Economics – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 04 Jul 2024 09:51:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 EU วางแผนขึ้นภาษีสินค้าที่ซื้อจากแพลตฟอร์มจีน เช่น Temu และ Shein หลังผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อน https://positioningmag.com/1481016 Thu, 04 Jul 2024 09:49:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481016 สหภาพยุโรป (EU) เตรียมขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าโดยเฉพาะสินค้าที่ซื้อจากแพลตฟอร์มของจีนอย่าง Shein และ Temu รวมถึง Aliexpress โดยมาตรการดังกล่าวตามหลังมาจากสินค้าจากจีนราคาถูกจำนวนมากได้ทะลักเข้ามาในทวีปยุโรปเพิ่มมากขึ้น

EU เตรียมขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าโดยเฉพาะสินค้าที่ซื้อจากแพลตฟอร์มของจีนอย่าง Shein และ Temu รวมถึง Aliexpress โดยเหตุผลสำคัญคือสินค้าจีนราคาถูกได้ทะลักเข้าสู่ยุโรปจำนวนมาก ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการหลายแห่งได้รับความเดือดร้อน

มาตรการที่ EU เตรียมงัดขึ้นมาคือ จะมีการขึ้นภาษีสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 150 ยูโร ซึ่งในอดีตไม่เคยต้องเสียภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้มีแค่การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น ผลที่เกิดขึ้นจะทำให้เหล่า E-commerce ที่มีแหล่งจัดส่งนอกสหภาพยุโรป เช่น จีน ฯลฯ จะโดนภาษีเพิ่มเติมทันที ถ้าหากส่งสินค้าให้กับลูกค้าที่อยู่ในสหภาพยุโรป

จำนวนสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 150 ยูโรได้ทะลักเข้ามาในทวีปยุโรปมากถึง 2,300 ล้านชิ้นในปี 2023 ที่ผ่านมา โดยข้อมูลจาก EU เผยว่าแต่ละครัวเรือนในสหภาพยุโรปได้สั่งซื้อสินค้าจาก E-commerce เฉลี่ยครัวเรือนละ 2 ชิ้น

สำหรับ Shein หรือแม้แต่ Temu นั้นได้ขายสินค้าที่มีราคาถูก อย่างเช่น เดรสผู้หญิงในราคาราวๆ 10 ดอลลาร์สหรัฐ หรือแม้แต่สินค้าที่มีราคาถูกมากๆ ไม่เพียงเท่านี้ผู้ประกอบการจากจีนนั้นยังได้ประโยชน์เนื่องจากอัตราค่าขนส่งของจีนนั้นยังถูกกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่จ่ายในอัตราแพงกว่า

ผลที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ประกอบการในยุโรป เช่น H&M หรือแม้แต่ Inditex เจ้าของแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นอย่าง Zara นั้นเสียความสามารถในการแข่งขันจากสินค้าราคาถูกจากจีนเหล่านี้ จนต้องมีการงัดกลยุทธ์ออกมาต่อสู้

ไม่ใช่แค่ EU เท่านั้นที่กำลังปวดหัวกับสินค้าจากจีนจำนวนมากทะลักเข้าสู่ประเทศ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา อินโดนีเซียเองกำลังพิจารณาที่จะขึ้นภาษีสินค้าจากจีนบางชนิดสูงถึง 200% ด้วยเช่นกัน เนื่องจากรัฐบาลมองว่าสินค้าที่ทะลักเข้ามาบางชนิดส่งผลทำให้ผู้ประกอบการในประเทศไม่สามารถแข่งขันได้

ก่อนหน้าที่จะมีมาตรการตอบโต้สินค้าราคาถูกจากจีน EU ได้ออกมาตรการขึ้นภาษีรถยนต์ไฟฟ้าสูงสุดถึง 38.1% มาแล้ว เพื่อตอบโต้รถยนต์ไฟฟ้าจากจีนที่ทะลักเข้าสู่ยุโรปจำนวนมาก และมองว่าผู้ผลิตจากจีนได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ส่งผลทำให้ EV จีนมีราคาถูกกว่าผู้ผลิตในสหภาพยุโรป

อย่างไรก็ดีในการใช้มาตรการดังกล่าวนั้นอาจเพิ่มหน้าที่ให้กับเจ้าหน้าที่ศุลกากร เนื่องจากต้องตรวจสอบสินค้านำเข้าจำนวนมาก นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ของ EU ยังเตรียมมาตรการต่างๆ เพื่อนำเสนอให้กับรัฐสภายุโรปชุดใหม่ เพื่อพิจารณาวิธีการตอบโต้สินค้าจากจีนที่ทะลักเข้ามาด้วย

ที่มา – The Guardian, Reuters

]]>
1481016
อินโดนีเซียเตรียมขึ้นภาษีสินค้าจีนบางรายการถึง 200% ชี้ผู้ประกอบการในประเทศได้รับผลกระทบอย่างหนักจนต้องปิดกิจการ https://positioningmag.com/1480645 Tue, 02 Jul 2024 05:58:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1480645 อินโดนีเซียเตรียมที่จะขึ้นภาษีสินค้าจีนบางรายการสูงสุดถึง 200% โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้ตามมาจากสินค้าจีนหลายประเภท เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้า ฯลฯ ได้ทะลักเข้าสู่ประเทศมากเกินไป ส่งผลทำให้ธุรกิจสิ่งทอและผู้ผลิตเสื้อผ้าในประเทศได้รับผลกระทบจนต้องมีการปิดกิจการ

Reuters และ Channel News Asia รายงานข่าวว่า อินโดนีเซียเตรียมที่จะขึ้นภาษีสินค้าจีนบางรายการสูงสุดถึง 200% โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้ตามมาจากสินค้าจีนหลายประเภทได้ทะลักเข้าสู่ประเทศมากเกินไป จนทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการดังกล่าวออกมา

สินค้าจากจีนที่จะมีการขึ้นภาษีนั้นประกอบไปด้วย รองเท้า ผลิตภัณฑ์เซรามิก เสื้อผ้า สิ่งทอ เครื่องสำอาง เหล็ก โดยอัตราภาษีนั้นเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 100% และบางรายการนั้นปรับเพิ่มมากถึง 200%

Zulkifli Hasan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าอินโดนีเซีย ได้กล่าวว่า สินค้าจีนหลายประเภทได้ทะลักเข้าสู่ประเทศมากเกินไป ซึ่งผลดังกล่าวจะทำให้ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก หรือแม้แต่ธุรกิจขนาดย่อมนั้นล่มสลายลงได้ และการปรับขึ้นภาษีนำเข้าจะทำให้สินค้าเหล่านี้ลดการทะลักเข้ามา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าอินโดนีเซีย ยังได้กล่าวเสริมในการสัมภาษณ์ของ Channel News Asia ว่า ผู้ประกอบการในประเทศได้รับผลกระทบโดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า เนื่องจากสินค้านำเข้ามีราคาถูกกว่าสินค้าที่ผู้ประกอบการในประเทศผลิต

สิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลทำให้ผู้ประกอบการในประเทศอินโดนีเซียไม่สามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากประเทศจีนได้ มาตรการดังกล่าวนั้นออกมาเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ต้องปิดตัวลง หรือแม้แต่ต้องมีการปลดพนักงาน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีการปิดตัวลงของธุรกิจประเภทดังกล่าว หรือแม้แต่การล้มละลายจำนวนมาก

สาเหตุที่ทำให้อินโดนีเซียต้องประกาศมาตรการดังกล่าวออกมานั้น เนื่องจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนที่ทวีความรุนแรง ทำให้สินค้าจากแดนมังกรที่ไม่สามารถส่งออกไปยังโลกตะวันตกได้ทะลักเข้าสู่หลายประเทศ ซึ่งอินโดนีเซียเป็นอีกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว

ในปี 2023 ที่ผ่านมา อินโดนีเซียได้ออกกฎระเบียบเพื่อเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้านำเข้ามากกว่า 3,000 รายการ ตั้งแต่ส่วนผสมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ และสารเคมี เนื่องจากรัฐบาลต้องการให้มีการผลิตสินค้าในประเทศมากขึ้น ซึ่งทำให้บริษัทหลายแห่ง ไม่เว้นแม้แต่ Apple เรียกร้องให้ยกเลิกมาตรการดังกล่าว

จีนนั้นถือเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ 1 ใน 3 ของอินโดนีเซีย นอกจากนี้จีนยังเป็นประเทศที่นำเม็ดเงินลงทุน หรือ FDI เข้าอินโดนีเซียเป็นอันดับต้นๆ ด้วย

]]>
1480645
KResearch มอง Clean Tech และ EV เป็นโอกาสใหม่ของเศรษฐกิจไทย แนะภาครัฐสนับสนุนการใช้วัตถุดิบในประเทศ https://positioningmag.com/1479287 Sun, 23 Jun 2024 13:53:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1479287 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) มองว่า Clean Tech และ EV เป็นโอกาสใหม่ของเศรษฐกิจไทยในอนาคต โดยแนะนำให้ภาครัฐสนับสนุนการใช้วัตถุดิบในประเทศ ขณะเดียวกันคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2024 นี้จะเติบโตได้ราวๆ 2.6% ท่ามกลางความเสี่ยงในหลายปัจจัย

บุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้กล่าวถึงเรื่องสภาวะแวดล้อมโลกจากเดิมที่ไม่ค่อยมีความผันผวนมากนัก แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีความผันผวนอย่างมาก ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจาก

เขาได้เกริ่นถึงสาเหตุโลกร้อน ซึ่งอุณภูมิโลกเปลี่ยนแปลงตามจำนวนมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยจุดเปลี่ยนสำคัญคือการเกิดปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษทำให้เกิดการเผาถ่านหิน ขณะเดียวกันโลกในยุคปัจจุบันเองพื้นที่ป่าตอนนี้เหลือน้อยมาก ตอนนี้อาจทำให้สัตว์หรือพืชบางชนิดสูญพันธุ์อย่างถาวร เนื่องจากป่าทำให้เก็บคาร์บอน และมีความหลากหลายทางชีววิทยาเยอะมาก 

ปัจจุบันบุรินทร์ได้กล่าวว่าโลกตอนนี้กำลังมีการลดคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ปัญหาคือการเลี้ยงสัตว์หรือแม้แต่เรื่องของการทำเกษตรกรรม ทำให้มีการใช้พื้นที่จำนวนมาก รวมถึงการทำเกษตรแบบเดิมๆ

ข้อมูลจาก KResearch

จีนหันมารุก Clean Tech มากขึ้น

นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือ จีนเน้นเทคโนโลยีสะอาด (Clean Tech) เยอะมาก โดยบุรินทร์ชี้ถึงหลังปี 2008 นั้นอากาศในจีนดีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับอดีตที่อากาศในประเทศจีนนั้นถือว่าไม่ได้สะอาดมากนัก และจีนเองยังส่งออกรถยนต์มากกว่าเยอรมันแล้วในปัจจุบัน

เขายังชี้ว่า การที่จีนทำ Clean Tech เพราะเม็ดเงินลงทุน และได้กำไรเข้าประเทศ เนื่องจากจีนมีอุตสาหกรรมดังกล่าวตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ซึ่งประเทศอื่นไม่ได้ประโยชน์เลย เพราะมองว่าโลกหลังจากนี้เดินหน้าไปยัง Clean Tech แน่นอน

อย่างไรก็ดีกลุ่มประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา หรือยุโรป นั้นไม่ต้องการสิ่งที่เกิดขึ้น เนื่องจากจีนกินรวบอยู่คนเดียว จึงมีการออกมาตรการขัดขวางออกมา เช่น กำแพงภาษี เป็นต้น

ขณะเดียวกันบุรินทร์ชี้ว่าสหรัฐอเมริกามีพื้นที่ในการตั้งประเทศดีมาก และในอดีตนั้นเป็นประเทศเดิผู้นำเข้าพลังงานรายใหญ่ แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่แล้ว แตกต่างกับจีนที่ยังเป็นประเทศที่ต้องการพลังงานจำนวนมาก การที่หันมาสู่ Clean Tech เองนั้นถือว่าดีกับประเทศจีนไปในตัว

ข้อมูลจาก KResearch

ความขัดแย้งระหว่างประเทศเป็นประโยชน์กับไทยในเรื่อง Clean Tech และ EV

Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ยังกล่าวถึง ภาษีนำเข้าสินค้าในช่วงที่ผ่านมาทำให้บริษัทจีนย้ายฐานการผลิต ไม่ว่าจะเป็น แผงโซลาร์ อย่างไรก็ดีเขาได้กล่าวว่าถ้าหาก โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจมีการขึ้นภาษีสินค้าบริษัทที่มีจีนเป็นเจ้าของ

ฉะนั้นแล้ว กลยุทธ์ของจีนอย่าง China+1 ที่มีการขยายฐานการผลิตออกจากจีนไปยังประเทศอื่น ๆ เพื่อเลี่ยงกำแพงภาษีทางการค้า ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบทันทีถ้าหาก โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ

แต่เขายังชี้ว่าถ้าหากสหรัฐฯ มีการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากบริษัทจีนจริง คาดว่ารัฐบาลจีนจะทำให้ค่าเงินหยวนอ่อนอีก 20% ถ้าหากมีการประกาศภาษี ซึ่งการลดค่าเงินหยวนนั้น ปัญหาที่ตามมานั้นอาจทำให้สินค้าจากจีนทะลักเข้ามาในอาเซียนซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ส่งผลทำให้เกิดความวุ่นวายด้านการผลิตในไทย และยอดขาดดุลการค้าของไทยเพิ่มมากขึ้น 

อย่างไรก็ดี เขามองว่า Clean Tech และ EV จะเป็นโอกาสใหม่ของไทย และกลยุทธ์ China+1 อาจไม่ใช่การกระจายความเสี่ยงต่อไป  เขายังชี้ว่าอาเซียนจะต้องรวมพลังกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง รวมถึงการมีบทบาทในตลาด เขตเศรษฐกิจ และศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญของโลกหลังจากนี้

ขณะเดียวกันเขายังชี้ว่าไทยยังมีจุดแข็งเช่น พลังงานสะอาด หรือกระบวนการผลิตสินค้า ซึ่งเป็นโอกาสดึงภาคการผลิตใหม่ๆ หรือดึงคนเก่งๆ เข้ามา แต่เขาเองก็มองว่าเรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่เหนื่อยมากเช่นกัน

ข้อมูลจาก KResearch

เศรษฐกิจไทย ภายใต้การกีดกันทางการค้า

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่าความกังวลในการกีดกันทางการค้าทำให้จีนเร่งส่งออกไปยังสหรัฐฯ ซึ่งไทยได้ประโยชน์จำกัด นอกจากนี้ยังรวมถึงปัญหาเชิงโครงสร้างทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง และในช่วงที่ผ่านมาไทยมีตัวเลขส่งออกสินค้าแย่กว่าในอาเซียน  

ปัจจัยที่กระทบเศรษฐกิจไทยในช่วงข้างหน้า คือเรื่องการเบิกจ่ายภาครัฐ สินค้านำเข้าจากผลสงครามการค้า และต้นทุนสินค้าเพิ่มจากผลกระทบจากเอลนีโญ จากปัจจัยดังกล่าวทำให้เกิดความเสี่ยงที่ว่าภาคการผลิตอุตาหกรรมไทยอาจหดตัวได้อีก

สำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้านั้น KResearch มองว่า ภาครัฐควรเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ กวดขันสินค้านำเข้าและสนับสนุนการใช้วัตถุดิบในประเทศ รวมถึงเติมสภาพคล่องให้กับ SMEs และเน้นวางแผนการจัดการน้ำ ขณะเดียวกัน ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนจะต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจขนานใหญ่ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในทุกมิติ ทำให้รายได้เติบโตเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของต้นทุน

โดยในปี 2024 นี้ KResearch คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ราวๆ 2.6% สำหรับค่าเงินบาทที่อ่อนค่านั้นมองว่ามาจากปัญหาเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า และค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า รวมถึงการขายพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นไทยจากนักลงทุนชาวต่างชาติ

]]>
1479287
SCB EIC มองเศรษฐกิจไทย “ฟื้นช้า เปราะบาง ไม่แน่นอน” คาดแบงก์ชาติลดดอกเบี้ย 1 รอบช่วงปลายปี https://positioningmag.com/1478717 Wed, 19 Jun 2024 13:55:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478717 SCB EIC ได้คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโต 2.5% เท่านั้น อย่างไรก็ดียังมองว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยนั้น “ฟื้นช้า เปราะบาง ไม่แน่นอน” และเปรียบเหมือนเศรษฐกิจไทยนั้นเหมือนกับป่วยเป็นมะเร็ง และมองว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ 1 ครั้ง

SCB EIC ได้มองถึงเศรษฐกิจโลกเติบโตดีกว่าคาด ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข GDP จีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เติบโตดีส่งผลทำให้มีการลดดอกเบี้ยเลื่อนออกไปอีก

อย่างไรก็ดีสำหรับมุมมองเศรษฐกิจโลกในระยะปานกลาง SCB EIC ชี้ว่าปัญหาของเศรษฐกิจจีนรวมถึงความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างโลกลดลง การจ้างงานน้อยลง ในท้ายที่สุดปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเติบโตได้น้อยลง

เศรษฐกิจไทย “ฟื้นช้า เปราะบาง ไม่แน่นอน”

สมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) และรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้กล่าวถึงเศรษฐกิจไทยเปรียบได้กับคนที่ป่วยค่อยๆ ซึมลง เหมือนกับการป่วยเป็นโรคมะเร็ง

เขายังเปรียบว่าเศรษฐกิจไทยตอนนี้เหมือนกับร่างกายอ่อนแอลงไปเรื่อยๆ ถ้าเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงชัดเจน หรือเกิดวิกฤตอะไรเกิดขึ้น ไทยจะเกิดวิกฤตหรือไม่ก็ผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยจะหนักมากขึ้นกว่าเดิม เปรียบได้เหมือนติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ขณะที่การกระตุ้นเศรษฐกิจจะยากมากขึ้น

สมประวิณ มองว่าเศรษฐกิจหลายประเทศมีตัวช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แตกต่างกับไทยที่มีตัวเลือกน้อยลง และเขามองปัญหาเศรษฐกิจไทยจากที่ผ่านมานั้นเป็นปัญหาจากนโยบายรัฐบาลที่ผ่านมา

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน EIC ยังมองว่าไทยนั้นเหลือเครื่องจักรสำคัญก็คือภาคการท่องเที่ยว ทั้งที่ได้ปัจจัยนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือแม้แต่การส่งเสริมให้มีการเที่ยวเมืองรองที่ยังช่วยเศรษฐกิจไทยได้ ขณะที่เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไม่ว่าจะเป็น ภาคการส่งออก ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก หรือแม้แต่การเบิกจ่ายภาครัฐ

สำหรับในปี 2024 นี้ SCB EIC คาดว่า GDP ของไทยจะเติบโตได้แค่ 2.5% เท่านั้น ซึ่งปรับลดลงจากคาดการณ์เดิมที่มองว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตที่ 3% โดยมองว่าปัจจัยสำคัญที่เศรษฐกิจไทยแตกต่างจากเศรษฐกิจโลกนั้นมาจากภาคการบริโภคในประเทศถือว่าอ่อนแอ ต่างกับหลายประเทศ

ข้อมูลจาก SCB EIC

SCB EIC มองว่าต้องลดดอกเบี้ย

สมประวิณยังเล่าถึงความเชื่อมโยงระหว่างภาคการเงินไทยกับภาคเศรษฐกิจจริงๆ โดยยกตัวอย่างผลกระทบจากตลาดรถยนต์มือสองขึ้นมา โดยมองว่าตลาดรถยนต์มือสองมีราคาลดลง ส่งผลทำให้มีการรับซื้อรถยนต์มือสองในราคาที่ถูกลง ทำให้ขายรถยนต์ได้ยากขึ้น

ผลกระทบคือสถาบันการเงินเองขายรถยนต์มือสองได้ยากขึ้น หรือไม่ก็ต้องขาดทุนจากผลกระทบ ทำให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อยานยนต์ลดลง

ขณะเดียวกัน สมประวิณ ยังมองว่าความเปราะบางของครัวเรือนจะส่งผลต่อเศรษฐกิจมากขึ้น เช่น เงินสำรองฉุกเฉิน หรือแม้แต่ปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยจะส่งผลมากขึ้น อย่างในกรณีของภาคธุรกิจไทยมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยดังกล่าวนั้นจะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ย

SCB EIC มีการศึกษาว่าถ้าหากมีการลดดอกเบี้ยจะทำให้คนก่อหนี้เพิ่มหรือไม่ โดยมุมมองธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาจะทำให้เกิดการก่อหนี้ในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น แต่สมประวิณมองว่าจริงๆ แล้วธนาคารอาจไม่ปล่อยสินเชื่อให้ก็ได้ (ซึ่งไม่ทำให้อัตราส่วนหนี้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น) ซึ่งเรื่องใหญ่กว่านั้นคือการหารายได้ของครัวเรือนที่เพิ่มมากขึ้น

สมประวิณยังกล่าวเสริมว่าธนาคารแห่งประเทศไทยยังสามารถที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงมาได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจผ่อนคลาย คนมีรายได้มากขึ้น กล้าลงทุนมากขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะกลับมาส่งผลต่อเรื่องหนี้ในครัวเรือนไทย

ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ SCB EIC มองว่าช่วงปลายปี 2024 จะมีการลดดอกเบี้ย 1 ครั้ง และในปี 2025 อีก 1 ครั้ง

เมื่อโลกเปลี่ยนไป ภาคการผลิตของไทยก็ต้องเปลี่ยนตาม

ปราณิดา ศยามานนท์ ผู้อำนวยการฝ่าย Industry Analysis ของ SCB EIC ได้กล่าวถึงภาคการผลิตของไทย สามารถที่จะคว้าโอกาสท่ามกลางโลกแบ่งขั้วรุนแรงขึ้นได้ แต่ต้องมีนโยบายส่งเสริมการส่งออกและการปรับตัวธุรกิจเชิงรุก ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะต้องออกแบบให้สอดคล้องกับบริบทเฉพาะของสินค้าแต่ละประเภทที่อาจได้หรือเสียประโยชน์แตกต่างกัน แบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ

1) กลุ่มสินค้าที่ไทยผลิตเก่ง แต่แข่งขันสูง : นโยบายภาครัฐควรเน้นพัฒนาความสามารถในการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม และความได้เปรียบในการแข่งขัน ขณะที่ภาคธุรกิจต้องปรับตัวชูจุดแข็งของสินค้าและเจาะตลาดเป้าหมาย รวมถึงวางกลยุทธ์เพิ่มส่วนแบ่งตลาด และปรับสินค้าให้ทันเทรนด์โลก

2) กลุ่มสินค้าที่ไทยผลิตเก่ง และการแข่งขันไม่สูง : นโยบายภาครัฐควรสนับสนุนให้ผู้ส่งออกเปิดตลาดใหม่กระจายความเสี่ยง และยกระดับกระบวนการผลิตตามมาตรฐานความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่ภาคธุรกิจต้องปรับตัวลดความเสี่ยงจาก Climate change และลงทุนพลังงานหมุนเวียน

3) กลุ่มสินค้าที่ไทยผลิตไม่เก่ง แต่การแข่งขันไม่สูง : นโยบายภาครัฐควรให้สิทธิประโยชน์จูงใจให้ดำเนินธุรกิจเดิม แต่ลงทุนเพิ่มศักยภาพการผลิต มุ่งตลาดส่งออกที่มีอยู่ ขณะที่ภาคธุรกิจควรปรับตัวเพิ่มศักยภาพเทคโนโลยีการผลิตและสร้างความเข้าใจในตลาดขั้วสหรัฐฯ และขั้วจีนเพื่อเข้าถึงความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น

4) กลุ่มสินค้าที่ไทยผลิตไม่เก่ง และแข่งขันสูง : นโยบายภาครัฐควรช่วยให้ธุรกิจเปลี่ยนผ่านไปยังภาคการผลิตที่มีศักยภาพในการเติบโตบนห่วงโซ่การผลิตใหม่ได้ ขณะที่ภาคธุรกิจควรเร่งปรับตัวสู่ห่วงโซ่การผลิตใหม่และหาพันธมิตรด้านเทคโนโลยีสนับสนุน

SCB EIC มองว่าในช่วงเวลาในเรื่องการค้าโลกที่เปลี่ยนไป 2 มหาอำนาจมีความขัดแย้งกันนั้น ไทยเองควรที่สอดแทรกโอกาสดังกล่าวเข้าไป และจะต้องคิดเรื่องดังกล่าวใหม่ทั้งหมดแบบกลับหัวกลับหาง เช่น ในอดีตไทยส่งสินค้าไปประกอบที่จีน แต่ปัจจุบันจีนกลับส่งสินค้ามาให้ไทยประกอบแล้วส่งออกไปยังประเทศอื่น

]]>
1478717
น้ำส้มราคาทำสถิติสูงสุดใหม่ ผลจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ผู้ผลิตต้องดิ้นรนหาผลไม้อื่นผสมทดแทน https://positioningmag.com/1476146 Fri, 31 May 2024 08:24:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1476146 ใครที่ชื่นชอบอาหารเช้า หนึ่งในเครื่องดื่มสำคัญนั่นก็คือ ‘น้ำส้ม’ อาจมีราคาที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญมาจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในประเทศบราซิล ซึ่งถือเป็นประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก ส่งผลทำให้ผลผลิตส้มลดลงอย่างมาก

ราคาน้ำส้มได้ทำสถิติสูงสุดใหม่อีกครั้ง จากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลทำให้มีผลผลิตที่น้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบราซิล ซึ่งเป็นแหล่งผลิตส้มรายใหญ่นั้นประสบปัญหาสภาวะร้อนจัด ส่งผลทำให้ราคาของผลส้มมีราคาที่สูงมากขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ในรอบ 1 ปี

ศูนย์วิจัย Fundecitrus ในประเทศบราซิลได้ออกรายงานว่า คลื่นความร้อนในประเทศในช่วงปี 2023 ได้ส่งผลต่อการเก็บเกี่ยวส้มในฤดูกาลล่าสุด และคาดว่าผลผลิตในประเทศบราซิลจะมีปริมาณที่ต่ำสุดในรอบ 30 ปี

ปัจจุบันบราซิลถือว่าเป็นผู้ส่งออกน้ำส้มรายใหญ่ โดยกำลังการผลิต 70% ของประเทศนั้นเพื่อการส่งออกเป็นหลัก

นอกจากนี้พายุเฮอริเคนที่พัดพาเข้าสู่มลรัฐฟลอริดาซึ่งถือเป็นแหล่งปลูกส้มที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา รวมถึงการแพร่ระบาดของโรคกรีนนิ่งในส้ม ยังทำให้ผลผลิตส้มลดลง

สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในบราซิลและสหรัฐอเมริกา ทำให้ราคาน้ำส้มเข้มข้นแช่แข็งซื้อขายล่วงหน้าในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กนั้นมีราคาขึ้นมาแล้วมากถึง 200% ล่าสุดอยู่ที่ 4.77 ดอลลาร์สหรัฐต่อปอนด์ เป็นราคาทำสถิติสูงสุดในรอบ 1 ปี

ผลที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ผลิตน้ำส้มหลายแห่งต้องเริ่มนำน้ำผลไม้อื่นเข้ามาผสม เพื่อที่จะลดการพึ่งพาน้ำส้มแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นการผสม น้ำส้มแมนดาริน น้ำองุ่น น้ำลูกแพร์ หรือแม้แต่น้ำแอปเปิล เข้าไปในขั้นตอนการผลิต

ไม่ใช่แค่ราคาน้ำส้มเท่านั้น แต่ในช่วงที่ผ่านมา ราคากาแฟ ซึ่งมีแหล่งการผลิตในบราซิลเช่นกันนั้น ก็ประสบปัญหาผลผลิตลดลงจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน จนสร้างความปวดหัวให้ทั้งผู้ผลิต หรือแม้แต่ผู้บริโภคที่ต้องแบกรับราคาจากเรื่องดังกล่าว

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นย่อมทำให้ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคนั้นเพิ่มมากขึ้นไม่มากก็น้อย

ที่มา – The Guardian, CNBC

]]>
1476146
IMF ปรับเป้า GDP จีนเติบโต 5% ในปีนี้ ให้เหตุผลตัวเลขเศรษฐกิจแดนมังกรออกมาดีกว่าคาด https://positioningmag.com/1475485 Wed, 29 May 2024 02:31:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1475485 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกมาปรับเป้าตัวเลข GDP ของจีนในปี 2024 นี้คาดว่าจะเติบโตได้มากถึง 5% เนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ที่ผ่านมาแข็งแกร่งกว่าคาด ขณะเดียวกันก็ยังมองว่าในระยะยาวเศรษฐกิจจีนกำลังจะชะลอตัวลงจากสังคมผู้สูงอายุ

IMF ได้ออกมาปรับคาดการณ์ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปี 2024 นี้ว่าจะเติบโตได้มากถึง 5% ซึ่งดีกว่าคาดการณ์เดิมเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ 4.6% อย่างไรก็ดีองค์กรดังกล่าวมองว่าเศรษฐกิจจีนในระยะยาวอาจชะลอตัวลงมากกว่าคาด และตัวเลขการเติบโตนั้นจะแตะเลข 3 ภายในไม่ถึง 10 ปี

ในรายงานของ IMF หลังจากที่ทีมงานได้เข้าไปเยือนประเทศจีน ได้ชี้ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนคาดว่าจะอยู่ที่ 5% ในปี 2024 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ IMF ปรับตัวเลขคาดการณ์นั้นมาจาก GDP ในไตรมาส 1 ของปี 2024 นั้นอยู่ที่ 5.3% ดีกว่าที่นักวิเคราะห์หลายฝ่ายคาดไว้ เนื่องจากตัวเลขการส่งออกของจีนเติบโตได้ดี

IMF ยังชี้ถึงนโยบายในการรักษาเสถียรภาพของภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน และชี้ว่าขั้นตอนดังกล่าวถือมีความจำเป็นที่จะทำให้เศรษฐกิจจีนนั้นก้าวไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมาตรการปกป้องผู้ที่ซื้อบ้านที่กำลังจะซื้อโครงการที่ไม่แล้วเสร็จ การเร่งระดมทรัพยากรเพื่อเร่งก่อสร้างโครงการอสังหาฯ ให้แล้วเสร็จ

ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนถือว่าเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจจีนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีสัดส่วนมากกว่า 20% ของขนาดเศรษฐกิจจีน และปัญหาดังกล่าวยังสร้างผลกระทบต่อประชาชนจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคในประเทศ

ไม่เพียงเท่านี้ IMF ยังมองว่าทางการจีนเน้นการเติบโตของเศรษฐกิจจีนให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยมีการสนับสนุนในเรื่องของนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของพลังงานสะอาด แม้แต่การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งแนวทางเหล่านี้จะทำให้จีนสามารถรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจที่เผชิญอยู่ได้

อย่างไรก็ดีในรายงานของ IMF ชี้ว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลง โดย GDP ในปี 2025 จะเติบโตแค่ 4.5% เท่านั้น และมองว่าภายในปี 2029 นั้นจีนอาจมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเหลือแค่ 3.3% เท่านั้น เนื่องจากจีนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลทำให้ผลิตภาพทางการผลิตลดลง

ที่มา – CNBC, China Daily

]]>
1475485
UOB มองเศรษฐกิจไทยยังคงอ่อนแอ แม้ได้ภาคการท่องเที่ยวช่วยไว้ แนะนำลงทุนกระจายความเสี่ยงไปในหุ้นปันผลดี https://positioningmag.com/1472645 Thu, 09 May 2024 07:05:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472645 ยูโอบี (UOB) ได้คาดการณ์ว่าอาจปรับลดตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอในช่วง 2 เดือนแรก แม้ว่าจะมีภาคการท่องเที่ยวช่วยไว้ก็ตาม นอกจากนี้ยังแนะนำให้ลงทุนในหุ้นกลุ่มปันผลนั้นเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงเวลาตลาดมีความผันผวน

เอ็นริโก้ ทานูวิดจายา นักเศรษฐศาสตร์ Global Economics and Market Research กลุ่มธนาคารยูโอบี ได้กล่าวถึงสภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมาว่ามีความท้าทาย และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกนั้นเพิ่มมากขึ้น ทางด้านเรื่องของความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ นั้นมีผลกระทบต่อราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น 

ในส่วนของเศรษฐกิจโลก เอ็นริโก้ มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังมีความแข็งแกร่งอยู่ แม้ตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายตัวนั้นจะปรับตัวลดลงมาก็ตาม ทำให้เขามองว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้เริ่มต้นในเดือนกันยายน และในช่วงปลายปีอีกครั้งหนึ่ง

ขณะที่เศรษฐกิจจีนเขามองว่าชะลอตัวลง แต่มีเสถียรภาพมากขึ้น ตรงข้ามกับอินเดียที่เติบโตอย่างมาก และเขามองว่าอินเดียจะเป็นดาวเด่นทางเศรษฐกิจด้วย

ข้อมูลจาก UOB

ชี้เศรษฐกิจไทยอ่อนแอ แม้ท่องเที่ยวจะเป็นพระเอกก็ตาม

นักเศรษฐศาสตร์ Global Economics and Market Research กลุ่มธนาคารยูโอบี ยังได้กล่าวถึงเศรษฐกิจไทยว่าเศรษฐกิจไทยนั้นได้กลับมาเติบโตเท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดแล้ว แต่การเติบโตนั้นกลับไม่เท่ากันจะเห็นได้จากภาคบริการเติบโตมากกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดไปแล้ว แต่หลายอุตสาหกรรมเองกลับไม่ฟื้นตัวกลับมา เช่น ภาคการผลิต เป็นต้น

เขากล่าวว่าภาคการท่องเที่ยวที่เป็นพระเอกของเศรษฐกิจไทยนั้น นักท่องเที่ยวชาวจีนได้กลับมาแล้ว แต่ไทยเองยังต้องการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ ขณะเดียวกันภาคการส่งออกของไทยเขาก็มองว่าผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว

อย่างไรก็ดี เอ็นริโก้ มองว่าเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะตัวเลขการเติบโตของเงินให้สินเชื่อของสถาบันการเงินไทยที่เติบโตติดลบ แสดงให้เห็นการบริโภคภายในประเทศถือว่าอ่อนแอมาก ทำให้เขามองว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมา 2 ครั้งในปีนี้ โดยเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน และในช่วงปลายปี

UOB ได้คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2024 ในรายงานล่าสุดอยู่ที่ 2.8% แต่ เอ็นริโก้ มองว่าอาจมีความเสี่ยงขาลงจากตัวเลขทางเศรษฐกิจ 2 เดือนแรกของปีแย่กว่าคาด และอาจมีการปรับประมาณการใหม่ เขาคาดว่า GDP ไทยจะเติบโตแค่ 2.4-2.5% ถ้าหากมีการประมาณการตัวเลขใหม่

สำหรับค่าเงินบาทของไทย เขาไม่ได้กังวลมากนัก และมองว่าเม็ดเงินจะไหลออกระยะสั้นเท่านั้น แต่มองว่าค่าเงินบาทของไทยมีเสถียรภาพเนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัดยังเป็นบวก นอกจากนี้ถ้าหากดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ก็จะทำให้ค่าเงินบาทไทยแข็งค่าด้วย

ข้อมูลจาก UOB

หุ้นปันผล อีกหนึ่งทางเลือกลงทุน

เอเบล ลิม Head of Wealth Management Advisory and Strategy กลุ่มธนาคารยูโอบี ได้กล่าวถึงแม้เศรษฐกิจโลกจะมีอุปสรรคมากมาย เช่น ความไม่แน่นอน แต่ก็พบว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังเติบโตได้ดี ขณะที่เศรษฐกิจจีนกำลังอยู่ในสภาวะฟื้นตัว ขณะที่ญี่ปุ่นตลาดหุ้นทำผลตอบแทนได้ดีมาก บริษัทญี่ปุ่นยังเติบโตได้ ทางฝั่งยุโรปพบว่ามีเศรษฐกิจถดถอยในไตรมาส 1 ปีที่แล้วแต่บริษัทหลายแห่งกลับยังทำผลงานได้ดี

เขากล่าวยังว่า “เนื่องจากตลาดมีความอ่อนไหวต่อดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางอัตราการเติบโตและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่แตกต่างกัน การสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอผ่านการลงทุนในหุ้นปันผลจึงเป็นสิ่งสำคัญ” โดยเขายกเหตุผลถึงถ้าหาก Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็จะเป็นผลดีกับหุ้นปันผลด้วย

ในส่วนของการลงทุนเชิงกลยุทธ์เพื่อเสริมพอร์ตการลงทุนหลัก UOB ได้แนะนำ 4 กลุ่มได้แก่ หุ้นเติบโตขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพ (High Quality) หุ้นกลุ่ม Healthcare หุ้นเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น รวมถึงหุ้นในอาเซียน

ขณะที่ความเสี่ยงของการลงทุนในช่วงที่เหลือของปี 2024 นี้ที่ UOB มองไว้ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อลดลงได้ช้ากว่าคาด ส่งผลทำให้ธนาคารกลางต้องคงดอกเบี้ยสูงเป็นระยะเวลานาน และยังรวมถึงความเป็นไปได้ที่ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐกับจีนจะขยายตัวขึ้น

]]>
1472645
IMF คาด GDP ไทยโต 2.7% ในปีนี้ มองเศรษฐกิจโลกเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เตือนยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกมาก https://positioningmag.com/1470177 Tue, 16 Apr 2024 17:27:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470177 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโต 2.7% ขณะเดียวกันก็มองว่าเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.2% จากปัจจัยของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง แต่ก็เตือนถึงสภาวะเศรษฐกิจโลกนั้นยังมีความเสี่ยงอีกมาก

IMF ได้ออกคาดการณ์เศรษฐกิจล่าสุดฉบับเดือนเมษายน โดยมองว่าเศรษฐกิจโลกนั้นจะเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากคาดการณ์เดิม ซึ่งได้ปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่ประเทศกำลังพัฒนาที่ยังเติบโตแข็งแกร่ง อย่างไรก็ดีก็ได้เตือนถึงเรื่องปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วย

สำหรับเศรษฐกิจโลก IMF ได้คาดการณ์ว่าจะเติบโตอยู่ที่ 3.2% ในปีนี้ ซึ่งดีกว่าคาดการณ์เดิมเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยได้ปัจจัยบวกจากการเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วซึ่งอยูที่ 1.8% ขณะเดียวกันก็ปรับคาดการณ์ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเหลือเติบโตแค่ 4.2% ในปีนี้

นอกจากนี้ IMF ยังมองว่าเศรษฐกิจโลกถือว่ามีความยืดหยุ่น แม้ว่าโลกจะอยู่ในสภาวะดอกเบี้ยสูงจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศต่างๆ นอกจากนี้ชื่นชมว่าธนาคารกลางทั่วโลกได้ต่อสู้กับสภาวะเงินเฟ้อได้ถูกทางแล้ว

IMF ยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะเติบโตได้มากถึง 2.7% ในปีนี้ ขณะที่จีนคาดว่าจะเติบโตที่ 4.6% ขณะที่อินเดียคาดว่าจะเติบโตได้ 6.8% ยกเว้นในส่วนของยูโรโซนที่ปรับประมาณการลดลง เนื่องจากราคาพลังงานที่สูงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจยุโรปอย่างมาก

ในส่วนเศรษฐกิจไทยนั้น IMF คาดว่า GDP ของไทยจะเติบโต 2.7% ในปีนี้ และคาดว่าจะเติบโต 2.9% ในปี 2025 ขณะที่เงินเฟ้อของไทยในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 0.7%

ทางด้านของความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก IMF ยังมองถึงความเสี่ยงจากสภาวะเงินเฟ้อที่ยังสูง แต่ก็ทยอยลดลงจากราคาพลังงานและอาหารลดลง รวมถึง Supply Chain ทั่วโลกกลับมาสู่สภาวะปกติมากขึ้น คาดว่าทั่วโลกนั้นตัวเลขดังกล่าวจะอยู่ที่ 5.9% ในปีนี้ และ 4.5% ในปี 2025

ในเรื่องอื่นๆ นั้น IMF ยังกังวลถึงความเสี่ยงระยะสั้นคือ ต้นทุนการเงินที่สูง การถอนมาตรการสนับสนุนทางเศรษฐกิจทำให้ส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ขณะที่ความเสี่ยงระยะกลางนั้น ด้านผลิตภาพ (Productivity) ถือว่าต่ำสุดในรอบหลายสิบปี และยังกังวลถึงเรื่องของความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก

และยังรวมถึงปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์ในจีน การแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนที่ส่งผลทำให้เกิดการแบ่งแยกทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก

]]>
1470177
ธนาคารกลางญี่ปุ่นขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปี นักวิเคราะห์ชี้เงินเยนอาจไม่แข็งค่าเท่าที่คาด https://positioningmag.com/1466718 Tue, 19 Mar 2024 10:25:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466718 ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 0-0.1% ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปี และยังเป็นการประกาศชัยชนะเชิงสัญลักษณ์ว่าแดนอาทิตย์อุทัยได้ออกจากสภาวะเงินฝืดแล้ว แต่สำหรับค่าเงินเยนแล้วนั้นนักวิเคราะห์มองว่าอาจไม่ได้แข็งค่าเท่าที่คาดจากท่าทีที่ระมัดระวังของ BoJ

ธนาคารกลางญี่ปุ่น ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในช่วง 0-0.1% ซึ่งการปรับดอกเบี้ยดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย รวมถึงการใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบมาเป็นระยะเวลานาน

BoJ ได้ประกาศอัตราดอกเบี้ยในช่วง 0-0.1% จากเดิมที่ญี่ปุ่นได้ใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบที่ -0.1% มาเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี มาตรการดังกล่าวตามมาหลังจากที่ญี่ปุ่นได้ปรับค่าแรงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5.3% เพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าแดนอาทิตย์อุทัยได้พ้นจากสภาวะเงินฝืดเป็นที่เรียบร้อย

ถ้อยแถลงของ BoJ ยังมีการกล่าวถึงตัวเลขเงินเฟ้อของญี่ปุ่นอยู่ในช่วง 2% (หรือมากกว่า) ซึ่งมีลักษณะมั่นคงมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และมองว่านโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของญี่ปุ่นได้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวแล้ว

นอกจากนี้ในถ้อยแถลงของ BoJ ยังกล่าวว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราที่สูงกว่าอัตราการเติบโตที่เป็นไปได้ (Potential Growth Rate)

นโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่นนอกจากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีนโยบายที่จะยกเลิกการซื้อกองทุนหุ้นญี่ปุ่นที่ซื้อขายในตลาดหุ้น (ETF) ทรัสต์การลงทุนในอสังหาริมทัพย์ในประเทศญี่ปุ่น (REITS) หรือแม้แต่การควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี (Yield Curve Control) เพื่อควบคุมให้นโยบายการเงินอยู่ในสภาวะผ่อนคลาย

การที่ญี่ปุ่นต้องใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบเนื่องจากปัญหาเงินฝืด ซึ่งเป็นผลกระทบของเศรษฐกิจในยุค 1990 ที่ฟองสบู่แตก ส่งผลต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น จนเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาทศวรรษที่สาบสูญ จนท้ายที่สุด ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ออกนโยบายผ่อนคลายทางการเงินออกมาเพื่อจะแก้ปัญหาดังกล่าวนับตั้งแต่ปี 2012

ในช่วงที่ผ่านมา BoJ ได้ส่งสัญญาณการยกเลิกนโยบายผ่อนคลายทางการเงินมาโดยตลอด หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อในญี่ปุ่นนั้นปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุนคาดว่าในท้ายที่สุดแล้วญี่ปุ่นจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ดี BoJ ยังยืนยันว่าจะไม่ใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดเหมือนกับธนาคารกลางของประเทศพัฒนาหลายประเทศที่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เร็วและรุนแรง เช่น สหรัฐอเมริกา ฯลฯ และยังชี้ว่านโยบายทางการเงินของญี่ปุ่นในช่วงเวลานี้ยังอยู่ในสภาวะผ่อนคลายอยู่

ผลกระทบจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของญี่ปุ่นหลายปีที่ผ่านมาคือส่งผลทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่า ซึ่งส่งผลดีต่อภาคการส่งออกและท่องเที่ยวของญี่ปุ่น แต่ผลกระทบคือการนำเข้าสินค้าของญี่ปุ่นจะมีราคาสูงมากขึ้น

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับค่าเงินเยนว่า “ตลาดคาดว่า BoJ จะเปลี่ยน แปลงนโยบายพร้อมกับท่าทีระมัดระวังเกี่ยวกับการคุมเข้มนโยบายเพิ่มเติมในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยหาก BoJ ส่งสัญญาณว่าอาจเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวจะไม่เพียงพอที่จะทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นได้”

สำหรับค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทล่าสุดในวันนี้ (19 มีนาคม) ซื้อขายในช่วง 0.2396-0.2415 เยนต่อ 1 บาท ซึ่งยังไม่ได้แข็งค่าในทันทีจากนโยบายการปรับขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าว

ที่มา – Reuters, The Guardian, CNN

]]>
1466718
SCB EIC คาด GDP ปีนี้โตแค่ 2.7% ชี้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าอยู่กลุ่มรั้งท้ายของโลก และยังมีความท้าทายในเรื่อง Supply Chain https://positioningmag.com/1466313 Fri, 15 Mar 2024 04:47:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466313 SCB EIC คาดการณ์ GDP ไทยปีนี้โตแค่ 2.7% ขณะเดียวกันก็ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าอยู่กลุ่มรั้งท้ายของโลก และยังมีความท้าทายในเรื่อง Supply Chain ซึ่งไทยเองมีความจำเป็นเร่งด่วนในการที่จะต้องแก้ปัญหาดังกล่าว

มุมมองเศรษฐกิจโลกนั้น SCB EIC คาดการณ์ว่ามีแนวโน้มเติบโตใกล้เคียงปีก่อนที่ 2.6% ซึ่งมุมมองปรับดีขึ้นจากแรงส่งจากช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2023 และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวได้ดีในช่วงต้นปีนี้ รวมถึงเศรษฐกิจโลกได้รับแรงสนับสนุนจากการค้าโลกที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้นและอัตราเงินเฟ้อโลกที่ชะลอตัวลง แต่ยังมีแรงกดดันจากผลกระทบของภาวะดอกเบี้ยสูง ความขัดแย้งต่างๆ อยู่

นอกจากนี้ SCB EIC ยังมองว่าธนาคารกลางหลายแห่งของประเทศพัฒนาแล้ว จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลก

สำหรับมุมมองต่อเศรษฐกิจไทย SCB EIC ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2024 เหลือ 2.7% (จากเดิม 3%) แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องได้ จากแรงขับเคลื่อนของการท่องเที่ยวและภาคบริการรวมถึงเศรษฐกิจด้านอุปสงค์อื่นที่กลับมาขยายตัวเร่งขึ้นในหลายองค์ประกอบ โดยเฉพาะการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มดีขึ้น

อย่างไรก็ดี SCB EIC มองว่าแรงส่งภาครัฐจะยังหดตัวต่อเนื่องในไตรมาสแรกจากความล่าช้าของการประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณฯ ปี 2567 รวมถึงปัญหาสินค้าคงคลังสะสมสูงจากปีก่อนจะยังไม่สามารถคลี่คลายได้เร็ว ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากปัญหาเชิงโครงสร้างในภาคการผลิตไทย โดยเฉพาะภาคการส่งออกไทยที่สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยจะยังฟื้นช้าต่อเนื่องมาในปีนี้

สมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) และรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ได้กล่าวถึงสภาวะเศรษฐกิจไทยนั้นเหมือนจะดี และเห็นสัญญาณที่ไม่ดีตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2023 ที่ผ่านมา และเขายังกล่าวว่าการเติบโตของเศรษฐกิจไทยนั้นฟื้นตัวช้าในกลุ่มรั้งท้ายของโลก ซึ่งอันดับของไทยอยู่ที่อันดับ 162 ซึ่งแย่ลงกว่าเดิม จากปีก่อนหน้าอยู่ที่อันดับ 155

ขณะเดียวกัน สมประวิณ เชื่อว่า การที่ กนง.จะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไม่ได้มาจากปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อเป็นสำคัญ แต่น่าจะมาจากภาวะเศรษฐกิจไทยในระยะยาวที่ยังต้องเผชิญกับปัญหาในเชิงโครงสร้าง ซึ่งเป็นปัญหาที่สะสมมานาน โดยชี้ถึงสาเหตุสำคัญมาจาก

  • ผลิตภาพการผลิต (Total Factor Productivity) ซึ่งตัวเลขดังกล่าวของไทยต่ำลงเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งจากปัญหาผลิตภาพแรงงานไทยลดลงและกฎเกณฑ์ภาครัฐจำนวนมากที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ
  • ปัจจัยทุน (Capital) ปัจจัยดังกล่าวของไทยมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะเห็นได้จากสัดส่วนการลงทุนในประเทศที่ลดลงเหลือประมาณ 24% ของ GDP ในช่วง 2 ทศวรรษหลัง นอกจากนี้ความสามารถในการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ (FDI) ของไทยต่ำลงหากเทียบประเทศในภูมิภาคอาเซียน
  • ปัจจัยกำลังแรงงาน (Labor) ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมาจากการเข้าสู่สังคมสูงวัยเร็ว
เศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวช้า เมื่อเทียบกับหลายประเทศ / ข้อมูลจาก SCB EIC

SCB EIC ยังคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ 2 ครั้งในช่วงครึ่งปีแรกของปี ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยของไทยจะเหลือแค่ 2% เท่านั้น ซึ่งสมประวิณมองว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวสอดคล้องกับผลิตภาพการผลิตของไทย

นอกจากนี้ SCB EIC ยังมองว่าการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของไทยยังผูกโยงกับห่วงโซ่อุปทานเก่าอยู่มาก ขณะเดียวกันการที่เศรษฐกิจไทยเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีนและห่วงโซ่การผลิตจีนมากท่ามกลางกระแสภูมิรัฐศาสตร์โลกรวมถึงความสามารถของภาคการผลิตไทยในการปรับตัวกับห่วงโซ่การผลิตโลกใหม่และรูปแบบความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่เปลี่ยนไปได้ช้าทำให้การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคส่งออกไทยยังทำได้ค่อนข้างจำกัด สะท้อนจากส่วนแบ่งยอดขายสินค้าส่งออกของไทยในตลาดโลกที่ยังใกล้เดิมมาตลอดทศวรรษ

SCB EIC ยังชี้ว่าไทยยังมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการยกระดับขีดความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยี และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานให้ยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงและเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานโลกใหม่ ซึ่งเรื่องดังกล่าวนั้นได้เกิดขึ้นแล้ว

]]>
1466313