ชัชพล องนิธิวัฒน์ ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจ Media Convergence ของ EGG Digital ได้กล่าวถึงสื่อโฆษณาออนไลน์ในปี 2024 คาดว่าจะเติบโตได้ 8% ปีนี้ ปัจจัยสำคัญคือมีเรื่องสภาวะเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง
ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจ Media Convergence ของ เอ้ก ดิจิทัล ยังกล่าวเสริมว่า แม้ว่าเศรษฐกิจดีไม่ดี แต่งบสำหรับโฆษณายังเติบโตอยู่ ปัจจุบันยอดดังกล่าวอยู่ที่ตัวเลขราวๆ 100,000 ล้านบาทมาโดยตลอด ชัชพลได้ชี้ว่าแต่ลูกค้าจะใช้เงินระวังมากขึ้น
เขายังชี้ว่าลูกค้านั้นจะลงโฆษณาในช่องทางเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เนื่องจากช่องทางที่ลงเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นใน TikTok หรือแม้แต่ช่องทางออนไลน์อื่นๆ
มองยุค Phygital กำลังเริ่มต้นขึ้น
ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจ Media Convergence ของ Egg Digital ยังมองว่า ว่าปัจจุบันผู้บริโภคนั้นอยู่ในจุดเริ่มต้นของ Phygital Era ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Convenience คือความสะดวกสบาย ได้แก่ Micro Moment มีเวลาสั้นขึ้น กระชับขึ้น ทำให้เกิดการตัดสินใจเพียงเสี้ยววินาที และ Hyper Personalization การบริการเฉพาะเจาะจงสำหรับบุคคล Effortless และต้องทำอะไรที่ให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องพยายาม
นอกจากนี้เขายังมองเทรนด์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Autonomous มีความเป็นปัจเจกบุคคล เช่น บนโลกออนไลน์เราอาจเป็นอีกคนหนึ่ง ผู้คนโหยหาพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ด้านนอก หรือแม้แต่โลกออนไลน์ ไปจนถึงเรื่อง Subculture ความชื่นชอบ ความสนใจที่ต่างกันไป ทำให้โลกออนไลน์เราจะเห็นว่ามีอินฟลูเอนเซอร์หรือแม้แต่ KOLs มีมากขึ้น และยังรวมถึง Immersive ผสานโลกจริงและโลกเสมือน ให้ลูกค้าได้ทดลอง หรือใช้ประสาทสัมผัสที่หลากหลาย
วงการสื่อก็ต้องการใช้ข้อมูล หรือเทคโนโลยีมากขึ้น
นอกจากนี้ ผู้บริหารของ EGG Digital รายนี้ยังมองว่า วงการสื่อตอนนี้เองก็ต้องการข้อมูลเช่นกัน เช่น ไว้ใช้ลงโฆษณาเพื่อที่จะตอบโจทย์ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้หลายเอเจนซี่จะเริ่มเป็นพันธมิตรกับเจ้าของข้อมูลแล้ว เนื่องจากข้อมูลต่างๆ นั้นหายากมากขึ้น
ปัจจุบัน EGG Digital ยังมีลูกค้าระดับองค์กรมากถึง 200 บริษัท มีข้อมูลของลูกค้าราวๆ 15 ล้านราย มาจากโลตัสเป็นหลัก และมีข้อมูลลูกค้าบางส่วนที่ได้มาจากธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งบริษัทมองว่าข้อมูลลูกค้าดังกล่าวเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ
ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจ Media Convergence ของ Egg Digital ยังกล่าวว่า ปัจจุบันโฆษณาที่ใช้ AI ในการผลิต ชนะรางวัล Cannes Lion แล้ว โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ 5% และเขาให้ข้อมูลว่าในอีก 10 ปีโฆษณาที่ผลิตจาก AI จะโตขึ้น 10 เท่า ประมาณ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือเป็นเทรนด์ที่เติบโต
Data และ AI คือเรื่องสำคัญ
ชัชพลยังกล่าวถึงปัจจุบันข้อมูล (Data) มีผลอย่างมาก เขาชี้ว่าบริษัทไหนที่มี Data ย่อมตอบตอบโจทย์ลูกค้าได้ไม่ว่าจะเป็นการดูเรื่องของข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้าหรือผู้บริโภค (Consumer Insights) โดยการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้ให้เข้ากับธุรกิจสื่อ
เขายังชี้ว่า แม้อุตสาหกรรมสื่อโฆษณาจะมี
การเข้ามาของ AI ทำให้ EGG Digital ได้เปิดตัวบริการ Media Fusion ให้บริการกับลูกค้า โดยใช้พลังของ AI และ Machine Learning ในการวางกลยุทธ์สื่อสาร การดำเนินงาน การเพิ่มประสิทธิภาพงาน รวมถึงการวัดผลของลูกค้าที่ใช้บริการ และบริษัทยังเตรียมนำเทคโนโลยี AR และ AI เข้ามาทำแคมเปญให้กับลูกค้าด้วย
]]>สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า Seven & i Holdings บริษัทแม่เจ้าของแฟรนไชส์ 7-Eleven ในประเทศญี่ปุ่น ได้เตรียมที่ขยายสาขาทั่วโลก โดยตั้งเป้าว่าภายในปี 2030 บริษัทจะขยายสาขาเพิ่มอีก 18% หรือคิดเป็น 100,000 สาขา เมื่อเทียบตัวเลขดังกล่าวกับตัวเลขล่าสุด
ตลาดที่ Seven & i Holdings จะเจาะโดยการขายสิทธิแฟรนไชส์สาขาก็คือ ยุโรป ลาตินอเมริกา นอกจากนี้ยังรวมถึงตะวันออกกลาง และแอฟริกา และจะทำให้เชนร้านสะดวกซื้อนั้นขยายสาขาได้เป็น 30 ประเทศทั่วโลก จากเดิมซึ่งอยู่ที่ 20 ประเทศ
แผนดังกล่าวนั้นตามมาจากแผนของ Seven & i Holdings ที่ตั้งเป้าในปี 2026 จะมีสาขาในทวีปเอเชียเพิ่มขึ้นอีก 3,600 สาขา โดยมองปัจจัยสำคัญมาจากชนชั้นกลางที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้นตาม ขณะเดียวกันร้านสะดวกซื้อเองก็ถือว่าตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน
ก่อนหน้านี้บริษัทได้ทุ่มงบลงทุนมากถึง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเร่งขยายสาขาในสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่ออสเตรเลียหลังจากในปีที่ผ่านมา Seven & i Holdings ได้ซื้อธุรกิจร้านสะดวกซื้อจำนวน 751 สาขากลับมา เพื่อที่จะขยายธุรกิจได้รวดเร็วมากขึ้น
นอกจากนี้แรงกดดันจากนักลงทุนยังทำให้ Seven & i Holdings เตรียมขายสินทรัพย์ที่ไม่สร้างกำไรให้กับบริษัทอย่างธุรกิจ Supermarket ในประเทศญี่ปุ่นออกไปอีกด้วย
ข้อมูลล่าสุดช่วงปลายปี 2023 จำนวนร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven นั้นมีอยู่มากกว่า 80,000 สาขาทั่วโลก โดยจำนวนสาขาที่เยอะมากสุดคืออยู่ในทวีปเอเชีย
]]>Savills บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ และ Bernstein วาณิชธนกิจจากสหรัฐอเมริกา รวบรวมข้อมูลว่านับตั้งแต่ปี 2023 ที่ผ่านมาเหล่าแบรนด์หรูได้ทุ่มเงินรวมกันมากกว่า 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
ถ้าหากนับเฉพาะปี 2023 ที่ผ่านมาแบรนด์หรูหลายแบรนด์ได้ปิดดีลทั้งซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์รวมกันเกิน 6,500 ล้านเหรียญสหรัฐด้วยซ้ำ ซึ่งถือว่าสูงกว่าปี 2022 ถึงราวๆ 6.5 เท่าด้วยกัน
แม้ว่าจะมีความกังวลในเรื่องของสถานการณ์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (CRE) ซึ่งหลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวลว่าอาจเป็นจุดเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกในช่วงเวลานี้ แต่แบรนด์หรูหลายแบรนด์เองยังได้เจรจากับเจ้าของ อสังหาฯ เหล่านี้เพื่อที่จะจับจองพื้นที่ที่ดีที่สุดทั้งในนิวยอร์ก หรือแม้แต่พื้นที่อื่นๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ปารีส หรือแม้แต่ในเมืองมุมไบ ในประเทศอินเดีย
แบรนด์หรูไม่ว่าจะเป็น Kering ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ดังอย่าง Gucci ได้ทุ่มทุนมากถึง 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในละแวกที่ดีที่สุดในเมืองมิลานอย่าง Via Montenapoleone ซึ่งเป็นโซนรวมร้านแบรนด์หรูที่นักท่องเที่ยวรู้จัก ซึ่งก่อนหน้านี้แบรนด์ลูกอย่าง Saint Laurent เป็นหนึ่งในผู้เช่าละแวกนี้ด้วยเช่นกัน
ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา Kering ได้อสังหาริมทรัพย์ในนครนิวยอกร์กมาแล้ว ด้วยดีลมูลค่ามากถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่คู่แข่งรายสำคัญอย่าง LVMH หรือ Chanel เองก็ได้ไล่ล่าหาอสังหาริมทรัพย์พื้นที่ที่ดีที่สุดในเมืองดังกล่าวเช่นเดียวกัน
ไม่เพียงเท่านี้มากกว่า 1 ใน 3 ของร้านค้าที่เช่าตามเมืองต่างๆ ของสหรัฐอเมริกานั้นได้เป็นของแบรนด์หรูไม่ว่าจะเป็น Dior ที่เปิดร้านตามเมือง Orlando และ Detroit รวมถึง Austin ขณะที่ Alexander McQueen ได้เปิดร้านค้าใหม่ตามเมือง Atlanta และ Boston เป็นต้น
นอกจากนี้ร้านค้าที่เช่าพื้นที่ใหม่ บางแห่งเองยังมีการเปิดโซนพิเศษเพื่อเอาใจลูกค้าระดับ VIP ที่มีกำลังซื้ออย่างต่อเนื่อง ไว้สามารถจับจ่ายซื้อสินค้าแบรนด์หรูแบบเป็นส่วนตัว ไม่ต้องปะปนกับลูกค้าทั่วไปด้วยซ้ำ
แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจโลกจะอยู่ในสภาวะดอกเบี้ยยังสูง แต่แบรนด์หรูเหล่านี้กลับไม่สะทกสะท้านกับการไล่ซื้อหรือแม้แต่เช่าอสังหาริมทรัพย์ด้วยซ้ำ เนื่องจากตัวเลขล่าสุดโดยเฉลี่ย ค่าเช่าสถานที่หรือแม้แต่การลงทุนในเรื่องร้านค้านั้นคิดเป็น 9% ของยอดขายของแบรนด์หรูเหล่านี้ด้วยซ้ำ
ที่มา – Wall Street Journal, Business Insider, Forbes
]]>ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โลตัส ได้กล่าวถึงแอปพลิเคชัน Lotus’s ในปี 2023 ที่ผ่านมานั้นมียอดดาวน์โหลดแอปฯ รวมมากถึง 10 ล้านดาวน์โหลดแล้ว ซึ่งเขาชี้ว่าตัวเลขจำนวนการสั่งซื้อรวมแตะระดับ 1 ล้านครั้ง และเป็นครั้งแรกนั้นยากเสมอ บริษัทต้องใช้เวลาถึง 7 เดือนหลังจากบริษัทได้เปิดตัวแอปฯ ในปี 2022
ขณะที่จำนวนการสั่งซื้อรวมแตะระดับ 1.5 ล้านครั้งภายในเดือนมกราคมปี 2024 ที่ผ่านมา และในปี 2023 มียอดสั่งซื้อรวมกันมากถึง 1 หมื่นล้านบาทแล้ว
กรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของโลตัส ยังกล่าวว่า บริษัทเป็นค้าปลีกรายแรกของไทยที่พร้อมจัดส่งสินค้าภายใน 1 ชั่วโมงหากเป็นการจัดส่งจากสาขาของโลตัสโกเฟรช และภายใน 3 ชั่วโมงหากเป็นการจัดส่งจากสาขาใหญ่ ส่วนถ้าเป็นสินค้าชิ้นใหญ่ จะจัดส่งภายในวันถัดไป หรือแม้แต่การรับสินค้าที่สาขา นอกจากนี้ยังมีค่าส่งที่ฟรีไม่มีจำกัดการสั่งซื้อขั้นต่ำ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้เป็นตัวเร่งให้ลูกค้าใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น
เขายังชี้ว่าจุดแข็งที่โลตัสสามารถพร้อมส่งสินค้าได้ เนื่องจากบริษัทมีสาขาเล็กและสาขาใหญ่รวมกันกว่า 2,100 สาขาทั่วประเทศ และยังมีสินค้าถึง 30,000 รายการ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอาหารสด สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเสริมความงาม และสินค้าสำหรับแม่และเด็ก เป็นต้น
ออกแคมเปญใหม่
ขณะเดียวกันภายในเดือนมีนาคมนี้ Lotus’s ได้ออกแคมเปญมีโปรโมชั่น ให้ทุกคนที่เข้ามาสั่งสินค้านั้นมีความสุข ผ่านดีลพิเศษทุกวัน เช่น วันจันทร์ถ้าหากสั่งน้ำดื่ม มีแคมเปญซื้อน้ำแพ็คทุกวันอาทิตย์หรือทุกวันจันทร์ วันอังคารมีโปรโมชั่นอาหารสดถ้าหากสั่งถึงจำนวนหนึ่ง หรือถ้าสั่งเกินจะมีคูปองออนท็อปด้วย เป็นต้น
ผู้บริหารของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โลตัส ได้กล่าวว่า การที่บริษัทสามารถทำแคมเปญต่างๆ ได้ทุกวันเนื่องจากบริษัทได้เห็นข้อมูลการสั่งสินค้าของลูกค้า เช่น ปริมาณการสั่งน้ำดื่มในวันจันทร์ถือว่าเยอะเป็นพิเศษ ทำให้โลตัสได้ออกแคมเปญดังกล่าวออกมา
มองว่าเทรนด์ของผู้บริโภคจะมาช่องทางออนไลน์แน่นอน
ธรินทร์ ยังชี้ว่าปัจจุบันยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ตั้งแต่เปิดตัวแอปฯ ในปี 2022 มีสัดส่วน 1% แต่ปัจจุบันสัดส่วนดังกล่าวกำลังจะแตะเลข 2 หลักในเร็วๆ นี้แล้ว และเขามองว่าเทรนด์การซื้อสินค้าของคนไทยจะคล้ายกับประเทศจีนที่มีการสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น และการไปซื้อสินค้าแบบปกตินั้นเหมือนมาซื้อสินค้าให้สนุก
นอกจากนี้ ธรินทร์ ได้ชี้ถึงว่า ในการสั่งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์นั้นมีดีลส่วนลดพิเศษให้กับลูกค้า ซึ่งแตกต่างกับการไปซื้อที่สาขาที่จะไม่มีส่วนลด และโลตัสเตรียมนำสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ให้ ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อภายในแอปฯ ได้ด้วย โดยถ้าเป็นสินค้าใหญ่ๆ จะใช้เวลาจัดส่งไม่เกิน 7 วัน
ปรับสิทธิประโยชน์ Lotus’s Reward Program ใหม่
วรวรรณ เพียรลิขิตวงศ์ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายการตลาด โลตัส กล่าวว่า นอกเหนือจากความสะดวกสบายที่เพิ่มมากขึ้นในการจับจ่ายผ่านช่องทางออนไลน์แล้ว โลตัสยังมอบสิทธิประโยชน์ที่ดียิ่งกว่า ด้วยรีวอร์ดโปรแกรมมายโลตัส (My Lotus’s) ที่เปลี่ยนจากการเป็นเพียงบัตรสะสมคะแนน สู่ไลฟ์สไตล์แพลตฟอร์มแบบปัจเจกบุคคล
เธอชี้ว่าโปรแกรม My Lotus’s พัฒนามาจาก Club Card สมัยที่ยังเป็น Tesco Lotus ซึ่งมีการสะสมแต้ม แต่ต้องรอคูปองนานถึง 3 เดือน ซึ่งโปรแกรมใหม่นั้นสามารถที่จะสะสมแต้มได้สะดวกมากกว่าเดิม
ตัวเลขในปี 2023 ที่ผ่านมาโปรแกรม My Lotus’s มีลูกค้ามากถึง 17 ล้านคน มีการแจก Coin ไปแล้วมากกว่า 1,600 ล้าน Coin นอกจากนี้ วรวรรณ ยังได้กล่าวเสริมว่าลูกค้าโปรแกรมดังกล่าวนั้นมีการใช้จ่าย 3 เท่าเยอะกว่าคนไม่ได้เป็นสมาชิกโปรแกรมดังกล่าวอีกด้วย
โปรแกรม My Lotus’s เองยังมีการทำโปรโมชั่นส่วนบุคคล ผ่านเทคโนโลยี AI และ Big Data และมีการทำโปรโมชั่นไปแล้วกว่า 150 ล้านโปรโมชั่น เช่น ในวันเกิดของสมาชิก ฯลฯ และการสั่งสินค้าผ่านแอปฯ Lotus’s ยังมีสิทธิพิเศษคือได้ Coin เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถนำไปแลกในภายหลังได้
โดย Lotus’s ตั้งเป้าที่จะมีการเติบโตของยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นมากกว่า 30% ในปีนี้
]]>Wall Street Journal รายงานข่าว โดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Walmart ค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกากำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาซื้อกิจการ Vizio ผู้ผลิตสมาร์ททีวีในสหรัฐอเมริกา โดยคาดว่าจะต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยมากกว่า 72,000 ล้านบาท
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ Walmart ต้องซื้อกิจการของ Vizio เนื่องจากต้องการขยายตลาดในการขายสมาร์ททีวีราคาถูกให้ลูกค้า เนื่องจากคู่แข่งอย่าง Amazon หรือแม้แต่ Roku ได้ลงมาขายสมาร์ททีวีในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นแรงกดดันให้กับค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐฯ ต้องลงมาเล่นเกมดังกล่าวด้วย
ขณะเดียวกัน Vizio เองมีข้อมูลลูกค้าจำนวนมากถึง 18 ล้านราย ทำให้ Walmart สามารถเข้าถึงลูกค้าได้จำนวนมากกว่าเดิม และยังรวมถึงรายได้จากโฆษณาที่ได้จากการเผยแพร่บนสมาร์ททีวี
ในปีที่ผ่านมา Insider Intelligence คาดว่ารายได้จากธุรกิจโฆษณาของ Walmart จะมีมากถึง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากที่บริษัทได้ตั้งธุรกิจด้านโฆษณาขึ้นมาในปี 2021 เพื่อที่จะดำเนินธุรกิจดังกล่าวภายใต้ชื่อ Walmart Connect
ปัจจุบัน Walmart Connect มีลูกค้าที่เป็นบริษัทขายผลิตภัณฑ์ต่างๆ บางรายได้ใช้ช่องทางดังกล่าวแทนที่จะลงโฆษณากับบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Apple หรือแม้แต่ Google
อย่างไรก็ดี ดีลดังกล่าว Wall Street Journal ได้รายงานว่ากำลังอยู่ในช่วงการเจรจาเท่านั้น และอาจมีสิทธิ์ที่ดีลดังกล่าวอาจไม่เกิดขึ้นก็ได้
]]>KDDI ยักษ์ใหญ่โทรคมนาคมอันดับ 2 ของญี่ปุ่น ประกาศเข้าซื้อหุ้น Lawson ยักษ์ใหญ่ร้านสะดวกซื้ออันดับ 3 ของญี่ปุ่น โดย KDDI ชี้ถึงการรุกเข้าหาลูกค้า เพื่อให้บริการต่างๆ ของบริษัท ขณะเดียวกันก็ยังทำให้บริษัทมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการแข่งขันของธุรกิจโทรคมนาคมในญี่ปุ่นที่ดุเดือดจากผู้เล่นที่มากถึง 4 ราย
ก่อนหน้านี้ KDDI ถือหุ้น Lawson อยู่แล้วราวๆ 2.61% โดยเม็ดเงินที่ KDDI ใช้ซื้อหุ้นเพื่อเพิ่มเติมคาดว่าจะอยู่ที่ 500,000 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินไทย 120,257 ล้านบาท และหลังจากนี้คาดว่าจะมีการนำบริษัทออกจากตลาดหุ้นญี่ปุ่น จะกลายเป็นว่าเจ้าของ Lawson จะมี Mitsubishi และ KDDI เป็นเจ้าของธุรกิจแทน
เหตุผลที่ KDDI มองว่าการเข้าซื้อหุ้น Lawson สร้างประโยชน์ให้กับบริษัทคือ
แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่ KDDI มองว่าร้านสะดวกซื้อเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งบริษัทมองว่าไลฟ์สไตล์ของลูกค้าได้เปลี่ยนแปลงไป และ Lawson ได้มีการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
KDDI ยังมองถึงการขยายสาขาเพิ่มเติมในญี่ปุ่นซึ่งมีสาขามากถึง 14,600 สาขา และยักษ์ใหญ่โทรคมนาคมเบอร์ 2 ของญี่ปุ่นยังมองเห็นการเข้าถึงในธุรกิจอื่นของบริษัทไม่ว่าจะเป็นบริการทางการเงิน ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลลูกค้าของทั้ง 2 บริษัท หลังจากการทำธุรกรรมแล้วเสร็จ
ในช่วงที่ผ่านมาธุรกิจร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นเองนั้นได้ต่อสู้กันทั้งในญี่ปุ่น หรือแม้แต่นอกญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอบริการใหม่ๆ ผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการขยายสาขา โดยปัจจุบันคู่แข่งรายใหญ่ของ Lawson คือ Seven & i Holdings เจ้าของ 7-Eleven ที่ตั้งเป้าขยายสาขาในทวีปเอเชียเพิ่ม รวมถึง FamilyMart
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนักวิเคราะห์ยังมองว่าหลังจากนี้บริษัทใหญ่ในญี่ปุ่นมีโอกาสที่จะควบรวมกิจการกันมากขึ้นหลังจากดีลดังกล่าวนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความเซอร์ไพรส์ให้กับนักลงทุนไม่น้อย
ที่มา – KDDI, Kyodo News, The Register, CNBC
]]>Walmart ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศในงาน CES 2024 ซึ่งเป็นงานแสดงศักยภาพเทคโนโลยีของหลายธุรกิจ ซึ่งบริษัทได้นำเสนอถึงการนำระบบปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้งานเพื่อช่วยให้ลูกค้าจับจ่ายใช้สอยได้อย่างเพลิดเพลิน ขณะเดียวกันก็ช่วยทำให้พนักงานทำงานเอกสารสะดวกมากขึ้น
Doug McMillon ซึ่งเป็น CEO ของ Walmart ได้กล่าวถึงการนำระบบ AI เข้ามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยลูกค้าในการหาสินค้าเวลาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น การพิมพ์ประโยค “ต้องการที่จัดปาร์ตี้ยูนิคอร์นภายในบ้านให้กับลูกสาว ให้ช่วยเลือกสินค้าหน่อย” โดยระบบจะแนะนำสินค้าขึ้นมาให้
หรือแม้แต่ระบบ AI ที่นำมาเรียนรู้พฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้าแต่ละราย ไปจนถึงการนำระบบ AI มาจำลองเสื้อผ้าเสมือนจริง ถ้าหากลูกค้าสนใจที่จะซื้อเสื้อผ้า
ในขณะเดียวกัน Walmart เองได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาช่วยยืนยันว่าลูกค้านั้นจ่ายเงินซื้อสินค้านั้นจริงๆ โดยใช้กล้องถ่ายรถเข็นสินค้า หลังการสแกนใบเสร็จกับระบบ ทดแทนการใช้พนักงานดูใบเสร็จกับสินค้า นอกจากนี้ระบบ AI ที่ Walmart ได้นำมาใช้กับพนักงานของบริษัท เช่น การสรุปรายงาน การจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินค้า หรือแม้แต่การช่วยคิดไอเดียทำคอนเทนต์เพื่อขายสินค้า
สำหรับระบบ AI ที่นำมาช่วยเวลาค้นหาสินค้า หรือบริการอื่นๆ ทาง Walmart ได้ใช้ระบบ AI จาก Microsoft
Suresh Kumar ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาของ Walmart ได้กล่าวว่าในขณะที่การค้าปลีกแบบ Omnichannel นั้นถือว่ามีมานานหลายทศวรรษแล้ว แต่การค้าปลีกรูปแบบใหม่นี้ได้ถือว่าปรับเปลี่ยนโดยได้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง (จากการใช้ AI)
ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของสหรัฐฯ ถือเป็นอีกบริษัทที่ได้นำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ในการซื้อสินค้า ขณะเดียวกันพนักงานของบริษัทก็ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการทำงานเช่นกัน ซึ่งมุมมอง Walmart เองนั้นเริ่มไม่ได้มองถึงการตัดขาดระหว่าง E-Commerce กับการซื้อสินค้าในร้านออกจากกันแต่อย่างใด แต่ทั้ง 2 คือเรื่องเดียวกัน
ที่มา – Engadget, NPR, TechCrunch
]]>สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า ธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาหลายรายเริ่มให้ส่วนลดหรือคูปองให้กับผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าไปแล้ว แต่ไม่พอใจสินค้าแล้วต้องการคืนสินค้ากลับ หรือให้ส่วนลดเพิ่มเติมถ้าหากผู้บริโภคนำสินค้ากลับมาคืนที่ร้านค้าด้วยตัวเอง หลังจากที่ต้นทุนในการส่งคืนสินค้าพุ่งสูงจนภาคธุรกิจแบกรับไม่ไหว
สื่อรายดังกล่าวได้สอบถามผู้ซื้อสินค้า 17 รายจากหลากหลายธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐอเมริกา เช่น Walmart รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Amazon หรือแม้แต่ Temu เป็นต้น ลูกค้าเหล่านี้ได้กล่าวว่า ธุรกิจค้าปลีกหลายแห่งได้แจ้งลูกค้าว่าอย่าคืนสินค้าที่มีมูลค่าประมาณ 20 ดอลลาร์ถึง 300 ดอลลาร์ รวมถึงสินค้าที่มีข้อบกพร่องหรือจัดส่งด้วยความผิดพลาดด้วย
ขณะที่ข้อมูลจาก goTRG ซึ่งสำรวจผู้บริหาร 500 รายในธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ 21 ราย ซึ่งรวมถึง Walmart และ Amazon.com ธุรกิจค้าปลีกมากถึง 59% ได้เสนอนโยบาย “ไม่คืนสินค้า” หรือ “เก็บไว้” สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าไม่ต้องการซึ่งสินค้าเหล่านี้มีต้นทุนการคืนสินค้าเกินมูลค่า
ทางด้านผู้ผลิตสินค้าประเภท ชุดชั้นใน เครื่องนอน เป็นหนึ่งในกลุ่มแรกที่นำนโยบาย “ไม่คืนสินค้า” มาใช้ เนื่องจากเรื่องสุขอนามัย รวมถึงกฎความปลอดภัยด้านสุขภาพในสหรัฐอเมริกา โดยผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้ได้ขอให้ผู้ซื้อบริจาคสิ่งของหรือมอบเป็นของขวัญให้เพื่อนแทนที่จะส่งกลับบริษัท
ปัญหาของธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาหลายที่กำลังประสบในช่วงเวลานี้คือต้นทุนจากการคืนสินค้า โดยตัวเลขในปี 2022 ที่ผ่านมาจาก Appriss Retail และ National Retail Federation พบว่ามูลค่าสินค้าที่ส่งคืนในสหรัฐอเมริกานั้นมากถึง 816,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งยอดดังกล่าวสูงกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดมากถึง 2 เท่าด้วยกัน
ข้อมูลจาก Optoro บริษัทที่ปรึกษาด้านค้าปลีกได้ชี้ว่าในช่วงวันหยุดของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นวันขอบคุณพระเจ้า แบล็คฟรายเดย์ และไซเบอร์มันเดย์ และดำเนินต่อไปหลังช่วงวันคริสต์มาส ซึ่งมีกิจกรรมลดแลกแจกแถมจากธุรกิจค้าปลีกทั่วสหรัฐอเมริกา คาดว่าในช่วงดังกล่าวของปี 2023 นี้จะมีมูลค่าสินค้าที่ส่งคืนมากถึง 173,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วถึง 28%
ค่าขนส่งและค่าจัดการต่างๆ รวมถึงการใช้คลังสินค้าในสหรัฐฯ ที่ล้นหลาม ส่งผลทำให้บริษัทต่างๆ ต้องหยุดรับเสื้อยืด ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง หรือเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่พึงประสงค์กลับคืน เนื่องจากทำให้ต้นทุนบริษัทเพิ่มขึ้น และยังสร้างภาระให้กับผู้ประกอบการรายอื่นที่อยู่ใน Supply Chain ที่เกี่ยวข้องด้วย
โดยทั่วไปแล้วธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐฯ จะมีค่าใช้จ่ายจากสินค้าส่งกลับมาประมาณ 30 ดอลลาร์ต่อชิ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวนั้นรวมถึงค่าขนส่งสินค้าอีกทอด ค่าใช้จ่ายจัดเรียงสินค้า ค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าที่ผู้บริโภคส่งกลับไปจำหน่ายต่อในราคาที่ถูกกว่า หรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายในการกำจัดสินค้า ซึ่งทำให้บริษัทเหล่านี้เลือกที่จะใช้วิธีดังกล่าวในข้างต้นแทน
]]>สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า วอลมาร์ท (Walmart) ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของสหรัฐอเมริกาได้นำลดการนำเข้าสินค้าจากจีน และได้เพิ่มสินค้าจากประเทศอินเดียมากขึ้น ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวถือเป็นการลดต้นทุนของบริษัท นอกจากนี้ยังสร้างความยืดหยุ่นในเรื่องของ Supply Chain ด้วย
สื่อรายดังกล่าวได้อ้างอิงข้อมูลของ Import Yeti ที่เก็บข้อมูลการนำเข้าสินค้าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2023 ของ Walmart ซึ่งสินค้าจากประเทศจีนที่ในอดีตมีสัดส่วนมากถึง 80% ในปี 2018 ล่าสุดลดลงเหลือแค่ 60% เท่านั้น ขณะที่สินค้าจากประเทศอินเดียกลับมีสัดส่วนมากขึ้นถึง 25% จากเดิมที่มีสัดส่วนแค่ 2% ในปี 2018
Andrea Albright รองประธานบริหารฝ่ายการจัดหาของ Walmart ได้ให้สัมภาษณ์กับ Reuters ว่า บริษัทต้องการราคาที่ดีที่สุด ขณะเดียวกันบริษัทก็ต้องการความยืดหยุ่นใน Supply Chain ของบริษัท เขายังกล่าวเสริมว่ายักษ์ใหญ่ค้าปลีกรายนี้ไม่สามารถพึ่งพาซัพพลายเออร์รายเดียว หรือสินค้าจากประเทศใดประเทศหนึ่งได้
นอกจากนี้รองประธานบริหารฝ่ายการจัดหาของ Walmart ยังกล่าวว่า อินเดียกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเป็นแหล่งจัดหาสินค้าของทางบริษัทด้วย ซึ่งปัจจุบันยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของสหรัฐอเมริกาได้นำเข้าสินค้าจากอินเดียมีตั้งแต่ยารักษาโรค เครื่องใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงธัญพืช
Andrea ยังกล่าวว่า สิ่งที่ Walmart สามารถควบคุมได้คือแหล่งที่มาของสินค้าต่างๆ ถ้าหากมีบางอย่างเกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท เนื่องจากปัจจัยความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์เป็นสิ่งที่ทายได้ยากมากเหมือนกับการทายว่าพายุจะพัดพาไปทางไหน
Chris Rogers นักวิเคราะห์จาก S&P Global Market Intelligence ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Supply Chain ได้กล่าวกับ Reuters ว่า ต้นทุนในการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนนั้นกลับเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มหันมาใช้สินค้าหรือวัตถุดิบจากอินเดียมากขึ้น
ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนนั้นไม่ว่าจะเป็นค่าแรงที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับอินเดียที่มีค่าแรงถูกกว่า นอกจากนี้ผู้ประกอบการหลายรายเองต้องการความยืดหยุ่นใน Supply Chain หลังเหตุการณ์แพร่ระบาดของโควิดในจีนที่ส่งผลต่อภาคการผลิตทั่วโลก เนื่องจากโรงงานในประเทศจีนได้เกิดความชะงักงัน และยังรวมถึงการขนส่งสินค้าออกนอกจีนด้วย
นอกจาก Walmart จะทำให้อินเดียได้ประโยชน์จากการนำเข้าสินค้าในสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น ยังทำให้ประเทศรอบข้างอย่างปากีสถานและบังคลาเทศได้รับประโยชน์ดังกล่าวด้วย
โดย Walmart ได้ตั้งสำนักงานเพื่อหาสินค้าป้อนบริษัทในอินเดียตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของสหรัฐอเมริกาเองยังได้ลงทุนใน Flipkart ซึ่งเป็นธุรกิจ E-commerce รายใหญ่ในประเทศอินเดียด้วย
]]>สำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่งได้รายงานข่าวว่า IKEA ค้าปลีกสินค้าตกแต่งบ้านรายใหญ่จากสวีเดน ได้ทยอยปรับลดราคาสินค้าของบริษัทลงมาแล้วหลากหลายรายการ หลังจากสถานการณ์เงินเฟ้อคลี่คลายลง หรือแม้แต่การปรับปรุงด้านการผลิตของบริษัท
Tolga Oncu หัวหน้าฝ่ายค้าปลีกของ Ikea ได้กล่าวว่า บริษัทได้ลดราคาสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนเป็นต้นมาหลายร้อยรายการ และการลดราคาสินค้าของบริษัทได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค
สอดคล้องกับ Jon Abrahamsson Ring จาก Inter Ikea Group ซึ่งเป็นผู้ให้สิทธิ์แฟรนไชส์ของ IKEA ได้กล่าวว่า ในปี 2023 บริษัทเริ่มที่พลิกมุมโดยการลดราคาสินค้าอีกครั้ง โดยบริษัทได้ปรับลดราคาสินค้าหลากหลายชนิด ไม่เว้นแม้แต่ชั้นหนังสือ Billy ที่บริษัทลดราคาลงมาถึง 20% แล้วในบางประเทศ
เขายังกล่าวเสริมว่า ในช่วงที่ราคาสินค้าตกแต่งบ้านยังมีราคาสูง และผู้คนกำลังดิ้นรนอย่างหนักในเรื่องค่าครองชีพ ส่งผลทำให้ความต้องการสินค้าตกแต่งบ้านในราคาที่เอื้อมถึงนั้นมีสูงมากขึ้น
นอกจากนี้ทาง IKEA ยังอยู่ในขั้นตอนลดต้นทุนสินค้าบริษัทโดย ปรับปรุงและพัฒนาวัสดุ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงบริษัทยังทำงานร่วมกับพันธมิตรทั่วทั้ง Supply Chain ของ IKEA เพื่อแก้ไขปัญหาด้านลอจิสติกส์และปรับปรุงการจัดการสินค้าคงคลัง
ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา IKEA ได้ปรับขึ้นราคาสินค้าเนื่องจากปัญหาของเงินเฟ้อ และต้นทุนที่สูงขึ้น หรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายในด้านลอจิสติกส์
ผลประกอบการของ IKEA ในปี 2023 สิ้นสุดเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้รวม 47,600 ล้านยูโร เติบโตกว่าปี 2022 ถึง 6.6% แม้ว่าปริมาณสินค้าจะขายได้ลดลง แต่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกันยังมีการเปิดสาขาไปมากถึง 71 สาขาทั่วโลกด้วย
ที่มา – IKEA, The Guardian, Macau Business
]]>