามลดอัตราการปล่อยสินเชื่อให้น้อยลงเพื่อลดความเสี่ยง

วารุนบอกว่า ธุรกิจ SMEs มีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทยมากกว่า 40% ทำให้เกิดอัตราการจ้างงานถึง 78.5% แต่กลับต้องเผชิญปัญหานการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินรูปแบบเดิมเนื่องจากขาดแคลนหลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันรวมถึงข้อกำหนดการยื่นเอกสารที่ยุ่งยากและขั้นตอนการอนุมัติที่ใช้เวลานาน

…นี่จึงเป็นโอกาสของ Funding Societies ที่จะเข้ามาทำธุรกิจในไทย

ตามหา SMEs โปรไฟล์ดี 

Funding Societies จะให้บริการ ‘Debt Crowdfunding’ หลักๆ ได้เเก่ ช่วยเหลือ SMEs ขนาดเล็ก โปรไฟล์ดี ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ต้องการเงินลงทุนตั้งแต่ 5-30 ล้านบาท ขณะที่ในเว็บไซต์ระบุว่าเงินทุนสูงสุด 50 ล้านบาท

โดยเป็นเเพลตฟอร์มเชื่อมระหว่าง SMEs และนักลงทุน ให้สามารถลงทุนได้ ทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายบุคคล ซึ่งแพลตฟอร์มจะประเมินความเสี่ยงด้านสินเชื่อเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน

การพิจารณาการให้ทุน จะมีการตรวจสอบเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ รายการเดินบัญชีจากธนาคาร เบื้องต้นในบางกรณีจะสามารถอนุมัติเงินทุนได้ภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนปกติจะสามารถอนุมัติเงินทุนให้คุณได้เร็วสุดภายใน 3 วันหลังได้รับเอกสารครบถ้วน

เงินทุนเพื่อธุรกิจนี้เหมาะสำหรับนิติบุคคลในไทย ยกเว้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่ดำเนินธุรกิจมาแล้ว 12 เดือน เเละไม่มีประวัติค้างชำระหนี้เกิน 3 เดือน ซึ่งจะทำการพิจารณาคำขอระดมทุนเป็นรายกรณีไป 

สำหรับเรื่องอัตราดอกเบี้ยนั้น สืบพงศ์ ชัยวนนท์ รองประธานฝ่ายเครดิต Funding Societies ประเทศไทยให้ข้อมูลกับ Positioningmag ว่า จะคิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 1-2% ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาเเต่ละกรณี เเละมีระยะการผ่อนชำระตั้งเเต่ระยะสั้น 3 เดือนไปจนถึงสูงสุด 24 เดือน

เมื่อถามว่า หากไม่มีการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันเเล้ว หากมีการผิดชำระขึ้นมาจะจัดการอย่างไร ผู้บริหาร Funding Societies ตอบว่า จะดำเนินการตามตามสัญญากู้เงินที่ระบุไว้ตามข้อตกลง ซึ่งบริษัทพยายามจำกัดอัตราการผิดชำระหนี้ให้ต่ำกว่า 2% ซึ่งต่ำกว่าในตลาดที่อยู่ราว 5%

ด้านนักลงทุนสามารถเริ่มต้นลงทุนได้ตั้งแต่ 10,000 บาท เป็นการร่วมสนับสนุน SMEs ไทยที่นักลงทุนชื่นชอบให้สามารถขยายกิจการหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไปได้ รวมถึงเป็นช่องทางในการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบเเทนเป็นที่พอใจ ซึ่งนักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ

โดยจะมีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยทำให้สามารถนำแสนอรูปแบบการระดมทุนแบบใหม่ๆ ที่รวดเร็วสะดวก และไม่แพงจนเกินไป

ผู้บริหาร Funding Societies กล่าวว่า การการันตีผลตอบแทนนั้น ขณะนี้อาจจะยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เเต่อ้างว่ามีอัตราสูงกว่าเมื่อเทียบกับหุ้นกู้ชนิดอื่น ๆ 

Funding Societies บอกถึงเผนธุรกิจในในช่วง 1-2 ปีแรกของการรุกตลาดไทย ว่า ไม่ได้ตั้งเป้าหมายเป็นตัวเลข  ในช่วงเริ่มต้นเรายังไม่สามารถที่จะบอกได้ว่า จะมีการระดมทุนให้ SMEs ไทยได้เท่าไหร่ และมีนักลงทุนเข้ามาลงทุนผ่านแพลตฟอร์มของเราเท่าไหร่

เเต่ทิศทางธุรกิจจะเน้นไปที่การทำความเข้าใจความต้องการในตลาดเเละธุรกิจ SMEs ในไทยมากกว่า ว่าพวกเขาขาดอะไร ต้องการอะไร ซึ่งจะนำมาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการ

ผู้เล่นในตลาด ‘ระดมทุน’ ไทย 

การระดมทุน แบบ Crowdfunding มีมานานมากเเล้วในต่างประเทศ เเต่ในไทยยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก หลักๆ ซึ่งเป็นที่นิยม จะมีอยู่ 2 ประเภท ได้เเก่ 1) Debt Crowdfunding 2) Equity Crowdfunding 

โดย Debt Crowdfunding ประเภทธุรกิจผู้ขอเงินทุน กลุ่ม SMEs หรือสตาร์ทอัพที่ต้องการเงินทุนเพื่อหมุนเวียนธุรกิจ จ่ายดอกเบี้ยต่ำ และความเสี่ยงของผู้ลงทุนต่ำกว่า โดยบริษัทที่เป็นผู้ขอเงินทุน จะอยู่ในสถานะลูกหนี้

Equity Crowdfunding คือ การระดมทุนจากบุคคลทั่วไป โดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนเป็น หุ้น (Equity) หรือ สิทธิความเป็นเจ้าของบริษัท ซึ่งเจ้าของกิจการจะเป็นผู้ควบคุม และกำหนดนโยบายได้ว่าจะจ่ายผลตอบแทนเป็น กำไร เงินปันผล หรือ หุ้นให้กับผู้ลงทุน ประเภทธุรกิจผู้ขอเงินทุนจะเหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก ที่ต้องการเงินลงทุนในช่วงเริ่มต้น หรือ ช่วงขยายกิจการ

ปัจจุบัน แพลตฟอร์มระดมทุนที่เปิดให้บริการในประเทศไทยอย่าง

  • Taejai.com เทใจดอทคอม มุ่งให้ทุนเเก่ชกลุ่มที่อยากจะทำเรื่องดีดีเพื่อสังคม
  • DURIAN CORP Where Angle Meet Unicorns แพลตฟอร์มสร้างนวัตกรรมครบวงจรเสนอแหล่งเงินทุนเพื่อสตาร์ทอัพผลักดันให้บริษัทไทยเป็นยูนิคอร์น
  • Sinwattana สินวัฒนา เปิดตัวมาตั้งเเต่ปี 2013 จากเเนวคิดที่ว่า อยากให้เกิดแพลตฟอร์มคราวด์ฟันดิงในเอเชีย และได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (...) เปิดให้บริการระดมทุนแบบครบวงจร
  • XUXU หรือสู้สู้แพลตฟอร์ม Crowfunding ของไทยให้เงินทุนกับธุรกิจใหม่ๆ ที่มีไอเดียเจ๋งๆ
  • Dreamaker Equity Crowdfunding เป็นการระดมทุนแบบ Investment-based Crowdfunding ผ่านทางเว็บไซต์ เน้นให้เงินทุนเเก่บริษัทที่มีเเนวโน้มจะเติบโต

นอกจากนี้ ยังมีแพลตฟอร์ม Crowdfunding ของต่างประเทศที่มาตีตลาดไทย อย่าง Kickstarter, Indiegogo เเละ StartEngine

ต้องจับตาดูว่าธุรกิจ Crowdfunding ที่เจาะตลาด SMEs ขนาดเล็กในไทยจะเป็นไปอย่างไร หลังมีเจ้าใหญ่กระโดดเเย่งชิงโอกาสทองนี้

 

]]> 1318596 สตาร์ทอัพในสหรัฐฯ ปลดพนักงานไปเเล้วเกือบ 4 พันคน เงินทุนหายาก เสี่ยงปิดกิจการมากขึ้น https://positioningmag.com/1271433 Fri, 03 Apr 2020 04:20:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271433 สตาร์ทอัพในอเมริกา หนีไม่พ้นวิกฤต COVID-19 สั่งปลดพนักงานไปแล้วกว่า 3,800 รายใน 40 บริษัท เเหล่งเงินทุนเริ่มหายาก เกิดความเสี่ยงที่จะมีสตาร์ทอัพปิดกิจการมากขึ้นอีกในช่วงนี้

ชาวอเมริกันกว่า 3.3 ล้านคนได้ยื่น “ว่างงาน” ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา นับว่าเป็นยอดว่างงานที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ โดยผู้ที่ทำงานในธุรกิจร้านอาหารเเละการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 มากที่สุด

สำนักข่าว CNBC ได้รวบรวมข้อมูลสตาร์ตอัพในสหรัฐอเมริกา พบว่าตอนนี้มีกว่า 40 บริษัทสั่งปลดพนักงานไปแล้วกว่า 3,800 คน ในภาคธุรกิจต่าง ๆ เช่นการโรงแรม การขนส่ง การจัดส่งอาหารและปัญญาประดิษฐ์ (AI)โดยบริษัทเหล่านี้ได้รับการระดมทุนรวมเเล้วเกือบ 1.5 หมื่นล้านเหรียญ ตามข้อมูลของ Crunchbase โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ทั่วประเทศ ทั้งในแคลิฟอร์เนีย บอสตัน พอร์ตแลนด์ โอเรกอนและเมืองอื่น ๆ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สตาร์ทอัพในสหรัฐฯ ได้รับการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เเต่ตอนนี้บริษัทลงทุนต่างๆ ได้ส่งสัญญาณในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ว่า “เงินทุน” จะหายากมากขึ้น ส่งผลให้บรรดาสตาร์ทอัพกำลังตกที่นั่งลำบากเเละมีความเสี่ยงจะปิดกิจการอีกจำนวนมาก ในสถานการณ์โรคระบาดที่ส่งผลกระทบทั่วโลก

 

ที่มา : Start-ups cut nearly 4,000 jobs in March as coronavirus impact ripples through tech

 

]]>
1271433