เซเว่น – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 24 Aug 2021 12:23:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 7-Eleven ญี่ปุ่น ปรับทิศบุกตลาด ‘เดลิเวอรี่’ ส่งเร็วถึงบ้านให้ได้ 20,000 สาขาทั่วประเทศ https://positioningmag.com/1348295 Tue, 24 Aug 2021 09:33:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348295 เมื่อยอดขายโดยรวมของตลาดร้านสะดวกซื้อ โตไม่เร็วเท่าอีคอมเมิร์ซ ต้องยกเครื่องครั้งใหญ่ รับการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ล่าสุด 7-Eleven ญี่ปุ่น ปรับทิศจับทางเดลิเวอรี่ ตั้งเป้าส่งเร็วใน 30 นาที กระจาย 20,000 สาขาทั่วประเทศ สู้ยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon

กลยุทธ์ใหม่นี้ เกิดขึ้นท่ามกลางความตกต่ำของตลาดร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่น จากการสำรวจของ Nikkei Asia พบว่าในช่วงวิกฤตโควิด ยอดขายของทั้งอุตสาหกรรมลดลงราว 6.1% มาอยู่ที่ประมาณ 11.8 ล้านล้านเยน ในปี 2020 นับเป็นการลดลงครั้งแรกตั้งแต่ปี 1981

สวนทางกับการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ’ ในญี่ปุ่น ที่เติบโตขึ้นถึง 22% มาอยู่ที่ประมาณ 12.2 ล้านล้านเยน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ‘stay-at-home consumption’ การบริโภคที่อยู่บ้านที่เพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นยอดขายโดยรวมของฝั่งอีคอมเมิร์ซ ให้แซงหน้าร้านสะดวกซื้อได้เป็นครั้งแรก ในช่วงปีที่ผ่านมา

Seven & i บริษัทเเม่ของ 7-Eleven ในญี่ปุ่น คาดว่า บริการเดลิเวอรี่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของบริษัทได้ โดยปัจจุบันได้เริ่มเปิดให้บริการจัดส่งจากร้านค้าไปเเล้ว ประมาณ 550 แห่งในพื้นที่เมืองโตเกียว ฮอกไกโด และฮิโรชิมะ ก่อนที่จะขยายไปสู่ 20,000 สาขาทั่วประเทศ ภายในปีงบประมาณ 2026

ร้านค้าไม่ได้เป็นเพียงสถานที่สำหรับซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่สำหรับจัดเก็บสินค้าคงคลังด้วย” Ryuichi Isaka ประธานของ Seven & i กล่าวกับ Nikkei Asia 

พร้อมระบุข้อได้เปรียบอีกว่า “บริการ (เดลิเวอรี่) นี้ สามารถขยายได้ในเวลาอันสั้น โดยไม่ต้องลงทุนมากนัก”

ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของ 7-Eleven ญี่ปุ่น ที่มีอาหารและสินค้าประจำวันต่างๆ กว่า 3,000 รายการ ซึ่งการซื้อทุกครั้งเเนะนำว่าควรมีมูลค่ามากกว่า 1,000 เยน (ราว 300บาท) โดยมีค่าธรรมเนียมจัดส่งเพิ่มเติม 330 เยน (ราว 99 บาท) ซึ่งบริการนี้จะเปิดทำการจนถึงเวลา 23.00 . ในทุกวัน

คาดว่าแต่ละร้านจะมีรัศมีการจัดส่งประมาณ 500 เมตร แต่อาจขยายได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเเต่ละพื้นที่

สำหรับการจัดส่งนั้น Seven & i ได้ร่วมมือกับบริษัทโลจิสติกส์ในท้องถิ่นประมาณ 10 แห่ง พร้อมพัฒนาแพลตฟอร์มด้วยการใช้เทคโนโลยี AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านเส้นทางและการประสานงานระหว่างคนขับ

ปัจจุบัน เเม้บริการนี้ยังไม่ฮอตฮิตมากนัก แต่ละสาขามีการจัดส่งไม่กี่ครั้งต่อวัน เเต่ทางบริษัทหวังว่า จะเพิ่มการใช้งานเป็น 15 ครั้งต่อวันหรือมากกว่านั้น ผ่านการขยายบริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และใช้กลยุทธ์ตลาดต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กว้างขวางมากขึ้น

ด้านคู่เเข่งธุรกิจร้านสะดวกซื้ออีกเจ้าอย่าง Lawson ก็ได้เริ่มให้บริการผ่านเดลิเวอรี่เช่นกัน เเละขยายได้เร็วกว่า 7-Eleven โดยขณะนี้ มีร้านที่พร้อมส่งเดลิเวอรี่กว่า 2,000 แห่ง ใน 32 จังหวัด ผ่านการจับมือกับ ‘Uber Eats’ โดย Lawson วางแผนจะเพิ่มจำนวนร้านค้าเป็น 3,000 แห่งภายในปีงบประมาณ 2022

ทั้งนี้ ยอดการใช้จ่ายเเบบเดลิเวอรี่ของลูกค้า 7-Eleven ในสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 14.50 ดอลลาร์ (ราว 478 บาท) ต่อบิล เพิ่มขึ้นถึง 1.7 เท่า จากของยอดขายหน้าร้าน เนื่องจากคนอยู่บ้านกันมากขึ้นในช่วงโรคระบาด

 

 

ที่มา : Nikkei Asia 

]]>
1348295
โควิดสะเทือน ‘เซเว่น อีเลฟเว่น’ ไตรมาส 1/64 ลูกค้า-ยอดขายต่อสาขาลดลง กำไรวูบ 75% https://positioningmag.com/1331873 Wed, 12 May 2021 13:55:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331873 พิษโควิด สะเทือนร้านสะดวกซื้อ ‘เซเว่น อีเลฟเว่น’ (7-Eleven) เเม้ไม่ได้หยุดบริการ เผยผลประกอบการไตรมาส 1 ปีนี้ มีรายได้และกำไรลดลง เเต่ขอมุ่งลงทุน 1.15-1.2 หมื่นล้านบาท เปิดสาขาใหม่อีก 700 สาขาตามเเผนเดิม

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ผลประกอบการประจำไตรมาส 1 ปี 2564 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า มีรายได้รวม 133,431 ล้านบาท ลดลง 8.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ส่วน กำไรสุทธิอยู่ที่ 2,599 ล้านบาท หรือ 0.26 บาทต่อหุ้น ลดลง 53.95% จากไตรมาส 1 ของปี 2563 ที่มีกำไร 5,645 ล้านบาท หรือ 0.60 บาทต่อหุ้น

สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้รายได้ของ CPALL ลดลงคือยอดขายเเละและบริการในธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ‘เซเว่น อีเลฟเว่น ที่ลดลง จากผลกระทบโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบทางลบต่อภาวะเศรษฐกิจไทยอีกครั้งโดยเฉพาะในเดือนม.. ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย กำลังซื้อลดลง รวมถึงการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัว นอกจากนี้ ยังมีภาระดอกเบี้ยจ่ายจากเงินกู้ยืมสถาบันการเงิน

ทั้งนี้ สัดส่วนรายได้จากธุรกิจร้านสะดวกซื้อและธุรกิจอื่นๆ คิดเป็น 61% และธุรกิจค้าส่งแม็คโคร 39% ส่วนกำไรจากธุรกิจร้านสะดวกซื้อและธุรกิจอื่นๆ มีสัดส่วน 40%  กำไรจากธุรกิจค้าส่งแม็คโคร สัดส่วน 60%

เมื่อเจาะลงไปในเซเว่น อีเลฟเว่นในไตรมาส 1/64 มีรายได้ราวจากการขายสินค้าและบริการ รวม 70,450 ล้านบาท ลดลง 15% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 947 ล้านบาท ลดลงถึง 75.4%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

จำนวนลูกค้าลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ย 845 คนต่อวัน และมียอดใช้จ่ายต่อบิลประมาณ 77 บาท ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อร้านต่อวันอยู่ที่ 65,024 บาท และยอดขายเฉลี่ยของร้านสาขาเดิมลดลง 17.1%

ที่ผ่านมาเซเว่น อีเลฟเว่น ได้ขยายไปยังช่องทางการขายใหม่ๆอย่าง 7-Eleven Delivery, All Online และ 24Shopping แต่ก็ชดเชยรายได้ได้เพียงบางส่วน โดยได้เปิดสาขาใหม่ไปทั้งหมด 155 สาขา แบ่งเป็นร้านสาขาบริษัท 131 สาขา สาขา SBP และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต 24 สาขา ทำให้มีสาขารวม 12,587 สาขา

สำหรับเเผนปีนี้ CPALL ยังคงยืนยันจะเดินหน้าลงทุนตามเเผนเดิม โดยตั้งเป้าจะเปิดร้านสะดวกซื้อสาขาใหม่อีกประมาณ 700 สาขา ใช้งบลงทุนประมาณ 11,500-12,000 ล้านบาท แบ่งเป็น

เปิดร้านสาขาใหม่ 3,800-4,000 ล้านบาท

ปรับปรุงร้านเดิม 2,400-2,500 ล้านบาท

โครงการใหม่ บริษัทย่อย และศูนย์กระจายสินค้า 4,000-4,100 ล้านบาท

สินทรัพย์ถาวร และระบบสารสนเทศ 1,300-1,400 ล้านบาท

CPALL มองแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกในปี 2564 ว่าสถานการณ์โควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบในเชิงลบต่อรายได้และค่าใช้จ่าย ยังมีความไม่เเน่นอนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคและการดำเนินธุรกิจ จึงต้องปรับตัวตามสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา

อ่านรายละเอียด : SET 

]]>
1331873
เปิดตำนาน “แซนวิชอบร้อนเซเว่น” จากแนวคิดขนมคอร์นด็อก สู่ยอดขาย 3,000 ล้าน https://positioningmag.com/1322706 Tue, 09 Mar 2021 17:05:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322706 รู้หรือไม่ว่า… แซนวิชอบร้อนที่ทานในเซเว่นอยู่ทุกวันนี้ มีจุดเริ่มต้นจากแนวคิดขนม “คอร์นด็อก” โดย NSL Foods เป็นพาร์ตเนอร์กับทางเซเว่นมายาวนาน ได้พัฒนาสูตรจนกลายเป็นแซนวิชอบร้อน ตอนนี้มียอดขายเกือบ 3,000 ล้าน

เริ่มจาก “คอร์นด็อก” เป็นแซนวิชเค้กไส้กรอกสูตรแรก

ถ้าพูดถึงเซเว่นฯ จากจุดยืนในเรื่อง “อิ่มสะดวก” แน่นอนว่าหลายคนต้องนึกถึงอาหารพร้อมทานต่างๆ ที่ตอนนี้มีครอบจักรวาลทั้งอาหารตามสั่ง ขนมเค้ก ผลไม้ เบอร์เกอร์ ยันชุดสุกี้ชาบูก็ยังมี แต่หนึ่งไอเทมที่ขายดีที่สุดคงหนีไม่พ้น “แซนวิชอบร้อน” เพราะเป็นอาหารที่ทานง่าย มีหลายไส้ ทานได้ตลอดทั้งวัน เป็นอาหารเช้า หรืออาหารว่างก็ได้

เบื้องหลังของแซนวิชอบร้อนก็คือ “เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์” หรือ NSL ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสำเร็จรูป ทั้งเบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว อาหารแช่แข็ง เป็นพาร์ตเนอร์กับทางเซเว่นฯ มายาวนาน เรียกว่าทำด้วยกันมาตั้งแต่สมัยข้าวกล่องแช่แข็ง จนเป็นแซนวิชอบร้อน

สมชาย อัศวปิยานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน)
สมชาย อัศวปิยานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน)

สมชาย อัศวปิยานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) เริ่มเล่าว่า

“จุดแรกเริ่มของบริษัทเลยเมื่อปี 2544-2545 ได้พัฒนาอาหารกล่องแช่แข็ง ตอนนั้นเข้าไปขายในซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ  เซ็นทรัล, โรบินสัน และเยาฮัน หลังจากนั้นทางเซเว่นฯ เริ่มมองเห็นว่าสินค้ากลุ่มนี้มีศักยภาพเติบโต เลยให้ทางบริษัทผลิตให้ เริ่มจากทดลองขาย 30 สาขา ขยายเป็น 300-1,000 สาขา เรื่อยๆ”

จากผลิตอาหารกล่องในตอนนั้น ในปี 2550 ก็เริ่มผลิตอาหารกล่องแช่แข็งแบรนด์ “อีซีโก” ร่วมกัน จากนั้นในปี 2552 ได้พัฒนาเป็นตัวแซนวิชอบร้อน

สมชายเล่าอีกว่า ก่อนหน้าที่จะเป็นแซนวิชอบร้อน ทางเซเว่นฯ ได้ทำแซนวิชไส้แฮมชีส ไส้หมูหยอง แต่เป็นรูปแบบให้พนักงานประกอบเองที่ร้าน ทาง NSL ส่งแค่ส่วนขนมปังแถวให้ จนเซเว่นฯ ต้องการให้พัฒนา “คอร์นด็อก” จำหน่ายที่ร้าน เป็นขนมที่มีแป้งเค้กสอดไส้ด้วยไส้กรอก ให้นึกถึงขนม “โป้งเหน่ง” ตามงานวัดต่างๆ มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งเซเว่นฯ อาจจะต้องการท้าชน “จิฟฟี่” ที่มีเมนูนี้เป็นตัวชูโรง

ทางบริษัทใช้เวลาพัฒนาอยู่ 2 ปี เพราะพัฒนาค่อนข้างยาก เลยมองว่าที่ร้านมีเครื่องอบแซนวิชอยู่แล้ว เลยพัฒนาแซนวิชเป็นเนื้อเค้ก แล้วทำไส้กรอกเป็นไส้ เวลากินจะเหมือนคอร์ด็อก จึงเกิดเป็นสินค้าตัวแรกของตระกูลแซนวิชอบร้อนก็คือ “แซนวิชเค้กไส้กรอก” พนักงานที่ร้านก็ถูกใจกับสินค้าตัวนี้ เพราะฉีกซอง แล้วเข้าเครื่องได้เลย ไม่ต้องมาประกอบเองเหมือนก่อนหน้านี้

กลุ่มแซนวิชอบร้อนจะมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างสูง มีการปรับ เพิ่มไส้อยู่ตลอด โดยเมื่อปี 2555-2556 เป็นช่วงที่เริ่มลงตัว และเป็นช่วงพีคที่สุด หลังจากนั้นได้ใช้ชื่อแบรนด์ว่า Ezy Taste

ปัจจุบันกลุ่มแซนวิชอบร้อนมีไส้ใหม่ๆ ตลอด แต่จะมีการหมุนเวียนเฉลี่ย 20 รายการ อันไหนขายไม่ดีก็ปรับไส้ใหม่เรื่อยๆ โดย 5 ไส้ตัวท็อปที่ขายดีที่สุด ได้แก่ แฮมชีส, ไส้กรอกชีส, หมูหยองน้ำสลัด, ครัวซองต์แฮมชีส และครัวซองต์หมูหยองน้ำสลัด

ตอนนี้ NSL มีกำลังการผลิตสินค้าเบเกอรี่ทุกอย่าง รวมทั้ง OEM ให้เจ้าอื่น 1.25 ล้านชิ้น/วัน ถ้ากำลังการผลิตที่ส่งให้เซเว่นรวม 4.5 แสนชิ้น/วัน แบ่งเป็น แซนวิชอบร้อน 2 แสนชิ้น2/วัน และเบเกอรี่อื่นๆ เค้ก เอแคลร์ อีก 2.5 แสนชิ้น/วัน

น้ำท่วม 54 สร้างจุดเปลี่ยนสำคัญ

แต่เดิม NSL เป็นบริษัทที่รับผลิตอาหาร และเบเกอรี่ทั่วไป ขายให้กับหลายเจ้า ไม่ได้ทำกับแค่ที่เซเว่นฯ แต่จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของบริษัทก็คือเหตุการณ์ “น้ำท่วมปี 54” ทำให้น้ำท่วมโรงงานที่อมตะนคร ไม่สามารถผลิตสินค้าให้ลูกค้าได้

ทางเซเว่นฯ เลยชวนกันจับมือเป็นผู้ผลิตหลัก ไม่ขายให้รายอื่น ตอนนั้นแซนวิชอบร้อนกำลังเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น จึงให้ทาง NSL ผลิตเอ็กคลูซีฟให้กับเซเว่นฯ เจ้าเดียว ไม่ผลิตให้ลูกค้ารายอื่น ทำให้ยอดขายเติบโตต่อเนื่อง เพราะรายได้จากเซเว่นฯ เติบโตขึ้นทุกปี

ไว้ใจเซเว่นฯ คู่ค้ามานาน

กลายเป็นประเด็นสำคัญในแวดวงการทำธุรกิจ เพราะหลายคนเคยเห็นข่าวคราวของเซเว่นฯ ในแง่ลบ ในเรื่องการลอกเลียนสูตรอาหารบ้าง หรือการนำไอเดียของคนอื่นมาพัฒนาต่อบ้าง

สำหรับ NSL ไม่กลัวในประเด็นนี้ เพราะมองว่าร่วมงานกับเซเว่นฯ มานานหลาย 10 ปี เข้าใจวัฒนธรรม รู้เป้าหมายอย่างดี มีการพัฒนาสินค้าเรื่อยๆ ไว้ใจซึ่งกันและกัน และมีการทำ MOU ร่วมกันตั้งแต่ปี 2557 ทาง NSL จะไม่ขายสินค้าที่อื่น และเซเว่นฯ ก็จะไม่เอาสินค้าไปให้ผู้ผลิตรายอื่นทำ มีการต่อสัญญาเรื่อยๆ ยาวไปถึงปี 2569

ทะยานสู่ 3,500 ล้าน

เมื่อปี 2562 NSL ได้เข้าซื้อกิจการจาก บริษัท ควอลิตี้ฟู้ด สเปเชียลตี้ จำกัด ขยายธุรกิจ “ฟู้ดเซอร์วิส” นำเข้าอาหารทะเล เนื้อสัตว์และผักแช่แข็ง มองเห็นโอกาสจากมูลค่าตลาดที่สูงถึง 20,000 ล้านบาท แต่ยังมีผู้เล่นรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย เริ่มแรกจะเน้นนำเข้าสินค้าอาหารแช่แข็ง ได้แก่ เนื้อสัตว์แช่แข็ง ปลาแซลมอน ปลาหิมะ เนื้อออสเตรเลีย หอยเชลล์

ส่วนในปีนี้มีการเพิ่มการลงทุนในส่วนของอาหารประเภท Ready to Cook และ Ready to Eat การผลิตสูตรซอสอาหารสำเร็จรูปเพื่อส่งให้กับเชนร้านอาหาร หรือโรงแรมต่างๆ เพื่อช่วยลดต้นทุนเนื่องจากไม่ต้องมีหัวหน้าพ่อครัว

สำหรับรายได้ในปี 2563 สิ้นสุดไตรมาส 3 เดือนกันยายน 2563 บริษัทมีรายได้รวม 2,164.9 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนรายได้เป็นกลุ่มเบเกอรี่ และอาหารรองท้อง 94.5% ธุรกิจฟู้ดเซอร์วิสมีรายได้ 94.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 65 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปีก่อนหน้า เนื่องจากเพิ่งซื้อธุรกิจนี้เข้ามาในช่วงครึ่งหลังของปี 2562

ในปี 2564 ตั้งเป้ายอดขายให้เติบโต 16% มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 3,500 ล้านบาท และต้องมี 6,000 ล้านบาท ภายใน 6 ปี โดยที่สัดส่วนรายได้ใน 5 ปีข้างหน้า (2564-2568) ที่เกิดจากธุรกิจอื่น (Non 7-Eleven) ต้องเพิ่มขึ้นมาในสัดส่วน 30% และอีก 70% เป็นธุรกิจร่วมกับร้านเซเว่นฯ จากปัจจุบันสัดส่วนรายได้จากร้านเซเว่นฯ ครองสัดส่วนรายได้กว่า 90%

ปัจจุบัน NSL มีสินค้าด้วยกัน 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1. OEM (รับจ้างผลิต) แบ่งเป็น

  • แซนวิชอบร้อนต่างๆ แบรนด์ Ezy Taste
  • อาหารพร้อมทาน (Ready to Eat) พวกเบอร์เกอร์, ครัวซองต์, เบรดคัพ และโทสต์ แบรนด์ 7 Fresh
  • ขนมแช่เย็น ใช้แบรนด์ Ezy Sweet ได้แก่ โมจิ, ชูครีม, เค้ก, เอแคลร์, ช็อกโกแลตลาวา รวมไปถึงแซนวิชแช่เย็น และสลัดทูน่า

นอกจากนี้ยังได้ผลิตสินค้าให้อานตี้แอนส์, ขนมปังแซนวิชนมสดให้ท็อปส์ และทองม้วนแผ่นส่งให้ประเทศเกาหลี

2. ขนมทานเล่น ได้แก่ ปังไทย, พายกรอบ, ขนมปังกรอบ, ขนมพริก และสินค้าเพื่อสุขภาพ

3. ฟู้ดเซอร์วิส เนื้อสัวต์นำเข้า อาหารทะเล ผัก ผลไม้ เฟรนช์ฟรายส์ต่างๆ

]]>
1322706
สรุป #แบนชีสเค้กเซเว่น ผู้ผลิตรายใหญ่ปาดหน้ารายย่อยกว้านซื้อ “ครีมชีส” เกลี้ยงตลาด https://positioningmag.com/1297649 Thu, 17 Sep 2020 18:10:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297649 กลายเป็นประเด็นร้อนแห่งวัน เมื่อเกิดกระแส #แบนชีสเค้กเซเว่น ขึ้นบนทวิตเตอร์ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้เป็นไอเทมที่ชาวเน็ตต่างแชร์กันบนโลกออนไลน์ เหตุเกิดจากผู้ผลิตรายใหญ่กว้านซื้อ “ครีมชีส” จนเกลี้ยงตลาด ทำเอาผู้ประกอบการรายย่อยไม่มีวัตถุดิบทำขนม

ชีสเค้ก ขนมยุค COVID-19

ต้องบอกว่าในช่วงล็อกดาวน์จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้คนไทยสวมวิญญาณมาสเตอร์เชฟกันเต็มเปี่ยม หลายคนทำอาหาร ทำขนมกันเป็นงานอดิเรก ส่วนหลายคนก็ทำขนมเพื่อขายเป็นอาชีพเสริมในช่วงนั้น

“ชีสเค้ก” กลายเป็นหนึ่งเมนูที่พบเห็นมากมายบนโลกออนไลน์ มีการจำหน่ายกันเยอะ รวมถึงร้านคาเฟ่ ร้านขนมก็มีจำหน่ายเช่นกัน มีทั้งชีสเค้กหน้าไหม้ หรือชีสเค้กทอม แอนด์ เจอร์รี่ เป็นเทรนด์ใหม่ของวงการขนมในช่วงนั้นมีมีแต่ชีสเค้ก

ประกอบกับคนไทยเองที่นิยมชมชอบ “ชีส” เป็นทุนเดิม ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาว หรืออาหารหวาน ชีสก็เป็นที่โปรดปรานเสมอ เมนูชีสเค้กจึงยืนหนึ่งในช่วง COVID-19

ชีสเค้กเซเว่น
Photo : Twitter @KSBBKIRA

เซเว่นฯ จัดให้ในราคา 39 บาท

แน่นอนว่ากระแสรุนแรงขนาดนี้ มีหรือที่ “เซเว่นฯ” จะปล่อยหลุดมือไปได้ ไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเซเว่นฯ ได้วางจำหน่ายชีสเค้กในราคามิตรภาพที่ 39 บาท ยิ่งช่วงมีโปรโมชันยิ่งราคาถูกลงไปอีก ทำให้ชาวเน็ตต่างแชร์ความอร่อยกันไม่ยั้ง หลายคนบอกว่ารสชาติดี อีกทั้งราคาถูกอีกต่างหาก

ซึ่งราคานี่เองก็เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะชีสเค้กแบบโฮมเมดที่ร้านค้า หรือแม่ค้าออนไลน์ทำนั้น มีราคาเฉลี่ยชิ้นละ 80-100 บาท ยิ่งถ้าเป็นแบบปอนด์ ราคาก็ยิ่งสูงขึ้นไปอีก

จากกระแสตอนนั้นทำให้ชีสเค้กเซเว่นขาดตลาด หลายคนตามล่าหาชีสเค้กอย่างจริงจัง เหมือนเป็นมิชชั่นที่ต้องตามล่าให้สำเร็จ เพราะบางคนซื้อกักตุนไว้ด้วย

จากนิยมในวันนั้น สู่การแบนในวันนี้

กระแสของชีสเค้กเซเว่นฯ ได้เงียบหายไปพักใหญ่ เพราะเมื่อผู้บริโภคได้ทดลองกันหมดแล้ว ก็ไม่ได้ตื่นเต้นไม่การตามหามากนัก อีกทั้งเซเว่นฯ ก็มีขนม หรือไอเทมใหม่ๆ ออกมาอยู่ตลอดเวลา

แต่แล้วในวันที่ 17 กันยายน ก็ได้เกิดกระแส #แบนชีสเค้กเซเว่น ขึ้นร้อนแรงในทวิตเตอร์ ใจความสำคัญก็คือผู้ผลิตสินค้าให้เซเว่นฯ ได้กว้านซื้อครีมชีสที่เป้นวัตถุดิบหลักไปจนเกลี้ยง ทำให้แม่ค้ารายย่อยได้รับผลกระทบ

โดยจุดเริ่มต้นมาจากบทความ “พีรวัส” ทายาท “ศรีฟ้า” เบเกอรี่กาญจน์ เปิดเบื้องหลังสูตรเด็ด “ชีสเค้ก” 39 บาท จากประชาชาติธุรกิจ ที่เปิดเบื้องลึกเบื้องหลังถึงการทำชีสเค้กส่งขายเซเว่นฯ ในครั้งนี้

ชีสเค้กเซเว่น

บริษัท ศรีฟ้าโฟรเซนฟู้ด จำกัด เป็นผู้ผลิตเบเกอรี่เจ้าดังของจังหวัดกาญจนบุรี

ศรีฟ้าได้ผลิตชีสเค้กส่งให้เซเว่นฯ วันละ 24,000 ชิ้น แต่ด้วยกระแสตอบรับดีทำให้เซเว่นฯ เพิ่มกำลังการผลิต แต่วัตถุดิบไม่เพียงพอ ซึ่งกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้หลายคนไม่พอใจ เพราะทางพีรวัสได้บอกว่า

ชีสเค้กถือว่าประสบผลสำเร็จเกินคาด ช่วงแรกวางแผนผลิตประมาณ 5,000-6,000 ชิ้นต่อวัน ผมคุยกับบริษัทผลิตครีมชีสจากนิวซีแลนด์สั่งซื้อ 17 ตัน วางแผนใช้ภายใน 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน

แต่พอวางขายได้เพียง 2 สัปดาห์ สินค้าไม่พอขาย มีคนมาถามหาซื้อจำนวนมาก ทางเซเว่นฯ สั่งให้ผลิตเพิ่มเป็น 26,000 ชิ้นต่อวัน แต่เราผลิตให้ได้เพียง 24,000 ชิ้นต่อวัน และครีมชีส 17 ตัน หมดเกลี้ยงภายใน 2 สัปดาห์แรก

หากคนอยู่ในวงการเบเกอรี่จะสังเกตได้ว่า ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ครีมชีสยี่ห้อต่าง ๆ จากออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หายไปจากท้องตลาดหมดเกลี้ยง เพราะผมไปกว้านซื้อไว้ทั้งหมด ครีมชีสลอตใหม่ที่สั่งขนส่งทางเรือต้องใช้เวลาเดินทางอีก 2 เดือน

จึงเกิดเป็นกระแสแบนขึ้นมาในทันทีทันใด เพราะหลายคนมองว่า เป็นการตัดโอกาสของผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการหารายได้ในช่วง COVID-19 แค่เซเว่นฯ ทำออกมาตัดราคาที่ 39 บาทก็ว่าแย่แล้ว แต่ผู้ค้ารายใหญ่กลับกว้านซื้อวัตถุดิบจนผู้ค้ารายย่อยไม่มีใช้เลยทีเดียว

เมื่อกระแสเริ่มหนักมากขึ้น ทางศรีฟ้าได้ร่อนจดหมายบอกว่าไม่ได้ซื้อครีมชีสจากร้านค้ารายย่อย แต่สั่งโดยตรงจากทางออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

จากที่ทาง Positioning ได้ทำการสำรวจกับร้านขายส่งวัตถุดิบ และอุปกรณ์เบเกอรี่แห่งหนึ่ง พบว่าครีมชีสได้ขนาดตลาดเป็นเวลาถึง 3 เดือน ขาดตลาดทุกแบรนด์ คาดว่าจะเกิดจากแหล่งผลิตใหญ่ไม่สามารถส่งวัตถุดิบได้

จากกระแสนี้ก็มีทั้งร่วมแบน และร่วมหาข้อเท็จจริง หลายคนก็มองว่าในช่วงนั้นครีมชีสเป็นที่นิยมจริงๆ เพราะเป็นวัตถุดิบของขนมยอดนิยมหลายอย่าง รวมถึงศรีฟ้าน่าจะสั่งวัตถุดิบในระดับอุตสาหกรรม ไม่ได้กว้านซื้อจากร้านค้ารายย่อยในไซส์เล็กๆ

กลายเป็นอีกหนึ่งบทเรียนในการทำการตลาดในยุคนี้ แม้จะมีกระแสชื่นชอบมากแค่ไหน แต่กระแสย่อมตีกลับได้เช่นกัน ซึ่งดราม่านี้จะไปในทิศทางไหน ต้องติดตามดูกันต่อไป

]]>
1297649
เปิดศึก “สะดวกซื้อ เดลิเวอรี่” สงครามหาน่านน้ำใหม่ยุค New Normal บุกหาลูกค้าถึงบ้าน https://positioningmag.com/1283460 Sun, 14 Jun 2020 08:22:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283460 ร้านสะดวกซื้อก็ขอลงตลาดเดลิเวอรี่กับเขาบ้าง ทุกเจ้าในตลาดต่างมีช่องทางเดลิเวอรี่เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะจับมือกับพาร์ตเนอร์ หรือปั้นแอปพลิเคชันเป็นของตัวเอง รับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ยิ่งในยุค COVID-19 ที่หลายคนไม่ค่อยอยากออกจากบ้านเท่าไหร่

เซเว่นฯ ปั้นแอป/สั่งในไลน์

ช่องทางเดลิเวอรี่ไม่ได้มีแค่เพียงร้านอาหารอย่างเดียวเท่านั้น ค้าปลีกในกลุ่ม “ร้านสะดวกซื้อ” ก็เริ่มมีบริการเดลิเวอรี่ด้วย เพราะด้วยพฤติกรรมของลูกค้าที่เข้าร้านสะดวกซื้อมักซื้อสินค้าไม่กี่ชิ้น ราคาต่อบิลไม่สูง และส่วนใหญ่ซื้อสาขาใกล้ๆ บ้าน บริการเดลิเวอรี่จึงเข้ามาตอบโจทย์ได้

แรกเริ่มเดิมที LINE MAN เรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกบริการแมสเซ็นเจอร์ที่เป็นบริการรับซื้อสินค้า ไม่ว่าจะเป็นรับซื้ออาหาร ส่งพัสดุ และฝากซื้อจากร้านสะดวกซื้อ แต่กลายเป้นว่าบริการแจ้งเกิดเป็น Food Delivery ซึ่งบริการฝากซื้อของจากร้านสะดวกซื้อของ LINE MAN จะมีค่าบริการเริ่มต้นที่ 55 บาท กิโลเมตรต่อไปบวกเพิ่ม 9 บาท ไม่นานมานี้ก็เพิ่มออก บริการรับซื้อของจากซูเปอร์มาร์เก็ต รับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย

เมื่อพฤติกรรมทุกอย่างไปทางออนไลน์ ผู้เล่นในตลาดร้านสะดวกซื้อได้พัฒนาช่องทางเดลิเวอรี่เป็นของตัวเอง พี่ใหญ่อย่าง “เซเว่น อีเลฟเว่น” ได้ปั้นแอปพลิเคชัน 7-Eleven Delivery ได้เริ่มทดลองตั้งแต่ปี 2561 จำกัดพื้นที่ในการทดลองก่อน และได้ขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

รูปแบบของการสั่งสินค้าจะสั่งได้ทั้งผ่านแอปพลิเคชัน และ LINE Official Account มียอดสั่งซื้อขั้นต่ำ 100 บาท จะทำการส่งฟรี โดยพนักงานที่สาขาจะเป็นคนไปส่งเอง พบว่าในตอนนี้เซเว่นฯ แต่ละสาขาก็มี LINE ส่วนตัว เพื่อให้ลูกค้าสั่งสินค้าได้โดยตรง แล้วไปส่งสินค้าให้

เคอร์ฟิวกระทบยอดขาย

ยิ่งในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 แม้ว่าร้านสะดวกซื้อจะสามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ แต่รายได้ก็ไม่ได้เป็นไปตามเป้าเท่าไหร่นัก

เกรียงชัย บุญโพธิอภิชาติ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL กล่าวยอมรับว่า

“การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้การเข้ามาจับจ่ายซื้อสินค้าในสาขาของร้านเซเว่น อีเลฟเว่นลดลง แม้ผลการดำเนินงานช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 บริษัทมีรายได้รวม 145,856 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 5.2% ซึ่งปัจจัยหลักมาจากรายได้จากการขายและบริการของธุรกิจร้านสะดวกซื้อจากสาขาใหม่ที่เปิดในรอบปีที่ผ่านมา รวมทั้งรายได้ของบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)”

แต่มาตรการคุมเข้มต่างๆ ของภาครัฐ ทั้งการประกาศเคอร์ฟิว และมาตรการกระตุ้นให้ผู้คนหยุดอยู่กับบ้านเพื่อลดการแพร่ระบาด ส่งผลกระทบทางลบตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ทำให้กำไรสุทธิรวม 5,645 ล้านบาท ลดลง 2.2% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากรายได้จากธุรกิจร้านสะดวกซื้อเติบโตในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย โดยธุรกิจร้านสะดวกซื้อมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการรวม 82,885 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพียง 2,112 ล้านบาท หรือ 2.6%

ยอดขายเฉลี่ยของร้านเดิมติดลบ 4% มียอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวัน 78,872 บาท ยอดซื้อต่อบิล 70 บาท จำนวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 1,122 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 1,187 คน

CP ALL จึงเดินหน้าทุ่มงบปรับกลยุทธ์ และเดินหน้าขยายสาขาเพื่อสกัดคู่แข่ง โดยเตรียมเม็ดเงิน 11,500-12,000 ล้านบาท เพื่อขยายร้าน 700 สาขา ตามเป้าหมายภายในปี 2564 จะมีสาขาทั้งหมด 13,000 สาขา จากปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศ 11,983 สาขา แบ่งเป็นสาขาในเขตกรุงเทพฯ 44% ต่างจังหวัด 56% และส่วนใหญ่เป็นร้านสแตนด์อะโลน 85% ที่เหลือเป็นร้านในสถานีบริการน้ำมัน ปตท.

แฟมิลี่มาร์ทจับมือแกร็บ

ทางด้านเบอร์ 2 ในตลาดอย่าง “แฟมิลี่มาร์ท” ของค่าย “กลุ่มเซ็นทรัล” ที่ล่าสุด บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC ประกาศซื้อหุ้นในบริษัท เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท จำกัด (CFM) ที่บริษัท Japan FamilyMart Co., Ltd. (JFM) ถือหุ้นที่เหลืออยู่ 49% กลายเป็นเจ้าของกิจการร้านแฟมิลี่มาร์ทในประเทศไทยเบ็ดเสร็จ 100% เป็นการเปิดศึกร้านสะดวกซื้ออย่างเต็มตัว

ในช่วงที่ผ่านมาแฟมิลี่มาร์ทมีความเคลื่อนไหวมากมายพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นการตลาด ปรับโมเดลร้านค้า และเพิ่มบริการใหม่ๆ เพิ่มเมนูอาหารพร้อมรับประทาน นำสินค้าประเภทอาหารสดจากร้านค้าที่บริหารโดยเซ็นทรัลเรสตอรองส์ กรุ๊ปเข้ามาขาย เช่น ข้าวกล่องจากร้านเดอะเทอเรซ มิสเตอร์โดนัท เครื่องดื่มและกาแฟสด Arigato มีพื้นที่ Open Space สำหรับพบปะสังสรรค์หรือทำงานร่วมกัน เพื่อตอบโจทย์เน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่ตลอด 24 ชั่วโมง

มีเปิดโมเดลใหม่จากตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อง่ายต่อการขยายสาขา ตอบรับช่วง COVID-19 และเริ่มขยายสาขาในทำเลย่านธุรกิจ และอาคารสำนักงาน และเมื่อช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา แฟมิลี่มาร์ทงัดบริการสะดวกซัก 24 ชั่วโมงด้วยเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ และมีบริการตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine)

ในส่วนของบริการเดลิเวอรี่ แน่นอนว่าแฟลิมาร์ทได้ใช้อาณาจักรของกลุ่มเซ็นทรัลให้เป็นประโยชน์ เนื่องจากกลุ่มเซ็นรัลได้เข้าลงทุนใน “แกร็บ ประเทศไทย” ทำให้จับมือกับแกร็บในการให้บริการเดลิเวอรี่ ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าที่แฟมิลี่มาร์ทให้ส่งตรงถึงบ้าน ผ่านแอปพลิเคชัน GrabMart เพิ่มสิทธิประโยชน์จากบัตร The 1 ในเครือเซ็นทรัล และจัดโปรโมชั่นราคาสินค้าร่วมกับท็อปส์ซูเปอร์ในรูปแบบต่างๆ

ปัจจุบันแฟมิลี่มาร์ทมีสาขารวม 1,000 สาขา ซึ่งตามแผนระยะยาววางเป้าหมายขยายให้ได้ 3,000 สาขาทั่วประเทศ

LAWSON 108 ผนึกฟู้ด แพนด้า

สำหรับเบอร์ 3 ในตลาด LAWSON 108 (ลอว์สัน 108) จากค่าย “สหพัฒน์” โดย บริษัท สห ลอว์สัน จำกัด ได้รุกตลาดเดลิเวอรี่ด้วยการจับมือกับแอปพลิเคชัน “ฟู้ดแพนด้า” โดยแบ่งการให้บริการเป็น 2 ส่วน คือจำหน่ายสินค้า ออริจินัล ลอว์สัน 108 พร้อมจัดเซตเมนูพิเศษบนแพลตฟอร์ม

และจำหน่ายสินค้าแบบร้านสะดวกซื้อออนไลน์ บน pandaMart โดยมีสินค้าเช่นเดียวกับหน้าร้าน และลูกค้าสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาเดียวกับหน้าร้าน

โดยบริการเดลิเวอรี่บนแอปพลิเคชัน foodpanda จะให้บริการในระยะทางไม่เกิน 3-5 กิโลเมตร และสำหรับบริการจำหน่ายสินค้า pandaMart จะเริ่มให้บริการพร้อมกัน 22 สาขา ในวันที่ 10 มิถุนายน และขยายเป็น 47 สาขาภายในปี 2563

]]>
1283460
ชี้เป้า! “เซเว่น อีเลฟเว่น” ขยายทีมเดลิเวอรีอีก 20,000 คน ให้บริการส่งถึงบ้านรับวิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1269320 Sun, 22 Mar 2020 09:11:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1269320 CPALL ประกาศรับสมัครทีมงานอีก 20,000 คน เพื่อเสริมทัพทีมเดลิเวอรี รองรับความต้องการส่งสินค้าถึงบ้านยามวิกฤต จากสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ปัจจุบันให้บริการแล้ว 1,500 สาขา เพิ่มเป็นทุกสาขาในอนาคต

เปิดรับผู้สมัครอายุ 18 ปีขึ้นไป มีใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ เตรียมให้บริการส่งถึงบ้านผ่านแอป “7-Delivery” จากร้านเซเว่นอีเลฟเว่น

จากมาตรการปิดสถานที่เสี่ยงในการรวมกลุ่มกันของคนหมู่มากในกรุงเทพฯ​ และจังหวัดต่างๆ แต่ยกเว้นซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ทำให้ผู้บริโภคยังกังวลกับการออกจากบ้าน หรือการซื้อสินค้า

บริการเดลิเวอรีจึงเป็นบรการสำคัญที่เข้ามาตอบโจทย์ผู้บริโภคยามวิกฤตนี้ สามารถส่งสินค้าถึงบ้านได้ คลายความกังวลของประชาชนได้

ทางร้านเซเว่นฯ โดย CPALL จึงได้ขยายทีมเดลิเวอรี เพื่อจัดส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคโดยตรงถึงบ้าน ลดความเสี่ยงในการออกจากบ้าน ผ่านแอปพลิเคชัน 7-Eleven Delivery โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของทั้งพนักงานและผู้บริโภคเป็นสำคัญ

Photo : Shutterstock

รวมทั้งเพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีงานทำ และผู้ประสบปัญหาการว่างงานจากภาวะวิกฤตครั้งนี้ด้วย บริษัทฯ จึงประกาศเปิดรับสมัครทีมงานเพื่อให้บริการขนส่งสินค้า หรือเดลิเวอรี (Delivery) จากร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ถึงมือประชาชนที่บ้านพักอาศัย จำนวน 20,000 อัตราทั่วประเทศ โดยจะทยอยรับอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายบริการเดลิเวอรี จากปัจจุบัน 1,500 สาขา เพิ่มเป็นทุกสาขาในอนาคต

สำหรับคุณสมบัติของผู้สมัคร คือ อายุ 18 ปีขึ้นไป วุฒิการศึกษา ม.3 ถึง ปริญญาตรี สามารถทำงานเป็นกะได้ มีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ถ้ามีรถจักรยานยนต์จะพิจารณาเป็นพิเศษ ผู้สนใจสมัครงานด้านเดลิเวอรี สามารถลงทะเบียนสมัครและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.cpall.co.th

  • กรุงเทพฯ และปริมณฑล โทร. 091-004-9909 และ 091-004-9681
  • ภาคกลาง โทร. 091-004-7615
  • ภาคเหนือ โทร. 091-004-7610
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โทร. 091-004-7607 และ 091-004-7609
  • ภาคใต้ โทร. 091-004-7611, 091-004-7612, 091-004-7613 และ 091-004-7614

สำหรับบริการส่งถึงบ้าน “7-Eleven Delivery” เปิดให้บริการเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าจากทางร้านเซเว่นอีเลฟเว่นผ่านแอปพลิเคชัน 7-Delivery (เฉพาะสาขาและพื้นที่ที่ให้บริการ) และเลือกรับสินค้าได้ทั้งส่งถึงที่อยู่ปัจจุบัน หรือส่งที่บ้านและสำนักงาน ให้บริการจัดส่งตั้งแต่เวลา 07.00-22.00 . โดยสามารถสะสมคะแนน ออล เมมเบอร์ ชำระเงินทันทีผ่านทรู มันนี่ วอลเลต หรือชำระปลายทางด้วยเงินสด ปัจจุบันให้บริการ 1,500 สาขา มีโปรโมชันส่งฟรีเมื่อสั่งสินค้าตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป (จากอัตราค่าจัดส่งปกติ 20 บาท)

]]>
1269320
เผยโฉม A&W ในเซเว่นฯ ผุดโมเดล Express ตอบรับพฤติกรรม Grab&Go https://positioningmag.com/1259893 Thu, 09 Jan 2020 06:37:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259893 โตคนเดียวไม่ทันใจ A&W ขอโตกับพี่ใหญ่ร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่น อีเลฟเว่น ขยายโมเดล Express ย่อไซส์ร้านขนาดเล็กลง เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น ประเดิมสาขา ซ.นวมินทร์ 3 ใกล้มหาวิทยาลัย ABAC บางนาแห่งแรก

ยุคแห่งการย่อร้าน เข้าถึงลูกค้า

ต้องบอกว่ายุคนี้เป็นยุคแห่งการเป็นพันธมิตรกัน โคแบรนด์ซึ่งกันและกัน เพราะไม่สามารถเติบโตเพียงคนเดียวลำพังได้ ล่าสุดร้าน A&W โดยโกลบอล คอนซูเมอร์ หรือ GLOCON ได้แตกโมเดล A&W Express ที่ย่อขนาดร้านให้เล็กลง แต่ขยายได้มากขึ้น ได้จับมือกับ “เซเว่น” ในการเข้าไปเปิดร้าน

ซึ่ง A&W ได้วางจุดยืนตัวเองเป็นร้านอาหารจานด่วน หรือ QSR อยู่แล้ว แต่เดิมร้านอาหารกลุ่มนี้ยึดทำเลเปิดในห้างสรรพสินค้า มีร้านขนาดใหญ่ มีพื้นที่นั่ง แต่ถ้าขยายในโมเดลเดียวคงจะไม่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อีกทั้งยังต้องใช้งบลงทุนมากขึ้นด้วย

ทิศทางของ A&W จึงเริ่มชัดเจนเมื่อปี 2018 ที่เริ่มผุดโมเดล A&W Express เป็นการลดขนาดไซส์ร้านอาหารให้เล็กลง ใช้พื้นที่เพียง 10-30 ตารางเมตรก็สามารถเปิดได้แล้ว เน้นเจาะทำเลที่หลากหลายทั้งห้างสรรพสินค้า ปั๊มน้ำมัน และ Metro Mall รถไฟฟ้าใต้ดิน

โมเดลแบบนี้เป็นการตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีความเร่งรีบ ทานอาหารแบบ Grab&Go หรือรีบซื้อไปทานที่อื่น ไม่นั่งทาน รวมไปถึงการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ด้วย

A&W เข้าไปอยู่ในเซเว่น

แต่เดิมเราอาจจะเห็นร้าน A&W อยู่ในปั๊มน้ำมันบ้าง ในร้านสะดวกซื้อ Jiffy (ในปั๊ม ปตท.) บ้าง แต่ล่าสุด A&W ได้เข้าไปอยู่ในร้านเซเว่น ประเดิมสาขาแรกที่ ซ.นวมินทร์ 3 ใกล้ๆ มหาวิทยาลัย ABAC บางนา เปิดให้บริการตั้งแต่ 7.00-22.00 น.

แม้จะเป็นร้านเล็กแต่ยังมีเมนูที่เป็นซิกเนเจอร์จากรูทเบียร์ และวาฟเฟิลให้บริการอยู่ พร้อมกับเมนูพิเศษเฉพาะที่เซเว่นด้วย อย่างคุโรบูตะวาฟเฟิล และแฮมชีสวาฟเฟิล

ในปีนี้มีแผนที่จะขยายโมเดล A&W Express อีก 10-15 สาขา มีทั้งพื้นที่ในเมือง และนอกเมือง รวมไปถึงการขยายกับเซเว่นที่ปัจจุบันมีทั้งหมดกว่า 12,000 สาขาทั่วประเทศ ย่อมมีโอกาสในการขยายสาขาได้เร็วขึ้น ครอบคลุมทั้งใน กทม. และต่างจังหวัดได้

อ่านเพิ่มเติม

ภาพจาก Facebook A&W Thailand

]]>
1259893