เศรษฐกิจเอเชีย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 09 Jun 2023 07:50:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 OECD มองเศรษฐกิจ “เอเชียยังสดใส” และ ‘อินเดีย’ โตแซง ‘จีน’ ในปีนี้และปีหน้า https://positioningmag.com/1433622 Fri, 09 Jun 2023 07:34:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433622 ถือเป็นอีกประเทศที่โดดเด่นในภูมิภาคเอเชียสำหรับ อินเดีย โดยจากการคาดการณ์ของ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD มองว่า เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียยังคงสดใสเมื่อเทียบกับทั่วโลก และอินเดีย จะมีการเติบโตที่แข็งแรงแซงหน้า จีน

ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุดโดย OECD คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวลงอีก โดยรวมแล้วการเติบโตทั่วโลกอาจอยู่ที่ 2.7% ในปีนี้ ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเติบโตที่ ต่ำที่สุดเป็นอันดับสอง นับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลก ยกเว้นในปี 2020 ที่มีการระบาดใหญ่ของโควิด

แต่ตลาด เอเชีย จะยังคงสดใสเนื่องจาก อัตราเงินเฟ้อ ในภูมิภาคที่ยังคง ค่อนข้างอ่อน และการเปิดประเทศอีกครั้งของ จีน จะช่วยเพิ่มอุปสงค์ของภูมิภาคให้มากขึ้น สำหรับประเทศที่น่าจับตาในภูมิภาคคือ อินเดีย ที่คาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะ แซงหน้า จีนในปีนี้และปีหน้า

โดย อินเดีย จีน และอินโดนีเซีย คาดว่าจะมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศสูงสุดในปี 2023 และ 2024 โดยคาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจอินเดียจะเติบโต 6% จีนเติบโต 5.4% และ อินโดนีเซียเติบโต 4.7% ส่วนประเทศ ญี่ปุ่น คาดว่าจะเติบโตที่ 1.3% โดยได้แรงหนุนจากการสนับสนุนจากนโยบายการคลัง

“เนื่องจากราคาพลังงานและอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่เริ่มลดลง ปัญหาคอขวดของอุปทานที่เริ่มบรรเทาลง และการเปิดเศรษฐกิจของจีนอีกครั้ง ควบคู่ไปกับการจ้างงานที่แข็งแกร่งและการเงินครัวเรือนที่ค่อนข้างฟื้นตัว ทำให้ตลาดเอเชียมีแนวโน้มที่จะสดใสกว่าทั่วโลก” แคลร์ ลอมบาร์เดลลี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ OECD กล่าว

สำหรับการเติบโตของอินเดียนั้นมีแนวโน้มบวกตั้งเเต่ปี 2022 ต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้ หลังจากผลผลิตภาคเกษตรสูงเกินคาดและการใช้จ่ายภาครัฐที่แข็งแกร่ง และในปีหน้ามีความเป็นไปได้ว่าจะมีนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายซึ่งจะยิ่งช่วยให้โมเมนตัมการใช้จ่ายของครัวเรือนกลับมา นอกจากนี้ยังคาดว่าธนาคารกลางของอินเดียจะหันมาใช้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเล็กน้อยตั้งแต่กลางปี ​2024

ทั้งนี้ รายงานเสริมได้มีการคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD จะลดลงเหลือ 6.6% ในปีนี้ หลังจากสูงสุดที่ 9.4% ในปี 2022 

Source

]]>
1433622
ยอดขาย “สมาร์ทโฟน” ใน “อินเดีย” ไตรมาสแรก สะท้อนเศรษฐกิจเหลื่อมล้ำหลังโควิด-19 https://positioningmag.com/1429664 Mon, 08 May 2023 05:58:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1429664 สัญญาณเศรษฐกิจ “อินเดีย” อ่านได้จากยอดขาย “สมาร์ทโฟน” ไตรมาสแรก 2023 จำนวนเครื่องขายลดลง แต่ในกลุ่มตลาดพรีเมียมกลับเติบโตเป็นเกือบเท่าตัว สะท้อนเศรษฐกิจเหลื่อมล้ำหลังผ่านโควิด-19 โดยแบรนด์สมาร์ทโฟนที่รับอานิสงส์เต็มๆ คือ Apple และ Samsung

ตัวเลขยอดขาย “สมาร์ทโฟน” ในอินเดียตกลงต่ำสุดในรอบ 4 ปี จากข้อมูลของบริษัทวิจัย International Data Corporation (IDC) พบว่า การส่งมอบสมาร์ทโฟนในอินเดียไตรมาสแรกปี 2023 มีทั้งหมด 31 ล้านเครื่อง ซึ่งต่ำลง 16% จากช่วงเดียวกันของปี 2022

IDC มองว่า ดีมานด์ที่ชะลอตัวเกิดจากการคาดการณ์เศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนในอนาคตข้างหน้า และสต็อกเครื่องสมาร์ทโฟนยังสูง

บริษัทยังคาดการณ์ด้วยว่าตลาดสมาร์ทโฟนอินเดียปีนี้ทั้งปีน่าจะทรงตัว หลังจากยอดขายสมาร์ทโฟนต่ำลงต่อเนื่องมาสามไตรมาส

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองเห็นว่าในวิกฤตมีผู้ชนะอยู่ เพราะในอินเดียเกิดเทรนด์ “ซื้อของที่พรีเมียมขึ้น” ในหมู่ผู้บริโภคที่ค่อนข้างร่ำรวย มีเทรนด์ที่จะขยับไปใช้สินค้าที่แพงกว่าเดิม

“ส่วนแบ่งของกลุ่มตลาดพรีเมียมเกือบจะโตเป็นเท่าตัวในไตรมาสแรกปีนี้” Prachir Singh นักวิเคราะห์จากบริษัทวิจัยตลาดเทคโนโลยี Counterpoint กล่าว

นั่นทำให้แบรนด์อย่าง Apple และ Samsung ได้ประโยชน์จากเทรนด์ดังกล่าว ขณะที่สมาร์ทโฟนราคาถูกอย่างแบรนด์ Xiaomi และ Realme จะได้รับปัจจัยลบมากกว่าจากสภาพเศรษฐกิจขณะนี้

ตลาดสมาร์ทโฟนราคาถูกรับผลกระทบ เพราะลูกค้าในกลุ่มนี้พยายามใช้สมาร์ทโฟนของตนเองให้นานขึ้นกว่าที่จะเปลี่ยนเครื่องใหม่

การเติบโตของ Apple เทียบกับการหดตัวของตลาดสมาร์ทโฟนราคาถูก เป็นภาพสะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอินเดียที่ไม่เท่าเทียมกัน

“การฟื้นตัวในรูปแบบ K-shape ทำให้ดีมานด์การบริโภคไม่ได้สูงขึ้นเป็นวงกว้าง และไม่ได้ช่วยให้ค่าแรงเติบโต โดยเฉพาะประชากรที่อยู่ในฐานครึ่งล่างของปีระมิด” India Ratings and Research ให้ความเห็น “ผลก็คือ ขณะที่มีดีมานด์เห็นได้ชัดในกลุ่มยานยนต์ไฮเอนด์ สมาร์ทโฟนระดับบน และสินค้าลักชัวรีต่างๆ ในทางกลับกัน ดีมานด์สำหรับสินค้ากลุ่มแมสยังคงชะลอตัว”

ในกลุ่มตลาดชนบทของอินเดียยังได้รับผลกระทบจากภาวะการเปลี่ยนแปลงทางอากาศอย่างรุนแรง (extreme weather) เข้าซ้ำเติมอีกด้วย ทำให้ความต้องการสินค้าบริโภคทั่วไป เช่น ขนม น้ำอัดลม ก็เริ่มตกลงเช่นกัน

ภาพรวมเศรษฐกิจประเทศอินเดียไตรมาสแรกปี 2023 จึงเติบโตเพียง 4.1% จากเดิมที่อินเดียเป็นตลาดสำคัญที่จะเติบโตโดดเด่นในเอเชียปีนี้ เมื่อตัวเลขไตรมาสแรกไม่ดีดังคาด ทั้งปีนี้อินเดียจะเติบโตได้เท่าไหร่

Source

]]>
1429664
ครั้งแรกในรอบ 3 ทศวรรษที่เศรษฐกิจ “ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย” จะโตเร็วกว่า “จีน” https://positioningmag.com/1401440 Fri, 23 Sep 2022 04:08:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401440 ธนาคาร ADB ประเมินการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่ม “ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย” ไม่รวมจีน ปี 2022-23 น่าจะเติบโต 5.3% ขณะที่เศรษฐกิจ “จีน” ปีนี้น่าจะเติบโตเพียง 3.3% ทำให้เป็นปีแรกในรอบ 3 ทศวรรษที่ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียอื่นๆ จะโตได้เร็วกว่าจีน

ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย และพบว่าปีนี้น่าจะเป็นปีแรกในรอบ 3 ทศวรรษที่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ในเอเชียจะโตได้เร็วกว่าเศรษฐกิจแดนมังกร

ครั้งสุดท้ายที่ภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจในเอเชียเป็นเช่นนี้ต้องย้อนไปไกลถึงปี 1990 ซึ่งปีนั้น “จีน” เติบโตช้าลงเหลือ 3.9% ขณะที่จีดีพีของประเทศกำลังพัฒนาอื่นในเอเชียโตถึง 6.9%

สำหรับปี 2022 ธนาคาร ADB คาดว่า ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียไม่รวมจีน น่าจะเติบโต 5.3% ขณะที่เศรษฐกิจจีนปีนี้น่าจะเติบโตเพียง 3.3%

ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทยนั้น ADB ยังคงคาดการณ์การเติบโตของจีดีพีไว้ที่ 2.9% เท่ากับที่ประเมินรอบก่อนในเดือนกรกฎาคม

อย่างไรก็ตาม ADB ลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งสองกลุ่มลงเมื่อเทียบกับที่เคยประเมินในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น จีน เคยคาดการณ์ว่าจะโตได้ 5% จากนั้นลดเหลือ 4% และลดอีกเหลือ 3.3% ดังกล่าว ซึ่งเกิดจากสถานการณ์ล็อกดาวน์ตามนโยบาย Zero-Covid และปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์จีน รวมถึงดีมานด์จากต่างประเทศที่ลดลง

ADB ยังลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจจีนในปี 2023 จาก 4.8% เหลือ 4.5% ด้วย เพราะมองว่าการลงทุนในกาคการผลิตน่าจะยังคงลดลงต่อเนื่อง

แม้ว่าประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ดูจะเติบโตได้ดีกว่าจีน แต่ทั้งภูมิภาคก็ต้องเผชิญปัญหาเดียวกันที่ทำให้เศรษฐกิจทั้งหมดต่างเติบโตช้าลง

ปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อที่เกิดจากราคาพลังงานและราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศเริ่มขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะทำให้การค้าการลงทุนมีเงื่อนไขทางการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นไปด้วย

Source

]]>
1401440
สงครามรัสเซีย-ยูเครน: กลุ่มประเทศ “เอเชียแปซิฟิก” ใครได้-ใครเสียประโยชน์ทางเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1381001 Fri, 08 Apr 2022 06:46:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381001 แม้กลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิกจะอยู่ไกลห่างจาก “สงครามรัสเซีย-ยูเครน” ทำให้ไม่ได้รับผลทางตรงจากการสู้รบ แต่ในเชิงเศรษฐกิจ ราคาสินค้าที่พุ่งขึ้น การเป็นประเทศผู้ส่งออกอาวุธของรัสเซีย และนักท่องเที่ยวรัสเซีย ปัจจัยเหล่านี้ย่อมมีผลทั้งทางบวกและลบต่อกลุ่มประเทศ “เอเชียแปซิฟิก”

Economic Intelligence Unit (EIU) เปิดเผยรายงานผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นต่อประเทศใน “เอเชียแปซิฟิก” จากการทำสงครามรัสเซีย-ยูเครน มีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์จากการรบและการคว่ำบาตร

โดยพื้นฐานแล้ว ทั้งรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตและส่งอออกสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะ “ปุ๋ย” “ธัญพืช/ข้าวสาลี” “น้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติ/ถ่านหิน” และ “แร่ธาตุ เช่น นิกเกิล”

ขณะที่เฉพาะประเทศรัสเซีย เป็นประเทศผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ของโลก และด้วยจำนวนประชากรทำให้ปกติแล้วจะมีนักท่องเที่ยวรัสเซียเดินทางไปยังเอเชียแปซิฟิกจำนวนมาก

ข้าวสาลี
ทั้งรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีและธัญพืชรายใหญ่

ผลที่เกิดขึ้นทันทีหลังสงครามปะทุคือราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าวพุ่งสูงขึ้น ซึ่งทำให้บางประเทศในเอเชียที่นำเข้าสินค้าเหล่านั้นทั้งทางตรงและทางอ้อมต้องรับภาระต้นทุน โดยกลุ่มประเทศที่รับภาระราคาปุ๋ย ได้แก่ ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ส่วนประเทศเอเชียตะวันออกที่เป็นแหล่งผลิตชิป ก็จะต้องรับภาระต้นทุนแร่ธาตุที่ใช้ผลิต

ขณะที่บางประเทศซึ่งเป็นผู้ส่งออกสินค้าประเภทเดียวกับรัสเซีย-ยูเครนจะได้อานิสงส์จากราคาที่ดีขึ้น และยอดส่งออกที่ดีจากการหาซัพพลายทดแทนจากประเทศอื่น เนื่องจากการคว่ำบาตรรัสเซีย

ด้านประเทศที่พึ่งพิงอาวุธจากรัสเซียอาจจะขาดแคลนซัพพลาย หากเลือกร่วมคว่ำบาตรรัสเซียด้วย และประเทศที่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวรัสเซียก็จะได้รับผลกระทบเพราะค่าเงินรูเบิลตกต่ำทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางลำบากขึ้น

 

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่ง ใครได้-ใครเสีย

อัปเดตราคาล่าสุดของสินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ราคาข้าวสาลี (ตลาดฟิวเจอร์ส) พุ่งขึ้น 65% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน และราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ตลาดฟิวเจอร์ส) พุ่งขึ้น 40% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน รวมถึงราคานิกเกิลที่ทะยานอย่างรุนแรงเพราะรัสเซียคือผู้ผลิตนิกเกิลที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก

“ประเทศที่ได้ประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูง”
  • ผู้ส่งออกถ่านหิน: ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย, มองโกเลีย
  • ผู้ส่งออกน้ำมันดิบ: มาเลเซีย, บรูไน
  • ผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติ: ออสเตรเลีย, มาเลเซีย, ปาปัวนิวกินี
  • ผู้ส่งออกนิกเกิล: อินโดนีเซีย, นิวคาลิโดเนีย
  • ผู้ส่งออกข้าวสาลี: ออสเตรเลีย, อินเดีย
บางประเทศในเอเชียแปซิฟิกกลับได้รับประโยชน์จากสงคราม เพราะเป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทเดียวกับรัสเซีย-ยูเครน เช่น น้ำมันดิบ (Photo : Shutterstock)
“ประเทศที่เสียประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูง” (*เปอร์เซ็นต์ที่ปรากฏคือสัดส่วนการนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากประเทศรัสเซียหรือยูเครน)
  • ปุ๋ย: อินโดนีเซีย (มากกว่า 15%), เวียดนาม (มากกว่า 10%), ไทย (มากกว่า 10%), มาเลเซีย (ประมาณ 10%), อินเดีย (มากกว่า 6%), บังกลาเทศ (ประมาณ 5%), เมียนมา (ประมาณ 3%), ศรีลังกา (ประมาณ 2%)
  • ธัญพืชจากรัสเซีย: ปากีสถาน (ประมาณ 40%), ศรีลังกา (มากกว่า 30%), บังกลาเทศ (มากกว่า 20%), เวียดนาม (เกือบ 10%), ไทย (ประมาณ 5%), ฟิลิปปินส์ (ประมาณ 5%), อินโดนีเซีย (น้อยกว่า 5%), เมียนมา (น้อยกว่า 5%), มาเลเซีย (น้อยกว่า 5%)
  • ธัญพืชจากยูเครน: ปากีสถาน (ประมาณ 40%), อินโดนีเซีย (มากกว่า 20%), บังกลาเทศ (เกือบ 20%), ไทย (มากกว่า 10%), เมียนมา (มากกว่า 10%), ศรีลังกา (เกือบ 10%), เวียดนาม (น้อยกว่า 5%), ฟิลิปปินส์ (ประมาณ 5%), มาเลเซีย (ประมาณ 5%)
ราคา “ปุ๋ย” ที่แพงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อหลายประเทศในเอเชียแปซิฟิก มีผลต่อเนื่องต่อราคาพืชผลการเกษตร

 

หากคว่ำบาตรอาวุธรัสเซีย กระทบใคร?

EIU ระบุว่า รัสเซียเป็นผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก และเป็นผู้ส่งออกหลักให้กับจีน อินเดีย และเวียดนามในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา

“การคว่ำบาตรทั่วโลกต่อบริษัทขายอาวุธของรัสเซีย จะทำให้ประเทศเอเชียไม่สามารถเข้าถึงอาวุธเหล่านี้ได้” รายงานฉบับดังกล่าวระบุ อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ผลิตอาวุธอื่นๆ ก็จะได้ประโยชน์ รวมถึงผู้ผลิตภายในประเทศนั้นๆ เองด้วย

“ประเทศที่พึ่งพิงอาวุธรัสเซียมากที่สุด” (ช่วงปี 2000-2020 เปอร์เซ็นต์แสดงสัดส่วนที่นำเข้าจากรัสเซีย)

มองโกเลีย (ประมาณ 100%), เวียดนาม (มากกว่า 80%), จีน (เกือบ 80%), อินเดีย (มากกว่า 60%), ลาว (มากกว่า 40%), เมียนมา (ประมาณ 40%), มาเลเซีย (มากกว่า 20%), อินโดนีเซีย (มากกว่า 10%), บังกลาเทศ (มากกว่า 10%), เนปาล (มากกว่า 10%), ปากีสถาน (น้อยกว่า 10%)

 

เมื่อนักท่องเที่ยวรัสเซียขาดแคลน

แม้ว่าน่านฟ้าเอเชียยังเปิดให้สายการบินรัสเซียบินผ่านได้ตามปกติ แต่นักท่องเที่ยวรัสเซียอาจจะบินออกนอกประเทศน้อยลง

“ความต้องการของคนรัสเซียที่จะเดินทางน่าจะได้รับผลกระทบจากการดิสรัปต์เศรษฐกิจ ค่าเงินรูเบิลตกต่ำ และการถอนตัวของระบบชำระเงินสากลจากรัสเซีย” EIU ระบุ

รัสเซีย เศรษฐกิจ เอเชีย
(Photo: Shutterstock)

รัสเซียถูกตัดออกจากระบบ SWIFT ระบบการเงินที่เชื่อมโยง 200 ประเทศทั่วโลกไปแล้ว ขณะที่ค่าเงินรูเบิลต่ำลงเกือบ 30% เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่สงครามปะทุขึ้น แม้ว่าเงินรูเบิลจะดีดกลับขึ้นมาแล้ว แต่ก็ยังต่ำกว่าราคาเมื่อต้นปีนี้ถึง 10%

ประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่จะได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนนักท่องเที่ยวรัสเซียมากที่สุดคือ “ไทย” เมื่อปี 2019 ประเทศไทยต้อนรับคนรัสเซียถึง 1.4 ล้านคน แต่นั่นก็คิดเป็นเพียง 4% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่มาเยือนไทยในปี 2019

สำหรับอันดับ 2 ในเอเชียที่คนรัสเซียไปเยือนมากที่สุดคือ เวียดนาม รองมาอันดับ 3 คือ อินโดนีเซีย อันดับ 4 ศรีลังกา และอันดับ 5 มัลดีฟส์

ในภาพรวม การขาดแคลนนักท่องเที่ยวรัสเซียอาจจะส่งผลไม่มากต่อเอเชียแปซิฟิก แต่ก็เป็นโอกาสที่น่าเสียดายของภูมิภาคนี้ เพราะนักท่องเที่ยวจีนยังออกนอกประเทศได้ยากตามนโยบายรัฐบาล ทำให้ภาคท่องเที่ยวในเอเชียแปซิฟิกต้องการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาติอื่นๆ เข้ามาแทน และคงคาดหวังกับชาวรัสเซียได้ยากยิ่งขึ้น

Source

]]>
1381001
โควิดฉุดการฟื้นตัว IMF ลดคาดการณ์ ‘เศรษฐกิจเอเชีย’ เหลือ 6.5% ไทยขยายตัวเเค่ 1% https://positioningmag.com/1357572 Wed, 20 Oct 2021 07:49:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1357572 IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจเอเชียปีนี้ เหลือ 6.5% หลังโควิดระลอกใหม่ ลุกลามในหลายประเทศสถานการณ์ยังน่าเป็นห่วง เเละการกระจายฉีดวัคซีนล่าช้าเป็นอุปสรรคใหญ่

รายงานล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าปี 2021 ตัวเลขเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียจะเติบโตที่ระดับ 6.5% ลดลงกว่าที่เคยคาดไว้เมื่อเดือนเมษายน ที่ 7.6%

ปัจจัยหลักๆมาจากยอดผู้ติดเชื้อที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา ซึ่งกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การบริโภค ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ผลผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม และแรงกดดันจากเงินเฟ้อ 

อย่างไรก็ตาม เอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในโลก โดย IMF ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจของเอเชียในปี 2022 จากเดิมที่ระดับ 5.3% มาอยู่ที่ 5.7% เนื่องจากประเมินว่าในเวลานั้นคงมีการกระจายวัคซีนโควิดเป็นวงกว้างเเล้ว

ปีที่ผ่านมา เหล่าประเทศในเอเชียค่อนข้างประสบความสำเร็จในการสกัดการเเพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ในปีนี้ หลายประเทศอย่าง อินเดีย มาเลเซีย ไทยและเวียดนาม ต้องต่อสู้กับการติดเชื้อจำนวนมาก อีกทั้งการฉีดวัคซีนยังเริ่มดำเนินการได้ช้า ดังนั้นการเข้าถึงวัคซีนจึงมีความสำคัญต่อความก้าวหน้าของเศรษฐกิจเอเชียเเละประเทศกำลังพัฒนา

สำหรับเศรษฐกิจจีนในปีนี้ คาดว่าจะมีการเติบโตราว 8.0% และ 5.6% ในปี 2022 แต่การฟื้นตัวยังไม่สมดุลนัก เพราะการระบาดของโควิดที่ยังไม่เเน่นอน บวกกับการคุมเข้มทางการคลัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริโภคภายในประเทศของจีน

Photo : Shutterstock

IMF ประเมินว่าเมียนมาจะมีการหดตัวของ GDP มากที่สุดถึง -17.9% ส่วนฟิลิปปินส์ลดลงมาอยู่ที่ 3.2% และมาเลเซียอยู่ที่ 3.5%

ขณะที่เศรษฐกิจไทย คาดว่าจะมีการขยายตัวที่ 1.0% ในปีนี้และ 4.5% ในปีหน้า ลดลงจากคาดการณ์เดิมในเดือนเมษายนที่ระดับ 2.6% และ 5.7% ตามลำดับ

“5 ประเทศอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ยังต้องเผชิญกับความท้าทายกับการระบาดหนักของโควิดระลอกใหม่ ทำให้การบริโภคในภาคบริการอ่อนแอลง

ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจสิงคโปร์ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 5.2% มาอยู่ที่ 6% เละเขตปกครองพิเศษฮ่องกง จะเพิ่มขึ้นจาก 4.3% มาอยู่ที่ 6.4%

อีกประเด็นสำคัญที่ต้องจับตามอง คือ IMF เตือนว่า การกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบปกติของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) อาจทำให้เกิดกระแสเงินทุนไหลออกจากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย และอาจทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น

 

ที่มา : CNBC , Reuters 

]]>
1357572
นักวิเคราะห์มอง ‘เศรษฐกิจเอเชีย’ อาจไม่ดีอย่างที่คาด หลังหลายประเทศเจอ COVID-19 รอบใหม่ https://positioningmag.com/1312140 Fri, 25 Dec 2020 10:07:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312140 เมื่อใกล้หมดปี 2020 นักลงทุนจำนวนมากมองว่า ‘เอเชีย’ เป็นภูมิภาคที่มีแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในปีหน้าเนื่องจากการควบคุมการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ค่อนข้างดี แต่การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในบางประเทศอาจทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจของภูมิภาคอาจลดลง เพราะต้องต่อสู้กับการระบาดของ COVID-19 รอบสอง

บางประเทศกำลังต่อสู้กับการสถานการณ์ที่เลวร้ายยิ่งกว่าที่เกิดการระบาดครั้งแรก แม้แต่ดินแดนที่ประสบความสำเร็จครั้งใหญ่ในการควบคุมการระบาดก็หนีการระบาดรอบสองไม่พ้น อาทิ ‘ไต้หวัน’ ที่พบผู้ติดเชื้ออีกครั้ง นับตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน ซึ่งเป็นการตอกย้ำถึงความยากลำบากในการกำจัด COVID-19

“สำหรับยักษ์ใหญ่ในเอเชียบางรายความหายนะของ COVID -19 ในปีนี้ไม่น่าจะดีขึ้นภายในปีนี้” บริษัท วิจัย Pantheon Macroeconomics กล่าว

อย่างประเทศ ‘ญี่ปุ่น’ ที่ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ยืนยันแล้วสะสม 207,007 รายและผู้เสียชีวิต 2,941 ราย โดยจำนวนผู้ติดเชื้อในญี่ปุ่นเริ่มเพิ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเจอผู้ติดเชื้อทะลุ 3,000 รายเป็นครั้งแรก ส่งผลให้กลุ่มแพทย์ในประเทศเตือนว่าระบบการดูแลสุขภาพกำลังจะอยู่ในขั้นวิกฤต แต่นายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ สุงะของญี่ปุ่นก็ยังไม่ประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ แม้ว่าเขาจะบอกว่าจะระงับโครงการที่สนับสนุนให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อชะลอการแพร่กระจายของไวรัสก็ตาม

นักเศรษฐศาสตร์จาก Pantheon Macroeconomics เขียนไว้ในรายงานเมื่อวันพุธว่า มาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมที่ ‘ค่อนข้างอ่อน’ ของรัฐบาลญี่ปุ่นดูเหมือนจะไม่ได้ผลและอาจส่งผลให้มาตรการที่เข้มงวดขึ้นในอีกไม่กี่เดือน

“ด้วยเหตุนี้สถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศครั้งที่สองในต้นปีหน้าของญี่ปุ่นอาจเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสแรกของปี 2564”

ด้าน ‘เกาหลีใต้’ มีผู้ป่วยที่ยืนยันแล้วสะสม 53,533 รายและเสียชีวิต 756 ราย โดยเกาหลีใต้มีผู้ป่วยรายใหม่ถึงกว่า 1,000 ราย/วัน ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่เกิดการระบาด ทำให้เกาหลีใต้ออกมาตรการเข้มงวดมากขึ้นกว่าญี่ปุ่น ทั้งห้ามการรวมตัวกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปทั่วประเทศ และสั่งให้ปิดสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ลานสกีและสถานที่เล่นกีฬาฤดูหนาวอื่น ๆ ซึ่งการทำตามขั้นตอนดังกล่าวก็ต้องแลกกับความเสียหายทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้

ส่วน ‘มาเลเซีย’ มีจำนวนผู้ป่วยยืนยันแล้ว 98,737 รายและเสียชีวิต 444 ราย ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เริ่มเจอผู้ติดเชื้อรายใหม่ช่วงเดือนตุลาคม ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการปิดกั้นพื้นที่บางส่วนรอบใหม่ นักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทที่ปรึกษา Capital Economics กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาสนี้มีความเคลื่อนไหวน้อยลง โดยเฉพาะการลงทุนของภาคเอกชน

โดยข้อมูลการเคลื่อนไหวของ Google ชี้ให้เห็นว่าการเว้นระยะห่างทางสังคมยังคงเป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมต่าง ๆ แต่ส่วนอื่น ๆ ของเศรษฐกิจ เช่น การส่งออกยังคงดำเนินต่อไปได้อย่างแข็งแกร่ง ดังนั้นผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวมจากการระบาดครั้งล่าสุดน่าจะน้อยกว่าการระบาดครั้งก่อนหน้า

Source

]]>
1312140