Kering – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 20 Mar 2024 08:00:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Gucci คาดยอดขายในไตรมาส 1 ปีนี้อาจลดลงถึง 20% ผลจากเศรษฐกิจจีนและตลาดเอเชียชะลอตัวลง https://positioningmag.com/1466859 Wed, 20 Mar 2024 07:40:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466859 กุชชี่ (Gucci) ได้แจ้งว่ายอดขายในไตรมาส 1 ปีนี้อาจลดลงถึง 20% ผลจากเศรษฐกิจจีนและตลาดเอเชียชะลอตัวลง ซึ่งแบรนด์หรูยี่ห้อดังกล่าวนั้นถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำสำคัญของ Kering ซึ่งในปีที่ผ่านมากำไรของบริษัทที่ลดลงถึง 17% ก็มาจากปัญหาเดียวเช่นกัน

Kering ผู้ผลิตสินค้าแบรนด์หรูหลายยี่ห้อได้แจ้งกับนักลงทุนก่อนที่ผลประกอบการในไตรมาส 1 จะออกมาในเดือนเมษายนว่า ยอดขายแบรนด์หรูอย่าง Gucci ในทวีปเอเชียอาจลดลงถึง 20% ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากยอดขายชะลอตัวลงจากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน

ผู้ผลิตสินค้าแบรนด์หรูจากฝรั่งเศสรายนี้ได้ชี้ว่ายอดขายทวีปเอเชียในไตรมาส 1 ของปี 2024 ของ Gucci จะลดลงถึง 20% เมื่อเทียบกับปี 2023 ที่ผ่านมา

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตสินค้าแบรนด์หรูหลายยี่ห้อจากฝรั่งเศสรายนี้ต้องแจ้งนักลงทุนล่วงหน้า เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจของจีนที่ชะลอตัวลงกว่าคาด แม้ว่าในปีที่ผ่านมา GDP ของจีนจะเติบโตมากถึง 5.2% ก็ตาม แต่เศรษฐกิจจีนเองก็ยังพบกับความท้าทายจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

ข้อมูลจากปี 2022 ที่ผ่านมา Gucci เป็นแหล่งรายได้สำคัญมากถึง 51% ของรายได้รวมทั้งหมดของ Kering ซึ่งถ้าหากแบรนด์ดังกล่าวมีปัญหาเรื่องยอดขายตกย่อมส่งผลทันทีต่อบริษัท

ขณะที่ตลาดแดนมังกรมีสัดส่วนต่อรายได้ของ Gucci มากกว่า 1 ใน 3 ของรายได้รวมของ Gucii ซึ่งถ้าหากตลาดสินค้าหรูแดนมังกรประสบปัญหาจากสภาวะเศรษฐกิจย่อมส่งผลกระทบต่อยอดขายรวมของ Kering ไม่น้อย ซึ่งในปี 2023 นั้น Kering มีกำไรลดลงถึง 17% เมื่อเทียบกับปี 2022 ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากยอดขายฝั่งเอเชียที่ลดลง

ในช่วงที่ผ่านมา หลายแบรนด์หรูได้เน้นเจาะตลาดจีน โดยคาดหวังว่าจะเป็นแหล่งรายได้และผลกำไรให้กับบริษัทไม่น้อยนอกจากตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือแม้แต่ญี่ปุ่น ที่เป็นตลาดหลักของสินค้าหรูอยู่แล้ว ซึ่งหลายบริษัทเองได้มีการเร่งขยายธุรกิจในจีนอย่างมาก

อย่างไรก็ดี หลังจากการแพร่ระบาดของโควิดตลาดสินค้าหรูในจีนกลับไม่ฟื้นตัวอย่างที่หลายบริษัทคาดไว้ จนทำให้หลายบริษัทเองต้องกระจายรายได้โดยการหาลูกค้าที่สนใจสินค้าหรูทั่วโลกแทน เช่น อินเดีย ตะวันออกกลาง เป็นต้น เพื่อที่จะทำให้รายได้กลับมาเติบโตแทน

]]>
1466859
‘COACH’ ทุ่ม 3 แสนล้านบาทปิดดีล ‘Versace’ หวังสร้างอาณาจักรสินค้าลักชัวรี่คานอำนาจกลุ่ม ‘LVMH’ https://positioningmag.com/1440686 Fri, 11 Aug 2023 02:50:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440686 หรือนี่จะเป็นการคานอำนาจในตลาดสินค้าลักชัวรี่ เมื่อบริษัทแม่ของ Coach ทุ่มเงินกว่า 8.5 พันล้านดอลลาร์ ควบรวมกิจการกับแบรนด์ Versace เพื่อสร้างอาณาจักรไว้แข่งขันกับกลุ่ม LVMH และ Kering ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ครอบครองตลาดลักชัวรี่ทั่วโลกไว้

Michael Kors และ Kate Spade กำลังจะกลายเป็นพี่น้องกัน โดยบริษัท Tapestry Inc. ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าลักชัวรี่อย่าง Kate Spade และ Coach ว่าบริษัทได้ซื้อกิจการ Capri Holdings ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Michael Kors และ Versace ในมูลค่า 8.5 พันล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 3 แสนล้านบาท เพื่อให้พวกเขาสามารถแข่งขันกับแบรนด์สินค้าระดับไฮเอนด์จากยุโรปได้ดีขึ้น

ข้อตกลงดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2024 โดยเมื่อธุรกิจควบรวมกันแล้วเสร็จจะประกอบด้วย 6 แบรนด์ ที่ส่งเสริมกันอย่างมากและเข้าถึงได้ทั่วโลก ซึ่งบริษัทเชื่อว่ายอดขายต่อปีหลังจากควบรวมจะมีมูลค่ามากกว่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ จากการจำหน่ายสินค้าในกว่75 ประเทศ นอกจากนี้ การทำงานร่วมกันในช่วง 3 ปีหลังจากปิดดีล จะช่วยให้ลดต้นทุนได้ 200 ล้านดอลลาร์

“การรวมตัวกันของ Coach, Kate Spade และ Stuart Weitzman ร่วมกับ Versace, Jimmy Choo และ Michael Kors จะกลายเป็นกลุ่มสินค้าลักชัวรี่ที่ทรงพลังแห่งใหม่ ปลดล็อกโอกาสพิเศษในการขับเคลื่อนมูลค่าที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้บริโภค พนักงาน ชุมชน และผู้ถือหุ้นทั่ว” Joanne Crevoiserat CEO ของ Tapestry กล่าวในแถลงการณ์

โดยเจาะไปภายใต้ข้อตกลงพบว่า ผู้ถือหุ้นบริษัท Capri จะได้รับ 57 ดอลลาร์/หุ้น และมูลค่าหุ้นพุ่งขึ้น 60% ในช่วงต้นของการซื้อขาย ขณะที่หุ้นของ Tapestry ตกไปเกือบ 6%

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งสองบริษัทได้เปลี่ยนชื่อบริษัทแม่ เนื่องจากพวกเขาต้องการขยายพอร์ตโฟลิโอของแบรนด์แฟชั่น โดย Coach เปลี่ยนชื่อแม่เป็น Tapestry ในปี 2017 และ Michael Kors เปลี่ยนเป็น Capri หลังจากซื้อ Versace ในปี 2018 อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ได้ระบุว่าชื่อ Tapestry จะยังคงอยู่หรือไม่หลังจากการปิดการซื้อกิจการ

การที่ทั้งสองแบรนด์มีการขยายตัวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Neil Saunders กรรมการผู้จัดการของ GlobalData มองว่า แม้ว่าบริษัทใหม่จะไม่มีชื่อเสียงหรือใหญ่โตเหมือนบริษัทในยุโรป แต่ก็จะมีอิทธิพลอย่างมากในตลาดสินค้าลักชัวรี่ และเพื่อให้สามารถสู้กับแบรนด์จากยุโรปได้ ทั้ง 2 จึงเลียนแบบกลุ่ม LVMH และ Kering ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงในการดูแลแบรนด์ที่ดึงดูดกลุ่มต่าง ๆ ของตลาด

“การรวมกลุ่มสินค้าลักชัวรี่ช่วยให้มีการจัดการร่วมกันและความสามารถในการปฏิบัติงานที่กว้างขวาง ซึ่งสามารถใช้กับแบรนด์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล”

สำหรับกลุ่มบริษัท LVMH ของฝรั่งเศส ปัจจุบันเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าลักชัวรี่ 75 แบรนด์ อาทิ Louis Vuitton, Dior, Tiffany & Co. แบรนด์เครื่องประดับสัญชาติสหรัฐฯ ส่วนบริษัท Kering เป็นบริษัทแม่ของ Gucci และ Saint Laurent และเมื่อเดือนก่อนบริษัทได้ซื้อหุ้น 30% ในกิจการของ Valentino

ย้อนไปช่วง Q2/2023 ที่ผ่านมา ตลาดสินค้าลักชัวรี่ในสหรัฐอเมริกาได้ชะลอตัวลง โดย Jean-Jacques Guiony ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ LVMH กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า ยอดขายของกลุ่ม LVMH ในสหรัฐฯ ลดลง 1% ดังนั้น การชะลอตัวดังกล่าวถือเป็นสัญญาณเตือนที่สร้างแรงกดดันให้กับ Tapestry และ Capri ซึ่งทั้งสองอย่างนี้กำลังมองหาตลาดต่างประเทศเพื่อหนุนการเติบโต

Source

]]>
1440686
ทำไมบริษัทแม่ของ “Gucci” จึงเลือกเข้าซื้อกิจการน้ำหอมแบรนด์ “Creed” ? https://positioningmag.com/1437334 Mon, 10 Jul 2023 11:22:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437334 Kering บริษัทลักชัวรีชื่อดังเจ้าของแบรนด์ “Gucci” ประกาศดีลเข้าซื้อกิจการน้ำหอมแบรนด์ “Creed” ด้วยเม็ดเงินมูลค่า 3,500 ล้านยูโร (ประมาณ 1.35 แสนล้านบาท) จากเจ้าของเดิมคือกองทุน BlackRock Inc.

ทำไม Kering ต้องทุ่มเงินขนาดนี้ ทั้งที่ในมือบริษัทมีพอร์ตสินค้าลักชัวรีกลุ่มเสื้อผ้าแฟชั่นและเครื่องหนังอยู่แล้วมากมาย ทั้ง Gucci, Bottega Veneta, Alexander Wang และ Balenciaga

คำตอบน่าจะมาจากการวางกลยุทธ์ใหม่ล่าสุดของบริษัทที่ต้องการจะเข้าสู่สนามแข่งขันด้านสินค้า “บิวตี้” กับเขาบ้าง หลังจากคู่แข่งรายใหญ่ไม่ว่าจะเป็น LVMH หรือ Hermes ต่างมีพอร์ตเครื่องสำอาง สกินแคร์ น้ำหอม ล่วงหน้าไปก่อนแล้ว

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Kering จึงตั้งหัวหน้าแผนกธุรกิจบิวตี้คนใหม่ขึ้นมาคือ “Raffaella Cornaggia” ซึ่งเธอคนนี้เป็นผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในธุรกิจบิวตี้มากว่า 25 ปี ร่วมงานกับบริษัทชั้นนำมาหมดแล้วทั้ง L’Oreal, Chanel Parfums Beaute, Estee Lauder, MAC Cosmetics ฯลฯ

โจทย์ที่มอบให้ผู้บริหารคนใหม่ คือการพัฒนาสินค้าบิวตี้ภายใต้แบรนด์ที่ Kering มีในมือ คือ Bottega Veneta, Alexander Wang, Balenciaga, Pomellato และ Qeelin

(ส่วนสินค้ากลุ่มบิวตี้แบรนด์ Gucci นั้นถือเป็นลิขสิทธิ์ในมือบริษัทอื่นคือ Coty Inc. และของแบรนด์ Yves Saint Laurent ก็ติดอยู่กับ L’Oreal ทำให้บริษัทนำมาพัฒนาเองไม่ได้)

กระเป๋า Gucci Dionysus (Photo : Christian Vierig/Getty Images)

นอกจากพัฒนาภายใต้แบรนด์ที่มีอยู่ Kering ยังเตรียมเงินสดไว้เข้าสู่สงครามการควบรวมกิจการ โดยการขายหุ้นที่บริษัทถือในแบรนด์ Puma ออกไป

ดังที่เห็นว่าปีที่แล้ว Kering ตกเป็นข่าวว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่สนใจซื้อกิจการน้ำหอม Tom Ford (โดยบริษัทไม่เคยให้ข้อมูลชัดเจนอย่างเป็นทางการ) แต่สุดท้ายแล้ว Estee Lauder คือผู้ชนะในการซื้อกิจการกลุ่มบิวตี้และน้ำหอม Tom Ford

ปีนี้ Kering จึงหาเป้าหมายต่อไป และมาตกลงกันได้ที่แบรนด์ “Creed” แบรนด์น้ำหอมชื่อดังที่ถือกำเนิดในอังกฤษก่อนจะย้ายที่ทำการหลักมาอยู่ในฝรั่งเศส

เหตุที่เลือกแบรนด์นี้เพราะ Creed เป็นน้ำหอมที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1760 โดยชายที่ชื่อว่า “James Henry Creed” สมัยนั้นเขาเป็นผู้ผลิตและจัดหาทั้งเครื่องแต่งกายและน้ำหอมให้กับสมาชิกราชวงศ์ทั่วทวีปยุโรป ต่อมา “น้ำหอม” กลายเป็นสินค้าเรือธงด้วยความสามารถของตระกูล Creed ในการสรรหาและสร้างสรรค์กลิ่นน้ำหอมหายากที่ไม่เหมือนใครได้

น้ำหอม Creed
น้ำหอมแบรนด์ Creed โด่งดังในกลุ่มลูกค้าผู้ชาย

สูตรการปรุงน้ำหอมเหล่านี้จึงถูกส่งต่อในครอบครัวมาต่อเนื่อง 7 รุ่น จนถึงปัจจุบันรุ่นที่ 7 ของตระกูลก็ยังเป็นนักปรุงน้ำหอมผู้สรรหากลิ่นพิเศษจากทั่วโลก

น้ำหอม Creed นับว่าเป็นน้ำหอมชื่อดังในกลุ่มผู้ชาย สามารถทำรายได้ได้มากกว่าปีละ 250 ล้านยูโร (ประมาณ 9,600 ล้านบาท) ในไทยน้ำหอมแบรนด์นี้ขายอยู่ในช่วงราคาขวดละ 7,600-12,000 บาท

โดย Kering มองศักยภาพแบรนด์ Creed ว่ายังสามารถ “ปลดล็อก” ได้มากกว่านี้ ด้วยการผลักดันเข้าไปทำตลาด “จีน” และเน้นขายให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยว รวมถึงเพิ่มพอร์ตน้ำหอมสำหรับผู้หญิงให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสการขาย

น้ำหอมที่เน้นกลิ่นสำหรับผู้หญิงจะเพิ่มมากขึ้นในพอร์ตของแบรนด์

สำหรับภาพรวมธุรกิจ Kering ปีนี้ถือเป็นปีที่ต้องฝ่าฟัน เพราะไตรมาสแรกแบรนด์ที่เป็นหัวใจสำคัญอย่าง “Gucci” ดูเหมือนจะคลายมนตร์เสน่ห์แห่งเข็มขัดหัว GG ไขว้ไปเสียแล้ว ทำให้รายได้แทบไม่เติบโต ทั้งที่คู่แข่งอย่าง LVMH กับ Hermes ก็ยังโตได้แบบดับเบิลดิจิต

เมื่อแบรนด์ที่เคยฮิตเริ่มจะแผ่วๆ ลงไป ทำให้ Gucci มีการเปลี่ยนตัวผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ (Creative Director) คนใหม่คือ Saboto De Sarno ซึ่งย้ายมาจากแบรนด์ Valentino เพื่อจะมาปั้นให้แบรนด์ Gucci กลับมาสดใหม่อีกครั้ง

ในระหว่างการจัดทัพเหล่านี้ อีกหนึ่งภารกิจสำคัญที่ Kering กำลังเล็งอยู่คือการคว้าเอาลิขสิทธิ์กลุ่มสินค้าบิวตี้ของ Gucci กลับมาจาก Coty Inc. ด้วย เพียงแต่ยังไม่รู้ว่าจะทำสำเร็จเมื่อไหร่

ที่มา: Reuters, SCMP, Premium Beauty News

]]>
1437334
Kering บริษัทแม่แบรนด์หรูหลายยี่ห้อ เตรียมลุยตลาดเครื่องสำอาง ผู้บริหารชี้ได้เวลาต้องทำ https://positioningmag.com/1418297 Tue, 07 Feb 2023 17:09:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1418297 บริษัทผลิตสินค้าหรูจากฝรั่งเศสอย่าง Kering ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ดังไม่ว่าจะเป็น Balenciaga Gucci Alexander McQueen รวมถึง Yves Saint Laurent เป็นต้น ล่าสุดบริษัทเตรียมที่จะลุยตลาดเครื่องสำอางแล้ว หลังจากที่ดึงผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดังกล่าวมาจากบริษัทดังอย่าง Estee Lauder มาร่วมงาน

สำหรับแบรนด์ของ Kering ที่เตรียมมีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเร็วๆ นี้ ได้แก่ Bottega Veneta Balenciaga  Alexander McQueen Pomellato รวมถึง Qeelin

Jean-Francois Palus ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของ Kering ได้กล่าวว่าบริษัทกำลังสร้างพื้นที่ใหม่ (ธุรกิจเครื่องสำอาง) เพื่อที่จะให้แบรนด์ต่างๆ ของเราสามารถเติมเต็มศักยภาพในหมวดหมู่ดังกล่าวนี้ หลังจากที่บริษัทได้ดึงตัว Raffaella Cornaggia ซึ่งเป็นผู้บริหารของ Estee Lauder มายาวนานถึง 14 ปีมาร่วมงานกับบริษัท

ไม่เพียงเท่านี้ผู้บริหารรายดังกล่าวยังชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาภาพลักษณ์ของแบรนด์เหล่านี้ให้มีกลุ่มเครื่องสำอางนั้นถือว่า “มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์

สิ่งที่ล่อตาล่อใจให้ Kering ต้องหันมาทำธุรกิจเครื่องสำอาง ก็คือคู่แข่งอย่าง LVMH มีรายได้จากเครื่องสำอางมากถึง 7,700 ล้านยูโรในปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนรายได้เกือบ 10% ของรายได้รวมทั้งหมดที่ 79,200 ล้านยูโร

ก่อนหน้านี้ทาง Kering (หรือชื่อ PPR ในสมัยอดีต) ได้ขายธุรกิจเครื่องสำอางของ Yves Saint Laurent ให้กับ L’Oréal ไปในปี 2008 ด้วยมูลค่ามากถึง 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ Coty ได้สิทธิ์เครื่องสำอางแบรนด์ Gucci ซึ่งคาดว่าสิทธิ์ดังกล่าวกำลังจะหมดลงในช่วงปี 2028 โดยคาดว่า Kering ได้รายได้จาก Coty ปีละราวๆ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ

นักวิเคราะห์จากหลายสถาบันการเงินคาดว่าหลังจากนี้บริษัทจะดึงแบรนด์เครื่องสำอางอย่าง Gucci หรือแบรนด์อื่นๆ ที่ Coty ได้สิทธิ์ไปในอดีตกลับมาเป็นของบริษัทอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะช่วยทำให้บริษัทนั้นมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันแบรนด์ดังอย่าง Gucci สร้างรายได้ให้บริษัทมากกว่า 50% ของรายได้รวมทั้งหมด

ที่มา – Reuters, Global Cosmetics News

]]>
1418297
เพียง 3 เดือนเเรกของปีนี้ ยอดขาย ‘Hermes’ พุ่งเกือบ 44% คนรวยเอเชียทุ่มช้อปเเบรนด์หรู https://positioningmag.com/1329060 Fri, 23 Apr 2021 11:45:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329060 ‘Hermes’ เเบรนด์เเฟชั่นหรูจากฝรั่งเศส เจ้าของกระเป๋า Birkin สุดโด่งดัง ทำยอดขายในไตรมาสแรกของปี 2021 เพิ่มขึ้นสูงถึงเกือบ 44% จากพลังช้อปของเหล่าคนรวยในเอเชีย โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน หลังมีการผ่อนคลายมาตรการสกัดโรคระบาดเเละกลับมาเปิดร้านค้าได้อีกครั้ง

ความนิยมซื้อของหรูของกลุ่มคนมั่งคั่ง ไม่เเผ่วลงในช่วงวิกฤต COVID-19 โดยผลประกอบการของ Hermes ประจำไตรมาส 1/2021 เพิ่มขึ้น 43.7% ในอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่จากปี 2020 โดยสามารถรายได้รวมถึง 2,083 ล้านยูโร (ราว 7.8 หมื่นล้านบาท) ในช่วงเเค่ 3 เดือนแรกของปีนี้เท่านั้น เหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ว่าคาดจะเพิ่มขึ้น 24%

ปัจจัยที่ส่งเสริมรายได้ของ Hermes ในช่วงนี้ก็คือยอดขายในเอเชีย(ไม่รวมญี่ปุ่น) ที่เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดถึงถึง 93.6% เมื่อเทียบกับจากไตรมาสแรกของปี 2020 โดยเฉพาะยอดขายในจีน ที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว บวกกับยอดขายที่ทรงตัวในเกาหลีใต้ ไทย สิงคโปร์ และออสเตรเลีย 

ญี่ปุ่นยังเป็นตลาดสำคัญที่เติบโตได้ดีของ Hermes โดยมียอดขายเพิ่มขึ้น 20% ส่วนยอดขายฝั่งอเมริกาก็เพิ่มขึ้นกว่า 24% ช่วยชดเชยยอดขายที่ลดลงในตลาดยุโรป ที่เพิ่มขึ้นเพียงแค่ 4.4% เพราะยังต้องเผชิญกับการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกใหม่

โดยสินค้าขายดีที่สุดของเเบรนด์ Hermes เป็นกลุ่มเครื่องหนัง , เสื้อผ้า Ready-to-Wear และผ้าไหม 

Eric du Halgouët ผู้บริหารระดับสูงของ Hermes ยืนยันว่า การเติบโตของยอดขายในไตรมาสดังกล่าวไม่ใช่แรงหนุนจาก ‘ราคาที่เเพงขึ้นเพราะบริษัทมีการปรับราคาขึ้นเพียง 1.4%ในปีนี้

ยอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้น 100% หรือมากกว่านั้นในทุกภูมิภาค และมีแนวโน้มที่จะเกิน 1 พันล้านยูโรในไม่ช้า

ยอดขายที่เพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นไฮเอนด์ต่างๆ ชี้ให้เห็นถึงสัญญาณการกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งของกลุ่มสินค้าลักชัวรี โดยคู่แข่งอย่าง LVMH และ Kering ก็มีรายได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตามองปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในวิกฤตนี้ เช่นในญี่ปุ่นที่ COVID-19 กำลังกลับมาระบาดรุนเเรงอีกครั้ง

 

 

ที่มา : Reuters , wwd 

]]>
1329060
Kering พักรบ LVMH? ร่วมแรงสมทบทุน 300 ล้านยูโร สร้างมหาวิหาร Notre-Dame ขึ้นใหม่ https://positioningmag.com/1225080 Tue, 16 Apr 2019 11:09:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1225080 ท่ามกลางความเสียใจของชาวปารีสและนักท่องเที่ยวทั่วโลก 2 มหาเศรษฐีวงการแฟชั่นฝรั่งเศส ประกาศบริจาคเงินหลายร้อยล้านยูโรเพื่อสร้างมหาวิหาร Notre-Dame ที่เสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ขึ้นใหม่ โดย François-Henri Pinault ประธานและ CEO บริษัท Kering group และ Bernard Arnault หัวเรือใหญ่ CEO ของ LVMH จะบริจาคเงินรวม 300 ล้านยูโรหรือประมาณ 10,776 ล้านบาท คาดว่านับจากนี้จะมีแคมเปญอื่นตามมาอีกมากเพื่อระดมทุนสร้างมหาวิหารในอนาคต

เพียง 1 วันหลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้มหาวิหาร Notre-Dame ผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มบริษัทแฟชันฝรั่งเศส LVMH อย่าง Bernard Arnault ก็ประกาศบริจาคเงิน 200 ล้านยูโร ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่า François-Henri Pinault ผู้บริหาร Kering group ที่ประกาศก่อนหน้าไม่กี่อึดใจว่าจะมอบเงิน 100 ล้านยูโร

François-Henri Pinault ผู้บริหาร Kering group : ที่มารูป SKY News

โดยให้โครงการบูรณปฏิสังขรณ์มหาวิหาร ซึ่งไม่ว่าการประกาศมอบเงินครั้งนี้จะมีเจตนาเกทับกันแอบแฝงอยู่หรือไม่ แต่คนที่ได้รับประโยชน์คือแผ่นดินเมืองน้ำหอม ที่มองเห็นโอกาสได้สัญลักษณ์ของเมืองกลับคืนมาอีกครั้ง

การพร้อมใจประกาศบริจาคเงินบูรณะมหาวิหารของหัวเรือใหญ่ทั้ง Kering และ LVMH นั้นได้รับความสนใจจากวงการธุรกิจ เพราะ Kering นั้นพยายามส่งแบรนด์หรูอย่าง Gucci ไปตีทัพ Louis Vuitton ของ LVMH เพื่อแย่งแชมป์ในตลาดไฮโซอยู่ตลอดเวลา ยังไม่นับแบรนด์อื่นที่ทั้งคู่พยายามชิงส่วนแบ่งในตลาดให้ได้มากกว่าแบบไม่มีใครยอมใคร

เน้นน้ำหนึ่งใจเดียว

เพื่อสร้าง สัญลักษณ์ของฝรั่งเศสขึ้นใหม่ ในแถลงการณ์ของ Bernard Arnault จึงระบุว่าตระกูล Arnault และกลุ่ม LVMH ต้องการแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในช่วงเวลาแห่งโศกนาฏกรรมแห่งชาติ จึงได้เข้าร่วมเพื่อช่วยสร้างมหาวิหารสำคัญแห่งนี้ โดยยกย่องว่ามหาวิหารนี้เป็นสัญลักษณ์ของฝรั่งเศส และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเอกภาพของประเทศ 

แถลงการณ์นี้ครบเครื่องมากกว่าฝั่ง François-Henri Pinault ซึ่งถือเป็นมหาเศรษฐีคนแรกที่บอกว่าจะบริจาคเงินจำนวนมากเพื่อสร้างมหาวิหารขึ้นใหม่ โดยในแถลงการณ์ถึงหนังสือพิมพ์ Le Figaro ของฝรั่งเศส เจ้าพ่อ Kering ใช้คำว่า “completely rebuild Notre Dame” สะท้อนว่าเขาหวังให้เงินนี้สามารถช่วยให้ทุกฝ่ายดำเนินการ สร้าง Notre Dame ขึ้นใหม่ทั้งหมด ได้สำเร็จ

ภาพ : https://mgronline.com/around/detail/9620000036967

Pinault เป็นประธานและหัวหน้าผู้บริหารของกลุ่ม Kering ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ดังเช่น Gucci, Yves Saint Laurent และ Alexander McQueen นอกจากนี้ Pinault ยังเป็นประธานบริษัท Artemis ซึ่งก่อตั้งเพื่อควบคุมทรัพย์สินของตระกูล Pinault เบื้องต้นมีการประเมินว่า Pinault มีทรัพย์สินมูลค่ามากกว่า 19,000 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 790,000 ล้านบาท

การบริจาคครั้งนี้ไม่สะเทือนขนหน้าแข้งของ Pinault โดยแถลงการณ์ระบุว่า การบริจาคเงินครั้งนี้เป็นการตัดสินใจในนามครอบครัวซึ่งจะใช้เงินทุนของ Artemis เป็นจำนวนเงินรวม 100 ล้านยูโร เพื่อให้การฟื้นฟูบูรณะมหาวิหารทำได้อย่างสมบูรณ์

อีกหลายแคมเปญจะตามมา

กระแสโซเชียลจากเหตุเพลิงไหม้มหาวิหารเก่าแก่อายุ 850 ปีนั้นร้อนแรงมาก เพราะชื่อเสียงความงามของอาคารที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากกว่า 13 ล้านคนต่อปี ชื่อของ Notre-Dame นั้นมีความหมายเป็นภาษาอังกฤษว่า “Our Lady” ล่าสุดมีหลายองค์กรออกมาเคลื่อนไหวโดยใช้คำว่า Our Lady หรือท่านหญิงของเราในแคมเปญการกุศลเพื่อระดมทุนสร้างมหาวิหารครั้งใหม่

องค์กรแรกที่เริ่มทวีตข้อความแล้วในขณะนี้คือ Fondation du Patrimoine องค์กรเอกชนที่มีจุดประสงค์อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมฝรั่งเศล โดยข้อความทวีตที่ Fondation du Patrimoine ประเดิมยิงบนโลกโซเชียลระบุว่า เพื่อให้ ท่านหญิงของเราเกิดใหม่จากขี้เถ้าของเธอ องค์กรได้เริ่มโครงการระหว่างประเทศ ซึ่งเงินบริจาคทั้งหมดที่ได้รับ จะถูกส่งไปให้ฝ่ายฟื้นฟูมหาวิหารอย่างเต็มจำนวน

ภาพ : https://mgronline.com/around/detail/9620000036967

เชื่อว่า Fondation du Patrimoine จะไม่ใช่องค์กรเดียวที่เปิดแคมเปญระดมเงินบริจาค เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการสร้างโบสถ์ใหม่คาดว่าจะมีมูลค่าสูงหลายพันล้านยูโร 

หลายปีที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายในการบูรณะวิหาร Notre-Dame นั้นเพิ่มขึ้นสูงลิ่วต่อเนื่อง ทำให้รัฐบาลฝรั่งเศสหลายสมัยพยายามเปิดทางให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อบำรุงรักษาวิหาร เมื่อวิหารประสบเหตุเพลิงไหม้เช่นนี้ มีโอกาสสูงมากที่งบประมาณการสร้างวิหารขึ้นใหม่จะบานปลายไปอีกหลายพันล้านยูโร.

Source

Source

Source

]]> 1225080