E-Commerce – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 15 Mar 2024 11:32:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘โลตัส’ ชูจุดแข็งช่องทางออนไลน์ ส่งฟรี ส่งของสดภายใน 1-3 ชั่วโมง จูงใจลูกค้า ตั้งเป้าปีนี้โต 30% https://positioningmag.com/1466486 Fri, 15 Mar 2024 10:26:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466486 โลตัส (Lotus’s) ชูจุดแข็งช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดส่งสินค้าฟรีไม่มีขั้นต่ำ ส่งของสดภายใน 1-3 ชั่วโมง เพื่อที่จะจูงใจลูกค้า โดยตั้งเป้าปีนี้โต 30% ขณะเดียวกันก็ยังมีการปรับเปลี่ยนโปรแกรม My Lotus’s ให้ตรงใจลูกค้ามากขึ้นผ่านการใช้เทคโนโลยี AI และ Big Data

ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โลตัส ได้กล่าวถึงแอปพลิเคชัน Lotus’s ในปี 2023 ที่ผ่านมานั้นมียอดดาวน์โหลดแอปฯ รวมมากถึง 10 ล้านดาวน์โหลดแล้ว ซึ่งเขาชี้ว่าตัวเลขจำนวนการสั่งซื้อรวมแตะระดับ 1 ล้านครั้ง และเป็นครั้งแรกนั้นยากเสมอ บริษัทต้องใช้เวลาถึง 7 เดือนหลังจากบริษัทได้เปิดตัวแอปฯ ในปี 2022

ขณะที่จำนวนการสั่งซื้อรวมแตะระดับ 1.5 ล้านครั้งภายในเดือนมกราคมปี 2024 ที่ผ่านมา และในปี 2023 มียอดสั่งซื้อรวมกันมากถึง 1 หมื่นล้านบาทแล้ว

กรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของโลตัส ยังกล่าวว่า บริษัทเป็นค้าปลีกรายแรกของไทยที่พร้อมจัดส่งสินค้าภายใน 1 ชั่วโมงหากเป็นการจัดส่งจากสาขาของโลตัสโกเฟรช และภายใน 3 ชั่วโมงหากเป็นการจัดส่งจากสาขาใหญ่ ส่วนถ้าเป็นสินค้าชิ้นใหญ่ จะจัดส่งภายในวันถัดไป หรือแม้แต่การรับสินค้าที่สาขา นอกจากนี้ยังมีค่าส่งที่ฟรีไม่มีจำกัดการสั่งซื้อขั้นต่ำ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้เป็นตัวเร่งให้ลูกค้าใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น

เขายังชี้ว่าจุดแข็งที่โลตัสสามารถพร้อมส่งสินค้าได้ เนื่องจากบริษัทมีสาขาเล็กและสาขาใหญ่รวมกันกว่า 2,100 สาขาทั่วประเทศ และยังมีสินค้าถึง 30,000 รายการ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอาหารสด สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเสริมความงาม และสินค้าสำหรับแม่และเด็ก เป็นต้น

ธรินทร์ ธนียวัน – กรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โลตัส / ภาพจากบริษัท

ออกแคมเปญใหม่

ขณะเดียวกันภายในเดือนมีนาคมนี้ Lotus’s ได้ออกแคมเปญมีโปรโมชั่น ให้ทุกคนที่เข้ามาสั่งสินค้านั้นมีความสุข ผ่านดีลพิเศษทุกวัน เช่น วันจันทร์ถ้าหากสั่งน้ำดื่ม มีแคมเปญซื้อน้ำแพ็คทุกวันอาทิตย์หรือทุกวันจันทร์  วันอังคารมีโปรโมชั่นอาหารสดถ้าหากสั่งถึงจำนวนหนึ่ง หรือถ้าสั่งเกินจะมีคูปองออนท็อปด้วย เป็นต้น

ผู้บริหารของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โลตัส ได้กล่าวว่า การที่บริษัทสามารถทำแคมเปญต่างๆ ได้ทุกวันเนื่องจากบริษัทได้เห็นข้อมูลการสั่งสินค้าของลูกค้า เช่น ปริมาณการสั่งน้ำดื่มในวันจันทร์ถือว่าเยอะเป็นพิเศษ ทำให้โลตัสได้ออกแคมเปญดังกล่าวออกมา

มองว่าเทรนด์ของผู้บริโภคจะมาช่องทางออนไลน์แน่นอน

ธรินทร์ ยังชี้ว่าปัจจุบันยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ตั้งแต่เปิดตัวแอปฯ ในปี 2022 มีสัดส่วน 1% แต่ปัจจุบันสัดส่วนดังกล่าวกำลังจะแตะเลข 2 หลักในเร็วๆ นี้แล้ว และเขามองว่าเทรนด์การซื้อสินค้าของคนไทยจะคล้ายกับประเทศจีนที่มีการสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น และการไปซื้อสินค้าแบบปกตินั้นเหมือนมาซื้อสินค้าให้สนุก

นอกจากนี้ ธรินทร์ ได้ชี้ถึงว่า ในการสั่งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์นั้นมีดีลส่วนลดพิเศษให้กับลูกค้า ซึ่งแตกต่างกับการไปซื้อที่สาขาที่จะไม่มีส่วนลด และโลตัสเตรียมนำสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ให้    ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อภายในแอปฯ ได้ด้วย โดยถ้าเป็นสินค้าใหญ่ๆ จะใช้เวลาจัดส่งไม่เกิน 7 วัน

วรวรรณ เพียรลิขิตวงศ์ – ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายการตลาด โลตัส / ภาพจากบริษัท

ปรับสิทธิประโยชน์ Lotus’s Reward Program ใหม่

วรวรรณ เพียรลิขิตวงศ์ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายการตลาด โลตัส กล่าวว่า นอกเหนือจากความสะดวกสบายที่เพิ่มมากขึ้นในการจับจ่ายผ่านช่องทางออนไลน์แล้ว โลตัสยังมอบสิทธิประโยชน์ที่ดียิ่งกว่า ด้วยรีวอร์ดโปรแกรมมายโลตัส (My Lotus’s) ที่เปลี่ยนจากการเป็นเพียงบัตรสะสมคะแนน สู่ไลฟ์สไตล์แพลตฟอร์มแบบปัจเจกบุคคล

เธอชี้ว่าโปรแกรม My Lotus’s พัฒนามาจาก Club Card สมัยที่ยังเป็น Tesco Lotus ซึ่งมีการสะสมแต้ม แต่ต้องรอคูปองนานถึง 3 เดือน ซึ่งโปรแกรมใหม่นั้นสามารถที่จะสะสมแต้มได้สะดวกมากกว่าเดิม

ตัวเลขในปี 2023 ที่ผ่านมาโปรแกรม My Lotus’s มีลูกค้ามากถึง 17 ล้านคน มีการแจก Coin ไปแล้วมากกว่า 1,600 ล้าน Coin นอกจากนี้ วรวรรณ ยังได้กล่าวเสริมว่าลูกค้าโปรแกรมดังกล่าวนั้นมีการใช้จ่าย 3 เท่าเยอะกว่าคนไม่ได้เป็นสมาชิกโปรแกรมดังกล่าวอีกด้วย

โปรแกรม My Lotus’s เองยังมีการทำโปรโมชั่นส่วนบุคคล ผ่านเทคโนโลยี AI และ Big Data และมีการทำโปรโมชั่นไปแล้วกว่า 150 ล้านโปรโมชั่น เช่น ในวันเกิดของสมาชิก ฯลฯ และการสั่งสินค้าผ่านแอปฯ Lotus’s ยังมีสิทธิพิเศษคือได้ Coin เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถนำไปแลกในภายหลังได้

โดย Lotus’s ตั้งเป้าที่จะมีการเติบโตของยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นมากกว่า 30% ในปีนี้

]]>
1466486
Lazada ปลดพนักงานในสิงคโปร์ มาเลเซีย ให้เหตุผลปรับโครงสร้างในบริษัทเพื่อรองรับอนาคต https://positioningmag.com/1457663 Thu, 04 Jan 2024 07:53:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457663 ลาซาด้า (Lazada) ยักษ์ใหญ่ E-commerce ในอาเซียน ได้ประกาศปลดพนักงานในสิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยให้เหตุผลเรื่องการปรับโครงสร้างของบริษัทเพื่อรองรับอนาคต ซึ่งปัจจุบันบริษัทกำลังเผชิญแรงกดดันจากคู่แข่งทั้ง Temu และ Shein รวมถึง TikTok Shop ที่กำลังรุกคืบเข้ามา

The Edge และ The Strait Times ของสิงคโปร์ ได้รายงานข่าวว่า Lazada ผู้ให้บริการ E-commerce รายใหญ่ในอาเซียน ได้ประกาศปลดพนักงานในสิงคโปร์ออก โดยตัวแทนบริษัทได้ให้เหตุผลการปรับโครงสร้างในบริษัท เพื่อรองรับธุรกิจในอนาคต

สื่ออย่าง The Edge รายงานว่าพนักงานที่ถูกปลดได้รับการนัดให้พูดคุยกับฝ่ายบุคคลในวันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา พนักงานรายหนึ่งที่ถูกปลดและขอให้ไม่ระบุตัวตน ได้กล่าวกับ The Edge ว่า ห้องประชุมในสำนักงานของ บริษัทนั้นฝ่ายบุคคลของบริษัทได้จองไว้ทั้งสัปดาห์ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าการปลดพนักงานนั้นอาจยังไม่สิ้นสุด

นอกจากนี้สื่อรายดังกล่าวยังรายงานว่าแผนกที่เกี่ยวข้องกับการตลาดที่สำนักงานสิงคโปร์ได้รับผลกระทบมากที่สุด

ทางด้าน Strait Times ได้ถามความเห็นไปยังตัวแทนของบริษัท โดยตัวแทน Lazada ได้กล่าวว่า การปรับโครงสร้างองค์กรครั้งนี้ทำไปเพื่อสร้างความมั่นใจว่าบริษัทอยู่ตำแหน่งที่ดีกว่า

ขณะที่ Tech in Asia รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Lazada อาจปลดพนักงานมากถึง 30% ขององค์กร โดยหลังจากการปลดพนักงานในสิงคโปร์แล้ว ประเทศต่อไปที่จะมีการปลดพนักงานคือประเทศมาเลเซีย

สาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการปลดพนักงานของบริษัทเนื่องจากการแข่งขันระหว่างธุรกิจ E-commerce ในอาเซียนดุเดือดมากขึ้น Lazada เองถือว่าเป็นผู้เล่นรายใหญ่อันดับ 2 เมื่อเทียบในแง่ของยอดขายรวม อย่างไรก็ดีคู้แข่งรายสำคัญอย่าง Temu ของ Pinduoduo และ Shein เองได้รุกตลาดอาเซียนมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีคู่แข่งรายใหญ่อย่าง TikTok Shop เองก็รุกตลาดอาเซียนเช่นกัน และยังรวมถึงคู่แข่งรายสำคัญอย่าง Shopee ที่ในอดีตทั้ง 2 ฝ่ายเคยแข่งขันอย่างดุเดือดเพื่อแย่งชิงลูกค้ามาแล้ว

เมื่อกลางเดือนธันวาคมปี 2023 ที่ผ่านมา ได้มีรายงานข่าวว่า Alibaba ซึ่งเป็นบริษัทแม่ได้ตัดสินใจอัดฉีดเม็ดเงินมากถึง 634 ล้านเหรียญสหรัฐมาแล้ว 

Lazada เองมีการปรับโครงสร้างภายในองค์กรมาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง และ The Strait Times รายงานว่าบริษัทมีการปลดพนักงานรอบล่าสุดคือเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมาในสิงคโปร์ ซึ่งการปรับโครงสร้างครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงแรงกดดันจากคู่แข่งที่บริษัทกำลังเผชิญอยู่

]]>
1457663
Coupang ซื้อกิจการ Farfetch ธุรกิจขายสินค้าหรูผ่านช่องทางออนไลน์ มูลค่าเกือบ 17,500 ล้านบาท https://positioningmag.com/1456179 Tue, 19 Dec 2023 02:15:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1456179 E-commerce รายใหญ่ในเกาหลีใต้ ประกาศซื้อกิจการ Farfetch ธุรกิจขายสินค้าหรูผ่านช่องทางออนไลน์ มูลค่าเกือบ 17,500 ล้านบาท หลังจากที่ Farfetch ได้หาผู้ซื้อกิจการต่อ เนื่องจากบริษัทขาดทุนอย่างหนัก และมีโอกาสล้มละลายได้ในช่วงสิ้นปี 2023 นี้

Coupang ซึ่งเป็นธุรกิจ E-commerce รายใหญ่ในเกาหลีใต้ ได้แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์และนักลงทุน ถึงการเข้าซื้อกิจการของ Farfetch ซึ่งเป็นธุรกิจขายสินค้าหรูผ่านช่องทางออนไลน์ จากสหราชอาณาจักร มูลค่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 17,500 ล้านบาท

สำหรับ Farfetch เป็นธุรกิจขายสินค้าหรูผ่านช่องทางออนไลน์ จากสหราชอาณาจักร ก่อตั้งในปี 2007 โดย Jose Neves และธุรกิจขายสินค้าหรูผ่านช่องทางออนไลน์ของบริษัทนั้นให้บริการมากถึง 190 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย

แบรนด์สินค้าที่วางขายใน Farfetch มีทั้ง Gucci และ Dolce & Gabbana หรือ Alexander McQueen ฯลฯ ขณะที่ประเภทของสินค้านั้นมีตั้งแต่กระเป๋า รองเท้า หรือแม้แต่เครื่องประดับราคาแพง

ขณะที่ Coupang นั้นเป็น E-commerce รายใหญ่จากเกาหลีใต้ และมีผู้ลงทุนรายใหญ่คือ SoftBank

Bom Kim ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Coupang ได้กล่าวว่า การซื้อกิจการของ Farfetch ทำให้เข้าถึงธุรกิจขายสินค้าหรูที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 400,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และในแพลตฟอร์มของ Farfetch นั้นทางฝั่งของ Coupang มองว่าเป็นส่วนหนึ่งในอนาคตของช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าหรูด้วย

นอกจากนี้เกาหลีใต้ยังเป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตรการซื้อสินค้าหรูนั้นสูงแห่งหนึ่งในโลกเมื่อเทียบกับรายได้ ทำให้ธุรกิจ E-commerce รายใหญ่ในเกาหลีใต้มองเห็นโอกาสในการซื้อกิจการของ Farfetch

ในปี 2018 นั้น Farfetch ได้เข้า IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยมีมูลค่ากิจการมากถึง 6,000 ล้านเหรียญในช่วงเวลาดังกล่าว และมีมูลค่าบริษัทสูงสุดถึง 24,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2021 จากช่วงการแพร่ระบาดของโควิดทำให้มียอดการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ดี มูลค่ากิจการ Farfetch ในช่วงที่ผ่านมากลับลดลงอย่างหนัก เหลือมูลค่ากิจการไม่ถึง 230 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น จากปัญหาการขาดทุนของธุรกิจติดต่อกันหลายปี จนทำให้ผู้ก่อตั้งของ Farfetch มีแผนที่จะซื้อบริษัทออกจากตลาดหุ้น หรือแม้แต่ขายกิจการต่อให้กับผู้สนใจ

โดยเม็ดเงินดังกล่าวของ Coupang จะทำให้กิจการของ Farfetch นั้นอยู่รอดต่อไปได้ หลังจากที่บริษัทนั้นมีสิทธิ์ที่จะล้มละลายและต้องเข้าฟื้นฟูกิจการ ถ้าหากไม่ได้ผู้ที่มาซื้อกิจการก่อนในช่วงวันที่ 25 ธันวาคมนี้

ที่มา – Reuters, Axios

]]>
1456179
ศึกไลฟ์ขายของในจีนยังดุเดือด Meituan แพลตฟอร์มส่งอาหารยังต้องเพิ่มฟังก์ชันดังกล่าวเพื่อเพิ่มยอดขาย https://positioningmag.com/1454650 Thu, 07 Dec 2023 07:46:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1454650 Meituan แพลตฟอร์มส่งอาหารรายใหญ่ของประเทศจีน ล่าสุดถือเป็นผู้เล่นอีกรายที่ได้เพิ่มฟังก์ชันการไลฟ์ขายสินค้าเข้ามา ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาบริษัทมียอดขายผ่านช่องทางดังกล่าวถึง 2,000 ล้านหยวนแล้ว เพิ่มขึ้น 3 เท่าเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม

36Kr สื่อด้านไอทีของจีน ได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวภายในของ Meituan ว่า ในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ยักษ์ใหญ่บริการส่งอาหารในจีนสามารถมียอดขายสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์รวม (GMV) มากถึง 2,000 ล้านหยวน ซึ่งเพิ่มขึ้นมากถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีรายได้ต่ำกว่า 600 ล้านหยวนด้วยซ้ำ

จำนวนผู้ค้าใน Meituan ที่ได้มีการไลฟ์ขายสินค้าในเดือนตุลาคมนั้นมีมากถึง 300,000 ราย บริษัทยังให้เงินอุดหนุนกับร้านค้าเหมือนกับแพลตฟอร์มอื่น รวมถึงไม่เก็บเงินค่าไลฟ์ขายสินค้าด้วย

สื่อไอทีจากประเทศจีนยังชี้ว่าในปี 2023 นี้ Meituan ยังไม่ได้วางเป้าหมายยอด GMV ของฟังก์ชันไลฟ์ขายสินค้าไว้แต่อย่างใด

ในปี 2020 ที่ผ่านมา มีการถกเถียงภายในบริษัทถึงการเปิดตัวฟังก์ชันไลฟ์ขายสินค้าว่าควรอยู่ในแอปฯ Meituan หรือไม่ เนื่องจากคู่แข่งหลายรายเพิ่งเริ่มที่จะมีการนำฟังก์ชันดังกล่าวมาไว้ในแพลตฟอร์มของตน และบริษัทได้ทดสอบฟังก์ชันดังกล่าวตั้งแต่เดือนมีนาคมของปี 2022 ที่ผ่านมา ก่อนที่จะเริ่มเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ Meituan ต้องงัดกลยุทธ์ดังกล่าวออกมาก็คือ การรุกเข้ามาในธุรกิจ E-commerce ของคู่แข่งรายยักษ์อย่าง ByteDance ที่ได้นำฟังก์ชันไลฟ์ขายสินค้าเข้ามาใน Douyin ทำให้แพลตฟอร์มคู่แข่งต่างก็ต้องปรับตัว นอกจากนี้ Douyin ยังได้รุกเข้ามาในธุรกิจหลักที่ชนกับบริษัทคือการส่งอาหารด้วย

และยังรวมถึงคาดการณ์ว่าตลาดการไลฟ์ขายสินค้าในประเทศจีนยังมีการเติบโต โดยข้อมูลจากบริษัทวิจัยอย่าง eMarketer คาดการณ์ว่าในปี 2023 นี้จะเติบโตได้มากถึง 30% ทำให้บริษัทเทคโนโลยีในประเทศจีนได้รุกตลาดดังกล่าวอย่างหนัก

อย่างไรก็ดีการงัดกลยุทธ์ดังกล่าวออกมาใช้นั้นมีผลกระทบต่อกำไรของบริษัทเช่นกัน เนื่องจาก Meituan เองจะต้องใช้เงินมหาศาลในการอุดหนุนร้านค้า หรือแม้แต่กับลูกค้าให้มาใช้ฟังก์ชันการไลฟ์ขายสินค้ามากขึ้น ซึ่งกระทบกับกำไรของบริษัทมาแล้วถึง 2 ไตรมาสติดต่อกัน

]]>
1454650
ยักษ์ใหญ่บริษัทขนส่งในสหรัฐฯ หลังจากนี้ไม่ใช่ UPS หรือ FedEx อีกต่อไป แต่เป็น Amazon ที่แซงหน้า 2 เจ้านี้ไปแล้ว https://positioningmag.com/1454255 Mon, 04 Dec 2023 06:33:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1454255 Amazon ยักษ์ใหญ่ E-commerce ในสหรัฐอเมริกา เตรียมขึ้นเป็นผู้เล่นยักษ์ใหญ่ด้านการขนส่งพัสดุ หลังจากตัวเลขปริมาณการส่งพัสดุสินค้าในแดนมะกันแซงหน้าบริษัทขนส่งในสหรัฐฯ รายใหญ่อย่าง UPS หรือ FedEx ไปแล้ว และบริษัทยังเตรียมนำโมเดลดังกล่าวขยายออกนอกประเทศด้วย

ข้อมูลล่าสุดในปี 2022 ที่ผ่านมา Amazon ได้จัดส่งพัสดุไปแล้วในสหรัฐอเมริกามากถึง 5,200 ล้านชิ้น ทำให้ล่าสุดบริษัทมีปริมาณมีปริมาณพัสดุในสหรัฐอเมริกาแซงหน้าผู้เล่นรายสำคัญอย่าง FedEx หรือแม้แต่ UPS ไปแล้ว ซึ่ง 2 ผู้เล่นรายดังกล่าวนั้นปริมาณขนส่งพัสดุในแดนมะกันแทบไม่เติบโตด้วยซ้ำ

ปัจจุบัน Amazon มีปริมาณพัสดุในสหรัฐอเมริกาแซงหน้า FedEx ยักษ์ใหญ่ขนส่งแดนมะกันไปเมื่อปี 2020 ที่ 3,300 ล้านชิ้น ก่อนที่จะแซงหน้า UPS ยักษ์ใหญ่ขนส่งอีกรายไปในปีนี้ เนื่องจากบริษัทคาดการณ์ว่าปริมาณขนส่งพัสดุจะไม่เกินสถิติที่บริษัททำได้ที่ 5,300 ล้านชิ้น คาดว่าในปี 2023 นี้ Amazon จะมีปริมาณพัสดุขนส่งผ่านบริษัทมากถึง 5,900 ล้านชิ้น

คำถามคือ ทำไมปริมาณพัสดุของ Amazon นั้นกลับเพิ่มขึ้น คำตอบหนึ่งคือ เครือข่ายขนส่งพัสดุของ Amazon ยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นทันตาเห็นจากนโยบายของบริษัทในปี 2018 ที่ไฟเขียวให้ผู้สนใจสามารถซื้อแฟรนไชส์และนำไปตั้งสาขาส่งพัสดุตามเมืองเล็กๆ ทั่วสหรัฐอเมริกาได้ด้วยเม็ดเงินแค่ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น

ถ้าหากผู้เล่นรายใดมีเครือข่ายขนส่งที่ทรงประสิทธิภาพแล้ว ลูกค้าเองก็อยากใช้งานของบริษัทขนส่งนั้นเพิ่มมากขึ้น แต่สำหรับ Amazon เองแล้วนั้นมีเครือข่าย E-commerce ของตัวเอง ยิ่งเป็นปัจจัยบวกทำให้ลูกค้าทั้งผู้เล่นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่มาขายสินค้าในแพลตฟอร์มมากขึ้น

Photo : Shutterstock

ข้อมูลล่าสุด Amazon มีพนักงานที่เป็นแฟรนไชส์ขนส่งที่ขับรถส่งสินค้ามากถึง 200,000 คน ส่งผลทำให้เครือข่ายขนส่งของบริษัทมีเพิ่มมากขึ้นทันตาเห็นทันที

Brian Olsavsky ซึ่งเป็น CFO ของบริษัทกล่าวว่า การขยายโปรแกรมแฟรนไชส์ของบริษัททำให้ระยะเวลาการส่งสินค้าของบริษัทลดลง ทำให้สินค้าถึงมือผู้บริโภคได้ไวขึ้น และยังเพิ่มกำไรให้กับบริษัทด้วย

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น Amazon เองยังเคยเป็นลูกค้ารายใหญ่ของ FedEx และ UPS มาแล้ว ก่อนที่บริษัทจะขยายเครือข่ายขนส่งเป็นของตัวเอง เนื่องจากปริมาณสินค้านั้นคุ้มค่ากับการลงทุนของบริษัทแล้ว

แม้ว่าในปีนี้คาดว่าปริมาณพัสดุในภาพรวมของสหรัฐอเมริกาจะลดน้อยลงจากเรื่องการจับจ่ายของผู้บริโภค ซึ่งเป็นผลจากสภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตช้าลง จากผลของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดีสำหรับปริมาณพัสดุในสหรัฐอเมริกานั้น Amazon ยังตามหลัง USPS อยู่ (ซึ่งเทียบบริการได้กับไปรษณีย์ไทย) ซึ่ง UPS และ FedEx ได้ใช้บริการ USPS ในการส่งพัสดุ ถ้าหากเครือข่ายของบริษัทไม่มีในปลายทาง แตกต่างกับ Amazon ที่มีเครือข่ายของบริษัทอยู่ทั่วสหรัฐอเมริกาแล้ว

นอกจากนี้ถ้าหากโมเดลโปรแกรมแฟรนไชส์ของ Amazon ในสหรัฐอเมริกาได้ผลดีมากแล้ว บริษัทเตรียมนำโมเดลธุรกิจดังกล่าวมาใช้ในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย ที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของบริษัทอีกแห่ง

ที่มา – Fox Business, Daily Mail, Logistics Insider

]]>
1454255
รายงานล่าสุดชี้เศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียนโตช้าลง คาดว่าปีนี้รายได้จากธุรกิจดิจิทัลแตะ 1 แสนล้านเหรียญได้ https://positioningmag.com/1450237 Wed, 01 Nov 2023 10:47:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450237 Google Temasek และ Bain & Company ได้ออกรายงาน e-Conomy SEA ซึ่งรวมเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2023 นี้ โดยคาดว่ารายได้ของธุรกิจดิจิทัลจะแตะ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐได้

Google และกองทุนความมั่งคั่งของสิงคโปร์อย่าง Temasek รวมถึงบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจอย่าง Bain & Company ได้ออกรายงาน e-Conomy SEA ประจำปี 2023 โดยประเด็นที่น่าสนใจในปีนี้คือเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม

Positioning สรุปประเด็นที่น่าสนใจของรายงานดังกล่าวมาฝาก 

ในรายงานได้ชี้ถึงสภาวะเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเติบโตได้ดี แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจภายนอกจะมีความผันผวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ขณะเดียวกันในรายงานมองว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะกลับมาในไตรมาส 3

รายงานดังกล่าวชี้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลหลังปี 2025 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นจะเติบโตได้ช้าลง หลังจากนี้ ในประเทศไทยเศรษฐกิจดิจิทัลในช่วงปี 2025-2030 เติบโตเฉลี่ยราวๆ 13% ต่อปี จากเดิมในช่วงปี 2023-2025 เติบโตได้มากถึง 17% ต่อปี

สำหรับรายได้จากเศรษฐกิจดิจิทัลในปี 2023 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นแตะระดับ 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐได้ในปีนี้ ซึ่งเติบโต 8 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2016 ที่ผ่านมา ขณะด้านบริการด้านการเงินผ่านช่องทางดิจิทัล (ที่เป็นสีเทา) เองก็กำลังเติบโตเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นบริการลงทุน บริหารความมั่งคั่ง ประกัน ฯลฯ

ถ้าหากมาแยกเม็ดเงินของเศรษฐกิจดิจิทัล E-commerce ยังถือเป็นสัดส่วนมากที่สุดคือ หรือด้านอื่นอย่างด้านแพท่องเที่ยวถือว่าเติบโตได้ดี ซึ่งเป็นการฟื้นตัวกลับมาจากการแพร่ระบาดของโควิด ขณะที่ด้าน Online Media เริ่มเติบตัวชะลอลง

สำหรับธุรกิจ E-commerce ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายได้ยังถือว่าเติบโต โดยในปี 2023 เติบโตมากถึง 22% อย่างไรก็ดีในช่วงทีผ่านมาผู้เล่นหลายรายเองก็ต้องเลือกว่าจะต้องทำให้รายได้เติบโต หรือแม้แต่ต้องป้องกันไม่ให้คู่แข่งรายใหม่เข้ามา

รายงานยังได้ชี้ถึงการลงทุนของ VC ต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลงจนสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี เนื่องจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น (ผลจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง) ขณะเดียวกันนักลงทุนก็คาดหวังว่าเหล่าบริษัทสตาร์ทอัพจะสามารถกลับมาทำกำไรได้ และสามารถดำเนินธุรกิจในระยะยาวแบบยั่งยืนได้

โดยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยมีดีลการลงทุนเมื่อคิดมูลค่าเม็ดเงินแล้วที่น้อยสุด ในช่วงครึ่งปี 2023 นั้นมีการลงทุนแค่ 100 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น

สำหรับประเทศไทยเศรษฐกิจดิจิทัล รายงานดังกล่าวคาดว่าจะโตจนมีขนาด 100,000 ถึง 165,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2030 โดยขนาดใหญ่ที่สุดนั้นมาจาก E-Commerce รองลงมาคือ Online Travel และ Online Media

บริการเงินแบบดิจิทัลของไทยนั้นได้ผลดีจากการสนับสนุนของหน่วยงานกำกับดูแล โดยรายงานฉบับนี้คาดว่าภายในปี 2023-2025 จะทุกภาคส่วนจะเติบโตไม่น้อยกว่า 15% โดยในรายงานดังกล่าวมองว่าส่วนของบริการบริหารความมั่งคั่งจะเติบโตมากที่สุด รองลงมาคือบริการสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัล

]]>
1450237
Facebook YouTube และ TikTok เตรียมขอใบอนุญาตทำ E-Commerce หลังรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งห้ามทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง https://positioningmag.com/1449478 Fri, 27 Oct 2023 06:53:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449478 บริษัทเทคโนโลยีหลายรายอย่าง Meta และ Alphabet รวมถึง ByteDance จากจีน เตรียมที่จะขอใบอนุญาตทำธุรกิจ E-Commerce หลังรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งแบนไม่ให้เครือข่ายสังคมทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้า เนื่องจากรัฐบาลกังวลถึงผู้ค้าขนาดกลางและขนาดเล็กจะเสียเปรียบแพลตฟอร์มเหล่านี้

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Facebook และ YouTube รวมถึง TikTok ได้เตรียมขอใบอนุญาตทำธุรกิจ E-Commerce หลังรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งแบนบรรดาแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคม (Social Network) ขายสินค้า รวมถึงห้ามทำธุรกรรมซื้อขายสินค้า

แหล่งข่าวของ Reuters ได้กล่าวว่า Facebook และ YouTube ได้เตรียมขอใบอนุญาตที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นใบอนุญาตที่อนุญาตให้โปรโมตสินค้าบนแพลตฟอร์มของตนได้ โดยทางด้าน Meta บริษัทแม่ของ Facebook เตรียมที่จะขอใบอนุญาตเพิ่มเติมให้กับ Instagram รวมถึง WhatsApp ด้วย

ทางด้านของ TikTok วางแผนที่จะยื่นขอใบอนุญาต E-commerce นอกจากนี้แหล่งข่าวรายดังกล่าวยังได้ชี้ว่า TikTok เองกำลังพูดคุยกับเจ้าของ E-commerce ในประเทศอย่าง GoTo ที่เป็นเจ้าของ Tokopedia รวมถึงมีการพัฒนาแอปพลิเคชันแยกออกมาอย่าง TikTok Shop

โดย TikTok เองได้เตรียมที่จะหยุดให้บริการ TikTok Shop ในช่วงเดือนสิ้นเดือนนี้แล้ว เพื่อที่จะรอท่าทีของทางการอินโดนีเซีย หลังจากที่บริษัทได้รุกตลาดประเทศอินโดนีเซียอย่างหนัก

ก่อนหน้านี้รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศแบนการทำธุรกรรม E-commerce ผ่านเครือข่ายสังคม ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถที่จะจ่ายเงินซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคม (Social Network) ได้ โดยข้อระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ทันที และต้องทำตามภายใน 7 วัน ถ้าหากยังฝ่าฝืนต่อก็อาจมีสิทธิ์ถูกระงับการใช้งานในประเทศได้

เหตุผลที่รัฐบาลอินโดนีเซียสั่งห้ามการทำธุรกรรม E-Commerce ผ่าน Social Network เมื่อเดือนที่ผ่านมา ก็คือต้องการที่จะปกป้องผู้ค้าและตลาดออฟไลน์ขนาดเล็กและขนาดกลาง รวมถึงเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลของผู้ใช้งานได้รับการปกป้อง

]]>
1449478
อินโดนีเซียแบนธุรกรรม E-commerce ผ่านเครือข่ายสังคม TikTok Shop และผู้เล่นรายอื่นได้รับผลกระทบทันที https://positioningmag.com/1445869 Wed, 27 Sep 2023 16:08:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1445869 รัฐบาลอินโดนีเซียใช้ยาแรง ประกาศแบนธุรกรรม E-commerce ผ่านเครือข่ายสังคม โดยแพลตฟอร์มที่ได้รับผลกระทบทันทีคือ TikTok และอาจรวมถึง Facebook ด้วย เหตุผลที่มีการแบนเพื่อต้องการปกป้องผู้ประกอบการภายในประเทศ

รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศแบนการทำธุรกรรม E-commerce ผ่านเครือข่ายสังคม ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถที่จะจ่ายเงินซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคม (Social Network) ได้ โดยข้อระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ทันที และต้องทำตามภายใน 7 วัน ถ้าหากยังฝ่าฝืนต่อก็อาจมีสิทธิ์ถูกระงับการใช้งานในประเทศได้

กระทรวงการค้าของอินโดนีเซียให้เหตุผลว่าต้องการที่จะคุ้มครองผู้ประกอบการภายในประเทศ เนื่องจากการซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมนั้นถูกเอาเปรียบในเรื่องของราคา ซึ่งเครือข่ายสังคมกำลังคุกคามพ่อค้าแม่ค้าที่มีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในประเทศ

นอกจากนี้กฎระเบียบดังกล่าวยังกำหนดให้แพลตฟอร์ม E-commerce ต้องกำหนดราคาขั้นต่ำที่ 100 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสินค้าบางรายการที่ซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ

ปัจจุบันธุรกิจของพ่อค้าแม่ค้าที่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมีจำนวนมากถึง 64.2 ล้านคน เป็นเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ของเศรษฐกิจอินโดนีเซีย โดยคิดเป็นสัดส่วน 61% ของ GDP อินโดนีเซีย

รัฐมนตรีกระทรวงการค้าของอินโดนีเซียกล่าวว่า กฎระเบียบดังกล่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มั่นใจว่าการแข่งขันทางธุรกิจ นั้นมีความยุติธรรม โดยเขามองว่าปัจจุบันเครือข่ายสังคมหลายแห่งได้เพิ่มบริการทั้ง E-commerce หรือแม้แต่บริการด้านการเงิน แต่กลับกันเขามองว่าบริการ E-commerce ไม่มีทางที่จะมีบริการเครือข่ายสังคม

ผลกระทบจากกฎระเบียบดังกล่าว กระทบกับแพลตฟอร์มที่เน้นด้าน Social Commerce ซึ่งได้แก่ TikTok ที่เพิ่งจะมีการเปิดตัว TikTok Shop ไป โดยที่กฎระเบียบดังกล่าวอาจทำให้บริษัทต้องแยกตัวแอปออกมาใหม่

ก่อนหน้านี้ TikTok เองได้เปิดบริการในประเทศที่มองว่าเป็นตลาดสำคัญก่อนเพื่อน อย่างเช่น TikTok Shop หรือแม้แต่บริการสตรีมมิ่งเพลง โดยบริษัทได้กล่าวว่าตลาดในอินโดนีเซียถือเป็นประเทศที่มีความสำคัญมากประเทศหนึ่ง จากปัจจัยของผู้ใช้งานจำนวนมาก

นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่า Facebook เองก็อาจได้รับผลกระทบดังกล่าวจากกกฎระเบียบนี้ด้วย

อย่างไรก็ดีผลประโยชน์ดังกล่าวกลับตกอยู่กับพ่อค้าแม่ค้าในประเทศ หรือแม้แต่แพลตฟอร์ม E-commerce ในประเทศอย่าง Tokopedia ของ GoTo หรือแม้แต่ Shopee ของ Sea

ที่มา – Tech Wire Asia, Reuters, The Jakarta Post

]]>
1445869
Temu อีคอมเมิร์ซจากจีน เปิดตัวในฟิลิปปินส์แล้ว อาจเห็นบุกตลาดอาเซียนแข่งกับ Lazada และ Shopee https://positioningmag.com/1442708 Tue, 29 Aug 2023 09:18:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1442708 เตมู (Temu) แพลตฟอร์ม E-commerce จากประเทศจีน ได้บุกตลาดอาเซียนแล้ว โดยล่าสุดได้เปิดตัวที่ฟิลิปปินส์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวสำคัญ หลังจากบริษัทได้บุกตลาดเกาหลี หรือแม้แต่ญี่ปุ่นในช่วงเดือนที่ผ่านมา

South China Morning Post รายงานข่าวว่า Temu ได้เปิดตัวที่ประเทศฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการแล้ว ในการเปิดตัวดังกล่าว แพลตฟอร์ม E-commerce จากจีนรายนี้ได้เสนอส่วนลดสูงสุดถึง 90% กับสินค้าเช่น เสื้อยืด เทปสองหน้า ที่เก็บของในครัวและเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อที่จะดึงดูดลูกค้ารายใหม่

การเข้ามาในฟิลิปปินส์ของ Temu ถือเป็นการส่งสัญญาณบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเป็นทางการ ปัจจุบันแพลตฟอร์ม E-commerce ในอาเซียนมีผู้เล่นรายใหญ่ครองตลาดอยู่แล้วอย่าง Shopee ซึ่งมีเจ้าของคือ Sea กับ Lazada ซึ่งมีเจ้าของคือ Alibaba

ไม่เพียงเท่านี้ผู้เล่นหน้าใหม่ (แต่รายใหญ่) อย่าง TikTok Shop ที่ทุ่มเม็ดเงินลงทุนอย่างหนักในอาเซียนด้วยเช่นกัน ก็หวังจะแย่งชิงส่วนแบ่งมาจาก 2 เจ้าใหญ่ที่ครองตลาดอยู่แล้วเช่นกัน

ข้อมูลล่าสุดจาก Momentum Works ในปี 2022 ที่ผ่านมา Shopee ครองส่วนแบ่งตลาดในฟิลิปปินส์มากถึง 60% ขณะที่ Lazada อยู่ที่ 36% และ TikTok Shop ที่ 4%

รายงานจาก Google และ Bain รวมถึง Temasek จัดทำในปีที่ผ่านมาชี้ว่าตลาด E-commerce ตั้งแต่ปี 2022 ถึงปี 2025 เติบโตมากถึง 17% ต่อปี ส่งผลทำให้บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งต่างสนใจตลาดอาเซียน ซึ่งถือเป็นตลาดที่ยังไม่มีผู้ชนะอย่างแท้จริง

สำหรับ Temu เป็นธุรกิจลูกของพินตัวตัว (Pinduoduo) ได้เปิดตัวธุรกิจดังกล่าวในสหรัฐอเมริกาเป็นที่แรก โดยจะเน้นขายสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ อาทิ เสื้อผ้า เครื่องประดับ อุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยง อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน โดยสินค้าส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศจีน

ไม่เพียงเท่านี้สถานการณ์เศรษฐกิจจีนที่กำลังฟื้นตัวในช่วงหลายเดือน แต่กลับแสดงให้เห็นว่าอ่อนแอลง ยิ่งทำให้บริษัทเทคโนโลยีจีน รวมถึง Pinduoduo ต้องเร่งหารายได้นอกประเทศจีน ซึ่ง Temu ถือเป็นอีกแพลตฟอร์มที่ดึงรายได้นอกจีนได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน หลังจากบริษัทได้บุกตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งประสบความสำเร็จพอสมควรแล้ว

]]>
1442708
TikTok เตรียมห้ามแปะลิงก์ E-commerce คู่แข่งรายอื่น บีบให้ผู้ใช้งานหันมาใช้แพลตฟอร์มตัวเอง https://positioningmag.com/1442494 Sun, 27 Aug 2023 16:22:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1442494 บริษัทแม่ของ TikTok อย่าง ByteDance เตรียมห้ามแปะลิงก์ E-commerce คู่แข่งรายอื่น บีบให้ผู้ใช้งานหันมาใช้แพลตฟอร์มตัวเอง หลังจากเคยใช้มาตรการดังกล่าวใน Douyin มาแล้วในประเทศจีนในปี 2020

สื่อธุรกิจในประเทศจีนอย่าง Caixin รายงานข่าวว่า TikTok เตรียมห้ามแปะลิงก์ E-commerce คู่แข่งรายอื่นในช่วงเดือนกันยายน หลังจากที่ ByteDance บริษัทแม่ได้ผลักดันแพลตฟอร์มอย่าง TikTok Shop ในหลายประเทศในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงในประเทศไทยด้วย

ลิงก์จากบริการ E-commerce รายอื่นๆ เช่น ลิงก์จาก Shopify รวมถึงผู้ให้บริการรายอื่น ซึ่งถือเป็นหน้าร้านของผู้ที่ต้องการขายสินค้าจะไม่สามารถแปะลิงก์ดังกล่าวอีกต่อไปได้ นอกจากนี้ถ้าหากมีการไลฟ์ขายสินค้า หรือลงวิดีโอสั้นแล้วแปะลิงก์ไปยังร้านค้าของตนก็จะไม่สามารถทำได้เช่นกันหลังจากวันที่ 12 กันยายนเป็นต้นไป

ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของร้านจะต้องเปิดร้านบน TikTok Shop เท่านั้น และทาง TikTok ได้เร่งบอกกับเจ้าของร้านให้รีบมาใช้งานแพลตฟอร์มซื้อขายดังกล่าวเช่นกัน

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok ใช้มาตรการนี้ แต่ Douyin ได้ใช้มาตรการดังกล่าวในประเทศจีนมาแล้วตั้งแต่ปี 2020 ที่ห้ามไม่ให้เจ้าของร้านแปะลิงก์ของ Taobao ของ Alibaba หรือแพลตฟอร์ม E-commerce รายอื่นในประเทศจีนมาแล้ว เพื่อที่จะบังคับให้ลูกค้าใช้แพลตฟอร์มของตัวเอง

ในช่วงที่ผ่านมา TikTok เตรียมที่จะเปิดตัวธุรกิจ E-Commerce ของบริษัทในสหรัฐอเมริกา เพื่อที่จะแข่งขันในการแย่งชิงลูกค้ากับ Shein ที่เป็นแพลตฟอร์มคู่แข่งสำคัญที่กำลังตีตลาดแดนมะกันในตอนนี้ นอกจากนี้ยังรวมถึงขยายธุรกิจของ TikTok Shop มาในอาเซียนด้วย

แรงกดดันของบริษัทมาจากผู้ใช้งานของ TikTok นอกประเทศจีนมีมากถึง 840 ล้านรายแล้ว ทำให้ ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok ต้องการที่จะผลักดันแพลตฟอร์มขายสินค้านอกประเทศจีนมากขึ้น เนื่องจากการเติบโตของผู้ใช้งานในแต่ละวันเติบโตไล่กับผู้ใช้งานในประเทศจีนแล้ว

มาตรการดังกล่าวยังเป็นการหารายได้เพิ่มจากต่างประเทศ เนื่องจากรายได้ของ ByteDance ในประเทศจีนเริ่มเติบโตชะลอตัวลงแล้ว แต่โอกาสหารายได้ใหม่ของบริษัทจากนอกประเทศจีนยังเปิดกว้างอยู่ จึงทำให้บริษัทต้องงัดมาตรการเดียวกับในจีนมาใช้

]]>
1442494