SCB – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 09 Sep 2024 13:39:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 SCB ปักหมุด Net Zero 2050 ยุทธศาสตร์เปลี่ยนพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด สู่ “สินเชื่อสีเขียว”  https://positioningmag.com/1489292 Mon, 09 Sep 2024 13:08:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1489292 ธุรกิจในปัจจุบัน กำลังถูกขับเคลื่อนด้วยความท้าทายใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อน ทำให้การดำเนินธุรกิจและวิถีชีวิตของผู้คนจำต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับทิศทางสังคมคาร์บอนต่ำหรือการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมากขึ้น

หลายภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมีการปรับเปลี่ยนนโยบายและกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนขึ้น อาทิ ประเทศอิตาลี องค์กร SACE ซึ่งเป็น Italian Export Credit Agency ให้การสนับสนุนธุรกิจ SME ในการเข้าถึงเงินทุน โดยการให้ Green Guarantee ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ก็ประกาศจุดยืนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 โดยจะลดการพึ่งพาการใช้พลังงานฟอสซิลและพลังงานจากถ่านหินลง พร้อมทั้งหันมาสนับ  สนุนการใช้พลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น รวมถึง ประเทศจีน มีการออกนโยบาย Dual Credit Policy ที่ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ผลิตรถที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดการผลิตและใช้งานรถยนต์น้ำมัน โดยมีเป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี 2603 

Net Zero ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือ ทางรอด

ส่วนประเทศไทย มีนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หลายธุรกิจประกาศนโยบาย Net Zero กันถ้วนหน้า เพราะแรงจูงใจในเรื่อง “ภาษี” หรือ “ดอกเบี้ย” ที่ลดลง ทำให้หลายองค์กรต้องลุกขึ้นมาจริงจังด้านสิ่งแวดล้อม 

ในวงการธนาคาร ที่เผชิญกับความท้าทายจากการถูกดิสรัปต์โดยเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการปิดสาขา ปรับตัวสู่การทำธุรกรรมต่างๆ บนมือถือ เมื่อผู้คนหันมาทำธุรกิจกรรมออนไลน์กันมากข้ึน ค่าธรรมเนียม ที่เป็นหนึ่งในรายได้ของธนาคารเองก็หายไป ทำให้ทางรอดของธนาคารต่างๆ จึงอยู่ในกลุ่มของผลิตภัณฑ์สินเชื่อและการลงทุน 

ก่อนหน้านี SCB ได้ประกาศนโยบาย Digital Bank with Human Touch ที่มีการใช้ AI เข้ามาช่วยในการอนุมัติสินเชื่อรายย่อย 100% หรือ AI Advisory Chatbot แชตบอตให้ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน ซึ่งเป็นการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว

ความท้าทายในเรื่องนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มธนาคารจึงมากกว่าธุรกิจอื่นๆ เพราะต้องมีทั้งในด้านของ “องค์กร” และ “ลูกค้า” เพราะการปล่อยสินเชื่อก็ถือเป็นการสนับสนุนธุรกิจแล้ว

ล่าสุด SCB ตั้งเป้าสู่ Net Zero ด้วยแนวคิด “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” ถือเป็นธนาคารรายแรกๆ ที่ปักเป้า Net Zero อย่างจริงจัง เพราะธนาคารต้องเจอหลายปัจจัย โดยเป้าหมายนี้มี 3 ระยะด้วยกัน ได้แก่ 

1) Net Zero 2025 : ปล่อยสินเชื่อสีเขียววงเงิน 150,000 ล้านบาท ภายใน 2025 โดยปัจจุบัน ณ สิ้นไตรมาสที่ 2/2024 ได้สนับสนุนสินเชื่อไปแล้วกว่า 111,000 ล้านบาท (นับตั้งแต่ปี 2023) 

2) Net Zero 2030 : ปรับการดำเนินงานภายในองค์กรสู่ Net Zero ภายในปี 2030 

3) Net Zero 2050 : เป็นธนาคารไทยแรกที่ตั้งเป้า Net Zero 2050 จากการให้สินเชื่อธุรกิจ ด้วยแผนการเปลี่ยนผ่านพอร์ตสินเชื่อทั้ง 2.3 ล้านล้านบาท สู่พอร์ตสินเชื่อสีเขียวทั้งหมด

กฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

“ความยั่งยืน คือ โอกาสบนความท้าทาย ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือทางรอด เพราะการที่ธนาคารต้องประกาศเรื่องความยั่งยืนนั้นมีทั้งโอกาส และความท้าทาย โดยโอกาสจากเม็ดเงินลงทุน และการจ้างงาน ซึ่งบทบาทของธนาคารในเรื่องความยั่งยืน จึงเป็นเรื่องของการสนับสนุนเงินทุน ซึ่งเม็ดเงินที่โลกจะลงทุนสู่ Net Zero หรือการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ นั้นมีจำนวนกว่า 39 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 1,323 ล้านล้านบาท ทำให้ธุรกิจธนาคาร สามารถสนับสนุนและจัดสรรเงินทุน เพื่อรองรับการดำเนินการด้านความยั่งยืนของภาคธุรกิจ ที่มีความรับผิดชอบต่อ  ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีธรรมาภิบาล”

‘S-C-B’ 3 แกนหลักในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

แนวคิด “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” ภายใต้กรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน สำหรับการส่งต่อความยั่งยืนให้กับผู้เกี่ยวข้อง ด้วยกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch ที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของธนาคาร โดยแบ่งเป็น 3 แกนหลัก คือ S-C-B 

1) S หรือ Sustainable Banking การสนับสนุนการเงินที่ยั่งยืนเพื่อลดความเสี่ยงจากการทำธุรกิจกับคู่ค้า และมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ไปด้วยกัน เช่น สินเชื่อสีเขียว หรือ Green Loan ซึ่งเป็นสินเชื่อที่ช่วยส่งเสริมให้ภาคธุรกิจหันมาปรับตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับความยั่งยืน ซึ่งหากทำได้ตามเป้าหมายที่ธนาคารกำหนด ธุรกิจนั้นก็จะได้ผลประโยชน์ตอบแทน เช่น ได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง เป็นต้น

2) C หรือ Corporate Practice Excellence คือการสร้างองค์กรแห่งความยั่งยืน มุ่งเน้นการนำธนาคารไทยพาณิชย์ให้เป็นองค์กร Net Zero หรือ องค์กรแห่งความยั่งยืนครอบคลุมในทุกๆ ด้าน ภายในปี 2030 จากการดำเนินงานภายในองค์กร อาทิ การปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศภายในสำนักงานไว้ที่ 25 องศา โดยตั้งค่าเปิด-ปิดก่อนเวลาทำการ 1 ชม. หรือ การเปลี่ยนมาใช้น้ำยาล้างแอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การติดตั้ง Solar Looftop ที่สำนักงานใหญ่และศูนย์ฝึกอบรม รวมถึงการเปลี่ยนขวดน้ำดื่ม เพื่อใช้ในกิจกรรมองค์กรเป็นพลาสติกรีไซเคิล 100% หรือ ขวด rPET ปีละ 1.3 ล้านขวด ที่สามารถลดคาร์บอนได้กว่า 60%

3) B หรือ Better Society เป็นการพัฒนาสังคมที่ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคมผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการพัฒนาแบบองค์รวมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึงผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ อาทิ การพัฒนาเยาวชนผ่านการสนับสนุนทางการศึกษาและการให้ความรู้ทางการเงิน การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชนและการดูแลสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมเพื่อสังคม รวมถึง การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ก่อให้เกิดเป็นโครงการ Smart University และ Smart Hospital โดยมีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการแล้วกว่า 400,000 ราย 

ปี 2050 ทุกธุรกิจลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 100%

ทางด้าน ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า 

“ธนาคารได้วางกรอบพันธกิจในการผลักดันเป้าหมาย Net Zero สำหรับพอร์ตสินเชื่อและการลงทุน (Scope 3 Category 15 Investment) ภายในปี 2050 คือ ลดความเสี่ยงของพอร์ตโฟลิโอธนาคารจากปัญหาภาวะโลกร้อน หนุนการเปลี่ยนแปลงผ่านการทำงานร่วมกับลูกค้า เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจภายใต้การสนับสนุนการลงทุนเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และยังช่วยลดโลกร้อน”

ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สอดคล้องกับข้อตกลง Paris Agreement ที่ทุกประเทศจะช่วยกันควบคุมไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสต่อปี ตามมาตรฐาน SBTi (Science Based Targets Initiative) ซึ่งถือเป็นมาตรฐานแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด จากกรอบการดำเนินงานที่อยู่บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ที่กว่า 8,800 องค์กรธุรกิจชั้นนำของโลกได้ให้คำมั่นตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ไว้

ตรงกับวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของธนาคารที่เป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนและสร้างความพร้อมให้กับเศรษฐกิจไทยต่อความท้าทายและโอกาสของสังคมคาร์บอนต่ำ มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน ผ่านผลิตภัณฑ์ (Sustainable Finance) ที่ครบถ้วนในทุกกลุ่มลูกค้าและอุตสาหกรรม โดยดำเนินการผ่านกลยุทธ์ 3 ด้าน คือ

1) บริหารพอร์ตสินเชื่อสีเขียว

ธนาคารได้เน้นการสนับสนุนพอร์ตสีเขียวในธุรกิจไฟฟ้า และลดการปล่อยกู้ในธุรกิจถ่านหิน โดยมีการปล่อยสินเชื่อไปแล้วกว่า 1.98 แสนล้านบาท ตั้งแต่ปี 2011 จนถึงปัจจุบัน สามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดธุรกิจโรงไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ และธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ในการลดการปล่อยก๊าซ GHG เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด ด้วยยอดสินเชื่อพลังงานหมุนเวียนคงค้างปี 2023 กว่า 79,000 ล้านบาท ครองสัดส่วนกว่า 61% ของสินเชื่อพลังงานหมุนเวียนที่สูงกว่าธนาคารชั้นนำของโลก ที่รวมกันอยู่ที่ 53% 

โดยจะเน้นการตั้งเป้าหมาย Net Zero ตามกลุ่มลูกค้าอย่าง กลุ่มธุรกิจพลังงานต่างๆ รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมองค์กรเคมีเวชภัณฑ์ ซึ่งธนาคารได้พิจารณาสินเชื่อโครงการของธนาคาร (Project Finance) ที่ได้เตรียมเงินทุนสนับสนุนการเงินยั่งยืนระหว่างปี 2023-2025 รวมกว่า 150,000 ล้านบาท และปัจจุบันได้อนุมัติวงเงินดังกล่าวไปแล้วกว่า 111,000 ล้านบาท

2) สนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน 

ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านการเงินยั่งยืนที่ครบถ้วน และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกขนาดในแต่ละอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ อาทิ ลูกค้าเอสเอ็มอี ธนาคารมุ่งเน้นการสนับสนุนโซลูชันเพื่อธุรกิจรักษ์โลกเพื่อผู้ประกอบการ SMEs (SCB SME Green Finance) รวมทั้งกิจกรรม Business Matching ขยายธุรกิจเพิ่มขึ้น สร้าง Ecosystem สำหรับเอสเอ็มอี ด้วยการความร่วมมือส่งเสริมการดำเนินธุรกิจให้ผู้ประกอบการทั้งหน่วยงานราชการ สมาคม สมาพันธ์ และ พันธมิตรทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และกลุ่มลูกค้าบุคคล ธนาคารนำเสนอสินเชื่อที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์รักษ์สิ่งแวดล้อม อาทิ สินเชื่อเพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป และสินเชื่อรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งพัฒนาช่องทางดิจิทัลของธนาคาร ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เพื่อการปรับตัวสู่ความยั่งยืนผ่าน SCB EASY เป็นต้น 

3) การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

โดยผลักดันการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบสู่ การยกระดับการเงินที่ยั่งยืน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ และเพื่อผลักดันการสนับสนุนแก่ลูกค้าและสังคมไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยนำ Equator Principles (EP) ซึ่งเป็นกรอบการบริหารความเสี่ยงสำหรับสถาบันการเงิน ที่นำมาตรฐานสากล Best Practices มาใช้เป็น กรอบแนวทางในการระบุ ประเมิน และจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ควบคู่กับการให้สินเชื่อในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2022 จนถึงปัจจุบัน ได้ดำเนินการประเมินโครงการตามหลักการ EP ไปแล้วทั้งสิ้น 53 โครงการ คิดเป็นมูลค่าโครงการรวมกว่า 75,500 ล้านบาท 

]]>
1489292
SCB ประกาศนำเทคโนโลยี AI มาขับเคลื่อนธุรกิจธนาคาร มองธุรกิจ Wealth สำคัญและต้องการถึงเส้นชัยก่อนคนอื่น https://positioningmag.com/1474212 Sat, 18 May 2024 09:21:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1474212 ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ประกาศกลยุทธ์สำคัญคือเรื่องการนำเทคโนโลยีปัญญหาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้ โดยธนาคารได้ยกกรณีศึกษาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายย่อย ขณะเดียวกันก็มองธุรกิจ Wealth นั้นเป็นส่วนสำคัญของธนาคารและต้องการถึงเส้นชัยก่อนเพื่อน

กฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึงผลประกอบการในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ธนาคารสามารถทำผลงานได้ดี เช่น มีกำไรสุทธิจำนวน 13,200 ล้านบาท เติบโต 13.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้อยู่ที่ 37.7% มีผลตอบแทนสำหรับผู้ถือหุ้น (ROE) ในระดับ 12.7% มีรายได้จากช่องทางดิจิทัลคิดเป็นสัดส่วน 9.9 % เมื่อเทียบกับรายได้โดยรวม

ปัจจุบัน SCB มีลูกค้า 17.8 ล้านราย มีผู้ใช้งานผ่านช่องทางดิจิทัลมากถึง 84% ผ่าน SCB Easy ในปีที่ผ่านมาธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น 23% และมีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เช่น การซื้อกองทุนรวม เติบโตมากถึง 7 เท่า หรือการซื้อประกันในช่องทางนี้เพิ่มขึ้น 5 เท่า

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้กล่าวถึงการเร่งพัฒนาในด้านดิจิทัล และวางเป้าเพิ่มรายได้จากช่องทางดิจิทัล 13% ภายในปีนี้ และ 25% ภายในปี 2025 เขายังชี้ถึงข้อดีของเนื่องจากรายได้ช่องทางดังกล่าวนั้นต้นทุนในการดำเนินการถือว่าต่ำ และจะส่งผลกำไรต่อธนาคารเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ กฤษณ์ ยังกล่าวถึง เป้าหมายการลดอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลงมาให้เหลือ 35% ให้ได้ จากการใช้เทคโนโลยีเข้ามา ซึ่งเขามองว่าหลายเป้าหมายที่เคยวางไว้น่าจะถึงเป้า

นำ AI เข้ามาจัดการในด้านต่างๆ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้กล่าวถึงการนำเทคโนโลยี AI และ Machine Learnin เข้ามาช่วย โดยวางการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ภายใต้โมเดล Better Brain ซึ่งประกอบไปด้วย

  • การสร้างบริการที่รู้จักรู้ใจลูกค้าเป็นรายบุคคล เช่น การแนะนำผลิตภัณฑ์และบริการที่ลูกค้าใช้อยู่
  • การเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลของธนาคาร กฤษณ์ ได้เล่าถึงเรื่องปัญหาระบบไอทีหลักที่ทำงานพื้นฐานของธนาคารทั้งหมดซึ่งยังเป็นระบบเก่า แต่ตอนนี้ทางธนาคารกำลังติดตั้งระบบใหม่ คาดว่าจะใช้เวลา 3-5 ปี ซึ่งเขาหวังว่าจะทำให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลนั้นดีมากขึ้น
  • มอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า โดย ธนาคารได้เพิ่มบริการแชตบอทเข้ามาผ่าน SCB Connect ผ่านแอปพลิเคชัน LINE ที่สามารถตอบคำถามลูกค้า เช่น ถ้าหากลูกค้าสนใจซื้อกองทุนประเภทต่างๆ แชตบอทสามารถตอบคำถามได้ เป็นต้น และแชตบอทดังกล่าวนั้นมีการพัฒนาเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ

กรณีศึกษาที่สำคัญคือ การนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยในการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายย่อย 100% ทำให้ลดภาระของเจ้าหน้าที่ ขณะเดียวกันจากเดิมที่ต้องใช้เวลาอนุมัติสินเชื่อใช้เวลาหลายวันนั้นปัจจุบันใช้เวลาเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้น ขณะที่ความเสี่ยงของลูกค้าที่ไม่เท่ากันก็ทำให้ธนาคารสามารถควบคุมความเสี่ยงได้มากขึ้น

นอกจากนี้การนำเทคโนโลยี AI เข้ามายังทำให้ธนาคารให้อัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันตามความเสี่ยงลูกค้าแต่ละราย ลดความเสี่ยงเรื่องหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และยังสามารถที่จะรองรับลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เช่น อาชีพอิสระ หรือแม่ค้า ซึ่งลูกค้ากลุ่มดังกล่าวในอดีตธนาคารแทบจะไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ากลุ่มนี้ด้วยซ้ำ

เรื่องของธุรกิจธนาคาร มองธุรกิจกลุ่ม Wealth ที่ต้องการถึงเส้นชัยก่อนเพื่อน

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึงการปรับตัวของธนาคารภายใต้ความไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลทำให้ภาคการผลิตของไทยได้รับผลกระทบไปแล้ว

ขณะเดียวกันเขาก็มองว่าลูกค้าเริ่มมีความเสี่ยงมากกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน หรือแม้แต่ลูกค้าที่มีรายได้มากกว่า 60,000 บาทต่อเดือนก็มีความเสี่ยงจากผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ต้องผ่อนทั้งรถยนต์และบ้าน

ในส่วนธุรกิจของธนาคารเอง เขากล่าวว่า ธนาคารไม่ได้ปักหมุดไปแข่งกับธนาคารอื่น ธนาคารแข่งกับตัวเอง เพื่อเข้าถึงใจของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าบอกปากต่อปากว่า SCB เป็น Digital Bank With Human Touch ขณะเดียวกันเขาก็ยังมองว่าการเติบโตของธนาคารในอนาคตแม้จะรายได้จะไม่ได้เติบโตมากเหมือนกับในอดีต แต่ประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนและประสิทธิผลของธนาคารจะดีขึ้น

นอกจากนี้เขาต้องการให้ธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของ SCB ถึงเส้นชัยก่อนเพื่อน แม้จะมีผู้เล่นในตลาดนี้เป็นจำนวนมาก

สอดคล้องกับในเดือนพฤศจิกายนปี 2023 เขาเคยกล่าวว่า ธุรกิจ Wealth นั้นถือเป็นดาวเหนือของ SCB มาแล้ว และมองว่าธุรกิจดังกล่าวเป็นหัวเรือสำคัญของธนาคาร เนื่องจากเมื่อมองสัดส่วนรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นจากในอดีตที่ 7% เพิ่มมาเป็น 20% ในปีที่ผ่านมา

ไม่ยืนยันว่าจะปรับลดคนหรือไม่ แต่มองว่าให้โอกาสพัฒนาคนจาก AI มากกว่า

เขายังกล่าวถึงการนำเทคโนโลยี AI เข้ามานั้นยังได้ช่วยทำให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างสะดวกเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าการนำเทคโนโลยี Copilot มาช่วยในงานไม่ว่าจะเป็น ในส่วนของ EIC ที่ช่วยรวบรวมข่าวที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจไทย การช่วยสรุปข้อความด้านกฎหมายให้กับพนักงานฝ่ายอื่นของฝ่ายกฎหมาย เป็นต้น ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีมาช่วยในงาน Automation ลดภาระบางอย่างของพนักงาน

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ การนำเทคโนโลยี AI เข้ามานั้นไม่ได้เอามาแทนคนแต่อย่างใด แต่เอามาปรับโจทย์ให้พนักงานเก่งมากขึ้น

อย่างไรก็ดีเขาชี้ว่าไม่ยืนยันว่าจะมีการปรับลดคนหรือไม่ แต่มองว่าให้โอกาสพนักงานมากกว่า เขาเองยังวางเป้าว่า SCB จะให้พนักงานเข้าใจเรื่องดิจิทัล ปรับให้พนักงานเก่งขึ้น ภายในปี 2026 พนักงานจะต้องนำ AI ไปสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ออกมา

ขณะเดียวกันเขายังชี้ว่าลูกค้าระดับกลางค่อนบนยังต้องการคนอยู่ ซึ่งในอดีตมนุษย์นั้นไม่ให้มูลค่าการปฎิสัมพันธ์มากนัก แต่ในอนาคตทุกอย่างกลับเปลี่ยนไป เขามองว่าการปฏิสัมพันธ์เป็นเรื่องของความพรีเมียม และเป็นเรื่องของเอกสิทธิ์

เขายังกล่าวทิ้งท้ายว่าสิ่งที่ SCB แตกต่างคือมองว่าคนสำคัญ สำคัญถึงขั้นอยู่ในกลยุทธ์ และตราบใดที่ยังมี SCB ก็ยังต้องมีมนุษย์

]]>
1474212
แบงก์นี้ใจใหญ่! รับโฆษณาร้านให้พ่อค้าแม่ค้ารายย่อย “ฟรี” ช่วยเหลือกันช่วงเศรษฐกิจซบเซา https://positioningmag.com/1449300 Thu, 26 Oct 2023 06:50:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449300

SCB เปิดแคมเปญ “โฆษณาร้านค้าให้ฟรี จากสินเชื่อมณีทันใจ” อัดงบ 10 ล้านบาท ทำการตลาดให้กับผู้ประกอบการรายย่อย (SSME) ที่ได้รับคัดเลือก 52 ร้าน หวังช่วยแบ่งเบาภาระค่าการตลาดให้กับพ่อค้าแม่ค้า ผลักดันร้านค้าที่มีสินค้าดี ไอเดียดี ในยุคแข่งขันสูง

ในยุคเศรษฐกิจแข่งขันสูง กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย (SSME) หรือพ่อค้าแม่ค้า คือกลุ่มที่ต้องต่อสู้อย่างยากลำบากมากที่สุด ด้วยภาระต้นทุนการผลิตที่ต้องแบกรับท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ ขณะเดียวกันการทำการตลาดก็เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น แต่นั่นคือภาระต้นทุนที่จะทับถมมากขึ้นไปอีกสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เล็งเห็นถึงภาระและข้อจำกัดด้านเงินทุนของกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า จึงจัดตั้งแคมเปญ “โฆษณาร้านค้าให้ฟรี จากสินเชื่อมณีทันใจ” ขึ้นเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา แคมเปญนี้มุ่งหวังแบ่งเบาภาระให้กับผู้ประกอบการรายย่อย ด้วยการทำการตลาด โฆษณาร้านค้าให้กับผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับคัดเลือกโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย


บูสต์โพสต์ฟรี-ฝากร้านให้อินฟลูเอนเซอร์ช่วยโฆษณา

“ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม” รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Digital Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารไม่ได้เพียงแต่นำเสนอโซลูชันทางการเงินเพื่อสนับสนุนธุรกิจของลูกค้าให้เติบโตอย่างยั่งยืนเท่านั้น แต่ธนาคารยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม ผ่านการสร้างเครือข่ายที่จุนเจือ เกื้อกูล และแบ่งปันกัน

นั่นจึงเป็นที่มาของแคมเปญ “โฆษณาร้านค้าให้ฟรี จากสินเชื่อมณีทันใจ” ที่ธนาคารใช้งบลงทุนไปกว่า 10 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือด้านการตลาดให้กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ดำเนินธุรกิจต่อได้อย่างราบรื่น

ภายใต้แคมเปญนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์เปิดรับสมัครร้านค้าเข้าร่วมแคมเปญ มาฝากร้านเพื่อรับการโปรโมตฟรีกับทางธนาคารระหว่างวันที่ 8-12 กันยายน 2566 โดยมีร้านค้าที่ได้รับคัดเลือกทั้งหมด 52 ร้าน กระจายไปในหมวดหมู่ต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ร้านเสื้อผ้า ร้านสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง ร้านอุปกรณ์การเกษตร เป็นต้น

หลังจากนั้นธนาคารไทยพาณิชย์ได้นำภาพและข้อมูลของร้านที่ได้รับคัดเลือก ทยอยลงโปรโมตในลักษณะอัลบัมรูปโพสต์ผ่านทาง Facebook Page: SCB Thailand พร้อมลงงบโฆษณาบูสต์โพสต์ให้ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2566

นอกจากนี้ ยังมีการคัดเลือก 15 ร้านค้าเพื่อรับการโปรโมตโดยอินฟลูเอนเซอร์พันธมิตรของธนาคารผ่านช่องทาง TikTok โดยมีครีเอเตอร์ที่มาร่วมแคมเปญ เช่น สูตรลับหลังร้าน (@smecookingsecrets), Gluta Story (@glutastory), ThomasTom และสยาโม (@tangmomovoice) เป็นต้น


ดึง “พลอย-ชิดจันทร์” – “โต้ง-ทูพี” ช่วยโปรโมตแคมเปญ

ในช่วงเปิดตัวแคมเปญ “โฆษณาร้านค้าให้ฟรี จากสินเชื่อมณีทันใจ” ธนาคารไทยพาณิชย์ยังลงทุนโปรโมตแคมเปญนี้ด้วยซีรีส์หนังโฆษณาทั้งหมด 5 ชิ้น ซึ่งได้นักแสดงและนักร้องดังอย่าง “พลอย-ชิดจันทร์” และ “โต้ง-ทูพี” มาร่วมถ่ายทำ

ในโฆษณาชุดนี้มีการโปรโมต SSME ไปทั้งหมด 4 ร้าน ได้แก่

  • ร้านเตี๋ยวกะตํา By’Pond ครบทุกรสที่เดียว มีมากกว่า 120 เมนู ราคาเริ่มต้นเพียง 35 บาท
  • ร้าน Destiny Nail & Spa เล็บบรรเจิดเลิศทุกลาย มีทั้งแวกซ์และสปาสูตรพิเศษ
  • ร้าน Star Award and Trophy เล็ก ใหญ่ ไทย อินเตอร์ เหรียญ ถ้วย โล่ มีครบทุกรางวัล ที่ซอยจุฬาฯ 6
  • ร้านโชคทรัพย์อนันต์ฟิชชิ่ง จำหน่ายอุปกรณ์ตกปลา & เหยื่อตกปลาทุกชนิด อยู่บางขุนเทียนชายทะเล

โฆษณาชุด “โฆษณาร้านค้าให้ฟรี จากสินเชื่อมณีทันใจ” มีผู้เข้าชมผ่านทาง YouTube มากกว่า 7.6 แสนครั้ง และธนาคารไทยพาณิชย์ยังส่งโฆษณาประชาสัมพันธ์แคมเปญขึ้นป้ายบิลบอร์ดดิจิทัลนอกบ้าน (DOOH) รวมถึงป้าย ณ จุดขายใน 7-Eleven ทั่วประเทศด้วย

จากการประชาสัมพันธ์แคมเปญทั้งหมด ทำให้ได้รับผลตอบรับที่ดี มีร้านค้าฝากร้านเข้ามาสมัครรับสิทธิโปรโมตฟรีกับทางธนาคารฯ เป็นจำนวนมาก ซึ่งทางธนาคารไทยพาณิชย์หวังว่าจะได้เป็นกำลังใจ ส่งแรงสนับสนุนให้กับพ่อค้าแม่ค้าทุกคน

ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ยังมีโซลูชันด้านการเงินที่สามารถช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยได้ คือ ผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อมณีทันใจ เพื่อธุรกิจ” ตอบโจทย์เรื่องการเป็นผู้ให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อย เพียงมีบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ และรับชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ของธนาคารอย่างน้อย 1 ช่องทาง เช่น รับเงินโอนจากลูกค้าผ่านพร้อมเพย์ หรือโอนเข้าบัญชีของธนาคารไทยพาณิชย์ รวมเดือนละ 25,000 บาท ต่อเนื่องทุกเดือนในรอบ 3 เดือนล่าสุด ไม่ต้องส่งเอกสาร ไม่ต้องใช้บุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน ก็สามารถกดขอสินเชื่อมณีทันใจ ผ่านแอป SCB EASY รู้ผลอนุมัติไวสุดใน 5 นาที ขอสินเชื่อได้ตั้งแต่ 10,000 – 500,000 บาท ผ่อนสบายนานสูงสุด 60 เดือน

สมัครผ่านแอป SCB EASY คลิก https://link.scb/2G5PRAr
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://link.scb/33FQ2hK
**เงื่อนไขการอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด**

]]>
1449300
SCB Protect ลุยตลาดภูมิภาค เริ่มต้นที่เชียงใหม่ มองระยะยาวรายได้ต่างจังหวัดจะแซงกรุงเทพฯ ได้ https://positioningmag.com/1431151 Mon, 22 May 2023 11:07:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1431151 SCB Protect ประกาศแผนธุรกิจในปี 2023 นี้ โดยเน้นจุดหลักคือบริการไร้รอยต่อ มีช่องทางขายทั้ง Telesales ไปจนถึงช่องทางออนไลน์ ขณะเดียวกันก็ได้รุกตลาดตามภูมิภาค โดยมองโอกาสในอนาคตรายได้จากต่างจังหวัดจะมากกว่ากรุงเทพฯ

ปรมาศิริ มโนลม้าย รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจประกัน ธนาคารไทยพาณิชย์ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด (SCB Protect) ได้กล่าวถึงการดำเนินงานของบริษัทว่า SCB Protect ได้เริ่มธุรกิจในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด เริ่มขายกรมธรรม์ประกันประเภทต่างๆ รวมถึงประกันชีวิตด้วย

อย่างไรก็ดีในปี 2021 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ไม่เปิดให้ขอใบอนุญาตได้ ซึ่ง คปภ. ได้เปิดให้ขอใบอนุญาตอีกครั้งในปี 2022 โดยถือว่าเป็นปีแรกที่ดำเนินการธุรกิจ และมีการขยายธุรกิจเป็นอย่างที่น่าพอใจ 

ในปีที่ผ่านมา SCB Protect มีเบี้ยรับรวม 1,700 ล้านบาท ขณะที่รายได้รวมอยู่ที่ 800 ล้านบาท และฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่า 1.8 แสนราย โดยมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 77% เบี้ยรับรวมเพิ่มขึ้น 145% รายได้รวมเพิ่มขึ้น 139% ผู้บริหารสูงสุดของ SCB Protect ยังได้กล่าวว่าตอนนี้บริษัทมีกำไรแล้วด้วย

เน้น 3 กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย

ปรมาศิริ ได้กล่าวถึงกลยุทธ์ในการรุกหาลูกค้ารายใหม่ว่าตอนนี้เน้นทีมขายแบบเจอหน้า (Face to face) ซึ่งเธอมองเห็นโอกาสในต่างจังหวัด แม้ว่าการทำงานช่วงโควิดจะทำให้เห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปก็ตาม ทำให้บริษัทตั้ง SCB Protect Online ด้วย การเข้าถึงลูกค้าอีกทางคือช่องทางออนไลน์ มีเปรียบเทียบกรมธรรม์ สามารถดูได้จากต้นจนซื้อกรมธรรม์จนจบ

แต่จุดแข็งที่มีคือการติดต่อลูกค้าผ่านพนักงาน Telesales และมีบริการสนับสนุนผ่าน Teleservices เช่น ลูกค้าคนไหนกดเข้าไปดูกรมธรรม์แล้วสนใจ ก็จะมีทีมงานติดต่อเข้าไป และในตอนนี้บริษัทกำลังเทรนให้พนักงานสามารถออกไปขายประกันด้านนอกได้

ผู้บริหารสูงสุดของ SCB Protect ยังได้ชูกลยุทธ์สำคัญในปีนี้ได้แก่

1.Omni Channel บริการไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะเป็นผ่านเว็บไซต์ หรือบริการการขายแบบเจอหน้า รวมถึงมีบริการ Call Center

2.นำ AI มาวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เช่น การนำเสนอโปรโมชัน หรือแม้แต่การใช้ช่องทางที่ติดต่อลูกค้าแบบเหมาะสม ไปจนถึงค่าเบี้ยที่เหมาะสมกับแต่ละคน

3.ขยายเครือข่ายสู่ภูมิภาค โดยบริษัทได้เตรียมขยายธุรกิจไปสู่ภูมิภาค เน้นการใช้คนในท้องที่ เพื่อที่จะเสนอกรมธรรม์ให้กับลูกค้าได้ดี

พนักงานของ SCB Protect ที่จังหวัดเชียงใหม่

เปิดศูนย์กลางการดำเนินงานประจำภูมิภาคแห่งแรกที่เชียงใหม่

ผู้บริหารสูงสุดของ SCB Protect ได้กล่าวถึงการเปิดศูนย์กลางการดำเนินงานประจำภูมิภาค โดยเลือกที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นแห่งแรก เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ รวมถึงภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวกลับมา ส่งผลทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดกลับมา นอกจากนี้ภาคเหนือซึ่งรวมถึงจังหวัดเชียงใหม่ยังมีแรงงานคืนถิ่นที่สูงมาก

ขณะเดียวกันจังหวัดเชียงใหม่ยังมีสาขาของ SCB พร้อมเปลี่ยนเป็นสำนักงานของ SCB Protect ทำให้มาเปิดสาขาที่นี่ก่อนเป็นที่แรก ซึ่งในช่วงการเปิดสำนักงานเพื่อให้ผู้ที่สนใจในตำแหน่งงานนั้นมีคนมาสมัครมากถึง 100 ตำแหน่ง ทำให้สร้างความมั่นใจในการเปิดสำนักงานที่นี่

การรุกศูนย์กลางการดำเนินงานประจำภูมิภาคของ SCB Protect ได้รุกตลาดประกันภัยกลุ่ม ประกันพื้นฐานความคุ้มครองสำหรับความเสี่ยงในการใช้ชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นได้บ่อยสำหรับทุกวัย โดยสามารถทำได้ทั้งพนักงานองค์กร สมาชิกในองค์กรและครอบครัวของคนในองค์กร และอาชีพอิสระสามารถมีประกันปกป้องได้ ซึ่งราคาเริ่มต้นปีละ 225 บาท 

หลังจากการเปิดศูนย์กลางการดำเนินงานประจำภูมิภาคที่เชียงใหม่แล้ว เป้าหมายต่อไปของ SCB Protect คือขอนแก่น ล่าสุดบริษัทได้เปิดรับพนักงานมากถึง 300 ตำแหน่ง หลังจากนี้เธอได้เปรยว่าอาจขยายไปยังภาคใต้หรือไม่ก็ภาคตะวันออก

ปรมาศิริยังมองตลาดประกันนั้นน่าจะโตดีกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคพยายามเริ่มมองหาประกันมากขึ้น ตั้งแต่วัยรุ่นที่เริ่มทำงานนั้นเริ่มหาประกันคุ้มครองบ้างแล้ว เธอได้ยกตัวอย่างง่ายสุดคือประกันเดินทางกลายเป็นกลุ่มวัยรุ่นได้ซื้อมากขึ้นและยังมองว่าเห็นความสำคัญ ขณะเดียวกันเธอก็มองว่าอัตราการทำประกันของคนไทยยังต่ำ ซึ่งยังเป็นโอกาสของบริษัทอีกด้วย

นอกจากนี้เธอมองว่าลูกค้าไม่ควรทำประกันเกินค่าเบี้ย ทำเท่าที่ความสามารถของแต่ละคนที่สามารถจ่ายได้ และเธอได้แนะนำว่าฝ่ายขายว่าไม่ควรขายประกันจนลูกค้าไม่สามารถจ่ายเบี้ยได้ 

ปัจจุบัน SCB Protect มีรายได้จากภูมิภาคตอนนี้ 10-20% ปีหน้าจะอยู่ที่ราวๆ 30% หลังจากนี้ 3 ปีผ่านไปสัดส่วนกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัดจะอยู่ที่ 40% และ 60% ตามลำดับ โดยปี 2023 นี้บริษัทคาดหวังรายได้รวมจะเติบโตมากถึง 1,600-1,700 ล้านบาท

]]>
1431151
Welcome to กรุงเทพมหานคร Shopping Festival https://positioningmag.com/1391488 Fri, 08 Jul 2022 04:00:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391488

ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรี่ยม และ ดิ เอ็มควอเทียร์ มอบความพิเศษทุกการช้อปปิ้ง ด้วยแคมเปญ “Welcome to กรุงเทพมหานคร Shopping Festival” พร้อมอัดโปรแรงสุดคุ้มและของรางวัลรวมมูลค่ากว่า 21 ล้านบาท เอาใจนักช้อปชาวไทยและชาวต่างชาติ ตั้งแต่วันนี้ – 31 กรกฎาคม 2565 ที่ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรี่ยม ดิ เอ็มควอเทียร์

· ช้อปในศูนย์ฯ ครบ 20,000 บาท รับบัตรกำนัลศูนย์ฯ มูลค่า 2,000 บาท พร้อมรับบัตรกำนัลศูนย์ฯ เพิ่ม มูลค่า 500 บาท เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต AEON ช้อปครบ 100,000 บาท เลือกรับของรางวัลพิเศษมากมาย AEON

· Top Spender สุดยอดนักช้อป ที่มียอดใช้จ่ายสูงสุดในช่วงตลอดแคมเปญ รับคอนโดมิเนียม SUPALAI ORIENTAL SUKHUMVIT 39 มูลค่า 6.94 ล้านบาท

พิเศษ BLACK KOOK KOOK KOO : ลด จริง ไม่หลอก ทุกวันพฤหัส – ศุกร์ – เสาร์ – อาทิตย์ เลือกช้อปตามสไตล์ พร้อมรับความคุ้มค่าแบบจุใจ ได้แก่

· ช้อปบิลเล็ก GET หนักมาก : ช้อปครบ 10,000 บาท สามารถเลือกรับ บัตรกำนัลศูนย์ฯ มูลค่า 1,000 บาททันที หรือ รับสิทธิ์ช้อปครบ 5,000 บาท ในบิลถัดไป (เฉพาะร้านค้าแฟชั่น) รับบัตรกำนัลศูนย์ฯ มูลค่า 5,000 บาท

· ช้อปแหลก บิลเดียว สมาชิกบัตรเครดิต SCB และ SCB M VISA ช้อปครบ 20,000 บาท / เซลล์สลิป รับบัตรกำนัลศูนย์ฯ อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 4,000 บาท

· พิเศษ!! สำหรับกลุ่มร้านค้าไฮสตรีทแฟชั่น ช้อปครบ 2,000 บาท / ใบเสร็จ รับบัตรกำนัลศูนย์ฯ มูลค่า 500 บาท (เฉพาะร้านค้าที่ร่วมรายการ)

เอาใจนักช้อปสายนักชิม เมื่อรับประทานอาหารภายในศูนย์การค้าครบตามเงื่อนไข รับบัตรกำนัลรับประทานอาหารสูงสุด 500 บาท จากร้านอาหารที่ร่วมรายการ พิเศษสำหรับลูกค้าบัตรเครดิต TTB รับเพิ่มเป็น 900 บาท ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 กรกฎาคม 2565 ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรี่ยม และ ดิ เอ็มควอเทียร์ ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ Line@EMDISTRICT

]]>
1391488
ส่องกลยุทธ์ลงทุนปี 2022 กับธีมธุรกิจแห่งอนาคต จากมุมมอง SCB CIO https://positioningmag.com/1367990 Tue, 21 Dec 2021 08:47:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1367990 ส่องแนวโน้มเศรษฐกิจและการลงทุนปีหน้า ผลกระทบโควิด “ลดลงแต่ยังไม่หายไป” SCB CIO แนะลงทุนกลุ่มประเทศและธุรกิจที่มีภูมิคุ้มกันสูง เช่น หุ้นสหรัฐฯ ยุโรป โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม quality growth มุ่งเน้น 2 ธีมหลัก Super Investment เเละ Futuristic Investment ส่วนตลาดหุ้นเวียดนามยังเป็น top pick ในอาเซียน มองหุ้นไทยเป็น neutral

โดยมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจและการลงทุนในปี 2022 ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส SCB CIO ได้ประเมินผ่าน 4 ประเด็นหลัก ดังนี้

โควิด-19 จะอยู่กับเราไปอีกนาน

ผลกระทบแม้จะมีแนวโน้มลดลงแต่ยังไม่หายไป ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจแต่ละประเทศ เริ่มมีความแตกต่างน้อยลง โดยเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วหลังจากฟื้นตัวในปี 2021 จะเริ่มชะลอลงในปี 2022 ในขณะที่เศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาเริ่มกลับมาฟื้นตัว

“เเต่การฟื้นตัวของภาคธุรกิจยังมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่ยังได้รับผลกระทบจากมาตรการข้อจำกัดต่างๆ เช่น การเดินทางระหว่างประเทศ” 

นโยบายการเงินการคลัง เริ่มตึงตัวขึ้นแบบ ‘ค่อยเป็นค่อยไป’ 

ธนาคารกลางสหรัฐฯ น่าจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้งในปี 2022 โดยทยอยขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี แต่จะมีการสื่อสารให้ตลาดรับทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะทำให้ความผันผวนในตลาดการเงินโลกแม้จะเกิดขึ้นในช่วงสั้น แต่น่าจะอยู่ในระดับที่จัดการได้

“ธนาคารแห่งประเทศไทย น่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับ 0.5% ต่อไปอีก 1 ปี เพื่อประคับประคองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ” 

ส่วนนโยบายการคลังในประเทศพัฒนาแล้ว จะเริ่มเห็นการออกนโยบายเพิ่มรายได้ภาครัฐมากขึ้น เช่น การขึ้นภาษี แต่อาจจะไม่มากพอที่จะชดเชยการขาดดุลขนาดใหญ่ในช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้หนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับสูง

Photo : Shutterstock

ต้นทุนทางการเงินเริ่มสูงขึ้น ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่มาพร้อมความผันผวน

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรโดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่น่าจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามการขยับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 ตามการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศและดุลบัญชีเดินสะพัด

“SCB CIO คาดว่าค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐจะอยู่ในช่วง 32-33 ในปลายปี 2022 แต่จากการปรับนโยบายการเงินในประเทศต่างๆ และความไม่แน่นอนของการกลายพันธุ์ COVID-19 ค่าเงินบาทจะมีความผันผวนสูงของ ดังนั้นการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (FX hedging strategy) จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ”

เเนะเน้นทุนในหุ้น มากกว่าพันธบัตร

โดยเน้นไปที่กลุ่มประเทศและธุรกิจที่มีภูมิคุ้มกันสูงและเติบโตได้ดีในสภาวะที่ผลกระทบของโควิด-19 ยังไม่หายไป และการขยับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น หุ้นสหรัฐฯ และยุโรป โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม quality growth ตลาดหุ้นเวียดนามยังเป็น top pickในตลาดหุ้น ASEAN แม้ valuation เริ่มมีการขยับขึ้นก็ตาม แต่ในระยะข้างหน้าเราเชื่อว่าเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดจะเบียนจะมีการฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจากภาคส่งออก

SCB CIO คงมุมมองตลาดหุ้นไทยเป็น neutral จาก valuation ที่ตึงตัวกว่าตลาดหุ้นเวียดนาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่น่าจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 เพื่อป้องกันความเสี่ยงของเงินเฟ้อสูงยืดเยื้อกว่าคาด

“ในพอร์ตการลงทุนควรพิจารณา น้ำมัน หุ้นกลุ่ม financial และ consumer ส่วนทองคำน่าจะได้รับผลกระทบจากการปรับนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ” 

ลงทุนตาม ‘เมกะเทรนด์’ ในอนาคต 

จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันน้อยลง จะทำให้มีการลงทุนใน Thematic investment funds ในอุตสาหกรรมและบริษัทที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งและธุรกิจเฉพาะทางมากขึ้น รวมทั้งธุรกิจที่สามารถเกาะกระแสการเติบโตของเมกะเทรนด์ในอนาคตได้ จะมีบทบาทและความน่าสนใจมากขึ้นในการจัด Global asset allocation portfolio โดยในปี 2022 SCB CIO แนะลงทุนใน 2 ธีมการลงทุนหลัก ได้เเก่

Super Investment Theme

สำหรับ Super Investment Theme เป็นธีมการลงทุนอุตสาหกรรมระยะยาวที่เติบโตต่อเนื่อง มี 3 ธีมย่อยสำหรับการลงทุนที่มีความน่าสนใจ คือ

  • กลุ่ม Renewable Energy & Decarbonization เช่น ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน รถยนต์ไฟฟ้า และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการพลังงานและการลดการปล่อยคาร์บอน
  • กลุ่ม Healthcare and Healthtech โดยเฉพาะกลุ่ม Medical Technology เช่น อุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ จากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั่วโลก
  • กลุ่ม Fintech เทคโนโลยีทางการเงินที่เกาะกระแสการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชนที่เปิดโอกาสการลงทุนในบริษัทที่มีความหลากหลายในการให้บริการทางการเงิน

Futuristic Investment Theme

ธีมการลงทุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีศักยภาพเติบโตสูง มี 3 ธีมย่อยที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ได้แก่

  • Aerospace & Space Exploration จากแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจด้านอวกาศและการบิน การท่องเที่ยวอวกาศ รวมถึงเทคโนโลยีจรวด โดรน ดาวเทียม การวัดและพยากรณ์สภาพภูมิอากาศ และระบบโทรคมนาคมขั้นสูง
  • Metaverse การลงทุนในวิวัฒนาการขั้นต่อไปของอินเทอร์เน็ตในเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ซึ่งสามารถสร้างโอกาสการเติบโตที่หลากหลายไม่จำกัดเฉพาะธุรกิจโซเชียลมีเดีย แต่รวมถึงโอกาสในธุรกิจที่เกี่ยวกับวิดีโอเกมและสันทนาการ อีคอมเมิร์ซ อุตสาหกรรมการผลิต

ถ้าเป็นความเสี่ยงปานกลาง ควรจะมีสัดส่วนในหุ้นประมาณ 60-65% โดยให้น้ำหนักหุ้นมากกว่าตราสารหนี้ ส่วนการถือเงินสด ควรจะถือประมาณ 5-7% ก็พอ เอาไว้เก็บหุ้นเพิ่มตอนที่ปรับฐาน เเละให้น้ำหนักหุ้นต่างประเทศมากกว่าหุ้นไทย โดย 4 ใน 5 ของพอร์ตให้เน้นหุ้นเป็นหุ้นตลาดต่างประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว เน้นสหรัฐฯ ยุโรป จีน และเวียดนาม ที่เป็นตลาดเกิดใหม่ โดยหุ้นขนาดกลางเเละขนาดเล็ก มีเเนวโน้มจะสร้างผลตอบเเทนได้ดี

 

]]>
1367990
ธนาคารไทยพาณิชย์รวมใจฝ่าวิกฤติโควิด-19 ภูมิใจที่ได้ดูแลคนไทยกว่า 2 แสนคนให้เข้าถึงวัคซีน ปลอดภัยจากโควิด-19 https://positioningmag.com/1365792 Wed, 08 Dec 2021 01:00:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365792

ธนาคารไทยพาณิชย์ภูมิใจที่ทำให้คนไทยมีความสุข ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมใจฝ่าวิกฤติ ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้ประเทศไทย ผ่านหน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ภายใต้โครงการ “ไทย ร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย” ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มโดยกรุงเทพมหานครและหอการค้าไทยในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนออกมาฉีดวัคซีนกันเป็นจำนวนมาก โดยธนาคารฯ ได้ทีมงานบุคลากรทางการแพทย์ที่เข้มแข็งจากโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ในกลุ่มกรุงเทพดุสิตเวชการ ทำให้สามารถดูแลผู้มารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้จำนวนมากถึง 201,300 คน ด้วยความสะดวก รวดเร็ว ภายใต้มาตรการความปลอดภัยขั้นสูงสุด ตลอดระยะเวลากว่า 7 เดือน รวม 84 วัน ตั้งแต่วันที่เปิดจนถึงวันสุดท้ายที่ให้บริการที่หน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยความร่วมแรง ร่วมใจของบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ในเครือกรุงเทพดุสิตเวชการกว่า 240 คน และการรวมพลังครั้งประวัติศาสตร์ของพนักงานจิตอาสา “SCB ชวนกันทำดี” จำนวน 368 คน พนักงานรักษาความปลอดภัยและแม่บ้านของธนาคารฯ กว่า 50 คน ที่สลับกันมาปฏิบัติหน้าที่ร่วมผลักดันวาระแห่งชาติในครั้งนี้

นางอภิพันธ์ เจริญอนุสรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

“ในช่วงเวลาที่วิกฤติที่สุดจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของประชาชน การเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนเพื่อยับยั้งการแพร่กระจายและความรุนแรงของโรค นับเป็นภารกิจเร่งด่วนและเป็นวาระแห่งชาติที่ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ร่วมกับกรุงเทพมหานคร หอการค้าไทย และโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ในเครือกรุงเทพดุสิตเวชการ เป็น 1 ใน 25 องค์กรภาคเอกชนเข้าร่วมภารกิจในครั้งนี้ โดยทุกคนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันในการให้บริการอย่างดีที่สุดเพื่อให้คนไทยเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 โดยเร็วที่สุด ซึ่งธนาคารฯ มีความพร้อมทั้งในด้านสถานที่ที่กว้างขวาง บุคลากร และเป็นจุดที่ประชาชนสามารถเดินทางมาได้โดยง่าย แม้ว่าในเบื้องต้นจะมีความกังวลเนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่เราเปลี่ยนความกังวลเป็นแรงผลัก ยึดหลักว่า ทำแล้วต้องทำให้ดี เอาใจเขามาใส่ใจเรา บริหารจัดการหน่วยฉีดวัคซีนให้มีความรวดเร็ว ง่าย และสะดวกสบาย โดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดทั้งต่อผู้ให้บริการ ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ และจิตอาสาที่ปฏิบัติงานภายในหน่วยฯ รวมถึงผู้ที่มารับบริการฉีดวัคซีนที่หน่วยฉีดวัคซีนทุกคน

นับเป็นความภาคภูมิใจของพวกเราชาวไทยพาณิชย์ทุกคนที่ได้มีโอกาสดูแลคนไทยให้ได้มีโอกาสเข้าถึงวัคซีน ห่างไกลความเสี่ยงจากโควิด -19 เพื่อผลักดันวาระแห่งชาติในครั้งนี้ให้ประสบความสำเร็จ ด้วยความทุ่มเทของแพทย์ พยาบาลโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ในเครือกรุงเทพดุสิตเวชการกว่า 240 คน พนักงานจิตอาสา “SCB ชวนกันทำดี” 368 คน ที่เรียกได้ว่าทำด้วยหัวใจของความเป็นจิตอาสาโดยแท้จริง ในการร่วมแรง ร่วมใจกันทำกิจกรรมเพื่อสังคมจำนวนมากที่สุดครั้งหนึ่งของธนาคารฯ รวมถึงพนักงานรักษาความปลอดภัยและแม่บ้านของธนาคารฯ อีกกว่า 50 คน ที่สลับกันมาปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาที่เปิดให้บริการจนถึงวันสุดท้ายของการให้บริการที่หน่วยความร่วมมือฯ นี้ รวมระยะเวลา 84 วัน ในช่วงกว่า 7 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ที่มารับบริการฉีดวัคซีนทั้งที่เป็นผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยติดเตียง และบุคคลทั่วไปที่มีอายุ 18-59 ปี รวมจำนวน 201,300 คน ด้วยมาตรฐานการให้บริการและความปลอดภัยขั้นสูงสุดทั้งต่อผู้ที่มารับบริการและผู้ให้บริการ”

จิตอาสานับเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้หน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาลที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ประสบความสำเร็จและสร้างความประทับใจให้แก่ผู้มารับบริการ และถือเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่สำคัญของธนาคารไทยพาณิชย์ในการส่งเสริมให้พนักงานมีจิตสาธารณะ เพื่อร่วมสร้างสังคมที่ดี ภายใต้ชื่อ “SCB ชวนกันทำดี” และนี่คือส่วนหนึ่งของพนักงานจิตอาสาที่ได้มีส่วนร่วมในการให้บริการแก่ผู้ที่มาฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ซึ่งทุกคนล้วนภูมิใจที่ได้ทำให้คนไทยมีความสุข ปลอดภัยจากโควิด-19

นางสาวปสุตา พิชยชานนท์ เจ้าหน้าที่กลยุทธ์การตลาดธุรกิจแลกเปลี่ยน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนเล็ก ๆ ในการเป็นจิตอาสาที่หน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนในครั้งนี้ ได้เห็นภาพความร่วมมือ ร่วมใจของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ภารกิจการระดมฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุดให้กับประชาชนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่สำเร็จโดยเร็ว ในแต่ละวันมีผู้มารับบริการฉีดวัคซีนหลายพันคน แม้ว่าจะเหนื่อย แต่เมื่อได้เห็นรอยยิ้มและคำขอบคุณของผู้ที่มารับบริการ ทำให้มีความสุขในทุกวันที่ได้มาเป็นจิตอาสา รู้สึกภาคภูมิใจมากที่ได้เป็นพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ องค์กรที่มีวัฒนธรรมของการเป็นจิตอาสา ธนาคารฯ ตระหนักและให้ความสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมในหลาย ๆ ด้าน อีกทั้งยังสร้างทัศนคติที่ดีแก่พนักงานให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งเหล่านี้จะอยู่ในความทรงจำตลอดไป”

นายพิชิตพล ลีฬหารัตน์ เจ้าหน้าที่ Strategic Planning & Management Report ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

“หลังจากที่ทราบว่าธนาคารฯ จะเปิดเป็นหน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาล สิ่งแรกที่คิด คือ อยากมาช่วย เลยลงสมัครเป็นจิตอาสา ช่วงแรก ๆ มีคำถามในใจทุกวัน ว่าเราต้องเจอคนจำนวนมาก จะปลอดภัยหรือไม่ เนื่องจากในช่วงนั้นมีการระบาดของโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่นึกถึงคำสอนของคุณพ่อ ท่านเคยพูดไว้ว่า ถ้าคนอื่นทำได้ ตัวเราก็ต้องทำได้ ผลจะสำเร็จหรือไม่ อยู่ที่ว่าเราได้ลองหรือพยายามทำหรือยัง ความกลัว ความวิตกกังวลเป็นเพียงอุปสรรค อยู่ที่ว่าเราจะจัดการได้อย่างไร นอกจากนี้ยังเชื่อมั่นในผู้บริหารระดับสูงของธนาคารฯ ซึ่งมีหลายท่านที่มาร่วมเป็นจิตอาสาในครั้งนี้ด้วย รวมทั้งธนาคารฯ เองได้จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกัน และอุปกรณ์ทำความสะอาด มีการตรวจ ATK เป็นประจำ จิตอาสาทุกคนก็จะระมัดระวังและป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี เพื่อส่งมอบความปลอดภัยให้กับผู้ที่มารับบริการ ให้ผู้ที่มารับบริการเดินออกจากหน่วยฉีดวัคซีนของธนาคารฯ ด้วยรอยยิ้มและความสุขใจ รู้สึกดีใจและภูมิใจที่ได้ร่วมเป็นจิตอาสาในครั้งนี้”

นายดาวยศ บุตรศรี เลขานุการผู้บริหาร กลุ่มงานปฏิบัติการ กลุ่มงาน Information and Operations ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

“ในยามวิกฤติทำให้เราเห็นถึงน้ำใจคนไทยที่ได้ร่วมแรง ร่วมใจกัน คนละไม้คนละมือ ครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งวิกฤติที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด การได้รับวัคซีนโดยเร็วที่สุดจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี รู้สึกปลื้มใจและอิ่มเอมใจที่ได้มาเป็นจิตอาสาในครั้งนี้ ช่วยดูแลพระภิกษุ ผู้สูงอายุ คนพิการ คนที่ตั้งครรภ์ คนที่ใช้รถเข็น รวมถึงผู้ป่วยติดเตียง ตลอดเวลาคิดเสมอว่าคนที่มารับบริการคือคนในครอบครัว มีการแจ้งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ที่มารับบริการคลายความกังวลและได้รับความสะดวก เมื่อเห็นผู้ที่มารับบริการมีรอยยิ้มและความสุข เราก็มีความสุข หายเหนื่อย เป็นความสุขที่ได้ทำเพื่อคนอื่น อิ่มใจในทุก ๆ วันที่ได้มาเป็นจิตอาสา นอกจากนี้ยังได้มิตรภาพที่ดีจากเพื่อน ๆ จิตอาสาที่มาร่วมปฏิบัติงานในครั้งนี้”

ธนาคารไทยพาณิชย์ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการบรรเทาวิกฤติโควิด-19 เพื่อให้เศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของประชาชนกลับมาเป็นปกติได้โดยเร็ว ด้วยความห่วงใยจากธนาคารไทยพาณิชย์

]]>
1365792
โอกาสตลาดผันผวน เเนะสะสมหุ้นสหรัฐฯ-ยุโรป เน้นกลุ่ม Quality growth รับโลกฟื้นตัว https://positioningmag.com/1355586 Thu, 07 Oct 2021 13:23:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355586 SCB CIO เเนะนักลงทุนจับโอกาสตลาดผันผวน สะสมหุ้นสหรัฐฯ -ยุโรป รับตลาด DMs ฟื้นตัวได้ดีหลังวิกฤตโควิด เน้นกลุ่ม Quality growth หุ้นญี่ปุ่นน่าสนใจจากเเผนกระตุ้นจากรัฐบาลใหม่ ส่วนหุ้นจีนยังมีความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ของรัฐ โซนตลาดอาเซียน เวียดนามยังเด่นมีหวังฟื้นตัวได้ดี ส่วนหุ้นไทยยังติดลบมองเป็น slightly negative 

ในงานสัมมนา Business of the Future’ มีการวิเคราะห์เเนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ จังหวะลงทุนในช่วงตลาดผันผวน เเละโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจ พร้อมประเมินอนาคต 3 ธุรกิจโลกยุคใหม่ กับทิศทาง ESG การลงทุนเพื่ออนาคต โดยมีประเด็นสำคัญๆ ดังต่อไปนี้

ตลาด DMs ฟื้นก่อนใคร 

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ  ผู้อำนวยการอาวุโส Chief Investment Office ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคธุรกิจทั่วโลกว่า จะแตกต่างกันเเละจะนำไปสู่การทำนโยบายเศรษฐกิจทั้งทางด้านการเงินและการคลังที่แตกต่างกันด้วย

โดยการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ เริ่มมีความแตกต่างมากยิ่งขึ้น โดยประเทศในกลุ่ม Developed Markets (DMs) เช่น สหรัฐฯ และ อังกฤษ ที่เริ่มส่งสัญญาณถอนคันเร่งนโยบายการเงิน โดยชะลอการเข้าซื้อพันธบัตร (QE tapering) และขึ้นดอกเบี้ยนโยบายตามความพร้อมของเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ Emerging Markets ผ่านต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นและความผันผวนของกระแสเงินทุน (fund flows)

สำหรับนโยบายการคลังการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผ่านมา “มีต้นทุนสูง” สะท้อนจากหนี้สาธารณะที่สูงขึ้นค่อนข้างเร็วในหลายประเทศ และอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงที่แม้จะเป็นปัจจัยชั่วคราว แต่น่าจะใช้เวลาพอสมควรในการชะลอลง

อย่างไรก็ตาม คาดว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของประเทศในกลุ่ม DMs ในระยะข้างหน้าจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรแท้จริง (real yields) จะยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับในอดีต

“ดังนั้นผลกระทบต่อ valuation หุ้นกลุ่ม Quality growth อยู่ในระดับที่จัดการได้ และยังได้รับแรงหนุนจากกระแสแนวโน้มธุรกิจใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังวิกฤตโควิด”

ทั้งนี้ ความเสี่ยงหลักของหุ้นกลุ่ม  Quality growth คือ ผลกระทบจากการขึ้นภาษี และการเปลี่ยนแปลงของกฎเกณฑ์ภาครัฐ (Regulatory risks) แต่คาดว่าการขึ้นภาษีของภาครัฐ เช่น ในกรณีของสหรัฐฯ อาจทำได้ไม่มากเท่ากับที่ประกาศไว้ เนื่องจากการทำมาตรการโครงสร้างพื้นฐานอาจมีการลดขนาดให้เล็กลง

สำหรับหุ้นกลุ่มอื่นๆ SCB CIO เชื่อว่าการมีหุ้นในกลุ่ม Value ยังเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นการป้องกันความผันผวนในช่วงที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีการขยับขึ้นเร็ว

สะสมหุ้นกลุ่มสหรัฐฯ – ยุโรป เน้นจับกลุ่ม Quality growth 

ด้านจัดสรรการลงทุน SCB CIO ประเมินว่า กลุ่ม Developed markets  มีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ดี หรือ หดตัวน้อยในช่วงวิกฤต ทำให้มีการฟื้นตัวของกำไรและความสามารถในการทำกำไรในระยะข้างหน้าของบริษัทจดทะเบียนได้ดีกว่าตามไปด้วย

“ในช่วงที่ภาวะตลาดผันผวน นับเป็นโอกาสที่ดี ในการเข้าสะสมหุ้นกลุ่มสหรัฐฯ และยุโรป โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม  Quality growth ที่ยังมีผลประกอบการเติบโตอย่างต่อเนื่อง” 

นอกจากนี้ หุ้นญี่ปุ่น ก็มีความน่าสนใจ จากแนวโน้มการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ และราคาหุ้นไม่แพงเมื่อเทียบกับตลาด DMs อื่นๆ

ส่วนการลงทุนในจีน ยังคงมุมมองตลาดหุ้น A-Share ที่ neutral จากนโยบายมุ่งเน้นเติบโตจากภายในประเทศของจีน เช่น นโยบาย  dual circulation และ common prosperity และคงมุมมองตลาดหุ้นจีน H- Share ที่ slightly negative เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ของรัฐที่มีแนวโน้มยืดเยื้ออยู่ค่อนข้างมาก 

เวียดนามมีหวังฟื้นตัวได้ดี ส่วนหุ้นไทย slightly negative

สำหรับตลาดหุ้นอาเซียน เวียดนามยังคงน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจและผลประกอบการ จะชะลอลงในช่วงไตรมาส 3/2021 แต่ตลาดหุ้นได้สะท้อนการรับรู้ไปบ้างแล้ว โดยในระยะข้างหน้า น่าจะมีการฟื้นตัวได้ของภาคการส่งออกตามเศรษฐกิจโลก และความคืบหน้าในการนำเข้าและฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงต่อสายพันธุ์เดลตา ทำให้การเปิดเมืองและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยกลับมาได้  

“ส่วนตลาดหุ้นไทย มองเป็น slightly negative จากแนวโน้มการฟื้นตัวของกำไรที่เสี่ยงถูกปรับลดลง และความตึงตัวของ valuation เมื่อเทียบกับตลาดอาเซียนอื่น” 

โดยมองค่าเงินบาทในช่วงที่เหลือของปีที่ 33-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เเละให้น้ำหนักไปทาง 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ด้านราคาน้ำมัน ปรับมุมมองเป็น Neutral จากการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมัน ซึ่งได้อานิสงส์จากการเปิดเมือง และแนวโน้มการเดินทางระหว่างประเทศของประเทศพัฒนาแล้วดีขึ้น รวมถึงการหันมาใช้น้ำมันมากขึ้นทดแทนก๊าซธรรมชาติที่มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 

นอกจากนี้ ยังมีมุมมอง slightly negative สำหรับทองคำที่จะได้รับผลกระทบจาก QE tapering และอัตราผลตอบแทนของพันธบัตร (real yields) ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และสำหรับ Asian REITs ที่การปิดเมืองมีแนวโน้มยืดเยื้อกว่าที่คาดไว้    

หลังโควิด : 3 ธุรกิจรับโลกยุคใหม่

ด้านมุมมองต่อการลงทุนในกลุ่มธุรกิจ Transformation ปัจจุบันเห็นว่ามี 3 กลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจ ที่มาพร้อมการเติบโตของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

โดยศรชัย สุเนต์ตา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย SCB Chief Investment Office ให้ข้อมูลว่า 

ธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน (Fintech)

เทรนด์การลงทุนใน Fintech กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นทั่วโลก ทำให้กระแสการลงทุนในบริษัท Fintech ใน Centralized และ Decentralized Finance เติบโตอย่างรวดเร็ว

SCB CIO มองว่าการขยายตัวของกระแส Fintech ที่ครอบคลุมและต่อยอดออกไปในหลายอุตสาหกรรม และการมาถึงของ Decentralized Finance การขยายตัวของบริษัทแพลตฟอร์มระดับโลกเข้าสู่ธุรกิจการเงิน

“พฤติกรรมของผู้บริโภคหลังโควิด รวมถึงกฎระเบียบข้อบังคับที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จะทำให้รูปแบบธุรกิจการเงินเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากในอดีต และเปิดโอกาสการลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ Fintech และ Blockchain ได้อย่างมาก” 

ธุรกิจด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity)

การใช้งานอินเทอร์เน็ตและระบบออนไลน์เป็นไปอย่างแพร่หลายในทุกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทที่มีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่สำคัญ เช่น แบรนด์ ความสัมพันธ์กับลูกค้า นวัตกรรม และข้อมูลความลับทางการค้า ซึ่งผลกระทบด้านลบจากการถูกละเมิดและการโจมตีทางไซเบอร์จะส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของบริษัทโดยตรง

SCB CIO มองว่า การเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของบริษัทและองค์กรทั่วโลก เป็นอีกหนึ่งในโอกาสการลงทุนในบริษัทที่กำลังเติบโตและเป็นผู้นำด้านการรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยีไซเบอร์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสหรือมัลแวร์ (Anti-Virus/Anti-Malware) การยืนยันตัวตน (Authentication) และการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption)

ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน – รถยนต์ไฟฟ้า- การกักเก็บพลังงาน (Renewable Energy & EV & Energy Storage)

จากกระแสการลดภาวะโลกร้อนสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทนเครื่องยนต์สันดาป เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และนโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ทั่วโลก รวมถึงแนวทางการพัฒนาพลังงานทางเลือกและพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน แทนการใช้พลังงานจากน้ำมันและถ่านหิน ก่อให้เกิดการเติบโตในหลายอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนที่เกี่ยวเนื่อง

ทั้งในส่วนของการผลิตแบตเตอรี่ เซมิคอนดักเตอร์ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการผลิตและการกักเก็บพลังงงานหมุนเวียนไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ ฯลฯ ซึ่งสร้างโอกาสการลงทุนอย่างมากในมุมของห่วงโซ่การผลิตในธุรกิจ EV & Energy Storage โดยเฉพาะในบริษัทที่มีนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านพลังงาน

SCB CIO มองว่า นอกจากเทรนด์การลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนแล้ว เทรนด์ธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจ ได้แก่

ธุรกิจผู้ให้บริการเกี่ยวกับระบบกักเก็บพลังงานและแบตเตอรี่ (Energy Storage System Integrator: ESS) สำหรับการใช้พลังงานทางเลือกซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในหลายประเทศ เช่น การใช้งานแบตเตอรี่ร่วมกับพลังงานหมุนเวียน การใช้ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าเพื่อเพิ่มเสถียรภาพให้กับระบบสายส่ง เป็นต้น

โรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ (Battery Manufacturing) เพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจพลังงานให้เติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับเทรนด์การลงทุนในอนาคตที่รองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน โดยมุ่งหน้าสู่การลดการใช้ทรัพยากรและเป็นมิตรกับธรรมชาติ

(Photo : Shutterstock)

ESG การลงทุนเพื่ออนาคต

การลงทุนหุ้นในกลุ่ม ESG (Environmental, Social, and Governance) ที่คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เป็นอีกธีมการลงทุนยอดนิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งแกนในการพิจารณาคัดเลือกบริษัทที่เข้าลงทุนควบคู่ไปกับ 3 เทรนด์อุตสาหกรรมแห่งอนาคตข้างต้นได้เป็นอย่างดี

“ในช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะในตลาดหุ้น ผู้ลงทุนต้องเผชิญกับความผันผวนของตลาดหุ้นค่อนข้างมาก แต่ตามสถิติ หุ้นในกลุ่ม ESG ค่อนข้างจะเผชิญความผันผวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับหุ้นทั่วไปในตลาดและมีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วกว่าหลังจากผ่านพ้นช่วงตลาดปรับฐาน” 

SCB CIO มองว่า การลงทุนในบริษัทที่คำนึงถึงมาตรฐาน ESG เปรียบเสมือนการลงทุนในบริษัทที่ต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่เพื่อรักษามาตรฐานอยู่ตลอด สะท้อนการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและนักลงทุน และมีความเสี่ยงโดยรวมต่อประเด็นการผิดจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจค่อนข้างน้อย

การลงทุนที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG จึงมีแนวโน้มสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเกณฑ์อ้างอิงที่ใช้เปรียบเทียบผลตอบแทนของตลาดโดยรวมได้ และเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เม็ดเงินการลงทุนหุ้นในธีม ESG มีอัตราการเติบโตสูงต่อเนื่องทั้งในปัจจุบันและอนาคต

]]>
1355586
เปิดตัว ‘ALPHA X’ ยานลูกในเครือ SCBX จับตลาดลักชัวรี ทำลีสซิ่งเช่าซื้อ ‘รถหรู’ เรือยอทช์ ริเวอร์โบ๊ท https://positioningmag.com/1355493 Thu, 07 Oct 2021 09:25:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355493
เปิดตัว ‘ALPHA X’ ลีสซิ่งเช่าซื้อรถหรู บิ๊กไบค์ เรือยอทช์ และริเวอร์โบ๊ท จากค่ายไทยพาณิชย์เเละมิลเลนเนียม กรุ๊ป เห็นโอกาสตลาดยังเป็น Blue Ocean มีผู้เล่นน้อย ตั้งเป้าเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 300 ล้านบาท ใน 1 ปี 

ธนาคารไทยพาณิชย์ และกลุ่มธุรกิจ มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) หรือ เอ็มจีซี-เอเชีย บรรลุข้อตกลง และลงนามในสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง ‘บริษัท อัลฟา เอกซ์ จำกัด’ (ALPHA X Co., Ld.) เพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มพรีเมียม-ลักชัวรี โดยมีบริการต่างๆ เช่น สินเชื่อเช่าซื้อ (Hire Purchase) ลีสซิ่ง (Leasing) สินเชื่อรีไฟแนนซ์ (Refinance)

งานนี้ได้ ‘วศิน ไสยวรรณ’ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ มานั่งเเท่นเป็นซีอีโอของ ALPHA X นับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์เชิงรุกรูปเเบบใหม่ ตามแผนการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ของกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ ที่เพิ่งประกาศตั้ง SCBX ยานเเม่ใหม่ ปลดล็อกข้อจำกัดเเบงก์ เพื่อมารุกธุรกิจต่างๆ มุ่งสู่ฟินเทคเต็มรูปแบบ ไปเมื่อเร็วๆ นี้

วศิน บอกว่า ALPHA X เกิดขึ้นจากการรวมศักยภาพของไทยพาณิชย์ ในด้านนวัตกรรมทางการเงินและบริการทางการเงินครบวงจร เเละประสบการณ์ในการดูแลลูกค้ากลุ่มพรีเมียม-ลักชัวรี มาอย่างยาวนาน ทำให้เข้าใจไลฟ์สไตล์ของลูกค้ากลุ่มดังกล่าว กับประสบการณ์ของ มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) หนึ่งในผู้นำด้านธุรกิจค้าปลีกยานยนต์ครบวงจรของเมืองไทย รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้เกิดแนวทางในการให้บริการรูปแบบใหม่ ที่จะสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างให้แก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดในการใช้ศักยภาพทางด้านดิจิทัล (Digital Capabilities) มารองรับการดำเนินธุรกิจ ด้วยการนำเทคโนโลยี AI และระบบฐานข้อมูลแบบ Big Data รวมถึงความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และความเข้าใจในความต้องการของลูกค้า มาให้บริการจัดหา และแนะนำยานยนต์ให้ลูกค้าที่ต้องการได้จากทุกแบรนด์ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้า

โดยบริษัทจะเริ่มใช้ศักยภาพจากฐานลูกค้ากลุ่ม Affluent ของ SCB และ MGC-ASIA และจะขยายไปยังลูกค้าในกลุ่มพรีเมียม-ลักชัวรีเพิ่มขึ้นต่อไป

สำหรับ ALPHA X จะดำเนินธุรกิจบริการสินเชื่อเช่าซื้อ ลีสซิ่ง และสินเชื่อรีไฟแนนซ์ สำหรับยานยนต์กลุ่มพรีเมียม-ลักชัวรี ครอบคลุมรถยนต์ , บิ๊กไบค์ , เรือยอทช์ และริเวอร์โบ๊ท ซึ่งเป็นตลาด Blue Ocean ที่มีจำนวนผู้เล่นน้อยราย มีแนวทางการให้บริการที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งจะสามารถเริ่มให้บริการลูกค้าได้ภายในปี 2564

บริษัท อัลฟา เอกซ์ จำกัด มีแผนจะเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 300 ล้านบาท ภายใน 1 ปี โดยเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์ถือหุ้นในสัดส่วน 50% และเอ็มจีซี-เอเชีย ถือหุ้นในสัดส่วน 50% ของหุ้นทั้งหมดของบริษัท

]]>
1355493
การมาของยานเเม่ SCBX ปลดล็อกธนาคารร้อยปี Re-imagine เป็น ‘บริษัทเทค’ ยุคใหม่ https://positioningmag.com/1353082 Thu, 23 Sep 2021 13:17:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353082 ยานเเม่ SCBX สร้างเเรงกระเพื่อมให้วงการธุรกิจไทยไม่น้อย เมื่อธนาคารเก่าเเก่นับร้อยปีอย่างไทยพาณิชย์กำลังจะปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ พลิกภาพจำเก่าๆ ไปอย่างสิ้นเชิง

“SCB จะไม่เท่ากับธนาคารในความหมายเดิมอีกเป็นคำประกาศที่ทำให้หลายคนตื่นเต้นว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป เเม้ว่าการเเปลงสภาพมุ่งสู่การเป็นบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ ไม่ใช่เรื่องง่าย เเต่ถ้าไม่ทำตอนนี้ ก็อาจจะสายเกินไป

ขั้นเเรกต้องไม่จำกัดตัวเอง

อาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ เล่าว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคหลังวิกฤตโควิด รวมถึงกฎระเบียบข้อบังคับที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ทำให้รูปแบบการทำธุรกิจ (business model) ในแบบ intermediaries หรือการเป็นตัวกลางเก็บค่าธรรมเนียมของธนาคารแบบดั้งเดิมจะลดบทบาทลง

เนื่องจากจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังใหม่ของผู้บริโภคได้ ความสำคัญของธนาคารต่อผู้บริโภคจะลดลงตามไปด้วยส่งผลลบต่อการให้มูลค่าอนาคตของนักลงทุนต่อธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้น SCB จะต้องไม่จำกัดตัวเอง อยู่ที่การเป็นธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิมอีกต่อไป หากแต่ต้องใช้ความเข้มแข็งทางการเงินของธุรกิจธนาคารในปัจจุบันให้เป็นประโยชน์ เติบโตเเละอยู่รอดปลอดภัยในอีก 3-5 ปีข้างหน้านี้ เป็นการ Re-imagine จินตนาการใหม่ว่า 

“SCB จะไม่เท่ากับธนาคารในความหมายเดิมอีก แต่จะแปลงสภาพกลายเป็นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน ที่มีธุรกิจธนาคารที่แข็งแรงขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และจะขยายเข้าสู่ธุรกิจการเงินส่วนบุคคล ที่มีการเติบโตสูงที่ธนาคารไม่สามารถตอบสนองได้” 

นี่เป็นจุดสำคัญของการจัดตั้งบริษัทเเม่ขึ้นมาใหม่ในชื่อว่า SCBX (เอสซีบี เอกซ์) เพื่อเพิ่มความคล่องตัวเเละขยายธุรกิจเชิงรุกเข้าสู่ธุรกิจการเงินประเภทอื่นที่ตลาดต้องการ สร้างเเพลตฟอร์มเทคโลยีขนาดใหญ่ให้ทัดเทียมกับคู่แข่งระดับโลก

โดยวางเป้าหมายในอีก 5 ปีว่า SCBX จะมีฐานลูกค้ารวมกัน 200 ล้านคน ในระดับภูมิภาค เป็นบริษัทที่มีมาร์เก็ตเเคปเเตะ 1 ล้านล้านบาท (ปัจจุบันอยู่ที่ราว 3.7 เเสนล้านบาท)

การเเตกย่อยบริษัทไปยังธุรกิจต่างๆ ทั้งฟินเทค สตาร์ทอัพเเละสินทรัพย์ดิจิทัลของ SCB ครั้งนี้ ถือเป็นการปลดล็อก’ ข้อจำกัดและดำเนินกิจการภายใต้โครงสร้างของแบงก์ที่เเต่เดิมจะทำได้ไม่เต็มที่นัก

ทำความรู้จักยานเเม่’ SCBX

การที่ทีมงานได้เรียกว่ายานเเม่นั้น ทำให้คนทั่วไปเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น สื่อให้เห็นถึงการโอนย้ายธุรกิจต่างๆ ในเครือเข้ามาอยู่ภายใต้ SCBX 

ส่วนที่มาที่ชื่อ SCBX นั้น ซีอีโอของไทยพาณิชย์ บอกว่ามาจากเครื่องหมายยกกำลัง (x) ที่สื่อถึงการเติบโตเเบบยกกำลังเเละขยาย (expansion) ออกไปเรื่อยๆ ไม่ได้มีแค่ธนาคารเหมือนเเต่ก่อน

โดยโครงสร้างใหม่ที่จะขยายจากธุรกิจเเบงก์ เพิ่มขาธุรกิจเทคโนโลยี และการลงทุน เพื่อหารายได้อื่นนั้น แบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ

  • ธุรกิจ Cash Cow กลุ่มที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงเเต่อัตราการเติบโตต่ำอย่างธนาคารธุรกิจประกัน ฯลฯ
  • ธุรกิจ New Growth จับตลาด Blue ocean ของใหม่ที่มีโอกาสเติบโตได้สูงอย่างสินเชื่อดิจิทัลดาต้าสินค้าเเละบริการด้านเทคโนโลยีต่างๆ

สิ่งที่น่าจับตา คือการพัฒนากลุ่ม New Growth ที่ทาง SCB ได้เเตกไลน์เป็นบริษัทย่อยที่มีทีมบริหารเเยกออกจากกัน เเต่ยังประสานงานกันได้ดี เพราะส่วนใหญ่มักจะเป็นลูกหม้อที่ทำงานกับอยู่เเบงก์มานานหลายปี 

อย่าง ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ มือเก๋าของไทยพาณิชย์ ที่ตอนนี้ดูแล SCB 10X ก็จะเข้าไปดูเเล SCB-CP Group JV เเละสารัชต์ รัตนาภรณ์ ที่ทำงานกับ SCB มานานกว่า 20 ปี ก็จะมาดูแลบริษัทที่ตั้งใหม่อย่าง Card X ด้วย 

SCBX จะยังอยู่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (แต่ในส่วนของใบอนุญาตต่างๆ บริษัทในเครือจะเป็นผู้ขอใบอนุญาตในการดำเนินกิจการ) ซึ่งจะเข้าไปถือหุ้นใหญ่ในหลากหลายธุรกิจ ซึ่งตอนนี้มีอยู่ถึง 15 บริษัท เเละยังมีอีกหลายบริษัทที่กำลังจะเปิดตัว ยกตัวอย่างเช่น

Robinhood – เเพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีที่จะขยายไปเป็นซูเปอร์เเอปฯ

Alpha X – ธุรกิจปล่อยสินเชื่อสำหรับรถหรู ที่ร่วมมือกับ Millennium Group

Auto X – ธุรกิจปล่อยสินเชื่อลีซซิ่ง จับกลุ่มคนรายได้น้อยปานกลาง

Card X – ธุรกิจบัตรเครดิตที่จะโอนออกจากแบงก์

Data X – ธุรกิจข้อมูลดิจิทัล

Tech X – ธุรกิจเทคโนโลยี หาพันธมิตรเป็นบริษัทเทคระดับโลก

TokenX – ธุรกิจโทเคนดิจิทัลแบบครบวงจร

AISCB – ธุรกิจสินเชื่อดิจิทัล ร่วมมือกับโทรคมนาคมรายใหญ่อย่าง AIS

ในส่วนของสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น SCB จะขยายเข้าสู่ digital asset business ผ่าน SCB 10X และบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด หรือ SCBS โดยการร่วมลงทุนและเป็นพันธมิตรกองทุนระดับโลก และการพัฒนาธุรกิจ digital asset ด้านต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มในระยะยาว

โดยกลุ่มไทยพาณิชย์ เพิ่งจับมือกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP ร่วมกันก่อตั้งกองทุน Venture Capital ขนาด 600-800 ล้านเหรียญสหรัฐ (18,000-24,000 ล้านบาท) มุ่งเน้นการลงทุนใน Disruptive Technology ด้านบล็อกเชน สินทรัพย์ดิจิทัล เทคโนโลยีด้านการเงินและเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงทั่วโลก ซึ่ง SCB 10X ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เข้าร่วมบริหารจัดการกองทุนดังกล่าวนี้

เหล่านี้ ถือเป็นบ่อทองเเห่งใหม่ที่ SCB จะต้องขุดขึ้นมา เเละปลุกปั้นให้สำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ว่าบริษัทย่อยต่างๆ จะต้องสามารถเติบโตได้ตามตลาดยุคใหม่ และเข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์ได้ในที่สุด

ถอนหุ้น SCB ออกจากตลาดฯ เเทนด้วย SCBX

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ได้เเจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย (ตลท.) เตรียมเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 15 .. 2564 เพื่ออนุมัติขอ ‘Share Swap’ โอนย้ายผู้ถือหุ้น SCB ไปบริษัทเเม่อย่าง SCBX เเละนำ SCB ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจ

ในกรณีผ่านการอนุมัติเเล้ว SCBX จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของธนาคารไทยพาณิชย์จากผู้ถือหุ้น โดยการออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับหุ้นของ SCB ในอัตรา 1:1 ซึ่งคาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2565

โดยกระบวนการนี้ จะมีการโอนหุ้นที่ SCB ถือในบริษัทย่อยทั้งหลาย รวมทั้งธุรกิจบัตรเครดิตเเละสินเชื่อส่วนบุคคลไปให้ยานเเม่อย่าง SCBX

พร้อมได้เสนอให้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล เป็นกรณีพิเศษ มูลค่า 70,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้กว่า 70% จะถูกนำไปใช้ในเพื่อการถ่ายโอนธุรกิจ ตั้งบริษัทใหม่ และลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่วนอีก 30% จะเป็นเงินทุนหมุนเวียนเเละเก็บไว้จ่ายปันผลรอบปี 2565

ทั้งนี้ ธนาคารได้ดำเนินการแต่งตั้ง บล.เกียรตินาคินภัทร เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (IFA) เพื่อทำหน้าที่ให้ความเห็นแก่ผู้ถือหุ้นของธนาคาร โดยได้พิจารณากำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2564 ในวันที่ 6 ..64

ด้านกระเเสตอบรับในตลาดฯ วันเเรกหลังการเเถลงข่าว พบว่า (23 ..64) ราคาหุ้น SCB ปิดที่ 130.00 บาท เพิ่มขึ้น 20.50 บาท หรือ 18.72% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 20,295.52 ล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 1 ซึ่งระหว่างวันราคาปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 137.00 บาท และต่ำสุดที่ 124.50 บาท

“แบงก์ SCB ยังไม่หายไปไหน ยังคงเป็นธนาคารที่ให้บริการลูกค้าเหมือนเดิม โลโก้เดิม บริการต่างๆ ลูกค้าทำก็ยังคงใช้บริการได้ปกติ”

-ไทม์ไลน์การเพิกถอนหุ้น SCB เเละนำ SCBX เข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ฯแทน

ลูกค้า 200 ล้านคน ไม่ไกลเกินเอื้อม 

สรุปเป้าหมายสำคัญของไทยพาณิชย์ในปี 2568 ก็คือ การสร้างมูลค่าของบริษัทจากธุรกิจใหม่ ที่นอกเหนือจากผลกำไรพื้นฐานและความมั่นคงของธุรกิจธนาคารหลัก 

รวมไปถึงการสร้างฐานลูกค้าในระบบให้ได้ถึง 200 ล้านคน (ปัจจุบันอยู่ที่ 16 ล้านคน) และการเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก

เเน่ชัดว่าถ้าอยากได้ลูกค้าหลายร้อยล้านคน เเค่ในตลาดไทยคงไม่เพียงพอ จะต้องมีการขยายธุรกิจใหม่ออกสู่ต่างประเทศ ซึ่งช่วง 2-3 ปีนี้ ก็จะมีการขยับรุกไปยังกลุ่มประเทศในอาเซียน ที่มีเเนวโน้มการเติบโตสูง อย่างอินโดนีเซียเวียดนามเเละฟิลิปปินส์

เราจะไม่เน้นขยาย Commercial Bank ในต่างประเทศเเล้ว เเต่จะเน้นไปที่ธุรกิจการเงินดิจิทัล การลงทุนเเละเทคโนโลยีอื่นๆ มองการเติบโตทั้งเเบบกว้างเเละลึก

เป็นอีกภารกิจเชื่อมต่อ ecosystem ทั้งในและต่างประเทศที่ต้องรอดูว่าจะมีอะไรออกมาเซอร์ไพร์สกันอีกบ้าง

ความเคลื่อนไหวใหญ่ที่สร้างปรากฏการณ์ของธนาคารเก่าเเก่อายุ 116 ปีครั้งนี้ จึงไม่ใช่เเค่เป็นการขยายธุรกิจธรรมดาๆ เเต่เป็นการ Re-imagine สถาบันการเงิน พร้อมขึ้นยานรุ่นใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม

งานนี้ ฟากเเบงก์คู่เเข่งเจ้าอื่น คงไม่ยอมกันง่ายๆ ต้องเตรียมงัดสารพัดของเด็ด ออกมาสู้กันในสมรภูมิการเงินยุคใหม่เเบบดุเดือดยิ่งกว่าเดิมเเน่ๆ

 

]]>
1353082