Fastfood – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 19 Nov 2020 09:49:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Plant-Based เทรนด์อาหารแห่งอนาคต Unilever ขยับรุกตลาดจริงจัง ตั้งเป้าทำเงิน 3.6 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1306712 Thu, 19 Nov 2020 09:19:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306712 บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก ขยับมูฟใหม่เข้าสู่ตลาด Plant-Based กันอย่างต่อเนื่อง ตามเทรนด์อาหารโลกที่กำลังเปลี่ยนไป

ล่าสุด Unilever (ยูนิลิเวอร์) ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคเจ้าใหญ่ ตั้งเป้าปั้มยอดขายในส่วนของผลิตภัณฑ์อาหารเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช หรือ Plant-Based เพิ่มเป็น 1 พันล้านยูโร (ราว 3.6 หมื่นล้านบาท) ภายใน 5-7 ปีนี้

เป้าหมายดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าบริษัทคาดว่าตลาด Plant-Based จะเติบโตสูงมากในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อเทียบกับเป้าหมายของยอดขายปัจจุบันที่ 200 ล้านยูโร (ราว 7.2 พันล้านบาท) ตามที่บริษัทตั้งไว้ในปีนี้

กลุ่มสินค้าแบรนด์เนื้อมังสวิรัติ กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากกระเเสรักษ์โลกของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปลี่ยนพฤติกรรมหันมาบริโภคอาหารที่ทำมาจากพืช มากกว่าการบริโภคเนื้อสัตว์จริงๆ เพราะเห็นว่ากระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ มีการปล่อยคาร์บอนที่เป็นภัยต่อการเปลี่ยนเเปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

Hanneke Faber ประธานฝ่ายอาหารของ Unilever ซึ่งเป็นส่วนที่สร้างยอดขายให้บริษัทได้ถึง 1.93 หมื่นล้านยูโร (6.9 แสนล้านบาท) ในปี 2019 ระบุว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว สินค้า Plant-Based ยังมีส่วนเเบ่งการตลาด ราว 5% เเต่ต่อไปจะสามารถขยายตัวเเละครองตลาดได้ถึง 50%”

โดยต่อไป Unilever จะให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ Plant-Based ในกลุ่มไอศกรีมที่ปราศจากนมและมายองเนสไปจนถึงอาหารทดแทนเนื้อสัตว์จากถั่วเหลืองและสาหร่าย ฯลฯ

นักวิเคราะห์ มองว่า การที่บรรดาเจ้าใหญ่ในวงการกระโดดลงมาเล่นสนาม Plant-Based กันคึกคัก จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชมีราคาถูกลงตามด้วยกำลังการผลิตและการจัดจำหน่ายที่เพิ่มมากขึ้น เเละจะทำให้อุตสาหกรรมนี้มีการขยายตัวครั้งใหญ่

อย่างการที่ Nestlé คู่แข่งรายสำคัญ หันมาทุ่มลงทุนในการพัฒนาสินค้าทางเลือกให้ผู้บริโภคสามารถทานอาหารที่มีรสชาติและผิวสัมผัสเหมือนเนื้อสัตว์จริง แต่ไม่มีกระบวนการปศุสัตว์ที่สร้างผลกระทบต่อโลก ก็เป็นการกระตุ้นการเเข่งขันในตลาดนี้ได้ดีทีเดียว 

ตอนนี้ผู้ผลิต Plant-Based ส่วนใหญ่จะเป็นพันธมิตรกับเชนฟาสต์ฟู้ดรายใหญ่เเละมุ่งเข้าตีตลาดซูเปอร์มาร์เก็ต เช่น Impossible Foods จับมือกับ Burger King ส่วน Beyond Meat กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์กับ McDonald’s ในสหรัฐฯ สำหรับแพลตฟอร์ม McPlant ขณะที่ Nestlé ส่งวัตถุดิบเมนูเบอร์เกอร์จากพืชให้ McDonald’s ในเยอรมนี

สำหรับตลาด Plant-based Food ในประเทศไทย ก็เริ่มมีเชนร้านอาหารนำเนื้อทำจากพืชมาปรุงเป็นเมนูหลัก เช่น Sizzler ในเครือไมเนอร์ หรือร้านฌานาในเครือฟู้ดแพชชั่น รวมถึงมีนำเข้าจากต่างประเทศมาวางจำหน่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งด้วย

จากข้อมูลของ NRF ผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของไทย ระบุว่า ตลาดเนื้อที่ทำจากพืชปัจจุบันมีมูลค่ารวมทั่วโลก 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีแนวโน้มเติบโตขึ้นไปเป็น 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใน 5 ปี เนื่องจากผู้บริโภคเห็นข้อดีของวัตถุดิบอาหารรูปแบบนี้มากขึ้น

ไม่ใช่เเค่ NRF รายเดียวที่กำลังเล็งตลาดนี้ เพราะบริษัทยักษ์ด้านอาหารของไทยอย่าง “เครือซีพี” และ “ไทยยูเนี่ยน” ก็กำลังมองความเป็นไปได้ในตลาด Plant-base Food เช่นกัน

อ่านต่อ : NRF ขอเป็น Foxconn แห่งตลาด Plant-based Food กางแผนขยายโรงงานทั่วโลก

 

ที่มา : Financial Times , The Guardian

]]>
1306712
KFC พักการใช้สโลแกน It’s Finger Lickin’ Good เพราะไม่เหมาะสมในช่วง COVID-19 https://positioningmag.com/1294090 Tue, 25 Aug 2020 12:49:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294090 KFC ยักษ์ใหญ่ฟาสต์ฟู้ดโลก ตัดสินใจระงับใช้สโลเเกนอันคุ้นหูเเละอยู่คู่เเบรนด์มานานกว่า 64 ปีอย่าง  “It’s Finger Lickin’ Good อร่อยจนต้องเลียนิ้วเป็นการชั่วคราว หลังรู้สึกว่าไม่เหมาะสมที่จะใช้ในช่วงเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีคำเเนะนำให้เลี่ยงการใช้มือสัมผัสกับใบหน้า

สโลแกนที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของเรา ตอนนี้ดูไม่ค่อยเข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันผู้บริหาร KFC ระบุในเเถลงการณ์

โดยในช่วงวิกฤต COVID-19 มีการรณรงค์ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงที่จะใช้มือสัมผัสกับใบหน้า และเเนะนำให้ล้างมืออย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเเพร่ระบาด ดังนั้นการเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าอร่อยจนต้องเลียนิ้วคงไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก

ทาง KFC จึงตัดสินใจระงับการใช้สโลแกน It’s Finger Lickin’ Good นี้ชั่วคราวก่อน พร้อมทำคลิปวีดีโอสั้นๆ ส่งสารไปยังผู้บริโภคให้ตระหนักถึงอันตรายของ COVID-19 โดยในคลิปได้ทำการเซ็นเซอร์ข้อความ Finger Lickin’ Good ในบรรจุภัณฑ์และป้ายโฆษณา

ส่วนคำถามที่ว่าจะสามารถนำ It’s Finger Lickin’ Good กลับมาใช้งานได้อีกครั้งเมื่อใดนั้น ยังคงต้องรอช่วงเวลาที่เหมาะสม

ทั้งนี้ แคมเปญโฆษณาดังกล่าว กำลังดำเนินการในสหราชอาณาจักร แคนาดา เนเธอร์แลนด์ ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ แอฟริกาใต้ และบางส่วนของเอเชีย เเต่ไม่ได้ถูกนำเสนอในตลาดอเมริกา

บรรดาเชนฟาสต์ฟู้ด กำลังเเข่งกันเเย่งลูกค้าให้เข้ามาทานในร้านด้วยเเคมเปญต่างๆ หลังต้องปิดสาขาไปในช่วงมาตรการล็อกดาวน์ เเละต้องหันมาเน้นให้บริการผ่านช่องทางเดลิเวอรี่ อย่างไรก็ตาม ยังต้องเจอความท้าทายเมื่อเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตต่ำและลูกค้าไม่ได้มีความภักดีต่อแบรนด์เท่าไหร่นัก ดังนั้นการหาลูกค้าให้ได้จำนวนมากจึงเป็นความได้เปรียบของธุรกิจฟาสต์ฟู้ดในยามนี้

 

ที่มา : CNN , foxbusiness

 

]]>
1294090
กรณีศึกษาธุรกิจ ‘บุฟเฟ่ต์’ อเมริกา ทำไมถึงเจ็บหนักจาก COVID-19 กว่าใครในธุรกิจร้านอาหาร https://positioningmag.com/1277561 Fri, 08 May 2020 12:06:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277561 วงการบุฟเฟ่ต์ของอเมริกาไม่สู้ดีมาตั้งแต่ปี 1998 จนถึงปี 2017 โดยตลอดระยะเวลาดังกล่าว จำนวนร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ลดลง 26% ขณะที่จำนวนร้านอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้น 22% จากข้อมูลของ The NPD Group บริษัทวิจัยการตลาดพบว่า ‘Ovation Brands’ บริษัทแม่ของ ‘Old Country Buffet’ ได้ยื่นล้มละลายถึง 3 ครั้งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ บริษัท ‘Metromedia Steakhouse’ ได้ล้มละลายในปี 2551 และได้ขายแบรนด์บุฟเฟ่ต์ให้กับแบรนด์ FAT ในปี 2560

เหตุใดบุฟเฟ่ต์ถึงประสบแต่ปัญหาในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เราไปหาคำตอบกัน

วัฒนธรรม Fast Food ที่ฝังลึก

John Gordon นักวิเคราะห์ร้านอาหารซึ่งทำงานในอุตสาหกรรมร้านอาหารมา 50 ปี ระบุว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้เห็นผู้ประกอบการบุฟเฟ่ต์จำนวนมากปิดตัวลง ซึ่งมีปัจจัยที่เป็นไปได้หลายประการ โดยหนึ่งในนั้นคือ ในช่วงเปลี่ยนสหัสวรรษ ชาวอเมริกันเริ่มเปลี่ยนจากปริมาณและคุณภาพ ไปสู่อาหาร “Super Size Me” และ “Fast Food Nation” บังคับให้คนอเมริกันต้องเผชิญหน้ากับนิสัยการกินอาหารฟาสต์ฟู้ด แต่ในยุค 2000 คนเริ่มตระหนักถึงโภชนาการมากขึ้น แต่เชนอาหารฟาสต์ฟู้ดเองก็พยายามที่จะกลับสู่สมัยนิยมอีกครั้ง ซึ่งถือว่าได้ดี ขณะที่ร้านบุฟเฟ่ต์ดูเหมือนจะยังไม่สามารถเข้าไปในหัวใจนักทานชาวอเมริกันได้ โดยเฉพาะนักทานที่อายุน้อย

(photo: Facebook@burgerfuel)

ไม่เหมาะสั่งออนไลน์

หนึ่งในทางออกของร้านอาหารที่ต้องปิดตัวลงจาก COVID-19 ก็คือ บริการสั่งออนไลน์ ซึ่งฉีกรูปแบบของบุฟเฟ่ต์อย่างสิ้นเชิง โดย John Gordon กล่าวว่า ในช่วงการระบาดใหญ่เช่นกัน ร้านอาหารในบรรยากาศสบาย ๆ หรือบุฟเฟ่ต์สูญเสียรายได้ถึง 60-90% ขณะที่ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดสูญเสียรายได้เฉลี่ยเพียง 35% และในอุตสาหกรรมร้านอาหารมีแนวโน้มที่จะเห็นการเพิ่มขึ้นของบริการสั่งออนไลน์อย่างถาวร ขณะที่ร้านบุฟเฟ่ต์เองไม่เหมาะกับการสั่งออนไลน์แต่แรกเหมือนกับอาหารฟาสต์ฟู้ด

รู้สึกไม่ปลอดภัย

ปัจจัยอีกประการหนึ่งอาจเกิดจากเหตุการณ์พิษอาหารจำนวนมากที่เกิดขึ้นจากอาหารบุฟเฟ่ต์ โดยก่อนที่จะมีการระบาดของ COVID-19 ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ได้พยายามที่จะเปลี่ยนโฉมและโน้มน้าวใจประชาชนว่า พวกเขาทันสมัย สะดวกรวดเร็วและที่สำคัญที่สุด คือ ปลอดภัย แต่ตอนนี้ COVID-19 ทำให้ร้านทั้งหลายหมดโอกาสที่จะทำ เนื่องจากต้องปิดร้าน

และแม้ว่าในวันที่มาตรการล็อกดาวน์ถูกผ่อนปรนลง แต่ผู้บริโภคอาจยังมองว่าร้านอาหารบุฟเฟ่ต์เป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากพวกเขาพึ่งพาเครื่องมือให้บริการที่ใช้ร่วมกันและสถานีบริการอาหารบุฟเฟ่ต์มีจุดสัมผัสสูงกว่าร้านอาหารทั่วไป แม้ว่าจะมีการใช้มาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด แต่ก็อาจจะยังรู้สึกไม่ปลอดภัยอยู่ดี

ความไว้วางใจเป็นกุญแจสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีนวัตกรรมที่สร้างความมั่นใจให้กับเจ้าของร้านบุฟเฟ่ต์ แต่เหนือสิ่งอื่นใด การได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าถือเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูธุรกิจหลังจากนี้ ดังนั้น แทนที่จะเป็นพื้นที่ให้บริการแบบเปิดร้านอาจจะมีอุปกรณ์เสริมเข้ามา อาทิ ฉากกั้นใส ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้มั่นใจว่าลูกค้าจะมีโอกาสสัมผัสต่อวัสดุต่าง ๆ น้อยลงรวมถึงรู้สึกว่ามีมาตรการ social distancing และอาจจะหารูปแบบใหม่ ๆ ในการทำการตลาดออนไลน์

ภาพจากร้าน ‘เพนกวิน อีท ชาบู’

หากไม่นับเรื่องวัฒนธรรมการทานอาหารฟาสต์ฟู้ด ข้อกังวลทั้งเรื่องความปลอดภัยและการสั่งออนไลน์ ก็ถือเป็น 2 เรื่องที่เป็นอุปสรรคของร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ของไทย แต่ต้องยอมรับว่าแบรนด์ร้านอาหารของไทยปรับตัวเก่งมาก ดังนั้นจะเห็นว่ามีร้านอาหารที่ออกแพ็กเกจพิเศษ อาทิ กลยุทธ์ “ฟรีหม้อ” ของธุรกิจร้านปิ้งย่าง-ชาบู หรือเริ่มมีการปรับร้านให้เป็นแบบนั่งทานแบบจำกัดคนเพื่อรักษาระยะห่าง รวมถึงการใช้กระจกกั้นก็มี เรียกได้ว่า ร้านอาหารไทย ปรับตัวเก่งซะยิ่งกว่าชาติใดในโลก

อ่าน >>> กลยุทธ์ “ฟรีหม้อ” ยอมเจ็บเเต่ขอมีรายได้ การตลาดสู้ COVID-19 ของธุรกิจร้านปิ้งย่าง-ชาบู

Source

]]>
1277561
ไทม์ไลน์การรีเฟรชแบรนด์ของเคเอฟซี https://positioningmag.com/1096872 Fri, 08 Jul 2016 11:45:32 +0000 http://positioningmag.com/?p=1096872 1096872 “เคเอฟซี” รีเฟรชแบรนด์ สร้างแบรนด์ในรอบ 32 ปี https://positioningmag.com/1096869 Fri, 08 Jul 2016 09:45:34 +0000 http://positioningmag.com/?p=1096869 1096869 “เคเอฟซี” รีเฟรชแบรนด์ สร้างแบรนด์ในรอบ 32 ปี https://positioningmag.com/1096821 Fri, 08 Jul 2016 04:39:19 +0000 http://positioningmag.com/?p=1096821 แม้ว่าจะทำตลาดในประเทศไทยมากว่า 32 ปีแล้ว แต่เคเอฟซียังไม่เคยลุกขึ้นมาสร้างแบรนด์อย่างจริงจังเสียที ที่ผ่านมากลยุทธ์หลักก็คือการเร่งขยายสาขา และการทำโปรโมชั่นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค แต่ด้วยความที่เป็นแบรนด์ที่อยู่ในประเทศไทยมานาน ทำให้เคเอฟซีต้องปรับกลยุทธ์เพื่อให้แบรนด์ดูทันสมัยอยู่เสมอ

จึงเป็นที่มาของการสร้างแบรนด์อย่างจริงจังครั้งแรกในรอบ 32 ปี ในแคมเปญ Always Original ในแนวคิด เป็นตัวจริง… เป็นสิ่งที่ดีที่สุด นอกจากจะสื่อถึงความเป็นไก่ทอดต้นตำรับของผู้พันแซนเดอร์สแล้ว ยังสื่อถึงความเป็นตัวของตัวเองในแต่ละคนด้วย ซึ่งแคมเปญนี้เน้นเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ กลุ่มคนเจนวายเป็นหลัก

ก่อนหน้านี้เคเอฟซีได้เริ่มกระบวนการรีเฟรชแบรนด์มาตั้งแต่ช่วงปีที่แล้ว จากการที่รีโนเวตร้านในคอนเซ็ปต์ใหม่ ประดิมที่สาขาฟิวเจอร์พาร์ค ที่มีบริการน้ำดื่มรีฟิล และฟรีไวไฟ รวมทั้งมีการเปลี่ยนชุดยูนิฟอร์มใหม่ โดยให้แบรนด์ DA+PP เป็นผู้ออกแบบให้ เพื่อให้ทันสมัยขึ้น และพนักงานรู้สึกอยากใส่มากขึ้น

สาเหตุที่เคเอฟซีหันมาโฟกัสกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้นเพราะด้วยยุคดิจิทัลที่มีบทบาทมาก และคนกลุ่มนี้ก็มีอิทธิพลอย่างมาบนโลกออนไลน์ ปัจจุบันบันเคเอฟซีมีลูกค้าในกลุ่มคนรุ่นใหม่อยู่ราว 30-40% ส่วนใหญ่ฐานลูกค้ายังเป็นกลุม่ครอบคัรวอยู่

แคมเปญนี้จึงทำการสื่อสารด้วยมิวสิก และศิลปะป๊อปอาร์ต เพราะกลุ่มคนรุ่นใหม่มีการเสพดนตรี และศิลปะเป็นไลฟ์สไตล์ ได้นำกลุ่มศิลปินวาดภาพประกอบ ได้แก่ จักรกฤษณ์ อนันตกุล, TUNA Dunn, ClubPopp, Benz Tanawat และ Jayoto มาสร้างผลงานศิลปะ แล้วเผยแพร่บนเฟซบุ๊กแฟนเพจของเคเอฟซี พร้อมทั้งทำเพลง “ตัวปลอม” โดยได้ศิลปินลุลา และวงโปเตโต้มาเป็นผู้ร้อง

อัลฮูล ซัวฮาล รองประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการตลาด เคเอฟซี บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าเราอยู่ในประเทศไทยมา 32 ปี แล้ว แต่ไม่เคยทำแบรนด์อย่างจริงจังเสียที ตอนนี้เราก็มีโปรดักส์ที่แข็งแกร่งมากแล้ว ทำให้ต้องสร้างแบรนด์เพื่อให้อยู่ในใจผู้บริโภคตลอดไปให้ได้ รวมทั้งมีการเปลี่ยน Tagline ของแบรนด์ใหม่ จากเดิมที่ใช้ว่า So good เปลี่ยนเป็น It finger licking good หรืออร่อยจนต้องดูดนิ้ว เป็นการแสดงอีโมชันนอลได้ดีมากขึ้น

อัลฮูลยังฉายภาพรวมของการแข่งันในตลาดปัจจุบันว่า ตอนนี้ยังคงแข่งขันกันที่ราคาอยู่ ต้องมีความคุ้มค่า และมีเมนูที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค ทำให้เคเอฟซีต้องมีเมนูใหม่ๆ ออกมาเสมอ เฉลี่ยเดือนละ 2 เมนู อย่างเมนูชิคซ่าก็เป็นอีกเมนูที่ได้รับความนิยมบนโลกออนไลน์

ปัจจุบันเคเอฟซีมีสาขาทั้งหมด 560 สาขา แบ่งเป็นสาขาไดรฟ์ทรู 40 สาขา โดยที่ปีที่แล้วได้ทำการเปิดสาขาไป 20 สาขา ในปีนี้ก็ตั้งเป้าขยายเพิ่มเป็นอีกเท่าตัวหนึ่ง

1_kfc 2_kfc

]]>
1096821
เคเอฟซี ขนทัพ “ไก่กรอบ ชิลลี่ชีส” กลับมาอีกครั้งตามคำเรียกร้อง https://positioningmag.com/1095160 Tue, 21 Jun 2016 08:36:47 +0000 http://positioningmag.com/?p=1095160 เคเอฟซี ประเทศไทย ผู้นำธุรกิจร้านอาหารบริการด่วนที่พัฒนานวัตกรรมด้านอาหารและตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เอาใจแฟนไก่ทอดและคนรักชีสด้วยการนำเมนู “เคเอฟซี ไก่กรอบ ชิลลี่ชีส” กลับสู่ตลาดอีกครั้งตามคำเรียกร้อง เพื่อให้ผู้บริโภคได้อิ่มอร่อยกับเมนูไก่ทอดยอดนิยมที่ปรุงสดทุกชิ้นตามสูตรต้นตำรับของเคเอฟซี หอมเข้มข้นด้วยพริกเผา คลุกเคล้าอย่างลงตัวกับเชดด้าร์ชีส ให้รสชาติที่จัดจ้านและเข้มข้นยิ่งขึ้น ราคาเพียงชิ้นละ 37 บาท หรือบัคเก็ตสุดคุ้มราคาพิเศษเพียง 259 บาท จากราคาปกติ 313 บาท ประกอบด้วยไก่กรอบชิลลี่ชีส 3 ชิ้น ไก่กรอบฮอตแอนด์สไปซี่ 2 ชิ้น และไก่วิงซ์แซ่บ 8 ชิ้น มีจำหน่ายวันนี้ถึง 31 กรกฎาคมนี้เท่านั้น ที่ร้านเคเอฟซีทั่วประเทศ

 

]]>
1095160
ไมเนอร์ส่ง เบอร์เกอร์คิง ชิงตลาด ปี 2559 https://positioningmag.com/1093462 Thu, 02 Jun 2016 00:45:28 +0000 http://positioningmag.com/?p=1093462 1093462 เทียบฟอร์ม “ศึกไก่ทอด” ทั้ง 6 แบรนด์ https://positioningmag.com/1092838 Thu, 26 May 2016 03:45:10 +0000 http://positioningmag.com/?p=1092838 1092838 บิ๊กเกม บิ๊กไซส์ ศึกชิงตลาดไก่ทอด 1.7 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1092764 Thu, 26 May 2016 00:30:24 +0000 http://positioningmag.com/?p=1092764 ตลาดไก่ทอด “บิ๊กไซส์” สุดคึก เมื่อแมคโดนัลด์ ส่ง “แมคไก่ทอดจัมโบ้” ลงสนามหวังทวงคืนตลาดอีกครั้ง หลังเจอคู่แข่งแบรนด์ดังใช้ขนาดเป็นจุดขาย ด้านฮ็อทสตาร์-บอนซอน-เคเอฟซี ตะลุยปั้นเมนูใหม่ เน้นความหลากหลายและความคุ้มค่า รับศึกใหญ่ไก่ทอดปี 2559 

ตลาดไก่ทอด ถือว่าเป็นเซ็กเมนต์ใหญ่ที่สุดในตลาดร้านอาหารจานด่วน (QSR – Quick Service Restaurants) หรือ ธุรกิจฟาสต์ฟูด ด้วยส่วนแบ่งตลาดที่มากถึง 40% หรือกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท จากมูลค่าตลาดของอาหารจานด่วนมูลค่า 3.4 หมื่นล้านบาทในปีที่ผ่านมา

ในปีนี้ ตลาดไก่ทอดยังถูกคาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 13% ถือว่าเติบโตสูงสุดในธุรกิจฟาสต์ฟูด ในขณะที่เบอร์เกอร์และพิซซ่าเติบโตในอัตรา 5-9%

ด้วยตลาดที่มีขนาดใหญ่ และสดใส จึงมีผู้ประกอบการหน้าใหม่เข้ามาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง จากเดิมทีตลาด “ไก่ทอด” จะอยู่ในมือของผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟูด ก็คือ เคเอฟซี ถือว่าเป็นผู้นำในตลาดไก่ทอด เกิน 50%  ตามมาด้วย แมคโดนัลด์ ที่แม้จะแข็งแกร่งในเมนูเบอร์เกอร์มากกว่า แต่ก็ไม่ได้ทอดทิ้งไก่ทอด

โดยเฉพาะเมื่อมีแบรนด์น้องใหม่เข้ามาทำตลาดในไทย ไม่ว่าจะเป็น “บอนชอน และเคียวโซน” จากเกาหลี  “ฮ็อทสตาร์” จากไต้หวัน  โดยมีจุดขายที่ “ไซส์ใหญ่” สร้างทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่ชอบทดลองของใหม่ ส่งผลกระทบต่อผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดได้ไม่น้อย

ทั้งรายเก่าและรายใหม่ ต่างก็ต้องแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด และสร้างการเติบโตให้ได้มากที่สุด กลยุทธ์ที่ถูกหยิบมาใช้จึงมีสารพัดรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปในเรื่องของความคุ้มค่าของสินค้า และความหลากหลายของเมนูอาหาร นอกเหนือจากรสชาติที่ถือเป็นพื้นฐานของการทำธุรกิจอาหาร

++แม็คออกไซส์จับโบ้-หั่นราคาสู้

แมคโดนัลด์ ต้องกระโจนลงมาเปิดศึกชิงตลาดไก่ทอด ภายใต้กลยุทธ์ความคุ้มค่าของราคาและความหลากหลายของเมนู ด้วยการเปิดเมนูใหม่ “แมคไก่ทอดจัมโบ้” ที่หวังสร้างการเติบโตในภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัวเป็นปกติ

1_chicken

โดยตั้งแต่ราคาเริ่มต้นชิ้นละ 37 บาท จากปกติ 40 บาท และยังปรับขนาดไก่ที่ใหญ่กว่าเดิมถึง 40% เพื่อให้ผู้บริโภคควักกระเป๋าได้ง่ายขึ้น พร้อมกับเพิ่มเมนูชุดไก่ทอดให้หลากหลาย เช่น ชุดจัมโบ้ดี๊ดี ราคา 69–99 บาท ชุดจัมโบ้สุดคุ้ม ราคา 129–149 บาท ชุดจัมโบ้เต็มอิ่ม ราคา 199 บาท ชุดจัมโบ้จัดหนัก ราคา 259 บาท และชุดจัมโบ้ใหญ่ใหญ่ ราคา 369 บาท

แมคโดนัลด์ทุ่มงบประมาณทางการตลาด 50 ล้านบาท พร้อมกับการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ การสื่อสารแคมเปญผ่านทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ไปถึงผู้บริโภค ซึ่งคาดหวังว่าแคมเปญนี้จะเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ผลักดันให้ยอดขายของบริษัทในปีนี้เติบโตด้วยอัตราเลขสองหลัก

เพชรัตน์ อุทัยสาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายการตลาด บริษัท แมคไทย จำกัด กล่าวว่า ตลาดไก่ทอดในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีมานี้ เนื่องจากมีผู้เล่นใหม่ๆ เข้ามา ประกอบกับคนไทยมีการบริโภคเนื้อไก่มากถึง 19.7 กิโลกรัม/ปี จากการบริโภคเนื้อสัตว์ทั้งหมดเฉลี่ย 30 กิโลกรัม/คน/ปี ซึ่งถือว่าสูงกว่าการบริโภคเนื้อสัตว์อื่นๆ ทำให้โอกาสของตลาดไก่ทอดยังมีอีกสูง

เธอมองว่าการเข้ามาของแบรนด์ไก่ทอดจากต่างประเทศ เป็นเพียงแฟชั่นเพื่อสร้างกระแสมากกว่า ไม่ได้อยู่ถาวร แต่ก็ยอมรับว่าเรียกความสนใจของผู้บริโภคไปได้พอสมควร แมคโดนัลด์จึงต้องออกเมนูนี้เพื่อตีตลาดอีกครั้ง ต้องการให้เป็นทางเลือกว่านึกถึงไก่ทอด ให้นึกถึงแมคโดนัลด์ ดึงผู้บริโภคให้กลับมาหาแมคโดนัลด์

ปัจจุบันเมนูที่สร้างรายได้มากที่สุดเป็น 3 อันดับแรกยังคงเป็น แมคฟิช, นักเก็ต และเมนูข้าว แมคโดนัลด์ต้องการที่จะให้เมนูไก่ทอดขึ้นสู่ 3 อันดับแรก เพราะอัตราการบริโภคไก่ของคนไทยสูง มีโอกาสอีกมากมาย

ส่วนแผนในการขยายสาขาในปีนี้ แมคโดนัลด์ขยายสาขาเพิ่มอีก 25 สาขา แบ่งเป็นโมเดลไดร์ฟทรู 50% ล่าสุดมีสาขารวมทั้งหมด 226 สาขา และเป็นโมเดลไดร์ฟทรู 73 สาขา

2_chicken

“ฮ็อทสตาร์” ไก่ทอดน้องใหม่ สร้างกระแสไก่อะไรใหญ่เท่าหน้า

นับเป็นเวลา 1 ปี พอดีที่บริษัทฟู้ดแพชชั่น บริษัทลูกของบาร์บีคิวพลาซ่า นำแบรนด์ฮ็อทสตาร์ จากไต้หวันเข้ามาทำตลาดในไทย

ด้วยการวางจุดยืนเป็นอาหารทานเล่นโดยอาศัยกลิ่นอายของประเทศไต้หวันมาเป็นจุดขาย ซึ่งได้ใช้เมนู “ไก่ทอด XXL” เป็นตัวชูโรงในการแจ้งเกิดในตลาด ถือว่าได้ผลพอสมควร เพราะสามารถทำให้เกิดกระแสในการรับรู้ต่อแบรนด์ และมีการต่อแถวซื้อหน้าร้าน ทำให้มีอยู่ช่วงหนึ่งมีกระแส “ไก่อะไรใหญ่เท่าหน้า” ทั่วโลกโซเชียลเลยทีเดียว

การมาของฮ็อทสตาร์กับไก่ไซส์ใหญ่ ก็ยิ่งเป็นตัวสร้างแรงกระเพื่อมให้ตลาดไก่ทอดคึกคักเข้าไปอีก ถึงแม้ว่าฮ็อทสตาร์จะไม่ลงไปเล่นตลาดไก่ทอดโดยตรงก็ตาม แต่ก็มีส่วนทำให้ตลาดคึกคัก และมีสีสันมากขึ้นในทางอ้อม

ชนินทร์ ชูพจน์เจริญ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แบรนด์ HOT-STAR บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด กล่าวว่า ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ฮ็อทสตาร์ ได้รับกระแสตอบรับที่เหนือความคาดหมาย ตอนแรกที่นำแบรนด์นี้เข้ามาก็มองเห็นโอกาสของแบรนด์ว่าประเทศไต้หวันมีความน่าสนใจในเรื่องอาหารอยู่มาก เพราะมีสตรีทฟูดคล้ายๆ ประเทศไทย ทำให้หลังจากนั้นกลายเป็นเทรนด์ของไต้หวันบูมขึ้นมา ทั้งเรื่องอาหาร และการท่องเที่ยว ถือว่าฮ็อทสตาร์ก็เป็นผู้นำเทรนด์ไปเลย

การวาง “โพสิชันนิ่ง” ก็มีส่วนสำคัญ โดยฮ็อทสตาร์ถูกวางจุดยืนให้อยู่ในตลาด “สแน็ก” หรืออาหารทานเล่น ซึ่งมีขนาดกว้างกว่า และยังมีช่องว่างอยู่มาก สอดคล้องพฤติกรรมคนไทยที่ชื่นชอบทานไก่ทอด หรืออาหารทานเล่น ทานง่ายและสะดวก และที่สำคัญแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด ที่เน้นเป็นอาหารมือหลัก โดยใช้ขนาดความใหญ่ของไก่เป็นจุดขาย

รายการอาหารส่วนใหญ่จะเป็น Fun Snack กว่า 20 รายการ เป็นของทานเล่น โดยเมนูซิกเนเจอร์ก็คือไก่ทอดไซส์ XXL ที่เป็นกระแส และมีสัดส่วนรายได้ 50% แต่ก็จะมีเมนูโลคอลผสมไปด้วยเพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมคนไทย อย่างไก่พอดีคำ, ปลาหมึกสดพริกเกลือ และหมูสับทอด

เมื่อวางถูกให้เป็น “อาหารทานเล่น” จึงมุ่งเน้นออกอีเวนต์ ที่นิยมในหมู่วัยรุ่น เช่น คอนเสิร์ตมันใหญ่มาก เพื่อสร้างให้เกิดกระแสการแชร์ ผ่านโลกออนไลน์

ปัจจุบันฮ็อทสตาร์มีทั้งหมด 6 สาขา ในปีนี้มีแผนเปิดอีก 5-10 สาขา ใช้งบลงทุนสาขาละ 2 ล้านบาท ขนาดพื้นที่ไม่ใหญ่มาก เน้นลักษณะคีออส มุ่งทำเลในห้างสรรพสินค้า และงานอีเวนต์ คอนเสิร์ตต่างๆ รวมถึงกำลังศึกษาการขายแฟรนไชส์

“ความท้าทายในตอนนี้ก็คือ การสร้างประสบการณ์ความเป็นสแน็กแบบไต้หวันให้เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคให้ได้ และต้องมีกิจกรรม มีอีเวนต์ที่เข้าถึงผู้บริโภคตลอด และต้องออกเมนูใหม่เพื่อสร้างความตื่นเต้นตลอดด้วย”

++บอนชอนสานต่อกิจกรรมกินไก่ ปี2

ขณะที่แบรนด์บอนชอน ชิคเก้น จากประเทศเกาหลี ที่บริหารงานโดยบริษัท มาชิสโสะ จำกัด ถือเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่เข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดฟาสต์ฟูด โดยขยายสาขาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เฉพาะในปี 2559 เตรียมขยายสาขา 8-9 แห่ง ใช้งบประมาณการลงทุนเฉลี่ยสาขาละ 7 ล้านบาท เพื่อไปสู่เป้าหมายยอดขาย 800 ล้านบาท

2_chickennew

กลยุทธ์สำคัญที่ถูกหยิบมาใช้ คือ การเพิ่มเมนูและความหลากหลายของอาหารให้มากขึ้น โดยเตรียมเมนูใหม่อีก 3-4 เมนู ที่จะเปิดตัวในช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ จากปัจจุบันที่มีอยู่ 20 เมนู และยังมีกลยุทธ์สำคัญที่เน้นสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าได้เกิดการทดลองบริโภค กับแคมเปญการแข่งขันกินไก่ BonChon Chick Challenge : ศึกชิงแชมป์กินไก่แห่งประเทศไทยปี 2 เพื่อเฟ้นหาลูกค้าที่สามารถกินไก่ทอดได้เร็วและมากที่สุดในประเทศไทย ที่จะคว้าเงินรางวัลมูลค่า 1 แสนบาท และสิทธิ์ในการกินไก่ฟรีตลอดปี

แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นเพียงแคมเปญการตลาดที่ออกมากระตุ้นและสร้างสีสัน แต่จะเห็นว่ากิจกรรมนี้สามารถขยายฐานผู้บริโภครายใหม่ให้เกิดการทดลองกินสินค้า

++เท็กซัส ชิคเก้นเพิ่มเมนูเฉพาะในไทยเอาใจลูกค้า

ด้านร้านไก่ทอดแบรนด์เท็กซัส ชิคเก้น ที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รับสิทธิ์มาสเตอร์แฟรนไชส์มาบริหารเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา ก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์สำคัญที่จะเข้ามาชิงส่วนแบ่งทางการตลาด และดูเหมือนจะเป็นคู่แข่งที่น่าจับตามองไม่แพ้ค่ายอื่น เพราะความได้เปรียบในเรื่องของทำเลที่ตั้ง คือสถานีบริการน้ำมัน ปตท. อยู่ทั่วประเทศ

4_chicken

แม้ว่าแนวทางเริ่มต้นในการขยายสาขา ทางปตท.จะมุ่งเน้นขยายในห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์กลางธุรกิจ มากกว่าในสถานีบริการน้ำมันก็ตาม แต่เมื่อใดก็ตามที่แบรนด์เท็กซัส ชิคเก้นเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ การปูพรมสาขาไปตามสถานีบริการน้ำมันก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร

โดยตามแผนธุรกิจภายใน 10 ปีจะมีการขยายสาขาครบ 70 แห่ง เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายยอดขาย 6 พันล้านบาท แต่เฉพาะในปีนี้มีแผนจะขยายสาขาครบ 11 แห่ง โดยใช้งบประมาณการลงทุนเฉลี่ย 15 ล้านบาทต่อสาขา

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นไก่ทอดแบรนด์น้องใหม่ในตลาด แต่ด้วยกลยุทธ์ที่สร้างความหลากหลายของเมนูอาหารจานหลัก 8 เมนู และยังเตรียมเมนูอาหารเฉพาะในไทยโดยเฉพาะอีก 3-4 เมนู ก็เป็นไม้เด็ดที่จะดึงดูดกลุ่มลูกค้าให้สนใจเข้าไปทดลอง นอกเหนือจากรสชาติอาหารที่ถือเป็นต้นตำรับจากสหรัฐอเมริกา

 +++เคเอฟซีเพิ่มเมนูข้าว

สำหรับไก่ทอดแบรนด์เคเอฟซี ของบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ถือว่าเป็นผู้นำตลาดไก่ทอดด้วยส่วนแบ่งการตลาดกว่า 50% ยังคงเดินหน้าทำการตลาดเพื่อรักษาความเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่อง

อัลฮูล ซัวฮาน รองประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการตลาด–เคเอฟซี ระบุว่า

กลยุทธ์ของเคเอฟซีในปีนี้ ก็ยังคงมุ่งเน้นการในเรื่องนวัตกรรมของเมนูที่หลากหลาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีเมนูที่ได้ออกสู่ตลาดแล้ว เช่น พิซซ่าไก่กรอบชิคซ่า (Chizza) และที่เตรียมจะวางจำหน่ายต่อไป คือ เมนูไก่ทอดรสชาติใหม่ๆ และไก่ทอดในขนาดชิ้นพอดีคำ

5_chickennew

เมื่อเร็วๆ นี้ เคเอฟซี ได้ออก ไรซ์โบว์ล  3 เมนูข้าว ไก่ซี้ดโบว์ล ไก่แซ่บโบว์ล และไก่เขียวหวานโบว์ล เมนูรสจัดจ้านสไตล์ไทยๆ เอาใจคนรุ่นใหม่ที่ชอบความสะดวก รวดเร็ว ในมื้อกลางวันที่เร่งรีบ รวมถึงการปรับปรุงเว็บไซต์ www.kfc.co.th เพื่อให้ลูกค้าเลือกสั่งอาหารได้ง่ายยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ในร้านเคเอฟซียังเพิ่มบริการไวไฟ เริ่มจากเคเอฟซี สาขาฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต และมีแผนในการเพิ่มการให้บริการดังกล่าวครอบคลุม90สาขาภายในไตรมาส3ของปีนี้อีกด้วย

++A&W วางเป้าขึ้นแท่นเบอร์ 3

6_chicken

หลังจาก A&W Restaurant Inc. ได้เซ็นสัญญาแฟรนไชส์กับบริษัท นิปปอนแพ็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ให้เป็นผู้บริหารร้านฟาสต์ฟูดเอแอนด์ดับบลิว (A&W) เป็นระยะเวลา 20 ปี ได้กลายเป็นก้าวสำคัญของร้านเอแอนด์ดับบลิวกลับเข้ามารุกธุรกิจฟาสต์ฟูดอีกครั้ง

บริษัท นิปปอนแพ็คฯ เริ่มต้นด้วยการจัดตั้งบริษัท เอ็นพีพีฟู้ด อิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด เข้ามาบริหารงาน พร้อมเตรียมเงินทุนและทีมบริหารงาน เพื่อขยายธุรกิจให้ได้อย่างน้อย 100 แห่ง ภายในระยะ 5 ปี จากก่อนหน้าที่มีสาขาอยู่ 33 แห่ง ซึ่งหวังจะมีส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากกว่า 10% และขึ้นเป็นผู้นำตลาดในอันดับที่ 3 ของกลุ่มเบอร์และไก่ทอด

กลยุทธ์สำคัญทางการตลาดในปีนี้ คือ การเพิ่มความหลากหลายของเมนูอาหาร เน้นความแปลกใหม่ แม้ว่าความโดดเด่นของเอแอนด์ดับบลิวจะเป็นวาฟเฟิลและรูทเบียร์ แต่เมนูไก่ทอดก็ถือเป็นหนึ่งตัวจักรสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ภาพรวมธุรกิจเติบโตด้วยเช่นกัน เพราะสามารถกินควบคู่กับรูทเบียร์ได้อย่างลงตัว และยังมีเมนูอื่นๆ ที่จะถูกพัฒนาออกมาทำตลาดอย่างต่อเนื่องด้วย

c1

++ชี้ลูกค้ายุคนี้ เบื่อเร็ว ต้องเพิ่มเมนูให้หลากหลาย

ผศ.เสริมยศ ธรรมรักษ์ หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารแบรนด์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ให้ความเห็นว่า “ตลาดไก่ทอดยังคงมีสีสันอยู่ และการแมคโดนัลด์ที่เป็นรายใหญ่ลงมาทำไซส์ใหญ่บ้างก็เป็นกิมมิกทางการตลาด ซึ่งแต่ละแบรนด์ก็มีกลยุทธ์แตกต่างกันออกไป แมคโดนัลด์ได้เลือกใช้คำว่าจัมโบ้ เป็นการมองเรื่องความคุ้มค่าเป็นหลัก เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ของแมคโดนัลด์เป็นกลุ่มแมสที่มองความคุ้มค่าของราคาเป็นหลัก

แมคโดนัลด์เองก็ไม่ได้พูดเรื่องไก่ทอดมานานแล้วเหมือนกัน การเอามาปรับโฉมใหม่จำเป็นต้องมีอะไรที่แตกต่าง สร้างความน่าสนใจ จึงเล่นเรื่องขนาดและราคา เพราะด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคยุคนี้เบื่อเร็ว ต้องหาอะไรใหม่ๆ เข้ามา การกินเบอร์เกอร์อย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอแล้ว ร้านอาหารต้องมีการปรับเมนูให้ครบถ้วน มีวาไรตี้

การปรับเมนูต่างๆ ก็ช่วยในเรื่องภาพลักษณ์ของร้านอาหารฟ้าสต์ฟูดด้วย อาจจะทำให้ผู้บริโภคไม่ได้มองแบรนด์ว่าเป็นฟาสต์ฟูดเกินไป มีอาหารที่หลากหลาย ตรงกับจริตคนไทยด้วยที่ชอบลองของใหม่

]]>
1092764