Intel – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 02 Aug 2024 04:45:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Intel’ ประกาศเลิกจ้างพนักงานระลอกใหญ่ 15,000 คน หลัง ‘กำไรหด’ สวนทางต้นทุน https://positioningmag.com/1484917 Fri, 02 Aug 2024 03:08:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1484917 ปฏิเสธไม่ได้ว่าในแวดวงไอทีตอนนี้คือ AI ทำให้บริษัทผู้ผลิตชิป ที่สามารถผลิตชิป AI ได้ประโยชน์ไปเต็ม ๆ และคาดว่าตลาดชิป AI จะพุ่งแรงโตทะลุ 9.1 หมื่นล้านดอลลาร์ เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม อาจไม่ใช่ผู้ผลิตชิปทุกรายที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของ AI

ล่าสุด อินเทล (Intel) ผู้ผลิตชิปสัญชาติสหรัฐฯ ประกาศว่าจะ ปลดพนักงานมากกว่า 15% หรือราว 15,000 คน นอกจากนี้ บริษัทยังเสนอมาตรการ ลาออกโดยสมัครใจ และการ Early Retire สำหรับพนักงานที่เข้าเงื่อนไข จากแผนการลดจำนวนพนักงานดังกล่าว นับเป็นส่วนหนึ่งของแผนใหญ่ในการ ลดค่าใช้ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ภายในปี 2025 หลังจากที่ผลประกอบการ ไม่เติบโตตามที่คาดไว้ อีกทั้งยัง ไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากเทรนด์ AI

“ต้นทุนของเราสูงเกินไป ขณะที่อัตรากําไรของเราต่ำเกินไป เราต้องการการดําเนินการที่กล้าหาญกว่านี้เพื่อจัดการกับทั้งสองด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากผลประกอบการทางการเงินและแนวโน้มสําหรับครึ่งหลังของปี 2024 ซึ่งยากกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้” Pat Gelsinger ซีอีโอ กล่าว

แม้ 25 ปีที่แล้ว อินเทลจะเป็น ผู้นําการปฏิวัติอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเกี่ยวกับชิป CPU แต่กลับปรับตัวรับกับการมาของ สมาร์ทโฟน และ AI ช้าเกินไป แม้ว่าที่ผ่านมาอินเทลจะพยายามคว้าโอกาสจากการเติบโตของ AI แบบเดียวกับที่บริษัทฮาร์ดแวร์อื่น ๆ เช่น Nvidia ทำก็ตาม

โดยรายได้ของอินเทลระหว่างปี 2020-2023 ลดลงถึง 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนทางกับจำนวนพนักงานที่เติบโต 10% ในช่วงเวลาเดียวกัน และรายได้ช่วงไตรมาส 2/2024 คาดว่าจะ ลดลง -1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และคาดว่าจะมีแนวโน้มครึ่งหลังที่ ท้าทาย มากกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้

Source

]]>
1484917
‘มาเลเซีย’ กลายเป็นอีกหมุดหมายของ ‘โรงงานผลิตชิป’ หลังจีน-สหรัฐฯ ยังตึงใส่กัน https://positioningmag.com/1469027 Thu, 04 Apr 2024 02:57:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469027 เพราะความตึงเครียดระหว่างจีน-สหรัฐฯ ในด้าน เซมิคอนดักเตอร์ หรือ ชิป ทำให้หลายบริษัทผู้ผลิตชิปในสหรัฐฯ เริ่มมองหาฐานการผลิตใหม่ ๆ นอกจากจีน และดูเหมือนว่า มาเลเซีย กำลังกลายเป็นอีกหมุดหมายของบริษัทผู้ผลิตชิปหลาย ๆ บริษัท ที่จะไปลงทุนตั้งโรงงาน

หลายคนอาจไม่รู้ว่า มาเลเซีย มีโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงและมีประสบการณ์ราว 50 ปีในแบ็กเอนด์ของกระบวนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ โดยเฉพาะ แรงงานที่มีทักษะการประกอบ การทดสอบ และบรรจุภัณฑ์ อีกทั้งยังลดต้นทุนการดำเนินงานเชิงเปรียบเทียบ ทำให้การส่งออกสามารถแข่งขันได้มากขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้มาเลเซียกำลังกลายเป็นจุดสำคัญสำหรับโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ เนื่องจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน ส่งผลให้บริษัทต่าง ๆ ต้องกระจายการดำเนินงาน

บริษัทชิปยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกันอย่าง อินเทล (Intel) ได้เคยออกมาประกาศในช่วงเดือนธันวาคม 2564 ว่า บริษัทจะลงทุนมากกว่า 7 พันล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างโรงงานบรรจุภัณฑ์และทดสอบชิปในมาเลเซีย โดยคาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ในปี 2567 นี้

โดยมาเลเซีย ถือเป็นโรงงานผลิตชิปในต่างประเทศแห่งแรกของอินเทล โดยเปิดตัวครั้งแรกเปิดตัวในปี 2515 ด้วยเงินลงทุน 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทเดินหน้าเพิ่มศูนย์ทดสอบเต็มรูปแบบ รวมถึงศูนย์การพัฒนาและการออกแบบในมาเลเซีย

“การตัดสินใจลงทุนในมาเลเซียมีรากฐานมาจากกลุ่มผู้มีความสามารถที่หลากหลาย โครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคง และซัพพลายเชนที่แข็งแกร่ง” Aik Kean Chong กรรมการผู้จัดการของ Intel Malaysia กล่าว

นอกจากนี้ยังมี GlobalFoundries บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ อีกรายที่จะเปิดโรงงานในเดือนกันยายน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการผลิตทั่วโลก ควบคู่ไปกับโรงงานในสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และยุโรป นอกเหนือจากบริษัทในสหรัฐฯ ก็มี Infineon ผู้ผลิตชิปชั้นนำของเยอรมนี ที่เตรียมสร้างโมดูลการผลิตเวเฟอร์แห่งที่ 3 ในประเทศ Newways ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์หลักของผู้ผลิตอุปกรณ์ชิปสัญชาติเนเธอร์แลนด์  ASML ก็เตรียมจะสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ในมาเลเซียเช่นกัน

“เนื่องจากนโยบายที่มีความคิดก้าวหน้าและการสนับสนุนที่แข็งแกร่งจากรัฐบาล ร่วมกับพันธมิตรอย่าง InvestPenang ได้สร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งสำหรับอุตสาหกรรมที่จะเจริญเติบโต” Tan Yew Kong รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปของ GlobalFoundries Singapore กล่าว

นอกจากนี้ มาเลเซียถือหุ้น 13% ของตลาดโลกสำหรับบริการบรรจุภัณฑ์ชิป การประกอบ และการทดสอบ โดยหน่วยงานพัฒนาการลงทุนของมาเลเซีย ได้เปิดเผยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า การส่งออกอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์และวงจรรวมเพิ่มขึ้น 0.03% เป็น 387.45 พันล้านริงกิตมาเลเซีย (81.4 พันล้านดอลลาร์) ในปี 2566 แม้ว่าความต้องการชิปทั่วโลกที่อ่อนแอ

เพื่อพยายามขยายระบบนิเวศเซมิคอนดักเตอร์ของประเทศและดึงดูดการลงทุน มาเลเซียจึงได้จัดตั้ง คณะทำงานเชิงกลยุทธ์ด้านเซมิคอนดักเตอร์ระดับชาติ เมื่อเดือนมกราคม นอกจากนี้ ซาฟรุล อาซิซ รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุน การค้า และอุตสาหกรรมของมาเลเซีย ได้เปิดเผยว่า มาเลเซียมีเป้าหมายที่จะมุ่งเน้นไปที่ ส่วนหน้า ของกระบวนการผลิตชิป จากเดิมที่มาเลเซียจะเชี่ยวชาญในส่วนแบ็กเอนด์ โดยกระบวนการส่วนหน้าเกี่ยวข้องกับการผลิตแผ่นเวเฟอร์

อย่างไรก็ตาม มาเลเซียก็มีความท้าทายที่สำคัญก็คือ ภาวะสมองไหล เมื่อคนงานเดินทางออกนอกประเทศเพื่อหางานทำที่ดีขึ้นและเงินเดือนที่สูงขึ้น โดยจากการศึกษาอย่างเป็นทางการที่ดำเนินการในปี 2565 เปิดเผยว่า คนงานชาวมาเลเซียที่มีทักษะหรือกึ่งทักษะ 3 ใน 4 คนย้ายไปทำงานในสิงคโปร์

Source

]]>
1469027
จีนเริ่มแบนชิป Intel และ AMD ภายในคอมพิวเตอร์ของรัฐบาล หันมาสนับสนุนและพัฒนาชิปเป็นของตัวเอง https://positioningmag.com/1467429 Mon, 25 Mar 2024 01:43:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1467429 รัฐบาลจีนได้เริ่มแบนชิป Intel และ AMD ภายในคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลแล้ว ขณะที่รัฐวิสาหกิจของจีนนั้นจะมีการเปลี่ยนผ่านให้แล้วเสร็จภายในปี 2027 ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นก้าวย่างสำคัญในการพึ่งพาเทคโนโลยีการผลิตชิปในประเทศ

Financial Times ได้รายงานข่าวโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่ารัฐบาลจีนได้ห้ามใช้ชิปของ Intel รวมถึง AMD ภายในคอมพิวเตอร์ของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์ของรัฐบาล และจะมีการสนับสนุนให้ใช้ชิปที่ผลิตภายในประเทศจีนรวมถึงระบบปฏิบัติการเป็นของตัวเองมากขึ้น

สำหรับกฎการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือแม้แต่เซิร์ฟเวอร์ของรัฐบาล จะต้องเข้าเกณฑ์ที่รัฐบาลจีนกำหนดว่าหน่วยประมวลผลดังกล่าวจะต้อง “ปลอดภัยและเชื่อถือได้” โดยชิปประมวลผลที่รัฐบาลได้ไฟเขียว 18 ผู้ผลิต เช่น Huawei หรือ Phytium ซึ่งผู้ผลิตรายชื่อดังกล่าวส่วนใหญ่รัฐบาลจีนได้ให้การอุดหนุนอยู่แล้ว

นอกจากการห้ามใช้ชิป Intel และ AMD ภายในคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลแล้ว จีนยังเตรียมที่จะยกเลิกการใช้ปฏิบัติการ Microsoft Windows รวมถึงซอฟต์แวร์ด้านฐานข้อมูลก็คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปใช้ซอฟต์แวร์ในประเทศเพิ่มมากขึ้น

แผนการดังกล่าวนั้นตามหลังมาจากแนวทางดังกล่าวซึ่งเปิดเผยในเดือนธันวาคมปี 2023 ที่ผ่านมา

ผลกระทบต่อบริษัทต่างๆ นั้นแตกต่างกันไป โดย Intel นั้นจะได้รับผลกระทบมากสุด เนื่องรายได้จากประเทศจีนนั้นมีสัดส่วนมากถึง 27% ขณะที่ AMD มีสัดส่วนรายได้จากประเทศจีนราวๆ 15% ขณะที่ Microsoft ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขดังกล่าว แต่ผู้บริหารของบริษัทได้เคยกล่าวกับสภาคองเกรสว่ารายได้จากประเทศจีนนั้นมีสัดส่วนราวๆ 1.5% จากรายได้ทั้งหมด

ไม่ใช่แค่หน่วยงานรัฐบาลที่ได้รับคำสั่งดังกล่าวเช่นกัน แต่รัฐวิสาหกิจเองก็ต้องทำตามแผนดังกล่าว โดยคาดว่าในส่วนของรัฐวิสาหกิจจะต้องมีการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในปี 2027 และต้องมีการแจ้งความคืบหน้าในการเปลี่ยนระบบไอทีในทุกไตรมาสด้วย

ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้พยายามในการผลิตชิปด้วยเทคโนโลยีภายในประเทศให้ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกา เช่น กรณีการผลิตโทรศัพท์มือถือรุ่น Mate 60 Pro ของ Huawei เป็นต้น

การผลิตชิปให้มีเทคโนโลยีล้ำหน้านั้นถือเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีของจีน ทั้งไม่ว่าจะเป็นการใช้โดยประชาชน หรือแม้แต่การใช้ในเทคโนโลยีการทหาร

นโยบายล่าสุดของจีนแสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญในการที่จะทยอยใช้เทคโนโลยีทดแทนภายในประเทศ จากเดิมที่พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ขณะเดียวกันความเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้นก็แสดงให้เห็นถึงความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มมากขึ้น

]]>
1467429
มาอีกเจ้า Intel เปิดตัวชิปเร่งประมวลผล AI ในชื่อ Gaudi3 ตั้งเป้าสู้กับคู่แข่งอย่าง Nvidia และ AMD https://positioningmag.com/1455749 Fri, 15 Dec 2023 06:01:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455749 อินเทลเปิดตัวชิปเร่งประมวลผล AI ในชื่อ Gaudi3 ตั้งเป้าสู้กับคู่แข่งอย่าง Nvidia และ AMD โดยคาดว่าชิปดังกล่าวจะสามารถเริ่มส่งมอบในปี 2024 ได้ และบริษัทยังเห็นโอกาสในการนำชิปดังกล่าวมาใช้ตามศูนย์ข้อมูลต่างๆ อีกด้วย

Intel ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเปิดตัวชิปหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นทั้ง CPU ที่ใช้งานทั่วไป CPU ที่ใช้งานในระบบเซิฟเวอร์ นอกจากนี้บริษัทยังได้เปิดตัวชิปเร่งการประมวลผลด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งมีชื่อว่า Gaudi3 ซึ่งจะมีวางจำหน่ายในปี 2024

ถ้าหาก Gaudi3 วางจำหน่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ผลิตชิปรายดังกล่าวจะกลายเป็นคู่แข่งรายสำคัญของ Nvidia รวมถึง AMD ที่ได้เปิดตัวชิปเร่งประมวลผล AI ในช่วงที่ผ่านมาด้วยเช่นกันและมีบริษัทเทคโนโลยีหลายรายให้ความสนใจ

สำหรับสเปคของชิป Gaudi3 นั้น CNBC รายงานว่าอาจเทียบเท่ากับชิปของ Nvidia ในรุ่น H100 หรือแม้แต่ของฝั่ง AMD ในรุ่น MI300X

Pat Gelsinger ซึ่งเป็น CEO ของ Intel กล่าวในงานเปิดตัวในนิวยอร์ก โดยเขากล่าวถึงเทคโนโลยีพระเอกของปี 2023 ก็คือ Generative AI โดยเขามองว่าในปี 2024 นั้น AI PC จะเป็นดาวเด่น นอกจากนี้เขายังมองเห็นโอกาสในการนำชิปเร่งประมวลผล AI มาใช้ในศูนย์ข้อมูลต่างๆ

ไม่เพียงเท่านี้ CEO ของ Intel ยังได้กล่าวเหน็บแนม Nvidia ว่าทั้งอุตสาหกรรมมีแรงจูงใจที่จะทำลายเทคโนโลยี CUDA ของ Nvidia โดยกล่าวถึงบริษัทอื่นๆ ได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีโครงสร้างสำหรับการฝึก AI โดยไม่ใช้เทคโนโลยีจาก Nvidia ซึ่งมีบริษัทที่เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีแล้วอย่าง Google หรือแม้แต่ OpenAI ที่เป็นเจ้าของ ChatGPT เองก็ตาม

Intel ได้ซื้อ Habana Labs ผู้ผลิตชิปเร่งการประมวลผลด้านปัญญาประดิษฐ์ในช่วงปี 2018 และบริษัทได้พัฒนาชิป Gaudi มาตั้งแต่ปี 2019 โดยหวังว่าจะชิงส่วนแบ่งทางการตลาดชิปเร่งประมวลผล AI ให้ได้หลังจากนี้

ที่มา – CNBC, Reuters, Tom’s Hardware

]]>
1455749
ผลประกอบการ Intel ไตรมาส 1 ขาดทุน 2,768 ล้านดอลลาร์ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ https://positioningmag.com/1428966 Fri, 28 Apr 2023 02:34:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1428966 ในขณะที่ยอดขายคอมพิวเตอร์-โน้ตบุ๊กทั่วโลกกำลังอยู่ในช่วงขาลงอย่างหนัก โดยยอดจัดส่งพีซีทั่วโลกลดลงเกือบ 30% ในไตรมาสแรก หลังจากที่เติบโตสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปีเนื่องจากการมาของโควิด ส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่อย่าง อินเทล (Intel) ได้รับผลกระทบไปด้วย โดย รายได้ลดลงต่อเนื่อง 5 ไตรมาสติดต่อกัน และขาดทุนติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2

ผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ปี 2023 ของ อินเทล มีรายได้รวม 11,715 ล้านดอลลาร์ ลดลง 36% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อนที่ทำรายได้ 18,400 ล้านดอลลาร์ โดย ขาดทุน 2,768 ล้านดอลลาร์ โดยถือเป็นการขาดทุนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของบริษัท หลังจากที่ไตรมาส 4 ปี 2017 เคยขาดทุนมากที่สุด 687 ล้านดอลลาร์

โดยรายได้ของอินเทลลดลง 5 ไตรมาสติดต่อกัน และขาดทุนติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 เนื่องจากยอดขายลดลงของ 2 ธุรกิจหลัก ได้แก่ Client Computing ส่วนใหญ่มาจากพีซี ลดลง 38% เป็น 5,767 ล้านดอลลาร์ ส่วนกลุ่ม Data Center และ AI ลดลง 39% เป็น 3,718 ล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม Pat Gelsinger ซีอีโอ อินเทล มองว่า ภาพรวมตลาดจะกลับสู่ภาวะปกติภายในปีนี้ เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตพีซีเริ่มเคลียร์สินค้า และเริ่มเปิดคำสั่งซื้อใหม่เข้ามา และอินเทลยังคงเดินหน้าตามแผนงานระยะยาวในการเป็นผู้นำตลาดชิปประมวลผล

“เราเริ่มเห็นเสถียรภาพที่เพิ่มขึ้นในตลาดพีซี ส่วนตลาดเซิร์ฟเวอร์และเครือข่ายยังไม่ใช่จุดต่ำสุด” Pat Gelsinger ซีอีโอ กล่าว

ที่ผ่านมา อินเทลมีแผนที่จะสร้างการเติบโตระยะยาว โดยได้เปิดโรงงานที่สามารถผลิตชิปให้กับบริษัทอื่นได้ โดยอินเทลหวังว่า ภายในปี 2026 จะสามารถผลิตชิปขั้นสูงเทียบเท่ากับที่ผลิตโดย TSMC ในไต้หวัน และสามารถแข่งขันกับงานสั่งทำพิเศษอย่างเช่นชิป A-series ของ Apple ใน iPhone

นอกจากนี้ การที่อินเทลจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานเพื่อลดต้นทุน ก็คาดว่าจะช่วยให้บริษัทสามารถลดต้นทุนได้ประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์ในปี 2023 นี้ และมากถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปี 2025

Source

]]>
1428966
โดนใจสายขุด! ‘Intel’ เตรียมเปิดตัวชิปสำหรับขุดคริปโตที่แรงกว่าคู่แข่ง 1,000 เท่า แถมประหยัดพลังงาน https://positioningmag.com/1374183 Wed, 16 Feb 2022 07:32:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374183 ที่ผ่านมาเหล่านักขุดบิตคอยน์หรือเหรียญ cryptocurrency ต่างพยายามจัดคอมให้แรงที่สุดเพื่อใช้ในการขุด แต่อุปกรณ์ดังกล่าวไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานเฉพาะด้านแบบนั้น Intel ซึ่งได้เสียงเรียกร้องจากลูกค้าจึงออกแบบชิปใหม่สำหรับใช้ขุดคริปโตโดยเฉพาะ ซึ่งแรงกว่าคู่แข่ง 1,000 เท่า แถมยังประหยัดพลังงานกว่าอีกด้วย

Raja Koduri รองประธานอาวุโสของ Accelerated Computing Systems and Graphics Group ของ Intel กล่าวว่า การขุดคริปโตฯ และการทำบล็อกเชนโดยทั่วไปต้องใช้พลังประมวลผลจำนวนมหาศาล ผู้ผลิตชิปจึงตั้งเป้าที่จะผลิตชิปประหยัดพลังงานเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ทำให้ Intel ลงทุนในเทคโนโลยีบล็อกเชนด้วยชิปตัวใหม่ที่สามารถใช้ในการขุดคริปโตฯ โดยชิปดังกล่าวจะมีเทคโนโลยีการคำนวณพลังงานในระดับต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ประหยัดมากขึ้น

“ชิปประมวลผลใหม่ของ Intel จะสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนด้วยแผนงานของตัวเร่งความเร็วที่ประหยัดพลังงาน เนื่องจากที่ผ่านมา ลูกค้าของเรากำลังถามหาโซลูชันที่ปรับเปลี่ยนได้และยั่งยืน ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงมุ่งเน้นความพยายามในเข้าถึงศักยภาพของบล็อกเชนอย่างเต็มที่ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด”

ที่ผ่านมา มีข่าวหลุดออกมาว่าชิปดังกล่าวของ Intel จะใช้ Code Name ว่า ‘Bonanza’ โดยจะเป็นชิปแบบวงจรรวมแอปพลิเคชันเฉพาะ (Application-Specific Integrated Circuits : ASIC) ซึ่งถือเป็นโปรเซสเซอร์พิเศษที่ออกแบบมาเพื่อใช้เฉพาะทาง ซึ่งก็คือ ใช้ขุดคริปโตและบล็อกเชน โดยทาง Intel ได้อวดว่า เจ้าชิปใหม่นี้ จะมีประสิทธิภาพต่อวัตต์ดีกว่า 1,000 เท่าเมื่อเทียบกับ GPU หลักสำหรับการขุดที่ใช้ระบบอัลกอริทึม SHA-256

ทั้งนี้ ชิปใหม่ของ Intel จะวางจำหน่ายภายในช่วงปลายปี โดยมีบริษัทพลังงานไฟฟ้าของสหรัฐฯ GRIID Infrastructure, บริษัทขุดคริปโต Argo Blockchain และ Block ของ Jack Dorsey เป็นกลุ่มลูกค้ารายแรก ๆ

Source

]]>
1374183
ศึกเจ้าแห่งชิป! Intel สร้างโรงงาน “ชิป” 2 หมื่นล้านในสหรัฐฯ ลดพึ่งพิงซัพพลายเชนในเอเชีย https://positioningmag.com/1371288 Mon, 24 Jan 2022 05:08:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371288 Intel ประกาศลงทุน 2 หมื่นล้านเหรียญสร้างโรงงาน “ชิป” ในโอไฮโอ สหรัฐฯ ดึงสมดุลซัพพลายเชนกลับสู่ฝั่งตะวันตกทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการเมือง หลังที่ผ่านมาเกิดเหตุชิปขาดแคลน ขณะที่ดีมานด์ต่อชิปจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญในมือถือ คอมพิวเตอร์ รถยนต์ ฯลฯ

Intel ประกาศการลงทุนมูลค่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6.61 แสนล้านบาท) เพื่อสร้างโรงงานผลิต “ชิป” ในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เฟสแรกจะสร้างโรงงาน 2 แห่งบนพื้นที่ 2,529 ไร่ สนับสนุนการผลิตทั้งชิปที่ Intel ออกแบบเอง และธุรกิจ “Foundry” คือการรับจ้างผลิตชิปยี่ห้ออื่น ซึ่งปัจจุบันธุรกิจนี้มีผู้นำคือ TSMC ในไต้หวัน

Pat Gelsinger ซีอีโอ Intel ให้สัมภาษณ์กับ TIME ว่า “เราหวังว่าต่อไปที่นี่จะเป็นแหล่งผลิตชิปซิลิคอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก” เนื่องจากที่ดินของบริษัทมีถึง 5,058 ไร่ หรือยังเหลือที่ว่างอีกเท่าตัว สามารถขยายโรงงานได้เป็น 8 แห่ง

“เรามีส่วนช่วยในการก่อตั้ง Silicon Valley” Gelsinger กล่าว “ตอนนี้เราจะก่อตั้ง Silicon Heartland ขึ้นมา” ทั้งนี้ การก่อตั้งโรงงานผลิตชิปเฟสแรกคาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องได้ในปี 2025 และจะช่วยสร้างงานในพื้นที่ได้ 3,000 ตำแหน่ง ยังไม่รวมถึงการสร้างงานให้บริษัทซัพพลายเออร์และพาร์ทเนอร์อีกนับหมื่นตำแหน่ง

 

อำนาจในโลกใหม่อยู่ที่ “ชิป”

การตัดสินใจสร้างโรงงานชิปของ Intel มีเหตุผลทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ดังที่ทราบกันว่า ที่ผ่านมาซัพพลายชิปเซ็ตขาดแคลนอย่างมาก โดยที่บริษัทสหรัฐฯ มีอำนาจควบคุมน้อยลง ข้อมูลจาก สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (SIA) รายงานว่า สัดส่วนการผลิตชิปในสหรัฐฯ ลดลงจากสัดส่วน 37% เมื่อปี 1990 เหลือเพียง 12% ในปัจจุบัน

เนื่องจากการตั้งโรงงานในเอเชียตะวันออก เช่น จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มีต้นทุนต่ำกว่าในสหรัฐฯ ถึง 30% โรงงานจึงย้ายออกหรือเลือกตั้งไลน์ผลิตใหม่ในฝั่งเอเชียแทน

“หนึ่งในบทเรียนที่เห็นชัดที่สุดที่เราได้เรียนรู้ระหว่างเกิดการระบาดคือ เราไม่ควรมองข้ามความสำคัญของการเข้าถึงเทคโนโลยีและการผลิต” Gelsinger กล่าว “คุณก็รู้ว่าเราได้เห็นการดิสรัปต์ต่อซัพพลายเชนทั่วโลก ดีมานด์ที่มีต่อเซมิคอนดักเตอร์วันนี้มีมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน”

ช่วงที่ผ่านมา สหรัฐฯ จึงมีความพยายามที่จะดึงดูดโรงงานชิปกลับมาตั้งในประเทศ ทั้ง Intel, AMD, Nvidia, GlobalFoundries เข้าล็อบบี้ประธานาธิบดี Joe Biden เพื่อให้ลงงบสนับสนุนการวิจัยและการผลิตชิปในสหรัฐฯ จนเมื่อเดือนมิถุยายนปีก่อน วุฒิสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านร่างกฎหมายสนับสนุนเทคโนโลยีและการผลิตชิปมูลค่า 5.2 หมื่นล้านเหรียญ (ประมาณ 1.72 ล้านล้านบาท) เป็นที่เรียบร้อย

ไม่เฉพาะบริษัทอเมริกันเท่านั้น การฝากซัพพลายเชนไว้ในทวีปใดทวีปหนึ่งไม่เป็นผลดีกับทุกบริษัท ทำให้ TSMC จากไต้หวันเองก็จะมาตั้งโรงงานชิปมูลค่า 1.2 หมื่นล้านเหรียญ (ประมาณ 3.97 แสนล้านบาท) ในรัฐแอริโซนา ขณะที่ Samsung จากเกาหลีใต้จะมาตั้งโรงงานชิปที่รัฐเท็กซัส มูลค่า 1.7 หมื่นล้านเหรียญ (ประมาณ 5.62 แสนล้านบาท)

Mike DeWine ผู้ว่าการรัฐโอไฮโอ กล่าวถึงการสร้างโรงงานชิปของ Intel ว่า นี่จะเป็นข้อความส่งถึงประเทศจีน “เพราะนี่คือความมั่นคงของประเทศ เป็นเรื่องสำคัญยิ่งชีวิตที่เราจะต้องผลิตชิปที่นี่บนแผ่นดินสหรัฐอเมริกา”

Source: Aljazeera, TIME

]]>
1371288
มาอีกหนึ่ง! “Intel” ออกกฎพนักงาน “ไม่ฉีดวัคซีน” จะถูก “พักงาน” โดยไม่ได้รับเงินเดือน https://positioningmag.com/1368182 Wed, 22 Dec 2021 05:56:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368182 กระแสกดดันให้พนักงานฉีดวัคซีนเกิดขึ้นในกลุ่มบริษัทอเมริกันอย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายของ “Joe Biden” โดยรายล่าสุด “Intel” ระบุกฎใหม่หากพนักงาน “ไม่ฉีดวัคซีน” ภายในวันที่ 4 มกราคม 2022 จะมีคำสั่งให้ “พักงาน” โดยไม่ได้รับเงินเดือน

สำนักข่าว AP รายงานประกาศจาก Intel แจ้งถึงพนักงานทุกคน หากยังไม่ได้ฉีดวัคซีนครบโดส จะต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ภายในวันที่ 4 มกราคม 2022 หรือยื่นเอกสารแจ้งขอยกเว้นไม่ฉีดวัคซีนด้วยเหตุผลด้านสุขภาพหรือศาสนา

Christy Pambianchi บอสใหญ่แผนกทรัพยากรบุคคลของ Intel ระบุในการแจ้งเตือนตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2021 ว่า พนักงานจะต้องได้รับวัคซีนครบโดส หรือยื่นเอกสารแจ้งขอยกเว้น หรือยอมรับการตรวจ COVID-19 เป็นประจำทุกสัปดาห์ ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งเป็นสัปดาห์ทำงานจากบ้าน

เส้นตายของการรับวัคซีนคือวันที่ 4 มกราคม 2022 และบริษัทจะตรวจสอบเอกสารขอยกเว้นการฉีดวัคซีนภายในวันที่ 15 มีนาคม 2022 หากพนักงานยืนยันที่จะไม่ฉีดวัคซีนหรือข้อยกเว้นไม่ได้รับการอนุมัติ พนักงานจะถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือนเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2022

อย่างไรก็ตาม Pambianchi ยืนยันว่าจะไม่มีการเลิกจ้างแต่อย่างใด และบริษัทจะยังอนุญาตให้พนักงานใช้สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพได้ แม้จะถูกพักงาน

Photo : Shutterstock

ข้อบังคับการฉีดวัคซีนของ Intel เป็นไปตามนโยบายของ Joe Biden ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่มีคำสั่งให้บริษัทซึ่งมีจำนวนพนักงานเกิน 100 คน พนักงานจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนทั้งหมด แต่นโยบายนี้ ขณะนี้ยังมีการอภิปรายในศาลสหพันธรัฐอยู่ว่า เป็นนโยบายที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทำให้ทาง Intel ก็ยังติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะเป็นคำสั่งที่ถูกกฎหมายหรือไม่ต่อไป

ก่อนหน้าที่บริษัท Intel จะมีคำสั่ง บริษัทใหญ่อื่นๆ ก็มีนโยบายออกมาแล้วเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น Google ที่จะให้พนักงานลากิจยาว 30 วันหากไม่เข้ารับวัคซีนหรือแจ้งขอยกเว้นภายในวันที่ 13 มกราคม 2022 และหลังจากนั้นอีก 30 วัน ถ้ายังยืนยันไม่รับวัคซีน อาจมีความเสี่ยงถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือนหรือถูกเลิกจ้าง

Facebook และ Microsoft มีนโยบายร้องขอให้พนักงานรับวัคซีนก่อนที่จะเปิดให้กลับมาทำงานในออฟฟิศปี 2022 ส่วนบริษัท Apple ยังไม่ประกาศนโยบายเพิ่มเติม หลังจากมีคำสั่งให้พนักงานตรวจ COVID-19 เป็นประจำ

ขณะที่กลุ่มสายการบินเข้มงวดยิ่งกว่า โดย United Airlines เลิกจ้างพนักงานไปแล้วเกือบ 600 คนเพราะเหตุไม่ฉีดวัคซีน ส่วน Delta Airlines บังคับให้พนักงานจ่ายค่าประกันรักษาพยาบาลเพิ่ม 200 เหรียญต่อเดือน หากไม่ฉีดวัคซีน

Source

]]>
1368182
ข้ามไทยอีกแล้ว! ‘Intel’ เตรียมลงทุน 7 พันล้านเหรียญ เปิดโรงงานผลิต ‘ชิป’ ในมาเลเซีย https://positioningmag.com/1367306 Thu, 16 Dec 2021 05:44:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1367306 ‘อินเทล’ (Intel) บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เปิดเผยว่า จะลงทุนเป็นเงินมากกว่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างโรงงานบรรจุภัณฑ์และทดสอบชิปแห่งใหม่ในมาเลเซีย

แพ็ต เกลซิงเกอร์ หัวหน้าผู้บริหารระดับสูงของอินเทล กล่าวว่า สาเหตุที่อินเทลขยายการผลิต เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก โดยโรงงานบรรจุภัณฑ์ขั้นสูงแห่งใหม่ในมาเลเซียคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปี 2024 ด้านรัฐบาลมาเลเซีย กล่าวว่า การลงทุนมูลค่า 30 พันล้านริงกิต (7.10 พันล้านดอลลาร์) ของอินเทล จะสร้างงานกว่า 4,000 ตำแหน่งและงานก่อสร้างมากกว่า 5,000 ตำแหน่งในประเทศ

การดำเนินการนี้เกิดขึ้นได้ทันท่วงทีเนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาการขาดแคลนชิปและความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นจากการฟื้นตัวของโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก” โมฮาเหม็ด อัซมิน อาลี รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศของมาเลเซียกล่าว

ที่ผ่านมา อินเทลได้เปิดโรงงานผลิตแห่งแรกนอกสหรัฐอเมริกาที่รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซียเมื่อปี 1972 โดยโรงงานมีขนาด 5 เอเคอร์ และในปี 1975 มีพนักงานประมาณ 1,000 คน และได้กลายเป็นส่วนสำคัญของซัพพลายการผลิตของบริษัท ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการประกอบชิปของมาเลเซีย คิดเป็นกว่า 1 ใน 10 ของการค้าโลกซึ่งมีมูลค่ากว่า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับปัญหาการขาดแคลนทั่วโลกของชิปเซมิคอนดักเตอร์ส่วนหนึ่งเกิดจากความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น โดยมีการแพร่ระบาดเป็นเชื้อเพลิง โดยที่ผ่านมาจะเห็นหลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากปัญหา ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ต้องลดจำนวนการผลิต ไปจนถึงความล่าช้าในการส่งมอบมาร์ทโฟน อาทิ iPhone ของ Apple ขณะที่ปัญหาการขาดแคลนชิปคาดว่าจะลากยาวไปอีกน้อย 2 ปี

โดยรวมแล้วอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในปีนี้จะเติบโตมากกว่าในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา แต่ช่องว่างยังคงมีขนาดใหญ่แต่ด้วยสถานการณ์และข้อจำกัดต่าง ๆ คาดว่าปัญหาจะยาวไปถึงปี 2023” แพ็ต เกลซิงเกอร์ กล่าว

ไม่ใช่แค่มาเลเซีย แต่อินเทลหวังที่จะประกาศเปิดโรงงานแห่งใหม่ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปภายในต้นปีหน้า

Source

]]>
1367306
TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของไต้หวัน ประกาศทุ่มลงทุน 3 ล้านล้านบาท แก้วิกฤต ‘ชิปขาดตลาด’ https://positioningmag.com/1326515 Sun, 04 Apr 2021 10:45:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326515 วิกฤตชิปขาดตลาด’ ที่สะเทือนหลายอุตสาหกรรมทั่วโลกในตอนนี้ มีเเนวโน้มจะลุกลามต่อไปในระยะยาว

ล่าสุด TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลกจากไต้หวัน ที่มีลูกค้าสำคัญอย่าง Apple ประกาศทุ่มเงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3 ล้านล้านบาท) ในอีก 3 ปีข้างหน้า เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตชิปที่กำลังขาดตลาดอยู่มาก

ในปีนี้ TSMC จะวางแผนจะใช้งบลงทุนราว 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8.7 แสนล้านบาท) เพื่อขยายการผลิตและพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนไมโครชิปให้ทันกับความต้องการ’ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ TSMC ยังไม่เปิดเผยว่าจะมีการตั้งโรงงานเเห่งใหม่ที่ใดบ้าง

การที่เซมิคอนดักเตอร์เกิดปัญหาขาดตลาดดังกล่าว ส่งผลต่อการผลิตสินค้าหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า สมาร์ทโฟน เเละอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

โดยอุตสาหกรรม ‘ยานยนต์’ ถือว่าได้รับผลกระทบมากที่สุด ทั้งเจ้าใหญ่อย่าง Volkswagen, Honda, Toyota และ General Motors ต่างก็ต้องลดจำนวนการผลิตลง

ขณะเดียวกัน ฝ่ายผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์เจ้าใหญ่ ก็ตัดสินใจส่งสินค้าให้กับบรรดาบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ก่อนที่จะผลิตให้กับค่ายรถยนต์

เพราะช่วงวิกฤต COVID-19 การเดินทางที่น้อยลง ทำให้ตลาดรถยนต์ซบเซา เเละความต้องการซื้อรถยนต์ก็ลดลงตามไปด้วย เเต่สินค้าแกดเจ็ตเเละเครื่องเล่นเกม กลับได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เพราะผู้คนต้องอยู่บ้าน ทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) หรือออกกำลังกายที่บ้านกันมากขึ้น

TSMC ประเมินว่า ความต้องการของสินค้าเซมิคอนดักเตอร์จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากกระเเส ‘megatrends’ ในโลกเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงเเละการมาของ 5G ขณะเดียวกันการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ก็เป็นตัวเร่งให้สังคมเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลเร็วยิ่งขึ้นในทุกๆ ด้าน

ฝั่ง ‘Intel’ ก็ได้ประกาศว่าจะทุ่มเงิน 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างโรงงานผลิตชิปใหม่ 2 แห่งในสหรัฐฯ และยุโรปเพิ่มอีก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ รวมไปถึงเพื่อแข่งขันให้ได้มากขึ้นในตลาดที่จะมีมูลค่าถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2025

“Intel เป็นและจะยังคงเป็นผู้พัฒนาชั้นนำของเทคโนโลยีผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่และเป็นผู้ให้บริการชั้นของโลก” ‘Pat Gelsinger CEO คนใหม่ของ Intel ระบุ

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตชิปของไต้หวัน โดยรวมมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากอเมริกา ถือเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ เเต่ปัญหาการจัดการน้ำ ไฟฟ้าเเละเเรงงาน ยังคงเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ต้องจับตาในระยะยาว

 

 

ที่มา : BBC , CNN

]]>
1326515