เอสซีจี แพคเกจจิ้ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 13 Jan 2021 05:49:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 SCGP ปิดดีลฮุบ Go-Pak ขยายฐานแพ็กเกจจิ้งอาหาร บุกตลาดโซนยุโรป อเมริกาเหนือ https://positioningmag.com/1313998 Wed, 13 Jan 2021 05:11:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313998 SCGP หรือ เอสซีจี แพคเกจจิ้ง ปิดดีลเข้าถือหุ้น 100% ใน GoPak หนึ่งในผู้นำการให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์อาหารแถบสหราชอาณาจักร ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ในเวียดนาม ขยายฐานลูกค้าในภาคธุรกิจบริการด้านอาหาร ผู้ค้าปลีก และค้าส่งในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับร้านอาหาร ร้านอาหารบริการด่วนในสหราชอาณาจักร ยุโรป อเมริกาเหนือ และช่วยเพิ่มศักยภาพการขยายฐานตลาดในอาเซียน 

ขยายฐานแพ็กเกจจิ้งอาหาร รองรับเมกะเทรนด์

วิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า

“SCGP ได้รุกขยายธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร (Foodservice Packaging) เพื่อเพิ่มศักยภาพขยายตลาดรองรับความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย และได้นำเสนอบรรจุภัณฑ์อาหารภายใต้แบรนด์ Fest อาทิ บรรจุภัณฑ์อาหาร, หลอดกระดาษ ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารที่มีความปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

โดยในปี 2561 ที่ผ่านมา SCGP ได้ขยายฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารในประเทศมาเลเซีย ด้วยการเข้าซื้อหุ้น Interpress Printers Sendirian Berhad (IPSB) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารที่ทำจากกระดาษที่ได้รับการรับรองระบบมาตรฐาน BRC Global Standard ระดับ AA ซึ่งเป็นมาตรฐานการรับรองคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารสูงสุด และมีฐานลูกค้าเป็นเครือข่ายร้านอาหารและบริษัทฟาสต์ฟู้ดในทวีปเอเชีย 

จากไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยผู้บริโภคมีความต้องการซื้ออาหารมารับประทานที่บ้านหรือที่ทำงานและใช้บริการจัดส่งอาหาร (Food Delivery) เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเมกะเทรนด์ที่มีผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร ประกอบกับแนวโน้มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในภูมิภาคอาเซียนปี 25622567 ที่คาดว่าจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 67% จะส่งผลดีต่อความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารเพิ่มขึ้น

เข้าฮุบ Go-Pak 100%

ล่าสุดเมื่อวันที่ 13  มกราคม 2564 SCGP ได้บรรลุผลสำเร็จในการเข้าถือหุ้100% ใน GoPak UK Limited (GoPak) ผู้ให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์อาหารในสหราชอาณาจักร ยุโรป และอเมริกาเหนือ ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองบริสตอล สหราชอาณาจักร และฐานการผลิตอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายตลาดและฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น

GoPak เป็นผู้จัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์อาหารที่หลากหลายกว่า 250 ประเภท อาทิ จาน ช้อนส้อม ถ้วย แก้ว ฯลฯ ที่ผลิตจากกระดาษ โพลิเมอร์ และวัสดุย่อยสลายได้อื่นๆ จากกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหาร 4,000 ล้านชิ้นต่อปี และจากเครือข่ายการจัดหาสินค้าทั่วโลก โดยมีฐานลูกค้าอยู่ในภาคธุรกิจบริการด้านอาหาร ผู้ค้าปลีกและค้าส่งในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับร้านอาหาร ร้านอาหารบริการด่วน ผู้ให้บริการจัดเลี้ยงนอกสถานที่

ในช่วงไตรมาส 4/2562 – ไตรมาส 3/2563 มีรายได้ 68.7 ล้านปอนด์ (ประมาณ 2,800 ล้านบาท) มีมูลค่าสินทรัพย์ 40.2 ล้านปอนด์ (ประมาณ 1,650 ล้านบาท)

“การลงทุนครั้งนี้จะเพิ่มศักยภาพและความแข็งแกร่งด้านการผลิตและการตลาดบรรจุภัณฑ์อาหาร เพื่อรองรับการขยายฐานลูกค้าใน สหราชอาณาจักร ยุโรป และอเมริกาเหนือ รวมถึงเพิ่มความสามารถในการนำเสนอโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์อาหารที่หลากหลายเพื่อขยายตลาดอาเซียน โดย SCGP จะนำความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์ในธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์กว่า 40 ปี เข้าไปเสริมสร้างธุรกิจของ GoPak ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น”

]]>
1313998
กางเเผน SCGP หลังระดมทุนใหญ่ เพิ่มกำลังผลิต-เร่งซื้อกิจการอาเซียน หวังปั้นรายได้ “เเสนล้าน” https://positioningmag.com/1303564 Thu, 29 Oct 2020 11:30:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303564 บิ๊กบรรจุภัณฑ์เอสซีจี แพคเกจจิ้ง” (SCGP) เร่งเกมรุก หลังระดมทุนขายหุ้น IPO 4.5 หมื่นล้าน ลุยตลาดอาเซียนเต็มสูบ หวังปั้มรายได้ปี 64 ทะลุ 1 เเสนล้าน รับสิ้นปีนี้ปิดดีลธุรกิจลูกฟูกในเวียดนามสำเร็จ พร้อมขยายกำลังการผลิต 4 โครงการ เเย้มจ่อฮุบธุรกิจกระดาษโพลิเมอร์ อีก 2-3 ดีลในอาเซียน  

SCGP เป็น 1 ใน 3 ธุรกิจหลักของ “ปูนซิเมนต์ไทย” ให้บริการโซลูชั่นด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในอาเซียนปัจจุบันมี 40 โรงงานใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย โดยมีส่วนแบ่งตลาดในภูมิภาคอาเซียน 36% เติบโตต่อเนื่องจากอานิสงส์ เดลิเวอรี่” ที่กำลังเฟื่องฟูในช่วงเเพร่ระบาดของ
COVID-19 ที่
ทำให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่

ตั้งเป้า ปี 64 ฟันรายได้ทะลุ 1 เเสนล้าน 

วิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริห คาดการณ์ถึงการเติบโตของธุรกิจในปี 2564 ในส่วนของ “รายได้” ว่าจะเติบโตสู่ระดับ 1 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีรายได้ราว 89,000 ล้านบาท

โดยมองว่ารายได้น่าจะเติบโตขึ้น เนื่องจากทยอยรับรู้รายได้จากโครงการขยายกำลังการผลิตที่จะกำลังเสร็จในปี 2564 และการเข้าซื้อกิจการที่จะแล้วในสิ้นปีนี้เเล้ว

“เราจะเน้นการเติบโตที่จะมาจากการขยายไปยังต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะใน 3 ประเทศหลัก อย่างอินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์”

วิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP)

กลยุทธ์หลัก ๆ ของ SCGP คือ มุ่งเน้นไปที่การขยายตลาดบรรจุภัณฑ์ สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค เพราะเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และมีความต้องการใช้อย่างสม่ำเสมอในทุกสภาวะเศรษฐกิจ พร้อมกับเดินหน้าขยายธุรกิจด้วยการควบรวมกิจการ หรือ Merger and Partnership (M&P) เพื่อขยายการเติบโต รองรับการบริโภคและเมกะเทรนด์ทางเศรษฐกิจในอาเซียน

ที่ผ่านมา SCGP มีการปรับโมเดลธุรกิจของ SCGP จากอุตสาหกรรมการผลิตสู่การเป็น Packaging Solutions Provider มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบ B2B B2B2C และ B2C เน้นเร่งขยายไลน์บรรจุภัณฑ์ให้ครบวงจรมากขึ้นตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน นำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด เป็นวัสดุที่รีไซเคิลได้กว่า 95%

สำหรับการลงทุนในอนาคต บริษัทคาดว่าจะใช้เงินลงทุนในแต่ละปี (CAPEX) ไม่ต่ำกว่าที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่เฉลี่ยปีละ 8,000-9,000 ล้านบาท อย่างปี 2563 บริษัทมีงบในส่วนนี้ 12,000 ล้านบาท ขณะที่โครงสร้างเงินทุนในอนาคต ตั้งเป้าจะควบคุมอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) ไม่ให้เกิน 1 เท่า จากปัจจุบันอยู่ที่ราว 0.4 เท่า

“เราตั้งงบฯ จะลงทุนซื้อกิจการและขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น มากกว่าปีนี้ที่จะใช้ราว 12,000 ล้านบาท เพราะดีมานด์ยังสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วง COVID-19 เเละต่อไป หากนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางได้ ก็ยิ่งหนุนให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์ต่างๆ เพิ่มขึ้นไปอีก” 

เร่งขยายกำลังผลิต – ซื้อกิจการในอาเซียน 

ปัจจุบัน SCGP ได้ทำการเจรจาและลงนามในสัญญาซื้อหุ้นกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (SOVI) ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกรายใหญ่ในเวียดนาม คาดว่าจะ “ปิดดีล” ได้ในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะสามารถรับรู้ส่วนแบ่งรายได้และกำไรเข้ามาได้ในช่วงไตรมาส 4/2563 โดย SOVI มีรายได้ราว 2,200 ล้านบาทต่อปี

“การควบรวมกิจการเป็นไปตามกลยุทธ์ของบริษัท ที่ต้องการขยายการลงทุนในอาเซียน พร้อมทั้งขยายฐานลูกค้าที่เป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค และเพิ่มขีดความสามารถการผลิตบรรจุภัณฑ์ขั้นปลาย เพื่อเสริมความเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในอาเซียน”

ผู้บริหาร SCGP เผยว่า ตอนนี้บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาเพื่อเข้าซื้อกิจการในกลุ่มธุรกิจกระดาษและโพลิเมอร์ อีกจำนวน 2-3 แห่ง ซึ่งจะมีการเปิดเผยรายละเอียดในเร็วๆ นี้ 

ขณะเดียวกัน บริษัทกำลังอยู่ระหว่างขยายกำลังผลิตอีก 4 โครงการ ใช้งบลงทุนรวมกว่า 8,200 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยแล้วเสร็จในปี 2563–2564 โดยเเบ่งงบลงทุนอย่างละเอียด ได้เเก่

1.เวียดนาม – ผลิตบรรจุภัณฑ์เเบบอ่อนตัว มีกำลังผลิตเพิ่ม 84 ล้านตารางเมตรต่อปี คิดเป็น 20% ของกำลังผลิตปัจจุบัน เงินลงทุน 543 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 3/2563

2.อินโดนีเซีย – ผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ มีกำลังการผลิตส่วนเพิ่ม 400,000 ตันต่อปี คิดเป็น 29% ของกำลังผลิตปัจจุบัน เงินลงทุน 1,735 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 1/2564

3.ฟิลิปปินส์ – ผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ มีกำลังการผลิตส่วนเพิ่ม 220,000 ตันต่อปี คิดเป็น 88% เงินลงทุน 5,388 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 2/2564

4.ไทย – ผลิตบรรจุภัณฑ์เเบบอ่อนตัว มีกำลังการผลิตส่วนเพิ่ม 53 ล้านตารางเมตรต่อปี คิดเป็น 14% ของกำลังผลิตปัจจุบัน เงินลงทุน 600 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 3/2564

SCGP ประเมินว่าหากโครงการทั้ง 4 แห่ง สามารถเดินเครื่องได้เต็มกำลังผลิต และบริษัทรับรู้ผลประกอบการแบบเต็มปี จะทำให้บริษัทมียอดรายได้จาก 4 โครงการนี้ประมาณ 9,000 ล้านบาทต่อปี

ราคาต่ำ IPO หลัง Q3/63 กำไรวูบ 9% 

ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น SCGP ที่ร่วงแตะ 34 บาท ต่ำกว่าราคา IPO ที่ 35 บาท หลังจากที่บริษัทรายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2563 โดยมีรายได้จากการขาย 23,287 ล้านบาท ลดลง 5% จากปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 1,335 ล้านบท ลดลง 9% จากปีก่อน และลดลง 30% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทั้งนี้ หากตัดรายการพิเศษ จะมีกำไรจากการดำเนินงาน 1,636 ล้านบาท ลดลง 4% จากปีก่อน

กุลเชฏฐ์ ธาราจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน SCGP เปิดเผยว่า ผลประกอบการไตรมาส 3/2563 ที่ลดลงจากไตรมาสก่อน ปัจจัยหนึ่งมาจากความกดดันจากสินค้าคงทนที่ชะลอตัวลง แต่ตอนนี้เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวบ้าง ประกอบกับสินค้าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กับสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศ เเละการชะลอตัวของบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ “เทศกาล” ซึ่งในไตรมาส 3 ชะลอตัวลงเพราะ COVID-19 เเต่คาดว่าช่วงไตรมาสสุดท้ายจะกลับมาได้ รวมถึงการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในสกุลรูเปียห์ อินโดนีเซียด้วย

ด้านผลประกอบการ 9 เดือน ที่ผ่านมา SCGP มีรายได้จากการขาย 69,190 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 4,971 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% จากปีก่อน

ทั้งนี้ บริษัทยังมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Greenshoe Option) อีก 169.13 ล้านหุ้น ซึ่งผู้ที่ดูแลอาจจะพิจารณาเข้าซื้อ โดยที่ราคาในการซื้อจะต้องไม่สูงกว่าราคา IPO ที่ 35 บาท โดยจะสิ้นสุดการซื้อเพื่อส่งมอบหุ้นที่จัดสรรเกิน ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2563

บริษัท ประเมินว่า หากได้รับการเข้าคำนวณในดัชนี MSCI Index และการได้รับการเข้าคำนวณใน SET 50 มีโอกาสที่จะทำให้บริษัทได้รับความสนใจจากนักลงทุนสถาบันต่างชาติเพิ่มมากขึ้น จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนการถือหุ้นจากนักลงทุนสถาบันต่างชาติอยู่ที่ 3%

 

 

]]>
1303564
อ่าน 8 ข้อ ทำความเข้าใจธุรกิจ “เอสซีจี แพคเกจจิ้ง” ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้น SCGP https://positioningmag.com/1298532 Thu, 24 Sep 2020 11:16:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298532 บิ๊กธุรกิจบรรจุภัณฑ์อย่าง บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP) เตรียมระดมทุนในตลาดหุ้นไทยวันแรกเดือน ต..นี้ เพื่อขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เคาะราคาเปิดขายหุ้น IPO ออกมาแล้วเบื้องต้นที่ 33.50-35.00 บาทต่อหุ้น เปิดให้จองซื้อในวันที่ 28 .. – 7 .. (ขึ้นอยู่กับประเภทของผู้จองซื้อ) คาดระดมทุนได้ 4.3-4.5 หมื่นล้านบาท ถือว่าเป็นหุ้นที่น่าจับตามองของปีนี้ ท่ามกลางตลาดที่กำลังซบเซา 

ช่วงนี้ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ หรือเเพ็กเกจจิ้งเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เมื่อเดลิเวอรี่เฟื่องฟูจากอานิสงส์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ อีกทั้งเทรนด์รักษ์โลกเเละการลดใช้พลาสติกที่กำลังเเพร่หลาย ก็สร้างความท้าทายให้เหล่าผู้ผลิตต้องปรับตัวขนานใหญ่ โดย SCGP ถือเป็นเจ้าใหญ่ที่ครองตลาดอาเซียนถึง 36%

Positioning ขอสรุปพื้นฐานธุรกิจ เเผนเเละกลยุทธ์การเติบโต รายละเอียดไทม์ไลน์ของหุ้น IPO เเละภาพรวมอุตฯ บรรจุภัณฑ์ในอาเซียน จากการแถลงของวิชาญ จิตร์ภักดี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้งเเละทีมผู้บริหาร เบื้องต้นไว้ดังนี้

อนาคต เเพ็กเกจจิ้ง “อาเซียน” 

ภาพรวมธุรกิจบรรจุภัณฑ์ทุกประเภทในภูมิภาคอาเซียน มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่ารวมกว่า 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2561 ซึ่งคาดว่าในช่วง 6 ปี (ปี 2561-2567) จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 6.1% หรือมีมูลค่าตลาดบรรจุภัณฑ์รวมอยู่ที่ 72,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567

อาเซียน ถือเป็นตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง โดยประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ มีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคนและมี 4 เมกะเทรนด์ที่จะส่งผลดีต่อปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ อย่าง

  • อัตราการบริโภคบรรจุภัณฑ์กระดาษและบรรจุภัณฑ์จากพอลิเมอร์ที่เพิ่มขึ้น
  • การเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรและไลฟ์สไตล์
  • ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่กำลังเติบโตเฉลี่ย 26% ต่อปี และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
  • การเติบโตของธุรกิจเดลิเวอรี่

ขณะเดียวกัน ปัจจัยหนุนของการเพิ่มขึ้นของประชากร “วัยหนุ่มสาวรายได้ปานกลาง” ในอาเซียน เช่น เวียดนาม ก็เป็นโอกาสสำคัญที่จะสร้างเเพ็กเกจจิ้งที่มีความเเตกต่างเเละเป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อมมากขึ้น

ส่องธุรกิจ SCGP

เอสซีจี เริ่มต้นธุรกิจเยื่อและกระดาษในปี 2518 ภายใต้บริษัท The Siam Pulp and Paper ช่วง 30 ปีแรก ทำกระดาษบรรจุภัณฑ์ เยื่อกระดาษ บรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูก กระดาษพิมพ์เขียน เริ่มขยายธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ไปในอาเซียน โดยประเทศเเรก ฟิลิปปินส์ จากนั้นช่วงปี 2549-2557 ขยายไปยังเวียดนามและอินโดนีเซีย ก่อนจะลงทุนลงทุนบรรจุภัณฑ์วัตถุดิบ Polymer เเละรีแบรนด์เป็น SCG Paper ในปี 2557

จากนั้นตั้งเเต่ปี 2558 ถึงปัจจุบันมีการรีแบรนด์อีกครั้ง จาก SCG Paper เป็น SCG Packaging ครองส่วนแบ่งในตลาดอาเซียน 36% มีบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดราว 120,000 รายการ มีลูกค้าราว 4,000 ราย ผลิตตั้งแต่กล่องกระดาษลูกฟูก กล่องพิมพ์เพื่อแสดงสินค้า ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว บรรจุภัณฑ์แบบคงรูป

โดยสินค้ายอดนิยมตอนนี้ คือ “กระดาษบรรจุภัณฑ์” (Packaging Paper) เเละ “ถุงกระดาษรีไซเคิล” สําหรับสินค้าอุปโภคบริโภค และถุงอุตสาหกรรม

ผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก 2563 มีรายได้จากการขายรวม 45,903 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอานิสงส์การเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ฟู้ดเดลิเวอรี่ อาหารส่งออก สินค้าอุปโภคบริโภคที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพและสุขอนามัย

ขณะที่ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (ปี 2559-62) มีรายได้จากการขายเติบโตเฉลี่ยปีละ 6.1% และมีกำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ยปีละ 15.2% ในปี 62 มีรายได้จากการขาย 8.9 หมื่นล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 5.89 พันล้านบาท ขณะที่ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีรายได้จากการขาย 4.59 หมื่นล้านบาท เติบโต 10.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 4.2 พันล้านบาท เติบโต 45.6% จากงวดปีก่อน

ด้านสัดส่วนรายได้จากยอดขายทั้งหมดของ SCGP จากข้อมูลครี่งปีเเรก 2563 เเบ่งเป็นตามประเทศ ได้เเก่ ไทย 52% ประเทศอื่นในอาเซียน (อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์) 28% เเละประเทศอื่นๆ 20% หากเเบ่งตามสายผลิตภัณฑ์ ได้เเก่ กระดาษบรรจุภัณฑ์ 51% ผลิตภัณฑ์ขั้นปลายน้ำ 33% เเละสายธุรกิจเยื่อกระดาษ 16% 

ขณะที่หากเเบ่งเป็นตามประเภทธุรกิจของบรรจุภัณฑ์ ได้เเก่ อาหารเเละเครื่องดื่ม 42% ธุรกิจอื่นๆ 31% สินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการจำหน่ายเร็ว (FMCG) อุปกรณ์เเละอิเลกทรอนิกส์ 13%

SCGP มีหน่วยงาน Inspired Studio ออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยมีนักออกแบบ 36 คน มีนักวิจัยและพัฒนา 90 คน  นักค้นคว้าและวิจัย 12 คนเเละพนักงานขายและบริการลูกค้า 500 คน ปัจจุบันได้จดทะเบียนสิทธิบัตรกับกระทรวงพาณิชย์ 66 รายการ

บุกอาเซียนเต็มสูบ 

กลยุทธ์ต่อไปของ SCGP หลักๆ จะเน้นไปที่การ “ขยายลงทุนอาเซียน” โดยในปี 2563 บริษัทได้ทำการเจรจาและลงนามในสัญญาซื้อหุ้นกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (SOVI) ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกรายใหญ่ในเวียดนาม เเละกำลังอยู่ระหว่างขยายกำลังผลิตอีก 4 โครงการใช้งบลงทุนรวมกว่า 8,200 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยแล้วเสร็จในปี 2563–2564 ทั้งนี้ SCGP มีโรงงานอยู่เเล้ว 40 แห่งใน 5 ประเทศอาเซียน คือ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์เเละมาเลเซีย 

โดยเเบ่งงบลงทุนอย่างละเอียด ได้เเก่

  • เวียดนาม – ขยายกำลังผลิตบรรจุภัณฑ์เเบบอ่อนตัว เงินลงทุน 543 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 3/2563
  • อินโดนีเซีย – ขยายกำลังผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ เงินลงทุน 1,735 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 1/2564
  • ฟิลิปปินส์ – ขยายกำลังผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ เงินลงทุน 5,388 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 2/2564
  • ไทย – ขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์เเบบอ่อนตัว เงินลงทุน 600 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 3/2564

ที่ผ่านมา SCGP มีการปรับโมเดลธุรกิจของ SCGP จากอุตสาหกรรมการผลิตสู่การเป็น Packaging Solutions Provider มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบ B2B B2B2C และ B2C เน้นเร่งขยายไลน์บรรจุภัณฑ์ให้ครบวงจรมากขึ้นตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน นำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด เป็นวัสดุที่รีไซเคิลได้กว่า 95%

ผู้บริหาร SCGP มองตลาดบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทยช่วงครึ่งปีหลังว่า จะยังคงมีการเติบโตท่ามกลางความท้าทายของภาวะเศรษฐกิจ โดยภาคธุรกิจต่างๆ เริ่มทยอยกลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง

“คาดว่าจะส่งผลดีต่อการอุปโภคและบริโภค โดยเฉพาะสินค้าอาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเพื่อการดูแลสุขภาพ เเต่กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมยานยนต์ จะยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวเนื่องจากเป็นสินค้าคงทนและมีมูลค่าสูง” 

เตรียมขึ้นเป็น SET50

ผู้บริหาร SCGP ระบุว่า การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ครั้งนี้จะนำเงินเพื่อขยายธุรกิจ ทั้งในรูปแบบการขยายกำลังการผลิต การร่วมทุน การเข้าซื้อกิจการ การชำระคืนเงินกู้ยืม และสำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ

“ประมาณการเบื้องต้นของมูลค่าตลาดของบริษัทจะอยู่ที่ราว 1.4 แสนล้านบาท มีความเป็นไปได้สูงที่จะเข้าไปอยู่ใน SET50 ตั้งแต่วันแรกๆ ที่จะเข้าเทรดตามกฎตลาดหลักทรัพย์” 

SCGP จะเป็นหุ้น IPO ที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ภายในเดือนต.ค.2563 ซึ่งจะมีการกำหนดราคาซื้อขายวันสุดท้าย วันที่ 8 ต.ค.ที่จะถึงนี้ โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และมีบล.ไทยพาณิชย์ บล.บัวหลวง เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย

เคาะ 33.50-35.00 บาท/หุ้น รายย่อยขั้นต่ำ 1,000 หุ้น 

โดยหุ้น SCGP จะจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม หมวด “บรรจุภัณฑ์” ซึ่งจะมีการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนใหม่ไม่เกิน 1,296.68 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นที่เสนอขายให้กับประชาชนทั่วไป (IPO) จำนวนไม่เกิน 1,127.55 ล้านหุ้น คิดเป็น 26.5% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมด ส่วนที่เหลือไม่เกิน 169.1 ล้านหุ้น จะเป็นการขายหุ้นส่วนเกิน (Green Shore)

วีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม กล่าวว่า ช่วงราคาเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ของ SCGP ที่กำหนดไว้ 33.50-35.00 บาท/หุ้น นับว่าเป็นระดับที่น่าพอใจ มี P/E ที่ราว 22-23 เท่า เชื่อว่าผลประกอบการของ SCGP ยังมีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นต่อไปในอนาคต

สำหรับช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้นสำหรับหุ้น IPO ของ SCGP กำหนดที่ 33.50 -35.00 บาทต่อหุ้นนี้ “นักลงทุนรายย่อย” ต้องจองซื้อที่ 35.00 บาทต่อหุ้น ขั้นต่ำที่ 1,000 หุ้น มูลค่า 35,000 บาท และหากช่วงกำหนดราคาซื้อขายวันสุดท้ายวันที่ 8 ต.ค. ต่ำกว่าราคา 35 บาท หรืออาจมีคนเข้ามาจองซื้อมากจนล้นก็จะไม่สามารถจัดสรรให้ได้เต็มจำนวน ซึ่งส่วนเกินดังกล่าวบริษัทจะมีการคืนเงินให้กับผู้จองซื้อหลังจากปิดการจำหน่ายแล้ว

นักลงทุนสถาบัน เซ็นสัญญาซื้อเเล้ว 60% 

การเสนอขายหุ้นของ SCGP ครั้งนี้ ได้รับความสนใจจาก “นักลงทุนสถาบัน” โดยมีกลุ่มนักลงทุนหลักแบบเฉพาะเจาะจง (Cornerstone Investors) จำนวน 18 ราย ได้ลงนามในสัญญา Cornerstone Placing Agreement รวมทั้งสิ้น 676.53 ล้านหุ้น หรือ ประมาณ 60% ของจำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอ IPO

ประกอบด้วย นักลงทุนสถาบันในประเทศ 14 รายรวมทั้งสิ้น 600 ล้านหุ้น ได้เเก่ 1.บลจ.บัวหลวง จำนวน 135 ล้านหุ้น 2.บลจ.กสิกรไทย จำนวน 135 ล้านหุ้น 3.บลจ.ไทยพาณิชย์ จำนวน 81 ล้านหุ้น 4.บลจ.เอ็มเอฟซี จำนวน 63 ล้านหุ้น 5.บลจ.ทิสโก้ จำนวน 42 ล้านหุ้น 6.บลจ.กรุงไทย จำนวน 37 ล้านหุ้น

7.บลจ.ยูโอบี(ประเทศไทย) จำนวน 26 ล้านหุ้น 8.บลจ.ธนชาต จำนวน 25 ล้านหุ้น 9.บมจ.ไทยประกันชีวิต จำนวน 13 ล้านหุ้น 10.บลจ.อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำนวน 11 ล้านหุ้น 11.บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต จำนวน 8 ล้านหุ้น 12.บลจ.พรินซิเพิล จำนวน 8 ล้านหุ้น 13.บลจ.ภัทร จำนวน 8 ล้านหุ้น 14.บลจ.วรรณ จำนวน 8 ล้านหุ้น

ส่วนที่เหลือ 4 รายเป็นนักลงทุนสถาบันต่างประเทศรวม 76.53 ล้านหุ้น คือ 1.Avanda Investment Management Pte Ltd จำนวน 27 ล้านหุ้น 2.NTAsian Discovery Master Fund จำนวน 23 ล้านหุ้น 3.Ghisallo Master Fund LP จำนวน 13.265 ล้านหุ้น 4. Tydor Systematic Tactical Trading LP จำนวน 13.265 ล้านหุ้น

เเละที่เหลืออีก 15% จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC ที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรหุ้น 15% และอีก 25% จัดสรรให้ผู้มีอุปการคุณของ SCGP และผู้ถือหุ้นกู้ของ SCC และลูกค้าของผู้จัดการจำหน่ายและการรับประกันรวมทั้งหมด 11 แห่ง

ระยะเวลาจองซื้อ

สำหรับกำหนดระยะเวลาจองซื้อของผู้จองซื้อแต่ละประเภท มีดังนี้

  • ผู้ถือหุ้น SCC, ผู้ถือหุ้น SCGP, ผู้มีอุปการคุณของ SCGP รวมถึงผู้ถือหุ้นกู้ SCC สามารถจองซื้อได้ในวันที่ 28 ก.ย.- 2 ต.ค.2563 (เฉพาะวันทำการ)
  • ผู้จองซื้อรายย่อย สามารถจองซื้อได้ในวันที่ 1,2 และ 5 ต.ค.2563 โดยจองซื้อขั้นต่ำที่ 1,000 หุ้น มูลค่า 35,000 บาท วิธีการจัดสรรจะเป็นลักษณะ Small Lot First ทุกคนจะได้หุ้นเพียงแต่จะแจกเป็นรอบๆ จนกระทั่งหุ้นหมด
  • บุคคลตามดุลพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ สามารถจองซื้อได้ในวันที่ 5-7 ต.ค. 2563

คาดระดมทุนได้ 4.3-4.5 หมื่นล้าน

กุลเชฏฐ์ ธาราจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน SCGP กล่าวว่า การระดมทุนครั้งนี้ จะได้เงินมาประมาณ 4.3-4.5 หมื่นล้านบาท (รวมหุ้นส่วนเกิน) โดยจำนวนเงิน 27,000 ล้านบาท หรือราว 60% ที่จะใช้ในการขยายการเติบโตของธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม บริษัทมีการเติบโตแบบ Organic ซึ่งได้ลงทุนรวมไปกว่า 8,200 ล้านบาท ในการขยาย 4 โครงการในประเทศอาเซียน ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ด้านความแข็งแกร่งทางการเงิน มีหนี้สินต่อทุน (D/E) อยู่ที่ 0.9 เท่า เมื่อได้เงินจากการระดมทุนครั้งนี้ จะใช้เงินบางส่วนในการลดอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน เพื่อให้งบการเงินมีความแข็งแกร่งที่จะเติบโตต่อไป ซึ่งบริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลขั้นต่ำ 20% ของกำไรสุทธิ

ในเมื่อธุรกิจเเพ็กเกจจิ้งมีเเนวโน้มจะเติบโตต่อเนื่อง เเต่อะไรคือความท้าทายของ SCGP กุลเชฏฐ์  ตอบว่า “ความท้าทายของธุรกิจเรา คือการหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนเร็ว ดังนั้นการปรับตัวขององค์กร ผู้บริหารเเละทีมงานให้ทัน จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำให้ได้ ” 

 

]]>
1298532
โควิด-ฟู้ดเดลิเวอรี่ ดัน “แพ็กเกจจิ้ง” บูม SCGP โกยรายได้ครึ่งปีแรก 4.6 หมื่นล้าน กำไรโต 40% https://positioningmag.com/1291060 Tue, 04 Aug 2020 10:02:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291060 รับอานิสงส์เดลิเวอรี่บูมช่วง COVID-19 ไปเต็มๆ “เอสซีจี แพคเกจจิ้ง” โกยรายได้ครึ่งปีแรก 45,903 ล้านบาท โต 11% กำไรสุทธิครึ่งปีแรก 3,636 ล้านบาท เติบโต 40% ดีมานด์บรรจุภัณฑ์กลุ่มอีคอมเมิร์ซ อาหาร สินค้าเพื่อสุขภาพพุ่ง เดินหน้าเเผนเข้าระดมทุนตลาดหลักทรัพย์ฯ

เเรงหนุน COVID-19 ทำดีมานด์บรรจุภัณฑ์พุ่ง

จากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทำให้ประชาชนบางส่วนปรับเปลี่ยนการทำงานเป็นแบบ Work from Home และปรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตสู่ New Normal ผู้คนเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ใส่ใจในสุขภาพและใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย รวมถึงสั่งซื้ออาหารมารับประทานที่บ้านมากขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้น ชดเชยกับความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์บางกลุ่มสินค้าที่ชะลอตัวลง เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

วิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวถึง ภาพรวมผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของบริษัทฯ ว่ามีอัตราการเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากแผนกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นแพ็กเกจจิ้งสำหรับ B2C และการขยายธุรกิจด้วยการควบรวมกิจการ (Merger & Partnership) แม้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 และมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ

นอกจากนี้ มีการปรับปรุงประสิทธิภาพของการผลิต การทำ Synergy ระหว่างโรงงานและการบริหารสัดส่วนการขายสินค้า จึงสามารถรักษาอัตรา EBITDA Margin (กำไรก่อนภาษี ดอกเบี้ย ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย) ไม่ให้ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ

โดยบริษัทมีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 45,903 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 11 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,636 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 40 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

สำหรับปัจจัยที่ SCGP เติบโตได้ดีในครึ่งปีแรก ส่วนใหญ่มาจากยอดขายบรรจุภัณฑ์สำหรับอีคอมเมิร์ซ ฟู้ดเดลิเวอรี่ ผลิตภัณฑ์อาหารส่งออก สินค้าอุปโภคบริโภคและกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ (Healthcare) ที่เติบโตอย่างมาก

ในช่วงที่ผ่านมา ผลประกอบการของบริษัท ได้ผลดีจากการควบรวมกิจการ หรือ Merger and Partnership (M&P) กับ PT Fajar Surya Wisesa Tbk ผู้นำธุรกิจบรรจุภัณฑ์รายใหญ่ในประเทศอินโดนีเซีย และบริษัทวีซี่ แพ็คเกจจิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อช่วงครึ่งปีหลังของปี 2562

มองธุรกิจ “แพ็กเกจจิ้ง” สดใสยาว ลุยต่ออาเซียน

ผู้บริหาร SCGP มองตลาดบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทยช่วงครึ่งปีหลังว่า จะยังคงมีการเติบโตท่ามกลางความท้าทายของภาวะเศรษฐกิจ โดยภาคธุรกิจต่างๆ เริ่มทยอยกลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง

“คาดว่าจะส่งผลดีต่อการอุปโภคและบริโภค โดยเฉพาะสินค้าอาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเพื่อการดูแลสุขภาพ เเต่กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมยานยนต์ จะยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวเนื่องจากเป็นสินค้าคงทนและมีมูลค่าสูง” 

ทั้งนี้ ภาพรวมธุรกิจบรรจุภัณฑ์ทุกประเภทในภูมิภาคอาเซียน มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่ารวมกว่า 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2561 ซึ่งคาดว่าในช่วง 6 ปี (ปี 2561-2567) จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 6.1% หรือมีมูลค่าตลาดบรรจุภัณฑ์รวมอยู่ที่ 72,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567

ส่วนแนวโน้มความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ใน “ภูมิภาคอาเซียน” อย่าง เวียดนาม คาดว่าจะได้รับผลบวกจากการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และรองเท้า จึงคาดว่าตลาดในประเทศเวียดนามจะยังคงมีอัตราการเติบโตที่ดี

สำหรับอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ คาดว่า ความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ในครึ่งปีหลังยังชะลอตัว เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และภาคอุตสาหกรรมยังไม่ฟื้นสู่ภาวะปกติ

โดย SCGP ยืนยันว่าจะเดินหน้าก่อสร้างเพื่อขยายกำลังการผลิต 4 โรงงานใน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ด้วยเงินลงทุนประมาณ 8,200 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2563-2564 และอยู่ระหว่างการเข้าซื้อกิจการโรงผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกในประเทศเวียดนาม ซึ่งหวังว่าจะช่วยเสริมธุรกิจเติบโตให้ในภูมิภาคอาเซียน และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้

สำหรับความคืบหน้าของการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น บริษัทได้รับอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้ว ตอนนี้จึงอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมและประเมินสถานการณ์ต่างๆ เช่น แนวโน้มเศรษฐกิจ ภาวะตลาดเงินตลาดทุน รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

 

 

]]>
1291060
ธุรกิจ “แพ็กเกจจิ้ง” โตตามเทรนด์รักษ์โลก-อีคอมเมิร์ซ SCGP ทุ่ม 7.6 พันล้านเพิ่มลงทุนอาเซียน https://positioningmag.com/1264118 Wed, 12 Feb 2020 18:27:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264118 เทรนด์รักษ์โลกเเละการลดใช้พลาสติกที่กำลังเเพร่หลายในขณะนี้ ทำให้บรรดาผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ หรือ “เเพ็กเกจจิ้ง” ต้องปรับตัวขนานใหญ่ เพื่อตอบสนองให้ทันความต้องการของผู้บริโภคที่ “ยอมจ่ายเพิ่ม” เพื่อให้ได้ใช้ของที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม

หากมองภาพรวมธุรกิจบรรจุภัณฑ์ทุกประเภทในภูมิภาคอาเซียน จะเห็นว่ามีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่ารวมกว่า 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2561 ซึ่งคาดว่าในช่วง 6 ปี (ปี 2561-2567) จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 6.1% หรือมีมูลค่าตลาดบรรจุภัณฑ์รวมอยู่ที่ 72,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567

SCG Packaging (SCGP) ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน ก็กำลังเตรียมเปิดระดมทุนในตลาดหุ้นภายในปีนี้ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)

วิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) มองว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอาเซียนกำลังเติบโตอย่างมากเฉลี่ย 26% ต่อปี และกลายเป็นเมกะเทรนด์ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ รวมถึงธุรกิจเดลิเวอรี่ จากปัจจัยหนุนการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยหนุ่มสาวที่มีรายได้ระดับปานกลางในไทย เวียดนาม อินโดนีเชีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นตลาดหลัก จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะสร้างเเพ็กเกจจิ้งที่มีความเเตกต่างเเละเป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม ด้วยโมเดล “Packaging Solutions” ใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน นำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด เป็นวัสดุที่รีไซเคิลได้กว่า 95%

“ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่ปกป้องสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือสำหรับส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของผลิตภัณฑ์ ทำให้สินค้ามีความน่าสนใจ ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับแบรนด์อีกด้วย”

วิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP

ทั้งนี้ SCGP มีบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดกว่า 120,000 รายการ มีลูกค้าราว 4,000 ราย ผลิตตั้งแต่กล่องกระดาษลูกฟูก กล่องพิมพ์เพื่อแสดงสินค้า ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว บรรจุภัณฑ์แบบคงรูป

เเละตอนนี้ “กระดาษบรรจุภัณฑ์” (Packaging Paper) เเละ “ถุงกระดาษรีไซเคิล” สําหรับสินค้าอุปโภคบริโภค และถุงอุตสาหกรรม กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก จากพฤติกรรมบริโภคที่มีความต้องการที่หลากหลายและเติบโตเร็ว เช่น ธุรกิจกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่หมุนเวียนอย่างรวดเร็ว (Fast-Moving Consumer Goods หรือ “FMCG”) ธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ส่วนการรณรงค์ลดใช้พลาสติกนั้น ผู้บริหาร SCGP บอกว่าทำให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์เเบบ single-use “ใช้ครั้งเดียวทิ้ง” ลดลงเเละมีความต้องการบรรจุภัณฑ์เเปรรูปมากขึ้น อีกมุมที่น่าสนใจคือเมื่อคนทั่วไปไม่ได้นำถุงพลาสติกมาใช้ซ้ำเพื่อใส่ขยะในครัวเรือนเเล้ว ก็เป็นโอกาสธุรกิจของผู้ผลิต “ถุงใส่ขยะ” ที่จะทำออกมาขายมากขึ้นเช่นกัน

สำหรับ SCGP มีกำลังการผลิตแพ็กเกจจิ้งรวม 4 ล้านตัน กระดาษลูกฟูก 1.1 ล้านตันทำบรรจุภัณฑ์ให้หลายอุตสาหกรรม อย่างในซัพพลายเชนของธุรกิจที่มีการเติบโตสูง เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจค้าปลีก เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ความงามและสุขภาพ เป็นต้น

“แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตน้อยลง แต่คนก็ยังต้องซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเหมือนเดิม” 

ผู้บริหาร SCGP ยกตัวอย่างกลยุทธ์การนำ “Pain Point” ของผู้บริโภคมาต่อยอดการดีไซน์บรรจุภัณฑ์ของ “นมข้นหวานหลอดบีบ” ที่คนยอมจ่ายเเพงกว่าในปริมาณที่น้อยกว่าเเบบเดิมที่เป็น “กระป๋อง” เพราะต้องการความสะดวกสบาย ใช้ง่ายกินง่าย

โดย SCG Packaging ยังใช้กลยุทธ์ “ให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางเเละมองไกลกว่ากล่องกระดาษ” โดยมีทีมวิจัยความต้องการของตลาด หาสาเหตุของปัญหาเเละพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

บรรจุภัณฑ์ยุคใหม่ ทำหน้าที่ 4P

  • Protect เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องป้องกันสิ่งของที่อยู่ภายใน ไม่ให้ชำรุดหรือเสียหาย
  • Promote บรรจุภัณฑ์ต้องทำหน้าที่โฆษณาตัวเองได้ด้วย ต้องดึงดูดเเละสะดุดตาผู้ใช้เมื่ออยู่บนชั้นวาง
  • Preserve รักษาอาหารที่อยู่ข้างในให้คงสภาพได้นานที่สุด เช่นมีการนำ Polymer มาเป็นวัสดุหลักทำให้เก็บรักษาได้ 45 – 60 วัน
  • Perform มีความทันสมัยเป็น Smart Packaging ตรวจสอบข้อมูลสินค้าได้ผ่านคิวอาร์โค้ด เป็นต้น

“เเม้ว่ากระบวนการ Packaging Solutions จะมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า เเต่ลูกค้าก็ยอมลงทุนเพราะมองความยั่งยืนในธุรกิจระยะยาว” วิชาญระบุ

ทุ่ม 7.6 พันล้านขยายลงทุนอาเซียน

ล่าสุด SCGP เปิดเผยผลประกอบการปี 2562 ว่ามีรายได้จากการขาย 89,070 ล้านบาท และมีกำไร 5,268 ล้านบาท (ปี 2561 ยอดรายได้อยู่ที่ 87,255 ล้านบาท) สัดส่วนรายได้ส่วนใหญ่ 57% มาจากภายในประเทศ และอีก 43% มาจากประเทศในภูมิภาคอาเซียน เเบ่งเป็น เวียดนาม 12% อินโดนีเซีย 10% ฟิลิปปินส์ 4% มาเลเซีย 2% และประเทศอื่นๆ 15%

“เเผนหลักของ SCGP ในปี 2563 คือต้องการเพิ่มการลงทุนไปยังอาเซียนมากขึ้น ด้วยงบลงทุนกว่า 7,600 ล้านบาท เพราะเห็นโอกาสการเติบโตสูง เช่นที่เวียดนาม บรรจุภัณฑ์เเบบอ่อนตัว (Flexible Packaging) กำลังได้รับความนิยมมาก” 

ปี 2562 ที่ผ่านมาควบรวมกิจการและร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในภูมิภาค ด้วยเงินลงทุนกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท ปัจจุบัน SCG Packaging มีโรงงานกว่า 40 แห่งใน 5 ประเทศอาเซียน เเละปีนี้จะมีการลงทุน ดังนี้

  • เวียดนาม มูลค่าการลงทุน 600 ล้านบาท ในการสร้างโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว
  • ฟิลิปปินส์ มูลค่าการลงทุน 5,200 ล้านบาท ในด้านการเพิ่มเทคโนโลยีเครื่องจักร ตอนนี้กำลังการผลิตรวมกว่า 2.2 แสนตันต่อปี
  • อินโดนีเซีย มูลค่าการลงทุน 1,800 ล้านบาทในด้านการเพิ่มเทคโนโลยีเครื่องจักร ตอนนี้มีกำลังการผลิตรวม 4 แสนตันต่อปี

“ปัจจัยเสี่ยงปี 2563 เช่น ไวรัสโคโรนา (COVID-19) มองว่าเป็นความเสี่ยงระยะสั้น ส่วนภัยเเล้งที่อาจส่งผลต่อการผลิตกระดาษนั้นเห็นว่าบริษัทคงไม่ได้รับผลกระทบมากนักเพราะเป็นกระบวนการที่ใช้น้ำน้อย เช่นเดียวกับการแข็งค่าของเงินบาทที่บริษัทยังสามารถบริหารจัดการได้”

]]>
1264118