โรงพยาบาล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 01 Jul 2021 15:41:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เช็กเลย ! จังหวัดไหนบ้างที่ประกาศรับ ‘ผู้ป่วยโควิด’ กลับมารักษาตัวที่บ้านเกิด พร้อมเบอร์ติดต่อ https://positioningmag.com/1340112 Thu, 01 Jul 2021 13:26:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340112 เช็กเลย…จังหวัดไหนบ้างที่ประกาศรับ ‘ผู้ป่วยโควิด’ กลับมารักษาตัวที่ภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามพื้นที่) พร้อมเบอร์ติดต่อประสานงานการเดินทาง เพื่อลดการเเพร่เชื้อ

จากสถานการณ์โรคระบาดที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพฯ เเละปริมณฑลเริ่มขาดเเคลนเตียงในการรักษา สำนักงานสาธารณสุขในหลายจังหวัด จึงออกประกาศ ให้ประชาชนผู้ที่มีผลตรวจยืนยันพบเชื้อโควิด-19 ที่มีความประสงค์จะกลับมารักษาตัวในพื้นที่ภูมิลำเนา โดยต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามพื้นที่ สามารถติดต่อสายด่วนของจังหวัดนั้นๆ เพื่อประสานงานกับทีมเเพทย์ในการเดินทางได้

โดยรายชื่อจังหวัดที่รับผู้ป่วยโควิด ‘กลับบ้าน’ ได้เเก่

1. จังหวัดมหาสารคาม
เบอร์ติดต่อ : 096-3423450

2. จังหวัดกาฬสินธุ์
เบอร์ติดต่อ : 043-019760 ต่อ 120-130
(ทุกวัน 08.30-20.00 น.)

3. จังหวัดนครพนม
เบอร์ติดต่อ : 082-8498155 , 061-0992999

4. จังหวัดสิงห์บุรี
เบอร์ติดต่อ : 061-3902229

5. จังหวัดกำแพงเพชร
เบอร์ติดต่อ : 093-1118594

6. จังหวัดมุกดาหาร
เบอร์ติดต่อ : 042-614270 , 081-2055908

7. จังหวัดอุบลราชธานี
เบอร์ติดต่อ : 082-6489270 , 096-6932139 , 096-3961783
(จันทร์ถึงศุกร์ 08.30-20.30 น.)

8. จังหวัดสุรินทร์
เบอร์ติดต่อ : 044-513999 (ในเวลาราชการ) , 092-5995108 (ตลอด 24 ชม.)

9. จังหวัดสระแก้ว
เบอร์ติดต่อ : 098-2728734 , 081-0510074

10. จังหวัดพะเยา
เบอร์ติดต่อ : 054-409123 (เวลา 08.30-16.30 น.)

11. จังหวัดยโสธร
เบอร์ติดต่อ : 045-712233 , 045-712234

12. จังหวัดอุตรดิตถ์
เบอร์ติดต่อ : 095-3126690

13. จังหวัดเลย
เบอร์ติดต่อ : 042-862123 ต่อ 2709 , 062-1977501 , ไลน์ : Referloei

14. จังหวัดเพชรบูรณ์
เบอร์ติดต่อ : 091-025-3596

15. จังหวัดสกลนคร
เบอร์ติดต่อ : 093-3285264

16. จังหวัดศรีสะเกษ
เบอร์ติดต่อ : 065-2400691 , 065-240680 , 065-2400688

17. จังหวัดพิษณุโลก
เบอร์ติดต่อ : 055-241555-9 (ในเวลาราชการ) , 088-2752261, 088-2919271 , 088-2752217 (นอกเวลาราชการ)

18. จังหวัดขอนแก่น
เบอร์ติดต่อ : 099-1692254 , 081-2604433 , 094-2891345

19. จังหวัดลำปาง
เบอร์ติดต่อ : 093-1408023

20. จังหวัดนครราชสีมา
เบอร์ติดต่อ : 081-2655604 , 065-1990188 (เวลา 08.30-20.30 น.) , 044-465010-4 ต่อ 440 (ในเวลาราชการ)

*ข้อมูลรวบรวม ณ วันที่ 1 ก.ค. 2564

 

 

 

 

 

 

 

]]>
1340112
รพ.มาแรง! “โมเดอร์นฟอร์ม” แตกไลน์ธุรกิจเปิด “รพ.มะเร็งชีวามิตรา” ลุยธุรกิจเฮลท์แคร์ https://positioningmag.com/1333125 Thu, 20 May 2021 08:13:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333125 เทรนด์การเปิดโรงพยาบาลใหม่ยังเป็นที่นิยมในช่วงหลายปีมานี้ ได้เห็นโรงพยาบาลหน้าใหม่เกิดขึ้นมากมาย ทั้งเป็นผู้เล่นรายใหม่ รวมถึงการแตกไลน์ธุรกิจเพิ่มเติม ล่าสุด “โมเดอร์นฟอร์ม” ทุ่มงบ 400 ล้าน เปิดโรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา ลุยธุรกิจเฮลท์แคร์เต็มตัว

จากเฟอร์นิเจอร์ สู่เฮลท์แคร์

โมเดอร์นฟอร์ม กรุ๊ป ขยายธุรกิจใหม่ ส่งบริษัทลูก โมเดอร์นฟอร์ม เฮลท์แอนด์แคร์ รุกธุรกิจสุขภาพและการให้บริการทางการแพทย์ ลงทุน 400 ล้านบาท เปิด “โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา” โรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางโรคมะเร็งแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ชูกลยุทธ์การแพทย์แบบบูรณาการ เน้นนำเสนอทางเลือกนวัตกรรมหลากหลาย ทั้งการฉายรังสีเร่งอนุภาคด้วยเทคนิคชั้นสูง 4 มิติ รังสีศัลยกรรม การบำบัดมะเร็งด้วยคลื่นความร้อนเฉพาะจุด ยาบำบัดแบบมุ่งเป้า ภูมิคุ้มกันบำบัด บริการกัญชาทางการแพทย์ บริการฝังเข็มและครอบแก้ว

เผยผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศยังคงมีเพิ่มขึ้นและมีอัตราผู้เสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 ส่งผลให้ศูนย์รักษาโรคมะเร็งเฉพาะทางเป็นที่ต้องการ ประกอบกับธุรกิจด้านการแพทย์เป็นหนึ่งในธุรกิจที่เติบโตท่ามกลางยุคที่คนทั่วโลกหันกลับมา ‘ตื่นตัว’ เรื่องสุขภาพ ตั้งเป้า 2564 รายได้เติบโต 70%

ทักษะ บุษยโภคะ ประธานกรรมการ บริษัท โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

“นอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์แล้ว โมเดอร์นฟอร์มยังมองหาโอกาสการลงทุนในธุรกิจด้านต่างๆ ที่มีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือธุรกิจด้านสุขภาพ ที่บริษัทได้เข้าลงทุนจัดตั้งบริษัท โมเดอร์นฟอร์ม เฮลท์แอนด์แคร์ จำกัด (มหาชน) “MHC” ตั้งแต่ปี 2548 ในสัดส่วน 95% คิดเป็นเงินลงทุน 150 ล้านบาท โดยเริ่มต้นทำธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้า ผลิต จัดจำหน่ายครุภัณฑ์ทางการแพทย์ รวมไปจนถึงออกแบบรับเหมาก่อสร้างพื้นที่ทางทำหัตถการต่างๆ ภายในโรงพยาบาล อาทิ ห้องปรับอากาศแรงดันบวก/ลบ Co-Hort Ward ห้องผ่าตัดไฮบริด ห้องสวนหัวใจ หอผู้ป่วยวิกฤติ หอผู้ป่วยฉุกเฉิน เป็นต้น  ปัจจุบันได้ขยายธุรกิจเข้าสู่การให้บริการทางการแพทย์อย่างเต็มตัว เนื่องจากธุรกิจด้านการแพทย์เป็น 1 ใน 10 S-Curve ใหม่ที่มีศักยภาพเติบโต ท่ามกลางยุคที่คนทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

รพ.เอกชนเฉพาะทางด้านมะเร็ง

การลงทุนของ MHC ในโรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา จ.อุบลราชธานี ในสัดส่วน 40% คิดเป็นมูลค่า 60 ล้านบาท ร่วมกับทีมนายแพทย์ธนุตม์ ก้วยเจริญพานิชก์ ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคมะเร็ง โดยใช้งบประมาณการก่อสร้างและจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ร่วม 400 ล้านบาท จะช่วยหนุนให้โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็งเอกชนแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปัจจุบันประเทศไทยยังมีจำนวนโรงพยาบาลหรือศูนย์รักษาโรคมะเร็งเฉพาะทางที่ดูแลรักษาแบบครบวงจรไม่มากนัก  และกระจุกตัวในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนใหญ่ ถือเป็นสาเหตุสำคัญของการเลือกจัดตั้งโรงพยาบาลในพื้นที่ต่างจังหวัดที่ห่างไกลกรุงเทพฯ เพื่อช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ซึ่งการเลือกจังหวัดอุบลราชธานีนั้นเป็นเพราะจังหวัดมีพื้นที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 5 และมีจำนวนประชากรมากติด 1 ใน 3 ของประเทศ มีความเจริญด้านเศรษฐกิจ อีกทั้งยังตั้งอยู่ติดชายเขตแดนของ 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศลาว และกัมพูชา ซึ่งถือเป็นทำเลศักยภาพที่จะเชื่อมต่อให้นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สามารถเดินทางเข้ามาใช้รับการบริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

นายแพทย์ธนุตม์ ก้วยเจริญพานิชก์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา กล่าวเสริมว่า

“ชีวามิตรา” แปลว่าเป็นมิตรกับทุกชีวิต ยึดหลักดำเนินชีวิตด้วยมิตรภาพ ด้วยการมอบสิ่งที่ดีที่สุดในการรักษาเพื่อสร้างคุณค่าชีวิตที่ดีกว่าเดิม ด้วยปรัชญาการดำเนินงานที่เอาใจใส่ เป็นมิตรกับทุกชีวิตอย่างแท้จริง ทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยให้มีความสุขทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจ ดังนิยาม “กาย…ต้องตรงจุด” “ใจ…ต้องดูแล” เสริมประสิทธิภาพที่ดีในการรักษาควบคู่กับการดูแลเอาใจใส่ อย่างลึกซึ้งด้วยเทคโนโลยีการรักษาใหม่ล่าสุดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในประเทศมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเกือบ 100,000 รายต่อปี เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่จะพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งในระยะปลายแล้ว โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา เน้นการให้คำปรึกษาแบบเจาะลึกกับคนไข้แบบรายบุคคล ตามประเภทของโรคและอาการ ด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการอย่างใกล้ชิด

ร่วมวางแผนการรักษาแบบผสมผสาน ทั้งในแบบการแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย และแพทย์แผนจีน ทั้งยังพร้อมรองรับผู้ป่วยในการตรวจคัดกรอง ให้คำปรึกษาปัญหาเรื่องโรคมะเร็งแบบครบวงจร จากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง พร้อมให้ข้อมูลกับผู้ป่วยเกี่ยวกับตัวเลือกในการรักษา และให้ผู้ป่วยสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจทุกขั้นตอน

นอกจากนี้ ยังเปิดมิติใหม่แห่งการฉายรังสีเร่งอนุภาค ด้วยเทคนิคชั้นสูง ได้แก่ 3 มิติ 4 มิติ รวมถึงรังสีศัลยกรรม การรักษามะเร็งด้วยความร้อน ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมพื้นที่ให้เคมีบำบัดที่เป็นส่วนตัว มองเห็นต้นไม้จากสวนหย่อมขนาดใหญ่แบบพาโนรามา สร้างบรรยากาศความผ่อนคลายใกล้ชิดธรรมชาติ ลดความตึงเครียด

โดยในปี 2564 ตั้งเป้ามีรายได้เติบโต 70% และมีแผนขยายบริการที่ครอบคลุมทั้งแต่การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ด้วยการตรวจหามะเร็งด้วยวิธีการใหม่ๆ รวมทั้งการให้บริการแพทย์ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ทั้งนี้ ในช่วงแรกมุ่งให้บริการผู้ป่วยในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง ทั้งยังพร้อมรับผู้ป่วยจากประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป. ลาว และกัมพูชา เมื่อสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย

]]>
1333125
เช็กลิสต์ 15 Hospitel เปลี่ยนโรงแรมเป็นหอผู้ป่วย อีกทางเลือกในการรักษา COVID-19 https://positioningmag.com/1328204 Mon, 19 Apr 2021 13:54:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328204 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้คำว่า “Hospitel” ถูกหยิบยกมาพูดถึงอีกครั้ง เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อในกรณีที่โรงพยาบาลไม่สามารถรับผู้ป่วยที่มีจำนวนมากเข้ารับการรักษาพยาบาลได้

Hospitel มาจากคำว่า Hopital (โรงพยาบาล) + Hotel (โรงแรม) แนวคิดนี้จะใช้กับสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการของ COVID-19 ไม่รุนแรง ซึ่งต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลักเป็นเวลาอย่างน้อย 4 -7 วันก่อนจะถูกส่งตัวไปพักยังโรงแรม

ซึ่งผู้ป่วยที่เข้าพักใน Hopitel จะต้องมีความสามารถในการดูแลตัวเอง และตกลงที่จะอยู่ที่โรงแรมหลังจากวันที่ออกจากโรงพยาบาลไปจนครบกำหนด 10 หรือ 14 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการแพร่เชื้อและเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อ

Hospitel จะมีการดูแลภายใต้มาตรฐานและการกำกับของโรงพยาบาลเท่านั้น

สำหรับกลุ่มผู้ป่วย COVID-19 ที่จะรับการรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) จะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้

  1. ผู้ป่วยยืนยันที่ไม่มีอาการ หลังนอนโรงพยาบาล 4-7 วัน เมื่อไม่มีภาวะแทรกซ้อนให้พักต่อที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และครบ 14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)
  2. ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการ ไม่มีภาวะเสี่ยง/ภาวะร่วม หลังนอนโรงพยาบาล 4-7 วันเมื่ออาการดีขึ้นให้พักต่อที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และ14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)
  3. ผู้ป่วยยืนยันโควิดที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี ที่ไม่มีอาการ หรือ ไม่มีภาวะเสี่ยง/ภาวะอื่นร่วม เข้าพัก รักษา สังเกตอาการที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และ 14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)
  4. ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ แนะนําให้เอกซเรย์ปอดทุกราย หากปอดผิดปกติควรอยู่โรงพยาบาล

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง Hospitel

  1. ช่วยลดความแออัดของเตียงผู้ป่วย COVID-19 ในโรงพยาบาลหลัก
  2. ส่งเสริมการดูแล ผู้ป่วย COVID-19 อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นผู้ป่วย กลุ่ม ไม่มีอาการ/อาการน้อย ก่อนจำหน่ายกลับบ้าน เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วย Covid-19 ในสถานการณ์การระบาดที่รุนแรง (การบริหารจัดการเตียง และการใช้ทรัพยากร โดยเฉพาะ PPE อย่างคุ้มค่า)
  3. ส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาสังคม รวมทั้งสร้างความมีส่วนร่วมของชุมชน

15 รายชื่อ Hospitel ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงแรมสถานที่กักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine หรือ ASQ) ที่รับกักตัวผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศก่อนหน้านี้ ดังนี้

1. โรงแรมมาเลเซีย

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลสุขุมวิท
จำนวนเตียง: 80 เตียง

2. โรงแรมรอยัล รัตนโกสินทร์

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลปิยะเวท
จำนวนเตียง: 158 เตียง

3. โรงแรมอินทรา รีเจนท์

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลปิยะเวท
จำนวนเตียง: 455 เตียง

4. โรงแรมโอโซน โฮเต็ล แอท สามย่าน

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลวิภาราม ชัยปราการ
จำนวนเตียง: 40 เตียง

5. โรงแรมสินสิริ รีสอร์ท

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลเสรีรักษ์
จำนวนเตียง: 64 เตียง

6. โรงแรมชีวา กรุงเทพ

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลกรุงเทพ
จำนวนเตียง: 77 เตียง

7. โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ แกรนด์ สุขุมวิท

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลธนบุรี
จำนวนเตียง: 324 เตียง

8. โรงแรมสินสิริ

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลสินแพทย์
จำนวนเตียง: 52 เตียง

9. โรงแรม ฌ เฌอ – เดอะ กรีน โฮเทล

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
จำนวนเตียง: 400 เตียง

10. โรงแรมโอทู ลักซ์ชัวรี่

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
จำนวนเตียง: 194 เตียง

11. โรงแรมอนันตรา กรุงเทพฯ ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
จำนวนเตียง: 171 เตียง

12. โรงแรมเดอะกรีนวิว

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลบางปะกอก 9
จำนวนเตียง: 400 เตียง

13. โรงแรมเมเปิล

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์
จำนวนเตียง: 150 เตียง

14. โรงแรมเวิร์ฟ โฮเต็ล

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลเมดพาร์ค
จำนวนเตียง: 324 เตียง

15. โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ (สาทร)

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลเมดพาร์ค
จำนวนเตียง: 108 เตียง

เกณฑ์สำหรับโรงแรมที่จะเปลี่ยนเป็นหอผู้ป่วยเฉพาะกิจครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่

หมวด 1 โครงสร้างอาคาร และวิศวกรรมปลอดภัยพร้อมเครื่องปรับอากาศแยกส่วน
หมวด 2 บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่สนับสนุนที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีเกี่ยวกับมาตรการด้านสุขภาพ
หมวด 3 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์สํานักงาน และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น
หมวด 4 ความพร้อมด้านเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
หมวด 5 มีสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อชุมชนและระบบการจัดการของเสีย

Source

]]>
1328204
ปี 2564 ‘ตรวจโควิด-19’ ที่ไหนได้บ้าง เเบบ Drive Thru – ไม่เข้า ‘กลุ่มเสี่ยง’ ต้องจ่ายเองเท่าไหร่ ? https://positioningmag.com/1327447 Fri, 09 Apr 2021 10:18:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327447 ช่วงต้นเดือนเมษายน 2564 การเเพร่ระบาดของโควิด-19 กลับมาอีกครั้ง หลายคนตกอยู่ในความเสี่ยงโดยไม่ทันตั้งตัว

สำหรับผู้ที่ต้องการขอรับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั้น จะต้องเข้าเกณฑ์เสี่ยง ตามเงื่อนไขกรมควบคุมโรค ได้เเก่ 

  • เดินทางมายังเขตติดโรค หรือ พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
  • ทำอาชีพใกล้กับผู้ป่วยที่เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
  • สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยต้องสงสัย หรือผู้ป่วยยืนยัน
  • เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน
  • มีไข้สูงเกิน 37.5 องศาขึ้นไป, ไอ, มีน้ำมูก, เจ็บคอ, หายใจเหนื่อยหอบ, จมูกไม่ได้รับกลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส

โดยกลุ่มเสี่ยงสามารถตรวจโควิด-19 ได้ฟรี ที่รพ.รัฐและเอกชนทุกเเห่ง หรือตรวจกับรถตรวจโควิดเคลื่อนที่’ 

ค้นหาสถานพยาบาลที่มีห้องปฏิบัติการตรวจโควิด-19 ทั้ง  275 แห่งทั่วประเทศ ได้ที่เว็บไซต์ service.dmsc.moph.go.th/labscovid19

สำหรับผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ณ อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ผ่านการลงทะเบียนออนไลน์ เพื่อจองคิวก่อนเข้ารับบริการทาง https://sso.icntracking.com/icntracking/self_register.php

สำหรับผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์เสี่ยงตามเงื่อนไขของกรมควบคุมโรค หากมีความประสงค์จะเข้าตรวจโควิด-19 กับโรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชน ด้วยวิธี RT-PCR มีค่าบริการ เเตกต่างกันไป ดังนี้

ตรวจโควิดเเบบ Drive Thru 

(วิธี RT-PCR)

  • โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ราคา 2,500 บาท
  • โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ราคา 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา ราคา 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลบางปะกอกรังสิต 2 ราคา 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ราคา 3,000 บาท  *งดตรวจชั่วคราว 
  • โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส ราคา 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลบางโพ ราคา 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ  ราคา 3,500 บาท
  • โรงพยาบาลวิภาวดี ราคา 3,500 บาท
  • โรงพยาบาลรามคำแหง ราคา 3,500 บาท  *งดตรวจชั่วคราว 
  • โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ  ราคา 3,800 บาท
  • โรงพยาบาลสุขุมวิท ราคา 3,900 บาท  *งดตรวจชั่วคราว 
  • โรงพยาบาลนครธน ราคา 4,500 บาท  *รับตรวจเฉพาะกลุ่มเสี่ยง

ขอใบรับรองแพทย์ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
-ระยะเวลาการเเจ้งผล เเตกต่างกันในเเต่ละรพ.

ตรวจโควิดที่โรงพยาบาลรัฐ’ 

(วิธี RT-PCR) 

  • สถาบันควบคุมโรคเขตเมือง บางเขน 1,500 บาท
  • โรงพยาบาลศิริราช ค่าใช้จ่าย 2,000-3,000 บาท (รับตรวจเฉพาะกลุ่มเสี่ยง)
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี คนไทยไม่เกิน 2,500 บาท ชาวต่างชาติไม่เกิน 3,500 บาท
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ค่าใช้จ่าย 3,000-6,000 บาท
  • โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ค่าใช้จ่าย 2,440 – 2,590 บาท
  • โรงพยาบาลราชวิถี ค่าใช้จ่าย 3,000-6,000 บาท

ตรวจโควิดที่โรงพยาบาลเอกชน’ 

(วิธี RT-PCR) 

  • โรงพยาบาลปิยะเวช ค่าใช้จ่าย เริ่มต้นที่ 2,500 บาท
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลนันอา ค่าใช้จ่าย 1,100 บาท
  • โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ค่าใช้จ่าย 7,500 บาท
  • โรงพยาบาลพระราม 9 ค่าใช้จ่าย 6,500 บาท  *งดตรวจชั่วคราว
  • โรงพยาบาลวิภาวดี ค่าใช้จ่าย 3,500 บาท
  • โรงพยาบาลพญาไท 2 ค่าใช้จ่าย 4,500 บาท
  • โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ค่าใช้จ่าย 3,800 บาท
  • โรงพยาบาลราชเวชอุบลราชธานี ค่าใช้จ่าย 5,900-6,900 บาท
  • โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม ค่าใช้จ่าย 3,900-4,500 บาท

ราคาอาจมีการเปลี่ยนเเปลง เเละมีรพ.หลายเเห่งงดตรวจชั่วคราว โปรดตรวจสอบกับทางโรงพยาบาลอีกครั้ง

ข้อมูล ณ วันที่ 8 เมษายน 2564

]]>
1327447
‘Nintendo’ ร่วมกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรนำ ‘เกม’ ให้เด็กเล่นระหว่างรักษาตัวในโรงพยาบาล https://positioningmag.com/1312757 Sun, 03 Jan 2021 07:28:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312757 การติดอยู่ในโรงพยาบาลไม่ใช่เรื่องสนุกแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณยังเป็นเด็ก ซึ่งคงจะไม่มีอะไรแก้เบื่อดีกว่าการเล่นเกม ซึ่งนี่คือแนวคิดเบื้องหลังของ ‘สถานีเกม Nintendo Switch’ ที่จะอยู่ในโรงพยาบาลและระบบการดูแลสุขภาพได้เล่น

‘สถานีเกม’ เป็นโครงการริเริ่มล่าสุดที่เกิดจากความร่วมมือเป็นเวลาหลายปีระหว่าง Nintendo of America และ Starlight Children’s Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเป้าหมายเพื่อมอบความสุขให้กับเด็กที่ป่วยหนักและครอบครัวของพวกเขา

“Starlight Gaming เป็นตัวช่วยที่ดีในการช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล” Lexi Little จาก Christus Shreveport-Bossier Health System ในชรีฟพอร์ต รัฐลุยเซียนา กล่าว

Starlight ประกาศเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาว่า สถานีเกมใหม่ล่าสุดนี้จะเปิดให้บริการสำหรับเด็ก ๆ จำนวนมากขึ้นในเร็ว ๆ นี้หลังจากเปิดตัวในเดือนธันวาคม 2019 ที่โรงพยาบาลเด็ก Mary Bridge ในทาโคมา วอชิงตัน

“สถานีเกมเป็นเครื่องมือที่ทำให้ไขว้เขวที่สำคัญซึ่งทำให้สภาพแวดล้อมการดูแลสุขภาพเป็นปกติและช่วยเด็ก ๆ ผ่านประสบการณ์ที่ยากลำบาก เกมให้ทางเลือกสำหรับเด็ก ช่วยกระตุ้นพวกเขาและเปิดโอกาสให้พวกเขามีความสนุกสนานในเวลาที่จำเป็นที่สุด” Julie Hertzog ผู้ดูแลชีวิตเด็กที่ Mary Bridge กล่าว

เด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะมีเกมมากกว่า 25 เกม อาทิ “Super Mario Party” และ “The Legend of Zelda: Breath of the Wild”

นับตั้งแต่ความร่วมมือเริ่มขึ้นเมื่อเกือบสามทศวรรษที่แล้ว Starlight และ Nintendo ได้ส่งมอบสถานีเกมมากกว่า 7,200 แห่งไปยังโรงพยาบาลและสถานพยาบาลมากกว่า 800 แห่ง ตามข่าวประชาสัมพันธ์ โดยตัวสถานีเกมถูกออกแบบมาให้ทำความสะอาดและขนส่งจากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่งได้ง่าย

Source

]]>
1312757
กลยุทธ์ธุรกิจโรงพยาบาล (4 P’s , 8 P’s และ 11 P’s) https://positioningmag.com/1306059 Thu, 26 Nov 2020 14:17:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306059
ในหลายครั้งพอพูดถึงเรื่องธุรกิจการแพทย์ จะรู้สึกได้กลิ่นยา หรือน้ำยาต่างๆ ปัจจุบันพอนึกถึงโรงพยาบาล จะนึกถึง แอร์เย็นๆ มีที่พักนั่งรอ หรือซื้อของกินได้

ปรากฏการณ์สำคัญอย่างหนึ่งที่ดูเสมือนกำลังเป็นกระแสนิยมไปเสียแล้ว นั่นก็คือ การออกแบบโรงพยาบาลโดยลอกเลียนรูปลักษณ์โรงแรมหรูระดับห้าดาว ยุคสมัยเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังไม่ใช่รักษาหาย แล้วรับยากลับบ้านอย่างเดียว

แต่เรากำลังนึกถึงบรรยากาศ และความสะดวกสบายที่พร้อมด้วยบริการ ผนวกกับการแพทย์ ดังนั้นธุรกิจโรงพยาบาล ต้องเป็นลักษณะโรงพยาบาล + โรงแรม ต้องเป็นการรักษาแบบ Hospital + Hotel = Hospitel

หากมองแล้วธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ไม่ใช่แค่กลยุทธ์การตลาดอย่างเดียว หรือ Marketing Mix อย่างเดียว แต่ต้องมองให้ลึกถึงการมีจุดสัมผัสบริการ หรือ Touch Point ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งต่างๆ ที่ถูกสัมผัสบริการ ไม่ว่าจะเป็นคน หรือ อุปกรณ์ต่างๆ

Photo : Shutterstock

ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนคงจะมีความเหมือนในความต่างกับธุรกิจทั่วไป ตรงที่ต้องทำ 4 P’s

  • Product/Service (ผลิตภัณฑ์) ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า (Customer Solution) “การบริการ” ก็คือ Product ด้วยเหมือนกัน
  • Price (ราคา) ต้องสอดคล้องกับต้นทุนของลูกค้า (Customer Cost) ก็คือ ต้องรู้ว่าลูกค้าท่านใด กลุ่มไหน ขายใครนั่นเอง (ประเด็นนี้สำคัญ เพราะตั้งราคาไปแล้วคุณบอกได้ หรือไม่ ว่าคุณมีอะไรดีที่ต้องตั้งราคาแบบนี้)
  • Place/Distribution ต้องให้เกิดความสอดคล้องกับลูกค้า ความสะดวก ไม่เพียงแต่ง่ายเท่านั้น แต่ต้องสะดวกกับการมาใช้บริการ แล้วไม่ต้องใช้เวลามากมาย

อีกส่วนที่สำคัญ คือ การส่งเสริมการตลาด หรือ Promotion Mix และส่วนใหญ่จะเป็น P’s ที่คิดก่อนเลย ก็คงจะเป็น แบบที่หลายธุรกิจคิด คือ ทำ Promotion ก่อน

Promotion ไม่ใช่คำตอบทั้งหมด เพราะลูกค้าซื้อเพราะพนักงานขาย ซื้อเพราะบรรยากาศ ซื้อเพราะความเชื่อมั่นเชื่อถือ ดังนั้นต่อให้ออก Campaign ดีแค่ไหน “ถ้า Brand ไม่มีความเชื่อถือ หรือศรัทธา ก็เกิดยากเช่นเดียวกัน ดังนั้น ต้อง Communication กับลูกค้ามากๆ”

แต่เหนือสิ่งอื่นใดในธุรกิจโรงพยาบาลนั้น ต้องมี 8 P’s เพิ่มอีก 4 P’s คือ

  • People บุคลากร คือ คนที่ทำให้บริการสัมผัสลูกค้า ต้องมีลักษณะการบริการลูกค้าที่ดี คือ Customer Service การเพิ่มบริการลูกค้านั่นเอง
  • Process กระบวนการต้องเชื่อมโยงกับ Coordination คือการประสานงานด้วยความรวดเร็ว ไม่ติดขัด หรือล่าช้า
    อีกส่วนที่สำคัญ
  • Physical Evidence สิ่งแวดล้อมการบริการ หรือสิ่งที่อยู่รอบๆ ของงานบริการ เช่น บรรยากาศต่างๆ กลิ่นสะอาด ต้นไม้ หรือแม้แต่มีสิ่งอำนวยความสะดวก ร้านอาหาร ธนาคาร ร้านกาแฟ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่มาโรงพยาบาลรู้สึกผ่อนคลาย ไม่กลัว แม้แต่บุคลากรก็เช่นเดียวกัน สร้าง Physical Evidence ได้เหมือนกัน ต้องสนับสนุนบรรยากาศลูกค้าด้วย (Customer Climate)
  • Productivity สมรรถภาพการทำงาน (Capacity)
Closeup shot of a group of unrecognisable doctors walking in a hospital

แต่ที่อยากเน้นย้ำมากๆ เลย ต้องขอเพิ่มอีก 3 P’s คือ ธุรกิจต้องนำเสนอตนเองบ่อยๆ ขอใช้คำว่า “นำเสนอทางธุรกิจดีกว่า” คือ Present ตนเองบ่อยๆ อีกส่วนคือ หาโอกาสใหม่ ต้องมองกลุ่มลูกค้ามุ่งหวังในอนาคต คือ (Prospect) และสุดท้าย P ตัวที่ 11 คือ Pollution ในธุรกิจและดูแลสิ่งแวดล้อมสังคม ด้วย

ดังนั้นธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนก็คงจะต้องเก็บลูกค้าไว้ให้นานที่สุด เพราะถ้าลูกค้าประทับใจทั้งแพทย์ พยาบาล การบริการ หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ เขาก็ไม่อยากหนีหาย ขึ้นอยู่กับธุรกิจท่านล่ะครับว่าจะทำให้ลูกค้าหนีหรือเปล่า

ไปโรงพยาบาลครั้งต่อไป คงจะไม่ไปหาหมอเพียงอย่างเดียว คงจะได้ shopping ด้วยก็ได้ แล้วพบกันใหม่บทความหน้านะครับ

]]>
1306059
รพ.ไฮเอนด์ เเก้เกม ผู้ป่วยต่างชาติหาย “บํารุงราษฎร์” พลิกจับ “คนไทย” ดัมพ์ราคา-จัด 1 เเถม 1 https://positioningmag.com/1297032 Tue, 15 Sep 2020 14:21:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297032 เเม้ว่าแนวโน้มของธุรกิจสถานพยาบาล จะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้รวดเร็วแบบ V-Shape เมื่อคลายมาตรการล็อกดาวน์ สอดคล้องกับสัญญาณเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง

เเต่ทว่าโรงพยาบาลเอกชนที่เคยพึ่งพารายได้จากผู้ป่วยต่างชาติหรือที่เรียกว่าพึ่งพา Medical Tourism จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ยังต้องเผชิญกับความท้าทาย เมื่อรายได้หลักที่เคยมีหดหายไปอย่างมาก เเละยังไม่อาจเปิดประเทศเป็นปกติได้ในเร็ววัน

จากข้อมูลของ TMB Analytics ระบุถึงโครงสร้างรายได้ของโรงพยาบาลเอกชนในไทยว่า มีรายได้จาก Medical Tourism คิดเป็น 8% ของรายได้โรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด ดังนั้นรายได้จากผู้ป่วยต่างประเทศในปีนี้จะยังไม่ฟื้นตัวดีนักเพราะคาดว่าไทยจะยังคงดำเนินการมาตรการล็อคดาวน์ต่างประเทศ เเละคัดกรองผู้เดินทางจากต่างประเทศต่อไป

การปรับกลยุทธ์ใหม่ เเก้เกมในวิกฤต COVID-19 ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์” (BH) ที่เคยมุ่งเจาะลูกค้าระดับไฮเอนด์เเละชาวต่างชาติ เเต่ตอนนี้ต้องหันมาจับตลาดคนไทย ทั้งการดัมพ์ราคาค่าห้อง ลดเเลกเเจกเเถมโปรเเกรมตรวจสุขภาพ ไปจนถึงเสนอเเพ็กเกจผ่าตัดราคาพิเศษ เพื่อทดเเทนรายได้ที่ขาดไปในปีนี้ เป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจไม่น้อย

หันมาเจาะ “คนไทย” อัดโปรลดเเลกเเจกเเถม 

ภญ.อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร รพ.บำรุงราษฎร์ ยอมรับว่า วิกฤตโรคระบาด ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง เพราะผู้ป่วยชาวต่างชาติไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้ โดยในช่วงเดือนเมษายน ถือว่าหนักที่สุด

ที่ผ่านมา BH ให้การรักษาผู้ป่วยทั้งชาวไทยเเละต่างชาติกว่า 1.1 ล้านรายต่อปี โดยคิดเป็นสัดส่วนผู้ป่วยไทยและต่างชาติอย่างละ 50 % ขณะที่สัดส่วนรายได้ส่วนใหญ่นั้นมาจากผู้ป่วยชาวต่างชาติถึง 66% ส่วนผู้ป่วยคนไทยอยู่ที่ราว 34% เนื่องจากชาวต่างชาติจะเข้ามาทำการรักษาเคสหนักเช่นการผ่าตัดหัวใจ รักษาโรคร้ายเเรงซึ่งจะที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า

ภญ.อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร รพ.บำรุงราษฎร์

โดยฐานลูกค้าชาวต่างชาติของ BH หลักๆ มาจากกลุ่มประเทศอาเซียน CLMV รองลงมาเป็น แถบตะวันออกกลาง เเละประเทศในยุโรป ซึ่งไทยยังถือว่ามีข้อได้เปรียบในเรื่องคุณภาพของโรงพยาบาล ความชำนาญการของแพทย์ รวมถึงค่ารักษาพยาบาลที่ประหยัดกว่าสหรัฐฯ ประมาณ 40-75% หรือสิงคโปร์ ประมาณ 30%

อย่างไรก็ตาม จากปัญหาผู้ป่วยต่างชาติไม่สามารถเดินทางมารักษาในไทยได้ในสถานการณ์ COVID-19 ที่ยังระบาดทั่วโลก รพ.บำรุงราษฎร์ จึงต้องหันมาปรับกลยุทธ์ใหม่ เพื่อพยุงรายได้ที่หายไป ด้วยการหันมาจับตลาดคนไทยมากขึ้น เเละไม่ใช่เเค่เจาะลูกค้ารายได้สูงเท่านั้น เเต่ยังต้องขยายไปสู่คนที่มีรายได้ปานกลางมากขึ้น

โดยมีการจัดโปรโมชันพิเศษต่างๆ เช่น การลดราคาค่าห้องลงถึง 50% ในเดือนพ.. การจัดเเพ็กเกจตรวจสุขภาพเเบบซื้อ 1 เเถม 1” รวมถึงเสนอเเพ็กเกจผ่าตัดราคาพิเศษ เพื่อดึงดูดลูกค้าชาวไทย

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดบริการ Homecare Services ที่มีชื่อว่า Bumrungrad @ Home Service Center เพื่อให้บริการดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วยและครอบครัวถึงบ้าน และบริการ “60 Second Service” เพื่อให้บริการขั้นพื้นฐาน เช่น ฉีดวัคซีนและรับยา เเบบรวดเร็วเข้าถึงง่าย ตอบโจทย์พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในยุค New Normal

Photo : facebook /bumrungrad

จากเเคมเปญเเละโปรโมชันต่างๆ ที่เราได้ทำไป ตอนนี้รายได้เริ่มกลับมาทดเเทนส่วนที่หายไปจากชาวต่างชาติได้บ้างเเล้ว คาดว่าในช่วงไตรมาส 3 จะดีขึ้น เเละจะสามารถทำรายได้เพิ่มขึ้นในครึ่งปีหลังนี้ได้

BH รายงานรายได้ในไตรมาส 2/2020 มีกำไรสุทธิเพียง 44 ล้านบาท ลดลงถึง 93.9% จากไตรมาส 2/2019 ที่มีกำไรสุทธิ 725 ล้านบาท โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ รายได้จากกิจการโรงพยาบาลจำนวน 6,531 ล้านบาท ลดลง 27.1% หลักๆ เป็นผลมาจากการลดลงของรายได้ผู้ป่วยชาวไทย 7.8% และต่างชาติ 36.4% ขณะที่ในปี 2019 BH เคยมีรายได้ 1.87 หมื่นล้านบาท และทำกำไร 3.74 พันล้านบาท

ขยายโอกาสธุรกิจใหม่ ดัน Wellness Tourism

อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจของบำรุงราษฎร์ในช่วงนี้ คือการหันมาผลักดันธุรกิจ Wellness Tourism หรือการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จับมือกับพันธมิตรค่ายอสังหาฯ อย่างมั่นคงเคหะการกับยักษ์โรงเเรมอย่างไมเนอร์

เปิดตัวโครงการรักษ” (อ่านว่า รักษะ) ศูนย์เวลเนส รีทรีต 200 ไร่บนคุ้งบางกระเจ้า จ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นโซนที่ถูกเรียกว่าเป็นปอดเเห่งใหม่ของกรุงเทพฯประเดิมราคาแพ็กเกจเริ่มต้น 60,000 บาท จับกลุ่มลูกค้าที่สนใจด้านสุขภาพเวลเนสทั่วโลก

ลักษณะความร่วมมือครั้งนี้ มั่นคงฯ จะเป็นผู้ถือหุ้นและลงทุนโครงการ 100% แต่ทำสัญญากับ รพ.บำรุงราษฎร์ ให้ผู้บริหารด้านการแพทย์ แบ่งรายได้ระหว่างกันประมาณ 50 : 50 แต่ในกำไรส่วนที่ รพ.บำรุงราษฎร์ ได้จากบริการทางการแพทย์จะแบ่งคืนให้กับมั่นคงฯ 15% ส่วนสัญญากับ ไมเนอร์ เป็นการจ้างบริหารงานบริการโรงแรมและอาหาร

อ่านเพิ่มเติม : คิกออฟ! “รักษศูนย์เวลเนส จาก 3 บิ๊กเนมมั่นคงบำรุงราษฎร์ไมเนอร์มูลค่า 2,000 ล้านบาท

เดิมทีโครงการรักษตั้งเป้าจับกลุ่มลูกค้าต่างชาติจากทั่วโลก แต่เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ลูกค้ายังบินเข้ามาไม่ได้ ทำให้ปีแรกที่จะเปิดบริการเต็มปีคือปี 2021 น่าจะมีอัตราเข้าพักเพียง 30% ต่ำกว่าที่เคยคาดไว้ว่าปีแรกจะมีอัตราเข้าพัก 60%

วิลล่าที่พักในรักษ เวลเนส รีทรีต

อย่างไรก็ตาม มั่นคงเคหะการ เชื่อว่าระยะยาวเวลเนสจะยังได้รับความนิยม ในปี 2022 อัตราเข้าพักคาดว่าจะขึ้นมาเป็น 50% และเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอานิสงส์ชื่อเสียงของประเทศไทยที่รับมือ COVID-19 ได้ดีในช่วงนี้ จะเป็นปัจจัยบวกกับโครงการในภายหลัง เพราะทำให้ต่างชาติเชื่อถือในระบบสาธารณสุขของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น

ผู้บริหาร รพ. บำรุงราษฎร์ มองว่า การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น และรัฐบาลประกาศชัดเจนว่าจะส่งเสริมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลัง COVID-19 “นี่จะเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ของเราในอนาคต เพราะวิกฤตโรคระบาด ทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลในไทยและต่างประเทศเปลี่ยนไป”

โดยประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่กำลังมาแรง จากการจัดอันดับของ Global Wellness Institute รายงานว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทย ติดอันดับ 13 ของโลก ทำรายได้มากกว่า 9,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนตลาดโลกนั้น อุตสาหกรรมด้านเวลเนสเติบโต “ดับเบิลดิจิต” ต่อเนื่องมาแล้ว 5 ปี สะท้อนโอกาสที่มีสูงมาก

ทั้งนี้ จากการประชุมศูนย์กลางด้านการแพทย์ ปี 2561 ระบุว่า มีผู้ป่วยต่างชาติมาใช้บริการในด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ประมาณ 3.4 ล้านครั้ง สร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 1.4 แสนล้านบาท และไทยยังมีสถานบริการสุขภาพผ่านมาตรฐานคุณภาพสถานพยาบาลระดับสากล JCI ถึง 68 แห่ง มากที่สุดในอาเซียน

ปรับรับผู้ป่วยต่างชาติ “เช่าเหมาลำ” จับตาเริ่มกลับมา ต.ค.นี้ 

บรรดาโรงพยาบาลเอกชน ต่างคาดหวังว่ารายได้จะกระเตื้องขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง หากมีการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวที่มาพำนักระยะยาวมากขึ้น

BH เริ่มรับผู้ป่วยต่างชาติในกรณีพิเศษเเล้วในช่วงไตรมาส 3 โดยมีผู้ป่วยราว 20-30 คนเดินทางโดยเครื่องบินเเบบเช่าเหมาลำจากเมียนมา เพื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องผ่านการคัดกรองโรคเเละกักตัว 14 วันภายในโรงพยาบาลตามข้อกำหนดของรัฐ โดยคาดว่าจะมีผู้ป่วยต่างชาติ ล็อตอื่นๆ ตามมาอีกต่อเนื่อง

เเละก็เริ่มเห็นความชัดเจนมากขึ้น โดยล่าสุดวันที่ 15 .. คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศไทย ประเภทพิเศษ Special Tourist VISA (STV) โดยกำหนดเงื่อนไขว่านักท่องเที่ยวดังกล่าวจะต้องเป็นบุคคลต่างด้าวพำนักระยะยาว (Long Stay) ภายในประเทศไทย เเละต้องยอมรับการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขที่ประกาศใช้ภายในประเทศไทย พร้อมตกลงยินยอมกักตัวในห้องพักจำนวน 14 วัน

โดยต้องมีหลักฐานสถานที่พักอาศัยระยะยาวภายในไทย เช่น หลักฐานการชำระเงินค่าโรงแรมที่พัก หรือโรงพยาบาลที่พัก หลักฐานสำเนาโฉนดหรือการชำระเงินดาวน์ห้องชุดประเภทคอนโดมิเนียม และค่าธรรมเนียมลงตราวีซ่า 2,000 บาท

ครั้งแรกจะอนุญาตให้พักได้ 90 วัน เเละขยายได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 90 วัน รวม 270 วันหรือ 9 เดือน โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 ทั้งนี้ จะเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ตั้งเเต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป ครั้งละ 100 คน จำนวน 1,200 คนต่อเดือน โดยมาตรการดังกล่าวคาดว่าจะสามารถนำเงินเข้าประเทศได้กว่า 1,200 ล้านบาทต่อเดือน

นี่จึงเป็นอีกโอกาสสำคัญที่ “โรงพยาบาลเอกชน” ที่พึ่งพารายได้จากชาวต่างชาติ จะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง เเม้จะไม่รุ่งเท่าช่วงก่อนวิกฤต COVID-19 ก็ตาม 

 

]]>
1297032
ญี่ปุ่นส่อแวววิกฤต! เตียงในโรงพยาบาลไม่พอ ขณะที่ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทะลุหมื่นแล้ว https://positioningmag.com/1274438 Mon, 20 Apr 2020 15:43:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274438 ระบบสาธารณสุขของญี่ปุ่นเผชิญความเสี่ยงที่จะรับผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ไม่ไหว เตียงในโรงพยาบาลเกือบจะไม่เหลือพอแล้ว ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อในญี่ปุ่นเพิ่มเป็นมากกว่า 10,000 คน

สถานีโทรทัศน์ NHK ที่มีเครือข่ายทั่วประเทศญี่ปุ่น ได้สำรวจจำนวนเตียงผู้ป่วยที่มีอยู่ และจำนวนเตียงที่ใช้ไปแล้ว พบว่า 9 จังหวัดของญี่ปุ่นจากทั้งหมด 47 จังหวัด เกือบจะไม่มีเตียงในโรงพยาบาลเหลือพอแล้ว สำหรับรักษาผู้ป่วย COVID-19

ขณะนี้ทั่วประเทศญี่ปุ่นมีเตียงในโรงพยาบาลประมาณ 9,600 เตียงที่พร้อมรองรับผู้ป่วยไวรัส COVID-19 ส่วนจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมีอย่างน้อย 5,000 คน

9 จังหวัดที่อยู่ในขั้นวิกฤต เตียงในโรงพยาบาลมากกว่า 80% มีผู้ป่วยใช้อยู่ คือ โตเกียว โอซากา เฮียวโงะ ฟูกูโอกะ ยามานะชิ ชิงะ เกียวโต โคจิ และ โอกินาวา จังหวัดเหล่านี้ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้อีกแล้ว ต้องให้ผู้ป่วยที่มีอาการเบาพักรักษาตัวที่บ้าน หรือโรงแรมที่จัดไว้ เพื่อสงวนเตียงในโรงพยาบาลไว้ในผู้ที่มีอาการหนัก โดยมีผู้ป่วยที่ย้ายไปรักษาตัวที่บ้านหรือโรงแรมเกือบ 1,000 คน

แต่การให้ผู้ป่วยไปรักษาตัวนอกโรงพยาบาลก็มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง มีกรณีผู้ป่วยเสียชีวิตที่บ้านพักมาแล้ว ส่วนการรักษาตัวที่โรงแรมก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อระหว่างกัน และติดเชื้อไปสู่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้วย เพราะโรงแรมไม่มีระบบป้องกันเหมือนกับโรงพยาบาล

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ในอดีตการย้ายผู้ป่วยไปรักษานอกโรงพยาบาลสามารถทำได้ เพราะมีวัคซีนป้องกันโรคที่ช่วยปกป้องแพทย์และพยาบาลได้ แต่ไวรัส COVID-19 ยังไม่มีวัคซีน การดูแลผู้ป่วยในสถานที่ที่ไม่มีระบบป้องกัน อย่างเช่นที่โรงแรม จึงมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ

ขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในญี่ปุ่นมีมากกว่า 10,000 คน และมีอัตราผู้ป่วยใหม่ต่อวันมากกว่า 500 คน อัตราเร่งเช่นนี้จะทำให้ระบบสาธารณสุขของญี่ปุ่นรองรับไม่ไหว และเสี่ยงต่อการล่มสลาย เหมือนเช่นในเมืองใหญ่ของสหรัฐฯ อิตาลี ฝรั่งเศส

Source

]]>
1274438
อัฟกานิสถานเปลี่ยน “วัง” เป็น “โรงพยาบาล” รองรับผู้ป่วย COVID-19 https://positioningmag.com/1274370 Mon, 20 Apr 2020 15:26:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274370 พระราชวังดารุล อามาน (Darul Aman Palace) ที่ตั้งอยู่สุดฝั่งตะวันตกของเมืองคาบูล ถูกแปลงให้เป็นโรงพยาบาลอย่างเป็นทางการพร้อมเตียง 200 เตียง เพื่อรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ในอัฟกานิสถาน

สำนักข่าวซินหัว รายงานว่าพระราชวังดารุล อามาน (Darul Aman Palace) ที่สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษก่อน ตั้งอยู่สุดฝั่งตะวันตกของเมืองคาบูล ถูกแปลงเป็นโรงพยาบาลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 เม.ย. เพื่อรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในอัฟกานิสถาน

“พระราชวังแห่งประวัติศาสตร์กลายเป็นสถานที่กักกันโรค พร้อมเตียง 200 เตียงสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อโรค COVID-19” ฟิโรซัดดิน เฟรอซ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของอัฟกานิสถาน กล่าวในการเปิดงาน

 

หลังจากได้รับความเสียหายอย่างหนักเนื่องจากสงครามและสร้างขึ้นใหม่ในปี 2019 พระราชวังสไตล์ยุโรปแห่งนี้ก็ออกแบบมาเพื่อรองรับการประชุมของเจ้าหน้าที่รัฐบาล และยังใช้เป็นที่พักรับรองแขกระดับสูง แต่ต่อจากนี้ไปจะใช้เป็นที่กักกันผู้ป่วยติดเชื้อจนกว่าโรคระบาดจะหมดไปจากประเทศ

นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้จัดตั้งศูนย์กักกันโรค และคลินิกสุขภาพ ให้บริการแก่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของโรค COVID-19 ในอัฟกานิสถาน

อับดุล วาดูด ประชาชนในกรุงคาบูลยอมรับการตัดสินใจที่สมเหตุสมผลในการต่อสู้กับโรคระบาดในอัฟกานิสถาน และกล่าวว่าการแพร่ระบาดของโรคที่รวดเร็วในขณะนี้จำเป็นต้องมีศูนย์กักกันโรคเพิ่มเติม และมีโรงพยาบาลตรวจหาโรคมากขึ้น

“สถานการณ์กำลังวิกฤต ไวรัสแพร่กระจายอย่างรวดเร็วทั่วประเทศ พวกเราทุกคนรวมถึงรัฐบาลและประชาชน ควรร่วมมือกันเพื่อเอาชนะไวรัสนี้ เราทุกคนควรอยู่บ้านเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสไวรัส และรัฐบาลควรจัดสถานพยาบาลและการแพทย์ที่จำเป็นเพื่อต่อสู้กับโรคร้าย”

เมื่อวันที่ 19 เม.ย. วาฮีดุลลาห์ มายาร์ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข แสดงความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรค COVID-19 ในอัฟกานิสถาน เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อสูงถึง 993 ราย และอาจเพิ่มขึ้นมากกว่า 1,000 หากผู้คนละเลยคำแนะนำของกระทรวง หรือละเมิดกฎระเบียบที่กำหนดในช่วงกักกัน

รัฐบาลได้กำหนดช่วงเวลาเคอร์ฟิวตอนกลางวันในเมืองต่างๆ รวมถึงกรุงคาบูล ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม และขยายเวลาต่อไปอีก 3 สัปดาห์เมื่อสัปดาห์ก่อน พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้าน

โฆษกกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่านับตั้งแต่เกิดการระบาดในอัฟกานิสถานช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มีผู้ป่วยที่ติดเชื้อ 33 ราย รวมถึงแพทย์ 3 รายเสียชีวิต ส่วนผู้ป่วยอีก 131 รายได้รับการรักษาจนหายดี

]]>
1274370
“สิงห์” บริจาค 50 ล้านบาท พร้อมอาหาร เครื่องดื่ม ช่วย รพ. ดูแลบุคลากรทางการแพทย์ https://positioningmag.com/1270545 Fri, 27 Mar 2020 15:23:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1270545 บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด บริจาคเงิน 50 ล้านบาท ให้โรงพยาบาลช่วยบุคลากรทางการแพทย์สู้ COVID-19 และดูแลผู้ป่วย พร้อมทั้งเตรียมรับมือในกรณีที่มีผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น ทั้งโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ และภูมิภาค

จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กล่าวว่า

“คณะกรรมการบริษัทฯมีมติมอบเงิน 50 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการทำงานของโรงพยาบาลต่างๆ ที่รับหน้าที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อ COVID-19 ได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านของการรักษาและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค 

ซึ่งเงินจำนวนนี้จะถูกนำไปช่วยเหลือทั้งในด้านของการจัดหาอุปกรณ์ป้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อการรักษาชีวิตผู้ป่วย เช่น เครื่องช่วยหายใจ และอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ ที่จำเป็น”

ที่ผ่านมาบริษัทได้ส่งทีมงานสนับสนุนการทำงานกับโรงพยาบาลหลักๆ ในกรุงเทพฯ อยู่แล้ว และได้มีโอกาสประสานงานใกล้ชิดกับคุณหมอในแต่ละโรงพยาบาล ทำให้ทราบถึงความต้องการที่จำเป็นมาโดยตลอด

ซึ่งเงินบริจาคที่มอบให้นี้เพื่อให้แต่ละโรงพยาบาลนำไปใช้ในการจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อให้กับหมอ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย เช่น หน้ากากอนามัย Face Shield หรือ ชุด PPE และจัดซื้ออุปกรณ์ที่ช่วยในการคัดกรองผู้ป่วยทั้งในส่วนของอาคารแรกรับ และหอผู้ป่วย COVID-19 และที่สำคัญที่สุดคือจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจที่มีราคาค่อนข้างสูง แต่เป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการช่วยชีวิต เพิ่มโอกาสในการรักษาชีวิตให้กับผู้ป่วยทุกราย

เบื้องต้นได้มอบเงินบริจาคให้กับ 6 โรงพยาบาลหลักของรัฐ ที่ทำหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วย COVID-19 โรงพยาบาลละ 5 ล้านบาท ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์, โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลราชวิถี และสถาบันบำราศนราดูร

รวมทั้งได้มอบเงินบริจาคให้กับโรงพยาบาลในจังหวัดสำคัญทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย COVID-19 ได้แก่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่, รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์, รพ.ศูนย์ขอนแก่น, รพ.มหาราชนครราชสีมา, รพ.อุดรธานี, รพ.สุราษฎร์ธานี, โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (รพ.มอ.) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 50 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังได้สนับสนุน อาหาร และน้ำดื่มสิงห์ให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งในส่วนของการดูแลผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์มาโดยตลอด และยืนยันที่จะมอบต่อไปเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติหน้าที่ทุกท่านรวมทั้งผู้ป่วย

]]>
1270545