Central – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 08 Dec 2021 16:03:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เมื่อ ‘สัตว์เลี้ยง’ ตลาดใหญ่ไร้ผู้นำ ‘เซ็นทรัล’ เลยส่ง ‘PET ‘N ME’ เพ็ทช็อปครบวงจรชิงตำแหน่ง https://positioningmag.com/1365864 Wed, 08 Dec 2021 11:35:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365864 คงไม่ต้องบอกว่าตอนนี้ ‘ตลาดสัตว์เลี้ยง’ ร้อนแรงแค่ไหน เพราะขนาด ‘เฮียฮ้อ’ แห่ง ‘อาร์เอส’ ยังเอาด้วยโดยเปิดตัวแบรนด์อาหารสัตว์ ‘Lifemate (ไลฟ์เมต)’ หรือแม้แต่ 1 ใน 3 ร้านค้าออนไลน์ในลาซาด้าที่โกยยอดขายหลักล้านภายในวันเดียวก็เป็นร้านขายอาหารและอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยง ล่าสุด ‘เซ็นทรัล’ เองก็ขอขยับเข้ามาสู่ตลาดเต็มตัวโดยเตรียมเปิด ‘PET ‘N ME’ Specialty Store สัตว์เลี้ยงครบวงจร ว่าแต่ทำไมตลาดสัตว์เลี้ยงถึงมาได้รับความนิยมเอาตอนนี้เราจะไปเจาะลึกกัน

ไลฟ์สไตล์ยุคใหม่เลี้ยงสัตว์แทนลูก

หากคนทั่วไปที่ไม่ใช่ทาสหมาทาสแมวคงจะไม่รู้ว่าเหล่าทาสหมดเงินไปกับสัตว์เลี้ยงเฉลี่ยเดือนละกว่า 4,000 บาท โดยปัจจุบันตลาดสัตว์เลี้ยงมีมูลค่าถึง 40,000 ล้านบาท เติบโตราว 10% ต่อเนื่องตลอด 5 ปี โดยแบ่งเป็น

  • อาหารสัตว์ 70%
  • บริการ และการรักษา 20 – 30%
  • แฟชั่น และสินค้าไลฟ์สไตล์ 5%

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ตลาดสัตว์เลี้ยงเติบโตก็เพราะ ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็น

  • โสดมากขึ้น หลายประเทศทั่วโลกคนแต่งงานช้าลง และเป็นโสดมากขึ้น อย่างในไทยข้อมูลการจดทะเบียนสมรสของกรมการปกครองพบว่าจากปี 2550 เทียบกับปี 2560 จำนวนการจดทะเบียนสมรสลดลง 5.1%
  • คู่รักไม่มีลูก หากอ้างอิงจากอัตราการเกิดในไทยปี 2564 เกิดต่ำกว่า 6 แสนคนครั้งแรกในรอบ 3 ปี และมีแนวโน้มจะลดลงอีก ซึ่งคนมีคู่หลายคนเลือกจะไม่มีลูก รวมถึงคู่รักกลุ่ม LGBTQ+ ที่ไม่สามารถมีลูกได้ ดังนั้น การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงแทนถือเป็นอีกทางเลือก
  • สังคมสูงวัย ไทยกำลังจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกของโลกที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ (Aged Society) ในปี 2565 ปัจจุบัน ประชากรอายุ 60 ปีขึ้น มีสัดส่วน 10% ของประชากรทั้งประเทศ และการเลี้ยงสัตว์ไว้คลายเหงา ก็เป็นหนึ่งในเทรนด์
  • อยู่บ้านมากขึ้น เมื่อ COVID-19 ทำให้คนอยู่บ้านมากขึ้น หลายคนเลือกที่จะเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพื่อเป็นเพื่อนเพื่อคลายเหงา
  • Social Media จะเห็นถึงการเติบโตของเพจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่มียอดผู้ติดตามเป็นหลักล้าน ซึ่งความน่ารักของเหล่าสัตว์เลี้ยงเซเลบก็อาจจะตกให้หลายคนหันมาเลี้ยงสัตว์มากขึ้น
  • ความต้องการสินค้าหลากหลายขึ้น เช่น เตียง ชุด เริ่มมีขายเยอะขึ้น การดูแลก็ดีขึ้น มีสปา ต้องให้วิตามิน มีโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มตาม จะเห็นว่าองค์ประกอบต่าง ๆ ทำให้ดูน่าสนใจมาก

ตลาดใหญ่ไร้ผู้นำ

จะเห็นว่าตลาดสัตว์เลี้ยงถือเป็นตลาดที่ใหญ่ และมีปัจจัยบวกจำนวนมาก แต่ที่น่าสนใจคือ ยังไม่มีผู้นำตลาดชัดเจน เพราะ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้เล่นรายย่อยและร้านแบบครบวงจรก็มีน้อย ส่วนใหญ่มี 1-2 สาขาเท่านั้น ดังนั้น ทาง เซ็นทรัล เลยถือโอกาสเปิดตัวแบรนด์ใหม่ PET ‘N ME เพื่อรุกตลาดสัตว์เลี้ยงเพิ่มเติม จากเดิมที่เคยมีแบรนด์อย่าง PETSTER และ Cool Pets

สำหรับ PET ‘N ME จะเป็น Specialty Store สัตว์เลี้ยงครบวงจร ของเซ็นทรัล รีเทล ขณะที่ PETSTER จะเป็นโซนจำหน่ายอาหารและของใช้สำหรับสัตว์ในเครือ ท็อปส์ เน้นจับกลุ่มลูกค้าทั่วไป ส่วน Cool Pets เป็นโซนจำหน่ายอาหาร ของเล่น ของใช้โดยจะเปิดในโซนห้างเซ็นทรัล ปัจจุบันมี 7 สาขา

โดยคอนเซ็ปต์ PET ‘N ME คือ pet lover community โดยจะมีโซนขายอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง, โซนอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยง grooming ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นขน รวมกว่า 6,000 รายการ มีโซน other pet ไว้บริการ เช่น บริการตรวจเช็กสุขภาพ อาบน้ำ ตัดขน และสปา มีพื้นที่ pet park สามารถพาสัตว์เลี้ยงมาวิ่งเล่นได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และมี cafe จาก Arigato ให้บริการเครื่องดื่มและอาหารทานเล่น

ลูกค้า The one card กว่า 18 ล้านคน มีราว 4 แสนคนที่ซื้อสินค้าเกี่ยวกับสัตว์ แนวโน้มก็เริ่มมาใช้เงินกับสัตว์เลี้ยงมากขึ้น เราเห็นเทรนด์ว่ามันเพิ่มขึ้นแน่นอน และเรามองว่าตอนนี้ไม่มีใครให้ประสบการณ์กับลูกค้าได้ครบ” ไท จิราธิวัฒน์ รองประธานฝ่ายการเงิน บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ เซ็นทรัล รีเทล กล่าว

ปักเป้า พันล้าน ปีแรก ขยาย 50 สาขาใน 5 ปี

เบื้องต้น PET ‘N ME เปิดสาขาแรกที่เซ็นทรัลเวสต์เกต และจะขยายให้ได้ 50 สาขาภายใน 3-5 ปี เน้นเปิดในศูนย์การค้า หรือติดกับศูนย์การค้า ทั้งของเซ็นทรัลพัฒนา,​ โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ และใน Community Mall ที่เซ็นทรัลพัฒนาซื้อกิจการจากสยามฟิวเจอร์ดีเวลลอปเมนท์​ (SF) โดยวางไว้ 4 รูปแบบ คือ

  • ร้านขนาดเล็ก 100 – 150 ตารางเมตร จำนวน 25 – 30 สาขา
  • ร้านขนาดกลาง 300 – 400 ตารางเมตร จำนวน 10 – 15 สาขา
  • ร้านขนาดใหญ่ 600 – 700 ตารางเมตร จำนวน 8 สาขา
  • Flagship 1,000 ตารางเมตร จำนวน 2 สาขา

และในปีหน้า PET ‘N ME จะเดินกลยุทธ์แบบ Omnichannel โดยเปิดช้อปออนไลน์ที่มีสินค้ากว่า 10,000 รายการควบคู่กันไป สามารถซื้อออนไลน์, Click and Collect สั่งออนไลน์รับของที่ร้าน หรือส่งด่วนใน 2 ชั่วโมง รวมถึงสามารถคุยกับพนักงานผ่านโทรศัพท์หรือไลน์เพื่อให้ช่วยเลือกสินค้าได้ด้วย โดยภายในปีแรกตั้งเป้ารายได้ที่ 1,000 ล้านบาท

เล็งจับพาร์ตเนอร์ขยายบริการ

PET ‘N ME มีแผนที่จะต่อยอดไปบริการอื่น ๆ เช่น สร้างช่องทางออนไลน์ให้เป็น Community คนรักสัตว์ โดยสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้เชี่ยวชาญได้ รวมถึงเพิ่มบริการ ฝึกสัตว์เลี้ยง ซึ่งทาง PET ‘N ME จะเน้น ‘จับมือ’ กับผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการในด้านนั้น ๆ อาทิ โรงพยาบาลสัตว์, สถานที่รับฝากสัตว์เลี้ยง, Training Center เป็นต้น

หากดูจากแผนแล้วก็ต้องถือว่าเซ็นทรัลรุกหนักตลาดสัตว์เลี้ยง แต่ต้องยอมรับว่าไม่ใช่แค่เซ็นทรัลที่เห็นโอกาส เพราะอาร์เอสเองก็ประกาศว่าไม่หยุดแค่อาหารสัตว์แน่นอน ที่น่าห่วงอาจเป็นผู้เล่นรายย่อยที่ต้องเจอคู่แข่งสุดแข็งที่ทุนหนากว่ามาแย่งลูกค้า

]]>
1365864
‘LINE’ เผย 3 กลยุทธ์ ‘Growth Strategy’ แบบยั่งยืนในยุค ‘New Normal’ https://positioningmag.com/1286467 Fri, 03 Jul 2020 12:29:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286467 ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลังจากที่เกิดวิกฤติ Covid-19 ทำให้แบรนด์ทั้งเล็ก-กลาง-ใหญ่ ต้องปรับกลยุทธ์เข้าสู่ดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ ศรีสุภาคย์ อารีวณิชกุล ผู้อำนวยการธุรกิจองค์กร LINE ประเทศไทย ได้ออกมาแนะนำ 3 กลยุทธ์สำคัญแบบ ‘Growth Strategy’ เพื่อให้แบรนด์เดินหน้าสู่การทำธุรกิจออนไลน์อย่างยั่งยืนแม้จะหมดช่วงวิกฤติ Covid-19

ศรีสุภาคย์ อารีวณิชกุล ผู้อำนวยการธุรกิจองค์กร LINE ประเทศไทย

1.วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย

พฤติกรรมของผู้บริโภคบนโลกดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเสมอ การสื่อสาร 1 ข้อความสู่ลูกค้าทั้งหมด ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป ส่งผลให้แบรนด์ต้องทำการบ้านหนักกว่าเดิม ดังนั้น การเก็บข้อมูลและศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค แต่ละคน แต่ละกลุ่ม (Segmentation) ให้มากขึ้น อย่างวิ่งตามเทรนด์ แต่สร้างเทรนด์ให้ผู้บริโภค (Set trend to each segmentation) โดยอาจจับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก่อน แล้วจึงต่อยอดขยายสู่กลุ่มอื่น อีกทั้งต้องสื่อสารสู่ผู้บริโภคให้แตกต่างกันเพื่อดึงดูดให้เกิดการมีส่วนร่วม ที่นำไปสู่การปิดการขายที่เหมาะสมกับคนแต่ละกลุ่ม (Personalization)

2.สื่อสารอย่างสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้แบรนด์สร้างความแตกต่างในโลกออนไลน์ ด้วยการสร้างเรื่องราวและรูปแบบการเล่าเรื่องของสินค้าหรือตัวแบรนด์ให้โดดเด่น สร้างสรรค์ ไม่ซ้ำใคร พยายามสร้างการสื่อสารตัวตนของแบรนด์ สินค้าด้วยรูปแบบใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์กว่าเดิม ผ่านเครื่องมือใหม่ ๆ

“ที่ผ่านมามีแบรนด์อย่าง LION ได้ออกแบบเงื่อนไขในการรับสติกเกอร์ด้วยการให้ผู้บริโภคตอบแบบสอบถาม นำมาสู่ข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคเป็นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว ที่แบรนด์สามารถนำไปต่อยอดเพื่อวิเคราะห์การสื่อสารและแคมเปญการตลาดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างในการประยุกต์ใช้สติกเกอร์”

3.สร้างประสบการณ์ใหม่บนโซเชียลคอมเมิร์ซ 

การปรับตัวของแบรนด์ใหญ่บนโซเชียลคอมเมิร์ซไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ การสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่บนโซเชียลคอมเมิร์ซให้ผู้บริโภครู้สึกประทับใจ แบรนด์ที่ปรับตัวและริเริ่มก่อน จะได้รับความสนใจและมีตัวตนบนโลกดิจิทัลในฐานะของ ‘ผู้บุกเบิก’ หรือ ‘ผู้ปฏิวัติวงการ’ อาทิ การใช้ ‘Live’ เข้ามาสร้างประสบการณ์ใหม่

“ไม่เพียงแค่ผู้ค้ารายย่อยหรือ SME ที่เลือกใช้ LIVE ในการขายของ แบรนด์ใหญ่เริ่มหันมาใช้ LIVE เพื่อปิดการขาย หรือสร้างประสบการณ์สินค้าในรูปแบบใหม่ ต่างจากเดิมที่ใช้เพื่อสร้างการรับรู้ อย่าง Homepro กับ Big C ก็มีการใช้ LIVE บน LINE OA”

ปัญหาใหญ่ Go Digital ไม่ได้ เพราะโครงสร้างองค์กร

เพราะการวางกลยุทธ์ออนไลน์และโครงสร้างองค์กรในบางองค์กรอาจไม่เอื้อที่จะปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการจะไปออนไลน์หรือดิจิทัลจึงไม่สามารถทำได้ทันที อย่างไรก็ตาม การเติบโตของแบรนด์ที่ทรานส์ฟอร์มมาดิจิทัล โดยเฉพาะการใช้งานแพลตฟอร์ม LINE คงไม่ลดลงมาก เเม้วิกฤติ Covid-19 ในไทยจะดีขึ้น เนื่องจากการใช้งานดิจิทัลเป็น New Normal ของผู้บริโภค แม้ว่าช่องทางออฟไลน์จะเริ่มกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม แต่ผู้บริโภคคงไม่กลับไปใช้แต่ออฟไลน์ แต่จะใช้งานควบคู่กับออนไลน์

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีธุรกิจไทยที่ใช้งาน LINE OA แล้วเกิน 4 ล้านบัญชี โดย 3 กลุ่มธุรกิจที่มีการสื่อสารผ่าน LINE OA สูงสุด คือ กลุ่มค้าปลีก การเงินการธนาคาร และโทรคมนาคม ขณะที่ช่วงล็อกดาวน์จะพบว่ากลุ่มธุรกิจยานยนต์ องค์กรภาครัฐ เติบโตถึง 50-60% ตามมาด้วยธุรกิจค้าปลีกกับ อาหารและเครื่องดื่มที่เน้นการเดลิเวอรี่โตขึ้น 31% ขณะที่การใช้ LINE บน Desktop เติบโตมากขึ้นถึง 264% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้ LINE จึงสร้างพื้นที่โฆษณาที่เรียกว่Smart Channel’ บน Desktop

“พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วช่วงล็อกดาวน์ เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างบ่อยครั้งนัก แต่เมื่อผู้บริโภคคุ้นเคยกับความปกติใหม่หรือ New Normal แล้วก็ยากที่จะกลับไปเป็นแบบเดิมอีก แบรนด์ที่กล้าเปลี่ยนและเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่วันนี้”

]]>
1286467
“เซ็นทรัล รีเทล” ปิดรายได้ปี 62 ทะลุ 222,737 ล้านบาท ควักเงินลงทุนอีก 18,000 ล้านในปีนี้ https://positioningmag.com/1266374 Fri, 28 Feb 2020 15:04:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266374 บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (CRC) ประกาศผลประกอบการปี 2562 พุ่งทั้งรายได้และกำไร ด้วยรายได้ 222,737 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าลงทุน 18,000 ล้านบาทในปี 2563 ลุยขยายสาขาใน 3 ประเทศ

รายได้มีการเพิ่มขึ้น 8% ส่วนกำไร 12,359 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% มีการคาดการณ์รายได้เติบโตเฉลี่ยที่ 8-10% และ EBITDA เติบโตเฉลี่ยที่ 10-11%

ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า

ปิดปี 2562 ด้วยรายได้ และกำไรที่เติบโตจากปัจจัยหลัก คือ การมีแพลตฟอร์มธุรกิจที่แข็งแกร่งในทุกประเทศ ทั้งในไทย เวียดนาม และอิตาลี ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดโตในทุก Category ทั้งแฟชั่น ฟู้ด และฮาร์ดไลน์ อีกทั้งยังมีการขยายฐานลูกค้าเพิ่มอย่างต่อเนื่องในทุกมาร์เก็ต”

โดยในปี 2563 นี้ ได้เตรียมงบลงทุน 18,000 ล้านบาท (ไม่รวมการควบรวมกิจการ (M&A)) ที่จะขยายธุรกิจในแต่ละประเทศ ดังนี้

  • ประเทศไทย : ขยายสาขาใหม่ อาทิ โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ 3 แห่ง, ไทวัสดุ 7 แห่ง และบ้านแอนด์บียอนด์ 3 แห่ง พร้อมกับการขยายสาขาของกลุ่มฟู้ด และร้านค้าเฉพาะทาง เป็นต้น
  • ประเทศเวียดนาม : ขยายสาขาใหม่ของบิ๊กซี / โก! อีก 6 แห่ง และปรับโฉมใหม่อีก 4 แห่ง พร้อมขยายธุรกิจ Non-Food อาทิ LookKool, Kubo, SuperSports เป็นต้น
  • ประเทศอิตาลี : ปรับโฉมใหม่สาขาฟลอเรนซ์ และกรุงโรม เน้นย้ำความเป็นผู้นำด้านไลฟ์สไตล์ลักชูรี่
]]>
1266374
มหาชนเต็มตัว! “เซ็นทรัล รีเทล” ประกาศความพร้อม IPO หลัง ก.ล.ต. อนุมัติแล้ว https://positioningmag.com/1258628 Thu, 26 Dec 2019 08:19:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258628 บมจ. เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือ CRC ประกาศเดินหน้าเสนอขายหุ้น IPO ครั้งประวัติศาสตร์ หลังจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ได้อนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) และมีผลใช้บังคับเป็นที่เรียบร้อยในวันที่ 26 ธันวาคม 2562

CRC ประกาศแผนเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 1,691,000,000 หุ้น โดยแบ่งออกเป็น

1. หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 1,331,000,000 หุ้น คิดเป็น 22.1% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดหลัง IPO (ไม่รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) ซึ่งหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนดังกล่าว ประกอบด้วยหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อเสนอขายให้แก่ ผู้ถือหุ้นของบริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) หรือ ‘ROBINS’ ที่ตอบรับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ ผ่านการแลกหุ้น (Share Swap) และหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อเสนอขายและจัดสรรให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก

2. หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย Hawthorn Resources Limited (ผู้ถือหุ้นเดิม) จำนวนไม่เกิน 360,000,000 หุ้น คิดเป็น 6.0% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดหลัง IPO (ไม่รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) และอาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Overallotment Option หรือ Greenshoe) จำนวนไม่เกิน 169,100,000 หุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 10.0% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายในครั้งนี้ เพื่อนำเงินไปใช้ในการรักษาระดับราคาหุ้น (Stabilization) เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน

“ทศ จิราธิวัฒน์” ประธานกรรมการบริหาร เซ็นทรัล รีเทล

แลกหุ้นโรบินสัน

พร้อมกันนี้ CRC ประกาศเดินหน้าทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ ROBINS ที่ราคาเสนอซื้อ 66.50 บาทต่อหุ้น เพื่อแลกกับหุ้น IPO ของ CRC ตามช่วงอัตราแลกหุ้นเบื้องต้นที่ 1.39 ถึง 1.66 หุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ของ CRC ต่อ 1 หุ้นสามัญเดิมของ ROBINS ในระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 (รวม 25 วันทำการ)

โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) และ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์ (Tender Agent) หลังจากนั้นหุ้นของ ROBINS จะถูกเพิกถอนออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมกับหุ้น IPO ของ CRC เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์

ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) กล่าวว่า

โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา คณะผู้บริหารของ CRC ซึ่งมีส่วนผสมที่ลงตัวจากทั้งครอบครัวจิราธิวัฒน์ และทีมผู้บริหารมืออาชีพ ได้ร่วมกันวางโครงสร้างธุรกิจค้าปลีกของกลุ่มเซ็นทรัลใหม่ (New Central New Retail) จนมีความพร้อมในการต้อนรับนักลงทุน ผ่านรูปแบบธุรกิจค้าปลีกของ CRC”

ปัจจุบัน CRC มีฟอร์แมตค้าปลีกครอบคลุมทั้ง ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ซูเปอร์สปอร์ต เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป เพาเวอร์บาย ไทวัสดุ ท็อปส์ แฟมิลี่มาร์ท โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย รวมไปถึงบิ๊กซี/GO! เหงียนคิม ลานชีมาร์ท ในประเทศเวียดนาม และรีนาเชนเต ห้างสรรพสินค้าระดับไฮเอนด์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศอิตาลี

มีร้านค้าทั้งหมดประมาณ 1,922 ร้านค้าใน 51 จังหวัดทั่วประเทศ และมีห้างสรรพสินค้าระดับไฮเอนด์ในประเทศอิตาลี รวมทั้งสิ้น 9 สาขา ห้าง Hypermarket ในเวียดนามอีก 133 ร้านค้า ใน 40 จังหวัด

เปิดรายได้ปี 62 โต 4%

ในส่วนของผลการดำเนินงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 CRC มีรายได้รวม 159,506 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้น 6,298 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตที่ 4.1% จากรายได้รวมในช่วงระยะเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า

วัตถุประสงค์ของการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการขยายสาขาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงการปรับปรุงสาขาต่างๆ ได้แก่

1. การขยายสาขาใหม่ของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน และ โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์

2. การขยายสาขาของไทวัสดุ 

3. การขยายสาขาของบิ๊กซี/GO! ในประเทศเวียดนาม         

4. การปรับปรุงสาขาต่างๆ ของแต่ละกลุ่มธุรกิจ และการชำระคืนหนี้เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน เพื่อโอกาสในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) และ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินร่วม

CRC มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิจากงบการเงินรวมภายหลังจากหักภาษี และการจัดสรรทุนสำรองต่าง ๆ ทุกประเภทตามที่กฎหมายและ CRC กำหนดไว้ในแต่ละปี

]]>
1258628
“เซ็นทรัล” แย่งซีน “เทอร์มินอล21” ปักป้ายบอกทางตรงทางเข้า ท่ามกลางสมรภูมิ “โคราช” ที่ยังต้อง “ปาดเหงื่อ” https://positioningmag.com/1228312 Mon, 06 May 2019 11:29:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1228312 ที่มาของรูป : Facebook ที่นี่ โคราชไง

หนึ่งในภาพที่กำลังเป็นที่สนใจของโลกออนไลน์ในขณะนี้คือภาพทางทางเข้าเทอร์มินอล21 โคราชซึ่งหากเงยหน้าขึ้นไปอีกนิด จะพบกับตัวหนังสือสีดำบนพื้นขาวเขียนว่าเซ็นทรัลพลาซาตรงไปอีก 5 กิโลเมตร ซึ่งจากการตรวจสอบแล้วพบเป็นป้ายจริง


สำหรับผู้ใช้อย่างเราๆ หรือผู้ที่สัญจรไปมาคงมองเห็นว่าภาพนี้เซ็นทรัลกำลังแย่งซีนเทอร์มินอล21” อยู่ เพราะป้ายต้งอยู่ตรงทางเข้าอย่างชัดเจน แต่หากมองไปอีกมุมของผู้ประกอบการ นี่คือตลกร้ายที่ขำไม่ออก เพราะกำลังชี้ให้เห็นภาพชัดเจนว่า การแข่งขันในสมรภูมิ โคราชยังคงต้องปาดเหงื่อต่อไป

ที่เป็นอย่างนั้นต้องบอกว่าแค่บนถนนสายมิตรภาพจากกรุงเทพฯ เข้าเมืองโคราช ระยะทางไม่ถึง 10 กิโลเมตร กลับมีห้างให้เลือกเดินถึง 6 แห่ง โดยในจำนวนนี้เป็นศูนย์การค้าระดับบิ๊กอย่างเซ็นทรัลใช้เงินลงทุนกับโครงการนี้นับหมื่นล้านบาท จนเดอะมอลล์ต้องขยับตัวใช้เงินอีก 2,000 ล้านบาทปรับโฉมครั้งใหม่ และเทอร์มินอล21” ใช้เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 6,000 ล้านบาท

เมื่อดูต้นเหตุของการลั่นกลองรบเปิดศึกชิงลูกค้าอย่างคึกคัก มาจากข้อมูลที่ว่า นี่คือทำเลศักยภาพสูง เพราะไม่เพียงลูกย่าโมที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาเกือบ 3 ล้านคนเท่านั้น

แต่ยังมีกลุ่มเป้าหมายจากจังหวัดใกล้เคียง คือ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม สุรินทร์ รวมแล้วกว่า 8 ล้านคน และยังมีกลุ่มที่เดินทางตามเส้นทางผ่านไปจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสานอีกด้วย

อ่านเต็มๆ : สมรภูมิห้างฯโคราชร้อนฉ่า เมื่อ 3 บิ๊กศูนย์การค้า เซ็นทรัล-เดอะมอลล์-เทอร์มินอล! มาครบ!

แต่ในความเป็นจริงภาพที่วางไว้ กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกลับไม่เหมือนกันเลย เพราะคนยังมีจำนวนเท่าเดิมไม่ได้เพิ่มขึ้น สวนทางกับห้างที่มีมากขึ้น จนมีข่าวออกมาเป็นระลอกว่า ร้านค้าทยอยปิดตัวลงไปเพราะไม่มีคนเดิน ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นทั้งกับเซ็นทรัลและเทอร์มินอล21”

เทอร์มินอล21 โคราช

ก่อนหน้านี้ราวปลายปีที่แล้ว PositioningMag ได้มีโอกาสคุยกับประเสริฐ ศรีอุฬารพงศ์กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล เอช มอลล์ แอนด์ โฮเทล จำกัด ผู้พัฒนาศูนย์การค้า เทอร์มินอล21 โคราช ซึ่งเขายอมรับว่าทราฟฟิกที่ไม่เป็นไปตามที่วางไว้ทำให้มีร้านค้าบางส่วนย้ายออกไป

แต่ปัจจุบันก็ยังมีอัตราการเช่าอยู่ที่ 90-95% ถึงจะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของศูนย์ค้าที่ 98-99% ก็ตาม ซึ่งเป็นปรกติของการทำศูนย์การค้าจะหยุดนิ่งไม่ได้ ต้องปรับไปเรื่อยๆ ขณะนี้มีทราฟฟิกเฉลี่ยวันละ 40,000 คน วันธรรมดาจะน้อยกว่าวันหยุด 15-20% ถือว่ายังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะอยากได้วันละ 50,000 คนเป็นอย่างน้อย

เบื้องต้นทางเทอร์มินอล21 ได้อัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงให้ลูกค้าเดินเข้ามา รวมไปถึงกำลังอยู่ในระหว่างการเจรจากับร้านค้าและอีเวนต์ เพื่อแม็กเน็ตที่เข้ามาเสริม

สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เทอมินัล21 ประเมินไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว เนื่องจากลูกค้าในโคราชส่วนใหญ่จะเป็นคนในพื้นที่และใกล้เคียง ไม่ได้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาชวยเสริมเหมือนทำเลอื่นๆ จึงไม่แปลกที่จะแข่งกันเพื่อดึงลูกค้า แต่การทำศูนย์การค้าเป็นเรื่องของระยะยาว ที่ดินที่โคราชเราก็ซื้อขาด จึงต้องเดินหน้าต่อไป คาดว่าต้องใช้เวลา 3 ปีถึงจะอยู่ตัว

หลังจากนี้คงต้องลุ้นต่อไป หากเมื่อวันที่เทอร์มินอล21 โคราชครบรอบ 3 ปี ซึ่งก็คือภายในปี 2019 นี้ จะเป็นไปอย่างที่ประเสริฐคาดหวังไว้หรือไม่?

]]>
1228312
ซื้อออนไลน์จ่ายเยอะกว่ามาเดินห้าง! เซ็นทรัลเทงบ 250 ล้าน ยกเครื่องครั้งใหญ่ Central.co.th สู่ Omni Channel https://positioningmag.com/1223091 Tue, 02 Apr 2019 12:59:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1223091 กลุ่มเซ็นทรัลเริ่มนำสินค้าในส่วนของห้างสรรพสินค้า มาเปิดขายออนไลน์ครั้งแรกผ่านเว็บไซต์ Central.co.th เมื่อปี 2014 ครั้งนั้น ยังอยู่ภายใต้บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) ก่อนในปี 2017 จะโอนมาอยู่ภายใต้ บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด หรือ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ซึ่งมีอายุ 71 ปี เพื่อให้อยู่ในรูปแบบของ Omni Channel รองรับทั้งออนไลน์ออฟไลน์

แต่ผ่านไปแล้ว 5 ปี เว็บไซต์ Central.co.th ยังไม่เคยได้ปรับปรุงอะไรมากนัก User Interface (UI) หรือหน้าเว็บไซต์จึงไม่ค่อย Friendly กับผู้ใช้มากนัก หาสินค้าค่อนข้างหายาก ที่สำคัญระบบหลังบ้านเริ่มล้าสมัยไปบ้างแล้ว ทำให้ในปีนี้เซ็นทรัลตัดสินใจใช้เงิน 250 ล้านบาท ยกเครื่องครั้งใหญ่เปลี่ยนทั้ง UI และระบบหลังบ้าน ซึ่งส่วนนี้ใช้เงินไป 55% ที่เหลือ 45% ใช้กับการตลาด

ห้างเซ็นทรัล เชื่อว่าช่องทางออนไลน์ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เพราะเมื่อไปดูประชากรทั่วโลก 7.7 พันล้านคน ในจำนวนนี้ 4.4 พันล้านคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว ส่วนคนไทย 69.3 ล้านคน 82% หรือ 57 ล้านคนมีอินเทอร์เน็ตใช้แล้ว อีกทั้งการช้อปออนไลน์ติด 1 ใน 5 กิจกรรมที่คนออนไลน์ใช้มากที่สุด

ยืนยันด้วยผลสำรวจจาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ได้ระบุ 5 กิจกรรมที่คนไทยทำมากที่สุดในออนไลน์ได้แก่โซเชียลมีเดีย 93.64%, E-Mail  74.15%, ค้นหาข้อมูลต่างๆ 70.75%, ดูวิดิโอออนไลน์ 60.72% และช้อปปิ้ง 51.28%

ปัจจุบันช่องทางขายของห้างเซ็นทรัลมาจาก 3 ขาหลัก ได้แก่ ขาแรก ห้างสรรพสินค้า 23 สาขาทั้งประเทศ (ถ้านับรวม Central.co.th ซึ่งถูกยกให้เป็นอีก 1 สาขาจะเป็น 24 สาขา), ขาที่ 2 Chat & Shop ผ่านแอปพลิเคชั่น Line ปีที่ผ่านมาสามารถสร้างยอดขายได้ 250 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 111% และคาดว่าในปี 2019 จะสร้างยอดขายได้ถึง 500 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้นถึง 100% และขาสุดท้าย Central.co.th

ข้อมูลเชิงลึกของ Central.co.th พบมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมเฉลี่ย 12.5 ล้านครั้งต่อเดือน โดยลูกค้าหลักเป็นผู้หญิง 68% ผู้ชาย 32% ส่วนใหญ่อายุ 18-25 ปี 30% รองลงมา 35-44 ปี 28% นิยมซื้อผ่านสมาร์ทโฟน 70% เดสก์ท็อป 24% นิยมจ่ายผ่านบัครเครดิต 76% รองลงมาชำระเงินปลายทาง 18%

สินค้าที่นิยมซื้อ 5 อันดับแรก เครื่องสำอาง 36.9%, บ้านและครัว 24.2%, ท่องเที่ยว 8.1%, แม่เด็กและของเล่น 7.7 สุดท้ายผู้หญิง 7.5% สำหรับกลุ่มที่เดิมโตมากที่สุดในปีที่ผ่านมาคือนาฬิกาโดยเฉพาะยี่ห้อคาสิโอ

สเตฟาน จูเบิร์ท ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายออนไลน์และออมนิแชนแนล ซีอาร์เอ็ม บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด กล่าวว่า 

พฤติกรรมการช้อประหว่าง 2 ช่องทาง มีส่วนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน คือกลุ่มที่มาสาขาจะมีช่วงอายุกว้างมากถึง 70 ปี สินค้ายอดนิยมเป็นแฟชั่นและลูกค้าหลักอยู่ในกรุงเทพฯ ส่วนช่องทางออนไลน์นักช้อปส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ สินค้าขายดีจึงเป็นเครื่องสำอาง ที่สำคัญเมื่อไม่มีข้อจำกัดด้านการเดินทางลูกค้ากว่า 40% จึงอยู่ต่างจังหวัด

แต่นั้นไม่ใช่เหตุสำคัญที่ห้างเซ็นทรัลต้องสนใจเว็บไซต์อย่างจริงจัง เพราะสาเหตุแท้จริงอยู่ที่ยอดขายในออนไลน์ เมื่อเทียบกับมาเดินห้างเติบโตมากกว่า 3 เท่า!

สเตฟาน จูเบิร์ท ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายออนไลน์และออมนิ-แชนแนล ซีอาร์เอ็ม บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด

จากข้อมูลในปี 2018 พบว่ามีลูกค้ามาเดินในสาขารวมกันประมาณ 2.5 ล้านคน เฉลี่ย 3.7 ครั้ง และมียอดใช้จ่าย 12,524 บาท แต่กลุ่มที่ใช้ช่องทางออนไลน์ด้วย แม้จะมีจำนวน 43,000 คน แต่มีการเข้ามาชมสินค้าเฉลี่ย 9.1 ครั้ง ที่สำคัญยังมียอดใช้จ่ายเฉลี่ย 36,387 บาท แล้วอย่างนี้จะไม่ให้ห้างเซ็นทรัลทุ่มเงินยกเครื่องใหญ่ได้อย่างไร

นอกจากการปรับในระบบแล้วยังได้มาพร้อมคอนเซ็ปต์ ‘MY CENTRAL IS NOW’ โดย 1.เน้นความหลากหลายของสินค้าเสมือนเดินช้อปอยู่ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ในจำนวนนี้พร้อม 60 แบรนด์ที่วางขายเฉพาะเซ็นทรัลออนไลน์, 2.ปรับเวลาการส่งใหม่ หากอยู่ในกรุงเทพฯ และสั่งก่อนเที่ยง จะได้สินค้าภายใน 1 วัน ส่วนต่างจังหวัดใช้เวลาเพียง 2-3 วันยังมีจุด Click & Collect ที่มีมากกว่า 70 จุดทั่วประเทศ สุดท้ายการรันตีเรื่องคุณภาพ

ณัฐธีรา จิราธิวัฒน์ บุญศรี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด

ณัฐธีรา จิราธิวัฒน์ บุญศรี กรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ ที่เพิ่งแต่งตั้งได้ราว 2-3 เดือนของบริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด แต่ทำงานในนี้ได้ 10 กว่าปีแล้ว และตำแหน่งก่อนที่จะปรับคือรองกรรมการฝ่ายจัดซื้อ กล่าวว่า

ภายในปีนี้ตั้งเป้ายอดขายจาก Central.co.th 1,500 ล้านบาท โต 150% คิดเป็นสัดส่วน 4% จากยอดขายรวมโดยภายในปี 2023 ตั้งเป้าเพิ่มเป็น 15% เมื่อถึงวันนั้นช่องทางออนไลน์จะกลายเป็นช่องทางที่มียอดขายมากที่สุด แซงหน้าเบอร์หนึ่งในวันนี้คือเซ็นทรัลชิดลม ที่มียอดขายราว 1 หมื่นล้านบาท

สำหรับยอดขายปี 2018 ของห้างเซ็นทรัลอยู่ที่ 42,000 ล้านบาท เติบโต 4% ปี 2019 ตั้งเป้ามียอดขาย 45,000 ล้านบาท เติบโต 6% โดยสาขาปีนี้เปิดทั้งหมด 1 แห่งที่ป่าตอง ที่เหลือจะเป็นการรีโนเวตที่สาขาลาดพร้าวและปิ่นเกล้า ส่วนสาขาชิดลมวางแผนปรับปรุงครั้งใหญ่ปีหน้าใช้งบไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท คาด 2 ปีเสร็จ

อย่างไรก็ตาม ภายใต้กลุ่มเซ็นทรัล ยังมีช่องทางออนไลน์อีกแห่งคือ JD.co.th ซึ่งร่วมทุนกับ JD.com ยักษใหญ่เบอร์ 2 อีคอมเมิร์ชจีน

จุดนี้เซ็นทรัลบอกว่าจะไม่ทับซ้อนกันอย่างแน่นอน ด้วยวางโพสิชั่นต่างกัน Central.co.th วางตัวเองเป็นออมนิ แชแนลเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าของห้างเซ็นทรัลเป็นหลัก ส่วน JD.co.th เป็น E-Marketplace ที่มีสินค้าจากร้านรายย่อยเข้ามาขายด้วย

]]>
1223091
ผ่าแผน JD Central ดีลนี้ไม่ได้มีแค่ “E-Commerce” แต่ Next Step คือ “FinTech” https://positioningmag.com/1211121 Tue, 29 Jan 2019 23:07:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1211121 Thanatkit

ย้อนกลับไปเมื่อตอนที่เซ็นทรัล กรุ๊ปประกาศร่วมทุนกับเจดี ดอทคอมหนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ของวงการ E-Commerce จากเมืองจีน ด้วยวงเงินกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 17,500 ล้านบาท

แต่วงเงินทั้งหมดไม่ได้ทำเฉพาะธุรกิจ “E-Commerce” ภายใต้ชื่อ “JD.CO.TH” เพราะเงินที่ใส่เข้าไปเป็นเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ส่วนที่เหลืออีกกว่า 8,750 ล้านบาท ถูกวางแผนสำหรับบุก “FinTech” ไว้ตั้งแต่แรกด้วย

ตามโครงสร้างธุรกิจ “E-Commerce” และ “FinTech” จะแยกกันบริหารอย่างชัดเจน โดยมีการจดทะเบียนแยกบริษัทเลย เมื่อลงลึกเข้าไปถึงธุรกิจ “FinTech” การถือหุ้นจะมาจาก 3 ส่วนคือ เซ็นทรัล กรุ๊ป ครึ่งหนึ่ง และที่เหลือถือโดยเจดี ดอทคอม กับ เจดี ดิจิทัล (JD Digital) บริษัทในเครือด้าน FinTech ซึ่งเปิดมาได้ 5 ปีแล้ว

โดยได้ตั้ง เซ็นทรัล เจดี ฟินเทค โฮลดิ้ง เป็นบริษัทแม่ จดทะเบียนเมื่อ 5 เมษายน 2018 ด้วยทุน 1,586,462,300 บาท แจ้งประกอบกิจกรรมของบริษัทโฮลดิ้งที่ไม่ได้ลงทุนในธุรกิจการเงินเป็นหลัก หลังจากนั้นไม่นาน 23 เมษายน 2018 ก็ได้คลอดบริษัทลูกออกมาอีก 2 แห่ง คือ  

เซ็นทรัล เจดี มันนี่ ทุนจดทะเบียน 1,200,000,000 บาท แจ้งประกอบกิจกรรมบริการทางการเงินอื่นๆ (ยกเว้นกิจกรรมการประกันภัย และกองทุนบำเหน็จบำนาญ) ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น และ เซ็นทรัล เจดี ฟินเทค ทุนจดทะเบียน 100,000,000 บาท แจ้งการให้สินเชื่ออื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

หลังจากที่ปล่อยให้ฝั่ง E-Commerce บุกตลาดล่วงหน้ามาปีกว่าๆ ในที่สุดก็ได้เวลาที่ฝั่ง FinTech จะงัดโปรดักต์ที่ซุ่มทำมาเสียที โดยเริ่มต้นด้วยการจุดพลุแอปพลิเคชั่น e-Wallet หรือกระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งเป็นผลงานของ เซ็นทรัล เจดี มันนี่ภายใต้ซื่อ “Dolfin Wallet” (ดอลฟิน วอลเล็ท

ชื่อนี้มีที่มาจากการที่ e-Wallet ชื่อดังในต่างประเทศ มักตั้งชื่อให้เป็นสัตว์น้ำ อีกทั้งน้ำก็ถือเป็นสัญลักษณ์ของเงินด้วย เลยตั้งเอาโชคเอาชัย ตามประสาธุรกิจที่บุกมาจากจีนแผ่นดินใหญ่เสียหน่อย

เหตุที่ต้องเริ่มต้นด้วย “e-Wallet” เพราะปลายทางที่เซ็นทรัล เจดี ฟินเทควางไว้คือการเปิดบริการด้าน “E-Consumer Finance” การให้บริการ สินเชื่อออนไลน์ เป็นแผนธุรกิจที่ถูกบรรจุไว้ด้วย เพียงแต่การจะทำธุรกิจในโลกดิจิทัล “Data” หรือข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมี ด้วยการรู้พฤติกรรมของผู้บริโภควางไว้เท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูง เหมือนสุภาษิตที่ว่า รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง

รุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เซ็นทรัล เจดี ฟินเทค ก็ยอมรับว่า ความท้าทายของ Dolfin Wallet นั้น ต้องอ่านโจทย์ให้แม่น รู้ว่าเมื่อไหร่ควรทำต่อหรือหยุด ไม่ดื้อดึง เพราะนี่คือการจัดการของใหม่ที่ยังไม่เคยทำมาก่อน ดังนั้นการเริ่มที่ e-Wallet เพื่อมีข้อมูลเหล่านี้มาอยู่ในมือก่อน

การเป็นน้องใหม่ของวงการ e-Wallet แรงกดดันไม่ได้มาทีหลัง “TrueMoney” และ “Rabbit LINE Pay” แต่คนไทยยังติดใช้ เงินสด ยังไม่นิยมใช้ e-Wallet แทนเงินสด ที่สำคัญ ร้านที่รับ e-Wallet ยังไม่กระจายตัวมากพอ ยิ่งในต่างจังหวัดเลิกถามถึงได้เลย

ดังนั้นการแก้โจทย์แรกคือต้องขยาย ร้านค้า” รับชำระก่อน แทนที่จะติดตั้งจุดชำระเอง Dolfin Wallet ใช้วิธีจับมือกับธนาคารกรุงเทพ ซึ่งมีเน็ตเวิร์กร้านค้าที่รับพร้อมเพย์คิวอาร์โค้ดกว่า 3 ล้านร้านค้าทั่วประเทศ และธนาคารกสิกรไทย ซึ่งมีจำนวนร้านค้าที่รับชำระเงินผ่านเครื่อง EDC กว่า 300,000 จุด และร้านค้า K PLUS Shop อีกกว่า 1.7 ล้านราย รุ่งเรือง บอกว่าแค่ธนาคาร 2 เจ้าก็ครอบคลุมพื้นที่กว่า 80% แล้ว ยังไม่รวมร้านค้าที่อยู่ภายใต้เครือเซ็นทรัล

อีกทั้งการจับมือกับธนาคารทั้ง 2 ราย ยังสร้างจุดแตกต่างจาก e-Wallet อื่นๆ ตรงที่เป็น Open-loop รับชำระได้ทุกร้านค้าที่ใช้คิวอาร์โค้ด ต่างจากผู้เล่นรายอื่นที่เป็น Close-loop ใช้ได้เฉพาะจุดรับชำระของผู้ให้บริการ e-Wallet รายนั้นๆ

ส่วนเรื่องความปลอดภัย นำระบบ E-KYC (electronic know-your-customer) มาใช้ในการยืนยันตัวตน จดจำใบหน้า (face recognition) และอ่านตัวอักษรจากภาพถ่าย (OCR – optical character recognition) ถือเป็นรายแรกที่นำระบบ E-KYC  มาใช้ตามกฎใหม่ที่ ธปท.เพิ่งประกาศใช้

แม้วันนี้Dolfin Wallet” จะอยู่ในระหว่างการขออนุญาตจาก ธปท. ซึ่งคาดว่าอีก 2-3 เดือนก็สามารถเปิดให้ใช้อย่างเป็นทางการได้ แต่ รุ่งเรืองได้ตั้งเป้าหมายในระยะเวลา 12 เดือนแรกจะมีผู้ใช้งาน 4-5 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมาจาก 3 ส่วนได้แก่ ฐานสมาชิก The 1 Card จำนวน 15 ล้านคน, ผู้ใช้งานช่องทางดิจิทัลของธนาคาร และลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าในเครือเซ็นทรัล โดยปัจจุบันมากกว่า 50% ของยอดขาย 300,000 ล้านบาท ยังเกิดจากเงินสด

นอกเหนือจากการจูงใจด้วยแต้ม The 1 Card และส่วนลดต่างๆ แล้ว ยุทธวิธี Go to Market ของDolfin Walle” เน้นจะทำเป็นโลเคชั่น กระตุ้นให้ผู้บริโภคคุ้นชินกับการใช้จ่ายด้วย e-Wallet จากในย่าน CBD เช่น สยามสีลม อโศก ค่อยขยายไปสู่มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นกลุ่มรองที่อยากจะได้ก่อนขยายไปทั่วประเทศ

เมืองจีนเป็นภาพสุดท้ายที่อยากจะเห็น อะไรก็แล้วแต่ที่ใช้เงินสดจ่ายในปัจจุบัน เช่น ค่าอาหารกลางวัน 30-40 บาท ต่อไปอยากให้จ่ายด้วยดอลฟิน วอลเล็ท

เบื้องต้นหลังจากเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ การใช้ทำได้เพียงการชำระเงินซึ่งเติมโดย 2 ธนาคารที่จับมือ ส่วนธนาคารอื่นๆ ก็อยู่ระหว่างการพูดคุย ต่อไปจะสามารถหักจากบัตรเครดิตและเดบิตได้เลย.

]]>
1211121
เทศกาล Sale เกลื่อนเมือง! “เซ็นทรัล” จัดหนัก ส่ง Midnight Sale สู้ศึก ควักงบ 100 ล้าน 8 วัน หวังฟันรายได้พันล้าน https://positioningmag.com/1199759 Mon, 26 Nov 2018 11:20:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1199759 เวลานี้ไม่ว่าหันไปทิศทางไหนก็พบแต่ “ป้าย Sale” ตั้งอยู่ทุกหัวระแหง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งถือเป็นช่วงที่แข่งขันขึ้นป้ายลดราคากันอย่างดุเดือดที่สุด แถมเวลานี้ยังมีร้านออนไลน์ร่วมชิงเค้กด้วย อย่างที่เพิ่งผ่านไปสดๆ ก็ “11.11” ที่เริ่มต้นด้วยอาลีบาบาของจีน หรือ “Black Friday” ซึ่งเปรียบเสมือนวันช้อปปิ้งแห่งชาติอเมริกา ปีนี้ตรงกับวันที่ 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งบรรดาห้างสรรพสินค้าในเมืองไทย ก็เอากับเขาด้วยในทุกเทศกาล

ควันหลังจากช้อปครั้งใหญ่ยังไม่จางหาย “ห้างเซ็นทรัล” ซึ่งบอกว่าตัวเองเป็นต้นตำรับของ “Midnight Sale” เพราะทำมานาน 28 ปีแล้ว ปีนี้จึงต้อง “จัดหนัก” นำสินค้าใหม่เข้าร่วมลดราคา จากปรกติที่มักจะนำคอลเลกชั่นเดิมเสียมากกว่า พร้อมกับขยายระยะเวลาช้อป เพิ่มระยะเวลาทำการของห้างไปอีก 2-3 ชั่วโมง

“Midnight Sale” ถือเป็นแคมเปญลดราคาที่ห้างเซ็นทรัลให้ความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากมียอดขายเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับแคมเปญอื่นๆ ไตรมาส 4 ปี 2018 ใช้เงินกว่า 100 ล้านบาท ถือว่าเยอะมาก เนื่องจากแคมเปญปรกติจะใช้เงินเพียง 5% จากยอดขายที่ตั้งไว้ แต่นี่ใช้ถึง 10%

โดยมุ่งเน้นกลุ่มทำงานผู้หญิง เพราะเป็นนักช้อปตัวยง ที่สำคัญข้อมูล Database ของบัตร The 1 ที่มีมากถึง 14.3 ล้านคน แบ่งเป็นผู้หญิง 75% (10.7M) ผู้ชาย 25% (3.6M) ในจำนวนนี้มากกว่า 50% เป็นวัยทำงานอายุ 25-45 ปี

มิดไนท์เซลปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 พ.ย. – 5 ธ.ค 2018 ในห้างเซ็นทรัลทั้ง 22 สาขา และ Central Chat & Shop บริการช้อปผ่าน Line เป็นสาขาที่ 23 ลดทั้งห้างสูงสุด 50% เฉพาะรุ่นสูงสุด 70% นอกจากนี้ยังสร้างการรับรู้ผ่านกลยุทธ์ Emotional Marketing โดยทำ VDO Clip ในคอนเซ็ปต์ WORK HARD, SHOP HARDER เผยแพร่ในช่องทางออนไลน์ ควบคู่ไปกับกิจกรรมขบวน OT Troop ไปยังออฟฟิศต่างๆ กับแจกคูปองแทนเงินสดด้วย

ปิยวรรณ ลีละสมภพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาด บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด บอกว่า

“การทำตลาดยุคนี้ไม่สามารถทำได้ทื่อๆ อีกต่อไป แต่ต้องไปเนียนๆ ไปกับสตอรี่ที่สร้างขึ้น เพื่อให้คนดูมีอารมณ์ร่วม ควบคู่ไปกับการทำ CRM และใช้สื่อให้หลากหลายเพื่อสร้างการรับรู้ให้มากที่สุด โดย Midnight Sale เป็นคำที่ศักดิ์สิทธิ์ไปแล้ว เวลาเอาไปพูดกับแบรนด์สินค้า หรือพาร์ตเนอร์รายอื่นๆ ทุกคนก็พร้อมจะทุ่มเต็มที่กับเรา เพราะเขาเชื่อผลที่จะได้รับ”

ห้างเซ็นทรัล ตั้งเป้ายอดขาย 1,000 ล้านบาทจากช่วง 8 วัน สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่ทำยอดขายประมาณ 800 ล้านบาท ในจำนวนนี้ตั้งเป้ายอดขายจาก Central Chat & Shop 10 ล้านบาท

โค้งสุดท้ายของปีใช้เงิน 1,000 ล้านดึงกำลังซื้อ

โค้งสุดท้ายของปีห้างเซ็นทรัลเตรียมใช้งบกว่า 1,000 ล้านบาทจากงบการตลาดทั้งปี 2,000 ล้าบบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ใช้ราว 1,500 ล้านบาท โดยงบส่วนใหญ่จะลงในเดือนพฤศจิกายนกว่า 500 ล้านบาท ที่เหลือก็จะกระจายไปในเดือนตุลาคมและธันวาคม เหตุที่ไม่ทุ่มไปที่เดือนสุดท้ายเนื่องจากมีวันหยุดเยอะ ผู้บริโภคสนใจเรื่องท่องเที่ยวมากกว่า

อย่างไรก็ตาม เดือนธันวาคมเป็นช่วงเทศกาล เซ็นทรัลจะมีทั้งต้นคริสต์มาสและมีหิมะเทียมโปรย 3 จุด เพิ่มจากปีที่แล้วที่ทำเพียง 1 จุด เพราะช่วยดึงผู้บริโภคให้มีอารมณ์ร่วมและใช้จ่ายมากขึ้น คาดว่าไตรมาส 4 จะมียอดขาย 10,000 ล้านบาท ทั้งปีทำยอดขาย 45,000 ล้านบาท เติบโต 4% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้านี้

“เครื่องสำอาง – แม่และเด็ก – ไลฟ์สไตล์” เทรนด์ที่ต้องรับมือปี 2019

สำหรับเทรนด์สินค้าในปีหน้า “ปิยวรรณ” มอง 3 กลุ่มที่จะมา กลุ่มแรก “เครื่องสำอาง” คาดจะเป็นที่นิยมอันดับ 1 อย่างต่อเนื่อง จะมีแบรนด์ใหม่ๆ จากเกาหลีใต้และญี่ปุ่นเข้ามาอีก แต่จะไม่ได้เป็นแบรนด์พรีเมียม หากราคาจะเข้าขึ้นได้ง่าย ทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อได้ถี่ขึ้น

“แม่และเด็ก” จะเป็นอีกกลุ่มที่ขยาย เพิ่มสินค้าสำหรับเด็ก 3-10 ขวบเพิ่มขึ้น อีกกลุ่มคือ “ผู้ชาย” ที่จะปรับลดสินค้าที่เป็นชุดทำงานลง เช่น เนกไท เนื่องจากผู้ชายยุคนี้ไม่ได้แต่งตัวอย่างเป็นทางการอีกแล้ว ใส่เสื้อยืดแล้วทับด้วยสูทก็ทำงานได้ทันที ดังนั้นจึงจะไปเพิ่มสินค้าที่เป็น “สนีกเกอร์” (Sneaker) และเสื้อผ้าแนว “Unisex” ขึ้น

อีกกลุ่มคือ “ของแต่งบ้าน” เพราะคนสมัยนี้อาศัยอยู่คอนโดมิเนียมติดรถไฟฟ้ากันมากขึ้น “การทำตลาดในปีหน้าต้องลงลึกถึง Targeted และ Personalization มากขึ้น เพราะตอนนี้คนอ่าน SMS น้อยลง ส่วน E-mail ที่ขายของก็ไม่เปิด ยกเว้นเรื่องที่สนใจจริงๆ ห้างเซ็นทรัลก็จะไปในทิศทางนี้มากขึ้น ตอนนี้ก็ได้เริ่มแล้วกับ SMS ที่จะส่งแบบระบุชื่อเลย ซึ่งดึงข้อมูลมาจาก บัตร The 1 รวมถึงยิงโฆษณาขึ้นฟีดใน Facebook เมื่อก้าวเข้ามาในห้าง”

ส่วนการขยายสาขา ในปีหน้าเตรียมเปิดสาขาที่ “ป่าตอง” จังหวัดภูเก็ต ในเดือนกุมภาพันธ์ ใช้งบลงทุน 2,000 ล้าน และการปรับปรุงห้าง “เซน” คาดว่าจะเปิดอย่างเป็นทางการได้ในเดือนมีนาคม

นอกจากนี้ยังมีอีกโปรเจกต์ที่กำลังซุ่มทำอยู่ คือ “ศูนย์อาหาร” ที่จะเข้ามาตั้งในส่วนของห้างสรรพสินค้า แยกออกมาจากศูนย์การค้า โดยจะเป็นศูนย์อาหารที่รวบรวมอาหารหลายๆ แบบมาไว้ด้วยกัน ปีหน้าเตรียมเปิด 3 สาขาที่ พระราม 3, บางนา และเซน.

]]>
1199759
เซ็นทรัล ลุยเวียดนามเปิดตัว GO ศูนย์การค้าใหม่ล่าสุด https://positioningmag.com/1197616 Thu, 15 Nov 2018 07:50:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1197616 เวียดนาม ถือเป็นอีกหนึ่งในประเทศหลักในการขยายการลงทุนไปต่างประเทศของกลุ่มเซ็นทรัล ล่าสุด เวียดนาม เปิดตัวศูนย์การค้าแห่งใหม่ “โก!” (GO!) ณ เมืองหมีถ่อ (My Tho) , จังหวัดเตี่ยนซาง (Tian Giang) หวังให้เป็นศูนย์การค้าเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง

ศูนย์การค้า โก! หมีถ่อ (GO! My Tho) มีขนาด 3 ชั้น ครอบคลุมบริการ “Eat-Shop-Play” กิน ช้อป เที่ยว มีพื้นที่โดยรวมกว่า 18,742 ตร.ม. สามารถจอดรถจักรยานยนต์ได้ 1,500 คัน และรถยนต์อีก 150 คัน โดยไม่เสียค่าบริการ ภายในออกแบบโปร่งโล่ง เน้นติดตั้งกระจกรอบทิศที่สามารถนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ภายในอาคาร เพดานสูง มีลวดลายรูปทรงเรือ สื่อถึงการเดินทางในลุ่มแม่น้ำโขง บรรยากาศภายในจะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลายและเป็นอิสระ เหมาะสำหรับครอบครัวที่ต้องการเข้ามาใช้เวลาพักผ่อนหย่อนใจร่วมกัน โดยแต่ละชั้นประกอบด้วย

ชั้น 1 แฟชั่น ไลฟ์สไตล์ และเครื่องประดับ มีแบรนด์เนมต่างๆ จากต่างชาติ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม จากไทย และต่างประเทศ เช่น King BBQ, Hot Pot Story, The Pizza Company, Dairy Queen เป็นต้น

ชั้น 2 เน้นกลุ่มทุกเพศทุกวัย “Eat-Shop-Play” บนพื้นที่กว่า 4,000 ตร.ม. โดยแบ่งพื้นที่เป็นโซนต่างๆ เช่น โซนฟู้ด ซิตี้ FOOD CITY – ฟู้ดคอร์ทอาหารนานาชาติ, โซนเด็ก โซนร้านอาหารเวียดนามพร้อมทาน,โซน GO! Bakery, ร้านของใช้ในครัวเรือน LOOKKool (ลุคคลู), ร้านของตกแต่งบ้าน HomeMart (โฮมมาร์ท), ร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์และอีคอมเมิร์ซ NguyenKim (เหงียนคิม), โซนของสด (Fresh Zone) , โซนสินค้าอุปโภค-บริโภค

ชั้น 3 เกมและความบันเทิง โรงภาพยนตร์ CGV, ร้านหนังสือ Fahasa, Tiniworld kids playground, GAME KIM PHAT, Zuzazoo

ฟิลิปเป้ โบรเอียนิโจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเซ็นทรัล เวียดนาม กล่าวว่า “เมืองหมีถ่อ” ในจังหวัดเตี่ยนซาง เหมาะเป็นทำเลที่ตั้งศูนย์การค้า GO! (โก!) แห่งแรก เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเหมาะสมและมีเสถียรภาพ ไลฟ์สไตล์ของคนในพื้นที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

หลังจากเปิดช่วงทดลอง 2 สัปดาห์ (28 ต.ค. – 13 พ.ย.) มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก โดยบริเวณฟู้ดคอร์ท (FOOD COURT) มีผู้เข้ามาใช้บริการมากที่สุด

คาดการณ์ว่า GO! ศูนย์กลางการให้บริการแบบครบวงจร กิน ช้อป เที่ยว สามารถดึงดูดให้คนเข้ามาท่องเที่ยวใน “บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง” มากขึ้น โดยจะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการภายในศูนย์การค้าไม่ต่ำกว่า 200,000 คนต่อเดือน

สำหรับกลุ่มเซ็นทรัล เวียดนาม อยู่ในเครือของกลุ่มเซ็นทรัล ก่อตั้งเมื่อกรกฎาคม 2011 ประกอบไปด้วย สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องกีฬา สินค้าแฟชั่น ศูนย์การค้า โรงแรม อีคอมเมิร์ซ และซูเปอร์มาร์เก็ต ปัจจุบันมีพนักงาน 17,000 คน และให้บริการลูกค้าถึงวันละ 175,000 ราย.

]]>
1197616
คืบหน้าไปอีกขั้น เซ็นทรัล เจดี คอมเมิร์ซ เช่าคลังสินค้า WHA ขยายธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในไทยและอาเซียน https://positioningmag.com/1154527 Thu, 25 Jan 2018 09:42:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154527 เซ็นทรัล เจดี คอมเมิร์ซ ซึ่งเกิดจากการรวมทุนระหว่าง กลุ่มเซ็นทรัล และ เจดี ดอทคอม ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่จากจีน ได้ตกลงเช่าคลังสินค้าจากบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโซลูชันครบวงจรด้านโลจิสติกส์และนิคมอุตสาหกรรมของประเทศไทย

โดยคลังสินค้าแห่งนี้ ครอบคลุมพื้นที่ขนาด 6,848 ตร.ม. ดับบลิวเอชเอ เมกะ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ ชลหารพิจิตร บนถนนบางนา-ตราด กิโลเมตรที่ 19 ซึ่งเข้าถึงได้ทั้งจากถนนบางนา-ตราด เทพารักษ์ และสุขุมวิทสายเก่า ใกล้ใจกลางกรุงเทพฯ รวมถึงสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นสองจุดยุทธศาสตร์สำคัญ สำหรับอุตสาหกรรมอี-คอมเมิร์ซ และค้าปลีก

นอกจากนี้ ยังตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับพื้นที่คลังสินค้าของกลุ่มเซ็นทรัล อีกสามกลุ่มธุรกิจ ได้แก่ เซ็นทรัล ดีพาร์ตเมนต์ สโตร์ เซ็นทรัล เรสเตอรองต์ กรุ๊ป และเซ็นทรัล กรุ๊ป ออนไลน์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน และปฏิบัติการด้านอี-คอมเมิร์ซของเซ็นทรัล เจดี คอมเมิร์ซ มากยิ่งขึ้น กอปรกับพื้นที่ใช้สอยของคลังสินค้าที่กว้างขวางเหมาะในการขนถ่ายสินค้าด้านอี-คอมเมิร์ซ ทำให้คลังสินค้าแห่งนี้พร้อมให้บริการสินค้าและผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ตั้งแต่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า ไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภค และอื่นๆ.

ที่มา : mgronline.com/business/detail/9610000007729

]]>
1154527