การใช้ปากกาลดน้ำหนักถือว่าได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริโภคในยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยตัวเลขล่าสุดนั้นชาวอเมริกันได้ใช้ปากกาลดน้ำหนักมากถึง 30 ล้านราย หรือคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 10 ของประชากรทั้งประเทศ
ปากกาลดน้ำหนัก หรือ Ozempic ใช้งานโดยฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง ซึ่งตัวยานั้นมีการสังเคราะห์ฮอร์โมนคล้ายกับฮอร์โมน GLP-1 ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกไม่หิว และทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวได้รับอนุมัติจากหน่วยงานด้านสุขภาพในหลายประเทศ
ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทผู้ผลิตอาหารหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น Kraft Heinz หรืออีกหลายแบรด์ได้ถูกนักวิเคราะห์ปรับคาดการณ์กำไรที่จะลดลงเนื่องจากผู้บริโภคที่ใช้ปากกาลดน้ำหนักนั้นลดการบริโภคอาหารลง หรือแม้แต่ขนมขบเคี้ยว ซึ่งผลกระทบดังกล่าวทำให้รายได้ของบริษัทเหล่านี้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้หลายแบรนด์ผู้ผลิตอาหารทั่วโลกต้องปรับตัวในสภาวะเช่นนี้
อย่างไรก็ดี Danone ผู้ผลิตอาหารจากฝรั่งเศสด้กล่าวว่าในช่วงที่ผ่านมา ยอดขายโยเกิร์ตของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะโยเกิร์ตแคลอรี่ต่ำ และโยเกิร์ตประเภทโปรตีนสูง
ขณะเดียวกันหน่วยงานกำกับดูแลด้านอาหารและยาของสหรัฐฯ หรือ FDA ได้ออกมารับรองการบริโภคโยเกิร์ตเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ช่วยลดความเสี่ยงที่ลดลงของโรคเบาหวานประเภท 2 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวยิ่งส่งผลทำให้โยเกิร์ตนั้นขายดีเพิ่มมากขึ้น
Juergen Esser รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงินของ Danone ได้กล่าวถึงสถานการณ์ว่าบริษัทมีโยเกิร์ตประเภทโปรตีนสูงหลายแบบซึ่งกำลังจะหมดจากชั้นวาง โดยเขามองว่าสาเหตุสำคัญคือผู้บริโภคที่กำลังอยู่ในการใช้ปากกาลดน้ำหนักนั้นต้องการให้สุขภาพของตนดูดีมากขึ้น
ขณะที่ผู้ผลิตอาหารอีกรายอย่าง Nestle นั้น บริษัทได้เปิดตัวเว็บไซต์ด้านโภชนาการสำหรับผู้ที่กำลังใช้ปากกาลดน้ำหนัก โดยสามารถที่จะพูดคุยกับนักโภชนาการได้ นอกจากนี้ในเว็บไซต์ดังกล่าวยังมีการขายสินค้าของบริษัท เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีโปรตีนสูงและควบคุมน้ำตาลกลูโคสในร่างกาย อาหารเสริมวิตามิน รวมถึงไบโอติน ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้ผมร่วง ฯลฯ
ไม่เพียงเท่านี้ผู้ผลิตรายดังกล่าวยังเตรียมออกผลิตภัณฑ์อย่างพาสต้าและพิซซ่าที่อุดมด้วยโปรตีน รวมถึง Vital Pursuits ซึ่งประกอบด้วยอาหารแช่แข็งควบคุมสัดส่วนด้านโภชนาการจำนวน 12 รายการ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเน้นโปรตีนและเส้นใยอาหารที่สูง ไว้สำหรับเจาะลูกค้ากลุ่มนี้
Mark Schneider ซึ่งเป็น CEO ของ Nestle เคยกล่าวว่ายอดขายสินค้าของบริษัทนั้นอาจลดลง เนื่องจากผลของปากกาลดน้ำหนัก ทำให้ความอยากอาหารของผู้บริโภคลดลง โดยสินค้าของบริษัทที่ได้รับผลกระทบคือ อาหารแช่แข็ง ขนมหวาน และไอศกรีม
หรือแม้แต่ Conagra Brands แบรนด์ผลิตอาหารสำเร็จรูปในสหรัฐอเมริกาเองมองว่าบริษัทจะมียอดขายสินค้าในส่วนอาหารเพื่อสุขภาพมากกว่าเดิม ขณะที่ผู้ผลิตอาหารอีกรายในสหรัฐฯ อย่าง General Mills ก็ต้องแก้เกมด้วยการออกผลิตภัณฑ์เพื่อเจาะลูกค้ากลุ่มนี้
โดยผลการศึกษาที่ The Telegraph ได้อ้างอิงนั้นพบว่า ปากกาลดน้ำหนักนั้นทำให้ผู้บริโภคลดการบริโภคอาหารลดลง 30% เมื่อวัดจากจำนวนแคลอรี่
ผู้ผลิตอาหารที่ได้รับผลกระทบทั้งในแง่บวก รวมถึงในแง่ลบ หลายอุตสาหกรรมเองก็ได้รับผลกระทบในแง่ดี ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่น เมื่อปากกาดังกล่าวได้สร้างผลกระทบทำให้ผู้หญิงหลายคนมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ส่งผลต่อยอดขายหรือการเช่าเสื้อผ้าในช่วงที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดีปากกาลดน้ำหนักอาจใช้ไม่ได้ผลสำหรับบางคน และอาจมีผลข้างเคียงในการใช้ นอกจากนี้การใช้งานอาจต้องมีการปรึกษาขอคำแนะนำจากแพทย์ที่เกี่ยวข้อง โดยราคาของปากกาลดน้ำหนักมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักหมื่นบาทขึ้นไป
ที่มา – The Telegraph, Bloomberg, Reuters
]]>UBS ได้ออกบทวิเคราะห์เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม โดย 71% ของผู้ร่วมทำการสำรวจได้ให้มุมมองว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2024 นั้นดูดีมากขึ้น ซึ่งถือว่ามากที่สุดที่บันทึกไว้นับตั้งแต่การสำรวจนับตั้งแต่ปี 2020 อย่างไรก็ดีผู้บริโภคชาวไทยที่ได้ทำแบบสำรวจดังกล่าวมองว่าราคาสินค้าและบริการในปีหน้าจะยังเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ
สถาบันการเงินจากสวิตเซอร์แลนด์ได้ทำสำรวจผู้บริโภคชาวไทย 1,000 รายด้วยกันในหลากหลายคำถามตั้งแต่ เรื่องของมุมมองเศรษฐกิจ พฤติกรรมผู้บริโภค หรือแม้แต่การใช้สินค้าในแต่ละวัน ซึ่งสำรวจดังกล่าวได้จัดทำในช่วงไตรมาส 4 นับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา โดยจัดทำปีละ 1 ครั้ง และในปี 2023 นี้จัดทำในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ในการทำแบบสำรวจดังกล่าวสำรวจผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทเป็นกลุ่มรายได้ต่ำ 330 ราย รายได้ปานกลางจะอยู่ในช่วง 30,000-79,999 บาท 340 ราย ขณะที่เงินเดือนมากกว่า 80,000 บาทจะถือเป็นกลุ่มรายได้สูงซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถาม 330 ราย
มุมมองของเศรษฐกิจไทยที่ UBS ได้สอบถาม ผู้ร่วมตอบแบบสอบถาม 51% มองว่าเศรษฐกิจไทยดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ 27% มองว่าแย่ลง 22% มองว่าเหมือนเดิมไม่ได้เปลี่ยนแปลง ขณะที่ 89% มองว่าราคาสินค้าและบริการนั้นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ในส่วนของมุมมองเศรษฐกิจในปีหน้าเมื่อเทียบสเกลจากดีมากไปยังแย่สุด ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2024 จะ “ดีขึ้นเล็กน้อย”
ผลสำรวจจาก UBS ในส่วนอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ผลสำรวจดังกล่าวมีการตอบคำถามที่มีมุมมองตรงกันก็คือ สินค้าที่ผู้บริโภคใช้ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีรายได้ต่ำถึงสูงมองตรงกันคือเรื่องของความคุ้มค่าต่อราคา ต่างกับในอดีตที่มองว่าราคาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด รองลงมาคือเรื่องของการทำโปรโมชั่น ขณะที่ปัจจัยสำคัญน้อยสุดคือพนักงานขายต้องมีความสุภาพและเต็มใจที่จะช่วยเหลือ
UBS ยังเชื่อว่าผลสำรวจดังกล่าวจะสะท้อนมุมมองในภาพกว้างว่าการบริโภคชาวไทยอาจฟื้นตัวในปี 2024 ด้วยมาตรการกระตุ้นทางการคลังของรัฐบาล (เช่น โครงการ Digital Wallet) และการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญ
]]>UOB ได้ทำการสำรวจผู้บริโภคในอาเซียน รวมถึงประเทศไทย และได้ออกรายงาน ASEAN Consumer Sentiment Study โดยในปี 2023 นี้ รายงานการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคคนไทยยังคงเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของประเทศ แต่ก็มีความระมัดระวังและปรับตัวให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่
การสำรวจของ UOB ที่ทำในประเทศไทยได้เน้นเจาะกลุ่มชนชั้นกลางที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 50,000 บาท ไปจนถึงมากกว่า 200,000 บาท เป็นจำนวน 600 คนด้วยกัน
72% ของผู้ตอบแบบสำรวจ แสดงความกังวลเกี่ยวกั
โดย 3 ใน 4 ของผู้บริโภคในไทยมีความกังวลในสถานะการเงินของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่สูงขึ้น หรือแม้แต่ความมั่งคั่งของตัวเองลดลง ขณะที่ด้านการงานมองว่ากังวลในเรื่องที่จะได้โบนัสลดลง ความสามารถในการหาตำแหน่งงานที่ดีกว่า ไปจนถึงความเป็นไปได้ที่จะตกงาน
ผู้ตอบแบบสำรวจ 30% ยังกังวลถึงเรื่องของความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยข้าวของที่จำเป็นสำหรับตนเองและครอบครัว ขณะที่ความสามารถในการมีไลฟ์สไตล์แบบปัจจุบันรวมถึงด้านการออมเงินมีมากถึง 30% เช่นกัน ในด้านของการใช้เงินนั้น 25% มองว่าค่าใช้จ่ายตัวเองจะใช้มากขึ้น ขณะที่ 41% จะคงไว้ที่จำนวนเท่าเดิม ขณะที่ 31% จะลดด้านการใช้จ่ายลง
ในเรื่องของการเงินนั้น ผลสำรวจได้ชี้ว่า คนรุ่นใหม่ได้ให้
ขณะที่ด้านของการใช้บริการของธนาคารผ่านช่องทางต่างๆ 61% นั้นใช้ช่องทางผ่านโทรศัพท์มือถือ 38% ผ่าน Internet Banking 30% ผ่านช่องทางเครื่องทำธุรกรรมอัตโนมัติ เช่น ATM หรือ CDM ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้บริโภคชาวไทยปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมดังกล่าวได้ดี
รายงานฉบับดังกล่าวยังชี้ว่า 89% ของผู้บริโภคยังพร้อมแบ่งปันข้อมู
สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวว่า อินเดียกำลังจะกลายเป็นตลาดสำคัญของเหล่าแบรนด์หรูทั่วโลก ซึ่งแต่ละแบรนด์ยอมจ่ายค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์บริเวณที่ดีที่สุด เพื่อที่จะเจาะเหล่าเศรษฐีที่มีกำลังซื้อ หลังจากหลายแบรนด์เองเริ่มที่จะเจาะตลาดในกลุ่มประเทศใหม่ๆ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Hermes ไปจนถึงแบรนด์รองเท้าหรูอย่าง Christian Louboutin รวมถึงแบรนด์อื่นๆ ได้ตั้งสาขาขึ้นในเมืองมุมไบ โดยแบรนด์เหล่านี้ยินดีจ่ายค่าเช่าในย่านที่ดีที่สุดของเมืองจนทำให้ค่าเช่าต่อเดือนเพิ่มขึ้นจากราว 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 7,250 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร
จากรายงานของ Knight Frank คาดการณ์ว่าชาวอินเดียที่มีทรัพย์สินเกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐนั้นคาดว่าจะมีมากถึง 1.66 ล้านคนภายในปี 2027 ขณะที่เศรษฐีที่มีสินทรัพย์เกิน 30 ล้านเหรียญสหรัฐของอินเดียเพิ่มมากขึ้นถึง 60% ในปี 2022 ที่ผ่านมา
อีกสัญญาณหนึ่งที่แสดงให้เห็นการให้ความสำคัญของตลาดในอินเดีย คือ แฟชั่นโชว์ของ Dior ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งแบรนด์หรูรายนี้ได้เลือกสัญลักษณ์อย่าง Gateway of India ในเมืองมุมไบเป็นฉากหลังของโชว์ หรือแม้แต่คอลเลกชันของเสื้อผ้าในงานได้โชว์ศิลปะการเย็บปักถักร้อยแบบอินเดียเอาไว้ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการใช้เอกลักษณ์ดังกล่าวเพื่อที่จะดึงดูดลูกค้าในแดนภาระตะนี้ด้วย
สิ่งดังกล่าวหลายแบรนด์ทำไปเพื่อจะเจาะกลุ่มผู้บริโภคกำลังซื้อสูงในประเทศอินเดียที่กำลังเติบโต ซึ่งในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา GDP ของอินเดียเติบโตมากถึง 7.8%
ก่อนหน้านี้แบรนด์หรูหลายรายได้เริ่มที่จะเจาะกลุ่มเศรษฐีที่มีความมั่งคั่งทั่วโลก ไม่ใช่แค่ในสหรัฐอเมริกาหรือจีนเท่านั้น หลังจากที่รายได้จาก 2 ประเทศดังกล่าวเติบโตลดลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด หรือแม้แต่ความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่สภาวะถดถอย
นอกจากนี้ยังรวมถึงแบรนด์ต่างๆ โฟกัสตลาดอินเดียมากขึ้น ตั้งแต่ภาคการผลิต ที่มีการย้ายกำลังการผลิตออกนอกประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น อย่างกรณีของ Apple และยังมีการเปิดหน้าร้านเพื่อขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจนทำให้ยอดขาย iPhone ในอินเดียทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามหลัง สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา
เมื่อแบรนด์หรูเริ่มให้ความสำคัญกับแดนภาระตะมากขึ้น เราคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า “อินเดีย” คือตลาดสำคัญอีกแห่ง ไม่ใช่ตลาดรองตามหลังประเทศใหญ่ๆ แล้วหลังจากนี้
]]>ทีม Business Marketing Research and Intelligence จาก Meta ได้จัดทำผลศึกษาใน 31 ประเทศกว่า 38,548 คน ซึ่งรวมผู้บริโภคชาวไทย 1,000 คนในช่วงปลายปี 2022 ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการช้อปสินค้าออนไลน์ของผู้บริ
ในรายงานของ Meta ชี้ว่า ผู้บริโภคชาวไทยขึ้นแท่นอันดับ 3 ของเอเชียที่ซื้อสินค้าในช่วง Mega Sales Day โดยมีอัตราการมีส่วนร่วมจับจ่
สำหรับปัจจัยที่ดึงดูดให้นักช้อปชาวไทยซื้อสินค้าในช่วงเวลาดังกล่าว 78% นั้นถูกดึงดูดด้วยราคาและส่วนลด ขณะเดียวกันครีเอเตอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์ที่ผู้ใช้งานได้ติดตามก็มีอิทธิผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ามากถึง 61% นับว่าเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 50% เท่านั้น
ไม่เพียงเท่านี้นักช้อปชาวไทยกว่า 54% ยังระบุว่าตั้งใจซื้อสินค้าจากร้านในต่างประเทศ (Cross-Border) สำหรับสินค้าที่มีราคาถูกกว่า ในขณะที่อีก 45% จะเลือกซื้อสินค้าจากต่างประเทศเมื่อมองหาแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีขายในประเทศไทย
ผลสำรวจจากรายงานดังกล่าวพบว่า 65% พบว่าสภาวะทางการเงินตอนนี้ของคนไทยแย่ลงกว่าปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันนักช้อปชาวไทยก็ยอมรับว่าใช้เงินช่วง Mega Sales นี้มากขึ้นด้วย
ในรายงานดังกล่าว Meta ยังแนะนำ 3 กลยุทธ์ที่จะช่วยให้ธุรกิจไทยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการขายสินค้าได้มากที่สุดในช่วงเทศกาลช้อป Mega Sales ที่กำลังจะมาถึงในปีนี้ รวมถึงในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น
นอกจากนี้ในผลสำรวจยังพบว่า 97% ของนักช้อปชาวไทยมีโอกาสเลือกซื้อ แบรนด์ใหม่ๆ มากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว โดยหมวดหมู่สินค้ายอดนิยมที่มีโอกาสที่ผู้บริโภคไทยจะลองแบรนด์ใหม่ๆ คือ อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้าและแฟชั่น สุขภาพและความงาม การท่องเที่ยวพักผ่อน ซึ่งเจ้าของแบรนด์ในหมวดหมู่เหล่านี้อาจต้องคิดแคมเปญหรือจูงใจให้ลูกค้าใช้สินค้าหรือบริการแบรนด์ต่อไป เพราะไม่งั้นแล้วโอกาสที่เสียลูกค้าสูงมาก
]]>บมจ. โอสถสภา (OSP) ได้แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัทฯ ได้ลงนามในตราสารการโอนหุ้นเพื่อจำหน่ายหุ้นของ บริษัท ยูนิชาร์ม (ประเทศไทย) จำกัด (ยูนิชารม์) ที่โอสถสภาถืออยู่ทั้งหมดจำนวน 420,500 หุ้น หรือคิดเป็น 5.85% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดในยูนิชาร์ม ให้แก่บริษัท ยูนิชาร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ผู้ซื้อ) เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท ซึ่งประเมินราคาโดยที่ปรึกษาทางการเงินแล้ว
การจำหน่ายหุ้นของยูนิชาร์มดังกล่าวเป็นไปตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการลงทุนของกลุ่มโอสถสภา ที่มุ่งเน้นการขยายกลุ่มธุรกิจหลัก ทั้งในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล ตลอดจนกลุ่มธุรกิจที่สามารถใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ก่อนหน้านี้ทางโอสถสภา ได้เคยขายธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก เช่น การขายเอเจนซี่โฆษณา FCB BANGKOK ให้ YDM Thailand มาแล้วในปี 2019 และยังรวมถึงการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่โดยเลิกสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของยูนิชาร์ม ก่อนที่จะมีการขายหุ้นในท้ายที่สุด
โดยการจำหน่ายหุ้นของยูนิชาร์มในครั้งนี้ ส่งผลให้โอสถสภาได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า ซึ่งสามารถสร้างผลตอบแทนให้แก่โอสถสภาและผู้ถือหุ้นได้อย่างยั่งยืนต่อไป
]]>อย่างที่เราทราบกันดีว่าเทรนด์การกินดื่มนั้นอยู่คู่กับสังคมไทย หรือแม้แต่สังคมโลกมาเป็นระยะเวลายาวนาน อย่างไรก็ดีการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้นทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปอย่างมาก ขณะเดียวกันเทรนด์การดื่มของคนไทยในช่วงหลังก็ได้รับอิทธิพลจากโลกภายนอกเช่นกัน
รัชนาทร เลาหพันธ์ุ ผู้อำนวยการฝ่ายขายของ DMHT กล่าวถึงเทรนด์การดื่มของคนไทยเปลี่ยนไป โดยปัจจัยแรกคือปัจจัยด้านสุขภาพและสุขอนามัย สินค้าหลายอย่างใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เช่น เครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพ หรือแม้แต่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็มีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำเริ่มมีในท้องตลาดเยอะขึ้น
ขณะที่เทรนด์ที่ 2 คือผู้บริโภคกินดื่มที่บ้านมากขึ้น จากเดิมออกไปกินนอกบ้าน ไปผับ หรือบาร์ เทรนด์การดื่มที่บ้านมากขึ้น สังเกตว่าผู้บริโภคทดลองมากขึ้น ไปลองเครื่องดื่มประเภทใหม่ๆ มากขึ้น เธอยังกล่าวเสริมว่าแม้โควิดจะหายไปแล้ว แต่เทรนด์ดังกล่าวก็ยังอยู่
ขณะเดียวกันเธอยังชี้ถึงเทรนด์ที่ 3 คือ วัฒนธรรมการดื่มค็อกเทล (Cocktail Culture) ก่อนหน้านี้ในไทยไม่มีด้วยซ้ำและมีเฉพาะที่แหล่งท่องเที่ยว แต่ปัจจุบันวัฒนธรรมการดื่มดังกล่าวกลับได้รับความนิยมเยอะมาก และยังทำให้ในไทยมีอาชีพอย่าง Mixologist หรือ Bartender ที่มีความสามารถทัดเทียมต่างชาติ
ปัจจุบันเธอยังชี้ว่า ภาพลักษณ์อาชีพอย่าง Mixologist หรือ Bartender ในอดีตถือว่าดูไม่ดี แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปแล้วตอนนี้เด็กรุ่นใหม่ๆ มองเป็นอาชีพในฝันด้วย และตอนนี้ประเทศไทยไม่น้อยหน้าประเทศอื่น เพราะมีบาร์ค็อกเทลที่ติดอันดับในเอเชียด้วย
เธอยังชี้ว่าคนไทยมีความละเมียดละไมในการดื่มมมากขึ้น ทานกับอาหารมากขึ้น และวัฒนธรรมได้แทรกไปในไลฟ์สไตล์มากขึ้น
ขณะเดียวกันเทรนด์ความเปลี่ยนแปลงจากภายนอกประเทศไทย ก็ส่งผลทำให้เทรนด์การดื่มของไทยเปลี่ยนไปเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมของเกาหลี ที่ทำให้การดื่มคนไทยหลากหลายมากขึ้น หรือแม้แต่เทรนด์ของวัฒนธรรมละตินอเมริกาที่กำลังเฟื่องฟูก็ทำให้การดื่มของผู้บริโภคในตะวันตกเปลี่ยนไปเช่นกัน
ผู้อำนวยการฝ่ายขายของ DMHT ยังได้กล่าวถึงลูกค้านั้นเน้นสินค้าประเภทพรีเมียมมากขึ้น และเน้นความละเมียดละไม โดยในช่วงที่ผ่านมาเธอกล่าวว่าลูกค้าคนรวยนั้นต้องการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ราคาแพงมากกว่าเดิมมาก โดยลูกค้ากลุ่มนี้คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 5-6% ของบริษัท
อย่างไรก็ดีหลังจากการเปิดประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมานั้น เธอยังชี้ว่ายอดขาย Traditional Trade บางพื้นที่ยังไม่กลับมาเท่ากับช่วงก่อนโควิด แต่ยอดขายตามห้างต่างๆ กลับมาเติบโตมากกว่าก่อนการแพร่ระบาดของโควิดแล้ว แต่ก็พบกับปัญหาสินค้าขาดแคลนเหมือนกัน
ขณะที่ประเด็นของความยั่งยืนนั้นเธอได้กล่าวว่า บริษัทได้ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ รวมถึงปัญหาขยะในประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาที่บริษัทพยายามจะช่วยผลักดัน เช่น ผลิตภัณฑ์ไม่มีกล่องกระดาษอีกต่อไปเพื่อลดปัญหาดังกล่าว เป็นต้น
สิ่งที่ผู้บริหารหญิงรายนี้ได้เน้นคือเรื่องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างรับผิดชอบ ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะลดปัญหาที่เกิดจากการดื่ม เช่น การดื่มปริมาณไม่เหมาะสม และยิ่งโดยเฉพาะในประเทศไทยที่กฎหมายรัดกุม บริษัทให้ความใส่ใจอย่างมาก เช่น การออกแคมเปญการดื่มยังไงให้เหมาะสม เป็นต้น
]]>สำนักข่าว Sky News ของอังกฤษได้รายงานข่าวว่า มีผู้สนใจในการประมูลร้านแซนด์วิชชื่อดังอย่าง Subway มากกว่า 5 ราย หลังจากที่มีข่าวว่าบริษัทจะขายกิจการในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา และมีการชี้แจงอย่างเป็นทางการว่าบริษัทกำลังดูลู่ทางขายกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ผู้ที่สนใจประมูลกิจการของ Subway ได้แก่เหล่าบรรดาบริษัทลงทุนในบริษัทนอกจากตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity) เช่น Bain Capital และ TDR Capital ที่ได้จับมือกับ EG Group รวมถึง TPG นอกจากนี้ยังมีบริษัทบริหารจัดการกองทุน (บลจ.) อย่าง Goldman Sachs Asset Management ก็เข้าร่วมด้วย
ไม่เพียงเท่านี้ Sky News ยังรายงานว่ามี TSG Consumer Partners ก็กำลังจับตาดีลดังกล่าวด้วย
ในปี 2021 นั้น Subway มีสาขาทั้งสิ้น 37,000 สาขาใน 100 ประเทศทั่วโลก ไม่เพียงเท่านี้ ร้านแซนด์วิชรายดังกล่าวยังถือเป็นเชนร้านอาหารประเภทเสิร์ฟด่วน (QSR) ที่มีสาขาในสหรัฐอเมริกามากที่สุดอีกราย และในปีดังกล่าวยอดขายของเชนร้านแซนด์วิชรายนี้อยู่ที่ 9,400 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 13% จากปี 2020 หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งรายได้ของเชนร้านดังกล่าวลดลง
คาดว่าการประมูลกิจการนั้นอาจใช้เงินมากกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐได้ เนื่องจากผู้ร่วมเข้าประมูลนั้นสนใจในกิจการดังกล่าวจำนวนมาก และมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการจับมือกันเพื่อประมูลกิจการ เนื่องจากธุรกิจมีขนาดใหญ่ และต้องใช้เงินมหาศาล
ที่มา – Sky News
]]>สำนักข่าว Reuters ได้รายงานถึงสถานการณ์ผู้บริโภคทั่วโลกกำลังพบกับสภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกันปัญหาดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดแค่กับในมุมผู้บริโภคเท่านั้น แต่บริษัทที่เป็นผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้ก็พบกับปัญหาดังกล่าวด้วย
ผู้ผลิตสินค้าหลายรายอย่าง Kraft Heinz และ Conagra Brands หรือแม้แต่ Mondelez เริ่มที่จะทยอยยกเลิกการผลิตสินค้าที่มียอดขายไม่ดีออกจากไลน์สินค้าของบริษัท โดยการยกเลิกสินค้าดังกล่าวเมื่อรวมกันแล้วอาจช่วยบริษัทเหล่านี้ประหยัดได้มากถึงหลักพันล้านเหรียญสหรัฐ
ผู้บริหารของ Mondelez ที่ผลิตสินค้าประเภทคุกกี้ ช็อกโกแลต ฯลฯ ได้กล่าวถึงการยกเลิกสินค้าที่ยอดขายไม่ดีว่า เนื่องจากบริษัทมีสินค้าหลากหลายมากเกินไป ขณะที่ผู้บริหารของ Heinz ซึ่งผลิตซอสมะเขือเทศ หรือแม้แต่มายองเนส ได้กล่าวว่านโยบายยกเลิกสินค้าที่ขายไม่ดีถือว่าเป็นทางเลือกของบริษัท
ไม่เว้นแม้แต่ Kellogg ผู้ผลิตซีเรียลธัญญาหารรายใหญ่ก็เลิกผลิตสินค้ากลุ่ม Special K Protein Shakes เนื่องจากยอดขายที่ไม่ดี
นอกจากนี้ผู้ผลิตสินค้าหลายรายยังกล่าวว่าแม้การผลิตสินค้าที่ขายไม่ดีออกมานั้นยังไม่ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of scale) ด้วยซ้ำ นอกจากนี้ยังมีปัญหาในการขึ้นราคาสินค้าเหล่านี้ เนื่องจากยอดขายที่ไม่ดี ซึ่งถ้าหากมีการขึ้นราคาก็มีความเสี่ยงว่าจะทำให้ยอดขายลดลง
ตรงกันข้ามกับสินค้าที่ขายดี บริษัทเหล่านี้สามารถเพิ่มราคาสินค้าได้
สาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทเหล่านี้ต้องงัดกลยุทธ์มาใช้ในปีนี้เนื่องจากปัญหาของเงินเฟ้อในปีที่ผ่านมา ส่งผลต่อต้นทุนในการผลิตสินค้านั้นเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันบริษัทเหล่านี้มีความกังวลในเรื่องสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่มีโอกาสจะถดถอยสูงด้วย
นโยบายดังกล่าวนี้แม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Nestle รวมถึง Unilever สองผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ก็ยังได้นำนโยบายดังกล่าวไปใช้ และสามารถประหยัดเงินไปได้ถึงหลักพันล้านเหรียญสหรัฐต่อปีในช่วงที่ผ่านมา
]]>จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า แนวคิดของผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาสนใจ ใส่ใจตนเองมากยิ่งขึ้น ด้วยบทเรียนทางเศรษฐกิจ
บทเรียนที่ไม่สามารถควบคุมได้ “Uncontrollable” หรือปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ “External Factors” จึงทำให้การดำรงชีวิตของคนส่วนใหญ่ในในปัจจุบันจากที่เคยวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หันมาดูแลปัจจัยภายในหรือเรื่องของตนเองมากขึ้น หันมาใส่ใจความปลอดภัยในชีวิตมากขึ้น Lifestyle การดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป จึงทำให้ Consumer จะหันมาดำเนินกิจกรรมด้วยตนเอง ดังนั้นจะเกิด Prosumer มากขึ้น
Prosumer คือ “Professional” บวกกับ “Consumer” โดย Prosumer คือการที่ Consumer หรือลูกค้ามีความเป็นมืออาชีพ Professional มากขึ้น โดยหาซื้ออุปกรณ์ วัตถุดิบมาผลิตเอง ซื้ออุปกรณ์ตกแต่งบ้านมาทำเอง
ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากวิกฤติ COVID-19 มีผู้ขายเพิ่มมากขึ้น ทำอาหารเอง ทำสินค้าออกมาขายเอง แม่บ้านเข้าครัว พ่อบ้านเข้าครัว
แม้แต่กิจกรรมต่างๆ จะเริ่มเห็นผู้บริโภคหันมาทำเอง ในอนาคตจะเปลี่ยนเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคในเวลาเดียวกัน
ในอนาคตต่อไปแนวโน้มการเป็น “Prosumer” จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นในสังคม
ผู้ผลิตจำเป็นต้องจับพฤติกรรมผู้บริโภคโดยเปลี่ยนวิธีคิดให้ลูกค้าเข้ามามีบทบาทในการกำหนดสินค้าและบริการในรูปแบบที่ตนเองต้องการมากขึ้น จากเดิมที่เป็นแบบ “Passive Consumer” คือจากที่ลูกค้าเป็นเพียงผู้คอยซื้อสินค้า ถูกใจก็ซื้อ ไม่ถูกใจก็ต้องจำใจ จะหายไป
ลูกค้าจะเริ่มมีบทบาทในการกำหนดสิ่งที่ตนเองต้องการมากขึ้น คือถ้าไม่ถูกใจจะเริ่มทำเอง ผลิตเอง หรือต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดสินค้า กำหนดสิ่งที่ตนเองจะเลือกบริโภค จะกลายเป็นแบบ “Active Consumer” มากขึ้น
]]>