FinTech – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 11 Jul 2023 03:25:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “กสิกรไทย” จัดหลักสูตรติวเข้มสตาร์ทอัพไทย ผ่านโครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2023 อัดแน่นด้วยองค์ความรู้จาก Silicon Valley พร้อมเครื่องมือต่อยอดธุรกิจ https://positioningmag.com/1437143 Tue, 11 Jul 2023 10:00:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437143

ในประเทศไทยเราได้เห็นเทรนด์ของ “สตาร์ทอัพ” มาหลายปีแล้ว ซึ่งวงการสตาร์ทอัพในไทยก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มี Ecosystem ที่แข็งแกร่งมากขึ้น ทั้งในแง่ของผู้ประกอบการ ศูนย์บ่มเพาะ และนักลงทุน แต่การที่เหล่าบรรดาสตาร์ทอัพจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งนั้น จำเป็นต้องมีผู้สนับสนุนที่คอยชี้แนะแนวทาง เราจึงได้เห็นองค์กรใหญ่ๆ มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับวงการสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่อง

“ธนาคารกสิกรไทย” เป็นอีกหนึ่งองค์กรใหญ่ที่ส่งเสริมและผลักดันวงการสตาร์ทอัพไทยต่อเนื่องอย่างครบวงจร ทั้งด้านเงินทุน ความเชี่ยวชาญ เครือข่ายธุรกิจ พันธมิตร รวมทั้งการให้องค์ความรู้ผ่านโครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2023 หลักสูตรพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจเพื่อสตาร์ทอัพที่ธนาคารกสิกรไทยร่วมพัฒนาขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา


เดินหน้า 4 ปีต่อเนื่อง ปั้นตัวตึงวงการสตาร์ทอัพ

สำหรับโครงการในปีนี้ ซึ่งทีจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จะเป็นหลักสูตรเข้มข้น ภายใต้แนวคิด “Unleash Your Entrepreneurial Spirit for Sustainable Success” ระยะเวลา 9 สัปดาห์ที่จะทำให้สตาร์ทอัพพัฒนาธุรกิจและเติบโตอย่างยั่งยืน อัดแน่นด้วยองค์ความรู้การทำสตาร์ทอัพ ในแง่มุมต่างๆ ตั้งแต่เรื่องทีมงาน การวางรากฐาน ไปจนถึงปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้ธุรกิจเติบโต ทั้งเทคโนโลยีที่กำลังมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning (ML) รวมทั้งแนวคิดการจัดการธุรกิจที่คำนึงถึง ESG สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้จริง พร้อมคว้าโอกาสใหม่ในเทรนด์ธุรกิจแห่งอนาคต

นอกจากนี้ สตาร์ทอัพที่เข้ารับการอบรมยังได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมถึงโอกาสนำเสนอโครงการเพื่อชิงเงินรางวัลพร้อมรับการสนับสนุนเครื่องมือในการทำธุรกิจ รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาทอีกด้วย เรียกว่าได้ทั้งองค์ความรู้ และเครื่องมือในการติดปีกธุรกิจไปพร้อมๆ กัน

โดยใน 3 ปีที่ผ่านมามีสตาร์ทอัพไทยเรียนจบหลักสูตรทั้งสิ้นกว่า 100 ทีม และมีหลายทีมที่นำองค์ความรู้ที่ได้ในโครงการไปต่อยอดกับธุรกิจจนประสบความสำเร็จ สำหรับปีนี้ ธนาคารจะมุ่งเน้นส่งเสริมเทคสตาร์ทอัพที่มีผลิตภัณฑ์หรือต้นแบบ (Prototype) ที่พร้อมแล้ว ในกลุ่มอุตสาหกรรมการเงิน (FinTech) สิ่งแวดล้อม (ESG และ Green Technology) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligenceและ Machine Learning) เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (HealthTech) และโซลูชั่นสำหรับองค์กร (Enterprise Solution) ตอกย้ำเจตนารมณ์ของธนาคารในการพัฒนาสตาร์ทอัพไทยให้แข็งแกร่งเพื่อร่วมเป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างความยั่งยืน

ทั้งนี้มี 2 บริษัทได้มาถ่ายทอดประสบการณ์ที่เคยเข้าร่วมโครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2022 ได้แก่ โปรเจค อีวี (Project EV) และ PetPaw


ทำ Customer Validation หาลูกค้าตัวจริง ปรับแผนธุรกิจให้เป็นไปได้สูง

โปรเจค อีวี (Project EV) เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นแบบครบวงจรเพื่อดัดแปลงรถยนต์สันดาปภายใน (ICE) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ รวมทั้งมีบริการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ศูนย์กระจายสินค้า หรือใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าของพันธมิตรทั่วประเทศ พร้อมทั้งมีศูนย์บริการซ่อมบำรุงรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงตลอดระยะเวลาการใช้งานการใช้รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงสามารถช่วยลดต้นทุนเชื้อเพลิงและลดภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ให้กับบริษัทขนส่งโลจิสติกส์ได้เป็นอย่างมาก

ปัจจุบัน โปรเจค อีวี ให้บริการดัดแปลงรถกระบะไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ เหมาะสำหรับบริษัทขนส่งโลจิสติกส์ที่มีศูนย์กระจายสินค้าระยะการขนส่งไม่เกิน 250 กิโลเมตรต่อวัน สามารถคืนทุนภายในระยะเวลา 2 ปีครึ่ง ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ประมาณ 30.8 ตันต่อคันต่อปี ในรถกระบะที่วิ่งประมาณ 90,000 กิโลเมตรต่อปี ขณะนี้อยู่ในระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพและสมรรถนะการใช้งานจริงร่วมกับบริษัทขนส่งโลจิสติกส์

ปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้ก่อตั้ง โปรเจค อีวี ได้เล่าว่า “รู้จักโครงการ KATALYST จากการประชาสัมพันธ์ของทีมงาน Beacon VC และจากคำแนะนำของสตาร์ทอัพ ที่เข้าร่วมโครงการปีก่อน จึงสนใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งจุดเด่นและประโยชน์สำคัญที่ได้รับจากโครงการนี้ คือเนื้อหาหลักสูตรที่มีความกระชับ แนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างเป็นขั้นตอน รวมทั้งมีการบ้านให้ลงมือทำ Customer Validation หาลูกค้าตัวจริง ทำให้การปรับปรุงแผนธุรกิจมีความเป็นไปได้สูงขึ้น และที่สำคัญคือ คำแนะนำจาก Mentorทำให้เข้าใจและมีมุมมองทางธุรกิจกว้างขึ้น ตลอดจนการวางแผนการตลาด และการเงินซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการ Scale Business และระดมทุน”

ปริวรรต ยังเสริมอีกว่า โครงการมีประโยชน์มากสำหรับ Early Stage Startup ที่มีไอเดียใหม่ๆ หรือสตาร์ทอัพที่เริ่มต้นธุรกิจมาบ้างแล้วและต้องการปรับหรือ Pivot Business ให้มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจมากขึ้น ส่งเสริมให้เกิดการประเมินมูลค่าธุรกิจ (Business Valuation) บนฐานของ Business Traction และรายได้อย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถเข้าสู่การระดมทุนได้ดีขึ้น


จุดประกายสร้าง Prototype Ecosystem ช่วยต่อยอดธุรกิจ

สำหรับ PetPaw เป็นบริษัท Startup ที่มีจุดมุ่งหมายในการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้าง Eco-System ให้กับอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยง และ ผู้ที่รักสัตว์ โดยปัจจุบันทาง PetPaw เองมี 3 ช่องทางหลักๆ ในการเชื่อมโยง Eco-System เข้าด้วยกัน

PetPaw Application – Application ที่รวบรวม Feature ต่างๆ ที่คนรักสัตว์สามารถเข้ามาใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยง / การหาข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงแต่ละสายพันธุ์ / การพูดคุยปรึกษากับสัตว์แพทย์ผ่านช่องทาง Online รวมถึงการหาซื้อ ศึกษาเปรียบเทียบประกันสำหรับสัตว์เลี้ยง

PetPaw O2O Commerce – ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงผ่านทาง Online และ Offline โดยปัจจุบันช่องทาง Online อยู่ระหว่างการเพิ่มรายการสินค้าให้มีมากกว่า 10,000 รายการ และในส่วนของช่องทาง Offline ทาง PetPaw ได้ทำการเปิดหน้าขายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงเรียบร้อยแล้ว 2 สาขา คือที่ สาขา ปตท.พระราม4 กล้วยน้ำไท และ สาขาเทพารักษ์ และ ยังมีแผนการขยายสาขาเพิ่มเติมทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และ ต่างจังหวัด เพิ่มอีก 10-15 สาขา ภายในปี 2566

PetPawVet Service – Software บริหารจัดการธุรกิจโรงพยาบาลสัตว์ครบวงจร ทั้งการทำนัดผ่านระบบ เชื่อมต่อไปยัง Application PetPaw / การสั่งจ่ายยาผ่านระบบ Online จัดส่งไปยังลูกค้า / ระบบจัดซื้อสินค้าเครื่องมือแพทย์ ปัจจุบันมีโรงพยาบาลสัตว์เข้าใช้งานมากกว่า 1,400 โรงพยาบาลทั่วประเทศ

แรกเริ่ม PetPaw ได้เขียนแผนธุรกิจ และ เริ่มเข้าร่วมงานการแข่งขัน Pitching ตามงานต่างๆ รวมถึงได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสตาร์ทอัพของหน่วยงานรัฐเช่น DEPA และได้รับคำแนะนำให้ลองเข้ามาสมัครในโครงการ KATALYST Startup Launchpad และได้รับโอกาสเข้าร่วมโครงการนี้

ณัฐวัฒน์ กลการวิทย์ Team Lead PetPaw ได้เล่าว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่มีประโยชน์มากๆ สำหรับผู้ที่มีไอเดียในการเริ่มต้นธุรกิจ หรือเริ่มต้นทำธุรกิจไปแล้วแต่ยังหาขั้นตอนวิธีการเข้าสู่ตลาดไม่ได้ เพราะทางโครงการจะช่วยให้คุณกลับมาทบทวนตั้งแต่การสร้างทีมผู้ก่อตั้ง การประเมินขนาดตลาด การเริ่มนำสินค้าเข้าสู่ตลาด ไปจนถึงการนำเสนอธุรกิจเพื่อหานักลงทุน

เนื้อหาที่ได้จากการเรียนและทำ Workshop สามารถนำมาปรับใช้กับตัวธุรกิจของทาง PetPaw ได้โดยตรง จากที่ทางเราพยามที่จะสร้าง Eco-System ซึ่งจำเป็นจะต้องมี Service ที่หลากหลายครบถ้วนและตอบโจทย์ลูกค้าที่หลากหลาย ทำให้ Service ของเราเป็น Prototype ที่ไม่สมบูรณ์ แต่หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการและทำ Workshop ทีมงานจึงได้ตัดสินใจ เลือกทำ Service ของเราให้แข็งแรงเติบโตขึ้นทีละส่วน จึงสามารถทำให้เราสามารถขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะช่องทาง Offline


หลักสูตรส่งตรงจาก Silicon Valley

เนื้อหาของหลักสูตรภายใต้โครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2023 ได้รับการสนับสนุนผ่านโครงการวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด นำโดยรองศาสตราจารย์ Charles (Chuck) Eesley นอกจากนั้นธนาคารได้จับมือกับพันธมิตรในด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับคำปรึกษา และคำแนะนำโดยเมนเทอร์ชั้นนำจากหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อาทิ ผู้บริหารจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ผู้แทนจาก Amazon Web Services (AWS) รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจาก กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG)  และบีคอน วีซี (Beacon VC) ที่จะมาให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อผลักดันให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ดึงศักยภาพของตัวเองและทีมออกมาได้อย่างเต็มที่

ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้การพัฒนาศักยภาพของสตาร์ทอัพอย่างครบวงจรตั้งแต่พื้นฐานเริ่มที่ไอเดียธุรกิจ การวิเคราะห์ความต้องการลูกค้า การพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน การสร้างแบรนด์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของความเป็นผู้ประกอบการ การตลาด การบริหารเงิน การวางแผนธุรกิจ และทักษะการนำเสนอ รวมถึงโอกาสในการสร้างเครือข่ายและต่อยอดการทำธุรกิจกับผู้เข้าร่วมโครงการในรุ่นก่อนๆ และในสัปดาห์สุดท้ายของการอบรม ทีมสตาร์ทอัพที่มีผลงานโดดเด่นจะได้รับคัดเลือกให้นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ โดยผู้ชนะ 3 อันดับแรกจะได้รับทั้งเงินรางวัล และสิทธิประโยชน์จากทางพาร์ทเนอร์ของ KATALYST by KBank เพื่อต่อยอดธุรกิจพร้อมโอกาสการร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทยในด้านธุรกิจรวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคดิจิทัล

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดหลักสูตร คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ และสมัครได้ทางเว็บไซต์ของ KATALYST ที่  https://launchpad.klandingservice.com หรือติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการทางเฟซบุ๊กที่ https://www.facebook.com/KATALYSTbyKBank โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึง 31 กรกฎาคม 2566 และเริ่มเรียนตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน ถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2566

]]>
1437143
KKP เปิดตัว Dime แอปการเงินและลงทุน จับลูกค้าทั่วไป มีเงินน้อยก็ลงทุนได้ https://positioningmag.com/1399005 Tue, 06 Sep 2022 10:31:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1399005 กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ได้เปิดตัว Dime! แอปพลิเคชันที่เป็นทั้งด้านการเงิน รวมถึงการลงทุน โดยเน้นการลงทุนในต่างประเทศ รวมถึงลงทุนผ่านกองทุนรวม ซึ่งผู้ที่มีเงินจำนวนไม่มากก็สามารถลงทุนได้ โดยเริ่มต้นที่ 50 บาท

บริษัท หลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด (KKP Dime) บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ได้เปิดตัว Dime! (ไดม์) โดยเน้นไปที่กลุ่มคนทั่วไปให้เข้าถึงบริการด้านการเงินและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในต่างประเทศ ที่แต่เดิมนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความมั่งคั่งในระดับนึงเท่านั้น

กัมพล จันทวิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด ได้กล่าวถึง ปัญหาของคนไทยในการเข้าถึงบริการทางการเงินอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินฝากยังน้อยมาก แม้ว่าคนไทยมากกว่า 50 ล้านคนที่มีบัญชีเงินฝาก จากประชากร 70 ล้านคน ซึ่งอาจดูเหมือนสูงก็ตาม

เขายังชี้ว่าการเปิดตัว Dime! นั้นเหมือนเป็นการปิดช่องว่างด้านรายได้หรือแม้แต่ความมั่งคั่ง เนื่องจากไม่ว่าใครก็สามารถที่จะลงทุนได้ ไม่ว่าจะมีเงินมากหรือเงินน้อย

ทางด้านของ ฉัตริน ลักษณบุญส่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านผลิตภัณฑ์ ได้กล่าวว่า บริการของ Dime! พยายามที่จะแก้ปัญหาเรื่องการลงทุนของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้ความรู้ในการลงทุน หรือการเปิดบัญชีที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วมากกว่าเดิม โดยถ้าหากเปิดบัญชีแล้วก็จะสามารถใช้บริการ 3 บริการได้ทันที ได้แก่

  1. บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ Dime! Save บัญชีเงินฝากซึ่ง Dime! ร่วมมือกับธนาคารเกียรตินาคินภัทร ไม่มีจำนวนขั้นต่ำในการเปิดบัญชี โดยลูกค้าสามารถฝากเงินหรือโอนเงินได้โดยยืดหยุ่น และไม่มีเงื่อนไขมากเหมือนบัญชีฝากประจำ
  2. บัญชีหลักทรัพย์ต่างประเทศ บัญชีนี้ทำให้การลงทุนในหุ้นต่างประเทศทำได้อย่างง่ายดาย โดยใช้เงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 50 บาทก็สามารถเป็นเจ้าของหุ้นชื่อดังในต่างประเทศได้ นอกจากนี้ ยังอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรม เช่น ซื้อหุ้นต่างประเทศด้วยเงินบาทได้ หรือถ้าลูกค้าอยากแลกเงินบาทเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐก็สามารถแลกให้ทันที ไม่ต้องรอถึง 2 วันทำการ ขณะเดียวกันผู้ลงทุนยังได้รับสิทธิพิเศษยกเว้นค่าคอมมิชชันเดือนละ 1 ครั้งสำหรับการซื้อหรือขายครั้งแรกของทุกเดือน สำหรับรายการซื้อขายต่อไปคิดที่ 0.15% ของมูลค่าซื้อหรือขาย  นอกจากนี้ทาง Dime! ยังชี้แจงว่าบริษัทพยายามที่จะไม่ให้มีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมแอบแฝง เช่น ค่าธรรมเนียมโอนเงิน แลกเงิน หรือค่าธรรมเนียมยื่นแบบภาษี W-8BEN
  3. บัญชีกองทุนรวม ซื้อขายกองทุนรวมได้ทุก บลจ. บัญชีกองทุนรวมของ Dime! สามารถลงทุนได้ทุกที่แบบไม่จำกัดค่าย โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวได้รวบรวมกองทุนรวมในไทยมากกว่า 1,700 กองทุน จาก 21 บลจ. ภายในปี 2565 ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการกระจายการลงทุน แต่ไม่มีเวลาติดตามหุ้นรายตัว และผู้ที่ต้องการซื้อกองทุนรวมเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี (เช่น SSF และ RMF)

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านผลิตภัณฑ์ของ KKP Dime ได้กล่าวว่าอยากจะให้ Dime นั้นเป็นบริการ 4F ได้แก่ Free คือสามารถเข้าถึงข้อมูลการลงทุนได้ฟรีผ่านแอป Fast คือบริการรวดเร็ว เปิดบัญชีได้ไว Frictionless คือไม่มีขั้นต่ำ ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝง และ Fun ทำให้การลงทุนเป็นเรื่องสนุก

เฉลิมวุฒิ ชมะนันทน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี ได้กล่าวว่า จุดแข็งของ Dime! อีกเรื่องคือ แม้บริษัทฯ จะเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการเงิน แต่ก็มีวัฒนธรรมองค์กรและกระบวนการทำงานแบบบริษัทเทคฯ สตาร์ทอัพ และยังมีการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจากทั้งในและนอกวงการการเงิน มาร่วมกันออกแบบโครงสร้างเทคโนโลยี โดยใช้สถาปัตยกรรมที่ทันสมัยและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน และวางโครงสร้างทีมให้ทำงานได้อย่างคล่องตัว ทำให้สามารถออกแบบ สร้าง และเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อตอบโจทย์ผู้ลงทุนที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่อง

ผู้บริหารของ KKP Dime กล่าวว่าบริษัทฯ ได้วางตำแหน่งของแอปนี้ไม่ได้ผูกติดกับบริการทางการเงินของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรแต่เพียงอย่างเดียว โดยบริการของ Dime! นั้นสถาบันการเงินอื่นๆ นั้นสามารถที่จะมาหาลูกค้าผ่านแพลตฟอร์มนี้ได้ ซึ่งล่าสุดทางบริษัทฯ กำลังมีการเจรจากับธนาคารหลายแห่งที่จะนำบริการเงินฝากของธนาคารต่างๆ มาอยู่บน Dime! ได้ รวมถึงหลังจากนี้อาจนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าทั่วไปเหล่านี้ เช่น ประกันชีวิต เนื่องจากกลุ่มคนทั่วไปอาจเสียโอกาสหรือรายได้ถ้าหากเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา เป็นต้น

KKP Dime วางเป้าว่าจะมีผู้ใช้งาน Dime! ถึง 1 ล้านคนภายในปี 2025 

]]>
1399005
รู้จัก ‘Moonpay’ สตาร์ทอัพฟินเทค ที่ซุป’ตาร์ฮอลลีวูดกว่า 60 รายแห่ลงทุน https://positioningmag.com/1381538 Wed, 13 Apr 2022 12:38:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381538 เชื่อว่าหากพูดถึงชื่อของ Justin Bieber, Gwyneth Paltrow, Snoop Dogg และ Ashton Kutcher แน่นอนว่าแฟน ๆ ทั่วโลกรู้จักแน่นอน ซึ่งนอกเหนือจากการเป็นคนดังระดับ A แล้ว พวกเขายังเป็นหนึ่งในนักลงทุนหน้าใหม่กว่า 60 รายใน Moonpay สตาร์ทอัพด้านฟินเทคที่กำลังพัฒนาแพลตฟอร์มชำระเงินด้วยคริปโทเคอร์เรนซี 

ปัจจุบัน Moonpay อยู่ในระดับซีรีส์ A มีมูลค่าอยู่ที่ราว ๆ 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยก่อนหน้านี้สามารถระดมทุนได้ถึง 555 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก่อนจะได้เงินลงทุนจากเหล่าดาราอีก 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อาทิ Chainsmokers, Drake, Eva Longoria, Jason Derulo, Kate Hudson, Paris Hilton, Matthew McConaughey, Mindy Kaling, Questlove และ Shawn Mendes เป็นต้น

สำหรับ Moonpay ก่อตั้งเมื่อปี 2018 โดยเป็นแพลตฟอร์มเพย์เมนต์ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถซื้อและขายสกุลเงินดิจิทัลโดยใช้วิธีการชำระเงินแบบเดิม เช่น บัตรเครดิต การโอนเงินผ่านธนาคาร หรือกระเป๋าเงินมือถือ เช่น Apple  Pay และ Google  Pay นอกจากนี้ ยังขายเทคโนโลยีให้กับธุรกิจอื่น ๆ รวมถึงเว็บไซต์ crypto Bitcoin.com และ ตลาด NFT อีกด้วย ปัจจุบัน บริษัทตั้งอยู่ในไมอามี่ สหรัฐอเมริกา

หลายคนมีพอร์ตการลงทุนร่วม หลายคนมีการลงทุนอิสระของตัวเอง และเรามาหาพวกเขาโดยบอกว่า เราสามารถช่วยให้คุณเข้าใจโอกาสเกี่ยวกับ Web3, crypto และ metaverse โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพูดถึงศิลปิน พวกเขาไม่ต้องการทัวร์ตลอดไป พวกเขาต้องการหารายได้ที่หลากหลาย” Ivan Soto-Wright CEO Moonpay

สำหรับ MoonPay มีกำไรตั้งแต่เปิดตัวแพลตฟอร์มในปี 2019 ปัจจุบันมีลูกค้าใช้บริการมากกว่า 10 ล้านรายใน 160 ประเทศ

Source

]]>
1381538
ส่องกระเเสลงทุน ‘ฟินเทค’ เมกะเทรนด์ใกล้ตัว เปลี่ยนการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ https://positioningmag.com/1368746 Thu, 06 Jan 2022 11:48:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368746 เทคโนโลยีการเงินหรือที่เราเรียกกันว่า  ‘ฟินเทค’ (Fintech) นั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เเต่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ผ่านเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราทำบ่อยๆ อย่างการโอน ซื้อ จ่าย ถอน ทำธุรกรรมการเงินต่างๆ ไปจนถึงการลงทุนในสินทรัพย์ที่ง่ายเเละรวดเร็วกว่าสมัยก่อนมาก 

วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึง ‘เมกะเทรนด์’ ที่กำลังมาแรงเเละช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกอย่างฟินเทค กับ “ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จิตตะ เวลธ์ จำกัด

โควิด คือจุดเปลี่ยนสำคัญของ ‘ฟินเทค’ 

เขาเล่าย้อนให้ฟังว่า ในอดีต ‘กลุ่มธุรกิจการเงิน’ มีปรับตัวเเละประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาเรื่อยๆ อย่างการทำตู้เอทีเอ็ม บัตรเครดิตเเละโมบายเเบงก์กิ้ง เเต่ก็ยังมีอุปสรรคใหญ่คือคนไม่กล้าใช้’ จึงต้องอาศัยความเชื่อมั่นเเละให้เวลาช่วยให้ผู้คนเริ่มคุ้นชิน

เเต่ในช่วงปีที่ผ่านมา การมาของโควิด-19 นับเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกต้องทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านทางออนไลน์ เนื่องจากข้อจำกัดการเดินทาง ทำให้เหล่าสตาร์ทอัพ บริษัทต่างๆ รวมไปถึงธนาคารยักษ์ใหญ่ต้องปรับกลยุทธ์มามุ่งเน้นการทำธุรกรรมออนไลน์กันมากขึ้น

ผู้คนเริ่มเข้าใจการใช้เเอปพลิเคชัน เปิดบัญชีออนไลน์หรือทำ KYC ยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ โอนเงินออนไลน์ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ดังนั้น การเติบโตในช่วงปีที่ผ่านมาในธุรกิจฟินเทค จึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดไปได้อีกในช่วงหลายปีข้างหน้า

เมื่อเรื่องความเชื่อมั่นถูกปลดล็อกเเล้ว ก็จะขยายไปสู่การทำอย่างอื่นได้เเพร่หลายมากขึ้น อย่างการที่คนกล้าโอนเงินออนไลน์ จากนั้นก็จะกล้าซื้อของออนไลน์ เเละต่อๆ ไปก็จะกล้าลงทุนออนไลน์ วางใจทำธุรกรรมสำคัญ เเบบไม่ต้องเจอหน้ากันได้

สำหรับประเทศไทย หนึ่งในนวัตกรรมเข้ามาทำให้คนไทยเข้าถึงฟินเทคมากขึ้นก็คือพร้อมเพย์’ ที่มีการดำเนินการมาตั้งเเต่ปี 2559 เเละปัจจุบันก็มีการใช้อย่างเเพร่หลายในทุกพื้นที่ โดยมีจำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้นจาก 50 ล้านรายการ ในปี 2560 มาสู่ระดับ 5.8 พันล้านรายการในปี 2564 พร้อมมูลค่าธุรกรรมที่เเตะ 20 ล้านล้าน

รวมไปถึงเเอปฯ เป๋าตัง ที่มีผู้ใช้มากกว่า 40 ล้านคน จากอานิสงส์โครงการต่างๆ ของรัฐ เช่น คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน ฯลฯ ซึ่งมีส่วนทำให้คนไทยจำนวนมาก ‘เปิดใจเเละคุ้นชิน’ กับการใช้เเพลตฟอร์มฟินเทคที่จะเกิดขึ้นมาในระยะต่อไปได้ดี

จากรายงาน e-Conomy SEA Report 2021 มีการประเมินว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของกลุ่มประเทศ ‘อาเซียนจะมีมูลค่าถึง 3.63 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 และมีโอกาสแตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ภายในปี 2030 ปัจจุบันยอดรวมของผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในอาเซียนเพิ่มขึ้นเป็น 350 ล้านคน คิดเป็น 75% ของประชากรทั้งภูมิภาค และที่สำคัญคือ “ในจำนวนนี้กว่า 8 ใน 10 คน เคยสั่งซื้อของออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้ง”

Photo : Shutterstock

เงินลงทุนจากทั่วโลก ดันสตาร์ทอัพ ‘เกิดใหม่’

ในเเง่การลงทุนด้านสตาร์ทอัพของกลุ่มฟินเทคนั้น เติบโตอย่างก้าวกระโดดมาตั้งเเต่ปี 2020 ต่อเนื่องมายังปี 2021

โดยในปี 2021 มีสตาร์ทอัพฟินเทคมากกว่า 2.6 หมื่นรายทั่วโลก เเบ่งคร่าวๆ เป็นฝั่งอเมริกา 1 หมื่นราย ซึ่งเติบโตมาจากปี 2019 กว่าเท่าตัว ขณะที่ฝั่งยุโรป ตะวันออกกลางเเละเเอฟริกา มีการเติบโตจาก 3 พันกว่าราย มาเป็น 9 พันกว่าราย ส่วนในเอเชียเเปซิปิก มีการเติบโตจากปี 2019 ที่ 2.8 พันราย มาเป็น 6.2 พันราย

เมื่อมาดูด้านเงินทุนสนับสนุน พบว่าในปี 2019 มีการระดมทุนในสตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทคราว 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เเละในปี 2021 มีการเติบโตมากกว่าปีก่อนหน้ามากกว่า 26% เเล้ว

ยกตัวอย่างเช่น Square เเพลตฟอร์มบริการระบบจ่ายเงิน ที่มี Jack Dorsey ผู้ก่อตั้ง Twitter เป็นซีอีโอบริษัท , และ Coinbase ผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล ก็มีการเติบโตอย่างมากในช่วงโควิด-19 

ขณะเดียวกัน บริษัทเทคโนโลยีที่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก ก็เริ่มขยับเข้ามาทำตลาดการเงินด้วย เช่น การที่ LINE จับมือกับธนาคารอย่าง KBank เปิดตัว LINEBK เพื่อให้บริการ Social Banking เต็มรูปแบบรายแรกของไทย หรืออีมาร์เก็ตเพลสอย่าง Shopee ที่เพิ่มบริการสินเชื่อออนไลน์ เป็นต้น

ทิศทางฟินเทค ปี 2022 

ตลาดฟินเทคทั่วโลกมีมูลค่ากว่า 127,660 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 โดยคาดการณ์ว่า จะเติบโตราว 25% ต่อปี และในปี 2022 จะมีมูลค่าสูงถึง 309,980 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากเเรงหนุนการชำระเงินดิจิทัลและกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallets) ที่ได้กลายเป็นเทรนด์กระแสหลักอย่างรวดเร็ว เชื่อมโยงกับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ที่การซื้อสินค้ามักจะถูกชำระผ่านออนไลน์แทนที่จะใช้เงินสด

ปูทางให้กลุ่ม ‘WealthTech’ ได้รับความนิยมจากนักลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ หลังมองเห็นศักยภาพในการเติบโตเมื่อคนเริ่มให้ความเชื่อมั่นว่าสามารถนำเทคโนโลยีมาจัดการการลงทุนได้ เเละมีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น

ส่วนสกุลเงินดิจิทัล หรือ ‘คริปโตเคอร์เรนซี’ (cryptocurrency) ที่เป็นอีกเเขนงหนึ่งของฟินเทค บรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งในไทยเเละทั่วโลก มีการเพิ่มฟังก์ชันการใช้สกุลเงินดิจิทัลเข้ามาในเเพลตฟอร์มของตัวเองมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม โลกคริปโตฯ ยังมีความท้าทายที่ต้องเจออีกมาก เพราะยังมีความผันผวนสูง ด้วยความที่ยังใหม่จึงยังไม่มีอดีตให้ศึกษามากนัก เเละผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความกล้าเสี่ยง

“ผมมองว่าที่ผ่านมาระบบเปิดมักจะชนะระบบปิดเสมอ คริปโตฯ ก็เป็นเหมือนระบบเปิดเเห่งโลกการเงิน ที่อาจจะชนะระบบปิดเเบบดั้งเดิมในอนาคตก็ได้ ต้องจับตาดูกันต่อไป”

โดยในปี 2022 ก็ต้องดูความเคลื่อนไหวเเละท่าทีของทางหน่วยกำกับฯ ด้วย ขณะที่หากมองภาพใหญ่ในระยะยาว อาจจะเป็นการพยายามอยู่ร่วมกันให้ได้มากกว่า

ส่วนเทรนด์การ ควบรวมของธุรกิจดั้งเดิมกับสตาร์อัพรุ่นใหม่ นั้น เขามองว่า เป็นการร่วมมือกัน เพื่อผสานจุดเด่นของกันเเละกัน เเละนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างธนาคารก็มีความน่าเชื่อถือเเละเงินทุนมหาศาล ส่วนสตาร์ทอัพก็มีความคล่องตัวเเละเทคโนโลยีที่ล้ำกว่า

ด้านทิศทางของ Metaverse โลกเสมือนที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเปิดให้ผู้คนได้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ ทำกิจกรรรมต่าง ๆ ร่วมกันได้ ทั้งพบปะพูดคุย ท่องเที่ยวไปจนถึงช้อปปิ้ง ก็เป็นเทรนด์ที่ทุกคนรู้จักมานาน เเต่ยังไม่เกิดขึ้นจริงอย่างเต็มรูปแบบ เเต่เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook , Microsoft เข้ามาลงสนามเเข่งในตลาดนี้ เราก็คงจะได้เห็นการเปลี่ยนเเปลงเเบบก้าวกระโดดมากขึ้น

“ต้องดูว่าทุกอย่างในโลก metaverse จะเติบโตไปได้เเค่ไหน เมื่อคนเข้ามามากขึ้นเเล้ว ก็ต้องขยายโครงสร้างพื้นฐานเเบบเสมือนจริงขึ้นมาด้วย เป็นชุมชน มีตลาดซื้อขายเเลกเปลี่ยน ซึ่งก็จะเกิดอาชีพใหม่ๆ ขึ้นมาอีกมากมาย เเบรนด์ใหญ่ๆ อย่าง Adidas , Nike ก็พร้อมที่จะเข้าไปสร้างเเบรนด์ในโลก metaverse เพื่อเพิ่มช่องทางการขาย”

ลงทุนฟินเทค ผ่าน Thematic

สำหรับภาพรวมการลงทุนในปีที่ผ่านมา มีเรื่อง ‘เซอร์ไพรส์’ เยอะมาก ทั้งการระบาดของโควิดหลายระลอก หลายสายพันธุ์ ตลาดหุ้นจีนที่ผันผวน สหรัฐฯ ก็ยังมีอุปสรรคในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมไปถึงเงินเฟ้อ ส่วนกลุ่มเทคโนโลยีที่น่าจะมีการเติบโตได้ดีก็มาประสบปัญหาขาดเเคลนชิป

เเต่เมื่อมองเเบบ ‘จิตตะ เวลธ์ที่เน้นสาย VI ให้ความสำคัญพื้นฐานของธุรกิจเป็นหลัก ก็จะมองว่า ความผันผวนย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ถ้ามีหลักการที่ถูกต้อง เราจะมองวิกฤตให้เป็นโอกาส ยิ่งตลาดผันผวนก็ยิ่งสร้างผลตอบเเทนได้ดี

โดยกระแสการลงทุนในธุรกิจที่เป็นธีมโดยเฉพาะในกลุ่มเมกะเทรนด์โลก หรือที่เรียกว่า Thematic Investment ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และกำลังกลายเป็นการลงทุนกระแสหลัก เมื่อคนเริ่มมองหาการลงทุนที่เป็นธีมเเห่งอนาคต อย่างเช่น กลุ่มเทคโนโลยี , ฟินเทค , คลาวด์คอมพิวติ้ง, หุ่นยนต์ AI, เกมและอีสปอร์ต รวมไปถึงพลังงานสะอาด ซึ่งการลงทุนดังกล่าวตอบโจทย์ภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

ทั้งนี้ การลงทุนแบบ Thematic จะเน้นการลงทุนในกลุ่มธุรกิจผ่าน ETF (Exchange Traded Fund) เพื่อกระจายการลงทุนไปยังหุ้นที่เกี่ยวข้องกับธีมหรือเมกะเทรนด์นั้นๆ

หลังเห็นแนวโน้มการเติบโตของการลงทุนแบบ Thematic ในตลาดโลก จิตตะ เวลธ์จึงได้เปิดกองทุนส่วนบุคคล Thematic มาตั้งแต่ปี 2019 เเละปัจจุบันมีธีมการลงทุนให้เลือกทั้งหมด 16 ธีม

เเละได้เปิดตัว Thematic Optimize ไปเมื่อช่วงปลายปี 2020 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยี AI ในการวิเคราะห์การเติบโตของธีมเมกะเทรนด์ต่าง ๆ จากหุ้นในธีมกว่า 2,500 หุ้น พิจารณาผลตอบแทน รวมถึงความเสี่ยง เพื่อ คัดเลือก 4 ธีมที่น่าลงทุนที่สุด ณ เวลานั้น มาจัดพอร์ตในสัดส่วนเท่า ๆ กัน และคอยดูแลปรับพอร์ตให้โดยอัตโนมัติทุก ๆ 3 เดือน โดยเริ่มต้นลงทุนที่ 1 เเสนบาท หลังจากมีกระเเสตอบรับที่ค่อนข้างดี จิตตะ เวลธ์ ก็มีเเผนจะปรับลงเงินลงทุนขั้นต่ำลงมาอีก เพื่อให้เข้าถึงฐานลูกค้าได้มากขึ้น

เมื่อฟินเทคกำลังเป็นเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างต่อเนื่องเเละเป็นอีกหนึ่งเมกะเทรนด์ที่น่าลงทุน จากแนวโน้มที่จะเติบโตไปในระยะยาว 10-20 ปี ทางจิตตะ เวลธ์ จึงพัฒนาเทคโนโลยีมาตอบโจทย์นักลงทุนในจุดนี้ด้วย

ยกตัวอย่างเช่น Global X FinTech ETF (FINX) กองทุนส่วนบุคคล Thematic ธีมฟินเทค ที่จะเข้าไปลงทุนในหุ้นของบริษัทที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเงินจากทั่วโลก ครอบคลุมมากกว่า 50 บริษัทหุ้น เช่น ประกัน การลงทุน ลงทุนระดมทุน สินเชื่อผ่านระบบดิจิทัล เช่น บล็อกเชน คริปโตเคอร์เรนซี และการบริหารความมั่นคั่งอัตโนมัติ เป็นต้น

บริหารความเสี่ยง เเละ ‘อย่าโลภเกินความรู้’

พฤติกรรมของนักลงทุนไทยในช่วงโควิด มีการเปลี่ยนเเปลงไปพอสมควร โดยในภาพรวม เขามองว่าผู้คนได้มีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนมากขึ้น เปิดใจศึกษาหุ้นต่างประเทศ รับความเสี่ยงได้มากขึ้น คนรุ่นใหม่เข้ามาในตลาดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เเม้จะมีคนจำนวนมากที่เลือกเพิ่มการลงทุนช่วงวิกฤต ก็ยังมีคนบางกลุ่มก็รู้สึกไม่กล้าลงทุนเเละหวั่นวิตก

โดยผู้บริหาร จิตตะ เวลธ์ มีคำเเนะนำถึงนักลงทุนหน้าใหม่ที่จะเข้ามาลงทุนว่า อย่างเเรกคือ ‘อย่าโลภเกินความรู้’  ต้องเข้าใจเเละรู้จักผลิตภัณฑ์ที่เราจะลงทุน กระจายความเสี่ยง ค่อยเเบ่งเงินสัก 10-20% มาลงทุนก่อน เพื่อการศึกษา หาประสบการณ์ “ตกรถขบวนนี้ก็มีขบวนใหม่มาเสมอ ดีกว่าไม่ตกรถเเต่หมดตัว”

“เราต้องเป็นนักลงทุนที่ชาญฉลาด ไม่ตื่นเต้นหรือหวั่นไหวไปกับการขึ้นลงของราคา เเต่ใช้มันให้เป็นประโยชน์ ถ้าจะลงทุนให้ดี ต้องทำการบ้านเยอะๆ ศึกษาเทรนด์ ศึกษาเศรษฐกิจ เเล้วใช้จังหวะที่ผันผวนให้เป็นโอกาสในการลงทุน รวมถึงมีวินัยการลงทุน มีการปรับพอร์ตที่ถูกต้องเเละเป็นระบบ”

 

 

]]>
1368746
“Digital Lifestyle Ecosystem” โมเดลสำคัญของ K PLUS พร้อมทะยานเป็นแอประดับภูมิภาค พร้อมเปิดตัว K PLUS Vietnam https://positioningmag.com/1367217 Thu, 16 Dec 2021 08:00:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1367217

ตลอด 23 ปีที่ผ่านมา เคแบงก์ทุ่มพัฒนาศักยภาพของ K PLUS ในฐานะเบอร์ 1 ของแอปฯ โมบายแบงกิ้งในประเทศไทย จนทำให้ทุกวันนี้ K PLUS เป็นมากกว่าโมบายแบงกิ้งแล้ว ผลจากการต่อจิ๊กซอว์สร้าง Digital Lifestyle Ecosystemกับพาร์ทเนอร์ยักษ์ใหญ่ในแต่ละธุรกิจ ด้วยรูปแบบการเป็น Open Banking Platform เปิดทางให้ K PLUS เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของลูกค้า เรียกว่า ถ้าลูกค้าใช้งานแอปอื่นๆ K PLUS ก็อยู่ในนั้น เพื่อทำให้ทุกคนสะดวกสบายทั้งการใช้จ่าย ช้อปออนไลน์ กู้เงิน สะสมแต้ม ลงทุน และอื่นๆ อีกเพียบ โดยเคแบงก์มีแผนพัฒนา K PLUS อีกหลายด้านเพื่อทำให้ K PLUS เป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายที่สุดทั้งในประเทศไทยและในระดับภูมิภาคอีกด้วย

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การใช้งาน “โมบายแบงกิ้ง” ของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นมาก ด้วยการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น,สถานการณ์ COVID-19 ที่ส่งผลกับการเดินทาง และเสริมแรงบวกด้วยโครงการรัฐต่างๆ เช่น คนละครึ่ง, เราเที่ยวด้วยกัน, โครงการเยียวยาผู้ประกันตน เป็นตัวเร่งให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้โมบายแบงกิ้ง โดยเฉพาะกลุ่มที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอย่างกลุ่มคนต่างจังหวัด และกลุ่มเยาวชนวัย 15-22 ปี

ท่ามกลางการเติบโตของโมบายแบงกิ้ง ผู้นำในเทคโนโลยีด้านนี้คือ K PLUS จากเคแบงก์ครองอันดับ 1 ของตลาดเมื่อวัดจากจำนวนธุรกรรม (ข้อมูลเดือนสิงหาคม 2564) รวมถึงมีผู้ใช้งานมากที่สุดในประเทศอยู่ที่ 16.9 ล้านราย (ข้อมูลเดือนพฤศจิกายน 2564) โดยเคแบงก์ยังมุ่งมั่นรักษาความเสถียรของระบบใช้งาน มีความปลอดภัย รวมถึงสร้างความสะดวกในการใช้งาน และมีสิทธิประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่ากับผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม  เคแบงก์มองอนาคตว่าในโลกยุคใหม่ ผู้บริโภคจะใช้จ่ายผ่านดิจิทัลหลายด้านยิ่งขึ้นเรื่อยๆ สินค้าและบริการต่างๆ จะยิ่งรวมศูนย์อยู่บน ดิจิทัล แพลตฟอร์ม แม้แต่การใช้ชีวิตก็อาจจะเข้าไปอยู่ในโลกแห่ง ‘เมตาเวิร์ส’ ก็เป็นไปได้

เคแบงก์จึงพัฒนา K PLUS ให้พร้อมตอบสนองลูกค้าในทุกที่ที่ลูกค้าต้องการ ด้วยการสร้าง Digital Lifestyle Ecosystem สามารถเชื่อมโยงกับทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้าได้อย่างไร้รอยต่อ และรองรับจำนวนผู้ใช้ที่จะเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงแค่ในไทยแต่รวมถึงลูกค้าระดับภูมิภาค ตามวิสัยทัศน์ของเคแบงก์ที่จะเป็น Regional Digital Banking ในอนาคตอันใกล้ 


วางพื้นฐาน Open Banking Platform เพื่อผนึกพันธมิตร

บริการข้างต้นเป็นจุดเริ่มต้นจากภายในของ เคแบงก์ แต่ปัจจุบันธนาคารได้ขยายเครือข่าย Digital Lifestyle Ecosystem ให้กว้างขึ้นและเร็วขึ้นผ่านเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่ง

การจะเชื่อมต่อ K PLUS เข้ากับบริการของพันธมิตรได้ ต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐาน API (Application Programing Interface) ให้สามารถเชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์ได้ โดย K PLUS มีการเปิดให้ ‘ต่อท่อ’ เป็น Open Banking Platform ทำให้การเชื่อมโยงระหว่างแอปพลิเคชันของพันธมิตรกับ K PLUS ทำได้ลื่นไหล ลดขั้นตอนจบได้ในไม่กี่คลิก เพราะถ้าการใช้งานมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อน ลูกค้าอาจไม่เลือกใช้ รวมถึงความต้องการของลูกค้ามีรอบด้านเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้ดีที่สุด เคแบงก์และพันธมิตรจึงได้ร่วมมือกันเพื่อให้เกิด Super Ecosystemที่แข็งแรงและเติบโตไปด้วยกัน

ยกตัวอย่างความร่วมมือกับพันธมิตรที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นการต่อท่อเพื่อใช้จ่ายผ่านหน้าอินเตอร์เฟซของพันธมิตรได้สะดวกขึ้น เช่น GrabPay Wallet สามารถเติมเงินได้ในแอปฯ เลยเมื่อใช้ K PLUS ไม่ต้องสลับมาที่แอปฯ ธนาคารอีก หรือเหล่าเกมเมอร์ค่าย Garena สามารถเติมเงินในเกมผ่านเว็บไซต์ Termgame.com และใช้ K PLUS จ่ายได้โดยตรง


K PLUS ตอบโจทย์การเงินบนโลก “ดิจิทัล”

ปัจจุบัน K PLUS เริ่มออกสตาร์ทเพื่อรองรับเทรนด์ Digital Lifestyle Ecosystem ไปแล้วหลายด้าน โดยมีการพัฒนาฟีเจอร์ให้รองรับกับไลฟ์สไตล์ทางการเงินของยุคใหม่ เช่น

  • K Pointลอยัลตี้โปรแกรมบนโลกดิจิทัล โดยลูกค้าที่ใช้บริการของธนาคารกสิกรไทยตามที่กำหนดจะได้รับ K Point เป็นคะแนนสะสมสำหรับใช้แทนเงินสดได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายบิลค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าบริการมือถือ เติมเงินใน e-Wallets เติมเกม เติม Easy Pass หรือใช้โอนแลกเป็นคะแนนสะสมของระบบ CRM แบรนด์ดังอื่นๆ เช่น The 1, PTT Blue Card, AIS Points, True Point รวมไปถึงใช้จ่ายแทนเงินสดที่หน้าร้านค้าที่ร่วมรายการด้วยการสแกน QR Code อีกทั้งยังสามารถนำคะแนนไปแลกซื้อสินค้าบน K+ market ซึ่งทั้งหมดนี้ สามารถทำได้เลยทันทีบน K PLUS
  • Wealth PLUS – บริการตัวช่วยวางแผนลงทุนส่วนตัวบน K PLUS ทำงานเสมือน ROBO Advisor แต่เหนือกว่าด้วยการมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลควบคู่กันไปด้วย เพื่อช่วยวางแผนการลงทุนและเลือกกองทุนที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละคนโดยเฉพาะ วิเคราะห์จากเป้าหมายการลงทุน เงินลงทุน ระยะเวลา และระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ พร้อมระบบอัจฉริยะช่วยแจ้งเตือนและปรับแผนการลงทุนให้เหมาะกับสภาวะตลาดขณะนั้น โดยใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 1,000 บาทเท่านั้น รวมถึงมีบริการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติ (DCA) ก็เริ่มต้นเพียง 500 บาท บริการอัตโนมัติเหล่านี้ทำให้ Wealth PLUS เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยแก้โจทย์ให้ลูกค้าที่ยังไม่กล้าลงทุน ไม่มีเวลาศึกษาข้อมูลการลงทุน หรือกังวลเวลาเห็นข่าวตลาดผันผวนรุนแรง
  • โอนเงินต่างประเทศK PLUS ร่วมมือกับพันธมิตร FinTech แก้ pain point ของการโอนเงินต่างประเทศแบบเดิมๆ ที่ใช้เวลานานกว่าเงินจะถึงปลายทาง ค่าธรรมเนียมแพง และต้องไปที่ทำธุรกรรมหน้าสาขา ด้วยเทคโนโลยีนี้ทำให้ลูกค้าโอนเงินถึงปลายทางได้รวดเร็วแบบเรียลไทม์ ถึงภายใน 3 วันทำการ (ขึ้นอยู่กับประเทศและธนาคารปลายทาง) ค่าธรรมเนียมถูกกว่า สามารถโอนเงินเองได้ผ่าน K PLUS รองรับแล้ว 14 สกุลเงินใน 32 ประเทศที่คนในไทยนิยม เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ออสเตรเลีย ปอนด์ ยูโร เยน วอน และล่าสุด สกุลเงินหยวน เป็นต้น
  • Digital Lending บริการสินเชื่อดิจิทัลที่ธนาคารเน้นให้กลุ่มคนตัวเล็กที่ไม่เคยกู้เงินได้เพราะไม่มีสลิป ไม่มีรายได้แน่นอน ให้สามารถยื่นกู้ได้ง่ายขึ้น ด้วยการใช้ AI และ Machine Learning ประกอบกับความเชี่ยวชาญของธนาคารในการพิจารณาเครดิตภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถสมัครสินเชื่อได้ด้วยตัวเองผ่าน K PLUS ใช้เวลาสมัครไม่เกิน 15 นาทีก็ทราบผลอนุมัติ และรับเงินทันที

ที่สำคัญคือ เคแบงก์กำลังนำแนวคิดธุรกิจนี้ขยายไปยังเวียดนาม เดินหน้าด้วยดิจิทัล แบงกิ้งอย่างเต็มรูปแบบเป็น “K PLUS Vietnam” โมบายแบงกิ้งที่ต่อยอดจากต้นแบบ K PLUS ในประเทศไทย และเตรียมแผนขยายการลงทุนด้านดิจิทัลในธุรกิจต่างๆ ด้วยเป้าหมายเพื่อขยายฐานลูกค้าและเพิ่มจำนวนพันธมิตรทางธุรกิจ สู่การเป็น Super Ecosystem ทางการเงินในระดับภูมิภาค

]]>
1367217
เปิด 3 ธีมเมกะเทรนด์ จัดพอร์ตกองทุน SSF-RMF อย่างไร ในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี https://positioningmag.com/1361364 Wed, 10 Nov 2021 12:11:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361364 SCB CIO เเนะเเนวจัดพอร์ตลงทุน RMF – SSF ช่วงปลายปีนี้ กับ 3 ธีมเมกะเทรนด์ หุ้นโลก “กลุ่มสุขภาพ – กลุ่มเทคโนโลยีการเงิน – หุ้นจีนกลุ่ม Tech และ A-Shares” มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

ศรชัย สุเนต์ตา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย SCB Chief Investment Office (CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เผยถึง มุมมองต่อการจัดพอร์ตลงทุนเพื่อการออมสำหรับการเกษียณและการลดหย่อนภาษี โดยใช้โอกาสจากการลงทุนในกองทุน RMF (Retirement Mutual Fund) และ SSF (Super Savings Fund) ในช่วงปลายปี เป็นเครื่องมือช่วยออมและวางแผนเกษียณในระยะยาว

โดยประชากรไทยส่วนใหญ่ ยังมีเงินออมไม่เพียงพอและมีแผนการเงินระยะยาวไม่ครอบคลุมต่อการเกษียณอย่างยั่งยืน ในขณะที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ครอบครัวส่วนใหญ่มีขนาดที่เล็กลง การพึ่งพาตนเองจึงเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นเหมือนกับสังคมผู้สูงอายุในหลายประเทศทั่วโลก

“การวางแผนการเงินสำหรับชีวิตหลังเกษียณไม่ควรพึ่งระบบบำเหน็จบำนาญ หรือสวัสดิการของรัฐเป็นช่องทางหลัก หรือพึ่งพารายได้จากลูกหลาน แต่ควรให้ความสนใจกับแผนการลงทุนส่วนบุคคลเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินและพึ่งพาตนเองได้ในยามเกษียณ”

ผู้ลงทุนควรเลือกเทรนด์การลงทุนที่คาดว่า จะสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่เติบโตให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นภายหลังเกษียณได้อย่างมั่นคง เช่น ค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล ที่คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามอายุของเราที่มากขึ้น และราคาของค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นด้วย

เกาะ 3 ธีม ลงทุนปลายปี

ในการลงทุนระยะยาว SCB CIO ได้เลือก 3 ธีมเมกะเทรนด์ที่น่าสนใจ ได้แก่ ธุรกิจสุขภาพ ธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน และการเติบโตของเศรษฐกิจจีน สำหรับการลงทุนในกองทุน RMF และ SSF ดังนี้

ธุรกิจสุขภาพ – Healthcare

เป็นเทรนด์ที่เหมาะกับการถือลงทุนในระยะยาว เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลคิดเป็นสัดส่วนที่สูงต่อ GDP และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั่วโลกในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว

ขณะที่โครงสร้างประชากรเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจากการที่สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีเมื่อเทียบกับอัตราการเกิด ซึ่งการลงทุนในหุ้นของบริษัทด้านธุรกิจสุขภาพทั่วโลก เป็นโอกาสการกระจายการลงทุนในหลายอุตสาหกรรมย่อยที่มีความสำคัญ เช่น

  • บริษัทยา (Pharmaceutical)
  • เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
  • เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (Health Technology)
  • เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology)
  • ประกันสุขภาพ (Health Insurance)
  • อุปกรณ์การแพทย์ (Medical Devices and Instruments)

“การลงทุนในหุ้นบริษัทธุรกิจสุขภาพโลก มองเป็นการลงทุนได้ทั้งในสไตล์หุ้น defensive ที่มีความผันผวนไม่มาก รวมถึงสไตล์หุ้น growth ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงได้อย่างสมดุล ซึ่งเหมาะกับแผนการลงทุนระยะยาว เนื่องจากธุรกิจสุขภาพถือเป็นธุรกิจหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จะอยู่คู่กับมนุษย์ทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับตัวอย่างกองทุนจาก SCB ที่น่าสนใจ ได้แก่ SCBRMGHC (RMF)”

Photo : Shutterstock

ธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน – Fintech 

วิวัฒนาการของภาคเทคโนโลยีทางการเงินมีความคืบหน้าต่อเนื่องและ Fintech ยังมีแนวโน้มเข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมบริการทางการเงินและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในระยะยาว เนื่องจากกระแส Digital Transformation ทั่วโลกเร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้ปัจจุบันกระแส Fintech เป็นเรื่องปกติในทุกภาคส่วน

สำหรับหุ้นธุรกิจ Fintech ที่น่าสนใจ ได้แก่ บริษัทที่ทำธุรกิจในเรื่องของ E-Commerce, Social Platform, Digital Payment, Digital Lending, Cloud Computing รวมไปถึงธุรกิจด้าน Wealth Management และ Robo Advisory และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนใน Cryptocurrency และเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างมากจากคนรุ่นใหม่

ทั้งหมดนี้เป็นธุรกิจการเงินแห่งอนาคตและถือเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ และบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ล้วนเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาด Fintech ทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงถือเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตสูง ซึ่งสอดคล้องกับแผนการลงทุนระยะยาวเช่นกัน สำหรับตัวอย่างกองทุนจาก SCB ที่น่าสนใจ ได้แก่ SCBFINTECH (SSF)

Photo : Shutterstock

หุ้นจีนกลุ่มTech และ A-Shares

แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ประเทศจีนถือเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าสนใจลงทุนมากที่สุดในโลก และยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี

แม้ในปีนี้ราคาหุ้นจีนปรับลดลงมามากเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นในประเทศอื่น เนื่องจากแรงกดดันจากการคุมเข้มด้านกฎระเบียบต่อบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และการปฏิรูปเศรษฐกิจและธุรกิจตามแนวทางความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (Common Prosperity)

ความกังวลด้านกฎระเบียบยังอาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นจีนในช่วงสั้น แต่จากแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวของจีนยังชี้ให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตของธุรกิจจีนอีกมาก ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่สามารถพลิกโฉมเศรษฐกิจและมีความเป็นเลิศในวิทยาการด้านต่างๆ ทั้งสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และมีเทคโนโลยีที่สามารถแข่งขันได้กับชาติมหาอำนาจตะวันตก และด้วยขนาดประชากรจีนที่มีมากราว 1.4 พันล้านคน ทำให้ยังมีกำลังซื้ออีกมหาศาลและเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ของโลก

SCB CIO เห็นโอกาสการลงทุนในหุ้นจีน A-Shares ที่ได้อานิสงส์จากการบริโภคภายในประเทศที่ยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของทางการจีนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ บริษัทเทคโนโลยีจีนที่ปีนี้ ราคาหุ้นปรับฐานลงมามากจากความกังวลและการคุมเข้มด้านกฎระเบียบ ทำให้ราคาหุ้นเริ่มถูกและมี valuation ที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนระยะยาว ตัวอย่างกองทุนจาก SCB ที่น่าสนใจ ได้แก่ SCBRMCHA (RMF) และ SCBCTECH-SSF

Photo : Shutterstock

ปรับการลงทุนให้เหมาะกับตัวเอง 

โดยสรุป 3 ธีมเมกะเทรนด์ :

จากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมีสัดส่วนที่สูงต่อ GDP และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั่วโลก ด้าน Fintech จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงภาคบริการทางการเงินและอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นธุรกิจการเงินแห่งอนาคตที่มีตลาดขนาดใหญ่และมีศักยภาพในการเติบโตสูง 

ส่วนหุ้นจีนแม้ปีนี้ มีการปรับตัวลงมาค่อนข้างแรงเมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆ จากความกังวลเรื่องกฎระเบียบต่างๆ จึงเป็นจังหวะการเข้าลงทุน เนื่องจากจีนมีโอกาสเติบโตทางธุรกิจอีกมาก โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีและเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ของโลก

SCB CIO มองว่า โอกาสการลงทุนในระยะยาว ทำให้ 3 ธีมเมกะเทรนด์ข้างต้นเป็นธีมการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับการคัดเลือกเพื่อเข้ามาจัดพอร์ตการลงทุนสำหรับการลงทุนในกองทุน RMF และ SSF ในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ เพื่อเป็นหนึ่งในตัวช่วยการลดหย่อนภาษีและการวางแผนการลงทุนในระยะยาว สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนและได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีไปพร้อมกัน

อย่างไรก็ตาม กองทุน RMF และ SSF มีเงื่อนไขการลงทุนที่แตกต่างกัน ผู้ลงทุนควรพิจารณาทางเลือกในการลงทุนให้เหมาะสมกับตนเอง โดยพิจารณาทั้งจากจุดประสงค์ในการลงทุน ระยะเวลาในการลงทุน ความเสี่ยงและนโยบายการลงทุนของกองทุนตามความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน การกระจายความเสี่ยงไปหลายกองทุน

“สัดส่วนการลงทุนในหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยง ควรจะต้องสอดคล้องกับอายุและความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของผู้ลงทุนด้วย หากอายุมากขึ้นก็ควรจะต้องทยอยลดน้ำหนักในกองทุนหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงให้น้อยลงไปด้วยเช่นกัน” 

 

]]>
1361364
FinTech VS TechFin ความต่างขั้วที่มาบรรจบกันเพื่อเปลี่ยนโลกการเงิน https://positioningmag.com/1360978 Wed, 10 Nov 2021 05:38:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360978

นับวันโลกดิจิทัลหมุนเร็วขึ้นมาก หนึ่งในอุตสาหกรรมใหญ่ที่เกิดการดิสรัปชันมากที่สุด ต้องยกให้อุตสาหกรรมทางการเงินโลก

คงจำกันได้ในช่วงหลายปีก่อน ผู้ให้บริการทางการเงิน ‘FinTech’ ได้ก่อให้เกิดดิสรัปชัน หรือการทำลายล้างสถาบันการเงินที่ให้บริการทางการเงินแบบดั้งเดิม (Tradition) ที่ยืนต่อคิวยาวๆ เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินหน้าเคาน์เตอร์ผ่านสาขา มาเป็นรูปแบบใหม่ ทำธุรกรรมบนสมาร์ทโฟนได้ทุกที่ทุกเวลา

แต่รู้หรือไม่ว่า วันนี้ ถึงคิวผู้ให้บริการทางการเงิน FinTech ที่จะถูกดิสรัปต์จากผู้ให้บริการ TechFin นี่คือปรากฏการณ์ที่เขย่าวงการเงินโลกอีกระลอก

Photo : Shutterstock

ความหมายของคำว่า ‘FinTech’ กับ ‘TechFin’ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เชื่อว่าผู้คนยังมีความสับสนกันมาก ว่าเป็นการเล่นคำสลับกันหรือเปล่า? ซึ่งไม่ใช่ครับ ผมขอฉายภาพการเปลี่ยนผ่านโลกเทคโนโลยีทางการเงินให้ฟังอย่างนี้ครับ

จุดแจ้งเกิด ‘FinTech – TechFin’ ต่างขั้วที่เหมือนกัน

ผู้ให้บริการทางการเงิน FinTech คืออะไร ผมขอย้อนไปเมื่อ 5 ปีก่อน กระแสธุรกิจ FinTech เป็นคลื่นลูกใหญ่ที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกทึ่งกับศักยภาพของกลุ่ม ‘สตาร์ตอัป’ ที่มีคนทำงานไม่กี่คน รวมตัวกันจัดตั้งบริษัทขึ้นมาด้วย ‘เงินทุนต่ำ’ แต่พนักงานเหล่านี้มีศักยภาพสูงในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง และคิดค้นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ แก้ปัญหาให้กับผู้ใช้มากกว่า

จึงเป็นที่มาของการพลิกโฉมรูปแบบให้บริการธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ ที่ทั่วโลกฮือฮา ไม่ว่าจะเป็นระบบ Mobile Banking ระบบ Digital Banking และก็มีแอปพลิเคชันทางการเงินต่างๆ ตามมาด้วยการเกิดเงินสกุลดิจิทัล เป็นต้น

FinTech พัฒนารูปแบบให้บริการต่างๆ ล้วนตอบโจทย์ที่ใช่แก่ผู้ใช้บริการ ภาษาสตาร์ตอัป เรียกว่า แก้บรรดา Pain Point ให้แก่ผู้ใช้บริการอย่างตรงจุดมากที่สุด โดยภาพรวมคือรวดเร็วกว่า ทำธุรกรรมได้ง่ายกว่า ค่าธรรมเนียมถูกกว่า ทำที่ไหนเวลาใดก็ได้ สะดวกไม่ต้องเดินทาง และที่สำคัญมีความปลอดภัยด้วย

Photo : Shutterstock

ช่วงแรกๆ ของการแจ้งเกิดดาวรุ่ง FinTech แม้จะให้บริการเฉพาะทางหรือบางธุรกรรม เช่น โอนเงิน ชำระบิล แต่ต่อมาได้พัฒนาเพิ่มบริการอื่นๆ จนปัจจุบันสามารถให้บริการสินเชื่อดิจิทัลเปิดประตูให้ผู้คนเข้าถึงแหล่งเงินได้ง่ายขึ้น และคล่องตัว รวมถึงการเข้าสู่การลงทุนที่มีทางเลือกและสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า สะดวกสบายไม่ต้องยื่นเอกสารมากมาย ผู้คนหันมาใช้บริการ ส่งผลให้ FinTech ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ความสำเร็จของสตาร์ตอัป FinTech จำนวนมากเติบโตเป็น ‘ยูนิคอร์น’ และพาเหรดกันเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นทั่วโลกด้วย เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ จีน เป็นต้น และเติบโตเป็นยักษ์ใหญ่ที่มีผลประกอบการโดดเด่น ราคาหุ้นพุ่งพรวด มูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นก้าวกระโดด มีขนาดใกล้เคียงกับสถาบันการเงินรายใหญ่ๆที่เก่าแก่เลยทีเดียว

ชื่อบริษัท FinTech ดังๆ ในอุตสาหกรรมทางการเงิน เช่น ที่สหรัฐฯ จะมี Paypal และ Square ส่วนยุโรป ก็คือ บริษัท Revolut และ N26 หรือในจีน เช่น Lufax และ OneConnect เป็นต้น

ส่วน TechFin คืออะไร มาฟังกันครับ

จริงๆ แล้ว คนไทยก็เคยได้ยินชื่อหรือรู้จักบริการของบริษัทเหล่านี้มาก่อนแล้ว ที่ดังๆ ก็จะมี WeChat Pay หรือ LINE Pay เพียงแต่เจ้าของผู้ให้บริการเหล่านี้ เป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลก ที่มีแพลตฟอร์มของตัวเอง พวก Social Network ขนาดใหญ่ ที่มีผู้ใช้หลักพันล้านคน และแต่ละคนจะใช้เวลาอยู่กับแพลตฟอร์มนี้หลายชั่วโมงต่อวัน บริษัทบิ๊กเทคเหล่านี้จึงเห็นเป็นโอกาส ในการต่อยอดสู่ธุรกิจผู้ให้บริการทางการเงิน ที่เรียกกันว่า TechFin นั่นเอง

และด้วยจุดแข็ง 2 ข้อคือ มีฐานผู้ใช้แพลตฟอร์มจำนวนมากและแต่ละคนใช้เวลาหลายชั่วโมงบนแพลตฟอร์ม จึงทำให้ผู้ให้บริการ TechFin แจ้งเกิดได้อย่างรวดเร็ว และมียอดผู้ใช้บริการจำนวนมาก ส่งผลให้ยอดการทำธุรกรรมก็เติบโตก้าวกระโดด โดยเฉพาะบรรดาแพลตฟอร์มระดับโลก อาทิ Google Amazon Facebook Apple บริษัทในกลุ่มสัญชาติอเมริกันส่วนสัญชาติจีนจะมี Baidu Alibaba และ Tencent ทางด้านแพลตฟอร์มใหญ่ในไทยก็ต้องยกให้ LINE เป็นต้น

Photo : Shutterstock

หากยกตัวอย่างบริการธุรกรรมการเงินจากบริษัท TechFin ใหญ่ๆ ดังๆ ได้แก่ WeChat Pay จากค่ายอาลีบาบาสัญชาติจีน ซึ่ง WeChat Pay เป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ชำระเงินได้ผ่านแอปฯ WeChat โดยตรง หรือ LINE Pay สัญชาติญี่ปุ่น ที่เป็นกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ใช้ชำระเงินผ่านแอปฯ LINE แม้แต่ Google สัญชาติอเมริกัน ก็มี Google Pay เป็นกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับชำระเงินตามร้านค้าต่างๆ เป็นต้น

TechFin จึงมีพลังมหาศาลที่เข้ามาช่วงชิงเค้กจาก FinTech ได้อย่างง่ายดาย แม้จะแจ้งเกิดทีหลัง FinTech ก็ตามที

4 ข้อได้เปรียบของ TechFin มีอะไรบ้าง

หากถามว่า อะไรที่ทำให้ TechFin ติดลมบนได้เร็ว หลักๆ จะมี 4 ข้อได้เปรียบ คือ

อย่างแรก ผู้ใช้บริการ TechFin มีความเคยชินกับการใช้แพลตฟอร์มของบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้มาก่อนแล้ว เมื่อมีบริการทางการเงิน TechFin เพิ่มขึ้น ก็สามารถยืนยันตัวตนได้ง่ายพร้อมใช้งานต่อได้ทันที ไม่ต้องไปดาวน์โหลดแอปฯ และเริ่มต้นลงทะเบียนใหม่ เช่น WeChat Pay แต่ถ้าเป็นแอปฯ FinTech เช่น Pay Pal ก็จะต้องโหลดแอปฯ และจะต้องเริ่มขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่ลงทะเบียนจนจบกระบวนการจึงจะเริ่มใช้งานได้

Photo : Shutterstock

อย่างที่สอง บิ๊กดาต้า รวบรวมจากที่มีผู้คนใช้แพลตฟอร์ม Social Network วันละหลายชั่วโมง ทำให้ TechFin สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ และมีความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค และสามารถสร้าง Engagement กับผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่า ซึ่งปัจจุบัน ภาคธุรกิจต่างล้วนต้องการข้อมูลเหล่านี้อย่างมากเพื่อนำมาสร้างประการณ์บริการที่ดีและรู้ใจผู้ใช้มากที่สุด แน่นอนว่า บิ๊กดาต้าของ TechFin ถังใหญ่กว่า FinTech

อย่างที่สาม บริษัทเทคโนโลยีที่ทำธุรกิจ TechFin มีศักยภาพสูง ทั้งคนทำงานจำนวนมากกว่าและมีความเชี่ยวชาญมีประสบการณ์ทางด้านระบบเทคโนโลยีขั้นสูง และเงินลงทุนที่เหนือกว่ากลุ่ม FinTech อยู่แล้ว ยิ่งทำให้ TechFin สามารถวางโครงสร้างเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากกว่า สร้างระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งาน พร้อมรองรับผู้ใช้งานจำนวนมากๆได้

และสุดท้าย TechFin มีพลังในการเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ขนาดใหญ่ของแพลตฟอร์ม ทำให้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ของผู้คนจำนวนมาก

Photo : Shutterstock

แม้ว่าวันนี้ TechFin กำลังเป็นคลื่นลูกใหญ่ที่สร้างดิสรัปชันทั้ง FinTech และสถาบันการเงินไม่ว่าแบงก์หรือนอนแบงก์ก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้ให้บริการทางการเงินที่เผชิญกับการดิสรัปชันเหล่านี้ จะต้องสูญเสียธุรกิจหรือล้มหายตายจากไปจากอุตสาหกรรมทางการเงิน

เพราะผมมองว่า บรรดา ‘สถาบันการเงินแบบดั้งเดิม’ ก็ยังคงมีจุดแข็งในตัวเอง ทั้งจากความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจการเงินและการธนาคารมายาวนาน การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพกว่า ความปลอดภัยในการดำเนินงาน และการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย ล้วนเป็นเกราะความมั่นคงต่อฐานะทางการเงินของแบงก์ ที่จะเรียกความเชื่อมั่นจากลูกค้าแบงก์ได้ดีกว่า

ที่สำคัญแม้โลกการเงินเปลี่ยนเร็ว แต่สถาบันการเงินต่างๆ ก็เดินหน้าสู้ทุกวิถีทางเพื่อยืนบนโลกดิจิทัล แบงก์กิ้ง ซึ่งมีทั้งการปรับองค์กรแบบดิสรัปต์ตัวเอง การเปิดกว้างใช้เทคโนโลยีต่างๆ ไล่ล่าสิ่งใหม่ๆ หรือคิดค้นวิธีบริการใหม่ๆ ขึ้นมา ผ่านการจับมือพันธมิตรทางธุรกิจทั้งบริษัทเทคโนโลยี สตาร์ตอัป FinTech หรือธนาคารอื่นๆ พร้อมเปลี่ยนสถานะจากคู่แข่ง มาเป็นคู่มิตร เพื่อเกม Win Win ด้วยกัน

ยกตัวอย่างธนาคารในไทยที่เพิ่งประกาศดิสรัปต์ตัวเอง คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ด้วยการตั้งบริษัทโฮลดิ้งชื่อ เอสซีบีเอกซ์ (SCBX) เพื่อลงทุนในบริษัทลูกต่างๆ นำโดยธนาคารไทยพาณิชย์ และมีบริษัทย่อยๆ กว่า 20 แห่งที่แตกหน่อพร้อมให้บริการเชื่อมต่อธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ทางการเงิน

และล่าสุด SCB Securities ได้เข้าไปลงทุนใน ‘บิทคับ ออนไลน์’ (Bitkub Online Co., Ltd.) ซึ่งให้บริการแพลตฟอร์มด้านการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทย เป็นการสร้างคุณค่าใหม่ให้กับกลุ่ม SCBX ที่สามารถเติบโตในระยะยาวไปกับโลกใหม่ได้

ขณะที่ธนาคารกสิกรไทย คงชูบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยีกรุ๊ป (KBTG) และ ธนาคารกรุงไทย ที่ตั้ง Krungthai Innovation Lab หรือศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายก้าวสู่ “ธนาคารในอากาศ” จะเห็นว่า แม้แต่แบงก์ไทยก็มองหาโอกาสทางธุรกิจทางการเงินใหม่ๆ เช่นเดียวกับตลาดโลก

ขณะเดียวกัน สนามธุรกิจ FinTech และ TechFin แม้จะต้องแข่งขันกันอย่างเข้มข้น แต่เป้าหมายของทุกบริษัท ก็ล้วนต้องการเพิ่มทางเลือกบริการทางการเงินให้ลูกค้ามาใช้ ซึ่งฐานผู้ใช้บริการมีความหลากหลายของกลุ่มย่อย (Segment) แต่ละ Segment จะมีพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ และความต้องการที่แตกต่างกัน เมื่อดูตัวเลขประชากรทั่วโลกที่มีจำนวนกว่า 7.7 พันล้านคน ทุกคนย่อมต้องมีการทำธุรกรรมทางการเงินอยู่แล้ว และส่งผลดีต่อภาพการเติบโตทางด้านธุรกิจโดยรวม

Photo : Shutterstock

ยิ่งไปกว่านั้น ในด้านการลงทุนสำหรับนักลงทุนทั่วโลก ก็จะมีทางเลือกลงทุนหุ้นคุณภาพในกลุ่มเมกะเทรนด์ FinTech และเทคโนโลยี ท่ามกลางการแข่งขันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินเพื่อการเติบโตแบบยั่งยืนในระยะยาว สร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจให้แก่นักลงทุน

จะเห็นได้จาก ผลตอบแทนของกองทุนส่วนบุคคล Thematic ธีมเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ของ บลจ. จิตตะ เวลธ์ จำกัด ที่ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงินจากทั่วโลก อย่าง PayPal และ Sqaure ผ่านกองทุน Global X FinTech ETF ครอบคลุม 33 หุ้นในกลุ่มธุรกิจ อาทิ ประกัน ลงทุนระดมทุน สินเชื่อที่พัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินอย่าง เช่น Blockchain Cryptocurrency และการบริหารความมั่งคั่งแบบอัตโนมัติ (Automated Wealth Management) ให้ผลตอบแทน 1 ปีที่ผ่านมา 41.47% และผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน (YTD) 10.06% (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ต.ค. 64)

หรือธีมเทคโนโลยี (Technology) ลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกที่สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และเข้ามาเปลี่ยนแปลงสังคมในวงกว้าง โดย Jitta Wealth ลงทุนผ่านกองทุน iShares Exponential Technologies ETF ที่ครอบคลุมบริษัทที่ให้บริการแพลตฟอร์มระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Alphabet (Google) Apple Amazon และ Tencent ซึ่งขยายธุรกิจไปยัง TechFin โดยธีมนี้ให้ผลตอบแทน 1 ปีที่ผ่านมา 37.26% และผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน (YTD) 14.21% (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ต.ค. 64)

ส่วนตัวผมยังมองเห็นภาพเมกะเทรนด์ของ FinTech และ Technology ว่า เป็นถนนสายยาวๆ จากโลกเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ที่ผูกกับบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งคาดได้ยากว่าจะสิ้นสุดอย่างไร

เพราะฉะนั้น เมื่อตลาดผู้ใช้บริการมีจำนวนมหาศาล ผมเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นแบงก์ หรือธุรกิจอื่นๆ FinTech และ TechFin ต่างก็ย่อมปักหมุด หมายให้บริการลูกค้าแต่ละกลุ่มอยู่แล้ว เพราะตราบใดที่พวกเขามีศักยภาพในการดึงพลังเทคโนโลยีที่ไร้ขีดจำกัด มาพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงิน เพื่อเติมเต็มบริการที่เป็นผลประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าให้แก่ผู้ใช้บริการแล้ว แน่นอนว่า ผลลัพธ์ที่จะได้กลับมา คือ พวกเขาจะสามารถชิงเค้กก้อนใหญ่ยืนหยัดบนตลาดเทคโนโลยีการเงินได้ สร้างความความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจ หนุนการเติบโตในระยะยาวได้อย่างแน่นอน

]]>
1360978
‘ฟินเทค’ ในเวียดนาม กำลังรุ่ง…MoMo สตาร์ทอัพ e-Wallet ระดมทุนใหญ่มุ่งเป็น Super App https://positioningmag.com/1314310 Thu, 14 Jan 2021 09:41:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314310 สตาร์ทอัพฟินเทคในเวียดนาม กำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก ล่าสุด MoMo ผู้ให้บริการ
อีวอลเล็ต (e-Wallet) รายใหญ่ที่สุดในประเทศ ระดมทุนได้เกิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ วางเเผนสู่การเป็น ‘Super App’ เตรียมเสนอขายหุ้น IPO ภายในปี 2025

เทคโนโลยีด้านการเงินในเวียดนาม ที่มีประชากรเกือบ 98 ล้านคน มีกลุ่มคนหนุ่มสาวจำนวนมาก เเละเป็นหนึ่งในประเทศที่เติบโตไวสุดในอาเซียน เริ่มได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้นในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซเเละการค้าขายออนไลน์เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น ร้านค้าเเละผู้บริโภคมองหาตัวเลือกการชำระเงินเเบบไร้สัมผัส (Contactless Payment)

Pham Thanh Duc ซีอีโอของ MoMo เปิดเผยกับ Reuters ว่า ไม่สามารถระบุจำนวนเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ได้ เนื่องจากข้อตกลงที่ทำร่วมกับนักลงทุน แต่บอกได้ว่าครั้งนี้เพิ่มขึ้นกว่าการระดมทุนครั้งก่อนที่เคยทำไว้
100
ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3 พันล้านบาท)

โดยมีบริษัทใหญ่ 6 ราย ร่วมลงทุน ได้แก่ Warburg Pincus, Goodwater Capital, Affirma Capital Singapore, Kora Management, Macquarie Capital และ Tybourne Capital Management

MoMo มีชื่อย่อมาจาก Mobile Money ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2007 เป็นแอปพลิเคชันการชำระเงินออนไลน์ รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ปัจจุบันมียอดผู้ใช้บริการกว่า 23 ล้านคน โดยตั้งเป้าเพิ่มขึ้น 2 เท่าให้เป็นราว 50 ล้านคน ภายใน 2 ปีข้างหน้า พร้อมวางเเผนจะเสนอขายหุ้น IPO สู่สาธารณะภายในช่วงปี 2021-2025

การระดมทุนครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของ MoMo ให้ก้าวสู่การเป็นแอปพลิเคชันที่ครอบคลุมทุกบริการแบบครบวงจร ที่เรียกว่าSuper Appซึ่งพิสูจน์ให้เห็นเเล้วว่าเป็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จทั้งในจีน สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย

แม้ว่าตอนนี้ชาวเวียดนามจะยังนิยมชำระด้วยเงินสดเป็นหลัก แต่การชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนก็เพิ่มสูงขึ้นเกือบเเตะ 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2020 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 980% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019

Tech in Asia รายงานว่า ธุรกิจฟินเทคในเวียดนาม ปัจจุบันมีผู้เล่นอยู่ราว 39 ราย มีการเเข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อชิงช่องว่างตลาด โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 เเอปอี-วอลเล็ตที่ได้รับการดาวน์โหลดมากที่สุด ได้แก่ MoMo, ViettelPay, AirPay และ ZaloPay

เจ้าใหญ่อย่าง MoMo ต้องรับศึกหนักเพื่อต่อสู้กับ VNPay เเอปฯ ชำระเงินออนไลน์ที่มียอดผู้ใช้งานอยู่ที่ราว 15 ล้านคน ซึ่งกำลังจะเป็นสตาร์ทอัพ ยูนิคอร์นตัวล่าสุดของเวียดนาม

โดยผู้ร่วมก่อตั้ง MoMo เคยกล่าวกับ Tech in Asia ว่า บริษัทยังมีข้อได้เปรียบในตลาดนี้ เนื่องจากมีผู้ค้าออฟไลน์จำนวนมาก” อยู่ในเครือข่าย ตั้งแต่ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ไปจนถึง
ร้านกาแฟเเละร้านขายของชำรายย่อย

 

ที่มา : Reuters , Tech in Asia

 

]]>
1314310
ไปไกลกว่าค้าปลีก ‘Walmart’ ลุยปั้นสตาร์ทอัพ ‘ฟินเทค’ ให้บริการทางการเงินกับผู้บริโภค https://positioningmag.com/1313802 Tue, 12 Jan 2021 06:55:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313802 ในยุคที่เศรษฐกิจไม่เเน่นอนเเละพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนเเปลงตลอดเวลาการพึ่งพาธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพออีกต่อไป 

Walmart ห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่เเห่งอเมริกา ที่มีสาขามากกว่า 4,700 เเห่ง เป็นอีกเจ้าที่มีการขยายการลงทุนธุรกิจไปในน่านน้ำอื่น ทั้งเเบรนด์เเฟชั่น คลินิกสุขภาพต้นทุนต่ำและธุรกิจประกันภัย 

ล่าสุด Walmart จับมือกับ Ribbit Capital บริษัทลงทุนที่อยู่เบื้องหลังแพลตฟอร์มซื้อขายหุ้นชื่อดังอย่าง Robinhood เตรียมปลุกปั้นสตาร์ทอัพฟินเทค’ (FinTech) บริษัทเทคโนโลยีทางการเงินของตัวเองขึ้นมา

โดยจะเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ด้านการค้าปลีกของ Walmart เข้ากับความเชี่ยวชาญด้านฟินเทคของ Ribbit Capital เพื่อส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการปรับให้เหมาะสมกับลูกค้าและพนักงานของ Walmart

อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ ยังไม่ได้เปิดเผยว่าบริษัทใหม่เเห่งนี้จะมีชื่อว่าอะไรหรือจะให้บริการเมื่อใด โดยบอกแต่เพียงว่า “จะมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นเอกลักษณ์และราคาไม่แพง”

หลังประกาศข่าวนี้ ราคาหุ้นของ Walmart เพิ่มขึ้น 1.5% ทำให้มูลค่าบริษัทของ Walmart ขยับมาอยู่ที่ 416,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

John Furner ซีอีโอของ Walmart ระบุว่า หลายปีที่ผ่านมาลูกค้าหลายล้านคนได้ให้ความไว้วางใจใน Walmart ที่ไม่เพียงจะช่วยประหยัดเงินเมื่อซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังช่วยจัดการความต้องการทางการเงินของพวกเขาด้วย

(Photo by Al Bello/Getty Images)

Walmart หันมาสนใจธุรกิจให้บริการทางการเงิน โดยการเริ่มทดลองตลาดด้วยการออก Walmart MoneyCard บัตรเดบิตแบบเติมเงินเพื่อซื้อสินค้าภายในร้าน ชูจุดเด่นหลักๆ อย่างการไม่มีค่าธรรมเนียมเบิกเกินบัญชีหรือรายเดือน และไม่มีข้อกำหนดยอดเงินขั้นต่ำ

นอกจากนี้ ยังมีการเสนอแผนชำระเงินทางเลือกเพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโถคที่มีงบจำกัด เช่น Layaway และ Affirm ซึ่งเป็นบริษัทฟินเทคที่อนุญาตให้ลูกค้าซื้อสินค้าออนไลน์ เเละสามารถผ่อนชำระทีหลังได้ 

Bloomberg มองว่า เป้าหมายในธุรกิจฟินเทคของ Walmart คือการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเช่นเดียวกับที่ Alibaba อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ในเอเชีย เป็นทั้งผู้ค้าปลีกออนไลน์และผู้ให้บริการทางการเงินในแพลตฟอร์มเดียวกัน

การขยายไปรุกตลาดฟินเทคอย่างจริงจังของ Walmart ครั้งนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในสงครามค้าปลีกยุคใหม่ที่จะเอามาต่อกรกับ Amazon ค้าปลีกออนไลน์ที่เฟื่องฟูขึ้นอย่างมากในวิกฤต COVID-19

 

 

ที่มา : Bloomberg , CNBC , Businesswire

]]>
1313802
Ant Group หืดขึ้นคอ อาจเสนอขาย IPO ไม่เสร็จก่อนปี 2022 หลังทางการจีนเพิ่มกฎคุม “ฟินเทค” https://positioningmag.com/1308322 Mon, 30 Nov 2020 13:09:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308322 IPO ตกสวรรค์อย่าง Ant Group ต้องเหนื่อยยาว เสี่ยงขายไม่ทันปีหน้า เเถมยังอาจต้องรอถึงปี 2022 หลังทางการจีน สั่งยกระดับกฎระเบียบธุรกิจฟินเทคใหม่เกือบทั้งหมด

เเหล่งข่าวของ Bloomberg ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานกำกับดูแลหลักทรัพย์ของจีน ให้ข้อมูลว่า รัฐบาลกำลังพิจารณากฎระเบียบใหม่สำหรับฟินเทค เเละจะยังไม่ได้ข้อสรุปในเร็ววันนี้

นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การเสนอขายหุ้น IPO ของ Ant Group ไม่น่าจะแล้วเสร็จก่อนปี 2022 

ก่อนหน้านี้ Ant Group (เเอนท์ กรุ๊ปบริษัทเทคโนโลยีการเงิน เจ้าของ ‘Alipay’ ในเครือ Alibaba ของมหาเศรษฐีเเจ็ค หม่าเคยถูกประเมินว่าจะดมทุนได้ถึง 3.45 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นสถิติที่สูงสุดในโลก ก่อนจะถูกทางการจีนเบรกกะทันหันก่อนเปิดขายหุ้นให้เเก่สาธารณชนเพียงไม่กี่วัน ด้วยเหตุว่ามีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน

เเต่สำนักข่าวต่างประเทศ โยงเหตุการณ์นี้เข้ากับ “คำพูด” ของแจ็ค หม่า ที่ได้เเสดงความเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ “ระบบธนาคารจีนอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เขาต้องเสียโอกาสรับทรัพย์มหาศาลครั้งนี้ไปในพริบตา

อ่านต่อ : ทำไม Ant Group ของเเจ็ค หม่า กลายเป็น “IPO ตกสวรรค์หลังจีนเบรกระดมทุนสูงสุดในโลก

โดยความคืบหน้าตอนนี้ Ant Group เพิ่งเริ่มต้นปรับโครงสร้างและรูปแบบธุรกิจของบริษัทให้เป็นไปตามกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับฯ ซึ่งมีกฎระเบียบใหม่สำหรับผู้ประกอบธุรกิจด้านฟินเทค อย่างการให้สินเชื่อส่วนบุคคล 

งานหินของ Ant Group ก็คือการต้องเจรจากับหน่วยงานที่รัฐบาลจีนจัดตั้งขึ้นเพื่อดูเเลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ทั้งผู้ควบคุมระบบการเงิน หน่วยงานของธนาคารกลาง และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ ที่จะเข้ามาอัปเดตเเละรวมรวบข้อมูลต่างๆ ของบริษัท เพื่อนำไปสู่การร่างกฎระเบียบอื่นๆ ในอุตสาหกรรมฟินเทค

Bloomberg ระบุว่า ร่างกฎระเบียบสำหรับผู้ให้กู้รายย่อยที่ทางการจีนเพิ่งประกาศออกมาเมื่อเดือนพ.. อาจเป็นการบังคับให้ Ant Group ต้องเพิ่มเงินทุนถึง 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้บริษัทผ่านเกณฑ์ข้อกำหนด

นอกจากนี้ Ant Group ยังต้องยื่นขอใบอนุญาตใหม่สำหรับแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมขนาดย่อม เบื้องต้นอีก 2 แพลตฟอร์มอย่าง Huabei และ Jiebei ซึ่งคาดว่าหน่วยงานกำกับฯ ไม่น่าจะอนุมัติใบอนุญาตทั้ง 2 ใบให้กับบริษัทเอกชนที่เป็นเจ้าใหญ่เช่นนี้

ยังไม่หมด Ant Group ยังจะต้องยื่นขอใบอนุญาตบริษัทโฮลดิ้งทางการเงินแยกต่างหากจากธนาคารกลาง เพราะมีการทำงานครอบคลุมส่วนงานการเงินมากกว่า 2 ส่วน ซึ่งก็ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ ในเรื่องนี้

อุปสรรคมากมายเหล่านี้ ทำให้การเสนอขายหุ้น IPO ไม่ได้เป็นเเผนการใหญ่ลำดับต้นๆของ Ant Group อีกต่อไป (อย่างน้อยก็ในช่วง 1-2 ปีนี้)

 

ที่มา : bloomberg , techinasia

]]>
1308322