เสื้อผ้าออนไลน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 12 Oct 2020 09:50:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แอปฯ จีน Shein ขึ้นแท่นอี-คอมเมิร์ซ “ซื้อเสื้อผ้า” อันดับ 2 ในใจกลุ่มวัยรุ่นอเมริกัน https://positioningmag.com/1301135 Mon, 12 Oct 2020 09:14:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301135 Shein อี-คอมเมิร์ซจากจีนเริ่มมาแรงในสหรัฐฯ ขึ้นมาเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายเสื้อผ้าออนไลน์อันดับ 2 ในใจผู้บริโภควัยรุ่นอเมริกัน รองจาก Amazon แม้จะยังห่างจากเบอร์ 1 อยู่มาก แต่สามารถแซงเจ้าถิ่นรายอื่นขึ้นมาได้เพราะ “ราคาถูก” และมีสินค้าใหม่เข้าวันละ 500 รายการ

Shein เป็นแพลตฟอร์มที่ก่อตั้งขึ้นในเมืองนานจิง ประเทศจีน เมื่่อปี 2008 ปัจจุบันกลายเป็นแพลตฟอร์มซื้อเสื้อผ้าออนไลน์ยอดนิยมอันดับ 2 ในหมู่วัยรุ่นอเมริกัน เป็นรองจาก Amazon ยักษ์ใหญ่อี-คอมเมิร์ซที่ขายสินค้าทุกประเภท

โดยบริษัทบริการทางการเงิน Piper Sandler ทำการสำรวจล่าสุดในกลุ่มผู้บริโภควัยรุ่นจำนวน 9,800 คนทั่วสหรัฐฯ มีค่าอายุเฉลี่ย 15.8 ปี ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามโดยเฉลี่ยมีรายได้ครอบครัว 67,500 เหรียญสหรัฐ ถือเป็นกลุ่มชนชั้นกลาง การสำรวจครั้งนี้พบว่า วัยรุ่นอเมริกัน 54% เลือก Amazon เป็นเบอร์ 1 ในใจเมื่อจะซื้อเสื้อผ้า ตามมาด้วยเบอร์ 2 คือ Shein ซึ่งมีผู้เลือก 5%

แม้ว่าจะยังห่างกับเจ้าตลาดอยู่มาก แต่น่าสนใจว่าแอปฯ จีนรายนี้เอาชนะแพลตฟอร์มแบรนด์อเมริกันรายอื่นที่อยู่มาก่อนได้ เช่น  Nike, PacSun, Urban Outfitters, Lululemon เป็นต้น นอกจากนี้ ถ้าวัดเฉพาะ “แบรนด์” เสื้อผ้าออนไลน์ Shein กลายเป็นแบรนด์เสื้อผ้าออนไลน์อันดับ 1 ที่วัยรุ่นอเมริกันเลือกสวมใส่ไปแล้ว

 

View this post on Instagram

 

A post shared by SHEIN.COM (@sheinofficial) on

Shein ใช้การทำตลาดผ่าน Instagram เป็นหลัก โดยมักจะรีโพสต์รูปจากอินฟลูเอนเซอร์ที่สวมใส่เสื้อผ้าของแบรนด์ ทำให้มีผู้ติดตามบัญชี Instagram กว่า 13.9 ล้านคน มีจุดขายหลักคือเสื้อผ้าที่ตามเทรนด์ได้อย่างรวดเร็ว มาพร้อมกับ “ราคาที่ถูกสุดๆ” ยกตัวอย่างเช่น เสื้อยืดผู้หญิงเริ่มต้นที่ 6 เหรียญ (ประมาณ 180 บาท) หรือเดรสผู้หญิงเริ่มต้นที่ 12 เหรียญ (ประมาณ 360 บาท)

คอนเซ็ปต์การทำธุรกิจของบริษัทนี้คือการขายสินค้าแบบฟาสต์แฟชั่นบนโลกออนไลน์เท่านั้น โดยไม่มีหน้าร้านเลย ยกเว้นตั้งร้านแบบ pop-up store เป็นครั้งคราวตามเมืองต่างๆ ความเป็นฟาสต์แฟชั่นทำให้ Shein จะเติมสินค้าใหม่ 500 รายการทุกวัน ทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกมหาศาลในการจับจ่ายไปใช้แต่งตัวตามเทรนด์ และยังทำราคาถูกสุดๆ เทียบกับเสื้อผ้าที่ขายในโลกตะวันตก จึงขายดีในหมู่วัยรุ่นรักการแต่งตัว

ตลาดต่างประเทศของ Shein ไม่ใช่แค่สหรัฐฯ เท่านั้น แต่มีการส่งสินค้าไปทั่วโลก (ในไทยก็มีบริการจัดส่งเช่นกัน)
อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคที่บริษัทมุ่งเน้นคือ ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง โดยบริษัททำรายได้ทั่วโลกเมื่อปี 2019 ที่ 2,830 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามข้อมูลที่บริษัทแจ้งบนบัญชี WeChat ของตนเอง

สำหรับตลาดประเทศไทย เท่าที่สืบย้อนได้นั้นแอปฯ Shein เริ่มยิงโฆษณาทำตลาดตั้งแต่ปี 2559 ช่วงแรกมีปัญหาหลักเรื่องการจัดส่งที่ต้องรอส่งจากประเทศจีน และผู้บริโภคบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าใช้เวลาส่งของนานหลายสัปดาห์ จนปีนี้เริ่มส่งรวดเร็วขึ้น แต่ยังติดปัญหาสินค้าคุณภาพ ‘ไม่ตรงปก’ เป็นบางชิ้น ทำให้อาจจะยังไม่ได้รับความนิยมเป็นวงกว้าง อย่างไรก็ตาม ยังเป็นแอปฯ ที่น่าจับตามอง เพราะบัญชี Instagram เวอร์ชันไทยของ Shein มีผู้ติดตาม 4.62 แสนคน ถือว่าไม่น้อยเหมือนกัน!

Source

]]>
1301135
ปรับรับลูกค้าเปลี่ยน “ช้อปเสื้อผ้าออนไลน์” มาเเรง H&M ตัดสินใจปิดสาขา 250 แห่งทั่วโลก https://positioningmag.com/1299764 Fri, 02 Oct 2020 09:14:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299764 กระเเสผู้บริโภคหันมาซื้อเสื้อผ้าออนไลน์กันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง COVID-19 เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ H&M ยักษ์ฟาสต์เเฟชั่นอันดับ 2 ของโลกจากสวีเดน ตัดสินใจปิดร้าน 250 สาขาทั่วโลก คิดเป็นกว่า 5% ของจำนวนร้านสาขาทั้งหมด 5,000 แห่ง

H&M เริ่มกลยุทธ์ปิดร้านเพิ่มขึ้นเปิดน้อยลงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่หันมาซื้อออนไลน์ ท่ามกลางการเเข่งขันของวงการค้าปลีกเสื้อผ้าเเฟชั่นที่ดุเดือด เเละยิ่งประสบปัญหาใหญ่ เพราะผลกำไรของปีนี้ต้องลดลงอย่างมาก จากการเเพร่ระบาดของ COVID-19

H&M ระบุในเเถลงการณ์ว่าลูกค้าเริ่มช้อปปิ้งทางออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆโดยในช่วงที่แบรนด์ต้องปิดสาขาชั่วคราวตามมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ ปรากฏว่า ยอดการสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ กลับพุ่งสูงขึ้นกว่า 80% เมื่อเทียบกับยอดขายของหน้าร้านตามปกติ

ยอดขายของบริษัทในไตรมาส 3 ตั้งแต่เดือนมิ..ถึงเดือนส.. เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้น หลังผ่านช่วงวิกฤต จากการที่สามารถเปิดร้านได้อีกครั้ง และการช้อปปิ้งออนไลน์ที่เติบโตและทำกำไรอย่างไรก็ตาม ยอดขายเดือนก.. ลดลง 5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว

ผลประกอบการในช่วง 9 เดือนจนถึงวันที่ 31 .. ของ H&M มีกำไรก่อนหักภาษีลดลงเหลือ 2.37 พันล้านโครนาสวีเดน (ราว 8.3 พันล้านบาท) ถือว่าดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

แม้ความท้าทายต่างๆ จะยังไม่สิ้นสุด แต่เราเชื่อว่าบริษัทได้ผ่านพ้นจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้ว และเราจะฟื้นตัวจากวิกฤตได้อย่างแข็งแกร่ง” Helena Helmersson ซีอีโอของ H&M กล่าว

H&M สาขาแมนฮัตตัน นิวยอร์ก (photo: Shutterstock)

โดยเเผนต่อไป H&M จะเพิ่มการลงทุนในส่วนดิจิทัลเพื่อรองรับผู้บริโภคทางออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนจะมีการปรับเเผนการดำเนินงานใหม่ ทั้งการลงทุน ค่าเช่า การจัดหาพนักงาน และการจัดหาเงินทุน 

กลุ่มสินค้าเเฟชั่น เริ่มมีการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยผู้นำฟาสต์เเฟชั่นอย่าง Inditex เจ้าของเเบรนด์ดังอย่าง Zara ก็สามารถพลิกกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง ในช่วงไตรมาส 2 โดยมียอดขายออนไลน์” ที่พุ่งกระฉุดกว่า 74% เป็นพระเอก บ่งชี้ว่าการปรับกลยุทธ์ของธุรกิจฟาสต์เเฟชั่น ที่ผสมทั้งออนไลน์เเละสาขาเข้าด้วยกันนั้นประสบความสำเร็จ

ช่วงที่ผ่านมา Inditex มีการ “ลดต้นทุน” ปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ถึง 21% รวมถึงการจัดการสินค้าคงคลัง เน้นการผลิตในสเปนเเละประเทศใกล้เคียง อีกทั้งยังตั้งเป้าจะปิดร้านค้าขนาดเล็กประมาณ 1,000-1,200 สาขาทั่วโลก ภายในช่วง 2 ปีนี้เพื่อโฟกัสเฉพาะสาขาใหญ่เท่านั้น เเละหันมาบุกออนไลน์อย่างเต็มสูบ

โดย Inditex ตั้งเป้าว่าจะทำยอดขายออนไลน์ให้เพิ่มขึ้นมากกว่า 25% ของยอดรวมภายในปี 2022 เมื่อเทียบกับ 14% ที่สามารถทำได้ในปี 2019

ไม่ใช่เเค่เจ้าใหญ่อย่าง H&M และ Inditex เท่านั้น ตอนนี้ค้าปลีกเเฟชั่นอย่าง American Eagle Outfitter (AEO) และ GameStop (GME) ก็เพิ่งประกาศแผนการปิดสาขาไปหลายร้อยแห่ง เนื่องจากกระเเสช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กระตุ้นให้เเบรนด์ต่างๆ ต้องรีบมาทุ่มลงทุนด้านดิจิทัลเเทนนั่นเอง

]]>
1299764