คลังตอบ 20 ข้อสงสัย เยียวยา 5,000 รอนานแล้ว “อยู่ระหว่างการตรวจสอบ-ขอทบทวนสิทธิ์”

คนไทยหลายล้านคนกำลังเฝ้ารอเงินเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) ในมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 หลังเปิดให้ลงทะเบียนที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ครั้งเเรกเมื่อ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยประชาชนบางส่วนได้รับเงินเเล้ว บางส่วนโดนตัดสิทธิ์ เเละบางส่วนขึ้นสถานะ “อยู่ระหว่างการตรวจสอบ” ทำให้เกิดข้อสงสัยมากมาย ทั้งเรื่องการขอทบทวนสิทธิ์ ความคืบหน้า เเละคำถามที่ว่า “รอนานเเล้วตอนไหนจะได้สักที”

ล่าสุดทาง “สำนักเศรษฐกิจการคลัง” ออกมาชี้เเจงเเบบคำถาม-คำตอบ Q&A เพื่อไขข้อสงสัยต่างๆ สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนร่วมมาตรการนี้ โดย Positioning ได้รวบรวมมา 20 คำถามอัพเดตล่าสุด (20 เม.ย.) ดังนี้

1. ผู้ลงทะเบียนบางรายเข้าใจผิดว่าคลังแจกครบแล้ว 3 ล้านราย ที่เหลือจะไม่ได้แล้ว

ตอบ  ตัวเลขผู้ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยาตามมาตรการ 5,000 บาท (3 เดือน) จำนวน 3 ล้านคนเป็นตัวเลขที่กระทรวงการคลังประมาณการไว้เบื้องต้น ดังนั้น หากมีจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ที่เป็นกลุ่มแรงงาน ลูกจ้าง หรืออาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 โดยตรงมีจำนวนมากกว่าที่กระทรวงการคลังประมาณการไว้ รัฐบาลก็พร้อมจะจัดสรรเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและให้เกิดความครอบคลุมมากที่สุด

2. ลงทะเบียน 27 ล้านคน แจกไปแค่ 3.2 ล้านคน ต้องรออีกนานแค่ไหนถึงจะรู้ผล

ตอบ 

1 ) ตั้งแต่มีการเปิดรับลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้พยายามเร่งกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองผู้ลงทะเบียนกว่า 27 ล้านคน เพื่อให้เงินเยียวยาถึงมือทุกคนที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วที่สุด โดยตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2563 เป็นต้นมา กระทรวงการคลังได้มีการจ่ายเงินเยีวยา 5,000 บาท ต่อเนื่องทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดราชการ) โดย ณ วันที่ 17 เมษายน 2563 ได้จ่ายเงินให้ผู้ลงทะเบียนไปแล้ว 3.2 ล้านคน และมีกำหนดจะจ่ายเงินในวันที่ 20-21 เมษายน 2563 อีก 900,000 คน รวมเป็น 4.1 ล้านคน คิดเป็นเงินกว่า 20,000 ล้านบาท

2 ) การตรวจสอบและคัดกรองผู้ลงทะเบียนแต่ละคน จะใช้ระยะเวลามากน้อยไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ถูกต้องของข้อมูลตามบัตรประชาชนของผู้ลงทะเบียน การประกอบอาชีพที่ผู้ลงทะเบียนได้ระบุ ซึ่งต้องนำไปตรวจสอบข้อมูลกับฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้มั่นใจว่างบประมาณของแผ่นดินที่รัฐบาลได้จัดสรรมาจะตกถึงมือผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง

3) ระบบจะแจ้งผลการตรวจสอบสิทธิ์ผ่านทาง SMS ไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือและอีเมลที่ท่านลงทะเบียนโดยเร็วที่สุด หรือสามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนของท่านได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com

3. ลงทะเบียนตั้งแต่ 29 มีนา สถานะยังอยู่รอการตรวจสอบ ไม่บอกเลยว่าต้องทำอย่างไรต่อไป

ตอบ กรณีผู้ลงทะเบียนตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com และปรากฏสถานะว่า “อยู่ระหว่างการตรวจสอบ” ซึ่งแปลว่าระบบอยู่ระหว่างการตรวจสอบและคัดกรองข้อมูลของผู้ลงทะเบียน ผู้ลงทะเบียนยังไม่ต้องดำเนินการใด ๆ

4. รอตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม เมื่อไหร่จะตรวจสอบ รอนานมากแล้ว

ตอบ

1.กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามเร่งกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองผู้ลงทะเบียนกว่า 27 ล้านคน เพื่อให้เงินเยียวยาถึงมือทุกคนที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วที่สุด

2.ระบบจะแจ้งผลการตรวจสอบสิทธิ์ผ่านทาง SMS ไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือและอีเมลที่ท่านลงทะเบียนโดยเร็วที่สุด หรือสามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนของท่านได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com

5. กรณีการ “ทบทวนสิทธิ์” กับการ “อุทธรณ์สิทธิ์” มีความหมายและขั้นตอนการดำเนินงานที่แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

ตอบ กระทรวงการคลังได้เตรียมกลไกการทบทวนสิทธิ์ให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์และประสงค์จะขอทบทวนสิทธิ์ และสำหรับกลไกการดำเนินการทบทวนสิทธิ์จะมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อยืนยันตัวตนและความเดือดร้อนของผู้ลงทะเบียน เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาให้สิทธิ์รับเงินเยียวยาต่อไป

6. สถานะที่รอตรวจสอบก็ไม่ได้แล้วใช่ไหมในเมื่อแจกไปครบ  3 รอบครบ 3  ล้านคนแล้ว

ตอบ

1.กรณีผู้ลงทะเบียนตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com และปรากฏสถานะว่า “อยู่ระหว่างการตรวจสอบ”   ซึ่งแปลว่าระบบอยู่ระหว่างการตรวจสอบและคัดกรองข้อมูลของผู้ลงทะเบียน ไม่ได้แปลว่าไม่ได้รับสิทธิ์ ทั้งนี้ กรณีไม่ได้รับสิทธิ์ จะมี SMS แจ้งไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ท่านระบุไว้ ว่า “ไม่ได้รับสิทธิ์” และหากตรวจสอบสถานะผ่านทางเว็บไซต์จะปรากฏสถานะว่า “ไม่ได้รับสิทธิ์ เนื่องจาก … (แสดงเหตุผล)”

2.ตัวเลขผู้ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยาตามมาตรการ 5,000 บาท (3 เดือน) จำนวน 3 ล้านคนเป็นตัวเลขที่กระทรวงการคลังประมาณการไว้เบื้องต้น ดังนั้น หากมีจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ที่เป็นกลุ่มแรงงาน ลูกจ้าง หรืออาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 โดยตรงมีจำนวนมากกว่าที่กระทรวงการคลังประมาณการไว้ รัฐบาลก็พร้อมจะจัดสรรเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและให้เกิดความครอบคลุมมากที่สุด

7. ทำไมเงินเยียวยา 5,000 บาท ของรัฐบาล ไม่ครอบคลุมถึงแรงงานอาชีพก่อสร้าง

ตอบ ลักษณะการประกอบอาชีพก่อสร้างส่วนใหญ่ยังสามารถดำเนินได้ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปิดสถานที่จากคำสั่งของทางราชการค่อนข้างจำกัด อย่างไรก็ดี หากประชาชนที่มีอาชีพก่อสร้างและได้รับผลกระทบจากระบาดของโรคโควิต-19 แต่ได้รับแจ้งว่าไม่ได้สิทธิ์เข้าร่วมมาตรการเยียวยา 5000 (3 เดือน) กระทรวงการคลังได้เปิดให้ยื่นขอทบทวนสิทธิ์ โดยจะมีเจ้าหน้าที่การลงพื้นที่เพื่อยืนยันตัวตนและความเดือดร้อนของผู้ลงทะเบียน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถจัดสรรเงินเยียวยาให้กับผู้ที่สมควรจะได้รับอย่างแท้จริง ซึ่งผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์และประสงค์จะยื่นขอทบทวนสิทธิ์ สามารถยื่นขอทบทวนสิทธิ์ได้ ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย. 2563

8. นักศึกษาไทยที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยต่างประเทศระดับ ป.ตรี-โท และเรียนไปด้วย-ทำงาน Part Time ไปด้วย แต่ปัจจุบันต้องกลับเรียนทางออนไลน์ในประเทศไทย มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท หรือไม่

ตอบ มาตรการฯ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเยียวยาให้กับแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดประกอบกิจการของสถานประกอบการที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในประเทศไทยเป็นหลัก

9. ในกรณีที่มีผู้ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา 5,000 บาท และได้รับเงินไปแล้วบางราย ไม่อยู่ในข่ายที่ได้รับสิทธิ์หรือมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน จะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

ตอบ

1.ในกรณีการกรอกให้ข้อมูลเท็จและตรวจสอบพบภายหลังว่าเป็นผู้ไม่มีสิทธิ์ในการรับเงินช่วยเหลือจากมาตรการฯ ภาครัฐมีสิทธิ์สั่งระงับการจ่ายเงินชดเชยตามมาตรการฯ โดยผู้ได้รับเงินเยียวยาที่ไม่มีสิทธิ์ในมาตรการฯ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินชดเชย ที่ได้รับไปแล้วคืนให้แก่รัฐภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการระงับสิทธิดังกล่าว ตามวิธีการที่กระทรวงการคลังหรือผู้จัดทำระบบให้กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ ในกรณีที่รัฐได้ดำเนินการข้างต้นแล้ว รัฐอาจใช้สิทธิ์ในการที่จะดำเนินคดีทางแพ่งหรือทางอาญาต่อไป

2.นอกจากนี้ ในกรณีการให้ข้อมูลเท็จโดยเจตนา ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 3 ปี ปรับสูงสุดไม่เกิน 60,000   บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยในกรณีที่เป็นการให้ข้อมูลเท็จโดยมิได้มีเจตนาและถูกดำเนินการทางกฎหมาย ในชั้นศาลจะมีกระบวนการพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่อไป

3.ทั้งนี้ หากผู้ได้รับสิทธิ์ที่ได้รับเงินเยียวยาแล้วประสงค์คืนเงิน กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างกำหนดแนวทางการคืนเงืนสำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิ์ โดยจะประกาศให้ทราบโดยเร็ว

10. ในการแจ้งข้อมูลเพิ่มเติม หากที่อยู่อาศัย/สถานประกอบการเป็นการเช่าโดยไม่มีสัญญาเช่า จะสามารถใช้หลักฐานใด ทดแทนในการให้ข้อมูลเพิ่มเติม (เช่น พิกัดตามระบบ GPS เป็นต้น)

ตอบ ขณะนี้ระบบการนำส่งข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ได้มีการขอให้แนบเอกสารหรือหลักฐานใด ๆ เข้าสู่ระบบ แต่ผู้ลงทะเบียนสามารถระบุชื่อสถานประกอบการ หรือระบุที่ตั้งของสถานประกอบการหรือที่อยู่อาศัย โดยการระบุเป็นข้อความ หรือ โดยการปักหมุดในแผนที่ได้ ทั้งนี้ ขอให้ท่านให้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสิทธิ์การได้รับเงินเยียวยา

11. ในกรณีที่ผู้นำชุมชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการเดรียมรับผลประโยชน์จากการลงทะเบียน จะสามารถแจ้งร้องเรียนผ่านช่องทางใดได้บ้าง

ตอบ สามารถร้องเรียนได้ที่ Call Center สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02-273-9020 (เฉพาะวันและเวลาราชการ) และ Call Center ธนาคารกรุงไทย โทร. 02-111-1144 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

12. กรณีที่มีรายชื่ออยู่ในครัวเรือนเกษตรกร แต่ประกอบอาชีพอื่น จะสามารแจ้งปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร เพื่อให้สามารถลงทะเบียนขอรับสิทธิ์เงินเยียวยา  5,000 บาทได้หรือไม่

ตอบ หากท่านไม่ได้รับสิทธิ์ เนื่องจากเป็นสมาชิกในครัวเรือนเกษตรกร แต่ปัจจุบันไม่ได้ประกอบการเกษตรกรแล้ว ท่านสามารถยื่นขอทบทวนสิทธิ์ได้   ตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย. 2563 ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com โดยจะมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบหน้างาน ทั้งนี้ ผู้ผ่านการทบทวนสิทธิ์จะยังได้รับเงินเยียวยาครบทั้ง 3 เดือน เนื่องจากการให้เงินเยียวยาจะใช้วันลงทะเบียนในการเริ่มนับสิทธิ์

13. ถ้ามีประกันสังคมอยู่แล้ว แต่ลงทะเบียนเยียวยา 5,000 บาท แล้วก็ยื่นประกันตนของประกันสังคมไปด้วย ระบบจะตัดสิทธิ์ให้เองหรือไม่

ตอบ กระทรวงการคลังมีระบบคัดกรองและตรวจสอบ โดยหากเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคมอยู่แล้ว จะไม่มีสิทธิ์รับเงินเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน)

14. ระบบจะมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการตรวจสอบหรือไม่เนื่องจากยังคงมีผู้ลงทะเบียนบางส่วนที่ยังปรากฏสถานะว่าอยู่ระหว่างการตรวจสอบ

ตอบ ขณะนี้กระทรวงการคลังยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการตรวจสอบและคัดกรอง อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังจะเร่งกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองผู้ลงทะเบียนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ ระบบจะแจ้งผลการตรวจสอบสิทธิ์ผ่านทาง SMS ไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือและอีเมลที่ท่านลงทะเบียนโดยเร็วที่สุด หรือสามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนของท่านได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com

15. การขอทบทวนสิทธิ์มีระยะเวลาสิ้นสุดหรือไม่

ตอบ ขณะนี้กระทรวงการคลังยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการขอทบทวนสิทธิ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ และประสงค์จะขอทบทวนสิทธิ์ สามารถยื่นขอทบทวนสิทธิ์ได้ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาการจัดสรรเงินเยียวยาใหม่อีกครึ่งหนึ่งให้มากที่สุด

16. ผู้ลงทะเบียนที่อยู่ระหว่างตรวจสอบสถานะ สามารถยื่นขอทบทวนสิทธิ์ได้หรือไม่

ตอบ ขณะนี้กระทรวงการคลังเปิดให้ยื่นขอทบทวนสิทธิ์เฉพาะกลุ่มผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์เท่านั้น สำหรับกลุ่มผู้ที่มีสถานะ “อยู่ระหว่างการตรวจสอบ” หากการตรวจสอบแล้วเสร็จและปรากฏสถานะว่า “ไม่ได้รับสิทธิ์” ก็สามารถยื่นขอทบทวนสิทธิ์ได้

17. ทำไมต้องให้ประชาชนลงทะเบียนทบทวนสิทธิ์ รัฐบาลต้องการถ่วงเวลาหรือไม่

ตอบ ขณะนี้กระทรวงการคลังได้เปิดให้กลุ่มผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) และประสงค์จะขอทบทวนสิทธิ์ สามารถยื่นขอทบทวนสิทธิ์ได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ เข้าสู่กระบวนการพิจารณาการจัดสรรเงินเยียวยาใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในการทบทวนสิทธิ์จะมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อยืนยันตัวตนและความเดือดร้อนของผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ด้วย เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาให้สิทธิ์รับเงินเยียวยาต่อไป โดยจะมีการกำหนดกลไกและวิธีการดำเนินการทบทวนสิทธิ์ไว้อย่างชัดเจน สามารถดำเนินการได้จริง และไม่ได้เป็นการถ่วงเวลาแต่อย่างใด ซึ่งในช่วงที่ผ่านมากระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองเพื่อให้เงินถึงมือทุกคนที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว

18. เหตุใดจึงไม่มีการจ่ายเงินในช่วงวันเสาร์และอาทิตย์ ?

ตอบ ตั้งแต่มีการเปิดรับลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามเร่งกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองผู้ลงทะเบียนกว่า 27 ล้านคน เพื่อให้เงินเยียวยาถึงมือทุกคนที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วที่สุด โดยตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2563 เป็นต้นมา กระทรวงการคลังได้มีการจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท ต่อเนื่องทุกวันยกเว้นวันหยุดราชการ การที่ไม่สามารถโอนเงินเยียวยาได้ในวันหยุดราชการมิใช่สาเหตุมาจากการดำเนินงานของระบบราชการ แต่เนื่องจากการโอนเงินมาตรการเยียวยา 5000 (3 เดือน) ดำเนินการผ่านระบบโอนเงินเข้าบัญชีระหว่างธนาคารอัตโนมัติซึ่งดำเนินการเฉพาะในวันทำการธนาคาร

19. สังเกตว่าผู้ลงทะเบียนในลำดับหลัง ๆ กลับได้การตอบรับว่าผ่านเกณฑ์ ในขณะที่เราซึ่งเป็นผู้ลงทะเบียนในวันแรกๆ เมื่อเข้าไปตรวจสถานะแล้ว กลับพบว่า “กำลังตรวจสอบข้อมูล” เป็นเพราะเหตุใด

ตอบ การตรวจสอบและคัดกรองผู้ลงทะเบียนแต่ละคน จะใช้ระยะเวลามากน้อยไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ถูกต้องของข้อมูลตามบัตรประชาชนของผู้ลงทะเบียน การประกอบอาชีพที่ผู้ลงทะเบียนได้ระบุ ซึ่งต้องนำไปตรวจสอบข้อมูลกับฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้มั่นใจว่างบประมาณของแผ่นดินที่รัฐบาลได้จัดสรรมาจะตกถึงมือผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ระบบจะแจ้งผลการตรวจสอบสิทธิ์ผ่านทาง SMS ไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือและอีเมลที่ท่านลงทะเบียนโดยเร็วที่สุด หรือสามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนของท่านได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com

20. ตามข่าวที่มีออกมาว่ากระทรวงการคลังมีงบประมาณเรื่องเงินเยียวยา 5 พัน จ่ายได้สำหรับคนจำนวน 9 ล้านคน เท่านั้น ฉะนั้นแม้ว่าจะให้มีการทบทวนสิทธิ์ ยังไงก็ไม่ได้ได้ทุกคนใช่หรือไม่

ตอบ ในการดำเนินมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) กระทรวงการคลังได้มีการประมาณการจำนวนผู้มีสิทธิ์ไว้เบื้องต้นแล้ว อย่างไรก็ดี การดำเนินการตรวจสอบและคัดกรองผู้มีสิทธิ์ยังไม่แล้วเสร็จ จึงยังไม่อาจสรุปตัวเลขผู้มีสิทธิ์ได้ ซึ่งหากมีจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ที่เป็นกลุ่มแรงงาน ลูกจ้าง หรืออาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 โดยตรงมีจำนวนมากกว่าที่กระทรวงการคลังประมาณการไว้ รัฐบาลก็พร้อมจะจัดสรรเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและให้เกิดความครอบคลุมมากที่สุด