เราไม่ทิ้งกัน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 14 May 2020 08:52:31 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เช็กก่อนลงทุน พันธบัตรรัฐบาล “เราไม่ทิ้งกัน” ผลตอบแทน-ซื้ออย่างไร มีเงื่อนไขอะไรบ้าง? https://positioningmag.com/1278516 Thu, 14 May 2020 06:39:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278516 วันนี้ (14 พ.ค.) เป็นวันเเรกที่กระทรวงการคลังจัดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” ในปีงบประมาณ 2563 แบบไร้ใบตราสาร วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท เป็นการระดมทุนเพื่อบรรเทาผลกระทบและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ตามแผนงานโครงการของรัฐบาล ภายใต้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงินวงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท

พันธบัตรรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” เป็นพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นพิเศษที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป ใครสนใจ “ออมเงินระยะยาว” ต้องศึกษาข้อมูลก่อนลงทุน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

มีแบบไหนบ้าง?

พันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (แบบไร้ใบตราสาร) วงเงินจำหน่าย 50,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นอายุ 5 ปี เเละรุ่นอายุ 10 ปี

ผลตอบเเทนเเละอัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างไร? 

รุ่นอายุ 5 ปี

• อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 1 ร้อยละ 2.00
• อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 2-3 ร้อยละ 2.25
• อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 4 ร้อยละ 2.50
• อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 5 ร้อยละ 3.00
พันธบัตรรุ่นอายุ 5 ปี จะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 14 พฤษภาคม 2568

รุ่นอายุ 10 ปี
• อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 1-3 ร้อยละ 2.50
• อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 4-8 ร้อยละ 3.00
• อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 9 ร้อยละ 3.50
• อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 10 ร้อยละ 4.00
พันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี จะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 14 พฤษภาคม 2573

ใครซื้อได้บ้าง? 

บุคคลที่มีสิทธิ์ซื้อ
บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ และนิติบุคคลอื่นที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร

องค์กรที่ไม่สิทธิ์ซื้อ
ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกัน กองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงิน กองทุนรวม คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล บรรษัท สำนักงาน ประกันสังคม รัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างร้าน นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โรงพยาบาลเอกชน สถานศึกษาเอกชน และนิติบุคคลที่แสวงหากำไร

ช่วงเปิดขายเเละวงเงินซื้อขั้นต่ำ

เปิดจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 – 10 มิถุนายน 2563 แบ่งออกเป็น 3 ช่วงได้เเก่

  • ช่วงที่ 1 วันที่ 14-20 พฤษภาคม 2563 จองซื้อรวมทุกรุ่น ขั้นต่ำ 1,000–2,000,000 บาท/คน/ธนาคาร
  • ช่วงที่ 2 วันที่ 21-27 พฤษภาคม 2563 จองซื้อรวมทุกรุ่น ขั้นต่ำ 1,000–2,000,000 บาท/คน/ธนาคาร (ไม่นับรวมยอดช่วงที่ 1)
  • ช่วงที่ 3 วันที่ 28 พฤษภาคม – 10 มิถุนายน 2563 จองซื้อรวมทุกรุ่น ขั้นต่ำ 1,000 บาท และไม่จำกัดวงเงินจองซื้อ

วันที่ครบกำหนดไถ่ถอน

  • พันธบัตรรุ่นอายุ 5 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 14 พฤษภาคม 2568
  • พันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 14 พฤษภาคม 2573

จ่ายดอกเบี้ยอย่างไร?

จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง คือ ในวันที่ 14 พฤษภาคม และ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี จนกว่าจะครบกำหนดไถ่ถอน โดยเริ่มจ่ายดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563

เสียภาษีเท่าไร?

หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ต่อปี ทุกครั้งที่มีการจ่ายดอกเบี้ย

ซื้อได้ที่ไหน?

  • ผ่าน BOND DIRECT Application และช่องทางของธนาคารตัวแทนจำหน่าย 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์
  • ซื้อผ่านเครื่อง ATM ระบบอินเทอร์เน็ต และ Mobile Application : ธนาคารผู้จัดจำหน่ายจะหักเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้ซื้อทันทีเมื่อสิ้นสุดการทำรายการซื้อ
  • ซื้อผ่านเคาน์เตอร์: สามารถชำระได้ทั้งเงินสด หักบัญชีเงินฝาก หรือเช็ค (วันที่ 10 มิถุนายน 2563 ไม่รับชำาระด้วยเช็ค) โดยสั่งจ่าย “บัญชีจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง รุ่นอายุ 5 ปี” “บัญชีจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง รุ่นอายุ 10 ปี”

วิธีลงทะเบียนซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ (กรณีซื้อครั้งแรก)

ในกรณีที่ไม่เคยซื้อพันธบัตรออมทรัพย์กับธนาคารมาก่อน จะต้องลงทะเบียนซื้อพันธบัตรและเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์ที่สาขาธนาคาร โดยใช้หลักฐาน ดังนี้

บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง (กรณีบุคคลธรรมดา) หรือเอกสารหลักฐานการแสดงตนที่ออกโดยหน่วยงานราชการ (กรณีนิติบุคคล) และสำเนาเอกสารดังกล่าว พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง

สำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ของผู้ซื้อที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคารนั้น พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ในกรณีที่ไม่มีบัญชีเงินฝาก ผู้ซื้อต้องเปิดบัญชีใหม่ ซึ่งต้องเป็นบัญชีของธนาคารที่ทำรายการซื้อเท่านั้น

คลังตอบ 18 ข้อสงสัย “พันธบัตรรัฐบาล “เราไม่ทิ้งกัน”

ทาง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ได้ออกมาตอบ 18 ข้อสงสัย คำถามที่พบบ่อยของพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ แบบไร้ใบตราสาร รุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” ดังนี้

1. ทำไมการลงทุนในพันธบัตรรุ่นนี้จึงน่าสนใจ หากเทียบกับการฝากเงินแบบประจำ

กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกพันธบัตร โดยมอบอำนาจให้ ธปท. เป็นนายทะเบียน การลงทุนในพันธบัตรจึงเป็นการลงทุนที่มั่นคง ไม่มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินต้นคืน ได้รับดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนในอัตราแบบคงที่ตามระยะเวลากำหนดที่แน่นอน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรในขณะที่ออกจำหน่ายโดยส่วนใหญ่จะกำหนดให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในขณะนั้น

2. ข้อดีของการเป็นพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) คืออะไร

เมื่อพันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ไม่ต้องคืนใบพันธบัตรให้ ธปท. โดยเงินต้นจะโอนเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์อัตโนมัติ และไม่ต้องมีภาระในการเก็บรักษาใบพันธบัตร ทั้งนี้ให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์นำสมุดบัญชีเงินฝากและ Bond Book ไปปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้ที่ธนาคารที่ทำรายการซื้อ

3. สนใจซื้อพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ต้องทำอย่างไร

ผู้สนใจสามารถเลือกวิธีการซื้อพันธบัตรวิธีใดวิธีหนึ่งได้จาก 4 ช่องทาง ดังนี้

3.1 การซื้อผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ผู้ซื้อจะต้องลงทะเบียนและเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์ที่ธนาคาร (ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์) และทำรายการซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 – 10 มิถุนายน 2563 หรือจนถึงวันที่จำหน่ายได้ครบวงเงินตามที่แต่ละธนาคารได้รับจัดสรร โดยผู้ซื้อสามารถดาวน์โหลดใบจองซื้อได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 

3.2 การซื้อผ่านเครื่อง ATM ผู้ซื้อจะต้องดำเนินการตามข้อ 3.1 และแจ้งธนาคารเพื่อขอทำบัตร ATM ซึ่งมีข้อดี คือ ผู้ซื้อจะสามารถดำเนินการผ่านเครื่อง ATM ได้ทุกเครื่องของธนาคาร โดยไม่ต้องเดินทางมาที่ธนาคาร

3.3 การซื้อผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และ Mobile Application ผู้ซื้อจะต้องดำเนินการตามข้อ 3.1 และลงทะเบียนเพื่อเปิดใช้บริการระบบอินเทอร์เน็ต และ Mobile Application โดยผู้ซื้อจะได้รับความสะดวกในการซื้อและสามารถซื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง

3.4 การซื้อผ่าน BOND DIRECT Application ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ผู้ซื้อจะต้องมีบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารกรุงไทย และจะต้องชำระเงินผ่าน Mobile Application ของธนาคารกรุงไทย หรือเคาน์เตอร์ของธนาคารกรุงไทย

4. ซื้อแล้วได้หลักฐานอะไรกลับไป

เมื่อผู้ซื้อชำระเงินในการซื้อพันธบัตรแล้ว ทั้ง 4 ช่องทาง มีหลักฐานเพื่อยืนยันการซื้อ ดังนี้

4.1 กรณีซื้อผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ผู้ซื้อจะได้รับเอกสารยืนยันการซื้อพันธบัตร

4.2 กรณีที่ซื้อผ่านเครื่อง ATM ผู้ซื้อจะได้รับใบเสร็จหรือใบแสดงรายการที่พิมพ์จากเครื่อง ATM (Slip) เพื่อเป็นหลักฐานในการชำระค่าซื้อพันธบัตร

4.3 กรณีซื้อผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และ Mobile Application ผู้ซื้อจะได้รับหลักฐานการทำรายการตามบริการของแต่ละธนาคารกำหนด

4.4 กรณีซื้อผ่าน BOND DIRECT Application หากชำระเงินผ่าน Mobile Application ของธนาคารกรุงไทย ผู้ซื้อจะได้รับหลักฐานการทำรายการตามบริการที่ธนาคารกำหนด กรณีชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ ผู้ซื้อจะได้รับเอกสารยืนยันการซื้อพันธบัตร

สำหรับผู้ซื้อพันธบัตรรายใหม่ จะได้รับสมุดพันธบัตรรัฐบาล กระทรวงการคลัง (Bond Book) ที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับพันธบัตร โดยจะได้รับในวันที่ซื้อหรืออาจได้รับภายหลังไม่เกิน 15 วันทำการ สำหรับผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่มี Bond Book อยู่แล้ว ให้นำ Bond Book ไปปรับปรุงข้อมูลรายการซื้อให้เป็นปัจจุบันได้ที่ธนาคารที่ทำรายการซื้อภายหลังจากวันที่ทำรายการซื้อแล้ว 15 วันทำการ

โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์จะนำไปใช้อ้างอิงสำหรับ การทำธุรกรรมได้ รายการที่ปรากฏอยู่ใน Bond Book เป็นรายการซื้อที่แสดงมูลค่าตามราคาตรา (Par Value) ในวันที่จดทะเบียน และในวันที่ทำรายการจะแสดงมูลค่าตามราคาตลาด (Market Value) ของแต่ละธนาคาร โดยจะถือว่าถูกต้องเมื่อรายการดังกล่าวตรงกันกับรายการที่บันทึกไว้ที่ธนาคาร

ทั้งนี้ จะปรากฏเฉพาะรุ่นพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ที่ซื้อผ่านธนาคารเท่านั้น โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถนำ Bond Book ที่ได้รับตั้งแต่การซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 จนถึงพันธบัตรรุ่นนี้ไปปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันผ่านธนาคารที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทำรายการซื้อเท่านั้น

สำหรับการจ่ายคืนเงินต้นพันธบัตรเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน กระทรวงการคลังจะจ่ายคืนตามราคาตรา (Par Value)

Photo : Freepik

5. คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล หรือกองทุนส่วนบุคคลสามารถซื้อพันธบัตรรุ่นนี้ได้หรือไม่

คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล ไม่สามารถซื้อได้ เนื่องจากไม่มีสถานภาพเป็นบุคคล (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะซื้อได้ กองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงินไม่สามารถซื้อได้

6. คู่สมรสจะต้องให้ความยินยอมหากอีกฝ่ายต้องการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์หรือไม่

ไม่ต้องให้ความยินยอม

7. ซื้อพันธบัตรรุ่นเดียวกัน จำนวนเงินเท่ากัน ทำไมได้รับดอกเบี้ยงวดแรกไม่เท่ากัน

เนื่องจากวันที่ซื้อพันธบัตรต่างกัน ทำให้การนับจำนวนวันเพื่อนำไปคำนวณดอกเบี้ยไม่เท่ากัน โดยมีหลักเกณฑ์การนับวัน ให้นับวันที่ซื้อ ไม่นับวันที่จ่ายดอกเบี้ย เช่น

นาย ก. ซื้อพันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี ชำระด้วยเงินสดจำนวน 500,000 บาท ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 จ่ายดอกเบี้ยงวดแรกวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 การนับวันจะนับวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 จนถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 เป็นจำนวน 180 วัน

นาย ข. ซื้อพันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี ชำระด้วยเงินสดจำนวน 500,000 บาท ในวันที่ 8 มิถุนายน 2563 จ่ายดอกเบี้ยงวดแรกวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 การนับวันจะนับวันที่ 8 มิถุนายน 2563 จนถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 เป็นจำนวน 159 วัน

ทั้งนี้ งวดต่อไปจำนวนวันเพื่อนำไปคำนวณดอกเบี้ยของ นาย ก. และนาย ข. จะเท่ากัน

8. การขอคืนภาษีดอกเบี้ยพันธบัตรรุ่นนี้ทำอย่างไร

เมื่อ ธปท. จ่ายดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากของท่าน ธปท. จะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานขอคืนภาษีประจำปีได้ ในกรณีที่เงินได้สุทธิของท่านเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ 15

9. การโอนดอกเบี้ยและเงินต้นพันธบัตรเข้าบัญชีเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่

ในการโอนดอกเบี้ยและเงินต้นเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) เจ้าของบัญชีได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงิน

10. หากต้องการรับดอกเบี้ยและเงินต้นเป็นเงินสดและเช็คจะทำได้หรือไม่

ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจาก ธปท. จะโอนดอกเบี้ยและเงินต้นเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์เท่านั้น

11. หากต้องการแจ้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ บัญชีรับดอกเบี้ยและเงินต้น หรือข้อมูลอื่นๆ จะต้องทำอย่างไร

กรณีพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless)

-ติดต่อธนาคารที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทำรายการซื้อ โดยนำ Bond Book และหลักฐานอื่นที่ต้องใช้ในการอ้างอิงไปด้วย

กรณีพันธบัตรแบบมีใบตราสาร (Scrip)

-ให้แจ้งโดยตรงที่ ธปท. สำนักงานใหญ่ สำนักงานภาค หรือธนาคาร สำนักงานใหญ่ และสาขาทั่วประเทศ เพื่อส่งต่อให้ ธปท. ดำเนินการต่อไป

12. การขอหนังสือรับรองยอดพันธบัตร (กรณีไร้ใบตราสาร) กับทางสาขาธนาคาร สาขาธนาคารสามารถดำเนินการออกให้ได้เลยหรือไม่ และคิดค่าธรรมเนียมอย่างไร

ธนาคารสามารถออกหนังสือรับรองยอดพันธบัตร (กรณีไร้ใบตราสาร) ให้ได้ โดยคิดค่าธรรมเนียมการจัดทำหนังสือรับรองยอดพันธบัตร ตามอัตราที่แต่ละธนาคารประกาศกำหนด ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่าง 50-200 บาท ต่อฉบับ (สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ธนาคาร)

13. ถ้ามีความประสงค์จะเปลี่ยนพันธบัตรจากแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ให้เป็นแบบมีใบตราสาร (Scrip) ทำได้หรือไม่ เสียค่าใช้จ่ายเท่าใด ใช้เวลาดำเนินการประมาณกี่วัน ลูกค้าถึงจะได้รับใบพันธบัตร

ทำได้ โดยต้องนำ Bond Book ไปติดต่อธนาคารเพื่อขอออกใบพันธบัตร โดยมีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการรวมทั้งสิ้นประมาณ 290-370 บาท ต่อรายการ (แล้วแต่กรณี) ประกอบด้วย

– ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้กับศูนย์รับฝาก 65 บาทต่อรายการ ไม่รวม VAT

– ค่าธรรมเนียมการออกใบพันธบัตรที่ต้องจ่ายให้ ธปท. กรณีบุคคลธรรมดา 20 บาทต่อฉบับ กรณีนิติบุคคล 100 บาทต่อฉบับ ไม่คิด VAT

– ค่าธรรมเนียมการดำเนินธุรกรรมในการถอนพันธบัตรจากระบบ Scripless ที่ต้องจ่ายให้ธนาคาร 200 บาทต่อรายการ รวม VAT

– ลูกค้าจะได้รับใบพันธบัตรประมาณ 4 – 10 วัน (ยังไม่รวมการจัดส่งใบพันธบัตร) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร

14. การขอออกใบพันธบัตรตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 สามารถออกเป็นชื่อบุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ซื้อในครั้งแรกได้หรือไม่ เช่น นาย ก. ซื้อ แต่ขอออกใบเป็นชื่อ นาย ข.

นาย ก. จะต้องทำการโอนให้นาย ข. ก่อน โดยต้องนำ Bond Book ไปติดต่อที่ธนาคาร และกรอกแบบฟอร์มแจ้งการโอนกรรมสิทธิ์พร้อมเอกสารประกอบ โดยธนาคารไม่คิดค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างลูกค้ารายเดิมภายในกลุ่มผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ซื้อผ่านธนาคารเดียวกัน

ทั้งนี้ หากเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างลูกค้ารายเดิมให้กับลูกค้ารายใหม่ ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์จากลูกค้ารายใหม่ 250 บาท ต่อรายการ รวม VAT แล้วจึงขอออกใบพันธบัตรเป็น นาย ข.

Photo : Shutterstock

15. การโอนเปลี่ยนมือระหว่างธนาคารทำได้หรือไม่

การโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) สามารถกระทำได้โดยอาจเป็นการโอนให้กับลูกค้ารายใหม่หรือลูกค้าเดิมภายในกลุ่มผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ซื้อผ่านธนาคารเดียวกัน แต่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างธนาคารได้ โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องนำ BondBook ไปติดต่อธนาคารที่ได้ฝากพันธบัตรไว้

16. ความเสี่ยงของการถือพันธบัตรรุ่นนี้มีอะไรบ้าง

ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรไม่มีความเสี่ยงจากการสูญเงินต้น แต่อาจมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนในพันธบัตรอาจเสียโอกาสที่จะลงทุนในทางเลือกอื่น ๆ ที่มีผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากพันธบัตร เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอนาคตสูงขึ้นมากกว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร จะได้รับดอกเบี้ยคงที่ตามอัตราที่กำหนดไว้บนหน้าพันธบัตร ตลอดอายุพันธบัตร

ในกรณีที่นำพันธบัตรไปขายให้กับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่น ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับเงินต้นคืนไม่เท่ากับ 1,000 บาทต่อหน่วยตามที่ตราไว้ โดยราคาที่ได้อาจมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ณ ขณะนั้นๆ อย่างไรก็ดี หากผู้ลงทุนถือพันธบัตร จนถึงวันครบกำหนดแล้ว จะได้รับคืนเงินต้นเต็มจำนวนเสมอ

ท่านสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่ website ต่างๆ ดังนี้

https://www.bot.or.th/Thai/DebtSecurities

https://www.thaibma.or.th

https://www.thaibond.com

17. การไถ่ถอนคืนเงินต้นพันธบัตรเมื่อครบกำหนดต้องดำเนินการอย่างไร

กรณีพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ธปท. จะจ่ายคืนเงินต้นพันธบัตร โดยโอนเงินต้นเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามรายชื่อและข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากศูนย์รับฝาก ซึ่งเป็นรายชื่อ ณ สิ้นวันทำการสุดท้ายก่อนวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายคืนเงินต้นตามที่ ธปท. ประกาศกำหนด

กรณีพันธบัตรแบบมีใบตราสาร (Scrip) การจ่ายคืนเงินต้นพันธบัตรจะกระทำได้ต่อเมื่อ ธปท. ได้รับคืนใบพันธบัตร โดย ธปท. จะจัดส่งแบบคำขอรับคืนเงินต้นพันธบัตรให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน

เอกสารไถ่ถอน ประกอบด้วย

– คำขอรับคืนเงินต้นพันธบัตร ที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้กรอกข้อมูลและลงลายมือชื่อตามตัวอย่างที่ให้ไว้กับ ธปท.

– พันธบัตรฉบับจริงทุกฉบับ ที่ครบกำหนดไถ่ถอน

– สำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝากของผู้ถือกรรมสิทธิ์ (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ที่รับรองสำเนาถูกต้อง

– กรณีบุคคลธรรมดา  – ยื่นด้วยตนเอง แสดงบัตรประจำตัวประชาชน

– ไม่มายื่นด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่รับรองสำเนาถูกต้อง

– กรณีนิติบุคคล  แนบ – สำเนาเอกสารแสดงความเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน ใบอนุญาตจัดตั้ง และรายงานการประชุม ประจำปีครั้งล่าสุดของสมาคมมูลนิธิ ฯลฯ ที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้มีอำนาจลงนาม และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่มีอำนาจลงนาม ที่รับรองสำเนาถูกต้อง

– กรณีไถ่ถอนพันธบัตรของผู้เยาว์  การลงลายมือชื่อในคำขอรับคืนเงินต้นบันธบัตร ให้ดำเนินการดังนี้

ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ให้ผู้ปกครองหรือผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อ

ผู้เยาว์อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ให้ผู้เยาว์และผู้ปกครองหรือผู้แทนโดยชอบธรรม ลงลายมือชื่อร่วมกัน

ผู้เยาว์อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อนุโลมไม่ต้องแจ้งบรรลุนิติภาวะก่อนไถ่ถอน และในคำขอรับคืนเงินต้นพันธบัตรให้ระบุบัญชีรับเงินต้นเป็นชื่อผู้เยาว์เท่านั้น  โดยผู้เยาว์และผู้ปกครองหรือผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อร่วมกัน

หมายเหตุ – ยื่นด้วยตนเอง ให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชนผู้ปกครองหรือผู้แทนโดยชอบธรรมและสูติบัตรหรือทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวประชาชนผู้เยาว์ แล้วแต่กรณี

– ไม่มายื่นด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ แนบสำเนาบัตรประจาตัวประชาชนผู้ปกครองหรือผู้แทนโดยชอบธรรม และสำเนาสูติบัตรหรือทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวประชาชนผู้เยาว์ แล้วแต่กรณี ที่รับรองสำเนาถูกต้อง

– ผู้ปกครองหรือผู้แทนโดยชอบธรรม ต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในพันธบัตร

– การไถ่ถอนพันธบัตรของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ถึงแก่กรรม ให้ผู้จัดการมรดกยื่นเอกสารไถ่ถอนแทน พร้อมคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด

18. การโอนพันธบัตรให้แก่ทายาท ในกรณีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรถึงแก่กรรม

กรณีพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless)

– ผู้จัดการมรดกติดต่อยื่นขอจัดการมรดกที่ธนาคารผู้จัดจำหน่าย

– กรณีพันธบัตรแบบมีใบตราสาร (Scrip) ผู้จัดการมรดกติดต่อ ธปท. โดยยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ถึงแก่กรรม ตามระเบียบที่ ธปท. กำหนด

]]>
1278516
สรุปการเยียวยา 5,000 บาท “เราไม่ทิ้งกัน” ผ่านเกณฑ์แล้ว 14 ล้านราย คาดจ่ายครบสัปดาห์นี้ https://positioningmag.com/1277810 Mon, 11 May 2020 06:02:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277810 กระทรวงการคลังสรุปความคืบหน้ามาตรการจ่ายเงินเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อ COVID-19 รายละ 5,000 บาท โดยให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ถึงวันที่ 11 พ.ค.63 ดังนี้

1. มีผู้ผ่านเกณฑ์แล้ว 14 ล้านคน คาดว่าจะสามารถจ่ายเงินเยียวยาให้ได้ทั้งหมดภายในสัปดาห์นี้

2. วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม 2562 จะมีการโอนเงินให้ผู้ผ่านเกณฑ์อีกประมาณ 1.6 ล้านคน ซึ่งรวมถึงกลุ่มที่ข้อมูลบัญชีไม่ถูกต้อง และได้เปลี่ยนแปลงวิธีการรับเงินเป็นช่องทางพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชนแล้ว

3. การปิดทบทวนสิทธิเมื่อคืนเวลา 24.00 น. สรุปมีผู้ขอทบทวนสิทธิรวมทั้งสิ้น 6.5 ล้านคน

4. กลุ่มขอข้อมูลเพิ่มเติม มีผู้มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว 6.1 ล้านคน ยังขาดอีก 4 แสนคน

5. กระทรวงการคลังคาดว่าภายในวันที่ 17 พฤษภาคม 2563 จะสามารถบริหารจัดการข้อมูลผู้ลงทะเบียนทั้งหมดให้แล้วเสร็จได้ในระดับ 98-99% โดยอาจมีกลุ่มที่ตกค้างบ้าง เช่น กลุ่มที่ขอข้อมูลเพิ่มเติมแต่ยังไม่ได้เข้ามาให้ข้อมูลตามข้อ 4. และกลุ่มผู้ขอทบทวนสิทธิที่ผู้พิทักษ์สิทธิลงพื้นที่แล้วแต่ไม่พบตัวเนื่องจากปัจจุบันไม่ได้อยู่ตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้ตอนขอทบทวนสิทธิ กรณีนี้จะส่งต่อข้อมูลให้ผู้พิทักษ์สิทธิในจังหวัดที่ท่านอยู่ในขณะนี้รับไปเป็นผู้ดูแลต่อไป ซึ่งจะใช้เวลาในการดำเนินการเพิ่มขึ้นบ้าง

ส่วนความคืบหน้าเรื่องมาตรการเยียวยากลุ่มเกษตรกร ขณะนี้กระทรวงการคลังได้ตรวจสอบความซ้ำซ้อนกับฐานข้อมูลการจ่ายเงินเยียวยาตามมาตรการเยียวยา 5,000 บาท และฐานข้อมูลข้าราชการและข้าราชการบำนาญตามที่กระทรวงเกษตรขอความอนุเคราะห์เรียบร้อยแล้ว และได้ส่งข้อมูลให้กระทรวงเกษตรเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกรเป็นไปตามกำหนดต่อไป

Source

]]>
1277810
วันสุดท้าย! ปิดลงทะเบียน “เราไม่ทิ้งกัน” 5,000 บาท เที่ยงคืนนี้ เเต่ยื่นทบทวนสิทธิ์ได้ต่อเนื่อง https://positioningmag.com/1274771 Wed, 22 Apr 2020 06:42:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274771 วันนี้ (22 เม.ย.) เป็นวันสุดท้ายของการเปิดรับลงทะเบียนในมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) ผ่าน www.เราไม่ทิ้งกัน.com ซึ่งหากใครที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนให้รีบดำเนินการก่อนเที่ยงคืนวันนี้ ขณะที่การ “ยื่นขอทบทวนสิทธิ์” ยังสามารถทำได้ต่อเนื่องบนเว็บไซต์

สำหรับ www.เราไม่ทิ้งกัน.com จะปิดการรับลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ( 3 เดือน) เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในวันนี้ ณ เวลา 24.00 น. ตามที่เคยประกาศไว้ว่าจะแจ้งล่วงหน้าให้ทราบก่อนวันที่จะปิดการลงทะเบียน เพื่อดำเนินการเปิดรับการขอทบทวนสิทธิ์สำหรับประชาชนที่ไม่ผ่านเกณฑ์และไม่เห็นด้วยกับผลการคัดกรองที่เปิดให้ “ยื่นทบทวนสิทธิ์” ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมาซึ่งตอนนี้ยังไม่มีกำหนดปิดการยื่นทบทวนสิทธิ์

ประชาชนคนไทยผู้ที่เป็นลูกจ้าง แรงงาน อาชีพอิสระ ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 แต่ยัง “ไม่เคย” ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท สามารถเข้ามาลงทะเบียนได้ถึง 24.00 น.ของวันนี้

“22 เม.ย. 2563 เป็นการปิดรับลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท เท่านั้น ไม่ได้เป็นการปิดเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com”

ขณะที่ผู้อยู่ในกลุ่ม “ขอข้อมูลเพิ่มเติม” ก็ยังสามารถเข้าไปให้ข้อมูลเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ได้เช่นกัน หลังจากการเข้าไปให้ข้อมูลเพิ่มเติมแล้วระบบจะทำการคัดกรองต่อไปว่าจะเป็นผู้ผ่านหรือไม่ผ่านเกณฑ์รับเงินเยียวยา 5,000 บาทหรือไม่ เเละหากผลออกมาว่าเป็นผู้ไม่ผ่านเกณฑ์ ก็ยังสามารถยื่นทบทวนสิทธิ์ในเว็บไซต์ได้ต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ส่วนยอดผู้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ล่าสุดมีกว่า 28 ล้านคน จากการคัดกรองของระบบมีผู้ผ่านเกณฑ์เเล้ว 4.2 ล้านคน โดยมีการโอนเงินเข้าบัญชี หรือพร้อมเพย์ไปแล้ว 3.2 ล้านคน คิดเป็นเงินกว่า 16,000 ล้านบาท ส่วนกลุ่มคนที่เหลืออยู่ระหว่างเร่งดำเนินการจ่ายให้ครบภายในสัปดาห์นี้

]]>
1274771
คลังตอบ 20 ข้อสงสัย เยียวยา 5,000 รอนานแล้ว “อยู่ระหว่างการตรวจสอบ-ขอทบทวนสิทธิ์” https://positioningmag.com/1274647 Tue, 21 Apr 2020 10:20:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274647 คนไทยหลายล้านคนกำลังเฝ้ารอเงินเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) ในมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 หลังเปิดให้ลงทะเบียนที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ครั้งเเรกเมื่อ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยประชาชนบางส่วนได้รับเงินเเล้ว บางส่วนโดนตัดสิทธิ์ เเละบางส่วนขึ้นสถานะ “อยู่ระหว่างการตรวจสอบ” ทำให้เกิดข้อสงสัยมากมาย ทั้งเรื่องการขอทบทวนสิทธิ์ ความคืบหน้า เเละคำถามที่ว่า “รอนานเเล้วตอนไหนจะได้สักที”

ล่าสุดทาง “สำนักเศรษฐกิจการคลัง” ออกมาชี้เเจงเเบบคำถาม-คำตอบ Q&A เพื่อไขข้อสงสัยต่างๆ สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนร่วมมาตรการนี้ โดย Positioning ได้รวบรวมมา 20 คำถามอัพเดตล่าสุด (20 เม.ย.) ดังนี้

1. ผู้ลงทะเบียนบางรายเข้าใจผิดว่าคลังแจกครบแล้ว 3 ล้านราย ที่เหลือจะไม่ได้แล้ว

ตอบ  ตัวเลขผู้ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยาตามมาตรการ 5,000 บาท (3 เดือน) จำนวน 3 ล้านคนเป็นตัวเลขที่กระทรวงการคลังประมาณการไว้เบื้องต้น ดังนั้น หากมีจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ที่เป็นกลุ่มแรงงาน ลูกจ้าง หรืออาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 โดยตรงมีจำนวนมากกว่าที่กระทรวงการคลังประมาณการไว้ รัฐบาลก็พร้อมจะจัดสรรเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและให้เกิดความครอบคลุมมากที่สุด

2. ลงทะเบียน 27 ล้านคน แจกไปแค่ 3.2 ล้านคน ต้องรออีกนานแค่ไหนถึงจะรู้ผล

ตอบ 

1 ) ตั้งแต่มีการเปิดรับลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้พยายามเร่งกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองผู้ลงทะเบียนกว่า 27 ล้านคน เพื่อให้เงินเยียวยาถึงมือทุกคนที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วที่สุด โดยตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2563 เป็นต้นมา กระทรวงการคลังได้มีการจ่ายเงินเยีวยา 5,000 บาท ต่อเนื่องทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดราชการ) โดย ณ วันที่ 17 เมษายน 2563 ได้จ่ายเงินให้ผู้ลงทะเบียนไปแล้ว 3.2 ล้านคน และมีกำหนดจะจ่ายเงินในวันที่ 20-21 เมษายน 2563 อีก 900,000 คน รวมเป็น 4.1 ล้านคน คิดเป็นเงินกว่า 20,000 ล้านบาท

2 ) การตรวจสอบและคัดกรองผู้ลงทะเบียนแต่ละคน จะใช้ระยะเวลามากน้อยไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ถูกต้องของข้อมูลตามบัตรประชาชนของผู้ลงทะเบียน การประกอบอาชีพที่ผู้ลงทะเบียนได้ระบุ ซึ่งต้องนำไปตรวจสอบข้อมูลกับฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้มั่นใจว่างบประมาณของแผ่นดินที่รัฐบาลได้จัดสรรมาจะตกถึงมือผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง

3) ระบบจะแจ้งผลการตรวจสอบสิทธิ์ผ่านทาง SMS ไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือและอีเมลที่ท่านลงทะเบียนโดยเร็วที่สุด หรือสามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนของท่านได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com

3. ลงทะเบียนตั้งแต่ 29 มีนา สถานะยังอยู่รอการตรวจสอบ ไม่บอกเลยว่าต้องทำอย่างไรต่อไป

ตอบ กรณีผู้ลงทะเบียนตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com และปรากฏสถานะว่า “อยู่ระหว่างการตรวจสอบ” ซึ่งแปลว่าระบบอยู่ระหว่างการตรวจสอบและคัดกรองข้อมูลของผู้ลงทะเบียน ผู้ลงทะเบียนยังไม่ต้องดำเนินการใด ๆ

4. รอตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม เมื่อไหร่จะตรวจสอบ รอนานมากแล้ว

ตอบ

1.กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามเร่งกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองผู้ลงทะเบียนกว่า 27 ล้านคน เพื่อให้เงินเยียวยาถึงมือทุกคนที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วที่สุด

2.ระบบจะแจ้งผลการตรวจสอบสิทธิ์ผ่านทาง SMS ไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือและอีเมลที่ท่านลงทะเบียนโดยเร็วที่สุด หรือสามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนของท่านได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com

5. กรณีการ “ทบทวนสิทธิ์” กับการ “อุทธรณ์สิทธิ์” มีความหมายและขั้นตอนการดำเนินงานที่แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

ตอบ กระทรวงการคลังได้เตรียมกลไกการทบทวนสิทธิ์ให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์และประสงค์จะขอทบทวนสิทธิ์ และสำหรับกลไกการดำเนินการทบทวนสิทธิ์จะมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อยืนยันตัวตนและความเดือดร้อนของผู้ลงทะเบียน เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาให้สิทธิ์รับเงินเยียวยาต่อไป

6. สถานะที่รอตรวจสอบก็ไม่ได้แล้วใช่ไหมในเมื่อแจกไปครบ  3 รอบครบ 3  ล้านคนแล้ว

ตอบ

1.กรณีผู้ลงทะเบียนตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com และปรากฏสถานะว่า “อยู่ระหว่างการตรวจสอบ”   ซึ่งแปลว่าระบบอยู่ระหว่างการตรวจสอบและคัดกรองข้อมูลของผู้ลงทะเบียน ไม่ได้แปลว่าไม่ได้รับสิทธิ์ ทั้งนี้ กรณีไม่ได้รับสิทธิ์ จะมี SMS แจ้งไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ท่านระบุไว้ ว่า “ไม่ได้รับสิทธิ์” และหากตรวจสอบสถานะผ่านทางเว็บไซต์จะปรากฏสถานะว่า “ไม่ได้รับสิทธิ์ เนื่องจาก … (แสดงเหตุผล)”

2.ตัวเลขผู้ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยาตามมาตรการ 5,000 บาท (3 เดือน) จำนวน 3 ล้านคนเป็นตัวเลขที่กระทรวงการคลังประมาณการไว้เบื้องต้น ดังนั้น หากมีจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ที่เป็นกลุ่มแรงงาน ลูกจ้าง หรืออาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 โดยตรงมีจำนวนมากกว่าที่กระทรวงการคลังประมาณการไว้ รัฐบาลก็พร้อมจะจัดสรรเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและให้เกิดความครอบคลุมมากที่สุด

7. ทำไมเงินเยียวยา 5,000 บาท ของรัฐบาล ไม่ครอบคลุมถึงแรงงานอาชีพก่อสร้าง

ตอบ ลักษณะการประกอบอาชีพก่อสร้างส่วนใหญ่ยังสามารถดำเนินได้ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปิดสถานที่จากคำสั่งของทางราชการค่อนข้างจำกัด อย่างไรก็ดี หากประชาชนที่มีอาชีพก่อสร้างและได้รับผลกระทบจากระบาดของโรคโควิต-19 แต่ได้รับแจ้งว่าไม่ได้สิทธิ์เข้าร่วมมาตรการเยียวยา 5000 (3 เดือน) กระทรวงการคลังได้เปิดให้ยื่นขอทบทวนสิทธิ์ โดยจะมีเจ้าหน้าที่การลงพื้นที่เพื่อยืนยันตัวตนและความเดือดร้อนของผู้ลงทะเบียน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถจัดสรรเงินเยียวยาให้กับผู้ที่สมควรจะได้รับอย่างแท้จริง ซึ่งผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์และประสงค์จะยื่นขอทบทวนสิทธิ์ สามารถยื่นขอทบทวนสิทธิ์ได้ ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย. 2563

8. นักศึกษาไทยที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยต่างประเทศระดับ ป.ตรี-โท และเรียนไปด้วย-ทำงาน Part Time ไปด้วย แต่ปัจจุบันต้องกลับเรียนทางออนไลน์ในประเทศไทย มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท หรือไม่

ตอบ มาตรการฯ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเยียวยาให้กับแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดประกอบกิจการของสถานประกอบการที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในประเทศไทยเป็นหลัก

9. ในกรณีที่มีผู้ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา 5,000 บาท และได้รับเงินไปแล้วบางราย ไม่อยู่ในข่ายที่ได้รับสิทธิ์หรือมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน จะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

ตอบ

1.ในกรณีการกรอกให้ข้อมูลเท็จและตรวจสอบพบภายหลังว่าเป็นผู้ไม่มีสิทธิ์ในการรับเงินช่วยเหลือจากมาตรการฯ ภาครัฐมีสิทธิ์สั่งระงับการจ่ายเงินชดเชยตามมาตรการฯ โดยผู้ได้รับเงินเยียวยาที่ไม่มีสิทธิ์ในมาตรการฯ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินชดเชย ที่ได้รับไปแล้วคืนให้แก่รัฐภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการระงับสิทธิดังกล่าว ตามวิธีการที่กระทรวงการคลังหรือผู้จัดทำระบบให้กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ ในกรณีที่รัฐได้ดำเนินการข้างต้นแล้ว รัฐอาจใช้สิทธิ์ในการที่จะดำเนินคดีทางแพ่งหรือทางอาญาต่อไป

2.นอกจากนี้ ในกรณีการให้ข้อมูลเท็จโดยเจตนา ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 3 ปี ปรับสูงสุดไม่เกิน 60,000   บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยในกรณีที่เป็นการให้ข้อมูลเท็จโดยมิได้มีเจตนาและถูกดำเนินการทางกฎหมาย ในชั้นศาลจะมีกระบวนการพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่อไป

3.ทั้งนี้ หากผู้ได้รับสิทธิ์ที่ได้รับเงินเยียวยาแล้วประสงค์คืนเงิน กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างกำหนดแนวทางการคืนเงืนสำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิ์ โดยจะประกาศให้ทราบโดยเร็ว

10. ในการแจ้งข้อมูลเพิ่มเติม หากที่อยู่อาศัย/สถานประกอบการเป็นการเช่าโดยไม่มีสัญญาเช่า จะสามารถใช้หลักฐานใด ทดแทนในการให้ข้อมูลเพิ่มเติม (เช่น พิกัดตามระบบ GPS เป็นต้น)

ตอบ ขณะนี้ระบบการนำส่งข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ได้มีการขอให้แนบเอกสารหรือหลักฐานใด ๆ เข้าสู่ระบบ แต่ผู้ลงทะเบียนสามารถระบุชื่อสถานประกอบการ หรือระบุที่ตั้งของสถานประกอบการหรือที่อยู่อาศัย โดยการระบุเป็นข้อความ หรือ โดยการปักหมุดในแผนที่ได้ ทั้งนี้ ขอให้ท่านให้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสิทธิ์การได้รับเงินเยียวยา

11. ในกรณีที่ผู้นำชุมชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการเดรียมรับผลประโยชน์จากการลงทะเบียน จะสามารถแจ้งร้องเรียนผ่านช่องทางใดได้บ้าง

ตอบ สามารถร้องเรียนได้ที่ Call Center สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02-273-9020 (เฉพาะวันและเวลาราชการ) และ Call Center ธนาคารกรุงไทย โทร. 02-111-1144 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

12. กรณีที่มีรายชื่ออยู่ในครัวเรือนเกษตรกร แต่ประกอบอาชีพอื่น จะสามารแจ้งปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร เพื่อให้สามารถลงทะเบียนขอรับสิทธิ์เงินเยียวยา  5,000 บาทได้หรือไม่

ตอบ หากท่านไม่ได้รับสิทธิ์ เนื่องจากเป็นสมาชิกในครัวเรือนเกษตรกร แต่ปัจจุบันไม่ได้ประกอบการเกษตรกรแล้ว ท่านสามารถยื่นขอทบทวนสิทธิ์ได้   ตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย. 2563 ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com โดยจะมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบหน้างาน ทั้งนี้ ผู้ผ่านการทบทวนสิทธิ์จะยังได้รับเงินเยียวยาครบทั้ง 3 เดือน เนื่องจากการให้เงินเยียวยาจะใช้วันลงทะเบียนในการเริ่มนับสิทธิ์

13. ถ้ามีประกันสังคมอยู่แล้ว แต่ลงทะเบียนเยียวยา 5,000 บาท แล้วก็ยื่นประกันตนของประกันสังคมไปด้วย ระบบจะตัดสิทธิ์ให้เองหรือไม่

ตอบ กระทรวงการคลังมีระบบคัดกรองและตรวจสอบ โดยหากเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคมอยู่แล้ว จะไม่มีสิทธิ์รับเงินเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน)

14. ระบบจะมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการตรวจสอบหรือไม่เนื่องจากยังคงมีผู้ลงทะเบียนบางส่วนที่ยังปรากฏสถานะว่าอยู่ระหว่างการตรวจสอบ

ตอบ ขณะนี้กระทรวงการคลังยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการตรวจสอบและคัดกรอง อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังจะเร่งกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองผู้ลงทะเบียนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ ระบบจะแจ้งผลการตรวจสอบสิทธิ์ผ่านทาง SMS ไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือและอีเมลที่ท่านลงทะเบียนโดยเร็วที่สุด หรือสามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนของท่านได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com

15. การขอทบทวนสิทธิ์มีระยะเวลาสิ้นสุดหรือไม่

ตอบ ขณะนี้กระทรวงการคลังยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการขอทบทวนสิทธิ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ และประสงค์จะขอทบทวนสิทธิ์ สามารถยื่นขอทบทวนสิทธิ์ได้ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาการจัดสรรเงินเยียวยาใหม่อีกครึ่งหนึ่งให้มากที่สุด

16. ผู้ลงทะเบียนที่อยู่ระหว่างตรวจสอบสถานะ สามารถยื่นขอทบทวนสิทธิ์ได้หรือไม่

ตอบ ขณะนี้กระทรวงการคลังเปิดให้ยื่นขอทบทวนสิทธิ์เฉพาะกลุ่มผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์เท่านั้น สำหรับกลุ่มผู้ที่มีสถานะ “อยู่ระหว่างการตรวจสอบ” หากการตรวจสอบแล้วเสร็จและปรากฏสถานะว่า “ไม่ได้รับสิทธิ์” ก็สามารถยื่นขอทบทวนสิทธิ์ได้

17. ทำไมต้องให้ประชาชนลงทะเบียนทบทวนสิทธิ์ รัฐบาลต้องการถ่วงเวลาหรือไม่

ตอบ ขณะนี้กระทรวงการคลังได้เปิดให้กลุ่มผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) และประสงค์จะขอทบทวนสิทธิ์ สามารถยื่นขอทบทวนสิทธิ์ได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ เข้าสู่กระบวนการพิจารณาการจัดสรรเงินเยียวยาใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในการทบทวนสิทธิ์จะมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อยืนยันตัวตนและความเดือดร้อนของผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ด้วย เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาให้สิทธิ์รับเงินเยียวยาต่อไป โดยจะมีการกำหนดกลไกและวิธีการดำเนินการทบทวนสิทธิ์ไว้อย่างชัดเจน สามารถดำเนินการได้จริง และไม่ได้เป็นการถ่วงเวลาแต่อย่างใด ซึ่งในช่วงที่ผ่านมากระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองเพื่อให้เงินถึงมือทุกคนที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว

18. เหตุใดจึงไม่มีการจ่ายเงินในช่วงวันเสาร์และอาทิตย์ ?

ตอบ ตั้งแต่มีการเปิดรับลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามเร่งกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองผู้ลงทะเบียนกว่า 27 ล้านคน เพื่อให้เงินเยียวยาถึงมือทุกคนที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วที่สุด โดยตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2563 เป็นต้นมา กระทรวงการคลังได้มีการจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท ต่อเนื่องทุกวันยกเว้นวันหยุดราชการ การที่ไม่สามารถโอนเงินเยียวยาได้ในวันหยุดราชการมิใช่สาเหตุมาจากการดำเนินงานของระบบราชการ แต่เนื่องจากการโอนเงินมาตรการเยียวยา 5000 (3 เดือน) ดำเนินการผ่านระบบโอนเงินเข้าบัญชีระหว่างธนาคารอัตโนมัติซึ่งดำเนินการเฉพาะในวันทำการธนาคาร

19. สังเกตว่าผู้ลงทะเบียนในลำดับหลัง ๆ กลับได้การตอบรับว่าผ่านเกณฑ์ ในขณะที่เราซึ่งเป็นผู้ลงทะเบียนในวันแรกๆ เมื่อเข้าไปตรวจสถานะแล้ว กลับพบว่า “กำลังตรวจสอบข้อมูล” เป็นเพราะเหตุใด

ตอบ การตรวจสอบและคัดกรองผู้ลงทะเบียนแต่ละคน จะใช้ระยะเวลามากน้อยไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ถูกต้องของข้อมูลตามบัตรประชาชนของผู้ลงทะเบียน การประกอบอาชีพที่ผู้ลงทะเบียนได้ระบุ ซึ่งต้องนำไปตรวจสอบข้อมูลกับฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้มั่นใจว่างบประมาณของแผ่นดินที่รัฐบาลได้จัดสรรมาจะตกถึงมือผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ระบบจะแจ้งผลการตรวจสอบสิทธิ์ผ่านทาง SMS ไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือและอีเมลที่ท่านลงทะเบียนโดยเร็วที่สุด หรือสามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนของท่านได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com

20. ตามข่าวที่มีออกมาว่ากระทรวงการคลังมีงบประมาณเรื่องเงินเยียวยา 5 พัน จ่ายได้สำหรับคนจำนวน 9 ล้านคน เท่านั้น ฉะนั้นแม้ว่าจะให้มีการทบทวนสิทธิ์ ยังไงก็ไม่ได้ได้ทุกคนใช่หรือไม่

ตอบ ในการดำเนินมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) กระทรวงการคลังได้มีการประมาณการจำนวนผู้มีสิทธิ์ไว้เบื้องต้นแล้ว อย่างไรก็ดี การดำเนินการตรวจสอบและคัดกรองผู้มีสิทธิ์ยังไม่แล้วเสร็จ จึงยังไม่อาจสรุปตัวเลขผู้มีสิทธิ์ได้ ซึ่งหากมีจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ที่เป็นกลุ่มแรงงาน ลูกจ้าง หรืออาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 โดยตรงมีจำนวนมากกว่าที่กระทรวงการคลังประมาณการไว้ รัฐบาลก็พร้อมจะจัดสรรเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและให้เกิดความครอบคลุมมากที่สุด

]]>
1274647
เปิดทบทวนสิทธิเยียวยา 5,000 บาท ผ่าน www.เราไม่ทิ้งกัน.com 20 เม.ย. เริ่ม 6 โมงเช้า https://positioningmag.com/1274127 Sun, 19 Apr 2020 15:05:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274127 ระทรวงการคลังเปิดให้ทบทวนสิทธิรับเงินเยียวยา 5,000 บาท สำหรับผู้ไม่ผ่านเกณฑ์คัดกรองรอบแรกตั้งแต่ 6 โมเงช้า ผ่าน www.เราไม่ทิ้งกัน.com เท่านั้น ชี้ใครผ่านจะได้ย้อนหลังของเดือนเมษายนด้วย ล่าสุด อนุมัติเงินไปแล้วกว่า 4.1 ล้านคน คิดเป็นเงิน 2 หมื่นล้านบาท

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2563 ตั้งแต่เวลา 06.00 . เป็นต้นไป จะเริ่มเปิดให้ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ขอทบทวนสิทธิได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com โดยจะเปิดให้ขอทบทวนสิทธิผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทั้งต่อตัวผู้ประสงค์จะขอทบทวนสิทธิเองและต่อส่วนรวมของสังคมไทย

เพื่อประโยชน์ของผู้ประสงค์ขอทบทวนสิทธิ ขอให้ท่านรีบกรอกข้อมูลที่เว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ไม่จำเป็นต้องมาที่กระทรวงการคลัง โดยในระยะแรกนี้จะเปิดกว้างสำหรับทุกกลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์ และไม่เห็นด้วยกับผลการคัดกรองก่อน และในระยะต่อไปจะขยายไปยังกลุ่มผู้ที่ได้กดยกเลิกการลงทะเบียนโดยความเข้าใจผิดด้วย

กลไกการทบทวนสิทธิจะดำเนินการอย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่จะลงพื้นที่จริงเพื่อยืนยันตัวตนและการประกอบอาชีพตามที่ได้ลงทะเบียน

ขอเน้นย้ำว่าผู้ผ่านการทบทวนสิทธิจะยังได้รับเงินเยียวยาครบทั้ง 3 เดือน เนื่องจากการให้เงินเยียวยาจะใช้วันลงทะเบียนในการเริ่มนับสิทธิ ในกรณีที่ทราบผลการพิจารณาในเดือนพฤษภาคม ผู้ผ่านการทบทวนสิทธิจะได้รับเงินเยียวยาครั้งแรก จำนวน 10,000 บาท เพราะได้รวมเงินเยียวยา 5,000 บาท ของเดือนเมษายนด้วย

โฆษกกระทรวงการคลังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2563 เป็นต้นมา ได้มีการจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาทต่อเนื่องทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดราชการ) โดย ณ วันที่ 17 เมษายน 2563 ได้จ่ายเงินให้ผู้ลงทะเบียนไปแล้ว 3.2 ล้านคน และมีกำหนดจะจ่ายเงินในวันจันทร์และอังคารสัปดาห์หน้าอีก 900,000 คน รวมเป็น 4.1 ล้านคน คิดเป็นเงินกว่า 20,000 ล้านบาท

]]>
1274127
เปิดรับอุทธรณ์เยียวยา 5,000 บาท ผ่าน www.เราไม่ทิ้งกัน.com เท่านั้น ดีเดย์ 20 เม.ย. https://positioningmag.com/1273473 Tue, 14 Apr 2020 15:19:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273473 กระทรวงการคลัง เตรียมเปิดรับอุทธรณ์ ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรการเยียวยา 5,000 บาท วันที่ 20 เม.. 63 ผ่านช่องทาง www.เราไม่ทิ้งกัน.com ย้ำ ไม่ต้องเดินทางมากระทรวงการคลัง

ลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยความคืบหน้ามาตรการเยียวยา 5,000 บาท ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีเม็ดเงินช่วยเหลือเยียวยาถึงคนทำงานที่เดือดร้อนจากสถานการณ์ COVID-19 ในรอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 8-10 เมษายน 2563 และรอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 13-14 เมษายน 2563 แล้วจำนวน 2.4 ล้านราย คิดเป็นมูลค่า 12,000 ล้านบาท

กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามเร่งกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองผู้ลงทะเบียนกว่า 27 ล้านคนโดยเร็วที่สุด

โดยในช่วงวันที่ 15-17 เมษายน 2563 จะเริ่มทยอยส่ง SMS และโอนเงินเยียวยาในรอบที่ 3 ซึ่งมีผู้ผ่านเกณฑ์ประมาณ 8 แสนราย คิดเป็นมูลค่า 4,000 ล้านบาท

สำหรับกลุ่มผู้ได้รับสิทธิ์แต่ได้รับแจ้งว่า การโอนเงินไม่สำเร็จ เนื่องจากบัญชีธนาคารถูกปิด บัญชีไม่มีการเคลื่อนไหวนานเกิน 1 ปี ชื่อบัญชีไม่ตรงกับชื่อที่ลงทะเบียน เลือกรับโอนเงินผ่านพร้อมเพย์แต่ยังไม่ได้ผูกพร้อมเพย์ หรือเข้ามาแก้ไขข้อมูลบัญชีแล้ว แต่ใส่ข้อมูลไม่ถูกต้องสามารถแก้ไขได้โดยการผูกบัญชี พร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชนผ่าน Mobile Banking หรือตู้ ATM ได้ทุกธนาคาร โดยไม่ต้องไปสาขาธนาคาร เพื่อรอรับการโอนเงินเยียวยางวดเดือนเมษายนอีกครั้งในวันที่ 22 หรือ 29 เมษายน 2563

โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงการคลังได้รับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชนมาโดยตลอด และเตรียมเปิดกลไกการขอทบทวนสิทธิ์ในวันที่ 20 เมษายน 2563 ผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น ที่www.เราไม่ทิ้งกัน.com” จึงขอเน้นย้ำว่า ประชาชนไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่กระทรวงการคลัง เพราะไม่ได้มีช่องทางการเปิดรับเอกสาร และเป็นการดำเนินการตามแนวทางเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทั้งต่อตัวผู้ประสงค์จะขอทบทวนสิทธิ์เองและต่อส่วนรวมของสังคมไทย

และในระยะต่อไป จะขยายไปยังกลุ่มผู้ที่ได้กดยกเลิกการลงทะเบียนโดยความเข้าใจผิดด้วย กลไกการทบทวนสิทธิ์จะดำเนินการอย่างรวดเร็วโดยการลงพื้นที่จริงเพื่อยืนยันตัวตนและความเดือดร้อนของผู้ลงทะเบียน ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานสังกัดกระทรวงการคลังในพื้นที่ เช่น คลังจังหวัด สรรพากรพื้นที่ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (...) เป็นต้น รวมถึงบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ด้วย

ทั้งนี้ ผู้ผ่านการทบทวนสิทธิ์จะยังได้รับเงินเยียวยาครบทั้ง 3 เดือน เนื่องจากการให้เงินเยียวยาจะใช้วันลงทะเบียนในการเริ่มนับสิทธิ์

โฆษกกระทรวงการคลัง ย้ำว่า รัฐบาลมีงบประมาณเพียงพอและมีความตั้งใจที่จะดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ให้ครอบคลุมครบทุกกลุ่มอาชีพ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาการให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมสำหรับแต่ละกลุ่มต่อไป

]]>
1273473
อุทธรณ์เยียวยา 5,000 บาท ผ่านออนไลน์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ไม่ต้องไปประท้วงที่ก.การคลัง https://positioningmag.com/1273158 Mon, 13 Apr 2020 17:42:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273158 ตามที่มีกระแสข่าวว่าจะมีคนนัดรวมตัวกันมาที่กระทรวงการคลัง (ศูนย์อาหาร) วันที่ 14 เม.ย. เวลา 8.00 น. เพื่อขออุทธรณ์รับสิทธิ์เงินช่วยเหลือ 5,000 บาทนั้น

กระทรวงการคลังขอแจ้งว่า ผู้ที่ต้องการอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องมาที่กระทรวงการคลังเพราะ ระบบ “เราไม่ทิ้งกัน” จะมีการเพิ่มปุ่มเพื่อ “อุทธรณ์” ในสัปดาห์หน้า โดยขอแนะนำให้ทำการอุทธรณ์ด้วยตนเองผ่านระบบ online จะถูกต้องและรวดเร็วที่สุด

ระหว่างนี้หากประสงค์จะร้องเรียนเกี่ยวกับมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ขอให้ติดต่อ call center ของธนาคารกรุงไทย 021111144 (ตลอด 24 ชั่วโมง) หรือ call center ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 022739020 (เฉพาะวันและเวลาราชการ)

นอกจากนี้ เพื่อสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของศูนย์ covid แห่งชาติที่ไม่ให้คนมารวมตัวอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกันจำนวนมาก ถึงแม้จะมีการป้องกันโดยการสวมแมสก์ก็ตาม เพราะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อ covid-19 ได้

]]>
1273158
เตรียมโอนเงินเยียวยา 5,000 บาท “เราไม่ทิ้งกัน” กลุ่ม 2 อีก 6 แสนราย 13-14 เม.ย.นี้ https://positioningmag.com/1272878 Sun, 12 Apr 2020 14:51:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1272878 กระทรวงการคลัง แจงความคืบหน้ามาตรการเยียวยา 5,000 บาท พร้อมโอนเงินให้ผู้ผ่านเกณฑ์อีก 6 แสนราย 13-14 เม.. ส่วนมาตรการเยียวยากลุ่มเกษตรกร คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้ามาตรการเยียวยา 5,000 บาท หลังจากการตรวจสอบและคัดกรองตามหลักเกณฑ์แล้วพบว่า ในรอบที่ 1 ได้มีการตรวจสอบคัดกรองไปแล้ว 7.99 ล้านราย โดยจากจำนวนนี้สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มผ่านเกณฑ์ 1.68 ล้านราย ซึ่งในกลุ่มนี้ได้ทยอยส่ง SMS แจ้งผลการพิจารณาและโอนเงินเข้าบัญชีหรือพร้อมเพย์ที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้วในช่วงวันที่ 8-10 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา
  • กลุ่มที่ต้องขอข้อมูลเพิ่มเติม 1.53 ล้านราย โดยการกรอกแบบสอบถามออนไลน์ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com (หัวข้อขอข้อมูลเพิ่มเติม) ขอความกรุณาให้ดำเนินการภายใน 10 วัน นับจากวันที่ได้รับ SMS แจ้งเพื่อการประมวลผลที่รวดเร็วซึ่งได้เริ่มทยอยส่ง SMS แจ้งผลการพิจารณาแล้วตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2563 และจะทยอยแจ้งไปจนถึงวันที่ 13 เมษายน 2563 โดยพบว่า ขณะนี้ได้มีผู้เข้าให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรียบร้อยแล้วจำนวนหลายแสนราย
  • กลุ่มไม่ผ่านเกณฑ์ 4.78 ล้านราย จะทยอยได้รับ SMS แจ้งผลการพิจารณาในช่วงวันที่ 12-14 เมษายน 2563 โดยส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์เนื่องจากได้รับการดูแลผลกระทบจาก Covid-19 โดยรัฐบาลผ่านช่องทางอื่น เช่น ข้าราชการ ผู้รับบำนาญ ผู้ได้รับสิทธิ์ประกันสังคม เกษตรกร เป็นต้น หรือกลุ่มที่ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น นักเรียน นักศึกษา ซึ่งยังคงมิได้ประกอบอาชีพเป็นหลัก และส่วนหนึ่งได้รับการดูแลผ่านช่องทางกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือกลุ่มที่ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เช่น ผู้ค้าขายออนไลน์

ส่วนกระแสในสื่อสังคมออนไลน์ถึงการไม่ผ่านเกณฑ์เนื่องจากสาเหตุต่างๆ โดยเฉพาะในประเด็นเกษตรกรกระทรวงการคลัง ขอชี้แจงว่า เกษตรกรจะมีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทุกปีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการขึ้นทะเบียนจะเป็นรายครอบครัวโดยให้หัวหน้าครอบครัวเป็นคนมาขึ้นทะเบียนและในการกรอกรายละเอียดสมาชิกในครอบครัว จะให้ระบุด้วยว่ามีสมาชิกในครอบครัวกี่คน เป็นใครบ้าง และสมาชิกในครอบครัวที่ช่วยทำเกษตรกรรมมีกี่คนคือใครบ้าง ที่ผ่านมารัฐบาลใช้ฐานข้อมูลเกษตรกรชุดเดียวกันนี้ในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นค่าเพาะปลูก ค่าเก็บเกี่ยว ค่าปัจจัยการผลิต เป็นต้น

ดังนั้น ในการคัดกรองของมาตรการเยียวยา 5,000 บาท กำหนดหลักเกณฑ์ให้ครอบครัวที่ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและสมาชิกในครอบครัวที่ช่วยทำเกษตรกรรมถือว่าเป็นกลุ่มเกษตรกรไม่ผ่านเกณฑ์ และจะมีการดูแลโดยมาตรการเยียวยากลุ่มเกษตรกรโดยเฉพาะที่จะออกมาเร็วๆ นี้

นอกจากนี้ เมื่อปิดรับลงทะเบียนและได้คัดกรองผู้ลงทะเบียนครบถ้วนทั้งหมดแล้วซึ่งขณะนี้มีประมาณ 27 ล้านราย จะเปิดให้มีช่องทางการอุทธรณ์ผลการพิจารณาสำหรับผู้ไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งผู้ที่ผ่านการอุทธรณ์ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาครบทั้ง 3 เดือนเช่นเดิม เนื่องจากการให้เงินเยียวยาจะใช้วันลงทะเบียนในการเริ่มนับสิทธิ์

โฆษกกระทรวงการคลัง ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การตรวจสอบสิทธิ์ผู้ลงทะเบียนยังคงจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง โดยจะทยอยแจ้งผลการคัดกรองและโอนเงินเยียวยาอย่างต่อเนื่องตลอดทุกวันทำการ

โดยในรอบที่ 2 จะเริ่มทยอยส่ง SMS แจ้งผลและโอนเงินเยียวยาในช่วงวันที่ 13-14 เมษายน 2563 ซึ่งมีผู้ผ่านเกณฑ์ประมาณ 6 แสนราย โดยกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองโดยเร็วที่สุด เพื่อให้คนทำงานที่เดือดร้อนจากสถานการณ์ Covid-19 ได้รับความช่วยเหลืออย่างทันการณ์และตรงตัว

Source

]]>
1272878
เช็กเลย! วิธีตรวจสอบสถานะรับเงิน 5,000 บาท ใน www.เราไม่ทิ้งกัน.com https://positioningmag.com/1272349 Wed, 08 Apr 2020 14:41:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1272349 กระทรวงการคลังเริ่มทยอยโอนเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท คาดโอนล็อตแรกวันที่ 8-10 เมษายน กว่า 1.68 ล้านคน พร้อมแนะตรวจสอบสถานะหน้าเว็บเราไม่ทิ้งกัน

หลังจากระบบ AI ธนาคารกรุงไทยตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าข่ายได้รับเงินตามคุณสมบัติ เมื่อได้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com มุ่งช่วยเหลือกลุ่มอาชีพอิสระ รับจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว กิจการส่วนตัว การค้าขาย ประมาณ 3 ล้านคน และยังมีกลุ่มอาชีพอิสระที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 อีกจำนวน 5 ล้านคน

ในวันที่ 8 เมษายนนี้ เป็นวันแรกที่ธนาคารกรุงไทยเริ่มทยอยโอนเงินเข้าบัญชีให้แก่ผู้ผ่านการตรวจคุณสมบัติ จำนวน 280,000 คน วันที่ 9 เมษายน จำนวน 753,000 คน และวันที่ 10 เมษายน จำนวน 644,000 คน ขณะที่ ครม.ยังได้อนุมัติมาตรการดูแลและเยียวยาเฟส 3 ขยายเวลาการโอนเงินช่วยเหลือออกไปอีกเป็น 6 เดือน หลังได้และส่ง SMS หรืออีเมล

วิธีการตรวจสอบสถานะ

  1. เข้าเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com
  2. ไปยังเมนูตรวจสอบสถานะเพื่อเข้าไปตรวจสอบขั้นตอนการจ่ายเงินเยียวยา ดำเนินขั้นตอนถึงไหนแล้ว
  3. กรอกหมายเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เบอร์โทรศัพท์มือถือที่ใช้ลงทะเบียน และวัน เดือน ปีเกิดของผู้ลงทะเบียน
  4. ส่วนผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบคุณสมบัติ ธนาคารกรุงไทยจะส่ง SMS ในวันที่ 9 เมษายน

คนที่ผ่านเกณฑ์ คือ คนที่ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งไม่อยู่ในระบบประกันสังคม และได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ซึ่งมีจำนวนประมาณ 8 ล้านคน ส่วนคนที่ไม่ผ่านเกณฑ์มี 10 กลุ่มประกอบด้วย

  • อายุต่ำกว่า 18 ปี
  • ผู้ว่างงาน
  • ข้าราชการ
  • พนักงานรัฐ
  • ผู้รับบำนาญ
  • นักเรียน นักศึกษา
  • เกษตรกร
  • ผู้ค้าออนไลน์
  • รับจ้างก่อสร้าง
  • โปรแกรมเมอร์

สำหรับระยะเวลาคัดกรองผู้ที่จะได้รับเงินเยียวยานั้น คาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 1 สัปดาห์ โดยผู้ที่อยู่ในเกณฑ์สีเขียว คือ ผ่านการคัดกรองก็จะทยอยจ่ายเงินเยียวยาให้ ส่วนกลุ่มสีแดง คือ ไม่ผ่านการคัดกรอง และกลุ่มสีเทา กลุ่มนี้จะต้องได้รับการตรวจสอบหรือขอข้อมูลเพิ่ม ฉะนั้นกลุ่มนี้ก็จะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบพอสมควร

โฆษกกระทรวงการคลังทำความเข้าใจด้วยว่า ผู้ที่ลงทะเบียนผ่าน เว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com แล้วมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จะได้รับเงินเยียวยา เดือนละ 5,000 บาท 3 เดือนแน่นอน เพราะอยู่ในเงื่อนไข ส่วนจะขยายเวลาออกไปอีก 3 เดือนเป็น 6 เดือนนั้น รัฐบาลก็ยืนยันว่าดูแลได้ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์โควิด ว่าจะเป็นอย่างไรอีก 3 เดือนข้างหน้า ซึ่ง ณ วันนี้ ยังไม่รู้สถานการณ์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร ต้องมาประเมินก่อน หรือหากรัฐบาลต้องการนำเงินไปเยียวยานี้ไปช่วยคนที่ตกหล่นก็ทำได้

ส่วนกรณีของผู้ค้าสลาก ที่สงสัยว่าตัวเองจะได้รับเงินเยียวยา 3 เดือนหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ เพราะเดือน พ.. ผู้ค้าสลากก็จะกลับมาขายสลากได้อีกครั้ง แต่ที่กระทบแน่ๆ คือ เดือนเมษายน ซึ่งก็ต้องมีการประเมินต่อไป

ขณะที่กลุ่มเกษตรกร ที่ตัดออกนั้น ย้ำว่าไม่ได้ทอดทิ้ง ซึ่งรัฐบาลเตรียมมาตรการออกมาดูแลโดยเฉพาะอีกรอบ ส่วนผู้ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากโควิด – 19 ในอนาคต ก็สามารถมาลงทะเบียนเราไม่ทิ้งกันได้ เพราะยังไม่มีกำหนดปิดเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com

]]>
1272349
เราไม่ทิ้งกัน! เพิ่มเยียวยา COVID-19 แจก 5,000 บาท จาก 3 เดือน เป็น 6 เดือน แค่ 9 ล้านคน https://positioningmag.com/1272105 Tue, 07 Apr 2020 10:39:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1272105 คณะรัฐมนตรีมีมติขยายระเวลาจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ได้รับผลกระทบ COVID-19 มาตรการจ่ายเงินเยียวยาคนละ 5,000 บาท จากเดิมเป็นเวลา 3 เดือน ขยายเวลา เป็น 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน เม.ย.-ก.ย. 2563 รวมเป็นเงินคนละ 30,000 บาท แต่ให้แค่ 9 ล้านคนเท่านั้น

อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กรณีการเยียวยาจากสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ให้กับประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม จำนวน 5,000 บาทต่อเดือน โดยการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ว่า ครม.อนุมัติให้ขยายการช่วยเหลืออาชีพอิสระ จากเดิม 3 เดือน ขยายเป็น 6 เดือน ถึงเดือนกันยายน 2563 โดยจ่ายเงินต่อไปสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนและได้รับอนุมัติไปตามระบบจำนวน 9 ล้านคน

ส่วนการจะขยายจำนวนผู้ได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท จาก 9 ล้านคนหรือไม่ คำตอบคือ วันนี้การลงทะเบียนมาได้มากแล้ว จะขอยึดตรงนี้ไว้ก่อน ส่วนสถานการณ์ข้างหน้าเป็นอย่างไรจะไปพิจารณาดู

ส่วนการช่วยเหลือเกษตรกร และกลุ่มอื่นที่ไม่ได้ลงทะเบียนรับ 5,000 บาท กำลังดำเนินการ เกษตรกรจะใช้หลักครัวเรือนตามที่เคยดูแลมาแล้ว รายละเอียดกำลังจัดทำว่ารูปแบบเป็นอย่างไรให้เหมาะสม

สำหรับการช่วยเหลือการเลิกจ้างงาน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเข้าไปช่วยเหลือสภาพคล่องแก่ผู้จ้างงาน ส่วนคนที่ตกงานแล้วให้เป็นไปตามระบบ หากอยู่ระบบประกันสังคม ทางสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการช่วยเหลือ หากเป็นอาชีพอิสระก็เข้าสู่ระบบรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล 6 เดือน

โดย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ที่ ครม. อนุมัติในวันนี้ จะนำเงินเข้าไปช่วยเหลือประชาชนจากที่ขยายเวลาจาก 3 เดือน เป็น 6 เดือนด้วย ยืนยันคลังจะกู้เงินภายในประเทศก่อนพิจารณากู้เงินจากต่างประเทศ

Source

]]>
1272105