NISSAN – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 07 Nov 2024 11:44:03 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘นิสสัน’ เตรียมโละพนักงาน 9,000 คนทั่วโลกเพื่อ ‘ลดต้นทุน’ หลังยอดขายร่วงเหลือ 1.6 ล้านคัน https://positioningmag.com/1497982 Thu, 07 Nov 2024 09:34:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1497982 ดูเหมือนว่าค่ายรถสันดาปญี่ปุ่นหลายรายกำลังเจอช่วงวิกฤตจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุค รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถอีวี โดยล่าสุด นิสสัน (Nisson) ก็เตรียมลดพนักงานและปรับลดกำลังการผลิต รวมถึง CEO ก็ยอมลดเงินเดือนลง เพื่อทำให้ต้นทุนต่ำที่สุด

นิสสัน มอเตอร์ ค่ายรถยนต์อันดับ 3 ของญี่ปุ่น ได้ลดประมาณการกำไรจากการดำเนินงานประจำปีลง 70% เหลือ 1.5 แสนล้านเยน (975 ล้านดอลลาร์) นับเป็นการปรับลดครั้งที่สองหลังจากปรับลด 17% เมื่อต้นปีนี้ โดยกำไรจากการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ (กรกฎาคม-กันยายน) ลดลง 85% เหลือ 3.29 หมื่นล้านเยน ซึ่งต่ำกว่าประมาณการของ LSEG ที่ 6.68 หมื่นล้านเยน

โดยยอดขายของนิสสันในปีนี้ ลดลง 3.8% เหลือ 1.6 ล้านคัน ส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงในประเทศจีนถึง 14.3% ขณะที่ยอดขายในสหรัฐฯ ลดลงเกือบ 3% เหลือประมาณ 449,000 คัน เมื่อรวมกันแล้ว ทั้งสองตลาดมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของยอดขายทั่วโลกของนิสสัน

จากการลดลงดังกล่าว ทำให้นิสสันกำลังตัดสินใจจะ เลิกจ้าง พนักงานจำนวน 9,000 คนทั่วโลก นอกจากนี้ นิสสันยัง ลดกําลังการผลิตลง 20% ขณะที่ตัว มาโกโตะ อุชิดะ ซีอีโอ (Makoto Uchida) จะขอ ลดเงินเดือนลง 50% นับตั้งแต่เดือนนี้ โดย ณ วันที่ 31 มีนาคม นิสสันมีพนักงานทั่วโลกจำนวน 133,580 คน  

“นิสสันจะปรับโครงสร้างธุรกิจให้มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จัดระบบการจัดการใหม่เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอย่างรวดเร็วและยืดหยุ่น อย่างไรก็ตาม มาตรการเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าบริษัทกำลังหดตัว” มาโกโตะ อุชิดะ ซีอีโอ กล่าวในแถลงการณ์

ปัจจุบัน นิสสันกำลังผนึกกำลังกับแบรนด์รถยนต์ต่างชาติเพื่อต่อสู้ในตลาดจีน ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นจากผู้ผลิตรถยนต์จีนในกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเติบโต

Source

]]>
1497982
รวมกันเราอยู่! “Honda – Nissan” ร่วมมือกันพัฒนาองค์ความรู้ “รถอีวี” จุดหมายเพื่อสู้ในตลาด “จีน” https://positioningmag.com/1484988 Fri, 02 Aug 2024 08:23:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1484988 “Honda Motor” และ “Nissan Motor” ประกาศความร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ “รถอีวี” เช่น ซอฟต์แวร์ แบตเตอรี เพื่อลดต้นทุนการพัฒนาของทั้งสองฝ่ายและทำให้แข่งขันในตลาดต่างๆ ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะ “จีน” ซึ่งยอดขายของทั้งสองบริษัทกำลังตกต่ำ

ขณะที่ “Mitsubishi Motors” ซึ่งมีดีลความร่วมมือกับ “Nissan” มาตั้งแต่ปี 2016 จะเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์รวม 3 บริษัท ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการเจรจาเป็นพันธมิตรด้านเงินทุนระหว่าง Honda และ Nissan หรือไม่ โทชิฮิโร มิเบะ ประธานบริษัท Honda กล่าวว่า “เรายังไม่ได้หารือเกี่ยวกับการเป็นพันธมิตรด้านเงินทุนในขณะนี้ แต่ก็ไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้”

เมื่อร่วมกัน 3 บริษัทแล้วจะทำให้ต้นทุนการพัฒนาลดลง และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งญี่ปุ่นด้วยกันได้ เพราะก่อนหน้านี้มี 4 บริษัทญี่ปุ่น ได้แก่ Toyota Motor, Subaru, Suzuki Motor และ Mazda Motor ที่ประกาศสร้างกิจการร่วมค้า ผนึกกำลังกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปแล้ว

“แม้ว่าเราจะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่เรามีความท้าทายเหมือนกัน” มาโกโตะ อูชิดะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Nissan กล่าวในงานแถลงข่าวร่วมกับมิเบะ “ประเด็นหลักของความร่วมมือของเราจะเป็นด้านซอฟต์แวร์”

Honda
Honda Ye GT Concept รถอีวีของแบรนด์ที่จะเข้าทำตลาดในจีนเท่านั้น

บริษัทรถญี่ปุ่นนั้นกำลังสูญเสียส่วนแบ่งตลาดใน “จีน” อย่างต่อเนื่อง หลังจากรถยนต์ไฟฟ้าจีน เช่น BYD ได้รับความนิยมสูงขึ้น และกินส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มรถยนต์พรีเมียม เฉพาะเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ยอดขายของ Honda ในจีนตกลงถึง 40% และของ Nissan ก็ตกลง 27% เมื่อสัปดาห์ก่อน Honda เพิ่งจะตัดสินใจลดการผลิตรถสันดาปในฐานผลิตที่จีนลง 19% ส่วน Mitsubishi Motors ถึงกับถอนฐานผลิตออกจากจีนไปแล้วตั้งแต่ปีก่อน

“Honda และ Nissan กำลังเผชิญกับความยากลำบากในจีน และพวกเขาจะต้องผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้นถึงจะยังอยู่ในตลาดที่นั่นได้” ทัตซูโอะ โยชิดะ นักวิเคราะห์ยานยนต์อาวุโสจาก Bloomberg Intelligence กล่าว ดังนั้น การเป็นพันธมิตรนี้จึง “มีเหตุผล”

อูชิตะ ซีอีโอของ Nissan กล่าวด้วยว่า แบตเตอรีรถยนต์ไฟฟ้าและมอเตอร์ไฟฟ้าต้องใช้การลงทุนมหาศาล ดังนั้น การที่บริษัทรถตกลงร่วมมือกันพัฒนาในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการสร้างความมั่นใจมากขึ้นว่าจะได้ผลตอบแทนจากการทุ่มทรัพยากรลงไป

Nissan
Nissan LEAF เจนเนอเรชันใหม่ที่คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปี 2025

สำหรับผลงานในช่วงครึ่งปีแรก 2024 ทั้ง 3 บริษัทในความร่วมมือนี้คือ Honda, Nissan และ Mitsubishi สร้างยอดขายรถยนต์ไป 4 ล้านคันทั่วโลก ซึ่งยังน้อยกว่า Toyota แค่บริษัทเดียวที่สามารถขายได้ 5.2 ล้านคัน

การต่อสู้ของบริษัทรถญี่ปุ่นในตลาดโลกนั้นมีแรงหนุนจากรัฐบาลด้วย โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่ารถญี่ปุ่นจะต้องได้ส่วนแบ่งตลาด 30% ในตลาดโลกภายในปี 2030

“รัฐบาลและบริษัทรถญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติแล้วว่า ญี่ปุ่นจะไม่ชนะในตลาดถ้าสถานะยังเป็นแบบนี้ต่อไป” ทาเครุ อิโตะ ผู้อำนวยการที่สำนักงานการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลด้านการเคลื่อนที่ของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมกล่าวในการสัมภาษณ์เมื่อเดือนที่แล้ว

Source

]]>
1484988
ถึงเวลาสู้ศัตรูคนเดียวกัน! ‘ฮอนด้า’ ผนึก ‘นิสสัน’ พัฒนารถอีวีเพื่อสู้กับ ‘ค่ายจีน’ https://positioningmag.com/1466580 Mon, 18 Mar 2024 03:58:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466580 หากเป็นรถยนต์สันดาป ผู้ที่ครองตลาดก็จะเป็น ค่ายรถญี่ปุ่น แต่ถ้าเป็นตลาดรถอีวี ค่ายจีน ได้กลายเป็นผู้นำของตลาดไปเรียบร้อยแล้ว แม้แต่แบรนด์สุดแข็งอย่าง Tesla ยังต้องพ่ายแพ้ให้กับค่ายจีน ดังนั้น แบรนด์ญี่ปุ่นจึงต้องเลิกสู้กันเอง หันมาจับมือกันเพื่อสู้ค่ายจีน

ในอดีตค่ายรถยนต์ของญี่ปุ่นอาจจะต้องแข่งกับค่ายรถจากฝั่งยุโรปและแข่งขันกันเอง แต่ตอนนี้ทุกค่ายคงตระหนักได้ว่า คู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดในตลาดก็คือ ค่ายรถอีวีจีน ทำให้ นิสสัน (Nissan) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจแบบไม่ผูกมัด (Memorandum of Understanding – MoU) กับ ฮอนด้า (Honda) ค่ายรถยนต์คู่แข่ง เพื่อร่วมมือกันในการผลิตส่วนประกอบสำคัญสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าและปัญญาประดิษฐ์ในแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ยานยนต์

โดยความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้ทั้งสองบริษัทประหยัดต้นทุนในการผลิต เพราะทำให้มี Economy of scale ที่มากขึ้น ซึ่งจะยิ่งช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นสามารถแข่งขันกับค่ายรถอีวีจากจีน โดยเฉพาะ บีวายดี (BYD) จากจีนที่เพิ่งบุกตลาดประเทศญี่ปุ่น รวมถึง เทสลา (Tesla) ด้วย

“ผู้เล่นหน้าใหม่มีความก้าวร้าวมากและกำลังบุกเข้ามาด้วยความเร็วที่น่าทึ่ง เราไม่สามารถชนะการแข่งขันได้ ตราบใดที่เรายึดมั่นในแนวคิดและแนวทางแบบดั้งเดิม” มาโกโตะ อุชิดะ ซีอีโอของนิสสัน กล่าว

อย่างไรก็ตาม นิสสันและฮอนด้า ยังไม่ได้หารือเกี่ยวกับการลงทุนร่วมกัน แต่ก็เปิดรับความเป็นไปได้ในอนาคต รวมถึงยัง เปิดกว้างในการร่วมมือกับพันธมิตร ที่มีอยู่หากมีโอกาสเกิดขึ้น

“เราถูกจำกัดด้วยเวลา ดังนั้น จำเป็นต้องทำให้เร็ว เพื่อที่ภายในปี 2030 เราจะอยู่ในตำแหน่งที่ดี เราจึงต้องตัดสินใจตั้งแต่ตอนนี้”

ทั้งนี้ ฮอนด้าตั้งเป้าที่จะเพิ่มอัตราส่วนรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงเป็น 100% ของยอดขายทั้งหมดภายในปี 2040 ส่วนนิสสันถือเป็นผู้บุกเบิกด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ด้วยรุ่น Leaf

ที่ผ่านมา ทั้งฮอนด้าและนิสสัน ได้พิจารณาเตรียมลดกำลังการผลิตในประเทศจีน โดยสาเหตุสำคัญคือผู้ผลิตรถยนต์จากญี่ปุ่นต้องแข่งขันกับค่ายรถยนต์ไฟฟ้าของจีน โดยนิสสันเตรียมลดกำลังการผลิตในจีนสูงสุดถึง 30% เหลือ 1.6 ล้านคัน/ปี ส่วนฮอนด้านั้นจะลดกำลังการผลิตราว 20% เหลือ 1.2 ล้านคันต่อปี

Source

]]>
1466580
Nissan และ Honda พิจารณาลดกำลังการผลิตรถยนต์ในจีน หลังผู้ผลิตในแดนมังกรแข่งขันดุเดือดมากขึ้น https://positioningmag.com/1466084 Tue, 12 Mar 2024 17:29:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466084 ‘นิสสัน’ และ ‘ฮอนด้า’ ผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่น ได้พิจารณาลดกำลังการผลิตรถยนต์ในจีน หลังเจอแรงกดดันจากผู้ผลิตในประเทศหลายรายจากการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามรถยนต์ไฟฟ้าจากหลายแบรนด์

Nikkei Asia รายงานข่าวว่า นิสสัน (Nissan) และ ฮอนด้า (Honda) ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น ได้พิจารณาเตรียมลดกำลังการผลิตในประเทศจีน โดยสาเหตุสำคัญคือผู้ผลิตรถยนต์จากญี่ปุ่นต้องดิ้นรนเพื่อไล่ตามการแข่งขันรถยนต์ไฟฟ้ากับผู้ผลิตแดนมังกร

โดย Nissan จะเริ่มพูดคุยกับบริษัทร่วมทุนในท้องถิ่นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า เพื่อลดกำลังการผลิตในจีนสูงสุดถึง 30% ขณะที่ Honda นั้นจะลดกำลังการผลิตราวๆ 20% กำลังการผลิตที่ลดลงจะทำให้ Nissan เหลือจำนวนรถยนต์ที่ผลิตในจีนเหลือแค่ 1.6 ล้านคันต่อปี ซึ่งผลิตในโรงงาน 8 แห่งทั่วประเทศจีน ขณะที่ Honda จะเหลือแค่ 1.2 ล้านคันต่อปีเท่านั้น

ในปี 2023 ที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตรถยนต์ของ Nissan ในประเทศจีนลดลง 24% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เหลือ แค่ 793,000 คันเท่านั้น ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนั้นถือเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดครั้งแรกในรอบ 14 ปีของบริษัทอีกด้วย

ในช่วงทศวรรษ 2000 ผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นหลายรายได้เริ่มให้ความสำคัญกับการผลิตและการขายรถยนต์ในจีนแผ่นดินใหญ่ผ่านการร่วมทุนกับบริษัทในแดนมังกร เพื่อตอบสนองต่อคำขอของรัฐบาลจีนที่ขอให้ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ

รถยนต์ญี่ปุ่นได้รับความนิยมในหมู่ชาวจีนเนื่องจากมีคุณภาพสูง ในช่วงปี 2020 ผู้ผลิตจากญี่ปุ่นได้ครองตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 20% แต่อย่างไรก็ดีเมื่อเวลาผ่านไป บริษัทในประเทศจีนหลายรายได้หันมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นซึ่งเราจะเห็นได้จากหลากหลายแบรนด์

ขณะที่ผู้ผลิตจากญี่ปุ่นเองนั้นไม่สามารถที่จะไล่ตามเทคโนโลยีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของผู้ผลิตในประเทศจีนได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงการแข่งขันทางด้านราคา หรือแม้แต่การเพิ่มลูกเล่นต่างๆ เข้ามา เพื่อดึงดูดลูกค้า

จีนยังมีผู้เล่นหน้าใหม่ที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็น Nio หรือ Xpeng หรือแม้แต่ผู้ผลิตสินค้าไอทีอย่าง Xiaomi ที่ลงมาลุยตลาดดังกล่าว รวมถึง Huawei เองก็ได้ร่วมทุนกับผู้ผลิตยานยนต์ในประเทศจีนก็มีแผนที่จะออกรถยนต์ไฟฟ้ามาสู่ท้องถนนให้ได้เช่นกัน

นอกจากนี้ยอดขายรถไฟฟ้าในประเทศจีนชะลอตัวลง แบรนด์จีนหลายแห่งยิ่งต้องแข่งขันเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งสร้างแรงกดดันให้กับผู้ผลิตรถยนต์จากแดนอาทิตย์อุทัยเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ท้ายที่สุดต้องมีการปรับลดการผลิต

]]>
1466084
Nissan จะเลิกพัฒนา “รถยนต์น้ำมัน” ใน (เกือบ) ทุกตลาด หันมามุ่ง “รถอีวี” เต็มตัว https://positioningmag.com/1373431 Wed, 09 Feb 2022 11:44:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373431 เข้าสู่ยุคใหม่เต็มตัว Nissan ประกาศแผนเลิกพัฒนาเครื่องยนต์รถใช้น้ำมันในทุกๆ ตลาด ยกเว้นสหรัฐอเมริกา และจะหันมาพัฒนารถยนต์ไฮบริดและรถอีวี ตามแผน “Ambition 2030” เร่งยอดขายรถอีวีให้ได้ 50% ภายใน 8 ปีข้างหน้า

Nikkei Asia รายงานแผนการปรับตัวของ Nissan เตรียมหยุดพัฒนารถยนต์เครื่องยนต์น้ำมันในทุกตลาด ยกเว้นสหรัฐฯ โดยจะยังพัฒนาปรับปรุงการออกแบบในรุ่นเดิมบ้าง แต่จะไม่มีการออกแบบรถรุ่นใหม่

ต่อจากนี้ Nissan จะพัฒนาเครื่องยนต์ไฮบริดสำหรับตลาดโลก รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าที่จะเป็นอนาคตของบริษัท ตามแผน “Ambition 2030” ที่บริษัทจะทำยอดขาย 50% จากรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ภายในปี 2030 และจะมีการลงทุนหลักล้านล้านเยนสำหรับการพัฒนารถอีวีและแบตเตอรี่โดยเฉพาะ

สำหรับแรงกระตุ้นหลักที่ทำให้ Nissan ตัดสินใจเลิกพัฒนาเครื่องยนต์น้ำมันในหลายตลาด เกิดจากนโยบายของสหภาพยุโรปที่จะใช้มาตรฐาน Euro 7 ภายในปี 2025 ซึ่งจะเป็นการเขย่าตลาดยานยนต์อย่างแรงเพราะมาตรฐานนี้จะกำหนดให้รถยนต์ลดการปล่อยคาร์บอนลงไปอีกมาก และบีบให้รถยนต์ส่วนใหญ่ต้องใช้พลังงานสะอาด

แม้ว่าจะมีเฉพาะตลาดยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากมาตรฐาน Euro 7 แต่ Nissan ก็ตัดสินใจหยุดการพัฒนารถยนต์น้ำมันในตลาดจีนและญี่ปุ่นไปพร้อมกัน ทั้งนี้ บริษัทแจ้งด้วยว่าจะไม่มีการเลย์ออฟพนักงาน เนื่องจากจะทยอยโอนย้ายพนักงานจากหน่วยผลิตรถน้ำมันไปที่หน่วยผลิตรถยนต์ไฟฟ้า

Nissan Titan รถกระบะน้ำมันรุ่นนี้ยังขายดีในสหรัฐฯ

ส่วนตลาดสหรัฐฯ ที่บริษัทยังมีการพัฒนารถยนต์น้ำมันอยู่นั้น เป็นเพราะบริษัทประเมินแล้วว่าตลาดสหรัฐฯ จะยังมีดีมานด์ “รถกระบะ” สูงอยู่ และรถกระบะเป็นประเภทรถที่ยังใช้น้ำมัน เทคโนโลยีการเปลี่ยนมาใช้แบบไฟฟ้าอาจจะยังช้ากว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคล ทำให้รถกระบะ Nissan รุ่น Frontier และ Titan ที่ยังขายได้รวมกันกว่า 100,000 คันต่อปีในสหรัฐฯ น่าจะยังทำยอดขายได้ต่อไป

อย่างไรก็ตาม บริษัทก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับการพัฒนารถกระบะไฟฟ้า เพราะตลาดสหรัฐฯ ก็เริ่มมีรถกระบะไฟฟ้าทำตลาดบ้างแล้ว และได้เสียงตอบรับดีในหมู่ผู้บริโภค ทำให้ Nissan ก็เริ่มมีคอนเซ็ปต์คาร์ที่เป็นรถกระบะไฟฟ้าออกมาให้เห็นเช่นกัน

Nissan showcases Electric Ecosystem designed to deliver the future of driving today

บริษัท Nissan ถือว่าเป็นผู้นำระดับโลกในการเริ่มปรับตัวสู่รถยนต์ไฟฟ้า เพราะถือเป็นเจ้าแรกๆ ที่ออกรถยนต์ไฟฟ้าสู่ตลาด โดยรถรุ่น Nissan Leaf เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2010 และรักษาตำแหน่งรถยนต์ไฟฟ้า 4 ที่นั่งที่ขายดีที่สุดในโลกจนกระทั่ง Tesla Model 3 มาชิงตำแหน่งนี้ไปเมื่อปี 2020

หลังจากนั้นกว่าทศวรรษ Nissan มีรถไฟฟ้าที่ออกสู่ตลาดอีกรุ่นหนึ่งคือ e-NV200 เป็นรถตู้ขนาดเล็กที่เน้นการขายในญี่ปุ่นกับยุโรปเท่านั้น แต่ปี 2022 นี้คาดกันว่า Nissan จะได้ฤกษ์ส่งมอบ ‘Nissan Ariya’ รถ CUV ที่น่าจะได้รับการตอบรับดีในตลาด โดยเปิดราคาในสหรัฐฯ มาแล้วเริ่มต้นที่ 47,125 เหรียญ (ประมาณ 1.54 ล้านบาท)

Source

]]>
1373431
‘นิสสัน’ ทุ่ม 1.38 พันล้านเหรียญสร้าง ‘gigafactory’ โรงงานผลิตแบตรถอีวีในอังกฤษ https://positioningmag.com/1340562 Sun, 04 Jul 2021 03:43:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340562 มีผลการศึกษาออกมาว่ายอดขาย รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ รถอีวี จะแซงหน้ารถยนต์สันดาปภายในปี 2033 ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ 5 ปี ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ค่ายรถยนต์ต่างพยายามลงทุนเกี่ยวกับรถยนต์พลังงานสะอาดมากขึ้น ซึ่งรวมถึง ‘นิสสัน’ (Nissan) ค่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นที่เตรียมสร้างโณงงานผลิตแบตรถอีวีในสหราชอาณาจักร

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา นิสสัน ได้ประกาศแผนการที่จะสร้าง ‘gigafactory’ โรงงานผลิตแบตเตอรี่รถอีวีมูลค่า 1 พันล้านปอนด์ (1.38 พันล้านดอลลาร์) ในเมืองซันเดอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษ เพื่อส่งเสริมแผนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศ

ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น กล่าวว่า กำลังเปิดตัวโครงการนี้ ซึ่งมีชื่อว่า Nissan EV36Zero พร้อมด้วย Envision AESC บริษัทเทคโนโลยีแบตเตอรี่ และสภาเทศบาลเมืองซันเดอร์แลนด์ ที่ผ่านมา นิสสันได้มีโรงงานผลิตรถยนต์ในซันเดอร์แลนด์มา 35 ปี ซึ่งโรงงาน gigafactory จะช่วยสร้างงานใหม่ 1,650 ตำแหน่ง แบ่งเป็นที่นิสสัน 900 ตำแหน่ง และ 750 ตำแหน่งที่ Envision AESC

Ashwani Gupta ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของนิสสัน กล่าวว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง “แผนงานของเราในการลดการปล่อยคาร์บอน”

ทั้งนี้ นิสสันกำลังพยายามเป็นพันธมิตรกับบริษัทยานยนต์รายใหญ่อื่น ๆ หลายแห่งที่พยายามมุ่งเน้นที่การพัฒนาแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า โดยเมื่อต้นสัปดาห์นี้ บริษัทรถยนต์สัญชาติฝรั่งเศส Renault เพิ่งประกาศว่าได้ลงนามใน “พันธมิตรหลักสองราย” ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า

ย้อนกลับไปในเดือนมีนาคม Volkswagen ของเยอรมนีประกาศว่าตั้งเป้าที่จะสร้างโรงงานขนาดใหญ่หลายแห่งในยุโรปภายในสิ้นทศวรรษนี้

Source

]]>
1340562
ส่อง 5 แบรนด์รถ EV ยอดขายสูงสุดในโลก ที่แสดงให้เห็นว่า ‘Tesla’ มีโอกาสถูกโค่นแชมป์ https://positioningmag.com/1318588 Tue, 09 Feb 2021 06:45:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318588 เปิดปี 2021 มาก็เจอแต่ข่าวเกี่ยว ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ หรือที่เราชอบเรียกกันว่า ‘รถ EV’ แต่รู้หรือไม่ว่าในปี 2020 รถยนต์ไฟฟ้ามียอดขายเท่าไหร่ ซึ่งจากข้อมูลของ EV Sales Blog พบว่าปี 2020 มีการขายรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด 3,124,793 คัน โดยกว่า 68% เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบ ‘Battery Electric Vehicle’ (BEV) หรือ ‘ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว’ ที่เหลือเป็นแบบ ‘ปลั๊กอินไฮบริด’ (Plug-in Hybrid Electric Vehicle : PHEV)

โดย 5 อันดับแบรนด์รถยนต์ที่มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าสูงสุด (รวมทั้ง BEV และ PHEV) ได้แก่

Tesla ยอดขาย 499,535 คัน ส่วนแบ่งตลาด 16% *(Tesla มีเฉพาะรถ BEV)

Volkswagen Group ยอดขาย 421,591 คัน ส่วนแบ่งตลาด 13%

SAIC ยอดขาย 272,210 คัน ส่วนแบ่งตลาด 9%

Renault-Nissan-Mitsubishi Alliance ยอดขาย 226,975 คัน ส่วนแบ่งตลาด 7%

BMW Group ยอดขาย 195,979 คัน ส่วนแบ่งตลาด 6%

Tesla Roadster 2020

เมื่อรวมยอดขายของแบรนด์ 5 อันดับแรกคิดเป็นสัดส่วน 51.7% ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก และที่น่าสนใจคือ ‘Volkswagen Group’ แบรนด์ที่เคยอยู่อันดับ 6 ในปี 2019 แต่ภายในปีเดียวสามารถขึ้นมาอยู่อันดับ 2 ของตลาดได้ แถมในในไตรมาสที่ 4 Volkswagen Group มียอดขายเป็นที่ 1 สามารถแซง Tesla ได้ โดยมียอดขาย 191,000 คัน ส่วน Tesla มี 183,000 คัน

คำถามคือปี 2021 Tesla จะสามารถรักษาแชมป์ได้หรือไม่ เพราะจากการเติบโตที่ก้าวกระโดดของ Volkswagen Group ที่หายใจรดต้นคอ Tesla ในปี 2020 ก็น่าจะเป็นข้อพิสูจน์ความท้าทายที่ Tesla ต้องเผชิญได้แล้ว ขณะที่ Volkswagen ก็เริ่มรุกตลาดอย่างเต็มที่ โดยระบุว่ามีแผนจะลงทุน 35,000 ล้านยูโร (4.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ในรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2025 พร้อมกับมีแผนจะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าบริสุทธิ์ประมาณ 70 รุ่นภายในปี 2030 เพื่อแข่งขันกับ Tesla

จับตา ‘Volkswagen’ ในศึก ‘รถ EV’ เตรียมทุ่มเงิน 4.3 หมื่นล้านเหรียญงัดข้อกับ ‘Tesla’

ไม่ใช่แค่นั้น แต่จะเห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีหลายรายเริ่มเห็นโอกาสจากตลาดรถยนต์ไฟฟ้า และพร้อมที่จะเข้ามาในสงครามนี้ ที่จะเห็นได้ชัดก็คือ ‘Apple’ ที่กำลังจะปิดดีลกับบริษัทรถยนต์ เช่น Hyundai หรือ KIA เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ Apple ออกแบบ นอกจากนี้ Peter Rawlinson อดีตหัวหน้าวิศวกรที่เคยคลุกคลีกับ Elon Musk กำลังสร้างรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ในนาม Lucid Motors ที่การันตีว่ารถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าระยะไกลที่แล่นได้เร็วและไกลที่สุดในโลกมาแข่ง ดังนั้นคงต้องจับตาดูกันยาว ๆ ว่าอาณาจักรมูลค่า 8 แสนล้านดอลลาร์ของ Tesla จะมีไม้เด็ดอะไรมางัดกับคู่แข่งที่กำลังเกิดใหม่มาเรื่อย ๆ นี้

Peter Rawlinson อดีตลูกน้อง Elon Musk สร้างรถใหม่บนจุดขาย “ดีกว่า Tesla”

Source

]]>
1318588
วิกฤต ‘ชิป’ ขาดตลาดพ่นพิษ ‘ตลาดรถยนต์’ คาดแบรนด์ใหญ่สูญเสียการผลิต 100,000 คันในไตรมาสแรก https://positioningmag.com/1314931 Tue, 19 Jan 2021 06:53:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314931 ‘ฟอร์ด (Ford)’ แบรนด์รถยนต์สัญชาติอเมริกันได้สั่งหยุดการผลิตรถยนต์ในโรงงานที่ตั้ง ณ ซาร์หลุยส์ เยอรมนีเป็นเวลาหนึ่งเดือน เนื่องจากขาดแคลนชิปที่จำเป็น ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเริ่มฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

ก่อนหน้านี้ ฟอร์ด ต้องปิดโรงงานผลิตรถ SUV ใน Louisville รัฐ Kentucky เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเนื่องจากขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ล่าสุด ได้สั่งปิดการทำงานของโรงงานตั้งแต่วันที่ 19 มกราคมถึงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนชิปและความต้องการรถที่ลดลง โดยโรงงานแห่งนี้มีพนักงานประมาณ 5,000 คน โดยรถยนต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของ Ford ในยุโรปคือ Ford Focus

“เรากำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและปรับตารางการผลิตเพื่อลดผลกระทบต่อพนักงาน ซัพพลายเออร์ ลูกค้าและตัวแทนจำหน่ายทั่วยุโรป อย่างไรก็ตาม เรายังไม่มีแผนที่จะหยุดการผลิตในโรงงานอื่น ๆ ในยุโรปของเรา” โฆษกของฟอร์ดกล่าว

การปิดตัวลงของโรงงานฟอร์ดในเยอรมนีชี้ให้เห็นว่าปัญหาขาดแคลนชิปกำลังส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลก อย่าง Volkswagen กล่าวในแถลงการณ์เมื่อเดือนที่แล้วว่า จะต้องปรับการผลิตที่โรงงานในจีน, อเมริกาเหนือ และยุโรปในไตรมาสนี้ และ Audi ได้ปลดพนักงาน 10,000 คนเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนชิป โดยต้องเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับผลกระทบที่โรงงานในเยอรมนีและเม็กซิโก นอกจากนี้แบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง Toyota, Nissan, Honda ต่างก็กำลังปรับการผลิตเพื่อตอบสนองต่อปัญหาการขาดแคลน รวมถึงแบรนด์อย่าง Hyundai ก็มีการปรับด้วย

การขาดแคลนชิปในช่วงนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้ผลิตรถยนต์ เนื่องจากบริษัทวิจัย Bernstein ประเมินว่ายอดขายรถยนต์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 9% ในปี 2564 หลังจากที่คาดว่าจะลดลง 15% ในปีที่แล้ว แต่ปัญหาการขาดแคลนชิปทำให้การฟื้นตัวมีความเสี่ยง ตามที่นักวิเคราะห์ของ UBS ระบุว่าผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกอาจสูญเสียการผลิต 100,000 คันในช่วง 3 เดือนแรกของปีหรือประมาณ 4% ของผลผลิตรายไตรมาสทั่วโลกอันเป็นผลมาจากการขาดแคลนส่วนประกอบ

ปัจจุบันรถ 1 คันจะต้องใช้ชิปประมาณ 50-150 ชิ้น เนื่องจากแอปพลิเคชันที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ อาทิ ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ และการควบคุมการนำทาง

Source

]]>
1314931
5 แบรนด์รถยนต์ที่ “เปลี่ยนโลโก้” ต้อนรับยุคแห่ง “รถยนต์ไฟฟ้า” https://positioningmag.com/1288442 Sat, 18 Jul 2020 12:17:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288442 New era, New Logo อุตสาหกรรมรถยนต์ก้าวสู่ยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง แข่งขันกันพัฒนานวัตกรรม “รถยนต์ไฟฟ้า” ช่วงชิงตลาด แต่ไม่ใช่แค่นวัตกรรมที่ต้องแข่งขันกัน การสร้างแบรนด์และการตลาดก็ต้องเปลี่ยนแปลงตามด้วย โดย 5 แบรนด์เหล่านี้ที่เรารวบรวมมาคือแบรนด์รถยนต์ที่ “เปลี่ยนโลโก้” ในปี 2019-2020 สร้างความทันสมัย โฉบเฉี่ยว เพื่อปักหมุดยุคใหม่ของโลกยานยนต์

(หมายเหตุ : เรียงตามลำดับตัวอักษร)

BMW

ค่ายรถยนต์เยอรมัน BMW เพิ่งปรับปรุงโลโก้ใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2020 โดยแตกต่างจากเดิมไม่มาก ส่วนกลางของโลโก้ยังเป็นสีขาวและสีฟ้าสื่อถึงรัฐบาวาเรีย ถิ่นกำเนิดของแบรนด์

แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือตัวอักษร BMW สีขาวจะไม่มีการตัดขอบเงาดำ และบริเวณสีดำในวงกลมรอบนอกจะถูกตัดออกไปเหลือเพียงขอบสีขาวล้อมรอบ ทำให้เมื่อโลโก้นี้ประดับลงบนรถยนต์ ตัวสีรถจะเข้ามาเติมเต็มช่องว่างที่สีดำของโลโก้ได้หายไปแล้วนั่นเอง ภาพรวมโลโก้ใหม่จึงมีความทันสมัยและมินิมอลมากขึ้น

การใช้งานโลโก้ใหม่บน BMW i4

โลโก้ที่ปรับใหม่นี้มาพร้อมกับรถยนต์ไฟฟ้าเจาะกลุ่มผู้บริหาร BMW i4 รถยนต์โปรโตไทป์ที่จะมาท้าชนกับ Tesla Model 3 โดยเฉพาะ

 

KIA

โลโก้ KIA เปลี่ยนจากแบบซ้ายเป็นแบบขวาสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (photo : Financial Express)

ข้ามฟากมาที่ค่ายรถยนต์เกาหลีใต้ สำนักข่าว Financial Express รายงานว่าบริษัท KIA มีการยื่นดีไซน์โลโก้ใหม่จดทะเบียนกับศูนย์บริการข้อมูลสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาแห่งเกาหลีใต้ (KIPRIS) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2019

โลโก้ใหม่นี้มีการเชื่อมตัวอักษร KIA เชื่อมต่อกันเป็นชุดเดียว ลาดเอียงทางขวาเล็กน้อย ใช้ลายเส้นคล้ายกับวาดด้วยปากกาหัวตัด ทำให้มีความโฉบเฉี่ยวทันสมัยยิ่งขึ้น

คอนเซ็ปต์คาร์รุ่น Imagine ของ KIA มีการใช้โลโก้ดีไซน์ใหม่ (photo : autoplus.fr)

จากรายงานข่าวพบว่าทางบริษัทได้ยื่นจดไป 2 แบบคือแบบสีดำและแบบสีแดง โดยเป็นโลโก้แบบเดียวกับที่บริษัทเคยใช้มาแล้วเมื่อนำเสนอคอนเซ็ปต์คาร์รุ่น Imagine ในงาน Geneva Motor Show จึงเป็นไปได้ว่า โลโก้ใหม่อาจจะถูกใช้สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริด

ทั้งนี้ หากดีไซน์ใหม่ถูกนำมาใช้งานจริง หน้าตาของโลโก้จะแตกต่างจากเดิมมากพอสมควร เพราะโลโก้เดิม ตัวอักษร KIA จะไม่ติดกันและเป็นตัวตรงไม่เอียงลาด พร้อมกับมีรูปวงรีล้อมรอบตัวอักษรไว้ด้วย

 

Lotus

ด้านค่ายรถยนต์สปอร์ตก็มีการปรับโลโก้รับยุครถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน Lotus ค่ายรถสัญชาติอังกฤษที่ปัจจุบัน Geely บริษัทจีนซื้อไปบริหาร มีการปรับโลโก้ใหม่เมื่อเดือนสิงหาคม 2019

Lotus เป็นแบรนด์ที่มีประวัติยาวนานถึง 71 ปี ก่อตั้งโดย แอนโธนี คอลิน บรูซ แชปแมน ผู้ล่วงลับ มาถึงยุคนี้ บริษัทสปอร์ตสคาร์ชื่อดังกำลังก้าวเข้าสู่ยุคไฮเปอร์คาร์ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าอย่างสมบูรณ์ ประเดิมด้วยรุ่น Evija ที่มีขุมพลังถึง 2,000 แรงม้า แบรนด์จึงปรับโลโก้ให้เข้ากับยุคใหม่นี้ด้วย

Lotus Evija ไฮเปอร์คาร์พลังงานไฟฟ้า เข้าสู่ยุคใหม่แห่งนวัตกรรมยานยนต์ (photo : Lotus)

โลโก้ Lotus จะยังคงเป็นสามเหลี่ยมรูปพัดสีเขียวด้านในวงกลมสีเหลือง แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือตัวอักษรทั้งหมด ทั้งคำว่า Lotus และ ACBC (ตัวย่อของชื่อสกุลผู้ก่อตั้งแบรนด์) จะเปลี่ยนฟอนต์เป็นแบบ sans serif ซึ่งเป็นตัวอักษรที่ไม่มีขา จากเดิมเป็นอักษรมีขา คำว่า Lotus จะไม่โค้งตามรูปพัดแต่กลายเป็นแนวตรง ทุกส่วนของโลโก้จะไม่มีการตัดขอบสีเงินแล้ว ทำให้ภาพรวมกลายเป็นโลโก้ที่ทันสมัยและเรียบง่ายมากขึ้น

 

Nissan

โลโก้เก่าสู่โลโก้ LED โฉมใหม่ของ Nissan

ค่ายรถล่าสุดที่ปรับปรุงโลโก้เมื่อเดือนกรกฎาคมนี้เอง Nissan มีการปรับโลโก้เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปีเพื่อต้อนรับการใช้งานบนรถยนต์รุ่น Nissan Ariya (นิสสัน อริยะ) ซึ่งเป็นรถยนต์ครอสโอเวอร์ไฟฟ้ารุ่นแรกของแบรนด์

หน้าตาโลโก้ใหม่จะคล้ายคลึงเดิมคือมีวงกลมด้านนอกคาดคำว่า Nissan ตรงกลาง เพราะวงกลมคือสัญลักษณ์สื่อถึงพระอาทิตย์ แต่สิ่งใหม่คือการประดับไฟ LED 20 ดวงที่สื่อถึงการเปลี่ยนแปลงในรอบ 20 ปี เมื่อรถยนต์ติดเครื่อง ไฟในคำว่า Nissan และขอบด้านในของพระอาทิตย์จะส่องสว่างขึ้น

เฉพาะส่วนที่มีการส่องสว่างจาก LED ยังจะเป็นภาพโลโก้แบบ 2D ที่นำไปใช้เป็นโลโก้ศูนย์ดีลเลอร์ ภาพการตลาด หัวจดหมาย นามบัตร และเอกสารต่างๆ ของบริษัท เป็นการเปลี่ยนให้โลโก้มีความมินิมอลมากขึ้น เหมาะกับยุคใหม่

 

Volkswagen

ปิดท้ายค่าย Volkswagen ก็เปลี่ยนโลโก้แล้วตั้งแต่เดือนกันยายน 2019 เพื่อเริ่มต้นยุคใหม่ ยุคแห่งรถยนต์ไฟฟ้า โดยมีรถยนต์รุ่น ID.3 เป็นรุ่นแรกที่ใช้โลโก้ใหม่นี้

โลโก้ใหม่ Volkswagen คือการปรับให้เรียบง่ายและเบสิกที่สุด จากเดิมเป็นโลโก้นูนและตัดขอบเงาสีเงิน กลายเป็นแบบเรียบและไม่เล่นเงา เหลือไว้เฉพาะส่วนสำคัญที่สื่อถึงแบรนด์ ได้แก่ตัว V W และวงกลมรอบนอก โดยลายเส้นจะบางลงกว่าเดิม และสีจะปรับเล็กน้อยจากเดิมเป็นสีน้ำเงินอมฟ้ากลายเป็นสีน้ำเงินเข้มแบบน้ำหมึก

นักออกแบบบอกว่า โลโก้ใหม่ที่เรียบง่ายขึ้นเป็นสิ่งสะท้อนถึงการก้าวสู่ “ยุคอิเล็คทริค-ดิจิทัล” จากที่ไม่เคยเปลี่ยนโลโก้มานานถึง 19 ปี

รถยนต์ไฟฟ้า Volkswagen ID3

Source: Dailymail.co.uk, Financial Express, Motor Authority, Dezeen

]]>
1288442
5 เรื่องน่ารู้ “นิสสัน” เปลี่ยนโลโก้ใหม่ในรอบ 20 ปี ประเดิม “นิสสัน อริยะ” รุ่นแรก https://positioningmag.com/1288124 Fri, 17 Jul 2020 05:02:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288124 ถึงคราวของค่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น “นิสสัน” ในการปรับเปลี่ยนโลโก้ใหม่ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ในครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนโลโก้ในรอบ 20 ปี มีความทันสมัยมากขึ้น เริ่มใช้ในเดือนกรกฎาคม 2563 ประเดิม “นิสสัน อริยะ” รุ่นแรก

5 เรื่องน่ารู้ นิสสันเปลี่ยนโลโก้ใหม่

1. การเดินทางสู่ยุคใหม่

ความหมายของโลโก้ใหม่ของ นิสสัน ได้รับการออกแบบเพื่อสื่อถึง “การเดินทางสู่ยุคใหม่” นั่นหมายความว่ารวมไปถึงเป้าหมาย ทิศทางขององค์กรที่จะขับเคลื่อนเป็นยานยนต์แห่งอนาคตด้วยเช่นกัน

ชื่อของบริษัทยังคงอยู่ที่ศูนย์กลางของโลโก้ สื่อให้มีการจดจำได้โดยทันที พร้อมช่วยบอกเล่าเหตุการณ์สำคัญ และความทรงจำในอดีต พร้อมๆ กันกับการถ่ายทอดวิวัฒนาการต่างๆ ของแบรนด์

การเริ่มต้นยุคใหม่ที่ว่านี้ มีทั้งการสื่อสารในโลกดิจิทัลที่มากขึ้น รวมถึงการเดินทางในยุคของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ที่จะกลายเป็นการเดินทางในอนาคตของผู้บริโภคต่อไปก็ว่าได้ ซึ่งนิสสันเองก็ได้ออกรุ่นใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง

2. สื่อชัดเจนขึ้น แม้บนโลกดิจิทัล

จุดประสงค์หลักของโลโก้นี้จะสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของนิสสันได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นบนโลกดิจิทัล

นิสสันมองว่ามีปฏิสัมพันธ์กับทุกคนมากขึ้นกว่าเดิม ผู้คนเติบโตพร้อมไปกับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โอกาส และใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลเทียบเท่ากับการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้นแบรนด์จะแข็งแกร่งได้จะต้องสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับทั้งสองโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา โลโก้ที่ปรากฏโฉมของนิสสันเป็นสัญลักษณ์สำหรับยานยนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย โลโก้เป็นเครื่องแสดงถึงตัวตน เป็นตัวแทนของนามบัตร การจับมือ และการทักทายในครั้งแรกระหว่างลูกค้า กับประสบการณ์ในการขับขี่ที่ตื่นเต้นเร้าใจของรถยนต์นิสสัน โลโก้ของนิสสันยังคงมุ่งมั่นกับค่านิยมที่สืบทอดจากโยชิสุเกะ ไอคาวะ ผู้ก่อตั้ง ที่ว่า “Shisei tenjitsu o tsuranuku” ซึ่งหมายถึง “ถ้าคุณมีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า มันก็ทำให้คุณก้าวไปได้ถึงดวงอาทิตย์”

3. ยังคงมีดวงอาทิตย์

โลโก้ใหม่นี้ยังคงมีวงกลมที่เปรียบเหมือนพระอาทิตย์อยู่ และคาดด้วยตัวอักษร NISSAN ที่เป็นชื่อแบรนด์ ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 1988 แต่เปลี่ยนจาก 3 มิติ สีเงิน มาเป็น 2 มิติ สีดำ และตัดกรอบรอบๆ ออก เป็นโลโก้ที่ไม่มีแสงตกกระทบก็ยังสื่อสารได้

โลโก้เก่า

4. วางแผนมา 2 ปี

กระบวนการออกแบบของโลโก้นี้เริ่มต้นขึ้นในช่วงฤดูร้อนของปี 2017 เมื่อ อัลฟอนโซ อัลบายซ่า รองประธานอาวุโสด้านการออกแบบระดับโลกของนิสสัน เริ่มศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นกับโลโก้ และเอกลักษณ์ของแบรนด์นิสสัน เขาตั้งทีมออกแบบที่นำโดย ซึโตมุ มัตซึโอะ รองผู้จัดการทั่วไปฝ่ายออกแบบขั้นสูงของนิสสัน เพื่อศึกษาทุกอย่างตั้งแต่วิวัฒนาการที่ลึกซึ้งจนถึงการคิดค้นใหม่อย่างสมบูรณ์

อัลบายซ่า เสนอคำหลักที่สำคัญคือ “บาง เบา และมีความยืดหยุ่น หรือ thin, light and flexible” และแต่งตั้ง มัตสึโอะ และทีมของเขาในภารกิจนี้

“แรงบันดาลใจมาจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการเชื่อมต่อ สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานให้กับลูกค้าของเราได้อย่างไร อย่างที่คุณได้จินตนาการ วิสัยทัศน์ของโลกดิจิทัลเริ่มอยู่ร่วมกับวิถีชีวิตของเรา”

ในอีก 2 ปีข้างหน้า ทีมได้ร่างแบบ และวางแผนซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยคำนึงถึงคำกล่าวของ มร. ไอคาวะ ที่ว่า “ต้องมีความกระตือรือร้น ต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ต้องกล้าท้าทายสิ่งใหม่ ๆ”

ทีมต้องพิจารณาตัวแปรมากมาย รวมถึงการตัดสินใจก่อนกำหนดแบบเพื่อให้โลโก้ส่องสว่างขึ้นในรถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่นที่กำลังจะมา สิ่งนี้นำมาซึ่งข้อเสนอที่มีความท้าทายด้านเทคนิค เช่น การวัดความหนาของโครงร่างของโลโก้เพื่อให้แน่ใจว่า จะได้ภาพที่คมชัดเมื่อมีแสงสว่าง และสอดคล้องกับกฎระเบียบของภาครัฐบาลสำหรับองค์ประกอบที่มีเรืองแสงบนรถยนต์ โดยโลโก้จำเป็นต้องสร้างความประทับใจอย่างมากเมื่อไม่ได้รับแสง ตัวอย่างเช่นเมื่อมันปรากฏตัวในรูปแบบดิจิทัลหรือบนกระดาษ

ไม่ว่าจะเป็นการวางบนสื่อใดๆ โลโก้ใหม่นี้จำเป็นต้องบ่งบอกถึงความเป็นนิสสันอย่างชัดเจน หลังจากสเก็ตช์ภาพและการทำแบบจำลองนับครั้งไม่ถ้วน ผลลัพธ์ที่ได้คือโลโก้ ที่มีความน่าประทับใจแบบ 2 มิติ (2-D) ดูทันสมัยมากขึ้น มีความยืดหยุ่นในการใช้จริงทุกรูปแบบ การสเก็ตช์แบบเริ่มจากภาพ 3 มิติ ก่อนจะพัฒนาให้เป็นแบบ 2 มิติ โลโก้ต้องสามารถเรืองแสงถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ต้น เพื่อให้การกระจายแสงเป็นตัวแทนของแบบโลโก้ 2 มิติ

5. ประเดิมนิสสัน อริยะ รุ่นแรก

โลโก้ใหม่จะเริ่มปรากฏในเดือนกรกฎาคม ทั้งในรูปแบบดิจิทัล และแบบดั้งเดิม รถยนต์ไฟฟ้าของนิสสันจะมีโลโก้ไฟที่เรืองแสงอันเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะ โดยที่มีหลอดไฟแบบ LED จำนวน 20 ดวง (ตรงกับจำนวนปีที่มีการปรับโลโก้) ซึ่งเป็นภาพที่ย้ำถึงความโดดเด่น และแสดงถึงว่านิสสันกำลังมุ่งสู่อนาคตของยานยนต์ไฟฟ้า

จากนั้น โลโก้ใหม่จะปรากฏบนสื่อต่างๆ ตั้งแต่หัวจดหมาย และสัญลักษณ์ของผู้จำหน่ายไปจนถึงโซเชียลมีเดีย และสื่อโฆษณาแบบดิจิทัล

ได้ประเดิมโลโก้ใหม่กับ “นิสสัน อริยะ” ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อไม่นานมานี้ เป็นครอสโอเวอร์ไฟฟ้าคันแรกของแบรนด์ที่ถูกตกแต่งด้วยโลโก้ใหม่ ในฐานะที่เป็นไอคอนใหม่ของการขับเคลื่อนอัจฉริยะของนิสสัน หรือ Nissan Intelligent Mobility

]]>
1288124