ไนกี้ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 16 Feb 2024 11:38:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Nike’ เตรียมโละพนักงาน 1,600 ตำแหน่ง ตามแผนลดต้นทุน 2 พันล้านดอลลาร์ใน 3 ปีข้างหน้า https://positioningmag.com/1463009 Fri, 16 Feb 2024 10:58:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1463009 เนื่องจากผู้บริโภคลดใช้เงินกับของที่ไม่จำเป็น แบรนด์แฟชั่นหลายรายพร้อมใจกันออกมายอมรับว่ารายได้ปีนี้อาจไม่ดีนัก ส่งผลให้ ไนกี้ (Nike) เดินหน้าที่จะลดต้นทุนตั้งแต่ต้นปี  

Nike แบรนด์เสื้อผ้ากีฬายักษ์ใหญ่ ได้ประกาศว่า บริษัทจะลดจำนวนพนักงานลง 2% หรือประมาณ 1,600 ตำแหน่ง เพื่อ ลดต้นทุน เนื่องจากกำไรปีนี้ที่อาจจะลดลง อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่ Nike แต่แบรนด์ใหญ่ ๆ อย่าง Adidas, Puma และ JD Sports ก็ออกมาเตือนถึงรายได้ที่อ่อนแอลงในปีนี้ เนื่องจากผู้บริโภคลดการใช้จ่ายที่ไม่จําเป็น

ย้อนไปในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา Nike มีแผนลดต้นทุนมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์ ในอีก 3 ปีข้างหน้า ผ่านมาตร การต่าง ๆ อาทิ การปรับปรุงซัพพลายเชน การลดขั้นตอนการบริหารจัดการ และเพิ่มการใช้ระบบออโตเมชั่น จนล่าสุด บริษัทได้ลดจำนวนพนักงานลง

ตามรายงานระบุว่า การลดจำนวนพนักงานจะแล้วเสร็จภายในสิ้นไตรมาส 1 ของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีการระบุว่าการลดพนักงานครั้งนี้จะลดพนักงานในส่วนไหน แต่มีการระบุว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อพนักงานในร้านค้า, ศูนย์กระจายสินค้า และผู้ที่อยู่ในทีมพัฒนานวัตกรรม

ทั้งนี้ จากข้อมูลวันที่ 31 พฤษภาคม 2023 Nike มีพนักงานประมาณ 83,700 คน

Source

]]>
1463009
Peter Moore สุดยอดนักการตลาดแบรนด์ ผู้ปฏิวัติ Nike และ Adidas https://positioningmag.com/1384317 Sun, 08 May 2022 13:41:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1384317 น่าเศร้าไม่น้อยที่มีข่าวออกมาว่า “ปีเตอร์ มัวร์” (Peter Moore) ผู้อยู่เบื้องหลังงานออกแบบที่โด่งดังที่สุดในธุรกิจรองเท้าผ้าใบยุคใหม่ ได้เสียชีวิตลงแล้วด้วยวัย 78 ปี ผลงานของชายผู้นี้ถูกยกเป็นรากฐานสำคัญของอุตสาหกรรมสนีกเกอร์ระดับโลก ทั้งในมุมการเป็นผู้สร้างโลโก้จั๊มป์แมน (Jumpman) ของไนกี้ และโลโก้ 3 แถบรูปภูเขาของอาดิดาส

2 โลโก้นี้มีอิทธิพลมากอย่างเหลือเชื่อในวงการธุรกิจสากล แม้หลายคนที่ไม่ได้เป็นสนีกเกอร์เฮดหรือแฟนคลับผู้หลงใหลการสวมรองเท้ากีฬา ก็ยังเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แอร์จอร์แดน (Nike Air Jordan) และจดจำโลโก้ 3-Stripes อันเป็นเอกลักษณ์ของอาดิดาสได้แม่น ผลลัพธ์นี้เกิดขึ้นได้ส่วนหนึ่งจากแนวคิดและเส้นทางการทำงานของมัวร์ ซึ่งมีเกร็ดการทำงานน่าสนใจควรค่าที่จะหยิบมาพูดถึง

ในขณะที่ครอบครัวได้ขอความเป็นส่วนตัว และไม่เปิดเผยรายละเอียดสาเหตุการเสียชีวิตของมัวร์ สื่อหลายสำนักตีพิมพ์เรื่องราวของอดีตหัวหน้าแบรนด์ Jordan ของไนกี้ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเปิดตัวอาดิดาสอเมริกา (Adidas America) ในพอร์ตแลนด์ช่วงต้นทศวรรษ 1990 ซึ่งทั้งหมดเริ่มจากเส้นทางอาชีพน่าทึ่งของมัวร์ที่ออกตัวแรงในปี 1977 เมื่อครั้งตอบรับงานจากไนกี้ ในฐานะลูกค้าที่สตูดิโอออกแบบของตัวเอง

ไม่แค่ดีลไนกี้และไมเคิล จอร์แดน

หลังจบการศึกษาจากสถาบันศิลปะ Chouinard Art Institute มัวร์ในวัยหนุ่มมีลูกค้าหลายแบรนด์ในสตูดิโอที่ตัวเองตั้งขึ้น แต่มัวร์ตกลงใจร่วมหัวจมท้ายกับแบรนด์เดียว และตอบรับเข้าร่วมงานกับไนกี้ที่ตำแหน่ง Creative Director ในฐานะผู้บุกเบิกตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์คนแรกของบริษัทเมื่อปี 1983 และเพียง 1 ปีต่อมา ครีเอทีฟไดเร็กเตอร์คนนี้ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการพาให้ไนกี้บรรลุดีลเขย่าโลกกับไมเคิล จอร์แดน ซึ่งนำไปสู่ไลน์ผลิตภัณฑ์แอร์จอร์แดนอันโด่งดัง

จากคำบอกเล่า มัวร์นั้นมีชื่อเสียงเรื่องการสื่อสารด้านแบรนด์สูงเป็นพิเศษ ทำให้โดดเด่นในยุคนั้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลายปีก่อนจะเกิดเทรนด์ที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรมักต้องเข้ารับการฝึกอบรมด้านการสื่อสาร เพื่อถ่ายทอดข้อความเกี่ยวกับแบรนด์ สำหรับมัวร์แล้ว รูปแบบการสื่อสารที่ตรงไปตรงมานั้นเป็นจุดขายพิเศษ ซึ่งชัดเจนมากจนหลายคนไม่เคยสงสัยหรือมีคำถามเกี่ยวกับจุดยืนของมัวร์เมื่อเกิดประเด็นปัญหาใดขึ้นมา

4 ปีผ่านไป มัวร์ออกจากไนกี้เพื่อก่อตั้งบริษัท สปอร์ตอิงค์ (Sports Inc) ในปี 1987 โดยมีโรเบิร์ต สตราสเซอร์ (Robert Strasser) เป็นหุ้นส่วนร่วมสร้างแบรนด์ชุดกีฬาคุณภาพเยี่ยม ทั้งคู่ใช้เวลา 6 ปีก่อร่างบริษัทจนฉายแววโดนใจอาดิดาส (Adidas AG) นำไปสู่การเสนอซื้อกิจการในปี 1993 เพื่อเป็นรากฐานสำหรับอาดิดาสอเมริกา (Adidas America)

หลังจากข่าวการเสียชีวิตของมัวร์ ทีมงานอาดิดาสออริจินัลส์ (Adidas Originals) ออกมาทวีตขอบคุณที่มัวร์ได้ “แสดงให้บริษัทมองเห็นอนาคต” ก่อนจะแสดงความรู้สึกระลึกถึงคุณงามความดีที่มัวร์ได้ทำมาตลอดไป ขณะที่ในแถลงการณ์ซึ่งออกโดยโฆษกของอาดิดาส ยกให้มัวร์เป็นตำนานและไอคอนตัวจริงในอุตสาหกรรม

 

ความดีของมัวร์ที่ทิ้งร่องรอยซึ่งลบไม่ออกให้กับแบรนด์กีฬาชั้นนำของโลก คือการขยายความสำคัญของการตลาดที่ชาญฉลาดและรอบคอบ ซึ่งช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์จากการเป็นเพียงแบรนด์รองเท้าผ้าใบธรรมดา ความเชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ของมัวร์ยังเห็นได้บนหลายโลโก้ที่ออกแบบมาเพื่อไนกี้และอาดิดาส โดยเฉพาะโลโก้ “ภูเขา” ของอาดิดาส ที่ถูกปรับใช้สำหรับคอลเลกชันรองเท้าและเครื่องแต่งกายแบบครอบคลุมทุกประเภทในกลุ่อาดิดาสอิควิปเมนท์ (Adidas Equipment) โดยที่มัวร์ชี้ว่าได้รับแรงบันดาลใจจากแนวทางดั้งเดิมของผู้ก่อตั้งอาดิดาส นั่นคือแอดดิ ดาสเลอร์ (Adi Dassler) บนสโลแกนที่สื่อถึงสิ่งที่ดีที่สุดของอาดิดาส (The best of Adidas.)

อินโทรเวิร์ตที่เชื่อในพลังของการคุย

รายงานจาก WWD บอกเล่าเกร็ดการทำงานของมัวร์ว่า เมื่อบริษัทเริ่มใช้อีเมลในช่วงต้นทศวรรษ 1990 มัวร์กลับกระตุ้นให้พนักงานเดินไปคุยกับเพื่อนร่วมงานโดยตรง หลักฐานส่วนนี้พบจากบันทึกภายในของบริษัท แสดงว่ามัวร์ต้องการสื่อสารกับพนักงานแบบใกล้ชิดแทนที่จะส่งอีเมลหรือโทรศัพท์ ดังนั้นแม้จะเป็นคนเก็บตัวหรืออินโทรเวิร์ต แต่มัวร์กลับยกย่องในพลังของการติดต่อและการฟังแบบตัวต่อตัว

สำหรับกรณีการโต้เถียงกันว่าใครควรได้รับเครดิตสำหรับดีลกระหึ่มโลกปี 1984 ของไมเคิล จอร์แดนกับไนกี้ ที่นำไปสู่ธุรกิจมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ มัวร์ไม่ได้เก็บแต่เรื่องดีไว้ที่ตัวเอง โดยให้เครดิตกับคู่หูอย่างสตราสเซอร์ (Robert Strasser) ในฐานะเป็นผู้ตัดสินใจว่าไนกี้จำเป็นต้องคว้าความร่วมมือกับดาวดังบาสเกตบอลให้ได้ และมองเห็นว่ากีฬาบาสเกตบอลจะเป็น “โอกาสทางการตลาดที่ยิ่งใหญ่” ขณะเดียวกันก็มีการให้เครดิตกับคนแวดล้อมในวงการบาสเกตบอลชายทีมชาติสหรัฐฯ ชุดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1984 ซึ่งล้วนมีดีลหักเหลี่ยมซับซ้อนซ่อนเงื่อนจนสนับสนุนให้ดีลนี้เกิดขึ้น

มัวร์มองว่าทุกอย่างสมเหตุสมผลดีในช่วง 30 ปีต่อมา เพราะเวลานั้นไนกี้ไม่อาจรับความเสี่ยงปล่อยให้ดีลนี้หลุดไปได้ นำไปสู่เรื่องราวเบื้องหลังซับซ้อนมากพอจะนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ซึ่งเบน เอฟเฟล็กซ์ (Ben Affleck) และแม็ตต์ เดมอน (Matt Damon) ได้ประกาศแผนการสร้างภาพยนตร์โดยอิงจากความพยายามของไนกี้ในการเซ็นสัญญารองเท้าผ้าใบกับดาวดังบอสเกตบอลยุคนั้น

นิสัยยกย่องเพื่อนร่วมงานอย่างเต็มที่ของมัวร์ สะท้อนชัดเมื่อคู่หูอย่างสตราสเซอร์เสียชีวิต โดยในฤดูใบไม้ร่วงปี 1993 มัวร์กลายเป็นประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของอาดิดาสอเมริกา ซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจของอาดิดาสในสหรัฐฯ เวลานั้นมัวร์ดำรงตำแหน่งผู้นำระดับสูงไม่กี่สัปดาห์ หลังสตราสเซอร์มีอาการหัวใจวายเมื่ออายุ 46 ปีขณะเข้าร่วมการประชุมการขายระหว่างประเทศ

เวลานั้นมัวร์ยกย่องเพื่อนว่าเป็นผู้สร้างทีมงานในสหรัฐอเมริกา บนความมุ่งมั่นที่จะทำให้ความฝันเรื่องการฟื้นแบรนด์อาดิดาสประสบความสำเร็จ ซึ่งแผนการพัฒนาสินค้ากลุ่มหลักเช่นรองเท้าวิ่งผู้ชาย รองเท้าบาสเกตบอลและเทนนิส และคอลเลกชันเสื้อผ้าสตรีในฤดูใบไม้ผลิแบบจำนวนจำกัด ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนจากไอเดียของสตราสเซอร์ที่มัวร์รับมาปฏิบัติตาม

Photo : Shutterstock

แม้จะถ่อมตัวเช่นนี้ แต่จอห์น ฟรีด (John Fread) ซึ่งเคยเป็นผู้นำทีมสื่อสารของอาดิดาสอเมริกา กล่าวยกย่องว่ามัวร์เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่ช่างสังเกต และมีอัจฉริยะด้านความคิดสร้างสรรค์ ทำให้สามารถมองบางสิ่งบางอย่าง แล้วตีความคำจำกัดความ หรือวิธีแก้ปัญหา ก่อนจะถ่ายทอดสิ่งนั้นไปยังทั้งการออกแบบภาพและการใช้งาน ที่ทุกคนจับต้องได้

สำหรับการจากไปของมัวร์ ภรรยาและลูกชาย 3 คน ได้แก่ เดวิน ดิลลอน และฮาเกนแจ้งแก่ผู้ร่วมไว้อาลัยว่าขออนุญาตงดใช้ดอกไม้ และครอบครัวขอให้บริจาคเงินกับโรงพยาบาลเด็กของมหาวิทยาลัยในโอเรกอน Oregon Health & Science University Doernbecher Children’s Hospital หรือสมาคมกอล์ฟเยาวชน Oregon Junior Golf Association แทน

เป็นการรูดม่าน 78 ปี ปิดตำนานสุดยอดนักการตลาดแบรนด์ผู้ปฏิวัติ Nike และ Adidas ที่สร้างประโยชน์ให้สังคมต่อไปอีกนาน

ที่มา : WWD, Design Taxi, USA Today

]]>
1384317
‘Nike’ ยังแกร่ง! ทำรายได้ทะลุ 3.9 แสนล้านบาท โต 96% https://positioningmag.com/1338981 Fri, 25 Jun 2021 09:17:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338981 ย้อนไปเมื่อช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ปี 2020 ‘Nike’ (ไนกี้) ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้มีรายได้เพียง 6.31 พันล้านดอลลาร์ ลดลงมากถึง -38% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่โดยมียอดขาดทุนสุทธิ 790 ล้านดอลลาร์ แต่จากนั้นไนกี้ก็ปรับตัวโดยการมุ่งไปที่ออนไลน์จนสามารถพลิกสถานการณ์กลับมาได้ และในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ปี 2021 หรือไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ ไนกี้สามารถทำรายได้ถึง 3.92 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 96%

ถือว่าฟื้นคืนชีพจากที่เคยโดนพิษโควิดเล่นงานอย่างสวยงาม เพราะเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ไนกี้สามารถเติบโตได้ถึง 96% โดยทำรายได้ถึง 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์หรือราว 3.92 แสนล้านบาท ขณะที่ไตรมาสก่อนหน้าทำรายได้ที่ 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ จากการเติบโตดังกล่าวทำให้หุ้นของไนกี้พุ่งขึ้น 12% ส่งผลให้มูลค่าบริษัทอยู่ที่ 7.6 ล้านล้านบาท

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ไนกี้สามารถเติบโตอย่างมากมาจากผู้บริโภคที่ยังมองหาเสื้อผ้าที่ใส่สบายและเสื้อผ้าสำหรับออกกำลังกาย แม้ว่าคนจะเริ่มกลับไปโรงเรียนหรือออฟฟิศแล้วก็ตาม แต่คนก็ยังมองหารองเท้าผ้าใบและกางเกงผ้ายืดเพื่อใส่ออกไปนอกบ้าน ขณะที่ยอดขายจากช่องทางออนไลน์ก็เติบโตขึ้นถึง 41% เมื่อเทียบกับปีก่อน และเพิ่มขึ้นถึง 147% เมื่อเทียบกับสองปีก่อน

นอกจากนี้ การทำรูปแบบสมาชิกยิ่งช่วยขับเคลื่อนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โดยการซื้อออนไลน์จากสมาชิกซึ่งได้รับสิทธิ์เข้าถึงผลิตภัณฑ์พิเศษและสิทธิพิเศษอื่น ๆ ก่อนลูกค้าทั่วไป ทำให้ไนกี้มียอดขายทำสถิติสูงถึง 3 พันล้านดอลลาร์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปัจจุบัน ไนกี้มีสมาชิกมากกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก

“ด้วยแรงผลักดันจากโมเมนตัมของเรา เรายังคงลงทุนในนวัตกรรมและความเป็นผู้นำด้านดิจิทัลของเรา เพื่อสร้างรากฐานสำหรับการเติบโตในระยะยาวของ Nike” John Donahoe ซีอีโอของ Nike กล่าว

(Photo by Noam Galai/Getty Images)

ด้านภูมิภาคที่ไนกี้สามารถทำได้ดีก็คือ อเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท (46%) โดยยอดขายพุ่งขึ้นกว่า 141% ทำรายได้เป็น 5.38 พันล้านดอลลาร์ ส่วน ยุโรป, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (25%) ยอดขายเพิ่มขึ้น 124% ด้าน เอเชียแปซิฟิก และละตินอเมริกา (13%) ยอดขายเติบโต 82%

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของจีน (16%) หนึ่งในตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดของบริษัทกลับเติบโตได้เพียง 17% ซึ่งสาเหตุอาจมาจากที่ไนกี้เคยถูกแบนเพราะบริษัทได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับข้อกล่าวหาเรื่องการบังคับใช้แรงงานในซินเจียง

“จากประวัติศาสตร์ 40 ปีของเราในจีนแผ่นดินใหญ่ เรายังคงลงทุนอย่างต่อเนื่องในการให้บริการผู้บริโภคด้วยผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดที่ โดยไนกี้นำเสนอในรูปแบบสินค้าที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นCFO Matt Friend กล่าว

ทั้งนี้ ปัญหาด้านโลจิสติกส์ยังคงเป็นสิ่งที่ไนกี้ให้ความกังวล โดยคาดว่าจะยังมีความล่าช้าในระบบซัพพลายเชน รวมถึงต้นทุนที่จะยิ่งสูงขึ้นตลอดปีงบประมาณ 2565 โดยไนกี้คาดว่าการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และการขาดแคลนคนขับรถบรรทุก รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ จะทำให้การขนส่งสินค้าตั้งแต่จากท่าเรือไปยังโกดังสินค้าไปจนถึงบ้านของผู้ซื้อเป็นไปอย่างล่าช้า และจะยังเป็นปัญหาต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกไปอีกหลายเดือน

Source

]]>
1338981
ปัญหาขาดตู้คอนเทนเนอร์ทำพิษ ‘Nike’ ฉุดรายได้อเมริกาเหนือร่วง 10% https://positioningmag.com/1324130 Fri, 19 Mar 2021 06:13:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324130 ‘Nike’ (ไนกี้) ผู้ผลิตรองเท้าและชุดกีฬาได้รายงานผลประกอบการรายได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ว่าได้รับผลกระทบในทางลบจากปัญหาซัพพลายเชน อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โดยเฉพาะในอเมริกาเหนือ, ยุโรป, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา

รายได้ในอเมริกาเหนือในไตรมาสที่ 3 ตามปฏิทินบริษัทลดลง 10% จากปีที่แล้วมาอยู่ที่ 3.56 พันล้านดอลลาร์ซึ่ง Nike กล่าวว่า รายได้ที่ลดลงได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สินค้าทั่วโลก และความแออัดของท่าเรือในสหรัฐฯ ซึ่งทำให้การไหลเวียนของสินค้าคงคลังล่าช้ามากกว่าสามสัปดาห์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระยะเวลาในการจัดส่งสินค้า นั่นหมายความว่าพาร์ตเนอร์ค้าส่งจะได้รับผลกระทบเนื่องจากธุรกิจต่าง ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้าและร้านจำหน่ายเครื่องกีฬาไม่ได้รับสินค้าตรงเวลา

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผลกระทบดังกล่าวและในยุโรปยังมีการปิดร้านอย่างต่อเนื่อง แต่ Nike ยังคงเห็นโมเมนตัมทางออนไลน์ที่ดี โดยยอดขายอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้น 59% ในไตรมาสเดียวกัน ทำให้มีผลกำไรสูงขึ้นและมียอดขายรวม 10.36 พันล้านดอลลาร์ จากปีก่อนหน้าปิดที่ 10.1 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ยังต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ว่าจะมีรายได้รวม 11.02 พันล้านดอลลาร์

ในภูมิภาคยุโรป, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา Nike ระบุว่ายอดขายหน้าร้านลดลงเนื่องจากการปิดและข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับการระบาด ในขณะที่ยอดขายออนไลน์ในตลาดเหล่านั้นเพิ่มขึ้น 60% ส่วนในประเทศจีนซึ่งเป็นภูมิภาคที่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องยอดขายเพิ่มขึ้น 51%

ทั้งนี้ Nike มองว่าแม้ว่าวิกฤต COVID-19 ทั่วโลกจะยังคงทำให้เกิดความไม่แน่นอน แต่ Nike คาดว่าปัญหาในยุโรปจะเริ่มคลี่คลายลงในเดือนเมษายน แต่ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ทั่วโลกและปัญหาการขาดแคลนคนขับรถบรรทุกในสหรัฐฯ ยังคงเป็นเรื่องน่าปวดหัวสำหรับธุรกิจต่าง ๆ หลายคนคาดว่าปัญหาเหล่านี้จะลากยาวไปจนถึงครึ่งหลังของปี แต่คาดว่าเวลาการขนส่งสินค้าคงคลังจะดีขึ้นอย่างช้า ๆ

Nike Store at La Roca Village
Photo : Shutterstock Nike Store at La Roca Village

โดยบริษัทคาดว่ายอดขายในไตรมาสสี่จะเพิ่มขึ้น 75% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากปีที่แล้ว Nike ต้องปิดหน้าร้านลงถึง 90% เนื่องจากการแพร่ระบาด ขณะที่นักวิเคราะห์มองหาการเติบโตที่ 64.3% ทั้งนี้ บริษัท กล่าวว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของ Nike จะมีสัดส่วนยอดขายอย่างน้อย 50% ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดย Nike ได้ลงทุนในดิจิทัลมากขึ้นรวมถึงแอป SNKRS ที่จะช่วยให้ Nike เข้าผู้บริโภคที่โดยลดการพึ่งพาพันธมิตรคนกลางในการขายสินค้า

นอกจากนี้ยังระบุว่า Nike เพิ่งประสบความสำเร็จในการทดสอบ ‘ไลฟ์สด’ ขายของ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเอเชีย โดยในอเมริกาก็เริ่มมีการทดลองทำตามเทรนด์นี้บ้างแล้ว อาทิ Nordstrom และ Walmart ขณะที่ Nike ได้ระบุว่าได้เริ่มไลฟ์สดในญี่ปุ่น, เยอรมนี และอิตาลี

“เราได้เห็นการมีส่วนร่วมที่น่าอัศจรรย์สำหรับการโต้ตอบแบบสด โดยเรามีคนดูโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า” John Donahoe ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกล่าว

Source

]]>
1324130
Adidas รุกเเผนปั้นยอดขายออนไลน์ ‘เพิ่ม 2 เท่า’ ในปี 2025 ออกสินค้ารักษ์โลก ลุยตลาดจีน https://positioningmag.com/1323016 Thu, 11 Mar 2021 09:47:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1323016 จับเทรนด์อีคอมเมิร์ซเฟื่องฟู ‘Adidas’ แบรนด์เสื้อผ้าและรองเท้ากีฬาชื่อดังจากเยอรมนี ทุ่มพันล้านยูโรปั้นยอดขายออนไลน์เพิ่ม 2 เท่าภายในปี 2025 จับตลาดวัยรุ่น-เเฟชั่น-ผู้หญิง เร่งเจาะตลาดจีน พร้อมออกสินค้ารักษ์โลกคำนึงถึงความยั่งยืนมากขึ้น โดยเป็นหนึ่งในเเผนธุรกิจ 5 ปี ที่จะเพิ่มผลกำไรให้ทันคู่เเข่งอย่าง Nike

Adidas วางเป้าทำยอดขายทางออนไลน์ให้ได้ถึง 9 พันล้านยูโรต่อปี (ราว 3.2 เเสนล้านบาท) ให้ได้ภายในปี 2025 หลังมีกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 12-14% จากที่เคยทำได้ในปี 2019 ที่ 11.3% โดยสามารถทำรายได้ 5.55 พันล้านยูโร (ราว 2 เเสนล้านบาท) ในไตรมาสที่ 4/2020 ที่ผ่านมา 

บริษัท ประเมินว่า ในปีนี้จะมีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง หลังสาขาทั่วโลกมากกว่า 95% ได้กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง โดยเฉพาะลูกค้าในกลุ่มวัยรุ่นที่มีรายได้ปานกลางถึงระดับสูง

คาดว่ายอดขายปีนี้จะเพิ่มขึ้นมากถึง 30% โดยเฉพาะในประเทศจีน เอเชีย และลาตินอเมริกา

เเม้ธุรกิจเสื้อผ้าเเละอุปกรณ์กีฬา จะได้รับผลกระทบหนักจากการปิดสาขาชั่วคราว ตามมาตรการล็อกดาวน์สกัด COVID-19 ในหลายประเทศ เเต่ก็สามารถทำยอดขายทางออนไลน์ได้ถล่มทลาย เนื่องจากมีผู้คนจำนวนมากหันมาใส่ใจสุขภาพ มีการออกกำลังกายหรือเล่นโยคะที่บ้านกันมากขึ้น

ด้านรายใหญ่อีกเจ้าอย่าง Nike แบรนด์ชุดกีฬาที่ครองตลาดมากที่สุดในโลก ก็มีเเผนจะปรับตัวสู่ “ขายออนไลน์” เเบบเต็มสูบ ให้กลายเป็นทิศทางของเเบรนด์ หลังยอดขายไปได้สวย

John Donahoe ซีอีโอของ Nike บอกว่า “เราต่างรู้ดีว่าดิจิทัลเป็น New Normal ในยุคนี้ และพฤติกรรมผู้บริโภคจะไม่กลับไปเป็นแบบเดิมอีกเเล้ว” 

โดย Adidas มีเเผนจะทุ่มเงินทุนมากกว่า 1 พันล้านยูโร (ราว 3.6 หมื่นล้านบาท) เพื่อเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล ในปี 2525 พร้อมสร้างเเพลตฟอร์มเเละระบบต่างๆ ที่เอื้อให้มีคำสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ดีเเละรวดเร็วขึ้น

(Photo by Sean Gallup/Getty Images)

Kasper Rorsted ซีอีโอของ Adidas ระบุว่า ภายในปี 2025 อีคอมเมิร์ซจะมีสัดส่วนมากกว่า 40% ของยอดขายทั้งหมดในอุตสาหกรรม โดยออนไลน์จะเติบโตเร็วกว่าออฟไลน์ถึงสามเท่าซึ่งตอนนี้ Adidas มีสมาชิกมากกว่า 150 ล้านคนเข้าสู่ระบบออนไลน์ของบริษัทแล้ว

เช่นเดียวกับคู่เเข่งอย่าง Puma และ Nike เเบรนด์ Adidas จะให้ความสำคัญกับตลาดผู้หญิง มากขึ้น โดยเฉพาะในสินค้าหมวดเเฟชั่น

นอกจากนี้ ยังวางเป้าหมายที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์กว่า 9 ใน 10 เป็นผลิตภัณฑ์มีความยั่งยืนมากขึ้น ด้วยการใช้วัสดุรีไซเคิลและย่อยสลายได้ นำร่องด้วยการใช้หนังสัตว์เทียมจากเห็ดในรองเท้ารุ่นฮิตอย่าง Stan Smith ที่จะเปิดตัวในปีนี้

ซีอีโอ Adidas บอกว่าผู้บริโภคมากกว่า 70% เห็นว่าความยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ

ด้วยการที่จีนเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุด ณ ตอนนี้ Adidas จึงเตรียมเข้าถึงตลาดจีนมากขึ้น โดยจะแยกธุรกิจออกมาจากทวีปเอเชีย รวมถึงการรวมธุรกิจของรัสเซียเข้ากับธุรกิจของทวีปยุโรป โดยเตรียมเปิดตลาดใหม่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง และทวีปแอฟริกาในปีนี้ด้วย

นอกจากนี้ Adidas มีแผนที่จะขายกิจการ ‘Reebok’ ภายในปีนี้ เนื่องจากไม่สามารถทำรายได้ถึงเป้าหมายตลอดช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ทำให้สูญเสียส่วนแบ่งการตลาดไป โดย Adidas เข้าเข้าซื้อ Reebok แบรนด์เสื้อผ้าฟิตเนสของสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อ 15 ปีก่อน เพื่อหวังจะเข้ามาช่วยเเข่งขันกับคู่เเข่ง Nike ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ของสหรัฐฯเช่นกัน

 

ที่มา : Reuters (1) (2) , Yahoo

 

]]>
1323016
Nike มองรายได้ปีนี้ “ดีเกินคาด” ปรับเป้ายอดขายเพิ่ม คนเเห่ซื้อออนไลน์พุ่ง เทรนด์สุขภาพอยู่ยาว https://positioningmag.com/1311261 Sat, 19 Dec 2020 14:17:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311261 เเบรนด์กีฬายักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Nike พลิกฟื้นขาดทุนกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง มองว่ารายได้รวมของปีนี้ จะดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังยอดขายออนไลน์เติบโตอย่างมากจากวิกฤตโรคระบาด

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้คนใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น เเละหันมาทำกิจกรรมต่างๆ เช่น วิ่งหรือขี่จักรยาน ทำให้ชุดกีฬาของเเบรนด์ต่างๆ ได้รับความนิยมขึ้นอย่างมาก โดยในช่วงล็อกดาวน์ มีผู้เข้าใช้งาน
เเอปพลิเคชันของ Nike จำนวนมากเเละมีการสั่งซื้อสินค้าต่อเนื่อง ทำให้มีรายได้ส่วนนี้มาช่วยพยุงยอดขายสาขาที่หดหายไป

Jessica Ramirez นักวิเคราะห์ฝ่ายค้าปลีกของ Jane Hali & Associates ให้ความเห็นว่า การทุ่มลงทุนในอีคอมเมิร์ซของ Nike ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา สร้างความได้เปรียบครั้งใหญ่ เหนือคู่แข่งสำคัญอย่าง Adidas เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนเเปลงเข้าสู่ดิจิทัลมากขึ้น

ความพร้อมเเละการใช้งานง่ายของเว็บไซต์ Nike รวมถึงการรวบรวมข้อมูลสินค้าและบริการที่สอดรับความต้องการของลูกค้า ช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมายไปยังผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม เเม้ในช่วงที่ผู้คนต้องประหยัดเเละระะมัดระวังการใช้จ่าย

ยอดขายออนไลน์ของ Nike เติบโตถึง 84% โดยเฉพาะในตลาดอเมริกาเหนือที่เติบโตมากกว่า 100% และพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลกก็เติบโตเป็นอัตราเลขสองหลัก สอดคล้องกับกระเเสการออกกำลังกายกลางเเจ้งในหลายพื้นที่ ได้เริ่มกลับมาอีกครั้ง ก็มีส่วนทำให้ยอดขายของ Nike ฟื้นตัวขึ้นจากช่วงวิกฤตได้ดี

Nike รายงานผลประะกอบการงวดไตรมาส 2/63 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2020 มีรายได้เพิ่มขึ้น 9% มาอยู่ที่ 1.12 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ที่ 1.05 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ด้านกำไรสุทธิไตรมาส 2 อยู่ที่ 1.25 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 12% คิดเป็นกำไรต่อหุ้นที่ 78 เซ็นต์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดกำไรต่อหุ้นไว้ที่ 62 เซ็นต์

ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารก็ลดลง 2% สู่ระดับ 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้นทำให้ Nike ไม่ต้องใช้ทุ่มงบโฆษณา หรือจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาดมากเท่ากับปีก่อน ๆ

จากปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตเหล่านี้ ทำให้ Nike ได้ปรับคาดการณ์รายได้ในปีปฏิทิน 2021 (มิ.. 2020-.. 2021) จากเดิมที่คาดกว่าจะโตเเค่หลักเดียวเเต่ตอนนี้คาดว่าจะโตได้ถึงสองหลักอย่างเเน่นอน โดยกลุ่มลูกค้าที่บริษัทจะมุ่งตีตลาดต่อไปนั่นก็คือกลุ่มวัยรุ่นนั่นเอง

 

ที่มา : Reuters, Nike 

]]>
1311261
ทิศทางใหม่ ‘Nike’ ดันยอดขายอีคอมเมิร์ซพุ่ง 82% เมื่อออนไลน์คือ New Normal ของผู้บริโภค https://positioningmag.com/1298964 Sun, 27 Sep 2020 10:54:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298964 การปรับสู่ขายออนไลน์เต็มสูบของเเบรนด์ดังอย่าง ‘Nike’ เป็นทิศทางใหม่ที่ไปได้สวยเลยทีเดียว หลังยอดขายผ่านอีคอมเมิร์ซพุ่งสูงกว่า 82% ในไตรมาสที่ผ่านมา

John Donahoe ซีอีโอของ Nike บอกว่าเราต่างรู้ดีว่าดิจิทัลเป็น New Normal ในยุคนี้ และพฤติกรรมผู้บริโภคจะไม่กลับไปเป็นแบบเดิมอีกเเล้ว” 

บรรดาผู้ผลิตเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬารายใหญ่ของโลก ต่างปรับตัวมาขายตรงกับผู้บริโภคมากขึ้น ตามผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของตัวเอง ซึ่ง Nike เริ่มดำเนินกลยุทธ์นี้มาตั้งเเต่ก่อนวิกฤต COVID-19

ช่วงที่ผ่านมาเเม้ยอดขายทางออนไลน์ของ Nike จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก เเต่ตอนขายหน้าร้านลดลงอย่างมากเมื่อต้องปิดให้บริการชั่วคราวตามมาตรการล็อกดาวน์ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ส่งผลให้ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ (ไตรมาส 4 ของปีงบประมาณ) บริษัทมีรายได้อยู่ที่ 6.31 พันล้านดอลลาร์ จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วมีรายได้ที่ 1.01 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือลดลงมากถึง -38% โดยมียอดขาดทุนสุทธิ 790 ล้านดอลลาร์ 

ขณะเดียวกัน การที่ผู้คนหลีกเลี่ยงไปออกกำลังกายที่ยิม ก็มีส่วนหนุนให้ยอดขายออนไลน์ของ Nike เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะคนต้องการออกกำลังกายที่บ้านมากขึ้น ทำให้ยอดขายดิจิทัลเติบโต 82% มากกว่าไตรมาสก่อนหน้านี้ที่ Nike ทำยอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้น 75% คิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของยอดขายทั้งหมด ที่  Nike เคยวางเป้าหมายว่าจะทำให้ได้ในปี 2023

Nike มีกำไรสุทธิในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้น 11% เป็น 1.52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.8 หมื่นล้านบาท) จากการลดค่าใช้จ่ายในสาขาเเละลดต้นทุนการบริหารโดยถือว่าเป็นผลลัพธ์ที่เกินความคาดหมายของเหล่านักวิเคราะห์

(Photo by Spencer Platt/Getty Images)

เมื่อดูเป็นรายภูมิภาคพบว่า ในยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา มียอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า เเต่ธุรกิจค้าส่งเเละสาขาก็ยังมีลูกค้าไปเยือนลงลดมาก เเม้ในตลาดใหญ่อย่างจีนจะฟื้นตัวเร็วมาก เเต่การฟื้นตัวโดยรวมของเอเชียแปซิฟิกและลาตินอเมริกา กลับลดลง 18% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เเม้ตอนนี้ร้านค้ากว่า 90% จะกลับมาเปิดให้บริการปกติเเล้วก็ตาม

ขณะที่ หากเเบ่งเป็นหมวดหมู่ พบว่า ยอดขายกลุ่มเสื้อผ้าของ Nike ลดลง 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ยอดขายอุปกรณ์ลดลง 17%

ส่วนสินค้าที่ขายดีขึ้นคือรองเท้า โดยมีการเติบโตขึ้น 4% ถือว่าดีขึ้นกว่าไตรมาสก่อนหน้าซึ่งสิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2020 ที่รองเท้ามียอดขายลดลง 35% เสื้อผ้าลดลง 42% เเละอุปกรณ์กีฬาลดลง 53% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019

Christopher Svezia นักวิเคราะห์ของ Wedbush ให้ความเห็นกับ Reuters ว่า ยอดขายรองเท้าและเครื่องแต่งกายกีฬาทั่วโลกของ Nike จะฟื้นตัว โดยเฉพาะในอเมริกาเหนือ และจะเติบโตยิ่งขึ้น เมื่อกลุ่มนักเรียนนักศึกษากลับไปเรียนที่สถานศึกษาได้เหมือนเดิมอีกครั้ง

ทั้งนี้ Nike ประกาศจะปรับลดพนักงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 1 .. เป็นต้นไป โดยจะหันไปเน้นการลงทุนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น รวมถึงจะยกเลิกสัญญากับผู้ค้าปลีกหลัก 9 ราย และดีลกับห้างสรรพสินค้า Dillard’s และ Zappos ของ amazon.com พร้อมกับการระงับเเผนที่จะเปิดโรงงานใหม่ในรัฐแอริโซนาของสหรัฐฯ ด้วย

 

ที่มา : Reuters (1)(2) , Business Insider

 

]]>
1298964
‘Nike’ ต้องจ่ายค่าชดเชยกว่า 250 ล้านเหรียญฯ หลัง ‘ปลดพนักงาน’ เพื่อลุยออนไลน์ https://positioningmag.com/1289452 Fri, 24 Jul 2020 07:11:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1289452 เมื่อเดือนที่ผ่านมา ‘ไนกี้’ (NIKE) ได้รายงานผลประกอบการเมื่อเดือนที่แล้วว่าว่ามีรายได้อยู่ที่ 6.31 พันล้านดอลลาร์ ลดลงมากถึง -38% โดยมียอดขาดทุนสุทธิ 790 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ มาจาก Covid-19 ที่ทำให้ปิดร้านค้าส่วนใหญ่ทั่วโลกต้องปิดตัวลง แต่ยอดขายดิจิทัลของไนกี้เพิ่มขึ้น 75% หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 30% ของรายรับทั้งหมด ส่งผลให้ไนกี้บอกว่าจะเตรียมลดจำนวนพนักงานลง เพื่อมุ่งสู่ออนไลน์เต็มตัว

ล่าสุด ‘ไนกี้’ ได้ประกาศการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารจำนวนมาก รวมถึงได้ลดจำนวนพนักงาน ตามที่เคยประกาศก่อนหน้านี้ เพื่อมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจดิจิทัลและขายตรงให้กับลูกค้ามากขึ้น เนื่องจากการระบาดใหญ่ของ Covid-19 ที่เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อ

ไนกี้ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่ ​​“การเลิกจ้างทั่วทั้งบริษัท” ซึ่งจะส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในการเลิกจ้างพนักงานชั่วคราวก่อนหักภาษีประมาณ 200 – 250 ล้านเหรียญสหรัฐ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2019 Nike มีพนักงานประมาณ 76,700 คนทั่วโลกตามรายงานประจำปี อย่างไรก็ตาม ทางไนกี้ปฏิเสธที่จะเปิดเผยว่าได้รับผลกระทบมากแค่ไหน แต่ยืนยันว่านี่ไม่ใช่การลดต้นทุน และมีจุดประสงค์เพื่อลงทุนทรัพยากรในส่วนที่แข็งแกร่งของธุรกิจ

นอกจากการลดจำนวนพนักงานแล้ว ไนกี้ยังมีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารในหลายตำแหน่ง โดย John Donahoe ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไนกี้ กล่าวในแถลงการณ์ว่า “เรากำลังประกาศการเปลี่ยนแปลงในวันนี้เพื่อเปลี่ยน Nike ให้เดินหน้าได้เร็วขึ้น เร่งโอกาสในการเติบโตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเราและขยายตำแหน่งความเป็นผู้นำของเรา และตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมในการเสริมสร้างจุดแข็งของ Nike และยกระดับกลุ่มผู้นำที่มีความสามารถและมีประสบการณ์ซึ่งสามารถช่วยผลักดันการเติบโตในระยะต่อไปของเรา”

(Photo by Spencer Platt/Getty Images)

อย่างไรก็ตาม แม้ไนกี้จะได้รับผลกระทบเหมือนกับแบรนด์แฟชั่นอื่น ๆ ทั่วโลก แต่ไนกี้ยังคงถูกมองว่าเป็นหนึ่งในผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดในอุตสาหกรรม โดยหุ้นไนกี้ลดลงต่ำกว่า 1% ในการซื้อขายช่วงเช้า และตกลงประมาณ 3% ในปีนี้ ปัจจุบันไนกี้มีมูลค่าตลาด 153 พันล้านเหรียญสหรัฐ

Source

]]>
1289452