Hermes – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 21 Feb 2022 07:54:58 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Hermes’ ยืนยันไม่ขึ้นราคา! แม้ต้นทุนสูงเพราะเงินเฟ้อ และผลประกอบการน้อยกว่าเป้า https://positioningmag.com/1374660 Mon, 21 Feb 2022 05:56:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374660 ‘แอร์เมส’ (Hermes) แบรนด์สินค้าหรูของฝรั่งเศส ยืนยันว่าแบรนด์ “ไม่มีกลยุทธ์ขึ้นราคา” สินค้าอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าผลประกอบการไตรมาสที่ 4 จะไม่เป็นไปตามเป้าเนื่องจากปัญหาซัพพลายเชน รวมไปถึงปัญหาเงินเฟ้อที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตก็ตาม

ผลประกอบการในไตรมาส 4 ของ Hermes ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยปิดที่ 2.38 พันล้านยูโร จากที่คาดว่าจะปิดที่ 2.53 พันล้านยูโร โดยยอดขายในหมวดเครื่องหนังและอานม้าลดลง -5.4% เนื่องจากข้อจำกัดด้านกำลังการผลิต อย่างไรก็ตาม ยอดขายปี 2564 เพิ่มขึ้น 42% โดยได้ดีมานด์จากตลาดสหรัฐฯ และจีน

ผลประกอบการทั้งปีแสดงให้เห็นว่าสินค้าของ Hermes ทั่วโลกขึ้นราคาเฉลี่ย 3.5% สูงกว่าอัตราปกติที่ 1.5% ซึ่งสะท้อนถึงต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นและความผันผวนของค่าเงิน แต่ก็ยังต่ำกว่าคู่แข่งอย่าง Louis Vuitton ซึ่งขึ้นราคาโดยเฉลี่ย 7% ทั่วโลก

Axel Dumas ซีอีโอของ Hermes ให้สัมภาษณ์ว่า ด้วยสินค้าของบริษัทนั้นเน้นผลิตด้วยมือ ดังนั้น บริษัทอาจเจอปัญหาด้านค่าจ้าง แต่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ปัญหาด้านเงินเฟ้อ เช่น ต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นสร้างแรงกดดันให้บริษัทมากกว่า แต่บริษัทไม่มีแผนที่จะขึ้นราคาสินค้า

“การขึ้นราคาโดยไม่จำเป็น ไม่ใช่กลยุทธ์ที่จะสร้างการเติบโต และเรามีอัตราเงินเฟ้อที่จำกัดมากเพราะเครื่องมือหลักของเราในการผลิตกระเป๋าคือ เย็บด้วยมือ ดังนั้น บริษัทเลยเผชิญกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อน้อยกว่าคู่แข่งบางราย” Axel Dumas กล่าว

อย่างไรก็ตาม หุ้น Hermes ร่วงลงมากถึง -7% ในการซื้อขายช่วงแรก โดยแย่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2559 และมูลค่าลดลงต่ำสุดในรอบกว่า 8 เดือน ซึ่งทาง Dumas ย้ำว่า “ไตรมาสที่แย่ 1 ไตรมาส ไม่ได้บ่งชี้ถึงภาวะถดถอยในวงกว้างใด ๆ”

แม้ไตรมาส 4 จะแย่แต่ภาพรวมทั้งปีถือว่าเติบโตอย่างมาก โดยมีตลาดสหรัฐอเมริกาและจีนเป็นตลาดหลัก ตามด้วยประเทศที่เหลือในเอเชีย และฝรั่งเศสที่เป็นตลาดที่สามารถทำรายได้เกินระดับก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19

“เราเห็นความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมากในตลาดสหรัฐอเมริกา, จีน และเอเชีย โดยเฉพาะชนชั้นกลางกลุ่มมิลเลนเนียลที่กำลังเติบโตของจีน ซึ่งคิดเป็น 80% ของผู้ซื้อในจีน”

นอกจากนี้ ช่อทางออนไลน์ของบริษัทก็ยังสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรง โดย 78% ของยอดขายออนไลน์มาจากลูกค้าใหม่

“หลังล็อกดาวน์ เมื่อร้านค้าเปิดใหม่ กระแสของอีคอมเมิร์ซก็ไม่เปลี่ยนแปลง”

Source

]]>
1374660
เพียง 3 เดือนเเรกของปีนี้ ยอดขาย ‘Hermes’ พุ่งเกือบ 44% คนรวยเอเชียทุ่มช้อปเเบรนด์หรู https://positioningmag.com/1329060 Fri, 23 Apr 2021 11:45:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329060 ‘Hermes’ เเบรนด์เเฟชั่นหรูจากฝรั่งเศส เจ้าของกระเป๋า Birkin สุดโด่งดัง ทำยอดขายในไตรมาสแรกของปี 2021 เพิ่มขึ้นสูงถึงเกือบ 44% จากพลังช้อปของเหล่าคนรวยในเอเชีย โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน หลังมีการผ่อนคลายมาตรการสกัดโรคระบาดเเละกลับมาเปิดร้านค้าได้อีกครั้ง

ความนิยมซื้อของหรูของกลุ่มคนมั่งคั่ง ไม่เเผ่วลงในช่วงวิกฤต COVID-19 โดยผลประกอบการของ Hermes ประจำไตรมาส 1/2021 เพิ่มขึ้น 43.7% ในอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่จากปี 2020 โดยสามารถรายได้รวมถึง 2,083 ล้านยูโร (ราว 7.8 หมื่นล้านบาท) ในช่วงเเค่ 3 เดือนแรกของปีนี้เท่านั้น เหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ว่าคาดจะเพิ่มขึ้น 24%

ปัจจัยที่ส่งเสริมรายได้ของ Hermes ในช่วงนี้ก็คือยอดขายในเอเชีย(ไม่รวมญี่ปุ่น) ที่เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดถึงถึง 93.6% เมื่อเทียบกับจากไตรมาสแรกของปี 2020 โดยเฉพาะยอดขายในจีน ที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว บวกกับยอดขายที่ทรงตัวในเกาหลีใต้ ไทย สิงคโปร์ และออสเตรเลีย 

ญี่ปุ่นยังเป็นตลาดสำคัญที่เติบโตได้ดีของ Hermes โดยมียอดขายเพิ่มขึ้น 20% ส่วนยอดขายฝั่งอเมริกาก็เพิ่มขึ้นกว่า 24% ช่วยชดเชยยอดขายที่ลดลงในตลาดยุโรป ที่เพิ่มขึ้นเพียงแค่ 4.4% เพราะยังต้องเผชิญกับการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกใหม่

โดยสินค้าขายดีที่สุดของเเบรนด์ Hermes เป็นกลุ่มเครื่องหนัง , เสื้อผ้า Ready-to-Wear และผ้าไหม 

Eric du Halgouët ผู้บริหารระดับสูงของ Hermes ยืนยันว่า การเติบโตของยอดขายในไตรมาสดังกล่าวไม่ใช่แรงหนุนจาก ‘ราคาที่เเพงขึ้นเพราะบริษัทมีการปรับราคาขึ้นเพียง 1.4%ในปีนี้

ยอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้น 100% หรือมากกว่านั้นในทุกภูมิภาค และมีแนวโน้มที่จะเกิน 1 พันล้านยูโรในไม่ช้า

ยอดขายที่เพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นไฮเอนด์ต่างๆ ชี้ให้เห็นถึงสัญญาณการกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งของกลุ่มสินค้าลักชัวรี โดยคู่แข่งอย่าง LVMH และ Kering ก็มีรายได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตามองปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในวิกฤตนี้ เช่นในญี่ปุ่นที่ COVID-19 กำลังกลับมาระบาดรุนเเรงอีกครั้ง

 

 

ที่มา : Reuters , wwd 

]]>
1329060
มองอนาคตตลาด ‘Luxury’ ที่อาจต้องใช้เวลา 2 ปีถึงจะฟื้น และจีนจะครอง 50% ของยอดขายทั่วโลก https://positioningmag.com/1277947 Mon, 11 May 2020 10:37:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277947 รายงานใหม่จาก Bain & Company คาดการณ์ว่ายอดขายสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้า Luxury ทั่วโลกในไตรมาส 2 ของปีอาจลดลงมากถึง 60% เนื่องจากการระบาดของโรค COVID-19 เนื่องจากหลายประเทศต้องปิดร้านค้าที่ไม่จำเป็นและสั่งคนให้อยู่ในบ้านให้มากที่สุด

Bain & Company ระบุว่า เพื่อสกัดกั้นการแพร่กระจายของ COVID-19 ประเทศต่าง ๆ จึงบังคับปิดร้านค้าปลีก, การเดินทางภายในประเทศและระหว่างประเทศ หลายล้านคนทั่วโลกต้องตกงานและโลกอยู่ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ซึ่งส่งผลต่อยอดขายสินค้า ยอดขายสินค้าฟุ่มเฟือยส่วนบุคคลทั่วโลกหรือสินค้า Luxury ที่ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า, เครื่องประดับ, นาฬิกา, ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และอุปกรณ์เสริม

Photo : Shutterstock

โดยคาดว่ายอดขายสินค้า Luxury ทั่วโลกจะลดลงประมาณ 50% – 60% ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี แม้ว่าในบางประเทศจะเริ่มผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ลง ขณะที่ภาพรวมทั้งปีคาดว่าจะหดตัวประมาณ 20% – 35% เหลือประมาณ 1.8-2.2 แสนล้านยูโร จากที่ปี 2019 มีมูลค่าตลาดสูงถึง 2.81 แสนล้านยูโร

“จะมีการฟื้นตัวของตลาดหรู แต่อุตสาหกรรมจะเปลี่ยนไปอย่างสุดซึ้ง” Claudia D’Arpizio หุ้นส่วนของ Bain และผู้เขียนรายงานหลักกล่าว

ด้านที่ปรึกษาบริษัท McKinsey & Company ออกรายงานในเดือนเมษายนซึ่งกล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า มูลค่าตลาด Luxury ทั่วโลกในปี 2020 จะหดตัวระหว่าง 35% – 39% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ประมาณ 80% ของบริษัทแฟชั่นที่จดทะเบียนในตลาดยุโรปและอเมริกาเหนือจะอยู่ในภาวะคับขันทางการเงิน

“หากตลาด Luxury จะกลับมาเป็นปกติหรือมีมูลค่าเท่ากับปี 2019 ต้องใช้เวลา 2-3 ปี หรือประมาณปี 2565 ถึง 2566 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแนวโน้มทางเศรษฐกิจระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเวลานั้น กระแสการท่องเที่ยวและความสามารถของแบรนด์ในการคาดการณ์และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค”

ทั้งนี้ คาดว่าผู้บริโภคชาวจีนจะนำไปสู่การฟื้นฟูในการจับจ่ายสินค้าหรูหรา โดยภายในปี 2568 ตลาด Luxury จะมีมูลค่าถึง 3.2 – 3.3 แสนล้านยูโร ขณะที่ผู้บริโภคชาวจีนจะมีสัดส่วนการใช้จ่ายให้กับสินค้า Luxury เกือบครึ่งหนึ่งของการใช้มูลค่าตลาดทั่วโลก จากที่ปี 2019 มีสัดส่วนประมาณ 35%

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางทั่วโลกลูกค้าชาวจีนที่เดินทางไปต่างประเทศ เช่น ปารีส, ลอนดอน และนิวยอร์กเพื่อซื้อสินค้า Luxury ทำให้เกิดแนวโน้มที่จะทำสั่งซื้อภายในประเทศแทน

“ประเทศจีนจะยังคงผลักดันการเติบโตของตลาดสินค้าฟุ่มเฟือย และคาดว่าจะมีการซื้อสินค้าประมาณ 50% ในจีนแผ่นดินใหญ่”

Source

]]>
1277947
Hermes ลุยธุรกิจ “เครื่องสำอาง” เป็นครั้งแรก ส่งลิปสติก 24 เฉดสีเปิดตลาดสู้ Chanel-Dior https://positioningmag.com/1263568 Fri, 07 Feb 2020 08:51:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1263568 Hermes ขยายสู่ธุรกิจเครื่องสำอางเป็นครั้งแรกด้วยสินค้าลิปสติก 24 เฉดสี สนนราคาแท่งละ 67 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,040 บาท) หลังจากคู่แข่งในวงการแฟชันระดับลักชัวรีอย่าง Dior และ Chanel นำหน้าไปนานหลายปี โดย Hermes หวังว่าธุรกิจนี้จะช่วยดันรายได้กลุ่มน้ำหอมให้มากขึ้นจากปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 5% ในรายได้รวมของบริษัท

Hermes International เปิดตัวผลิตภัณฑ์แรกจากแผนกความงาม เป็นคอลเลกชัน ลิปสติก ราคา 67 เหรียญสหรัฐ มีให้เลือกทั้งหมด 24 เฉดสี ตัวเคสทำจากโลหะพ่นสีที่สื่อถึงเครื่องประดับบนกระเป๋า Hermes ผลิตภัณฑ์สร้างชื่อให้กับแบรนด์ และจะวางจำหน่ายเฉพาะในช็อปของ Hermes เองเท่านั้น

โดย Hermes ประกาศว่าแบรนด์จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยทีมภายในบริษัทให้มากที่สุด เฉลี่ยแล้วคาดว่าจะออกเครื่องสำอางใหม่ทุกๆ 6 เดือน

“พวกเขากำลังทำงานอย่างระมัดระวังยิ่ง เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อระดับภาพลักษณ์ของแบรนด์” มาริโอ ออร์เทลลิ ที่ปรึกษาด้านลักชัวรีแบรนด์จากลอนดอนกล่าว

ลิปสติกคอลเลกชันแรกจาก Hermes มีให้เลือกทั้งหมด 24 สี (photo: Hermes)

การขยายเข้าสู่ธุรกิจเครื่องสำอาง ถือเป็นการชิมลางในธุรกิจนี้ของ Hermes และต้องต่อสู้กับคู่แข่งอย่าง Christian Dior แบรนด์ในเครือ LVMH และ Chanel ที่สร้างทั้งยอดขายและกำไรมานานในวงการ โดย LVMH ยังเป็นเจ้าของร้านเครื่องสำอางระดับโลกอย่าง Sephora ด้วย

ส่วน Chanel เป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งในวงการเช่นกัน โดยสามารถสร้างยอดขายได้ถึงปีละ 4,000 ล้านยูโร (ประมาณ 1.37 แสนล้านบาท) เมื่อเทียบกับ Hermes ซึ่งก่อนหน้านี้สินค้าบิวตี้มีแค่น้ำหอมกับสบู่ ทำให้สร้างยอดขายได้เพียงปีละ 312 ล้านยูโร (ประมาณ 10,700 ล้านบาท) เห็นได้ว่า Hermes ยังเป็นผู้เล่นหน้าใหม่อย่างมากสำหรับตลาดนี้

การเปิดตัวลิปสติกครั้งนี้ Hermes หวังว่าในอนาคตสินค้าเครื่องสำอางและสกินแคร์จะช่วยเร่งรายได้ให้กับกลุ่มธุรกิจน้ำหอมได้ จากปัจจุบันที่น้ำหอมมีสัดส่วนเพียง 5% ในรายได้รวมของแบรนด์ที่ทำได้ปีละ 6,000 ล้านยูโร (ราว 2.05 แสนล้านบาท)

(photo : Hermes)

“เป็นเรื่องสำคัญมากที่กลุ่มธุรกิจน้ำหอมจะต้องขยายไปให้ครบ 3 มิติ” อักเซล ดูมา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Hermes เปิดเผยกับกลุ่มนักลงทุนเมื่อปีก่อนในวันประกาศโครงการขยายธุรกิจเครื่องสำอาง เขากล่าวว่า 3 มิติของกลุ่มสินค้านี้คือ น้ำหอม เครื่องสำอาง และ สกินแคร์ ที่จะช่วยเพิ่มยอดขายในแต่ละทวีปรอบโลก “คุณต้องมีให้ครบทั้ง 3 กลุ่ม”

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Euromonitor พบว่าตลาดเครื่องสำอางทั่วโลกมีแนวโน้มจะเติบโตได้ถึง 6% ปีนี้ ทำให้มีมูลค่ารวมแตะ 77,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.42 ล้านล้านบาท)

Source

]]>
1263568
ที่มาราคาใบละ(หลาย)แสนของ “Hermes Birkin” หนึ่งในกระเป๋าแบรนด์เนมที่แพงที่สุดในโลก https://positioningmag.com/1262953 Mon, 03 Feb 2020 09:46:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262953 Hermes Birkin คือกระเป๋าแบรนด์เนมสุดหรูสนนราคาหลักแสนบาท ยิ่งรุ่นพิเศษอย่าง Himalaya ราคาพุ่งขึ้นไปถึง 15 ล้านบาท แต่ทำไมกระเป๋าแบรนด์นี้และรุ่นนี้จึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคระดับไฮเอนด์ เรามาติดตามตำนานของ Hermes Birkin และกลยุทธ์การหล่อเลี้ยงดีมานด์-ซัพพลายจนทำให้กระเป๋าใบนี้กลายเป็นสินค้าเพื่อการลงทุน

กระเป๋า Hermes เป็นไฮเอนด์แบรนด์ที่สาวๆ ต่างหมายปอง โดยราคาต่ำสุดเริ่มต้นที่ 1,875 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 56,250 บาท และนั่นคือราคากระเป๋าสะพายข้างขนาดเล็กรุ่น Aline Mini Bag เท่านั้น แต่ถ้าเป็นรุ่นยอดฮิตอย่าง Birkin ราคาเริ่มต้นโดยประมาณคือ 9,000 เหรียญสหรัฐ หรือ 2.7 แสนบาท ยิ่งถ้าหากเป็นรุ่น Himalaya Birkin ด้วยแล้ว ราคาจะพุ่งขึ้นไปถึง 5 แสนเหรียญ หรือ 15 ล้านบาท!!

อะไรทำให้กระเป๋าใบหนึ่งมีราคาสูงเทียบได้กับการซื้อบ้านทั้งหลัง และยังมีคนมากมายต้องการเป็นเจ้าของ เรามาติดตามตำนานของกระเป๋า Hermes Birkin กัน

เรื่องราวย้อนกลับไปถึงปี 1984 นักแสดงสาว Jane Birkin (นามสกุลของเธอจะกลายเป็นชื่อกระเป๋าในเวลาต่อมา) บังเอิญได้นั่งติดกับ Jean-Louis Dumas ซีอีโอของ Hermes บนเที่ยวบินหนึ่ง เป็นที่รู้กันดีว่า Jane Birkin มักจะหิ้วตะกร้าสานไปไหนมาไหนด้วยเวลาเดินทาง และครั้งนี้ก็เช่นกัน Birkin พยายามนำตะกร้าใส่บนที่เก็บของเหนือศีรษะของเครื่องบิน ทำให้ฝาตะกร้าเปิดและข้าวของตกหล่นกระจายบนพื้น

Jane Birkin with her husband Serge Gainsbourg in London’s Berwick Street, April 1977
Jane Birkin กับตะกร้าสานคู่ใจของเธอ (photo: The Irish Times)

Birkin บ่นให้ Dumas ฟังว่าเธอไม่สามารถหากระเป๋าที่ถูกใจใช้ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ได้เลย Dumas จึงเริ่มสเก็ตช์ภาพกระเป๋าตามความต้องการของ Birkin บนเครื่องบินลำนั้นเลย และอีกหนึ่งปีต่อมา Dumas ก็นำกระเป๋า “The Birkin Bag” ใบแรกให้เธอชม

ตัวกระเป๋ามีขนาดใหญ่พอที่จะจุของมากมาย แต่ยังคงดูลักชัวรี พร้อมช่องเก็บของภายใน และมีที่ปิดกระเป๋าเพื่อไม่ให้ข้าวของหล่นออกมาโดย Hermes Paris ผลิตกระเป๋ารุ่นนี้จากหนังหลายแบบ มีตั้งแต่หนังลูกวัว หนังจระเข้ ไปจนถึงหนังนกกระจอกเทศ (ล่าสุดเพิ่งมีแบบทำจากผ้าใบเพิ่มเข้ามา) และทุกใบเป็นกระเป๋าแฮนด์เมดที่สร้างจากฝีมือช่างอย่างพิถีพิถัน

กระเป๋าถือ Birkin สีทราย สีคลาสสิกของ Hermes (photo: Hermes)

แม้ยุคนี้กระเป๋า Hermes Birkin จะโด่งดังมาก แต่เมื่อครั้งที่กระเป๋าออกวางตลาดใหม่ๆ มันไม่ได้เป็นกระเป๋ายอดนิยมทันที กว่าที่ Birkin จะดังจริงๆ และขึ้นสู่สถานะ “It Bag” (กระเป๋าบ่งบอกสถานะทางสังคม) ก็อีก 10 กว่าปีต่อมา และทำให้กระเป๋าที่เคยขายในราคา 12,000 เหรียญสหรัฐ ขยับราคาขึ้นไปที่ 50,000 เหรียญสหรัฐ

แน่นอนว่า Jane Birkin คือจุดเริ่มต้นของการประชาสัมพันธ์กระเป๋าใบนี้ เนื่องจากเธอหิ้วมันไปตามที่ต่างๆ อยู่เสมอ แต่กระเป๋าเริ่มเป็นเทรนด์โด่งดังจริงๆ เมื่อเป็นส่วนหนึ่งในฉากของซีรีส์ดังเรื่อง Sex and the City เมื่อปี 2001 พล็อตของตอนนี้ ตัวละคร Samantha Jones ใช้ชื่อลูกค้าเซเลบของเธอเพื่อซื้อกระเป๋า Birkin โดยไม่ต้องรอคิวยาวถึง 5 ปี หลังซีรีส์ตอนนี้ออกอากาศคิวรอซื้อกระเป๋า Hermes Birkin ก็ยาวขึ้นถึง 3 เท่า

ชื่อเสียงของเซเลบที่หิ้วกระเป๋าใบนี้ไปมายิ่งช่วยให้กระเป๋าโด่งดังยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Victoria Beckham, Kate Moss, Kim Kardashian หรือ Lady Gaga

Sex and the City
ฉากจากซีรีส์เรื่อง Sex and the City ที่เกี่ยวข้องกับกระเป๋า Hermes Birkin และทำให้มันดังเป็นพลุแตก

นั่นคือการสร้างดีมานด์ในโลกแห่งการโฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่กระเป๋าคงไม่ดันราคาขึ้นสูงขนาดนี้ได้หากไม่จำกัดซัพพลาย และเป็นการจำกัดซัพพลายที่มีเหตุผลรองรับ

Mason Howell ผู้เชี่ยวชาญด้านกระเป๋าถือจากบริษัทขายแบรนด์เนมมือสอง The Real Real อธิบายว่า Birkin แพงมากเพราะเรื่องราวการผลิต Birkin เป็นกระเป๋าแฮนด์เมดและเป็นงานศิลปะในตัวเอง ช่างของ Hermes ต้องมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีจึงจะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ผลิตกระเป๋ารุ่นนี้ได้ ซัพพลายของกระเป๋าจึงมีน้อย

Hermes ใช้กลยุทธ์นี้เพื่อให้ซัพพลายในตลาดมีจำกัดและกลายเป็นสินค้าที่ทุกคนตามหา โดยจำนวนผลิตกระเป๋า Birkin ต่อปีเป็นความลับสุดยอดของบริษัท แต่มีการคาดการณ์กันว่าบริษัทจะเลี้ยงปริมาณในตลาดให้อยู่ที่ไม่เกิน 2 แสนใบ

กระเป๋า Hermes Himalaya Birkin ไซส์ 25 ซม. (Photo: Christies.com)

ส่วนกระเป๋าที่แพงที่สุดของ Hermes คือรุ่น Himalaya Birkin เป็นกระเป๋าหนังจระเข้สีขาวประดับด้วยทองคำขาว 18K และเพชรมากกว่า 200 เม็ด กระเป๋ารุ่นนี้แบ่งออกเป็น 3 ไซส์ แต่ไซส์ที่หายากที่สุดคือขนาด 35 เซนติเมตร ซึ่งมีสถิติขายรีเซลด้วยราคาที่แพงที่สุดเมื่อปี 2019 ด้วยราคา 5 แสนเหรียญหรือ 15 ล้านบาท ผู้ซื้อต่อคือ David Oancea หรือชื่อในวงการคือ Vegas Dave ผู้เชี่ยวชาญด้านการพนันกีฬา

Oancea ให้ข้อมูลกับ Business Insider ว่ากระเป๋ารุ่นนี้และไซส์นี้เท่าที่เขาทราบมีแค่ 2 ใบในโลก นอกจากเขาที่เพิ่งซื้อมันมาแล้ว อีกคนหนึ่งที่มีในครอบครองคือ Marjorie Harvey ภรรยาของ Steve Harvey พิธีกรคนดังแห่งเวทีมิสยูนิเวิร์ส

ส่วนเหตุผลที่ Oancea ลงทุนซื้อกระเป๋าแพงระยับ เป็นเพราะเขารักการทำลายสถิติ และต้องการเป็นที่รู้จักจากการครอบครองกระเป๋าใบนี้เขายังยืนยันไม่ขายกระเป๋าที่เป็นตัวสร้าง “คอนเทนต์” สุดฮอตบนโซเชียลมีเดีย ยกเว้นจะมีคนยอมจ่ายให้ถึง 2 ล้านเหรียญสหรัฐ!! (60 ล้านบาท)

 

View this post on Instagram

 

A post shared by Vegas Dave ?⚾?? (@itsvegasdave) on

ปัจจุบันกระเป๋า Hermes Birkin ไม่ใช่สินค้าที่วางขายทั่วไป คนที่จะได้สิทธิซื้อต้องเป็นลูกค้าที่ซื้อสินค้าของ Hermes มาแล้วจำนวนมาก หรือเป็นคนดังในสังคม จากนั้นทาง Hermes จะเสนอสิทธิซื้อกระเป๋า Birkin ให้เอง และถึงจะได้สิทธิซื้อแล้วก็ยังต้องต่อคิวรอการผลิต แถมยังไม่สามารถเลือกสีหรือไซส์ของกระเป๋าได้ รวมถึงยังถูกจำกัดจำนวนการซื้อต่อคนต่อปีด้วย

เมื่อซัพพลายของใหม่ในตลาดมีน้อยและเข้าถึงยาก ดังนั้นราคารีเซลมือสอง (หรือสาม สี่ ห้า) ย่อมพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย กระเป๋า Birkin จึงไม่ใช่แค่สินค้าแฟชั่นแต่กลายเป็นทรัพย์สินเพื่อการลงทุน ที่เศรษฐีบางคนจ่ายเงินซื้อเก็บแทนทองคำ โดยมีผลการศึกษาราคาจาก baghunter.com เมื่อปี 2017 พบว่าราคาของ Birkin เพิ่มขึ้น 500% ในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา หรือเฉลี่ยปีละ 14% เป็นผลตอบแทนที่สูงยิ่งกว่าการลงทุนในหุ้น S&P 500 ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 12% ต่อปี

Victoria Beckham หนึ่งในเซเลปที่ใช้กระเป๋า Hermes Birkin ว่ากันว่าเธอมีกระเป๋ารุ่นนี้กว่า 100 ใบ (photo: Danny Martindale/FilmMagic)

Howell จาก The Real Real กล่าวด้วยว่าราคาจะเติบโตมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับเป็น Birkin สีไหน ไซส์ไหน ใช้วัสดุใดในการตัดเย็บและตกแต่ง อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วถ้าคุณซื้อ Birkin สักใบหนึ่งเมื่อปี 2004 มาในราคา 4,000 เหรียญ ผ่านไป 15 ปี คุณจะสามารถขายมันได้ในราคา 5,000-6,000 เหรียญ แม้ว่าจะผ่านการใช้งานมาหลายครั้ง ดังนั้นมันจึงไม่ใช่กระเป๋าที่ต้องเก็บไว้ในตู้ที่บ้านเท่านั้นจึงจะเก็งกำไรได้

อย่างที่ได้กล่าวไปว่าโดยรวมแล้วจำนวนกระเป๋ารุ่นนี้มีน้อย ยิ่งเมื่อมาแยกเป็นสี ไซส์ วัสดุหนังที่ใช้ และวัสดุเครื่องประดับ ยิ่งทำให้มีกระเป๋าที่เป็นแบบเดียวกันเป๊ะน้อยลงไปอีก กระเป๋า Birkin แต่ละใบจึงเหมือนเป็น Limited Edition ในตัวมันเอง Howell กล่าวว่า คุณสมบัติแบบนี้ทำให้ผู้บริโภคอาจจะยอมจ่ายเพิ่มอีก 10,000 เหรียญเพื่อให้ได้แบบกระเป๋าที่ตัวเองต้องการ

ราคารีเซล Hermes Birkin (photo: Komehyo.co.th)

สำหรับในไทย ราคา Birkin มือสองที่ขายอยู่ในเว็บไซต์ Komehyo ร้านแบรนด์เนมมือสอง สนนราคาตั้งแต่ 2.3 แสนบาทจนถึง 5.3 แสนบาท

แล้วใครบ้างที่เป็นนักสะสม Birkin เซเลบคนหนึ่งที่ครอบครองกระเป๋า Birkin ไว้มากที่สุดคือ Victoria Beckham สื่อคาดการณ์กันว่าเธอมีกระเป๋ารุ่นนี้อยู่กว่า 100 ใบ มูลค่ารวมกันมากกว่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 60 ล้านบาท) แต่ยังมีคนที่สะสม Birkin ไว้มากกว่า Victoria คนๆ นั้นคือ Jamie Chua นักธุรกิจหญิงในสิงคโปร์ที่มีกระเป๋า Birkin ถึง 200 ใบ!!

ส่วนต้นกำเนิดของกระเป๋าอย่าง Jane Birkin กลับเป็นคนที่ใช้กระเป๋าใบนี้แบบที่คนรัก Birkin ต้องร้องกรี๊ดมากที่สุด เพราะเธอติดสารพัดสติกเกอร์ไว้บนตัวกระเป๋าเหมือนมันทำจากพลาสติกมิใช่หนังแท้ “การใช้กระเป๋าคงไม่สนุกเท่าไหร่ถ้าเราไม่เอามาใช้แบบสมบุกสมบันราวกับเคยมีแมวมานั่งทับ!” Birkin กล่าว

Source: Business Insider, BBC, Fashionista

]]>
1262953
ประท้วงฮ่องกงพ่นพิษ แบรนด์หรูกระทบหนัก Hermes ปิด 5 สาขา https://positioningmag.com/1248460 Thu, 03 Oct 2019 10:25:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1248460 4 เดือนของเหตุการณ์ประท้วงที่ฮ่องกงส่งผลให้แบรนด์หรูระดับโลกเจ็บช้ำไปตามกัน ทั้ง Prada, Cartier รวมถึง Tiffany ที่นับฮ่องกงเป็นตลาดใหญ่อันดับ 4 ของแบรนด์ ต่างมีแผลจากความไม่สงบที่ทำให้นักท่องเที่ยวหดหาย เกือบทุกแบรนด์จำใจปิดร้านค้าลงชั่วคราว กลายเป็นความเสียหายที่เริ่มชัดเจนผ่าน 4 สถิตินี้

1. ยอดเครื่องเพชรนาฬิกาหรูวูบ 47.4%

ฮ่องกงเป็นพื้นที่ติดอันดับ 1 ใน 5 จุดหมายปลายทางท่องเที่ยวของนักช้อปที่ชื่นชอบสินค้าหรูหรา เพราะแบรนด์ใหญ่เลือกฮ่องกงเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการตั้งร้านค้าเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ สถิติจาก Bernstein ระบุว่าฮ่องกงครองสัดส่วน 5-10% ของยอดขายสินค้าฟุ่มเฟือยทั่วโลก ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณปีละ 285,000 ล้านเหรียญ

แต่ข้อมูลวันที่ 2 ตุลาคมแสดงว่า ยอดค้าปลีกในฮ่องกงประจำเดือนสิงหาคม 62 ลดลง 23% จากปี 61 ซึ่งเป็นสถิติการหดตัวมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่มูลค่ายอดขายสินค้ากลุ่มอัญมณี นาฬิกา และสินค้ามีค่ารายการอื่นทำสถิติลดลง 47.4%

2. นักท่องเที่ยวหด 39%

Annie Yau Tse ประธานสมาคมการค้าปลีกฮ่องกง Hong Kong Retail Management Association ยอมรับว่ายังไม่เห็นแสงสว่างของวิกฤติพิษประท้วงฮ่องกง บนสถิติล่าสุดที่สรุปแล้วว่าจำนวนนักท่องเที่ยวมาเยือนฮ่องกงลดลง 39% โดยจำนวนนักท่องเที่ยวแผ่นดินใหญ่ลดฮวบ 42.3%

3. แบรนด์ส่วนใหญ่ยอดตก 30-60%

ไม่ว่าจะ Hermes หรือ Tiffany รวมถึงหลายแบรนด์ที่ต้องปิดร้านในฮ่องกงชั่วคราวตั้งแต่เกิดการประท้วงในเดือนมิถุนายน ต่างเลี่ยงที่จะเปิดเผยผลกระทบต่อผลประกอบการในไตรมาส 2 แต่การสำรวจของบริษัท RBC คาดว่าแบรนด์ส่วนใหญ่จะประสบภาวะยอดขายลดลงระหว่าง 30-60% ซึ่งจะปรากฏเป็นตัวเลขในรายงานไตรมาส 3

บริษัทวิจัย Bain & Co มองว่าภาวะนี้จะส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจสินค้าหรูหราหรือ luxury sector ระดับโลกมีการเติบโตระดับต่ำในปีนี้ คิดเป็นการเติบโต 4-6% เท่านั้น

แบรนด์ผู้ผลิตนาฬิกามีแนวโน้มที่จะเป็นกลุ่มเจ็บหนัก เพราะฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการค้านาฬิการะดับไฮเอนด์ เห็นได้ชัดจากที่กลุ่ม Swatch Group สัญชาติสวิตเซอร์แลนด์และกลุ่ม Richemont เจ้าของแบรนด์ Cartier ทำเงินจากตลาดฮ่องกงมากกว่า 11-12% จากยอดขายทั่วโลก

4. Hermes แบรนด์เดียวปิด 5 สาขา

ห้างสรรพสินค้าหลักมากกว่า 30 แห่งตัดสินใจปิดบริการชั่วคราวในวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยไม่เพียงห้างสรรพสินค้า แต่แบรนด์หรูยังจำเป็นต้องปิดสาขาในสนามบินด้วย หนึ่งในนั้นคือ Hermes ผู้ผลิตกระเป๋าหนังสุดหรู Birkin ใบละ 6 แสนถึงเฉียด 3 ล้านที่เผยเมื่อกันยายนที่ผ่านมาว่าถูกกดดันให้ปิดร้านชั่วคราวทั้งหมด 5 สาขาในเกาะฮ่องกง

น่าเสียดายที่แบรนด์อื่นไม่เปิดเผยจำนวนร้านสาขาที่ปิดทำการชั่วคราว แต่สิ่งที่ชัดเจนคือทุกแบรนด์สูญเสียการขายอย่างชัดเจน เพราะการปิดห้าง 1 .. เกิดขึ้นในช่วงวันหยุดประจำปีซึ่งเรียกกันว่า Golden Week ที่ปกติจะเป็นช่วงเวลาที่คึกคักสุดขีดสำหรับผู้ค้าปลีกในฮ่องกง

นอกจากการปิดร้าน งานอีเวนท์ของแบรนด์ก็ต้องระงับด้วย หนึ่งในนั้นคือ Chanel ที่วางแผนจัดแสดงแฟชั่นโชว์วันที่ 6 พฤศจิกายนเพื่อนำเสนอคอลเลคชั่น “Cruise” ก็ตัดสินใจเลื่อนโดยหยอดคำหวานว่างานแสดงแฟชันจะเกิดขึ้นในอนาคต ในช่วงเวลาที่เหมาะสมกว่านี้

การสำรวจตลาดพบด้วยว่าแบรนด์กำลังหาทางเข้าถึงนักท่องเที่ยวชาวจีนผ่านแหล่งช้อปปิ้งอื่นแทนฮ่องกง นอกจากบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างญี่ปุ่น นักวิเคราะห์มองว่าเกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ เป็นพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการถดถอยในตลาดฮ่องกง.

Source 

]]>
1248460
จากโรงรับจำนำย่านปิ่นเกล้า สู่ร้านแบรนด์เนมหรูมือสอง แบรนด์ออฟ โตเกียว บาย มันนี่ คาเฟ่ เจาะตลาดสาวไทย https://positioningmag.com/1164347 Mon, 02 Apr 2018 12:02:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1164347 ถ้าพูดถึงโรงรับจำนำ ที่พึ่งยามยากของคนไทยที่คุ้นเคยมานาน แต่ถ้าไม่จำเป็นคนส่วนใหญ่ก็ไม่อยากเข้า แม้จะไปในฐานะลูกค้าที่ต้องการหาของดีราคาถูกจากโรงรับจำนำก็ตาม

เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว โรงรับจำนำมันนี่ คาฟ่ ปิ่นคู่จึงพลิกภาพลักษณ์ เปลี่ยนโรงรับจำนำบนตึกแถวและชื่อเก่าๆ ปิ่นเกล้าคู่ขนานลอยฟ้า ให้ดูโมเดิร์น

พร้อมสร้างแบรนด์ทำตลาด จัดโปรโมชั่นให้ลูกค้าที่มารับจำนำสินค้า มีการบริการตั้งแต่เปิดประตูทางเข้า

ส่วนสินค้าหลุดจำนำลูกค้าไม่ไปไถ่ถอนคืนมีราว 20% ทั้งทองคำ เครื่องประดับเพชรพลอย หรือจิวเวลรี่ นาฬิกา กระเป๋าแบรนด์เนมสารพัด ก็เปิดเป็นร้านช้อปปิ้งเซ็นเตอร์

สินค้ามือสอง หลุดจำนำ ในชื่อ มันนี่ คาเฟ่ที่สยามสแควร์ซอยในช่วงปลายปี 2560

เพื่อดึงดูดลูกค้าให้หันมาสนใจมากยิ่งขึ้น ลำพังสินค้าหลุดจำก็ไม่เพียงพออีกต่อไป มันนี้ คาเฟ่ จึงบินไปติดต่อ แบรนด์ ออฟ โตเกียว” (BRAND OFF TOKYO) ประเทศญี่ปุ่น ร้านจำหน่ายสินค้ามือสองรายใหญ่ 1 ใน 3 เพื่อซื้อสิทธิ์การเปิดร้านในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ “Brand Off TOKYO by Money Café” เป็นระยะเวลา 2 ปี เป็นการบุกตลาดสินค้าแบรนด์เนมมือ 2 ครั้งแรกในไทยจึงเดินเกมรุกเต็มที่ 5 ปีต้องมี 6 สาขา

คอนเซ็ปต์ของร้าน เป็นทั้งหน้าร้านขายแบรนด์เนม (Selling) และรับซื้อ (Buying) กระเป๋าแบรนด์เนมจากลูกค้าเพื่อนำมาขายต่ออีกทอด โดยทำเลจะเน้นห้างค้าปลีก พื้นที่ร้าน 50-200 ตารางเมตร (ตร..) โดยกลุ่มเป้าหมายจะมีทั้งนักศึกษา วัยเริ่มต้นทำงาน และแม่บ้านที่มีกำลังซื้อสูง

คนไทยนิยมสินค้าแบรนด์เนม แต่เมื่อก่อนกว่าจะได้ใช้แบรนด์เนมต้องทำงานมีเงิน แต่เวลานี้นักศึกษาก็ซื้อแบรนด์เนมกันแล้วชูศักดิ์ ตั้งเลิศสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มันนี่ คาเฟ่ จำกัด ให้เหตุผล

ถ้าเป็นนักศึกษา แบรนด์ที่นิยม คือ โคช หลุยส์ วิตตอง บาลองเซียก้า ถ้าเป็นวัยเริ่มต้นทำงาน อยากได้หลุยส์ วิตตอง ขณะที่แม่บ้านชอบโคช หลุยส์ วิตตอง หรือแอร์เมส

บริษัททุ่มงบกว่า100 ล้านบาท ปรับโฉมมันนี่ คาเฟ่ที่สยามสแควร์ซอย 3 อาคาร 4 ชั้น ให้เป็นร้าน “Brand Off TOKYO by Money Café” สาขาแรกและเป็นแฟล็กชิพสโตร์ โดยจะเปิดขายสินค้าเต็มรูปแบบ 18 พฤษภาคมนี้

สินค้าที่วางขายจะมีทั้งกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง เช่น แอร์เมส(HERMES) หลุยส์ วิตตอง (LOUIS VUITTON) บาลองเซียก้า (Balenciaga) ไปจนถึงโคช (COACH) และลองชอม (LONGCHAMP) จิวเวลรี่ นาฬิกา และเครื่องประดับ ชั้น 4 จะเปิดเป็นร้านขายส่ง (Wholesale)

สินค้าแบรนด์เนมที่จะนำมาขาย จะมีทั้งประมูลจากร้าน BRAND OFF TOKYO ที่ญี่ปุ่นโดยตรง ซึ่งประมูลปีละ 2 ครั้ง มาเสริมพอร์ตสินค้าสัดส่วน 30-40% และบริษัทจะรับซื้อ (Trade) จากลูกค้าชาวไทย (Local) ที่มีแบรนด์เนมแล้วเก็บไว้ไม่ใช้ รวมถึงคนที่ต้องการหมุนเงินเพื่อนำไปซื้อของใหม่สัดส่วน 60-70%

โดยราคาสินค้ามือสอง จะต่ำกว่ามือ 1 ประมาณ 30% พยายามให้ใกล้เคียงในประเทศญี่ปุ่นเพื่อป้องกันการไหลไปซื้อในต่างประเทศ 

ชูศักดิ์ ประเมินว่า ตลาดสินค้าแบรนด์เนมมือสองในไทยกว้างมาก มีทั้งร้านค้าออนไลน์ ขายปลีก ขายส่ง ผู้บริโภครายย่อยซื้อขายกันแบบตัวต่อตัว คาดว่ามูลค่าตลาดอย่างต่ำๆ ก็เกิน1,000 ล้านบาท แถมยังเติบโตไปพร้อมกับแบรนด์เนมมือ 

จุดขายของ แบรนด์ออฟ โตเกียว บาย มันนี่ คาเฟ่ต้องอยู่ทีความเชื่อถือ โดยทางญี่ปุ่น ซึ่งทำตลาดมา 25 ปี จะส่งกูรู หรือ Specialist จากญี่ปุ่นมาเช็ก ตรวจสอบสินค้าไหนแท้ เชื่อถือได้มาประจำสาขา 1 คน

สำหรับร้าน BRAND OFF TOKYO มีสาขากว่า 68 ร้านในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น 50 สาขา ฮ่องกง 7-8 สาขา ไต้หวัน 5 สาขา มีสินค้ามากกว่า 1,000 รายการ ครอบคลุมกระเป๋า นาฬิกา เครื่องเพชร เครื่องประดับ ในไทยตั้งเป้ายอดขายปีแรกที่ 80 ล้านบาท.

]]>
1164347
ไทยผุดแอปฯตรวจ “หลุยส์ วิตตอง-พราด้า-แอร์เมส” ของแท้-ของปลอมรายแรกในโลก https://positioningmag.com/1092638 Tue, 24 May 2016 11:46:55 +0000 http://positioningmag.com/?p=1092638 นักวิจัย มธ.ใช้ปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูงสร้างแอปพลิเคชันตรวจความแท้-ปลอมกระเป๋า “แอร์เมส” สำเร็จเป็นเจ้าแรกของโลก คว้าแชมป์สิ่งประดิษฐ์จากสวิสฯ มาครอง พร้อมเดินหน้าพัฒนาแอปสำหรับตรวจ “พราด้า-หลุยส์ วิตตอง-นาฬิกา” เพิ่มความมั่นใจร้านค้า-ผู้ซื้อ

รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน “bagtector” กล่าวว่า แอปพลิเคชันที่เขาทำขึ้นเกิดจากการผสมคำระหว่างคำว่า bag กับ detector ซึ่งสะท้อนการทำงานของแอปพลิเคชันในการตรวจสอบความแท้-ไม่แท้ของกระเป๋า ซึ่งในที่นี้หมายถึงกระเป๋าแอร์เมส (Hermes) ราคาแพงที่หลายคนรู้จักกันดี

สำหรับสาเหตุที่แอร์เมส ถูกเลือกให้เป็นกระเป๋าแบรนด์แรกที่แอปพลิเคชันตรวจสอบได้เป็นเพราะกระเป๋าแอร์เมสได้รับความนิยมสูงในระดับสากล คนมีฐานะเห็นว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากกว่าซื้อทองหรือซื้อหุ้นเพราะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 500% ภายใน 35 ปี ด้วยเหตุนี้แอร์เมสจึงไม่ตกยุคแถมยังมีความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะนอกจากจะมีราคาแพงระดับแสนถึงหลายล้านบาท การจะได้ครอบครองกระเป๋ารุ่นเคลลี่ หรือเบอร์กินก็ทำได้ไม่ง่ายมากนัก เพราะนอกจากจะต้องมีเงินสำหรับการซื้อแล้ว ยังต้องมีเครดิตเพียงพอหรือเป็นลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าแอร์เมสในราคาหลักล้านอยู่ประจำ ด้วยความต้องการของตลาดจึงมีคนทำปลอมขึ้นมากในหลากหลายเกรด ตั้งแต่เกรด AAA ที่เหมือนของแท้มากจนแทบแยกไม่ออก ไปจนถึงของปลอมเกรดตลาดที่คนในวงการจะสามารถแยกออกได้ในทันที

ด้วยเหตุนี้ รศ.ดร.จาตุรงค์ จึงใช้ความสามารถในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนวิชาปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligent) นำความรู้ที่มีมาประยุกต์ใช้สำหรับกับตรวจความแท้ไม่แท้ของกระเป๋าในรูปแบบที่ใช้งานง่ายผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนที่จะทำงานด้วยการตรวจจับโลโก้ของกระเป๋าทั้งของจริงและของปลอม ซึ่งจะมีความแตกต่างของรายละเอียดโลโก้ แรงบีบอัดและริ้วรอยของตราโลโก้บนกระเป๋าและวัสดุที่ใช้

“ความจริงผมไม่ได้เริ่มจากกระเป๋า ผมเริ่มจากการตรวจสอบพระเครื่อง เช่น หลวงปู่ทวด ด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์พิจารณาการปั๊ม กระเป๋าก็เช่นเดียวกันมีความหินอยู่ตรงที่ผมจะไปหาแอร์เมสของจริงได้ที่ไหน แต่ผมก็ทำได้ด้วยการติดต่อไปยังไฮโซในแวดวงที่มีแอร์เมสของจริง มีใบเสร็จรับรองจากร้านแอร์เมส กระเป๋าแท้ที่ซื้อจากการหิ้วต่อจากคนอื่นมาเราก็ไม่เอาเพราะไม่มั่นใจ หามาได้ประมาณ 200 ใบ พอได้มาก็เริ่มการถ่ายตัวโลโก้กระเป๋าด้วยแอปพลิเคชันแบ็กแทคเตอร์ในสมาร์ทโฟน จากนั้นจึงไปหาตัวอย่างกระเป๋าปลอมอันนี้ยากกว่าหาของจริงอีก ผมจึงต้องเริ่มงานด้วยการสืบก่อนว่าร้านค้าใดบ้างที่ขายกระเป๋าปลอมเกรดดี แล้วจึงเก็บข้อมูลตั้งแต่เกรด AAA ไปจนถึงมิร์เรอร์ซึ่งในส่วนนี้ก็เก็บตัวอย่างมาได้ประมาณร้อยกว่าใบ” รศ.ดร.จาตุรงค์ เผย

เมื่อได้รูปภาพของทั้งกระเป๋าแท้และไม่แท้เพียงพอ รศ.ดร.จาตุรงค์ เผยว่า ขั้นตอนถัดไปคือ การสร้างโมเดลที่มีลักษณะคล้ายกับการเปรียบเทียบภาพแต่ไม่ใช่ เพราะอาศัยหลักการโครงข่ายประสาทเทียมเชิงลึก (Deep Neural Network) ที่คล้ายกับการเอาเซลล์สมองมาเชื่อมต่อกัน ที่การเชื่อมต่อของแต่ละเซลล์สมองจะมีค่าความสำคัญแตกต่างกันไป คล้ายกับการจำลองสมองมนุษย์เพื่อดูความแท้ไม่แท้ หลังจากสร้างโมเดลเสร็จ ก็นำเข้าสู่ขั้นตอนการฝึกสอนปัญญาประดิษฐ์อีก 2 เดือนเพื่อให้มันเข้าใจว่ากระเป๋าใบใดเป็นของจริง กระเป๋าใบใดเป็นของปลอมจน A.I. ฉลาดพร้อมใช้งาน

รศ.ดร.จาตุรงค์ กล่าวว่า ตัวปัญญาประดิษฐ์นี้จะมีเซิร์ฟเวอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลและประมวลผลซึ่งขณะนี้ถูกเก็บไว้ที่สหราชอาณาจักร ส่วนตัวแอปพลิเคชันบนมือถือจะเป็นเพียงแค่ส่วนแสดงผลเท่านั้น โดยเวลาจะใช้ก็ทำได้ง่ายเพียงแค่ถ่ายรูปกระเป๋าต้องสงสัยแล้วกดประมวลผลในแอปพลิเคชัน รูปภาพจะถูกส่งเข้าสู่ระบบประมวลผลของระบบใช้เวลาไม่เกิน 30 วินาทีก็จะแสดงผลออกมาทางหน้าจอสมาร์ทโฟนว่ากระเป๋าใบดังกล่าวใดเป็นของแท้หรือไม่แท้ โดยแอปพลิเคชันนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมและวัตถุราคาสูงชนิดต่างๆ เพราะในอนาคตจะมีการขยายผลให้สามารถตรวจกระเป๋าหลุยส์ วิตตอง และพราด้าเพิ่มขึ้นด้วย

“ผลงานของเราได้ไปแข่งขันสิ่งประดิษฐ์คิดค้นด้านซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ ที่กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์ ได้รางวัลเหรียญทองแดงกลับมา ทำให้เราตั้งใจที่จะตั้งตัวเซิร์ฟเวอร์ไว้ที่สหราชอาณาจักรเลย เพราะใกล้กับสถานที่แข่งขันและยังถือเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของแอปพลิเคชันนี้ด้วย หลังการประกวดทางสวิสฯ สนใจมากเขาอยากนำไปใช้กับศุลกากรเพราะการถือของปลอมเข้าประเทศเขาเป็นเป็นการทำผิดกฎหมาย นอกจากนี้อีกหลายบริษัทก็สนใจล่าสุดคือ โชพาร์ ผู้ผลิตนาฬิกาและเครื่องประดับระดับโลกก็สนใจให้เราพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการตรวจความแท้ไม่แท้ เพราะนวัตกรรมและแอปพลิเคชันนี้ถือเป็นครั้งแรกของโลกยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน และจึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เรายังไม่เปิดให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน เพราะยังต้องคุยกับอีกหลายบริษัท และเรายังต้องการพัฒนามันให้ขึ้นอีกเรื่อยๆ” รศ.ดร.จาตุรงค์ กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้แอปพลิเคชันตรวจสอบความแท้และไม่แท้ของกระเป๋าโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ เป็นส่วนหนึ่งของผลงานที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการที่ได้รับรางวัลจากเวทีสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อวันที่ 18 พ.ค. ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อาคาร วช. กรุงเทพฯ

แอปพลิเชัน ฺBagtector
แอปพลิเชัน ฺBagtector
ปัญญาประดิษฐ์จะวิเคราะห์รายละเอียดของกระเป๋าแอร์เมสผ่านรูปภาพแล้วประมวลผลว่าแท้หรือปลอมภายใน 30 วินาที
ปัญญาประดิษฐ์จะวิเคราะห์รายละเอียดของกระเป๋าแอร์เมสผ่านรูปภาพแล้วประมวลผลว่าแท้หรือปลอมภายใน 30 วินาที
ปัญญาประดิษฐ์จะวิเคราะห์รายละเอียดของกระเป๋าแอร์เมสผ่านรูปภาพแล้วประมวลผลว่าแท้หรือปลอมภายใน 30 วินาที
ปัญญาประดิษฐ์จะวิเคราะห์รายละเอียดของกระเป๋าแอร์เมสผ่านรูปภาพแล้วประมวลผลว่าแท้หรือปลอมภายใน 30 วินาที

ที่มา: http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9590000051736

]]>
1092638
Latest Hermes in Brisbane https://positioningmag.com/13487 Tue, 01 Mar 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13487

นักช้อปออสซี่ผู้นิยมสินค้าแบรนด์เนมจากบูติกหรูนำเข้าจากต่างประเทศ ไม่จำเป็นต้องเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปช้อปที่อื่นอีกแล้ว เพราะ “แอร์เมส” เข้ามาเปิดสาขาใหม่เมื่อต้นปี เอาใจคอกระเป๋าเบอร์กิ้นที่ต้องลงชื่อจองเป็นปี และผ้าพันคอหลากสี ราคาเริ่มต้นที่ผืนละ 550 เหรียญออสเตรเลีย

Hermes บูติกชื่อดังจากฝรั่งเศสสาขาบริสเบนนี้ ถือเป็นร้านที่ห้าของออสเตรเลีย และเป็นยี่ห้อน้องใหม่ล่าสุดที่เข้ามาเสริมทัพสินค้าแบรนด์หรูนำเข้าทั้งหลาย ที่เข้ามาเปิดสาขาของแบรนด์โดยเฉพาะอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว ตั้งแต่ Hugo Boss, Ralph Lauren, Tiffany & Co and Louis Vuitton ซึ่งเป็นร้านที่ตั้งอยู่ในรัศมีเดียวกัน ทำให้เมืองบริสเบน ซึ่งเป็นหัวเมืองหลักทางภาคเหนือของออสเตรเลีย กลายเป็นเมืองที่มีกลิ่นอายฝรั่งเศสปะปนอยู่บนถนนย่านช้อปปิ้งใจกลางเมืองได้ไม่น้อย

ทั้งนี้ แอร์เมส รายงานว่า ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ยอดขายทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ โดยระบุว่าสินค้าที่ขายได้มากที่สุดมาจากแผนกผ้าพันคอผ้าไหมสำหรับสตรี และกลุ่มน้ำหอม

]]>
13487