CEO – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 20 Jun 2023 05:29:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Alibaba เปลี่ยน CEO ใหม่อีกครั้ง ได้ Eddie Wu ซึ่งเป็น 1 ในผู้ก่อตั้งบริษัทขึ้นแทน Daniel Zhang https://positioningmag.com/1434725 Tue, 20 Jun 2023 05:21:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1434725 บริษัทเทคโนโลยีอย่าง Alibaba ล่าสุดได้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้บริหารอีกครั้ง เมื่อ CEO อย่าง Daniel Zhang ประกาศลงจากตำแหน่งไปดูแลธุรกิจ Cloud ของบริษัท แต่จะได้ Eddie Wu ซึ่งเป็น 1 ในผู้ก่อตั้งบริษัทขึ้นมาเป็น CEO แทน

Alibaba ได้ประกาศว่า CEO อย่าง Daniel Zhang ได้ประกาศลงจากตำแหน่ง ขณะเดียวกันบริษัทก็ได้แจ้งว่า Eddie Wu ซึ่งเป็น 1 ในผู้ก่อตั้งบริษัท ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานดูแลธุรกิจด้าน E-commerce ในประเทศจีนอย่าง TMall และ Taobao จะขึ้นเป็นหัวเรือใหญ่หลังจากนี้

การประกาศลงจากตำแหน่งแบบกะทันหันของ Daniel Zhang นั้นตามหลังมาจากการประกาศแยกธุรกิจของบริษัทเป็น 6 ธุรกิจ หลังจากการเข้ามาปราบปรามของรัฐบาลจีนอย่างหนักในช่วงปลายปี 2020 โดยหลังจากนี้เขาจะไปดูแลหน่วยธุรกิจ Cloud ของ Alibaba แทน

ซึ่งตำแหน่ง CEO ของ Daniel Zhang นั้นมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยเขารับไม้ต่อจาก Jack Ma ที่ประกาศวางมือจากตำแหน่งในวัย 54 ปีที่ได้หันไปโฟกัสในเรื่องอื่น เช่น การศึกษา หรืองานการกุศลสำหรับมูลนิธิของตัวเขาเอง เป็นต้น

สำหรับ Eddie Wu นั้นปัจจุบันเป็นประธานดูแลธุรกิจ E-commerce ในประเทศจีนอย่าง TMall และ Taobao และเขาเคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) ไม่ว่าจะเป็น Taobao หรือแม้แต่ Alipay มาแล้ว และยังช่วยออกแบบเทคโนโลยีของแพลตฟอร์มต่างๆ ของบริษัทมาแล้ว

ไม่เพียงเท่านี้ Eddie เองถือเป็น 1 ในผู้ก่อตั้ง Alibaba ร่วมกับ Jack Ma ด้วย โดยเขาจบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และร่วมงานกับบริษัทในปี 1995

นอกจากนี้ในการโยกย้ายตำแหน่ง CEO ครั้งนี้ยังมีการโยกย้ายตำแหน่งของ Joseph Tsai จะขึ้นเป็นประธานบริหารของ Alibaba ด้วย จากเดิมที่เขาดำรงตำแหน่งรองประธานบริหาร

การโยกย้ายตำแหน่งดังกล่าวนี้จะมีผลภายในวันที่ 10 กันยายน เป็นต้นไป

]]>
1434725
ผลสำรวจปี 64 เผย ‘ซีอีโอ’ ได้ค่าตอบแทนมากกว่าพนักงานทั่วไป 254 เท่า 85% มาจากโบนัส! https://positioningmag.com/1382092 Wed, 20 Apr 2022 14:53:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382092 ย้อนไปในปี 2019-2020 ที่การระบาดของ COVID-19 ได้เริ่มระบาด ในช่วงปีนั้นค่าตอบแทนของ CEO ลดลงเพียง 1.6%  จาก 15.7 ล้านดอลลาร์เป็น 15.5 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากเหล่าผู้บริหารยอมลดหรือไม่รับเงินเดือนเพื่อพยุงบริษัทจากผลกระทบของการระบาด แต่เพียงปีเดียวช่องว่างของค่าตอบแทน CEO ก็กว้างขึ้นอีกครั้ง

จากปีแรกที่เกิดการระบาดระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ผู้บริหารระดับสูงต้องลดค่าตอบแทนที่ได้ แต่พอสถานการณ์เริ่มกลับมาเป็นปกติ รายได้ก็กลับมามากกว่าที่หายไป โดยจากผลสำรวจของ Equilar 100 พบว่าในปี 2021 CEO จากบริษัทใหญ่ ๆ ทำรายได้มากกว่าพนักงานทั่วไปเฉลี่ย 254 โดยเพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ในปี 2021 ค่าเฉลี่ยของค่าตอบแทน CEO อยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 31% จากปีก่อน โดยปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้ค่าตอบแทนสูงขึ้นเนื่องมากจากโบนัสและรางวัลหุ้นตามผลประกอบการของตลาดและผลิตภาพของบริษัท ซึ่งคิดเป็น 85% ของค่าตอบแทน อีก 15% เป็นเพียงเงินเดือนเท่านั้น

ขณะที่ค่าตอบแทนพนักงานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 68,935 ดอลลาร์ในปี 2020 เป็น 71,869 ดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้นประมาณ 4% เท่านั้น โดย Equilar ระบุว่า การเติบโตส่วนหนึ่งมาเกิดจากบริษัทที่เสนอโบนัส แต่ในภาวะเศรษฐกิจที่แพร่ระบาดที่กำลังฟื้นตัว ซึ่งส่งผลให้อุปสงค์ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นและอุปทานแรงงานที่ตึงตัวขึ้น

ช่องว่างที่กว้างขึ้นแสดงให้เห็นว่าผลกำไรขององค์กรอยู่ที่จุดสูงสุด แต่ในขณะที่ คนงานซึ่งหลายคนอยู่ในแนวหน้าของวิกฤตยังไม่ได้รับผลตอบแทน Sarah Anderson ผู้เชี่ยวชาญด้านค่าตอบแทนผู้บริหารของ  สถาบัน Think Thank กล่าว

“ในปี 2564 บริษัทมุ่งเน้นไปที่การรักษาผู้บริหารให้มีความสุขและไม่ต้องกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนงาน แต่ในระยะยาว และแม้ในระยะสั้น มันจะไม่เป็นผลดีต่อผลประกอบการ”

ทั้งนี้ สถาบันนโยบายเศรษฐกิจ ประเมินค่าตอบแทนของ CEO เพิ่มขึ้น 1,322% ตั้งแต่ปี 1978 เทียบกับการเพิ่มขึ้น 18% สำหรับคนทำงานทั่วไปในช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ตาม ที่ค่าจ้างคนงานทั่วไปไม่ได้เพิ่มขึ้นเร็วเท่ากับที่ CEO นั้นมีเหตุผลหลายประการ ทั้งอัตราการว่างงานสูง การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล การพังทลายของสหภาพแรงงาน มาตรฐานแรงงานต่ำ การเพิ่มขึ้นของเงื่อนไขการไม่แข่งขันและการเอาท์ซอร์สในประเทศ

ตามข้อมูลของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ พบว่า ข้อมูลค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นประมาณ 5% ในปีที่แล้ว เป็น 31.58 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง แต่การเติบโตของค่าจ้างดูเหมือนจะชะลอตัวลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ยังคงเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยที่ประมาณ 8.5% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

Source

]]>
1382092
รู้จัก Mia x Tati แบรนด์แฟชั่นเด็ก มี CEO เป็น 2 พี่น้อง 4 กับ 5 ขวบ https://positioningmag.com/1366610 Mon, 13 Dec 2021 12:12:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366610 ย้อนกลับไปเมื่อเดือนมิถุนายน 64 คุณหนู 2 ศรีพี่น้อง Mia และ Tatiana Escalante กลายเป็นข่าวดังในออสเตรเลียเมื่อทั้งคู่ปรากฏตัวในงาน Australian Fashion Week ด้วยชุดทะมัดทะแมงสไตล์เดียวกัน การปรากฏตัวนี้ได้รับความสนใจอย่างมากเพราะก่อนหน้านี้ 2 สาวน้อยได้กวาดรวบผู้ติดตามบน Instagram เกินกว่า 700,000 follower ซึ่งติดใจกับความน่ารักน่าดูของพี่น้องคู่นี้

ล่าสุด สาวน้อยคู่หูดูโอ้จากซิดนีย์กำลังเดินเครื่องเปิดตัวแบรนด์เสื้อผ้าของตัวเอง เพื่อทำตลาดสินค้าสาย apparel เป็นครั้งแรกในชื่อ Mia x Tati Store โดยที่ Mia และ Tati จะเตรียมนั่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแบรนด์ คาดว่าจะทำสถิติเป็น CEO ที่อายุน้อยที่สุดในแดนจิงโจ้

Photo : https://www.instagram.com/miaxtati/

ด้วยอายุ 5 ขวบของคุณหนูคนพี่และ 4 ขวบของคนน้อง ทั้งคู่สามารถนำเสนอเอกลักษณ์เรื่องการแต่งตัวได้ไม่แพ้ผู้ใหญ่ ตัวตนที่ชัดสามารถพาให้แบรนด์ Mia x Tati มีมุมมองสะท้อนถึงสไตล์เก๋เท่ที่ชาวแฟชั่นมองหาอยู่ บนจุดเด่นคือการออกแบบเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ให้ผู้สวมใส่สามารถวิ่งเล่นและเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ

มิติใหม่เสื้อผ้าเด็ก ใส่ได้ทั้งหญิงชาย

คุณแม่ของพี่ Mia และน้อง Tatiana มีนามว่า Nga Escalante จากการให้ส้มภาษณ์กับ Daily Mail Australia คุณแม่ Nga ย้ำว่าจุดเริ่มต้นของ Mia x Tati Store มาจากความสนิทสนมกันมากของ 2 สาวที่อาศัยอยู่กับครอบครัวในซิดนีย์ ออสเตรเลีย ทั้งคู่ชอบใส่ชุดที่คล้ายคลึงกันเสมอ คุณแม่ก็สนับสนุนและเริ่มโพสต์ในบัญชี Instagram ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

Photo : https://www.instagram.com/miaxtati/

ความน่าเอ็นดูของพี่ Mia และน้อง Tatiana เป็นแม่เหล็กดึงดูดผู้ติดตาม Instagram มากถึง 700,000 คนในเวลาไม่ถึง 3 ปี ทั้งคู่สามารถสร้าง Instagram Reel ที่มีคนดูมากที่สุดในโลกด้วยยอดวิว 277 ล้านครั้ง ช่องโซเชียลมีเดียของพี่ Mia และน้อง Tatiana นำเสนอแฟชั่นและสไตล์ดีไซเนอร์ของตัวเองจนสามารถไปยืนเด่นในงาน Australian Fashion Week ปีนี้ นำไปสู่การแจ้งเกิด Mia x Tati Store ซึ่งเป็นคอลเลกชั่นเสื้อผ้าที่เป็นกลางทางเพศ แถมยังสวมใส่สบายตามสไตล์เด็กรุ่นใหม่

สิ่งที่ทำให้ Mia x Tati Store ได้รับความสนใจจากตลาด คือโอกาสแจ้งเกิดคอลเลกชั่นเสื้อผ้าที่คิดใหม่ทำใหม่เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายวัยน่ารัก โดยคุณแม่ Nga ให้มุมมองว่าเธอมักจะแต่งตัวลูกทั้ง 2 คนด้วยเสื้อผ้าโอเวอร์ไซส์ที่ใหญ่กว่าขนาดพอดีเล็กน้อย แล้วจึงจับคู่กับรองเท้าผ้าใบหลากหลายสี สไตล์ที่โดนใจทำให้เซตภาพถ่ายของ 2 สาวได้รับคำชมบ่อยครั้ง คุณแม่ Nga จึงเริ่มแชร์รูปภาพบน Instagram เพื่อความสนุกสนาน

Photo : https://www.instagram.com/miaxtati/

เมื่อแบรนด์ต่างๆ เริ่มสังเกตเห็นแววของ 2 พี่น้อง จึงเริ่มจัดส่งเสื้อผ้ามาให้คุณแม่ Nga จับคู่อย่างดูดีมีสไตล์ เหตุการณ์ดำเนินผ่านไปจนทั้งคู่เติบโตขึ้น และได้พัฒนารูปลักษณ์เป็นเอกลักษณ์ จนเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ปกครองคนอื่นแต่งกายให้ลูกของตัวเองในลักษณะเดียวกัน

ที่สุดแล้ว Nga มองว่าเป็นเรื่องสมเหตุสมผลแล้วที่ 2 สาวจะเริ่มทำแบรนด์แฟชั่นของตัวเองที่แสดงถึงสไตล์ของทั้งคู่จริงๆ การสร้างแบรนด์นี้จะแสดงให้เห็นว่าการสร้างลุคอินเทรนด์ให้เข้ากับสิ่งที่ต้องทำในชีวิตประจำวันนั้นง่ายเพียงใด

Photo : https://www.instagram.com/miaxtati/

ในขณะที่พี่ Mia และน้อง Tatiana ยังเด็กเกินกว่าจะเข้าใจถึงความมีชื่อเสียงของตัวเอง ทั้งคู่มักจะได้รับคำชมจากผู้คนที่เห็นว่าหนูน้อยกำลังสวมรองเท้าผ้าใบ Gucci, เสื้อยืด Burberry และชุดวอร์ม Culture Kings ทั้งหมดนี้ คุณแม่ Nga เล่าว่าเธอเริ่มโพสต์รูปลูกสาวบ่อยครั้งขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2020 โดยเน้นถ่ายทอดชุดพี่น้องที่เข้าคู่กันซึ่งเมื่อรูปและ Reel บางส่วนกลายเป็นไวรัล จำนวนผู้ชมและผู้ติดตามจึงกระโดดขึ้นทันทีจนทะลุหลัก 748,000 คนในขณะนี้ จากที่เคยมีผู้ติดตามประมาณ 7,000 คนเท่านั้น

ตั้งแต่นั้นมา พี่ Mia และน้อง Tatiana ก็มีชุดวอร์มสีเดียวกันเป็นลุคหลักที่จดจำง่ายอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผมยาวถูกรวบเป็นหางม้าแบบเรียบ หรือบางครั้งเป็นผมเปียกับหมวก กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของ 2 พี่น้องที่ทำให้หลายคนจดจำสะดุดตา โดยที่คุณแม่ก็ยืนยันว่า 2 สาวชอบใส่อะไรก็ได้ที่สบายและวิ่งเล่นได้

Photo : https://www.instagram.com/miaxtati/

ไม่ได้กดดัน

ครอบครัวของ Mia และ Tatiana ยืนยันว่าทั้งคู่ไม่ได้อยู่ภายใต้แรงกดดันที่ต้องรับหน้าที่นางแบบ หรือมีการบังคับว่าจะต้องทำงานท่ามกลางสายตาสาธารณชนต่อไปเมื่อโตขึ้น แม้คุณแม่จะย้ำว่าแท้จริงแล้ว ความเคลื่อนไหวทั้งหมดมาจากสิ่งที่ 2 สาวใฝ่ฝันต้องการทำเมื่อเติบโตขึ้น

ในภาพรวม คุณแม่เชื่อว่าการถ่ายรูป 2 สาวช่วยสร้างความมั่นใจให้ทั้งคู่มีฐานสู่อนาคตที่ใฝ่ฝันไว้ แต่ครอบครัวก็ยังหลีกเลี่ยงการโพสต์ภาพถ่ายส่วนตัวทางออนไลน์ เพื่อปกป้องชีวิตส่วนตัวของลูกสาว และพยายามตรวจสอบว่าเรื่องราวของทั้งคู่จะเป็นพื้นที่เชิงบวกซึ่งไม่มีการละเมิดต่อพี่น้องคู่นี้

Photo : https://www.instagram.com/miaxtati/

สรุปแล้ว จุดยืนของแบรนด์ Mia x Tati Store ที่ 2 สาวจะเป็นแรงสำคัญในการปลุกปั้น คือการนำเสนอเสื้อผ้าเก๋ไก๋ที่เป็นกลางทางเพศซึ่งให้ความสบายในการสวมใส่ เชื่อว่าจะมีการเป็นพันธมิตรกับหลายแบรนด์ที่ 2 พี่น้องเคยร่วมงานมาก่อน และจะมีการขยายจากจุดเริ่มต้นแบรนด์แฟชั่นของทั้งคู่ที่แสดงถึงสไตล์ที่ไม่เหมือนใคร เพื่อสะท้อนการสร้างลุคที่ทันสมัยซึ่งเข้ากันกับชีวิตประจำวันของผู้สวมใส่อย่างเหมาะสม.

Photo : https://www.instagram.com/miaxtati/

ที่มา :

]]>
1366610
ความเห็น ‘ซีอีโอ’ 45 กลุ่มอุตฯ หนุนรัฐเปิดประเทศปลายปี พักหนี้-หยุดดอกธุรกิจท่องเที่ยว https://positioningmag.com/1354224 Thu, 30 Sep 2021 07:45:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1354224 เปิดผลสำรวจความเห็นซีอีโอกว่า 150 คนจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 ...จังหวัด ส่วนใหญ่กว่า 78% หนุนรัฐผ่อนคลายล็อกดาวน์เเละเปิดประเทศ .. – ..นี้ รับต่างชาติเเบบให้อยู่ในพื้นที่ Sandbox 14 วัน หากไม่พบเชื้อหลังจากนั้น สามารถเดินทางไปทั่วประเทศได้ โดยต้องเร่งฉีดวัคซีน 2 เข็มให้ประชาชนไม่ต่ำกว่า 70%

วันนี้ (30 ..64 )สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส... เผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 10 ในหัวข้อภาคอุตสาหกรรมพร้อมเปิดประเทศแล้วหรือยัง?”

พบว่าผู้บริหาร ส... ส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับแผนการเปิดประเทศและการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ในช่วงเดือนตุลาคมพฤศจิกายนนี้ โดยขอให้ภาครัฐดำเนินนโยบายที่มีการผ่อนคลายกิจกรรมทางธุรกิจมากขึ้น และบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเท่าที่จำเป็น เพื่อให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้

สำหรับข้อเสนอสำคัญ คือ ภาครัฐต้องช่วยเหลือผู้ประกอบการพักชำระหนี้และหยุดคิดดอกเบี้ยสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ภาคเอกชน ขยายระยะเวลาเคอร์ฟิวเพื่อให้ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจบันเทิงเปิดให้บริการได้ 

พร้อมแนะภาคเอกชนเร่งปรับ Business Model ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงหลังโควิด-19

จากการสำรวจผู้บริหาร ส... (CEO Survey) จำนวน 150 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 10 จำนวน 7 คำถาม ได้ดังนี้

ท่านเห็นด้วยกับแผนการเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในช่วงเดือนตุลาคมพฤศจิกายนนี้หรือไม่

เห็นด้วย 78.0%
ไม่เห็นด้วย 22.0%

ปัจจัยใดที่ต้องนำมาพิจารณาในการเปิดประเทศ

อันดับที่ 1 : อัตราการฉีดวัคซีน 2 เข็มให้แก่ประชาชนไม่ต่ำกว่า 70% 86.0%
อันดับที่ 2 : มาตรการคัดกรอง ตรวจติดตามผู้เดินทางเข้าประเทศ 66.7%
อันดับที่ 3 : ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน 62.7%
อันดับที่ 4 : ความพร้อมด้านระบบสาธารณสุขในการรองรับผู้ติดเชื้อในแต่ละพื้นที่ 59.3%

Photo : Shutterstock

ภาครัฐควรดำเนินนโยบายการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 และดูแลเศรษฐกิจอย่างไร

อันดับที่ 1 : ผ่อนคลายภาคธุรกิจและบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเท่าที่จำเป็น 73.3%
อันดับที่ 2 : เข้มงวดในการบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคทุกช่องทาง 14.0%
อันดับที่ 3 : เร่งเปิดประเทศ โดยให้ความสำคัญด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจเป็นสำคัญ 12.7%

แนวทางการเปิดประเทศแบบใดที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

อันดับที่ 1 : เปิดให้อยู่ในพื้นที่ Sandbox 14 วัน หากไม่พบเชื้อหลัง 14 วันสามารถเดินทางได้ทั่วประเทศ 44.7%
อันดับที่ 2 : เปิดให้เดินทางได้ทั่วประเทศในรูปแบบการจับคู่ระหว่างประเทศ (Travel Bubble) โดยไม่ต้องกักตัว 26.0%
อันดับที่ 3 : เปิดเฉพาะพื้นที่ Sandbox เท่านั้น ห้ามออกนอกพื้นที่ 16.7%
อันดับที่ 4 : เปิดให้เดินทางได้ทั่วประเทศ แต่ต้องผ่านการกักตัวในสถานที่กักตัว 14 วัน 12.6%

การเตรียมความพร้อมเปิดประเทศรัฐควรให้ความสำคัญในเรื่องใด

อันดับที่ 1 : การเร่งฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ Sandbox 70.0%
อันดับที่ 2 : การสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน 69.3%
อันดับที่ 3 : ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีในการติดตามและเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าประเทศ 67.3%
อันดับที่ 4 : ความพร้อมในการตรวจเชื้อแบบ RT-PCR และการจัดหาชุดตรวจ Antigen Test Kit 63.3%

หลังเปิดประเทศรัฐควรมีการส่งเสริมอย่างไร

อันดับที่ 1 : พักชำระหนี้และหยุดคิดดอกเบี้ย สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เป็นระยะเวลา 6 เดือน 76.0%
อันดับที่ 2 : ขยายระยะเวลาเคอร์ฟิว และผ่อนผันให้ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจบันเทิงเปิดให้บริการได้ 74.0% อันดับที่ 3 : ออกมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว และสนับสนุนการจัดงาน Exhibition และการประชุมในประเทศ 54.0%
อันดับที่ 4 : ลดค่าน้ำ ค่าไฟ อุดหนุนค่าเช่า ให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง 50.7%

ภาคอุตสาหกรรมควรเตรียมความพร้อมในการเปิดประเทศอย่างไร

อันดับที่ 1 : ปรับ Business Model ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง 73.3%
อันดับที่ 2 : นำเทคโนโลยีและดิจิทัลมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ 71.3%
อันดับที่ 3 : พัฒนาสินค้าและบริการที่ให้ความสำคัญด้านสุขอนามัย และการรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค 66.0%
อันดับที่ 4 : ปฏิบัติตามมาตรการ Bubble and Seal ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อลดความเสี่ยง 57.3%

 

]]>
1354224
“วรรณิภา ภักดีบุตร” ขึ้นแท่น CEO คนใหม่ “โอสถสภา” เปลี่ยนผ่านสู่ยุคมืออาชีพเต็มตัว https://positioningmag.com/1337463 Thu, 17 Jun 2021 06:56:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337463 “โอสถสภา” จัดทัพองค์กรใหม่ แต่งตั้ง “วรรณิภา ภักดีบุตร” กรรมการผู้จัดการใหญ่ ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น CEO ก้าวสู่การบริหารงานแบบมืออาชีพเต็มตัว

สุรินทร์ โอสถานุเคราะห์ ประธานกรรมการ บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบให้เสนอชื่อเพิ่มกรรมการอิสระจำนวน 2 ท่าน ประกอบด้วย จรัมพร โชติกเสถียร และ พลเอกสุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ซึ่งเป็นผู้มีคุณวุฒิ และประสบการณ์ เป็นที่รู้จักและยอมรับ เข้าร่วมเป็นกรรมการบริษัท เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง และร่วมกำหนดวิสัยทัศน์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของบริษัทในปัจจุบัน และในอนาคต

ทำให้คณะกรรมการบริษัท เพิ่มจาก 15 ท่านเป็น 17 ท่าน โดยบริษัทจะจัดประชุม E-EGM นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ ในวันที่ 5 สิงหาคม 2564

Photo : Shutterstock

ที่ประชุมยังมีมติให้จัดโครงสร้างการบริหารใหม่ เนื่องจาก “ธนา ไชยประสิทธิ์” รักษาการ CEO จะขึ้นไปดำรงตำแหน่ง รองประธานคณะกรรมการบริหารอาวุโส

จึงได้แต่งตั้ง “วรรณิภา ภักดีบุตร” กรรมการผู้จัดการใหญ่ ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น Chief Executive Officer (CEO) หรือประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เนื่องจากเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์ และร่วมขับเคลื่อนทีมบริหารโอสถสภาด้วยความแข็งแกร่งตลอดระยะเวลากว่า 5 ปี พร้อมยกเลิกตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน

พรธิดา บุญสา Chief Operating Officer และ Group Chief Financial Officer

ได้แต่งตั้ง พรธิดา บุญสา ขึ้นดำรงตำแหน่ง Chief Operating Officer และ Group Chief Financial Officer เพื่อช่วยขับเคลื่อนสายการปฏิบัติการ และดูแลสายงานด้านการเงิน และบัญชีของกลุ่มบริษัทโอสถสภา เนื่องจากเป็นผู้มีประสบการณ์ และคลุกคลีกับทีมปฎิบัติการผลิต และซัพพลายเชนของบริษัทอย่างแข็งแกร่งตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา โดยโครงสร้างการบริหารจัดการใหม่ของบริษัท จะมีผลตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป

สำหรับการเพิ่มกรรมการอิสระและการจัดโครงสร้างใหม่ครั้งนี้ จะทำให้โอสถสภามีความแข็งแกร่ง ด้วยโครงสร้างทั้งในส่วนของคณะกรรมการบริษัท และคณะผู้บริหาร ที่มีความรู้ความสามารถ มีวิสัยทัศน์ ซึ่งจะนำเอาประสบการณ์ความเป็นมืออาชีพมาขับเคลื่อนโอสถสภาให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

]]>
1337463
ช่วงวิกฤตโรคระบาด บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลก เลือก “ผู้หญิง” เป็น CEO แค่ 3% https://positioningmag.com/1307259 Mon, 23 Nov 2020 13:09:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307259 วิกฤตโรคระบาด กระทบโครงสร้างเเรงงาน ส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศมากขึ้น ในช่วง COVID-19 บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลก เลือกผู้ชายขึ้นดำรงตำแหน่งซีอีโอมากกว่าผู้หญิง โดยผลสำรวจล่าสุดพบว่า มีผู้หญิงเพียง 3% ที่ได้รับแต่งตั้งเป็น CEO ในบริษัทระดับโลก

Heidrick & Struggles บริษัทจัดหางานระดับผู้บริหารที่ร่วมงานกับธุรกิจยักษ์ใหญ่ทั่วโลก เปิดเผยผลวิเคราะห์การจ้างงานที่น่าสนใจในช่วงวิกฤต COVID-19 ตั้งเเต่เดือนมี..ที่ผ่านมา ระบุว่า มีการจ้างงานผู้หญิงเข้าไปดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ “CEOในบริษัทชั้นนำเพียง 3% เท่านั้น ซึ่งผลการศึกษานี้ไม่ได้พิจารณาปัจจัยด้านเชื้อชาติเเละชาติพันธุ์

ผู้หญิงและกลุ่มที่ด้อยโอกาสอื่น ๆ มีความเสียเปรียบในการเเข่งขันด้านอาชีพและเสี่ยงต่อการว่างงานมากกว่าผู้ชาย ในช่วงการแพร่ระบาด เนื่องจากผู้หญิงทำงานในอุตสาหกรรมหรือสายงานที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มากกว่า อย่างงานในภาคการท่องเที่ยวเเละบริการ

ขณะเดียวกัน ผู้หญิงจำนวนมากต้องเป็นฝ่ายที่ต้องลาออกจากงานในสัดส่วนที่มากกว่าผู้ชาย เพื่อไปทำหน้าที่ดูแลลูกที่อยู่ที่บ้าน ในช่วงล็อกดาวน์ที่ลูกยังไม่สามารถไปโรงเรียนหรือนำไปฝากเลี้ยงตามสถานดูแลเด็กได้

รายงานชิ้นนี้ ระบุถึงสาเหตุที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกผู้ชายเข้าไปนั่งเก้าอี้ผู้บริหารระดับสูงในช่วงวิกฤตว่า อาจเป็นเพราะสถานะของผู้ชายที่มีความพร้อมรับงานในฐานะผู้นำบริษัทมากกว่า

ข้อมูลของ Heidrick & Struggles ชี้ให้เห็นว่า ผู้หญิงยังมีสัดส่วนขึ้นเป็นผู้บริหารระดับ CEO น้อยกว่าผู้ชายในอัตราค่อนข้างสูง เมื่อย้อนกลับไปดูในช่วงวิกฤตเเฮมเบอร์เกอร์ ในปี 2008 บริษัทต่างๆ ก็เลือกผู้ชายเข้าไปทำหน้าที่ผู้บริหารระดับสูงมากกว่า เเต่หลังจากนั้นผู้หญิงก็เริ่มมีเเนวโน้มได้ขึ้นเป็นผู้บริหารมากขึ้น จนกระทั่งมาเจอวิกฤต COVID-19

ก่อนหน้านี้ ทางการสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลเเรงงานเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา พบว่า ผู้หญิงชาวอเมริกันต้อง “ออกจากงาน” มากกว่าผู้ชายถึง 8 เท่า โดยมีผู้หญิงต้องออกจากงาน 617,000 คน ครึ่งหนึ่งอยู่ในช่วงอายุ 35-44 ปี ขณะที่มีผู้ชายออกจากงานเพียง 78,000 คน

เเม้ตอนนี้อัตราการว่างงานสหรัฐฯ จะลดลงเเล้วหลังคลายล็อกดาวน์ เเต่อัตราว่างงานของผู้หญิงทั้งประเทศอยู่ที่ 8% โดยเฉพาะผู้หญิงผิวสีเเละผู้หญิง Hispanic American (คนอเมริกันเชื้อสายเปอร์โตริโก อเมริกากลาง อเมริกาใต้ยิ่งมีอัตราว่างงานเพิ่มสูงมากขึ้นไปอีก

โดยปัญหาใหญ่ที่ตามมาในระบบโครงสร้างเเรงงาน คือ เเม้สถานการณ์โรคระบาดจะคลี่คลายมากขึ้น เเต่ผู้หญิงจำนวนมากที่ออกมาดูเเลบ้าน ไม่สามารถกลับเข้าไปสู่ “ตลาดเเรงงาน” อีกครั้งได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่น่าเป็นห่วงอย่างพ่อเเม่ “เลี้ยงเดี่ยว” ที่ต้องเเบกภาระค่าใช้จ่ายสูง เเละจะต้องดิ้นรนในภาวะเศรษฐกิจย่ำเเย่

 

ที่มา : Bloomberg

]]>
1307259
“ลาซาด้า ประเทศไทย” แต่งตั้ง “แจ็ค จาง” ขึ้นเป็น CEO คนใหม่ https://positioningmag.com/1283184 Thu, 11 Jun 2020 11:34:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283184 บริษัท ลาซาด้า จำกัด ประเทศไทย ประกาศแต่งตั้ง มร. แจ็ค จาง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ขึ้นรับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่

โดย เจมส์ ตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย คนปัจจุบัน จะไปดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศเวียดนาม

ปิแอร์ ปัวยอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า กรุ๊ป กล่าวว่า

“ในปีที่ผ่านมา มร.แจ็ค ได้แสดงความเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยม และได้ยกระดับธุรกิจลาซาด้าในประเทศไทย การแต่งตั้งให้ตำแหน่งใหม่ในครั้งนี้ เป็นการยอมรับในความสำเร็จของทีมงานลาซาด้า ประเทศไทย ภายใต้การบริหารงานของ มร.แจ็ค และผมขอถือโอกาสนี้ ขอบคุณ มร. เจมส์ สำหรับความทุ่มเทที่มีให้กับลาซาด้า ประเทศไทย ซึ่งการแต่งตั้ง มร.แจ็ค เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย ในครั้งนี้ จะช่วยให้ มร.เจมส์ สามารถทุ่มเทให้กับลาซาด้า เวียดนาม ได้อย่างเต็มที่ ผมมั่นใจว่าทีมงานจะประสบความสำเร็จภายใต้การบริหารงานของ มร.แจ็ค”

ด้วยการบริหารงานของ มร.แจ็ค ในช่วงเฉลิมฉลองครบรอบแปดปีของลาซาด้าในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้ลาซาด้าเป็นแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยมีจำนวนผู้ใช้งานคิดเป็นหนึ่งในสามของสัดส่วนประชากรประเทศไทย

โดยในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ลาซาด้า ประเทศไทย มีการเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ๆ อาทิ โครงการ SME Stimulus Package เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยกว่า 50,000 ราย รวมถึงแคมเปญ #YesICan เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้าหลายร้อยรายจากแหล่งช้อปปิ้งชื่อดังที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไวรัส ให้มีโอกาสประกอบธุรกิจบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งมีผู้ใช้งานใหม่เป็นจำนวนมาก

ก่อนหน้านี้ แจ็ค จาง ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฎิบัติการ ลาซาด้า ประเทศไทย ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2562 ก่อนเริ่มงานที่ลาซาด้า แจ็ค เคยปฏิบัติงานที่อาลีบาบา กรุ๊ป ในฐานะผู้อำนวยการ ประจำสำนักงานประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อาลีบาบา กรุ๊ป

แจ็ค เริ่มต้นทำงานในฐานะผู้จัดการอาวุโส ที่บริษัท เบน แอนด์ คอมพานี รวมถึง บริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค โดย มร. แจ็ค จบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยดาร์ตมัธคอลเลจ สหรัฐอเมริกา

]]>
1283184
‘TikTok’ ฉกหัวหน้าสตรีมมิ่ง ‘Disney’ ขึ้นแท่น CEO ใหม่ของบริษัท https://positioningmag.com/1279452 Tue, 19 May 2020 11:07:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279452 หยุดไม่อยู่จริง ๆ สำหรับ ‘TIkTok’ หนึ่งในแอปพลิเคชันที่มาแรงสุด ๆ ในช่วง COVID-19 นี้ ล่าสุด ก็ฉกเอา ‘Kevin Mayer’ หัวหน้าฝ่ายสตรีมของ ‘ดิสนีย์’ มาเป็น CEO คนใหม่ ของบริษัท ByteDance บริษัทสัญชาติจีนเจ้าของแอป TikTok ซึ่งหลังจากที่ประกาศดังกล่าวออกมา หุ้นของดิสนีย์ลดลงเกือบ 1% ในการซื้อขายนอกเวลาทำการเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

สำหรับ Kevin Mayer เป็นอดีตหัวหน้าฝ่ายสตรีมของ ดิสนีย์ ถือเป็นบุคลากรคนสำคัญคนหนึ่งของดิสนีย์เลยทีเดียว เพราะว่ากันว่าเขาถือเป็นผู้สมัครอันดับต้น ๆ ที่จะมาแทนที่ ‘Bob Iger’ ซึ่งก้าวลงจากตำแหน่งซีอีโอของดิสนีย์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่สุดท้าย ตำแหน่งตกไปอยู่ในมือของ ‘Bob Chapek’

ที่ผ่านมา Mayer เป็นหัวหอกในการเข้าซื้อกิจการของ BAMTech ซึ่งทำให้เทคโนโลยีการสตรีมที่ขับเคลื่อนบริการวิดีโอออนไลน์ของบริษัทหรือพูดง่าย ๆ เป็นจุดกำเนิดของ ‘Disney +’ นั่นเอง นอกจากนี้เขายังมีส่วนช่วยในการเข้าซื้อกิจการของทั้ง ‘Lucas Film’ เจ้าของแฟรนไชส์ ‘Starwars’ รวมถึงการเข้าซื้อ Pixar, Marvel Studio และ 21 Century Fox อีกด้วย ซึ่งค่ายและสตูดิโอต่าง ๆ ที่ดิสนีย์ซื้อมานั้น ทำให้พอร์ตเนื้อหาของดิสนีย์ได้รับความนิยมอย่างมากและส่งผลให้ภาพยนตร์เรื่องดังหลายเรื่องช่วยให้ดิสนีย์ครองตำแหน่งบ็อกซ์ออฟฟิศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

Mayer กล่าวว่า การย้ายไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับที่ไม่ได้ตำแหน่ง CEO ดิสนีย์ แต่เพราะเขาเห็นว่านี่เป็นโอกาสที่ดี

“Disney เป็นบริษัทที่เหลือเชื่อ ซึ่งผมก็สนุกกับงานและก็ชื่นชม Bob Chapek แต่เมื่อคุณมีโอกาสเช่นนี้ คุณจะไม่ปฏิเสธ แม้ว่าผมจะรักดิสนีย์และไม่ต้องการจากไป แต่ผมจะไม่ออกจากดิสนีย์ถ้าผมไม่คิดว่ามันจะอยู่ในมือที่ดี”

ที่ผ่านมา TikTok ต้องเผชิญกับการตรวจสอบอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น เกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและการตรวจสอบเนื้อหาในเอเชีย โดยนักการเมืองในสหรัฐฯได้เพิ่มข้อกังวลด้านความมั่นคงของชาติ ขณะที่ Mayer เองมีประสบการณ์เกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยบนดิจิทัล

“ผมรู้วิธีรับมือกับความท้าทายเหล่านั้นและแพลตฟอร์มดิจิทัลเกือบทั้งหมดจะต้องเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้ในระดับสากล และที่ Disney เรามีสามารถจัดการกับข้อมูลความเป็นส่วนตัวได้ดี”

ทั้งนี้ Mayer จะทำหน้าที่เป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ ByteDance โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนนี้

Source

]]>
1279452
“หญิงไทย” ขึ้นแท่น CEO มากสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก แต่กลับขาดโอกาสทางการเมืองในสภา https://positioningmag.com/1267071 Thu, 05 Mar 2020 09:44:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1267071 แกรนท์ ธอนตัน เปิดผลสำรวจพบประเทศไทยมีสัดส่วนผู้บริหารหญิงสูงมาก โดยมีสัดส่วนซีอีโอหญิงสูงอันดับ 3 ของโลก และมีซีเอฟโอหญิงสูงเป็นอันดับ 1 สะท้อนโอกาสของผู้หญิงไทยในองค์กรเอกชนที่เปิดกว้างมากกว่าประเทศอื่น อย่างไรก็ตาม ในวงการการเมืองการปกครองผู้หญิงไทยกลับมีบทบาทน้อยมาก

แกรนท์ ธอนตัน เปิดรายงาน Women in Business (WIB) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากรายงาน International Business Report (IBR) โดยทำการสำรวจผ่านแบบสอบถามผู้บริหารระดับอาวุโสในบริษัทขนาดกลาง 5,000 แห่งจาก 30 ประเทศทั่วโลก (สำหรับประเทศไทยทำการสำรวจ 103 แห่ง) เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2562

บริษัทพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้บริหารระดับสูงที่เป็นเพศหญิงสูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยโลก โดยมีสัดส่วนผู้บริหารหญิง 32% เทียบกับค่าเฉลี่ยโลกอยู่ที่ 27% หรือถ้าหากวัดจากจำนวนบริษัทที่มีผู้บริหารระดับสูงเพศหญิงอย่างน้อย 1 คนจะมีสูงถึง 86% เทียบกับค่าเฉลี่ยโลกอยู่ที่ 83%

ทั้งนี้ ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ของเอเชียแปซิฟิก ร่วมกับ จีนแผ่นดินใหญ่ อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ กลุ่มประเทศเหล่านี้มีค่าเฉลี่ยสัดส่วนจำนวนผู้บริหารหญิง 30% จะเห็นได้ว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก

“ปนิตยา จ่างจิต” ผู้อำนวยการแผนกการตลาดและการสื่อสารของ แกรนท์ ธอนตัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า สาเหตุที่ผู้หญิงได้รับการสนับสนุนมากกว่าในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ อาจจะเกิดจากตลาดยังมีความผันผวนสูง องค์กรส่วนใหญ่เพิ่งเริ่มก่อตั้ง ทำให้ยังมีการปรับตัวสูง การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมภายในองค์กรจึงทำได้ง่ายกว่าประเทศพัฒนาแล้วซึ่งมีวัฒนธรรมองค์กรมายาวนาน

ซีอีโอมากอันดับ 3 ส่วนซีเอฟโอมากอันดับ 1

เจาะลึกถึงตำแหน่งผู้บริหารหญิงในองค์กร แกรนท์ ธอนตัน พบว่า ตำแหน่งสูงสุดอย่างซีอีโอหรือกรรมการผู้จัดการ บริษัทในไทยที่มีผู้หญิงนั่งตำแหน่งนี้มีสูงถึง 24% เทียบกับค่าเฉลี่ยโลกคือ 20% และทำให้ไทยมีสัดส่วนซีอีโอหญิงมากเป็นอันดับ 3 ของโลก

ขณะที่ตำแหน่งซีเอฟโอผู้กุมบังเหียนด้านการเงินยิ่งมากกว่า คือสัดส่วนบริษัทไทยที่มีซีเอฟโอหญิงนั้นสูงถึง 43% เป็นสัดส่วนที่สูงอันดับ 1 ของโลก

สรุปไล่เรียงตำแหน่งบริหารที่ผู้หญิงไทยได้ครอบครอง ประเมินตามสัดส่วนของผู้หญิงในตำแหน่งเหล่านั้น ได้แก่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน-ซีเอฟโอ (43%) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-ซีอีโอ (24%) ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล (23%) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ-ซีโอโอ (22%) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด-ซีเอ็มโอ (19%)

บทบาทผู้หญิงยังขาดหายใน “การเมือง”

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากบทบาทภายในองค์กรธุรกิจ ภาพรวมของ “ความเท่าเทียมทางเพศ” ในประเทศไทยยังอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น อ้างอิงจากผลสำรวจของ World Economic Forum ปี 2020 โดยมีคะแนนความเท่าเทียมที่ 0.685 เต็ม 1.000 เป็นอันดับที่ 75 จาก 153 ประเทศทั่วโลก

เมื่อเจาะลึกใน 4 ด้านของความเท่าเทียม คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ และด้านการเมือง ทุกด้านประเทศไทยมีคะแนนที่ดีเทียบเท่าหรือมากกว่าค่าเฉลี่ยโลกทั้งสิ้น ยกเว้นเพียงด้านการเมือง ผู้หญิงไทยมีความเท่าเทียมทางการเมืองในอันดับที่ 129 ของโลก โดยได้คะแนนต่ำเพราะผู้หญิงไทยมีบทบาทในรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีในสัดส่วนที่น้อยมาก

แกรนท์ ธอนตัน รวบรวมข้อมูลพบว่า มีผู้หญิงไทยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เพียง 81 คน หรือคิดเป็นสัดส่วน 16.2% เทียบกับค่าเฉลี่ยโลกคือ 24.9% (*สำรวจก่อนที่พรรคอนาคตใหม่จะได้รับคำสั่งยุบพรรค ซึ่งจะทำให้ ส.ส.หญิงลดลงอีก 4 คน) ขณะที่มีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่เป็นหญิงเพียง 26 คน หรือคิดเป็นสัดส่วน 10.4% มีผู้หญิงในระดับรัฐมนตรีเพียง 3 คน คิดเป็น 8.6% และทั้งหมดยังอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการเท่านั้น

ปิดท้ายที่ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด มีผู้ว่าฯ หญิงเพียงคนเดียว เท่านั้นในไทย คิดเป็น 1.3% เธอคนนั้นคือ “กานต์เปรมปรีดิ์ ชิตานนท์” ผู้ว่าฯ จังหวัดแพร่

“เมเลีย ครูซ” หุ้นส่วนของแกรนท์ ธอนตัน (ประเทศไทย) ให้ความเห็นว่า ผู้หญิงไทยมีบทบาทในองค์กรเอกชนสูง แต่กลับมีบทบาทในทางการเมืองต่ำ อาจเกิดจากองค์กรเอกชนมีการสนับสนุนเรื่องความหลากหลายในองค์กรมานานจนเริ่มเห็นผล แต่หน่วยงานภาครัฐอาจจะยังไม่มี อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้น ดูจากจำนวน ส.ส.หญิงที่มากขึ้นในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด

“มาก” แต่ยังไม่เพียงพอ

ปนิตยาสรุปความสำคัญของการมีความหลากหลายในองค์กร ไม่ใช่แค่เรื่องเพศ แต่ยังมีเรื่องเชื้อชาติศาสนาด้วย หากองค์กรใดมีความหลากหลายมากกว่า เปิดโอกาสอย่างเท่าเทียมกว่า จะทำให้องค์กรนั้นได้ไอเดียสร้างสรรค์กว้างขึ้นกว่าเดิมในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งส่งผลต่อผลประกอบการ

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขสัดส่วนผู้บริหารหญิง 32% ของไทย แม้จะมากเมื่อเทียบกับทั่วโลก แต่ก็ยังไม่ถึงหรือใกล้เคียง “ครึ่งหนึ่ง” เมื่อเทียบกับสัดส่วนผู้บริหารชาย ดังนั้นการสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศยังควรจะมีต่อไป

ในระดับโลก มีหลายองค์กรที่ตระหนักถึงความสำคัญและออกนโยบาย “โควต้า” จำนวนผู้บริหารหญิงที่พึงมีในองค์กร ซึ่งเมเลียและปนิตยาเห็นตรงกันว่าเป็นนโยบายระยะสั้นที่ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้รวดเร็วขึ้น ทำให้การสร้างความเท่าเทียมเกิดขึ้นเร็วที่สุด

“ตอนนี้คนยังมีสมมติฐานที่ผิดต่อความสามารถของผู้หญิงอยู่ การให้โควต้าน่าจะช่วยป้องกันได้” เมเลียกล่าว และย้ำว่าสุดท้ายแล้วโควต้าเป็นการการันตีว่าผู้หญิงจะได้รับโอกาสพิจารณาขึ้นสู่ตำแหน่ง แต่สุดท้ายผู้หญิงก็ต้องมีความเหมาะสมจริงๆ ต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

เธอยังฝากคำแนะนำ 3 ข้อถึงผู้หญิงที่ต้องการก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ดังนี้ 1.อย่าเป็น Perfectionist อย่ากลัวที่จะทำอะไรผิดพลาด เพราะคนเราจะเรียนรู้จากความผิดพลาด 2.ขอคำปรึกษา อย่ากังวลที่จะขอคำปรึกษาจากผู้อื่น การพัฒนาตนต้องได้รับการโค้ชชิ่งจากผู้อื่นด้วย 3.อย่าอายที่จะกล่าวถึงความสำเร็จของตนเอง ไม่ควรถ่อมตัวจนเกินไปเมื่อมาถึงการ ‘take credit’ ในงานที่ตนเองทำและควรกล้าแสดงความคิดเห็นของตนเอง

“นี่ไม่ใช่การแข่งขันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย แต่เราต้องแข่งกับตัวเอง” เมเลียกล่าวปิดท้าย

]]>
1267071
ย้อนดู 5 ซีอีโอ ‘ดีแทค’ ในช่วง 19 ปี พร้อมทำความรู้จัก ‘ชารัด เมห์โรทรา’ แม่ทัพคนล่าสุด https://positioningmag.com/1260804 Fri, 17 Jan 2020 05:15:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1260804 ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ส่งผลให้ แทค (TAC) บริษัทโทรคมนาคมของไทย ค่อย ๆ ทยอยขายหุ้นให้กลุ่มเทเลนอร์ (Telenor) จากนอร์เวย์ จนในปี 2001 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘ดีแทค’ (Dtac) หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) 19 ปีผ่านไป เรามาย้อนดูกันดีกว่าว่าดีแทคได้มีการเปลี่ยนแปลงซีอีโอไปแล้วกี่คน

ซิคเว่ เบรคเก้ (Sigve Brekke)

รับตำแหน่งซีอีโอร่วมกับคุณวิชัย เบญจรงคกุล ในช่วงปี 2002 – 2008 ซึ่งช่วงดังกล่าวถือว่าเป็นช่วงที่ตกต่ำสุดขีดของดีแทคเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้ ซิคเว่ เป็นเหมือนกับฮีโร่ที่มากอบกู้สถานการณ์ โดยในระยะเวลา 6 ปีที่ดำรงตำแหน่ง ซิคเว่สามารถฟื้นดีแทคจนเป็นเบอร์ 2 ของตลาด และในปี 2014 ซิคเว่ ได้กลับมารักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดีแทคอีกครั้ง ก่อนส่งต่อให้กับ ‘ลาร์ส นอร์ลิ่ง’ ปัจจุบัน ซิคเว่ดำรงตำแหน่งประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์กรุ๊ป

ทอเร่ จอห์นเซ่น (Tore Johnsen)

สำหรับทอเร่ ดีแทคได้เลือกเปิดตัวในวันที่ 8 เดือน 8 ปี 2008! โดยทอเร่ เป็นผู้ที่พยายามผลักดันการร่วมประมูล 3G พร้อมดันให้ดีแทคมีผลประกอบการดีที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้ง โดยมีรายได้รวม 7.24 หมื่นล้านบาท เติบโต 10% จากปีก่อนหน้า จนกระทั่งหมดวาระในปี 2011 ทอเร่ได้รับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท Grameenphone Ltd. บริษัทย่อยของกลุ่มเทเลนอร์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศบังกลาเทศ

จอน เอ็ดดี้ อับดุลลา (Jon Eddy Abdullah)

เข้ามารับตำแหน่งซีอีโอเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2011 โดยก่อนหน้านี้ เคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เทเลนอร์ ปากีสถาน โดยมีประสบการณ์การทำงานในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมกว่า 18 ปี อย่างไรก็ตาม ช่วงที่จอนเข้ามาดูตลาดไทย เป็นช่วงที่ไทยกำลังประมูลคลื่น 2100 MHz หรือช่วงที่กำลังจะมี 3G นอกจากนี้ ยังเป็นช่วงที่เบอร์ 3 อย่างทรู เร่งทำตลาดโดยใช้กลยุทธ์ด้านราคามาสู้ แม้จะผ่านมาได้ แต่ในวันที่ 2 กันยายน 2014 จอนได้ประกาศลาออกอย่างเป็นทางการ

ลาร์ส นอร์ลิ่ง

หลังจากที่จอน เอ็ดดี้ อับดุลลา ลาออก ซิคเว่ เบรคเก้ ก็ได้มาดูแลตลาดไทยชั่วคราวเป็นเวลา 6 เดือน จนวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2015 ดีแทคได้ประกาศแต่งตั้ง ลาร์ส นอร์ลิ่ง เป็นซีอีโอคนใหม่ โดยในช่วง 3 ปีที่ดำรงตำแหน่ง ดีแทคก็ได้พลาดท่าเสียตำแหน่งเบอร์ 2 ให้กับทรูในที่สุด โดยในปี 2016 ทรูมูฟ เอชมีลูกค้า 24.53 ล้านเลขหมาย ส่วน ดีแทค มีลูกค้า 24.5 ล้านเลขหมาย และในปี 2560 ทรูมูฟ เอช มีลูกค้าเพิ่มเป็น 27.2 ล้านเลขหมาย ทิ้งห่างดีแทคไปอีก จนในที่สุดลาร์สได้ประกาศลาออก พร้อมให้เหตุผลว่า “เพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ในการทำงาน”

อเล็กซานดรา ไรช์ (Alexandra Reich)

CEO หญิงแกร่งคนแรกของดีแทค ที่เข้ามารับตำแหน่งในวันที่ 1 กันยายน 2018 โดยก่อนหน้านี้คุณอเล็กซานดราเคยดำรงตำแหน่งซีอีโอ เทเลนอร์ ฮังการี และเป็นหัวหน้ากลุ่มเทเลนอร์ในยุโรปกลาง ทั้งนี้ อเล็กซานดรา ได้เข้ามาดูแลดีแทคในช่วงที่ตกเป็นเบอร์ 3 รวมถึงเป็นช่วงที่ 5G กำลังมา โดยทางกสทช.ได้ประกาศประมูลคลื่น 2600 MHz เพื่อใช้สำหรับ 5G ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ แต่ยังไม่ทันจะถึงเดือนกุมภาพันธ์ อเล็กซานดราก็ประกาศลาออก โดยทำหน้าที่จนถึงสิ้นเดือนมกราคมนี้ ปิดตำนานวลี “สัญญาว่าจะไม่หยุด” ไว้เพียง 1 ปีกับ 4 เดือนเท่านั้น

ชารัด เมห์โรทรา (Sharad Mehrotra)

CEO คนต่อไปของดีแทคที่จะรับตำแหน่งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ โดยชารัด ได้ร่วมงานกับเทเลนอร์ตั้งแต่ปี 2008 โดยรับตำแหน่งสำคัญในระดับบริหารในหลายประเทศทั่วเอเชีย รวมถึงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเทเลนอร์อินเดีย และปัจจุบันเป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของเทเลนอร์เมียนมา นอกจากนี้ นายชารัดยังเคยดูแลสายงานด้านการกระจายสินค้าในตลาดทั่วเอเชียและพำนักอยู่ในประเทศไทย

ทั้งนี้ สิ่งที่น่าจับตาของชารัดคือ เข้ามารับตำแหน่งในช่วงประมูล 5G ดังนั้นต้องรอดูว่า ดีแทคภายใต้ผู้นำใหม่จะขับเคลื่อนดีแทคอย่างไรต่อไป

#Dtac #ดีแทค #5G #CEO #Positioning

]]>
1260804