บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด เป็นหนึ่งในยักษ์ตลาดเครื่องดื่มไทย ในเครือมีผลิตภัณฑ์ทั้งกลุ่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ เฉพาะตลาด ‘นอน-แอลฯ’ มีจำหน่ายน้ำดื่มตราสิงห์ น้ำแร่ตราเพอร์ร่าและฟิจิ โซดาสิงห์ และสิงห์เลมอนโซดา
ขณะที่ บมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก หรือ OR ก็เป็นยักษ์น้ำมันที่แตกไลน์มาพัฒนาร้านกาแฟผ่านแบรนด์ Café Amazon จนเป็นเจ้าตลาด ขายได้ปีละกว่า 300 ล้านแก้ว
แต่เหตุที่เลือกจับมือกัน เพราะต่างมีเป้าหมายการขยายธุรกิจที่เล็งเห็นแล้วว่า “ไปด้วยกัน ไปได้เร็วกว่า”
“ดิษทัต ปันยารชุน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร OR กล่าวว่า บริษัทมีวิสัยทัศน์ที่จะขยายไลน์พัฒนาสินค้าประเภท FMCG ที่ลงขายในรีเทลให้มากขึ้น ขณะที่ “ภูริต ภิรมย์ภักดี” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กำลังหาโอกาสขยายไลน์สินค้าประเภท “กาแฟ” ที่บริษัทไม่เคยผลิตมาก่อน
ด้วยสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นจากการเป็นคู่ค้าซื้อน้ำมันกันมา ทำให้มีโอกาสพูดคุยและนำมาสู่การร่วมลงทุน เพราะเห็นจุดแข็งของอีกฝ่ายที่ช่วยเติมเต็มกันได้
โดยจุดแข็งของบุญรอดคือการมีเครือข่ายจัดจำหน่ายสินค้า FMCG พร้อมทั่วประเทศ ช่วยเป็นสปริงบอร์ดให้ OR เข้าตลาดรีเทลได้ทันที
ขณะที่จุดแข็งของ OR คือความเชี่ยวชาญด้านเมล็ดกาแฟ มีแหล่งจัดซื้อและมีโรงคั่วของตัวเอง ที่สำคัญมี ‘economy of scale’ เพราะจัดซื้อร่วมกับร้านกาแฟ ซึ่งทำให้บุญรอดมีแต้มต่อเรื่องต้นทุนทันทีเช่นกัน
หลังจากซุ่มพัฒนาโปรดักส์กันมา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 บริษัทร่วมทุน ‘บริษัท ดริ๊งค์ เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด’ จึงเริ่มเปิดตัวสินค้า 2 ตัวแรกของบริษัทคือ “ชาเขียวพร้อมดื่ม Haru Cold Brew” และ “กาแฟพร้อมดื่ม Café Amazon” ลุยชิงส่วนแบ่งตลาด
สำหรับตลาด “ชาพร้อมดื่ม” นั้น ข้อมูลจากนีลเส็นระบุว่าเมื่อปี 2565 มีมูลค่าตลาดกว่า 13,000 ล้านบาท เติบโต 22% จากปีก่อนหน้า โดยมีปัจจัยทำให้ตลาดโตหลักๆ มาจากการฟื้นตัวหลังโควิด-19 คลี่คลาย
ขณะที่การลงตลาดชาพร้อมดื่มของ JV ดริ๊งค์ เอนเตอร์ไพรส์ จะลุยตลาด “พรีเมียม” เป็นหลัก ด้วยราคาขวดละ 30 บาท
“ธิติพร ธรรมาภิมุขกุล” ซีเอ็มโอของ บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดชาพร้อมดื่มในกลุ่มพรีเมียมนั้นมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 10-20% ของตลาดรวม และมีผู้เล่นหลัก 3 ราย คือ โออิชิ, อิชิตัน และ ฟูจิ นอกจากนั้นเป็นรายเล็ก เช่น อิโตเอ็น
ดังนั้น เมื่อจะสู้กับรายหลักที่อยู่มาก่อน ธิติพรกล่าวว่า ชาเขียว Haru Cold Brew มีการวางตำแหน่งทางการตลาดให้ฉีกออกจากคู่แข่งหลายด้าน เริ่มจากรูปลักษณ์ที่เป็น “Modern Japanese” เป็นญี่ปุ่นสมัยใหม่ มินิมอล ซึ่งสอดคล้องกับภาพจำความเป็นญี่ปุ่นของคนรุ่นใหม่ที่เป็นเป้าหมายของแบรนด์ และฉีกจากคู่แข่งที่เน้นความเป็นญี่ปุ่นดั้งเดิม ไปจนถึงสูตรการผลิตที่เป็นชาเขียว “สกัดเย็น” เจ้าเดียวในตลาดขณะนี้ ให้รสชาติที่นุ่มนวลกว่า ใช้ปริมาณใบชาต่อมิลลิลิตรมากกว่า
แม้จะเสียเปรียบที่ต้องปั้นแบรนด์ใหม่ให้ติดหูติดปาก แต่ด้วยงบการตลาดและแผนปูพรมทั้งออนไลน์, สื่อนอกบ้าน (OOH), สื่อ ณ จุดขาย เชื่อว่าจะได้ผลตอบรับที่ดีได้
ธิติพรเล่าย้อนความเป็นมาด้วยว่า ที่จริงค่ายสิงห์เคยชิมลางตลาดชาพร้อมดื่มมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ขณะนั้นตลาดยังเป็นศึกช้างชนช้างของโออิชิกับอิชิตัน สาดโปรโมชันกันหนัก ทำให้ความพยายามผลักดันตลาดชาพรีเมียมของบุญรอดยังไม่ได้ผล การเปิดแบรนด์ Haru Cold Brew ครั้งนี้จึงถือเป็นการ ‘กลับมา’ ลุยตลาดชาพร้อมดื่มอีกครั้ง
ฟากตลาดกาแฟพร้อมดื่มก็น่าสนใจเช่นกัน “สุชาติ ระมาศ” ผู้อำนวยการใหญ่ OR ฉายภาพ อัตราการบริโภคกาแฟของคนไทยปัจจุบันอยู่ที่ 1.5-1.6 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ซึ่งถ้าเทียบกับคนญี่ปุ่นที่บริโภคกาแฟ 3 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แปลว่าการดื่มกาแฟของคนไทยยังเติบโตได้อีกมาก
ส่วนหนึ่งที่จะทำให้โตได้คือ “เพิ่มโอกาสการดื่ม” ของคนรักกาแฟ โดยสุชาติมองว่า คนหนุ่มสาวยุคนี้ที่ดื่มกาแฟสดมักจะใส่ใจเรื่องคุณภาพกาแฟมาก ทำให้ในช่วงที่ร้านกาแฟสดปิดซึ่งมักจะเป็นช่วงค่ำๆ ไปจนถึงกลางดึก หรือหากเป็นวันที่เร่งรีบมาก มีงานติดพัน ร้านกาแฟสดจะเสียโอกาสการขาย และลูกค้าก็ไม่มีตัวเลือกกาแฟดีๆ ในการดื่มทดแทน
นั่นเป็นช่องว่างของตลาด เพราะตลาดกาแฟพร้อมดื่ม RTD ที่มีมูลค่าตลาดใหญ่ถึง 30,000 ล้านบาท มีเพียง 400-500 ล้านบาทเท่านั้นที่เป็นของกาแฟ RTD พรีเมียม สุชาติกล่าวว่า ถ้าเทียบกับในญี่ปุ่นแล้ว ในร้านสะดวกซื้อจะเรียงรายไปด้วยกาแฟพรีเมียมบนชั้นวาง แต่ตลาดไทยยังมีน้อยมาก เท่าที่เห็นก็เช่น เนสกาแฟ, บอส คอฟฟี่, ทรู คอฟฟี่ เป็นต้น
โอกาสของ Café Amazon แบบขวดจึงเปิดกว้าง ด้วยแบรนด์ที่แข็งแรงจากร้านกาแฟ เชื่อว่าผู้บริโภคจะตอบรับดี และเป็นไปได้ที่จะขึ้น Top 3 กาแฟ RTD กลุ่มพรีเมียมได้ตั้งแต่ปีแรก!
ธิติพรและสุชาติสรุปร่วมกันว่า เป้าหมายของดริ๊งค์ เอนเตอร์ไพรส์จากนี้ ปีแรกต้องการทำยอดขายกาแฟ Café Amazon แตะ 8 ล้านขวด และชาเขียว Haru Cold Brew แตะ 10 ล้านขวด
ส่วนเป้าหมายยอดขายใน 1-2 ปีนี้ ต้องการไปถึง 1,000 ล้านบาทต่อปีให้ได้ ขณะที่การออกสินค้าใหม่ๆ ก็จะมีเพิ่มเติมอีกแน่นอน โดยทั้งสองฝ่ายจะมองหาโอกาสและนำมาตัดสินใจร่วมกัน ด้วยเป้าหมายคือผลักดัน “ดริ๊งค์ เอนเตอร์ไพรส์” ให้เป็นรายใหญ่ของตลาดเครื่องดื่ม
]]>จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) ได้กล่าวว่า Traveloka เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่เพียงเฉพาะแค่ด้านการท่องเที่ยว แต่ยังตอบโจทย์พฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ และความต้องการของผู้บริโภคที่มีความเฉพาะตัวในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจของ OR ที่มุ่งเติบโตในแบบ Outside-In Growth โดยแสวงหาโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ ร่วมกับพันธมิตร เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการสินค้าและบริการที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น
ทาง OR นั้นได้ลงนามสัญญาความร่วมมือทางธุรกิจและลงทุนกับทาง Traveloka เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ทางบริษัทไม่ได้เปิดเผยมูลค่าการลงทุนแต่อย่างใด
ส่วนทางด้าน Traveloka นั้นสำนักข่าว Bloomberg ได้รายงานข่าวว่าบริษัทตั้งเป้าที่จะระดมทุนจำนวนกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐจากนักลงทุนที่สนใจ หลังจากที่บริษัทยังไม่ต้องการจะเข้าตลาดหุ้น โดยมีผู้สนใจลงทุนอย่างเช่น BlackRock และกำลังระดมทุนจากผู้ที่สนใจรายอื่นๆ ด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้มีบริษัทที่ลงทุนใน Traveloka ไม่ว่าจะเป็น Global Founders Capital และ Expedia รวมถึงกองทุนความมั่งคั่งของสิงคโปร์อย่าง GIC ด้วย
ข้อมูลจาก CBInsights คาดว่าแพลตฟอร์มท่องเที่ยวจากอินโดนีเซียรายนี้จะมีมูลค่ากิจการจะอยู่ที่ราวๆ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดี มูลค่าในการระดมทุนครั้งนี้ยังไม่ได้รวมไปในมูลค่ากิจการ ซึ่งอาจมีมูลค่าที่สูงขึ้นมากกว่านี้ได้อีกมาก
]]>การลงทุนครั้งนี้ของ OR นั้นให้เหตุผลว่าต้องการที่จะขยายสู่ธุรกิจใหม่ รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจค้าปลีกของ OR โดยเพิ่มความหลากหลายของสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภค
สัดส่วนในการถือหุ้นนั้น OR จะถือหุ้นสัดส่วน 40% ขณะที่ผู้ถือหุ้นเดิมของ KNEX จะยังถือหุ้นในสัดส่วน 60%
สำหรับบริษัท เค-เน็กซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2555 โดยเริ่มต้นธุรกิจด้วยการนำเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม ซัก อบ รีด มาจำหน่ายให้แก่ โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วประเทศ
ต่อมาบริษัทได้เข้ามาทำธุรกิจร้านสะดวกซัก Otteri Wash & Dry และเริ่มขยายสาขาในปี 2559 และแบรนด์ Otteri นั้นยังครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดเมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่นๆ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ OR เข้าลงทุนในเชนร้านสะดวกซักรายนี้
]]>พิจินต์ อภิวันทนาพร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในไตรมาส 1 ปี 2565 OR และบริษัทในกลุ่มมีรายได้จากการขายและบริการ 177,291 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19,452 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 12.3% จากไตรมาสก่อนหน้า มาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกโดยเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้น ทำให้รายได้ขายของทั้งกลุ่มธุรกิจ Mobility และกลุ่มธุรกิจ Global เพิ่มขึ้น
สำหรับ EBITDA ในไตรมาส 1 อยู่ที่ 6,467 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,049 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 46.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยเพิ่มในทุกกลุ่มธุรกิจ ซึ่งกลุ่มธุรกิจ Mobility จากภาพรวมกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นจากทั้งธุรกิจตลาดพาณิชย์และธุรกิจขายปลีกน้ำมัน
ในขณะที่กำไรขั้นต้นของการขายน้ำมันดีเซลผ่านสถานีบริการชะลอตัวจากการลดภาระภาคประชาชนในการชะลอการปรับราคาหน้าสถานีบริการ ส่งผลให้ไตรมาส 1/2565 นี้ OR มีกำไรสุทธิจำนวน 3,845 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,491 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 63.3% คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.32 บาท สูงกว่าไตรมาสก่อน 0.12 บาท หรือเพิ่มขึ้น 60.0%
แต่เมื่อเปรียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนพบว่า ในไตรมาส 1/2565 OR มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,845 ล้านบาท ลดลง 3.9% จากไตรมาส 1/2564 ที่มีกำไรสุทธิ 4,003.20 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในไตรมาสนี้ OR ได้เตรียมขยายการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า EV Station PluZ ที่ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ เดอะพรอมานาด และเทอร์มินอล 21 สาขาอโศก พระราม 3 พัทยา และโคราช รวม 24 จุดจ่าย ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้ใช้งานได้ในไตรมาส 3/2565 เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้รถไฟฟ้าสามารถเข้าถึงสถานีชาร์จไฟฟ้า EV Statoin PluZ ได้สะดวกยิ่งขึ้น
อีกทั้งยังสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่นิยมมาใช้บริการที่ห้างสรรพสินค้าและให้ความสำคัญต่อการใช้พลังงานสะอาด และได้รวมกับไปรษณีย์ไทยและมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ในการศึกษาการใช้รถไฟฟ้าในการขนส่งไปรษณีย์และพัสดุ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ที่จะขยายการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และเป็นอีกก้าวสู่การเป็นผู้นำในระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV Ecosystem) ต่อไปในอนาคต
สำหรับธุรกิจ Lifestyle บริษัทได้เปิดตัวร้านค้า “Your Space” หรือร้านค้ามัลติแบรนด์ที่เปิดโอกาสให้เจ้าของร้านค้าออนไลน์เช่าพื้นที่เพื่อจัดแสดงสินค้าให้ผู้ซื้อได้สัมผัสสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อ ช่วยเพิ่มการรับรู้แบรนด์และสร้างยอดขาย ตอบโจทย์การขายสินค้าออนไลน์ยุคใหม่ ตอบโจทย์ผู้ขายเรื่องความคุ้มค่าเช่า ช่วยลดต้นทุนเจ้าของสินค้าไม่ต้องสต๊อกสินค้าที่ร้าน ปัจจุบัน OR ยังได้ลงทุนในสตาร์ทอัพ 6 รายผ่าน ORZON Ventures ได้แก่ Pomelo, GoWabi, Freshket, Carsome, Protomate และ Hangry เพื่อสร้าง New S-Curve ต่อยอดการดำเนินธุรกิจด้าน Mobility และ Lifestyle รวมทั้งมอบประสบการณ์ใหม่ๆ และความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค
]]>โดย OR นับเป็นหุ้น IPO ขนาดใหญ่ เป็นกิจการในเครือยักษ์พลังงานอย่าง ปตท. ที่คนไทยรู้จักกันดีผ่านการใช้บริการสถานีบริการน้ำมันที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ รวมถึงธุรกิจร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ ร้านนกาเเฟที่มีเเบรนด์ติดตลาดอย่าง ‘Café Amazon’
ความน่าสนใจในการเปิดจองซื้อ ‘หุ้น PTTOR’ ในครั้งนี้ คือการเปิดให้คนทั่วไปเข้าซื้อได้ในจำนวน 300 หุ้นต่อคน จัดสรรด้วยวิธี Small Lot First เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับการกระจายหุ้นอย่างทั่วถึง ได้ทั้งคนที่มีพอร์ตหุ้นอยู่เเล้ว เเละแม้ ‘ไม่มีพอร์ตหุ้น’ ก็ซื้อได้
เเต่ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาธุรกิจนั้นๆ ให้รอบคอบ วันนี้ Positioning รวบรวมขอสรุปพื้นฐานธุรกิจ ความท้าทาย กลยุทธ์การเติบโต เเผนลงทุนในอีก 5 ข้างหน้า เเละรายละเอียดในการจองซื้อหุ้นของ ‘OR’ ไว้ดังนี้
บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR แยกออกมาจากบริษัทเเม่อย่าง ปตท. มาตั้งเเต่ปี 2561 ประกอบธุรกิจตามเเนวคิด ‘Retailing Beyond Fuel’ ผสมผสานระหว่างธุรกิจน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ (Non-Oil) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ประกอบด้วย การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ตลาดค้าปลีกและตลาดพาณิชย์ธุรกิจร้านกาแฟ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อและการบริหารจัดการพื้นที่เช่า ฯลฯ
มีแบรนด์สถานีบริการน้ำมัน ติดตลาดอย่าง “PTT Station” ที่มีสาขา 1,968 แห่งในประเทศไทย และ 329 แห่งในต่างประเทศ ครองเบอร์หนึ่งมาร์เก็ตเเชร์ผู้ค้าน้ำมันในไทยที่ 38.9%
ปี 2560 รายได้ 543,275 ล้านบาท กำไร 9,768 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 592,072 ล้านบาท กำไร 7,851 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 577,134 ล้านบาท กำไร 10,895 ล้านบาท
ปี 2563 (ม.ค.-ก.ย.) รายได้ 319,308 ล้านบาท กำไร 5,868.5 ล้านบาท
หากมองอัตรากำไรสุทธิปี 2560-2562 จะอยู่ที่ 2.3% 1.6% และ 1.9% ตามลำดับ ส่วนงวด 9 เดือนแรกของปีนี้มีอัตรากำไรสุทธิ 1.8%
ด้านสัดส่วนรายได้ เเบ่งเป็น ธุรกิจน้ำมัน 91.38% ธุรกิจค้าปลีกและบริการอื่นๆ 3.66% สัดส่วน EBITDA เเบ่งเป็น ธุรกิจน้ำมัน 68.67% ธุรกิจค้าปลีกและบริการอื่นๆ 25.04%
หลังการระดมทุน IPO บริษัทมีแผนการลงทุนใน 5 ปีข้างหน้า (2564-2568) ตั้งงบไว้ราว 74,600 ล้านบาท ทั้งการขยายปั้มน้ำมัน เพิ่มสาขา Café Amazon ตั้งโรงงานเบเกอรี–โรงงานผงผสมเครื่องดื่ม–ศูนย์กระจายสินค้า ลุยธุรกิจ EV รองรับเทรนด์รถยนตืไฟฟ้า พร้อมร่วมทุนเเละเข้าซื้อกิจการธุรกิจใหม่ๆ
สำหรับแผนใช้เงินลงทุนทั้งหมด 74,600 ล้านบาท เเบ่งเป็น สัดส่วน 34.6% หรือราว 25,811.6 ล้านบาท จะลงทุนในกลุ่มธุรกิจน้ำมัน เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างเเละต่อยอดธุรกิจอื่นให้เติบโตไปด้วย รวมถึงเป็นการรักษาความเป็น ‘เบอร์หนึ่ง’ ในตลาดการเเข่งขันไทย
ธุรกิจน้ำมัน วางเป้าในปี 2568 สถานีบริการน้ำมัน PTT เป็น 3,100 แห่ง จากปัจจุบัน 1,968 แห่ง โดยใช้กลยุทธ์ ‘ลงทุนต่ำ’ ด้วยการให้ดีลเลอร์ที่ต้องการขยายสถานีบริการ เป็นผู้ลงทุนหลักสัดส่วน 80% และ OR ลงทุน 20% ภายใต้การกำกับดูแลตามมาตรฐานของบริษัท
ต่อมาจะลงทุน สัดส่วน 28.6% หรือราว 21,335.6 ล้านบาท ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและบริการ Non-Oil เพราะเป็นธุรกิจที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าการจำหน่ายน้ำมัน
ธุรกิจ Non-Oil วางเป้าปี 2568 ขยายสาขาร้านกาแฟ Café Amazon เพิ่มเป็น 5,800 สาขา จากปัจจุบันมี 3,168 สาขา รวมทั้งขยายฐานรายได้และขีดความสามารถการทำกำไรจากธุรกิจ Non oil ด้วยการเพิ่มความหลากหลายของบริการอาหารและเครื่องดื่มในปั๊ม โดยเฉพาะการซื้อแบรนด์ใหม่มาเพิ่มพร้อมกับขยายร้านเดิมที่มีอยู่
รวมถึงสร้างโรงงานเบเกอรี่ โรงงานผงผสมเครื่องดื่ม และศูนย์กระจายสินค้าอัตโนมัติ และขยายร้านไก่ทอด Texas Chicken ให้ได้อีก 20 สาขาต่อปี
ด้าน ลงทุนในต่างประเทศ เเบ่งเป็น สัดส่วน 21.8% หรือราว 16,262.8 ล้านบาท จะเน้นขยายลงทุนกลุ่มอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, สปป.ลาว โดยการเพิ่มสถานีบริการน้ำมันอีก 350 แห่ง และร้าน Café Amazon อีก 310 แห่ง พร้อมรุกตลาด LPG ควบคู่ไปกับการสร้างคลังปิโตรเลียม ขยายธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricants
หลังจากเปลี่ยนรูปแบบลงทุนมาเป็นแฟรนไชส์ทำให้ Café Amazon ยายสาขาได้เร็ว โดยในเวียดนามร่วมทุนกับกลุ่มเซ็นทรัล ขยายสาขาทำเลหลัก ปัจจุบันมีขยายธุรกิจไปต่างประเทศ 10 ประเทศแล้ว หากนับ Café Amazon ในแง่จำนวนสาขาจะอยู่ที่อันดับ 6 ของโลก และแง่รายได้เป็นอันดับ 12 ของโลก
แผนในประเทศเมียนมา ปัจจุบัน OR อยู่ระหว่างลงทุนก่อสร้างคลังเก็บน้ำมันและคลัง LPG ทั้งใช้เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแบบ B2B ในเมียนมา ควบคู่ไปกับการขยาย PTT Station และคาเฟ่ Café Amazon
สำหรับเเผนการลงทุนใน ‘จีน’ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ จะมีการขยายสาขา Café Amazon และธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricants อย่างต่อเนื่อง ส่วนในประเทศโอมาน ปัจจุบัน OR ให้สิทธิ์ในการเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์กับบริษัทน้ำมันแห่งชาติของโอมาน เพื่อขยาย PTT Station ทั้งในและนอกสถานีบริการ
ขณะที่ เงินลงทุนอีก 15% หรือราว 11,190 ล้านบาท จะลงทุน ‘ธุรกิจอื่นๆ’ ที่ไม่ใช่ 3 ธุรกิจหลักดังกล่าว เพื่อมองหาโอกาสใหม่ และต่อยอดธุรกิจเดิมในรูปแบบของพันธมิตร จากการทำดีลร่วมทุน (JV) หรือซื้อเข้ากิจการ (M&A)
หากเจาะลึกลงไปในงบการลงทุน 15% ของส่วน ‘ธุรกิจอื่นๆ’ พบว่าจะมีการนำไปลงทุนพัฒนา Mobility Ecosystem ทำธุรกิจเกี่ยวกับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งขณะนี้ทดลองให้บริการชาร์จไฟฟ้ากับรถยนต์ EV แล้วที่ PTT Station จำนวน 25 แห่ง และมีแผนเพิ่มจุดให้บริการชาร์จไฟฟ้าใน PTT Station ให้ครอบคลุมเส้นทางหลักทั่วประเทศ
เมื่อถามว่า เทรนด์รถยนต์ EV อาจเป็นความเสี่ยงต่อ OR หรือไม่ ทีมผู้บริหารตอบว่า “มองว่าเป็นโอกาสของธุรกิจมากกว่า บริษัทต้องเตรียมตัวให้พร้อมเเละพัฒนาไปข้างหน้า เราจะเข้าไปตามความต้องการของผู้บริโภค นำมาศึกษาความเป็นไปได้เพื่อต่อยอดต่อไป”
ปัจจุบันอัตราการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยยัง ‘น้อยมาก’ จดทะเบียนคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 2% ของจำนวนรถจดทะเบียนใหม่
โดย OR จะมีแอปพลิเคชั่นเพื่ออำนวยความสะดวกและเก็บข้อมูล ออกแบบ EV Ecosystem เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ไม่เพียงการชาร์จไฟฟ้าเท่านั้น แต่จะครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การผลิตแบตเตอรี่ผลิตรถยนต์ การจำหน่ายรถยนต์ การผลิตเครื่องชาร์จ การจำหน่ายเครื่องชาร์จ การให้บริการชาร์จไฟฟ้าฯลฯ
ทั้งนี้ เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา OR ได้ลงทุนบริษัทโลจิสติกส์อย่าง ‘แฟลช เอ็กซ์เพรส’ Flash Express) และได้ร่วมทุนกับพีเบอร์รี่ไทย(Peaberry) ขยายธุรกิจกาแฟให้ครอบคลุมถึงต้นน้ำ และกลางน้ำ โดยเฉพาะเครื่องชงอุปกรณ์ การบำรุงรักษาอุปกรณ์ เพื่อบริหารต้นทุน
ปัจจุบันสัญญาการให้สิทธิแบรนด์ร้านสะดวกซื้อ เซเว่น–อีเลฟเว่น (7-11) ของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในปั๊มน้ำมัน PTT Station ใกล้หมดสัญญาใน 2 ปีข้างหน้า จากอายุสัญญาทั้งหมด 10 ปี
ผู้บริหาร OR กล่าวถึงกรณีนี้ว่า กำลังพิจารณาการต่อสัญญากับซีพีออลล์ เเละมีการพูดคุยกันบ้างเเล้ว โดยมองว่าทั้ง 2 ฝ่าย เป็นคู่พันธมิตรธุรกิจที่ดีต่อกัน สร้างผลประโยชน์ร่วมกัน ร้านสะดวกซื้อก็มีรายได้สูงขึ้น ขณะที่ปั๊มน้ำมันก็มีผู้คนเเวะมามีผู้ใช้บริการมากขึ้นด้วย
OR ประกาศเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 2,610 ล้านหุ้น สัดส่วนไม่เกิน 22.5% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายได้แล้ว ในจำนวนนี้ จัดสรรให้นักลงทุนสถาบัน 65-70% (สถาบันต่างชาติ 17% และนักลงทุนสถาบันในไทย 83%) รายย่อยราว 30-35%
‘วันปิดการเสนอขายหุ้นทั้งหมด หากมีผู้จองซื้อหุ้นเป็นจำนวนมากกว่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย อาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (กรีนชู) ให้แก่ผู้ลงทุนจำนวน 390 ล้านหุ้น’
โดยกำหนดช่วงราคาหุ้น IPO ที่ 16-18 บาทต่อหุ้น โดยการจองซื้อหุ้นดังกล่าว จะต้องจ่ายเงินที่ราคาหุ้นละ 18 บาทก่อน หากประกาศราคาเสนอขายจริงในวันที่ 3 ก.พ. 2564 เวลา 9.00 น. เเล้วราคาต่ำกว่า 18 บาทจะคืนเงินส่วนต่างค่าจองซื้อหุ้นให้
ระบบเซ็ตเทรดจะประกาศผลการจัดสรรหุ้น IPO ประมาณวันที่ 6 ก.พ. 2564 ผ่านเว็บไซต์ settrade.com หากกรณีท่านไม่ได้รับการจัดสรรหุ้นในครั้งนี้ ระบบจะทำการคืนเงินให้อย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 17 ก.พ. 2564 (กรณีรับเงินเข้าบัญชี) และวันที่ 22 ก.พ. 2564 (กรณีรับเป็นเช็ค)
“จองซื้อขั้นต่ำจำนวน 300 หุ้น และจะต้องเพิ่มเป็นจำนวนขั้นต่ำครั้งละ 100 หุ้น โดยไม่จำกัดจำนวนจองซื้อสูงสุด เท่ากับว่าผู้ที่ต้องการจองซื้อจะต้องมีเงินขั้นต่ำ 5,400 บาท สำหรับหุ้นขั้นต่ำ 300 หุ้น ในราคา 18 บาทต่อหุ้น”
โดยจะเปิดให้จองได้ในระยะ 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 ม.ค. 2564 ถึง วันที่ 2 ก.พ. 2564 (เวลา 12.00 น.) ต้องจ่ายค่าจองหุ้นที่ราคา 18 บาทก่อน ผ่าน 3 ธนาคาร ทุกสาขาทั่วประเทศ คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย เเละกรุงไทย โดยวันเสาร์–อาทิตย์ จองซื้อได้ที่สาขาในห้าง
กรณีจองที่ธนาคารตัวแทนจำหน่าย จะต้องกรอกเอกสาร ดังนี้
กรณีจองซื้อผ่านออนไลน์จะสามารถจองได้ตลอด 24 ชั่วโมง (ตั้งแต่เวลา 9.00 น. ของวันที่ 24 ม.ค. 2564 ถึง 12.00 น. (เที่ยงวัน) ของวันที่ 2 ก.พ. 2564)
ประชาชนที่ “ไม่มีพอร์ตหุ้น” ก็สามารถจองซื้อหุ้นได้กับธนาคาร ผ่านการฝากหุ้นสามัญเพิ่มทุนตามจำนวนที่ได้รับการจัดสรรไว้ในชื่อ “บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด” หรือ “TSD” และนำหุ้นเข้าฝากไว้กับ TSD นำเข้าบัญชีของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์สมาชิกเลขที่ 600
อย่างไรก็ตาม การมีพอร์ตหุ้นอยู่แล้วจะช่วยในเรื่อง ‘ความสะดวก’ ด้านการลงทุนแก่ผู้จองซื้อ เพราะสามารถขายหุ้นออกจากพอร์ตได้ตามความต้องการ
ทั้งนี้ ภายหลังเข้าตลาด ปตท. ยังถือหุ้น 77.5% (ภายใต้สมมติฐานว่าจะไม่มีการใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นส่วนเกินทั้งจำนวน) และ 75% (ภายใต้สมมติฐานว่าจะมีการใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นส่วนเกินทั้งจำนวน)
จากการเสนอขายหุ้น IPO บริษัทกำหนดกรอบราคาเสนอขาย 16-18 บาทต่อหุ้น มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) 23.9-26.9 เท่า ขณะที่ค่าเฉลี่ยของบริษัทที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกันทั้งในและต่างประเทศอยู่ที่ 31.7 เท่า
ล่าสุด ณ วันที่ 11 ก.พ.2564 บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ‘วันแรก’ จากราคาที่เสนอขายให้ประชาช
ราคาซื้อขายเปิดตลาดครั้งเเรก เวลา 10.00 น. พบว่า มีราคาเปิดที่ 26.5 บาท ต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 47% จากราคา IPO ที่หุ้นละ 18 บาท จากนั้นราคาปรับเพิ่มขึ้นมา
ก่อนหน้านี้ บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่าราคาที่เหมาะสมจะ
—การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน—
]]>สำหรับเงินลงทุนดังกล่าวมาจาก 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยที่ร่วมกันลงขัน ได้แก่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ PTTOR บริษัทลูกของ ปตท. ตามด้วยกรุงศรี ฟินโนเวต และสุดท้าย เดอเบล (Durbell) ซึ่งเป็นดิสทริบิวเตอร์ภายใต้เครือ TCP หรือเจ้าของแบรนด์กระทิงแดงนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ไม่มีการเปิดเผยว่าแต่ละรายนั้นลงทุนคนละเท่าไร
ด้าน คมสันต์ ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด ได้ระบุว่า การร่วมทุนครั้งนี้นั้นเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การขยายธุรกิจในกลุ่ม new s-curve ได้แก่ อุตสาหกรรมด้านพลังงานและโลจิสติกส์ ต่อยอดไปยังกลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค และธุรกิจการเงินเพื่อสร้างความแข็งแกร่งในตลาด อีกทั้งยังเป็นโอกาสการสร้างและขยายโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านแพลตฟอร์มทางการเงิน การนำระบบ e-Payment เข้ามาใช้ในระบบขนส่ง ให้เกิดเป็น อี-คอมเมิร์ซ แบบครบวงจรมากยิ่งขึ้น
“จุดประสงค์หลักของการร่วมทุนในครั้งนี้ คือ การนำเอาศักยภาพ และจุดเด่นของแต่ละธุรกิจเข้ามาผสานรวมกันเพื่อพัฒนาโมเดลธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะสามารถรองรับการขยายตัวของธุรกิจ E-commerce รวมถึงการพัฒนาระบบขนส่งในรูปแบบ Ecosystem ที่สามารถเชื่อมโยงกับ supply chain ได้อย่างครบวงจร ตลอดจนพัฒนาระบบขนส่งให้เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในภาคบริการอื่น ๆ ที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น”
คมสันต์ กล่าวต่อว่า เงินระดมทุน Series D นั้นเป็นแค่ จุดเริ่มต้น เพราะหลังจากนี้ยังมีกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ในไทยที่เตรียมประกาศความเป็นพันธมิตรร่วม โดยอยู่ในระหว่างขั้นตอนการเจรจา ซึ่งคาดว่าน่าจะมีความชัดเจนภายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2021 ซึ่งจากนี้คงต้องรอดูยาว ๆ ว่าจะเป็นใครและจะได้เงินระดมทุนอีกเท่าไหร่ เพราะแฟลช เอ็กซ์เพรสเคยระบุว่าต้องการขยายตลาดให้ครบทั้ง 10 ประเทศอาเซียน ซึ่งต้องใช้งบลงทุน 30,000 – 40,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมโยงระบบขนส่งเป็นเครือข่ายเดียวกันในอาเซียน รองรับการเติบโตของตลาดอี-คอมเมิร์ซในภูมิภาค โดยภายในปีนี้บริษัทตั้งเป้าที่จะขยายให้ได้ 3 ประเทศ
ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ทำตลาดมาแฟลช เอ็กซ์เพรสได้ลงทุนในไทยแล้วเกือบ 10,000 ล้านบาท โดยมีศูนย์บริการกว่า 10,000 แห่ง รถขนส่งพัสดุกว่า 15,000 คัน และพนักงานกว่า 23,000 คน โดยในช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งส่งผลให้ตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตนั้น ก็ได้ส่งผลให้ช่วงครึ่งปีแรกแฟลช เอ็กซ์เพรสมีอัตราเติบโตถึง 3,000% โดยมียอดส่งพัสดุรวมกว่า 100 ล้านชิ้น โดยมียอดส่งพัสดุเฉลี่ยต่อวันมากกว่า 1 ล้านชิ้นและมีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 1,000 ล้านบาท
เรียกได้ว่าตลาด ‘ขนส่ง’ ของไทยนับวันยิ่งดุเดือด โดยเฉพาะฝั่งของเอกชนที่เราจะได้เห็นผู้เล่นผู้เล่นหน้าใหม่ ๆ ต่างตบเท้าเข้ามาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง แถมเเต่ละรายทุนยังหนาปึก อาทิ ‘เบสท์ เอ็กซ์เพรส’ (BEST Express) ที่มี ‘แจ็ค หม่า’ แห่ง ‘อาลีบาบา’ หนุนหลัง ดังนั้นสิ่งที่เกิดคือ สงครามราคา แต่ไม่ว่าสงครามนี้จะจบอย่างไร ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ก็มีเเต่ได้กับได้ ทั้งค่าส่งที่ ถูกลง และระยะเวลาส่งพัสดุที่ เร็วขึ้น
]]>จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ PTTOR กล่าวว่า ปัจจุบันมีสาขาร้านกาแฟ Cafe Amazon ทั่วประเทศราว 2,600 สาขา ปี 2561 เปิดร้านใหม่ 450 สาขา เสิร์ฟกาแฟจำนวน 225 ล้านแก้ว ในฐานะผู้นำตลาดร้านกาแฟ จึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาขยะพลาสติก ด้วยการเปิดสาขาคอนเซ็ปต์ Circular Living นำขยะที่เกิดขึ้นในร้านคาเฟ่ อเมซอนมาแปรรูปเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ภายในร้าน
สำหรับร้านคาเฟ่ อเมซอน คอนเซ็ปต์ Circular Living สาขาแรกเปิดให้บริการที่ “พีทีที สเตชั่น สามย่าน” โดยนำขยะในร้านมาแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ 70% ประกอบด้วย ถุงบรรจุเมล็ดกาแฟกว่า 7,200 ถุง นำมาบดและอัดกลายเป็นบอร์ดเมนูกาแฟ ด้านหลังเคาน์เตอร์
แกลลอนนมพลาสติก ที่ใช้ภายในร้านกว่า 6,300 ขวด บดแล้วเปลี่ยนเป็นเมล็ดพลาสติกใช้รีไซเคิล ขึ้นรูปเป็นกระถางต้นไม้ ตกแต่งในร้าน เยื่อกาแฟ จากโรงคั่วกาแฟ 20% ผสมกับ Epoxy Bio 30% ขึ้นรูปเป็นชั้นวางของในร้าน โต๊ะ เก้าอี้ ถาดพลาสติกใส่อาหารและขนมกว่า 75,000 ชิ้น บดแล้วเปลี่ยนเป็นพลาสติกรีไซเคิล นำมาขึ้นรูปทำเป็นเพดานร้าน ส่วน แก้วพลาสติก PP กว่า 5,000 ใบ นำมาบดเป็นเม็ดแล้วอัดเป็นผนังภาพนกแก้วมาคอว์
การขยายสาขาใหม่ของร้านคาเฟ่ อเมซอน หลังจากนี้จะเป็นคอนเซ็ปต์ Circular Living ทั้งหมด ส่วนสาขาเก่าที่ปัจจุบันมี 2,600 สาขา เมื่อครบเวลา 6 – 7 ปีที่ต้องรีโนเวตร้านก็จะใช้รูปแบบ Circular Living เช่นกัน
นอกจากนี้เพื่อลดขยะพลาสติก ได้เปลี่ยนอุปกรณ์ของใช้ภายในร้านเป็นวัสดุย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ โดย แก้วร้อน Bio PBS เป็นแก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ ย่อยสลายได้ 100% โดยการฝังกลบ 180 วัน ปัจจุบันใช้แล้วทุกสาขา มีปริมาณการใช้ 1.5 ล้านแก้วต่อเดือน
แก้วเย็น Bio PLA ทำจากพืช 100% สามารถนำกลับมารีไซเคิลใช้งานส่วนอื่นๆ ได้ ปัจจุบันใช้แล้วใน 14 สาขา มีปริมาณ 8 แสนใบต่อเดือน
หลอด Bio PSB + PLA ผลิตจากพืช 100% คือ อ้อยและข้าวโพด ห่อกระดาษ ย่อยสลายได้โดยการฝังกลบ 180 วัน ใช้แล้วทุกสาขา ปริมาณ 22.5 ล้านหลอดต่อเดือน หรือ 270 ล้านหลอดต่อปี และเปลี่ยนจากถุงพลาสติกใส่เบเกอรี่เป็นถุงกระดาษ จากการเปลี่ยนใช้ผลิตภัณฑ์แก้วและหลอดย่อยสลายได้ และเลิกใช้ถุงพลาสติกหิ้ว ทำให้สามารถลดขยะพลาสติกได้ปีละ 645 ตัน
สำหรับคอนเซ็ปต์ สโตร์ Circular Living PTTOR ได้ร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ในการแปรรูปขยะเป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งร้าน รวมทั้งอุปกรณ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่นำมาใช้ในร้าน หลังจากนี้จะร่วมกันผลิตชุดบาริสต้าและผ้ากันเปื้อนจากเทคโนโลยี Upcycling วัสดุพลาสติกใช้แล้ว เพื่อนำมาใช้ในร้านคาเฟ่ อเมซอนต่อไป
]]>ด้วยกำลังบริโภคมหาศาลของตลาดจีนจากจำนวนประชากรกว่า 1,300 ล้านคน แบรนด์ระดับโกลบอลต่างมุ่งโฟกัสกับตลาดจีน Starbucks วางเป้าหมายสิ้นปี 2019 จะมีสาขากว่า 4,200 แห่ง ปัจจุบันครองส่วนแบ่งตลาดร้านกาแฟพรีเมียมในจีนกว่า 70%
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ Starbucks กับการขายสิทธิ์ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยให้กับ Coffee Concepts Thailand บริษัทร่วมทุน Maxim’s Caterers ฮ่องกงที่ถือไลเซ่นส์บริหารร้านสตาร์บัคส์ในเอเชียหลายประเทศ และ F&N Retail Connection ธุรกิจเครื่องดื่มในเครือไทยเบฟ ก็เพื่อหันมาโฟกัสการทำตลาดสหรัฐฯ และจีน ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 และ 2 ของ Starbucks โดยเฉพาะ “จีน” ที่มีคู่แข่งท้องถิ่นเกิดขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะ Luckin ที่กำลังมาแรง
คาดการณ์กันว่าในช่วง 10 ปีนี้ ตลาดร้านกาแฟจีนจะมีขนาดใกล้เคียงกับสหรัฐฯ ปี 2018 ชาวจีนบริโภคกาแฟกว่า 8,700 ล้านแก้ว เฉลี่ย 6.2 แก้วต่อคนต่อปี ขณะที่ชาวอเมริกันดื่มกาแฟเฉลี่ย 388 แก้วต่อคนต่อปี Luckin วิเคราะห์ว่าปี 2023 ปริมาณการดื่มกาแฟของชาวจีนจะเพิ่มเป็น 15,500 ล้านแก้ว เฉลี่ย 10.8 แก้วต่อคนต่อปี
ปี 2019 ประเมินกันว่าอัตราการบริโภคกาแฟในตลาดจีน อยู่ที่ 10,100 ล้านแก้ว มูลค่า 8,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะเติบโต 10-15% ต่อปีต่อเนื่องในช่วง 5 ปีจากนี้
สำหรับแบรนด์ร้านกาแฟสัญชาติไทย Café Amazon ที่ปัจจุบันก้าวสู่ “ริจินัล แบรนด์” และเป้าหมาย Global Brand ในอีก 5 – 10 ปีนี้ กำลังเดินหน้าขยายสาขาในต่างประเทศอยู่เช่นกัน
สุชาติ ระมาศ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่การตลาดขายปลีก บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ PTTOR กล่าวว่า ธุรกิจเชนร้านกาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” ปัจจุบันมีสาขาในประเทศ 2,509 สาขา และต่างประเทศ 193 สาขา ปีที่ผ่านมา คาเฟ่ อเมซอน มียอดจำหน่ายรวม 225 ล้านแก้ว
ปีนี้มีแผนเปิดสาขาใหม่ 400 สาขา เป็นสาขาในประเทศ 350 สาขา และต่างประเทศ 50 สาขา สิ้นปีนี้จะมีร้านคาเฟ่ อเมซอน รวม 3,000 สาขา
ร้านคาเฟ่ อเมซอนในต่างประเทศ มีอยู่ที่ กัมพูชา ลาว ฟิลิปปินส์ โอมาน สิงคโปร์ มาเลเซีย และญี่ปุ่น ในประเทศกัมพูชามี 120 สาขา ส่วนลาว มี 60 สาขา ทั้ง 2 ประเทศ “คาเฟ่ อเมซอน” เป็นผู้นำตลาด
เป้าหมายปีนี้จะขยายสาขาต่างประเทศเพิ่ม 2 ตลาดใหญ่ คือ เวียดนามและจีน โดยเฉพาะใน “จีน” ถือเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงจากแบรนด์ระดับโลกและแบรนด์ท้องถิ่น โดยกำลังศึกษารูปแบบการทำธุรกิจที่เหมาะสมและต้องปรับตัวให้เข้ากับตลาด ในจีนมีทั้งเมืองหลักและเมืองรองที่มีโอกาสเข้าไปขยายสาขาได้ เพื่อให้คาเฟ่ อเมซอน เป็นอีกแบรนด์ “ทางเลือก” ของคอกาแฟจีน การมุ่งมั่นไปเติบโตในต่างประเทศ ก็เพื่อก้าวสู่ Global Brand ในอนาคต
รูปแบบการทำตลาดต่างประเทศแต่ละแห่ง มีความยากง่ายต่างกัน หากเป็นรอบประเทศไทยจะได้เปรียบเรื่องการแข่งขัน เพราะรู้จักแบรนด์คาเฟ่ อเมซอน อยู่แล้ว
การวางตำแหน่งร้านคาเฟ่ อเมซอน ในต่างประเทศ คือเป็นแบรนด์ระดับกลาง affordable ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ราคาต่ำกว่าแบรนด์พรีเมี่ยม และสูงกว่าโลคอลแบรนด์ เปรียบเทียบง่ายๆ สตาร์บัคส์แก้วละ 150 บาท คาเฟ่ อเมซอน ก็ 60 บาท ส่วนแบรนด์ท้องถิ่นอยู่ที่ 30 – 40 บาท
“จุดเริ่มต้นสร้างแบรนด์ คาเฟ่ อเมซอน เมื่อ 17 ปีก่อนในปี 2545 ถือเป็นความภูมิใจของแบรนด์กาแฟคนไทยที่บริการจัดการโดยคนไทยทั้งหมด และเป็นตัวแทนของแบรนด์ไทยออกไปแข่งขันในต่างประเทศ ที่มีเป้าหมายก้าวสู่โกลบอลแบรนด์”
ปัจจุบัน คาเฟ่ อเมซอน เป็นเชนร้านกาแฟแบรนด์ไทยใหญ่ที่สุด โดยแผนขยายสาขาเชิงรุก 3 ปีจากนี้ (2562 – 2564) จะเปิดสาขาทั้งในไทยและต่างประเทศรวมกันเฉลี่ยปีละ 400 สาขา ดังนั้นช่วง 3 ปีนี้ จะมีคาเฟ่ อเมซอนสาขาใหม่กว่า 1,200 สาขา
การขยายสาขาคาเฟ่ อเมซอนในประเทศไทยเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ 85% และอีก 15% บริษัทลงทุนเอง โลเคชั่นหลักคือในปั๊มน้ำมัน ปตท. และทำเลที่มีศักยภาพหลายรูปแบบ ร้านมาตราฐานพื้นที่ 40 ตารางเมตร ใช้เงินลงทุน 2.5 – 3 ล้านบาท
นอกจากนี้ได้พัฒนาสาขาพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือร้านแฟลกชิป ขนาด 300 ตารางเมตร เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้เป็นพื้นที่พบปะและประชุม รวมทั้งรูปแบบไดรฟ์ทรู ที่เปิดให้บริการแล้ว 4 สาขา คือที่ พระราม 2 สุวินทวงศ์ มีนบุรี และโคราช ปีนี้จะเปิดไดรฟ์ทรูเพิ่มอีก 2 แห่ง
ก่อนหน้าที่ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า PTTOR ในฐานะบริษัท Flagship ของกลุ่ม ปตท. ด้านการค้าน้ำมันและการค้าปลีก วางวิสัยทัศน์ให้ “คาเฟ่ อเมซอน” เป็นแบรนด์ไทยระดับโลก
วางเป้าหมายต้องก้าวสู่โกบอลแบรนด์ภายใน 5 – 10 ปี ด้วยจำนวนสาขาทั้งสิ้น 20,000 สาขาทั่วโลก หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนสาขาของโกบอลแบรนด์อย่าง “สตาร์บัคส์”
ตามแผนธุรกิจช่วง 3 – 5 ปีนี้ จะเริ่มขยายสาขาในภูมิภาคเอเชียก่อน ซึ่งโมเดลการขยายธุรกิจมีหลากหลาย ทั้งการตั้งมาสเตอร์แฟรนไซส์ การร่วมทุน เป็นต้น หลังจากนั้นจะค่อยๆ ข้ามทวีปไปขยายสาขาในภูมิภาคอื่นๆ
ร้านคาเฟ่ อเมซอน ในแต่ละประเทศ จะมีโมเดลที่สอดรับกับพฤติกรรมคนแต่ละประเทศ เพื่อสร้างให้คาเฟ่ อเมซอนเป็น Popular Brand ของแต่ละประเทศ ด้วยกลยุทธ์ Value for money และคอนเซ็ปต์หลักของคาเฟ่ อเมซอน คือ “Green OASIS” ร้านกาแฟที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม
ข่าวเกี่ยวเนื่อง
]]>ราคาของน้ำที่ผันผวนตลอดช่วงหลายปีมานี้ ทำให้บริษัทที่มีธุรกิจ non-oil ในเมืองไทย ต่างขยับตัวกันอย่างคึกคัก เพื่อหารายได้ประจำที่มั่นคง ลดความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่เอาแน่เอานอนไม่ได้
ปตท. ถือเป็นบริษัทที่มีความเคลื่อนไหวมากที่สุดในเรื่องนี้ เพราะตั้งแต่กลางปีที่แล้วบริษัทแม่ได้มีการโอนธุรกิจในส่วนของ non-oil ออกมาตั้งเป็นบริษัทใหม่ชื่อ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ PTTOR ซึ่งขณะนี้อยู่ในกระบวนการยื่นแบบแสดงคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) คาดจะเริ่มซื้อ – ขายภายในปี 2019
ภายใต้ PTTOR ประกอบไปด้วย คาเฟ่ อเมซอน (Café Amazon) ศูนย์บำรุงรักษารถยนต์ FIT Auto ร้านชานมไข่มุก “เพิร์ลลี่ที” ร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ (Jiffy) ร้านโดนัทแด๊ดดี้โด (Daddy Dough) ร้านติ่มซำ ฮั่วเซ่งฮง และร้านฟาสต์ฟู้ดประเภทไก่ทอด เท็กซัสชิคเก้น (Texas Chicken) รวมกันเกือบ 3,000 สาขา
ความคืบหน้าของ PTTOR ได้กระตุ้นให้บริษัทน้ำมันอื่นๆ หันมาปักธงธุรกิจ non-oil กันอย่างคึกคัก โดยล่าสุด บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG หรือปั๊มน้ำมัน PT ซึ่งมียอดขายเป็นอันดับ 2 รองจาก ปตท. ได้ออกมาผลักดันธุรกิจ non-oil โดยตั้งความหวังไปที่ร้านกาแฟที่มีอยู่ในมือทั้ง ร้านกาแฟพันธุ์ไทย และ คอฟฟี่เวิลด์ มาเป็นหัวหอก
ปัจจุบันธุรกิจ non-oil ของ PTG ประกอบไปด้วย ร้านสะดวกซื้อ Max Mart, ร้านกาแฟพันธุ์ไทย, ร้านคอฟฟี่เวิลด์, ร้านข้าวแกงครัวบ้านจิตร, ร้านซ่อมบำรุงสำหรับรถบรรทุก, Autobacs และ Max CAMP เป็นต้น มีจำนวนรวมกว่า 504 สาขา
ในจำนวนปั๊มในปีที่ผ่านมา 1,883 สาขา ภายในสิ้นปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มเป็น 2,000 สาขา เน้นการขยายสาขาในทำเลที่สามารถรองรับการให้บริการ non-oil ภายใต้งบลงทุนรวม 3,500 ล้านบาท โดยเป้าหมายของ PTG ต้องการผลักดันให้สัดส่วนกำไรของ non-oil เพิ่มจาก 10% ในปีที่ผ่านมา เป็น 60-70% ภายในปี 2023
พิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG กล่าวว่า
“PTG สนใจบุกธุรกิจ non-oil มาได้ 4-5 ปีแล้ว เพราะราคาของน้ำมันที่ไม่นิ่ง บริษัทจึงต้องการกระจายความเสี่ยงไปยังอยู่ธุรกิจที่นิ่งกว่า โดยเฉพาะร้านกาแฟ ซึ่งหากเทียบให้เห็นภาพที่ชัดคือ ในขณะที่น้ำมันมีกำไรขั้นต้นเพียง 7-8% แต่ร้านกาแฟสูงถึง 60-70%”
ขณะเดียวกันจะเห็นได้ว่า ธุรกิจร้านกาแฟยังเป็นที่สนใจของคนรุ่นใหม่ที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ซึ่งร้านกาแฟยังมีโอกาสเติบโตอีกมากจากข้อมูลจากสมาคมกาแฟไทย/สมาพันธ์กาแฟอาเซียน พบว่าตลาดร้านกาแฟในไทย มีมูลค่าตลาดรวม 17,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ทั่วไป 9,000 ล้านบาท และพรีเมียม 8,000 ล้านบาท
และยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก จากอัตราการบริโภคของคนไทยที่มีอยู่เพียง 300 แก้ว/คน/ปี น้อยกว่าคนญี่ปุ่น 400 แก้ว/คน/ปี, ยุโรป 600 แก้ว/คน/ปี และยิ่งเทียบไม่ได้เลยกับกลุ่มสแกนดิเนเวียที่บริโภคสูงถึง 1,000 แก้ว/คน/ปี
โดยคอกาแฟไทยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเจนเอ็กซ์และเจนวายที่มีกำลังซื้อ และยังมีแนวโน้มฐานคนดื่มที่น้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งปัจจุบันคนรุ่นใหม่รู้จักกาแฟมากกว่าสายพันธุ์อาราบิก้าและโรบัสต้า อีกทั้งยังต้องการวิธีการกิจกาแฟใหม่ๆ เพื่อเสพความเป็นอีโมชันนอลมากกว่าฟังก์ชั่นอย่างเดียว
สำหรับการบุกหนักร้านกาแฟของ PTG ในครั้งนี้เกิดจากความพร้อมในการขยายสาขาแบบแฟรนไชส์ ซึ่งธุรกิจร้านกาแฟเกมการแข่งขันหลักไม่ได้อยู่ที่ราคา เพราะไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่อยู่ที่ใครมีสาขาให้ลูกค้าเดินเข้าไปได้มากกว่ากัน และแม้ PTG จะมีแบรนด์ร้านค้ากาแฟอยู่ในมือ 2 แบรนด์ แต่ทั้งคู่ก็จับกลุ่มเป้าหมายไม่เหมือนกัน
“กาแฟพันธุ์ไทย” เป็นแบรนด์ที่ PTG ปั้นขึ้นมาเอง ภายใต้บริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัดเมื่อ 7 ปีก่อน โดยเปิดสาขาแรกที่ปั๊มบางปะหัน อยุธยา วางโพสิซั่นจับลูกค้าในกลุ่มแมส ราคา 40-60 บาทต่อแก้ว ปัจจุบันมีทั้งหมด 203 สาขา เน้นขยายสาขาในปั๊มเป็นหลัง โดยเป็นเบอร์ 3 ในตลาดรองจาก “กาแฟอินทนิล” ของปั๊มบางจาก
ปีนี้วางแผนขยับขึ้นมาเป็นเบอร์ 2 โดยตั้งเป้าเปิดอีกประมาณ 130 – 140 สาขา ในจำนวนนี้ราว 100 สาขา อยู่ในรูปแบบของแฟรนไชส์ โดยได้มีการวางแผยขยายออกไปนอกปั๊มด้วย ทั้งในมหาวิทยาลัยและอาคารสำนักงาน เป็นต้น ภายในปี 2023 ตั้งเป้ามีทั้งหมด 1,170 สาขา แบ่งเป็นลงทุนเอง 400 สาขา และแฟรนไชส์ 770 สาขา
ส่วน “คอฟฟี่เวิลด์” ได้ใช้เงิน 205 ล้านบาท ให้บริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด เข้าซื้อกิจการ และดำเนินธุรกิจภายใต้บริษัทเดิม บริษัท จีเอฟเอ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด วางโพสิชั่นเป็นกาแฟพรีเมียมราคาแก้วละ 100 บาทขึ้นไป เน้นขายในศูนย์การค้า ปัจจุบันมีในประเทศ 71 สาขา และต่างประเทศอีก 5 ประเทศ 10 สาขา
ในปีนี้วางแผนขยาย 20 สาขา เป็นการลงทุนเอง 10 สาขา และแฟรนไชส์ 10 สาขา และยังมีการขยายที่จีนอีก 30 สาขา และช่วงกลางปีวางแผนรีแบรนด์ครั้งใหญ่ เพื่อปรับภาพลักษณ์ให้ดูอายุน้อยลง โดยภายในปี 2023 ตั้งเป้ามีทั้งหมด 232 สาขา แบ่งเป็นลงทุนเอง 56 สาขา และแฟรนไชส์ 176 สาขา
หากเป็นไปตามแผนในปี 2023 จะมีสาขารวมกันราว 1,400 สาขา PTG จะผลักดันธุรกิจกาแฟให้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่ได้ด้วยต้นเอง มีการหาทุนโดยไม่พึ่งบริษัทแม่ ที่สำคัญยังหารายได้เพิ่มเข้ามาอีกด้วย
ปีที่ผ่านมา PTG มีรายได้รวมประมาณ 107,000 ล้านบาท ปี 2019 ตั้งเป้าเติบโต 40% หรือคิดเป็นรายได้ 140,000 ล้านบาท เติบโต 40%.
]]>