เงินเยน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 19 Mar 2024 11:48:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ธนาคารกลางญี่ปุ่นขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปี นักวิเคราะห์ชี้เงินเยนอาจไม่แข็งค่าเท่าที่คาด https://positioningmag.com/1466718 Tue, 19 Mar 2024 10:25:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466718 ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 0-0.1% ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปี และยังเป็นการประกาศชัยชนะเชิงสัญลักษณ์ว่าแดนอาทิตย์อุทัยได้ออกจากสภาวะเงินฝืดแล้ว แต่สำหรับค่าเงินเยนแล้วนั้นนักวิเคราะห์มองว่าอาจไม่ได้แข็งค่าเท่าที่คาดจากท่าทีที่ระมัดระวังของ BoJ

ธนาคารกลางญี่ปุ่น ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในช่วง 0-0.1% ซึ่งการปรับดอกเบี้ยดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย รวมถึงการใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบมาเป็นระยะเวลานาน

BoJ ได้ประกาศอัตราดอกเบี้ยในช่วง 0-0.1% จากเดิมที่ญี่ปุ่นได้ใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบที่ -0.1% มาเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี มาตรการดังกล่าวตามมาหลังจากที่ญี่ปุ่นได้ปรับค่าแรงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5.3% เพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าแดนอาทิตย์อุทัยได้พ้นจากสภาวะเงินฝืดเป็นที่เรียบร้อย

ถ้อยแถลงของ BoJ ยังมีการกล่าวถึงตัวเลขเงินเฟ้อของญี่ปุ่นอยู่ในช่วง 2% (หรือมากกว่า) ซึ่งมีลักษณะมั่นคงมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และมองว่านโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของญี่ปุ่นได้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวแล้ว

นอกจากนี้ในถ้อยแถลงของ BoJ ยังกล่าวว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราที่สูงกว่าอัตราการเติบโตที่เป็นไปได้ (Potential Growth Rate)

นโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่นนอกจากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีนโยบายที่จะยกเลิกการซื้อกองทุนหุ้นญี่ปุ่นที่ซื้อขายในตลาดหุ้น (ETF) ทรัสต์การลงทุนในอสังหาริมทัพย์ในประเทศญี่ปุ่น (REITS) หรือแม้แต่การควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี (Yield Curve Control) เพื่อควบคุมให้นโยบายการเงินอยู่ในสภาวะผ่อนคลาย

การที่ญี่ปุ่นต้องใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบเนื่องจากปัญหาเงินฝืด ซึ่งเป็นผลกระทบของเศรษฐกิจในยุค 1990 ที่ฟองสบู่แตก ส่งผลต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น จนเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาทศวรรษที่สาบสูญ จนท้ายที่สุด ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ออกนโยบายผ่อนคลายทางการเงินออกมาเพื่อจะแก้ปัญหาดังกล่าวนับตั้งแต่ปี 2012

ในช่วงที่ผ่านมา BoJ ได้ส่งสัญญาณการยกเลิกนโยบายผ่อนคลายทางการเงินมาโดยตลอด หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อในญี่ปุ่นนั้นปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุนคาดว่าในท้ายที่สุดแล้วญี่ปุ่นจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ดี BoJ ยังยืนยันว่าจะไม่ใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดเหมือนกับธนาคารกลางของประเทศพัฒนาหลายประเทศที่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เร็วและรุนแรง เช่น สหรัฐอเมริกา ฯลฯ และยังชี้ว่านโยบายทางการเงินของญี่ปุ่นในช่วงเวลานี้ยังอยู่ในสภาวะผ่อนคลายอยู่

ผลกระทบจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของญี่ปุ่นหลายปีที่ผ่านมาคือส่งผลทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่า ซึ่งส่งผลดีต่อภาคการส่งออกและท่องเที่ยวของญี่ปุ่น แต่ผลกระทบคือการนำเข้าสินค้าของญี่ปุ่นจะมีราคาสูงมากขึ้น

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับค่าเงินเยนว่า “ตลาดคาดว่า BoJ จะเปลี่ยน แปลงนโยบายพร้อมกับท่าทีระมัดระวังเกี่ยวกับการคุมเข้มนโยบายเพิ่มเติมในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยหาก BoJ ส่งสัญญาณว่าอาจเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวจะไม่เพียงพอที่จะทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นได้”

สำหรับค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทล่าสุดในวันนี้ (19 มีนาคม) ซื้อขายในช่วง 0.2396-0.2415 เยนต่อ 1 บาท ซึ่งยังไม่ได้แข็งค่าในทันทีจากนโยบายการปรับขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าว

ที่มา – Reuters, The Guardian, CNN

]]>
1466718
‘เงินเยน’ อ่อนค่าสุดในรอบ 24 ปี แตะ 140 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ https://positioningmag.com/1398649 Fri, 02 Sep 2022 04:57:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1398649 เงินเยนอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปี เมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดย 1 ดอลลาร์ มีมูลค่าเท่ากับ 140 เยน เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1998 เนื่องจากญี่ปุ่นยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินที่มีมายาวนาน ตรงกันข้ามกับการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เข้มงวดขึ้น 

การลดลงอย่างมากของค่าเงินเยนส่วนใหญ่ได้รับแรงผลักดันจากแนวทางที่แตกต่างกันของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นและธนาคารกลางอื่น ๆ รวมถึงเฟด ซึ่งได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อจัดการกับเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นจากสงครามยูเครน โดย David Forrester นักยุทธศาสตร์ FX อาวุโสที่ Credit Agricole CIB ในฮ่องกง คาดว่า มีความเป็นไปได้ที่ รัฐบาลจะเข้าแทรกแซง

“ก่อนหน้านี้ หากคุณดูเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงเพื่อซื้อเงินเยน โดยปกติแล้วจะอยู่ในระดับเหล่านี้”

ฮิโรคาสึ มัตสึโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่น กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ และกำลังจับตาดูความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ทาง ฮิโรคาสึ ไม่ได้ให้ข้อบ่งชี้ใด ๆ ว่าจะมีมาตรการพิเศษใด ๆ มารับมือ

ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เจอโรม พาวเวลล์ ประธานของเฟด ประกาศความมุ่งมั่นที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อหลีกเลี่ยงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กลับกันผู้กำหนดนโยบายของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นยังยืนกรานที่จะคงดอกเบี้ยเอาไว้ในระดับต่ำ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการเติบโตในเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก

ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นต้องเจอกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นสูงสุดในรอบ 7 ปี และราคาสินคุ้ปโภคบริโภคที่ไม่รวมสินค้าสดเพิ่มขึ้น 2.4% เนื่องจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น ที่ส่งผลต่อดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่น

“อัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นไม่เพียงแต่เร่งตัวขึ้นเท่านั้น แต่ยังขยายออกไปมากกว่าแค่อัตราเงินเฟ้อด้านราคาอาหารและพลังงาน บางที BoJ อาจต้องเปลี่ยนจุดยืนเล็กน้อย กระทรวงการคลังอาจต้องเข้าไปแทรกแซง เพื่อลดอัตราเงินเฟ้อนำเข้าจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง”

แม้ว่าค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงในสินค้านำเข้าจะทำให้สินค้านำเข้าในญี่ปุ่นมีราคาแพงขึ้น แต่เงินเยนที่อ่อนค่าลงยังสามารถเพิ่มผลกำไรของบริษัทญี่ปุ่นที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงบริษัทใหญ่ ๆ เช่น Toyota และ Nintendo ขณะที่ นายกรัฐมนตรี ฟุมิโอะ คิชิดะ ได้ประกาศผ่อนคลายกฎการเข้าประเทศที่เข้มงวด เพื่ออนุญาตให้นักท่องเที่ยวใช้บริการแพ็กเกจทัวร์ แต่ไม่มีไกด์ ซึ่งนี่ถือเป็นอีกมุมมองของการใช้ประโยชน์จากเงินเยนที่อ่อนค่าลง

Source

]]>
1398649
ญี่ปุ่น ลุยเเผนศึกษา ‘เงินเยนดิจิทัล’ ตามเเนวทางเดียวกันกับ ‘สวีเดน’ https://positioningmag.com/1381890 Tue, 19 Apr 2022 05:57:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381890 ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เตรียมศึกษาแนวทางการออกสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง หรือ CBDC โดยจะเป็นการดำเนินตามทิศทางเดียวกับสวีเดนไม่ใช่จีน

เเนวทางการวิจัยเเละทดลอง CBDC ของสวีเดน ซึ่งเป็นมาตรการที่มีแบบแผนนั้นหมาะสมกับแนวทางของญี่ปุ่นมากกว่าเเนวทางของจีน ที่กำลังใช้วิธีการทดสอบแบบนำร่องขนานใหญ่มาตั้งเเต่เริ่มเเรก” Kazushige Kamiyama ผู้อำนวยการสำนักงานดูแลระบบการชำระเงินของ BOJ ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg

เรามีความเห็นว่ากรอบการใช้งานและการออกแบบ CBDC นั้นจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบการชำระเงินในอนาคต

Kamiyama กล่าวอีกว่า การศึกษา CBDC ของญี่ปุ่นจะดำเนินการผ่านความร่วมมือกับธนาคารกลางรายใหญ่อื่นๆ รวมถึง Federal Reserve และ European Central Bank เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถเข้ากันได้กับ CBDC ที่มีศักยภาพของประเทศอื่นๆ

เมื่อต้นปีนี้ จีนเดินหน้าเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ขยายการใช้งานสกุลเงินหยวนดิจิทัลไปในภาคบริการ ค้าปลีก บริการของรัฐบาลเเละภาคอสังหาฯ พร้อมนำร่องให้ผู้ใช้จำนวนมากเริ่มในโอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่ง

ขณะที่ Riksbank ธนาคารกลางของสวีเดนได้มุ่งเน้นไปที่การวิจัยทางเทคนิคขนาดเล็ก รวมถึงการทดสอบในปีนี้เพื่อดูว่า ‘e-krona’ จะสามารถเข้ากับระบบการชำระเงินกับผู้ให้บริการชำระเงินดิจิทัลอื่นๆ ได้หรือไม่

Kamiyama ระบุว่า เป็นเรื่องปกติที่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ จะมีความกระตือรือร้นที่จะเปิดตัวเงินอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีระบบการชำระเงินที่เป็นที่ยอมรับ

เเต่ด้วยเทรนด์การชำระเงินแบบไร้เงินสดที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เเละความสนใจอย่างมากในสินทรัพย์ทางเลือกสำหรับการชำระเงินอย่าง ‘Bitcoin’ ทำให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ กำลังมองหาความจำเป็นในการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์

ตามข้อมูลของ Atlantic Council ชี้ว่า ในปัจจุบันมี 87 ประเทศ ซึ่งคิดเป็นกว่า 90% ของเศรษฐกิจโลก กำลังสำรวจความเป็นไปได้ของ CBDC เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากปี 2020

โดยธนาคารกลางญี่ปุ่น เตรียมทดลองเงินดิจิทัลระยะที่สองในเดือนนี้ และมีเเนวโน้มที่จะดำเนินการทดสอบนำร่องในขั้นต่อไป

ทั้งนี้ Riksbank เเละ BOJ ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะออก CBDC หรือไม่ ซึ่งธนาคารกลางญี่ปุ่นย้ำว่าการตัดสินใจขึ้นอยู่กับความเห็นของประชาชน

 

ที่มา : Bloomberg

]]> 1381890