SpaceX – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 26 Sep 2024 15:13:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “SpaceX” จ่อลงทุน 1.5 พันล้านเหรียญใน “เวียดนาม” เห็นโอกาสเปิดบริการ “Starlink” https://positioningmag.com/1491986 Thu, 26 Sep 2024 11:58:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1491986 “เวียดนาม” กลับมาสานต่อการเจรจากับ “SpaceX” ชวนลงทุนมูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4.87 หมื่นล้านบาท) เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียม “Starlink”

สำนักข่าว Reuters รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า จากการพูดคุยเพื่อชักชวนการลงทุนของ SpaceX ใน “เวียดนาม” ที่เริ่มต้นขึ้นช่วงปลายปี 2023 และมีการหยุดชะงักการเจรจาไป

ล่าสุดรัฐบาลเวียดนามเริ่มกลับมาพูดคุยกับบริษัทของ “อีลอน มัสก์” อีกครั้ง หลังจาก “โต เลิม” ประธานาธิบดีเวียดนาม มีโอกาสได้พบปะกับ “ทิม ฮิวจส์” รองประธานอาวุโสด้านรัฐกิจสัมพันธ์และธุรกิจสากลของบริษัท SpaceX ที่นิวยอร์ก

ทั้งนี้ รัฐบาลเวียดนามยังไม่ได้เปิดเผยว่า SpaceX สนใจจะลงทุนในภูมิภาคหรือจังหวัดใดของเวียดนาม หรือมีกำหนดการชัดเจนว่าจะตกลงในรายละเอียดกันเมื่อไหร่ รวมถึงทั้ง SpaceX และ กระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ยังไม่ให้ความเห็นตอบกลับทางสำนักข่าวอย่างเป็นทางการ

ความน่าสนใจของตลาดเวียดนามต่อ SpaceX คือ จำนวนประชากรที่เติบโตทะลุ 100 ล้านคน และชาวเวียดนามเป็นผู้ใช้งานโปรดักส์ของบริษัทเทคอเมริกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Meta หรือ Alphabet แต่ด้วยภูมิศาสตร์ของเวียดนามเป็นแนวยาวและมีภูเขากั้น อีกทั้งอุปกรณ์ไฟเบอร์ออพติกที่ใช้อยู่ขณะนี้ค่อนข้างจะเก่า จนทำให้เกิดปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่บ่อยครั้ง

นั่นทำให้การให้บริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียม Starlink ของบริษัทน่าจะเข้ามาตอบโจทย์ในส่วนนี้ได้ รวมถึงจะเป็นประโยชน์กับรัฐบาลเวียดนามในการสอดส่องดูแลชายฝั่งทะเลจีนใต้ตามเขตชายแดนทางทะเลของตนได้ดีขึ้นด้วย

ขณะที่ปัญหาที่ทำให้การเจรจาซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปลายปีก่อนต้องหยุดชะงักไป เป็นเพราะกฎหมายของเวียดนามไม่อนุญาตให้บริษัทหรือบุคคลต่างชาติถือหุ้นในบริษัทในเวียดนามเกินกึ่งหนึ่ง แต่ SpaceX ต้องการจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทที่จะตั้งในเวียดนามเพื่อมีสิทธิควบคุมบริษัทได้

ขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าปัญหาดังกล่าวได้คลี่คลายไปหรือยัง และหากคลี่คลายแล้วจะเป็นไปในทิศทางใด

นอกจากเรื่องกฎหมายการถือหุ้นของต่างชาติแล้ว อีกหนึ่งประเด็นที่รัฐบาลเวียดนามเรียกร้องคือ ดาต้าของบริษัท SpaceX จะต้องเก็บรักษาไว้ในประเทศ และจะต้องมีการควบคุมเข้มงวดว่าอะไรที่สามารถเผยแพร่ออนไลน์ได้บ้าง

Source

]]>
1491986
สารพัดปัญหาฉุดความมั่งคั่ง ‘อีลอน มัสก์’ ลดฮวบ 1.26 หมื่นล้านดอลลาร์ https://positioningmag.com/1428623 Wed, 26 Apr 2023 07:07:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1428623 อดีตมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลกอย่าง อีลอน มัสก์ (Elon Musk) กำลังเผชิญกับความวุ่นวายจากแทบธุรกิจของเขา ทั้ง SpaceX, Tesla และ Twitter ส่งผลให้ความมั่งคั่งของมัสก์ลดลงถึง 1.26 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ไม่ว่าจะเป็นข่าว การระเบิดของยานอวกาศ Starship , อัตรากำไรของเทสลาที่ลดลงเกือบ 20% เนื่องจาก Tesla ได้ปรับลดราคาสินค้ามาหลายครั้งจนส่งผลต่ออัตรากำไร และปัญหาของ Twitter ที่แสนจะวุ่นวาย ทั้งการที่ลูกค้าลงโฆษณาหดหาย และผู้ใช้งานทวิตเตอร์จำนวนมากยอมสูญเสียเครื่องหมาย Blue Tick เพราะเลือกที่ไม่จ่ายค่ายืนยันตัวตนจำนวน 8 ดอลลาร์ต่อเดือน

จากปัญหาทั้งหมดทั้งมวลทำให้มูลค่าความมั่งคั่งของอีลอน มัสก์ลดลง 1.26 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นการลดลงสูงที่สุดในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นที่ราคาหุ้นของเทสลาลดลง 9.8% สู่ระดับ 162.99 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่งผลต่อหุ้น 13% ที่มัสก์ถือครองไว้ คิดเป็นมูลค่า 1.63 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ตาม มัสก์ยังคงครองตำแหน่งเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ตามหลัง เบอร์นาร์ด อาร์โนลต์ มหาเศรษฐีชาวฝรั่งเศส เจ้าของอาณาจักร Louis Vuitton แต่แม้ว่ามูลค่าทรัพย์สินของมัสก์จะร่วงไปเยอะก็ตาม แต่ในความเป็นจริงก็ถือว่าไม่ได้มากอะไร

เพราะหากนับเฉพาะปีนี้ ความมั่งคั่งของมัสก์เพิ่มขึ้นถึง 2.68 หมื่นล้านดอลลาร์ เนื่องจากราคาหุ้นของเทสลาเคยพุ่งขึ้นสูงถึง 33% ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา

Source

]]>
1428623
แฮ็กได้ให้เลย! Starlink เชิญชวน “เจาะระบบ” หาบั๊ก ทำได้ให้เงินรางวัลสูงสุด 875,000 บาท https://positioningmag.com/1396618 Wed, 17 Aug 2022 09:33:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1396618 SpaceX เชิญชวนนักวิจัยให้ลอง “เจาะระบบ” เครือข่ายอินเทอร์เน็ตดาวเทียม Starlink เพื่อหาบั๊กหรือช่องโหว่ให้กับบริษัท หากทำได้รับเงินรางวัลสูงสุด 25,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 875,000 บาท) ที่ผ่านมามีแฮ็กเกอร์ทำได้แล้ว 32 คน

SpaceX ประกาศยินดีให้นักวิจัยที่มีความรับผิดชอบสามารถ “แฮ็ก” เข้ามาในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตดาวเทียม Starlink ของบริษัท ตามโปรแกรม “Starlink welcome security researchers (bring on the bugs)”

ประกาศครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจาก Lennert Wouters นักวิจัยด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ระบุเมื่อสัปดาห์ก่อนว่าตัวเขาสามารถแฮ็ก Starlink ได้โดยใช้เครื่องมือแบบประดิษฐ์เองราคาเพียง 25 เหรียญ (ประมาณ 875 บาท) SpaceX กล่าวแสดงความยินดีกับ Wouters ที่สามารถหาจุดอ่อนของระบบได้และแจ้งมาที่บริษัท

“เราพบว่าการโจมตีครั้งนี้ใช้เทคนิคที่น่าประทับใจ และเป็นประเภทการโจมตีที่เราเพิ่งเคยเจอครั้งแรกในระบบของเรา” SpaceX กล่าวในแถลงโปรแกรม พร้อมกับย้ำว่าผู้ใช้ Starlink ไม่ต้องกังวลกับการแฮ็กที่เกิดขึ้น และการแฮ็กไม่มีผลโดยตรงกับตัวดาวเทียม

A SpaceX Falcon 9 rocket lifts off from pad 40 at Cape Canaveral Space Force Station on January 24, 2021 in Cape Canaveral, Florida. The Transporter-1 mission is the first in a planned series of small satellite rideshare missions that will take 143 U.S. and international spacecraft, including 10 Starlink satellites, to low earth orbit, a record number of satellites on a single flight. (Photo by Paul Hennessy/NurPhoto via Getty Images)

ปกติวิศวกรของ SpaceX จะพยายามแฮ็ก Starlink กันตลอดเวลาอยู่แล้วเพื่อพัฒนาการบริการ และทำให้ระบบปลอดภัยยิ่งขึ้น แต่โปรแกรมนี้ทำให้บริษัทเปิดกว้างต่อนักวิจัยความปลอดภัยทุกคนให้เข้ามาช่วยปิดจุดอ่อนให้กับ Starlink ได้

“เราอนุญาตให้นักวิจัยที่มีความรับผิดชอบสามารถทดลองเองได้เลย และเรามีเงินรางวัลจูงใจให้สำหรับผู้ที่ค้นพบจุดอ่อนและรายงานเข้ามา” SpaceX ระบุ

ตามเอกสารโปรแกรมนี้ นักวิจัยจะต้องไม่สร้างความเสียหายต่อระบบการบริการผู้ใช้งาน ไม่เป็นการโจมตีขนาดใหญ่ที่มีผลทางกายภาพต่อโครงสร้างพื้นฐาน และไม่ใช้วิธีหลอกลวงทางอีเมล

หากทำสำเร็จ เงินรางวัลจะอยู่ในช่วง 100 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3,500 บาท) จนถึง 25,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 875,000 บาท) ที่ผ่านมามีนักวิจัย 32 คนแล้วที่ทำสำเร็จในการระบุช่องโหว่ด้านความปลอดภัยสำคัญๆ บน Starlink บริษัทยังบอกด้วยว่า เมื่อช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาบริษัทให้เงินรางวัลเฉลี่ย 973 เหรียญสหรัฐต่อครั้ง (ประมาณ 34,000 บาท)

“เรากำลังจะเปิดขายชุด kit ของ Starlink จำนวนมากในเร็วๆ นี้ (นั่นคือธุรกิจของเรา!) เราจึงต้องคาดการณ์ล่วงหน้าว่าชุด kit บางชุดอาจตกไปอยู่ในมือผู้ไม่หวังดีที่จะเข้ามาแฮ็กระบบ” SpaceX ระบุถึงเหตุที่ต้องเร่งปิดช่องโหว่มากขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือจากภายนอกด้วย

Source

]]>
1396618
อินเทอร์เน็ตดาวเทียม ‘Starlink’ เตรียมเปิดให้บริการใน ‘ฟิลิปปินส์’ ชาติเเรกในอาเซียน https://positioningmag.com/1380194 Sun, 03 Apr 2022 09:41:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1380194 มหาเศรษฐีอีลอน มัสก์เตรียมส่งอินเทอร์เน็ตดาวเทียม ‘Starlink’ ประเดิมให้บริการในฟิลิปปินส์ เป็นชาติเเรกในอาเซียน

กระเเสข่าวดังกล่าวมีขึ้นหลังจาก Ramon Lopez รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า SpaceX บริษัทด้านเทคโนโลยีอวกาศจากสหรัฐฯ เตรียมที่จะมาเปิดให้บริการ Starlink ในฟิลิปปินส์ เเต่ยังไม่กำหนดช่วงเวลาแน่ชัดหรือเปิดเผยตัวเลขการลงทุน

โดย SpaceX กำลังอยู่ระหว่างการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ตั้งบริษัทลูกเเละดำเนินการสำรวจที่ตั้งของเกตเวย์ เบื้องต้นในช่วงเเรกของการให้บริการ บริษัทตั้งเป้าจะจัดตั้งเกตเวย์ในฟิลิปปินส์เองทั้งหมด 3 แห่ง

ขณะที่ฟิลิปปินส์มีอัตราผู้ใช้โซเชียลมีเดียมากที่สุดในโลก เเต่ความเร็ว 4G ในประเทศที่มีประชากร 105 ล้านคนนั้นกลับต่ำที่สุดในภูมิภาคอาเซียน

เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์ของฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่เป็นเกาะ ทำให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไม่ค่อยดีนัก สวนทางกับอัตราการใช้โทรศัพท์มือถือสูงที่สุดในภูมิภาคกว่า 138%

โดยปัจจุบัน ฟิลิปปินส์มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 74 ล้านคน เเละชาวเน็ตใช้เวลาออนไลน์เฉลี่ยกว่า 10.5 ชั่วโมงต่อวัน นับเป็นหนึ่งในประเทศที่ประชาชนใช้เวลาออนไลน์นานที่สุดในโลก

ด้วยเหตุนี้ ฟิลิปปินส์จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองหลวงแห่งโซเชียลมีเดียและอยู่ในอันดับที่ 6 ของประเทศที่มีผู้ใช้ Facebook มากที่สุด

ด้านยอดขายอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้น 3.6 พันล้านดอลลาร์ในปี 2020 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 43% เเละคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025

สำหรับ Starlink เป็นบริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมความเร็วสูง ที่เป็นโครงข่ายอินเทอร์เน็ตดาวเทียมวงโคจรต่ำ หรือ ‘Low Earth Orbit’ (LEO) พัฒนาเพื่อให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้แม้อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือมีภัยพิบัติ เพียงแค่มีจานรับสัญญาณ ปัจจุบัน Starlink มีเครือข่ายดาวเทียมกว่า 2,000 ดวงทั่วโลก เเละบริษัทมีเเผนจะปล่อยดาวเทียมอีก 50 ดวงสู่วงโคจรโลกในเร็วๆ นี้

 

ที่มา : scmp 

]]>
1380194
‘อีลอน มัสก์’ กังวลเงินเฟ้อกดดัน Tesla-SpaceX พิษสงครามทำต้นทุนวัตถุดิบ-ขนส่งพุ่ง https://positioningmag.com/1377447 Mon, 14 Mar 2022 10:14:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377447 SpaceX บริษัทการขนส่งทางอวกาศเเละเเบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติสหรัฐฯ อย่าง Tesla กำลังเผชิญกับแรงกดดันจากเงินเฟ้ออย่างมากทั้งในด้านวัตถุดิบและการขนส่ง

โดยอีลอน มัสก์ซีอีโอของ SpaceX เเละ Tesla ทวีตข้อความถึงแนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนวัตถุดิบเเละการขนส่ง พร้อมรีทวีตบทความของสำนักข่าว Financial Times ที่ระบุว่าความขัดแย้งระหว่างรัสเซียเเละยูเครน ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เเพงขึ้นสู่ระดับสูงสุด นับตั้งแต่ปี 2008

การรุกรานยูเครนของรัสเซีย ทำให้ราคาโลหะที่ใช้ในการประกอบรถยนต์พุ่งสูงขึ้น ตั้งแต่อะลูมิเนียมในตัวถังไปจนถึงพาลาเดียมในเครื่องฟอกไอเสีย เเละนิกเกิลคุณภาพสูงที่ใช้ในแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเหล่าผู้บริโภคอาจจะต้องเเบกรับราคาต้นทุนที่สูงขึ้นนี้

แม้ว่าโลหะจะไม่ตกเป็นเป้าหมายหลักของการคว่ำบาตรรัสเซียจากชาติตะวันตก แต่ผู้ขนส่งและซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนยานยนต์บางรายก็หันหลังให้กับสินค้ารัสเซีย ทำให้เกิดแรงกดดันต่อปัญหาการขาดแคลนชิปและราคาพลังงานที่สูงขึ้น  

จากราคาที่อยู่อาศัย อาหาร และก๊าซหุงต้มที่เเพงขึ้น อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคในสหรัฐฯ พุ่งสูงที่สุดในรอบ 4 ทศวรรษ น่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย  

ก่อนหน้านี้ Tesla ประกาศขึ้นราคารถยนต์ไฟฟ้าเอสยูวี Model Y และรถซีดานรุ่น Model 3 ในสหรัฐฯ เพิ่มอีก 1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคัน พร้อมรุ่น Model 3 เเละ Model Y ที่ผลิตในจีนจำนวนหนึ่งอีก 10,000 หยวน (ราว 1,582.40 ดอลลลาร์) ต่อคัน 

ด้าน Rivian Automotive หนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า อาจจะมีการปรับลดการผลิตที่วางแผนไว้ลงกว่าครึ่งหนึ่ง โดยอ้างถึงปัจจัยกดดันจากราคาวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้นและข้อจำกัดของห่วงโซ่อุปทาน

ขณะที่ Toyota Motor ของญี่ปุ่น จะมีการลดการผลิตในประเทศลงถึง 20% ในเดือนเมษายนถึงมิถุนายน เพื่อบรรเทาความความตึงเครียดของซัพพลายเออร์ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วนอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1377447
‘Starlink’ เน็ตดาวเทียมของ ‘อีลอน มัสก์’ ขายได้แล้วกว่า 5 แสนรายการ https://positioningmag.com/1330631 Wed, 05 May 2021 11:14:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330631 ย้อนไปช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทั่วโลกรวมถึงไทยต่างฮือฮากับ ‘Starlink’ บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) ของ ‘อีลอน มัสก์’ ซึ่งผ่านไป 2 เดือน ล่าสุด มีผู้ที่ซื้อบริการ Starlink แล้วถึง 5 แสนรายเลยทีเดียว

Starlink เป็นอีกหน่วยธุรกิจของ ‘SpaceX’ บริษัทของอีลอน มัสก์ที่พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและจรวดที่ขึ้นไปแล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง โดย Starlink มีจุดประสงค์เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตจากดาวเทียมให้กับ ‘ประชาชนทั่วไป’ โดยใช้ ‘ดาวเทียมวงโคจรต่ำ’ ซึ่งต่ำกว่าดาวเทียมทั่ว ๆ ไปที่ถึง 60 เท่า ซึ่งนั่นทำให้มี latency (ความหน่วง) ต่ำเทียบเท่ากับอินเทอร์เน็ตบ้าน และให้สปีดดาวน์โหลดที่ 50–150Mb/s

Siva Bharadvaj วิศวกรฝ่ายปฏิบัติการของ SpaceX กล่าวในระหว่างการเปิดตัวเว็บแคสต์ของภารกิจ Starlink ครั้งที่ 26 ว่า ปัจจุบัน SpaceX ได้รับคำสั่งซื้อมากกว่า 500,000 รายการ สำหรับบริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมหรือ ‘Starlink’ ที่กำลังเปิดตัว ซึ่งปัจจุบันมีดาวเทียม Starlink มากกว่า 1,500 ดวงที่เปิดตัวสู่วงโคจร

“จนถึงปัจจุบันมีผู้คนกว่าครึ่งล้านได้สั่งซื้อหรือวางเงินมัดจำสำหรับ Starlink ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมหาศาล เพื่อสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อกับดาวเทียมนับพัน ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อส่งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปยังผู้บริโภคทุกที่บนโลก”

อีลอน มัสก์

รู้จัก ‘เน็ตดาวเทียม’ พร้อมเจาะลึกความพิเศษ ‘Starlink’ ของอีลอน มัสก์ และไทยสั่งเบรกจริงหรือ?

SpaceX ได้เริ่มโปรแกรมเบต้าสาธารณะสำหรับบริการ Starlink ไปเมื่อเดือนตุลาคม โดยมีราคาค่าบริการอยู่ที่ 99 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน หรือประมาณ 3,000 บาท นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 499 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 15,000 บาท ในการสั่งซื้ออุปกรณ์ Starlink Kit เพื่อเชื่อมต่อกับดาวเทียม โดยในช่วง 3 เดือนหลังจากทดลองให้บริการ บริษัทได้ระบุว่ามีผู้ใช้มากกว่า 10,000 รายในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศ

แม้จะมีการเปิดเผยว่ามีคำสั่งซื้อกว่าครึ่งล้าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการบริการที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีผู้ใช้รายเดือนจำนวนเท่าใดหรืออยู่ในพื้นที่ที่ Starlink จะให้บริการหรือไม่ แม้ว่าบริการจะได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้งานได้ทั่วโลกก็ตาม แต่ข้อจำกัดของบริการก็คือ ‘ความหนาแน่นของผู้ใช้’ ในเขตเมือง

ทั้งนี้ โครงการ Starlink ก็ต้องใช้เงินลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3 แสนล้านบาท โดยทางอีลอน มัสก์ก็คาดว่าจะทำเงินได้ถึงปีละ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 9 แสนล้านบาทเลยทีเดียว

Source

]]>
1330631
รู้จัก ‘เน็ตดาวเทียม’ พร้อมเจาะลึกความพิเศษ ‘Starlink’ ของอีลอน มัสก์ และไทยสั่งเบรกจริงหรือ? https://positioningmag.com/1319657 Tue, 16 Feb 2021 11:26:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319657 อินเทอร์เน็ตน่าจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่งของโลกใบนี้ไปแล้ว แต่สำหรับพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มี 4G-5G หรือ ไฟเบอร์อย่างในทะเล ก็คงไม่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้หากไม่มีบริการ อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) ซึ่งจริง ๆ แล้ว อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่ทำไม ‘Starlink’ ของ ‘อีลอน มัสก์’ ทำไมถึงน่าสนใจ และไทยจะได้ใช้งานเมื่อไหร่ ถูกเบรกจริงไหม ไปหาคำตอบกัน

เน็ตดาวเทียมไม่ใช่เรื่องใหม่

อย่างที่เกริ่นไป อินเทอร์เน็ตดาวเทียมทั้งในประเทศไทยและหลายประเทศนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีมากว่า 20 ปีแล้ว โดยเป็นการใช้ดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้า โดยข้อดีของอินเทอร์เน็ตดาวเทียมคือ ให้บริการครอบคลุมกว้างไกล แต่ข้อเสียคือ แบนด์วิดท์ที่จำกัดเพราะดาวเทียมหนึ่งดวงให้บริการพื้นที่แทบทั้งทวีป โดยดาวเทียมค้างฟ้าแค่ 3 ดวงก็สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลกเลยทีเดียว นอกจากนี้ ดาวความที่ดาวเทียมอยู่ไกล ความหน่วง (latency) จึงสูงมาก ทำให้การใช้งานไม่สะดวกนัก อีกทั้ง บริการนี้ ‘คนทั่วไปเข้าถึงไม่ง่ายนัก’ เนื่องจากเน้นการใช้งานแบบพาณิชย์มากกว่า ทำให้มีค่าบริการที่สูง ติดตั้งยุ่งยาก

จะเห็นว่าอินเทอร์เน็ตดาวเทียมนั้นมีจุดอ่อนที่ใหญ่มาก เมื่อเทียบกับ 4G-5G หรือไฟเบอร์ ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกับ ‘Starlink’ โครงการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมของ ‘อีลอน มัสก์’ กันว่ามันพิเศษกว่าตรงไหน

(Photo by Paul Hennessy/NurPhoto via Getty Images)

รู้จัก Starlink

Starlink นั้นเป็นอีกหน่วยธุรกิจของ ‘SpaceX’ บริษัทของอีลอน มัสก์ที่พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและจรวดที่ขึ้นไปแล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง โดยอีลอน มัสก์นั้นก่อตั้ง Starlink มาก็เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตจากดาวเทียมให้กับ ‘ประชาชนทั่วไป’ โดยใช้ ‘ดาวเทียมวงโคจรต่ำ’ ซึ่งต่ำกว่าดาวเทียมทั่ว ๆ ไปที่ถึง 60 เท่า ซึ่งนั่นทำให้ Starlink แก้จุดอ่อนด้าน latency ให้ต่ำได้จนเหลือเพียง 20-40Ms เทียบเท่ากับอินเทอร์เน็ตบ้านเลยทีเดียว และแถมยังให้สปีดดาวน์โหลดของอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วที่ 50–150Mb/s

อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ดาวเทียมวงโคจรต่ำทำให้ Starlink ต้องใช้ดาวเทียมหลักหมื่นดวงถึงจะครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งตั้งแต่ปี 2015 จนปัจจุบัน Starlink ได้ปล่อยดาวเทียมไปแล้วกว่า 400 ดวง จากเป้าหมายที่จะมีดาวเทียมทั้งหมดถึง 42,000 ดวง

Photo : Thom Baur / Reuters

เคาะราคา 99 ดอลลาร์/เดือน

ปัจจุบันประชากรโลกมีกว่า 7.6 พันล้านคน แต่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ 4.54 พันล้านคน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบางพื้นที่ของโลก สัญญาณอินเทอร์เน็ตยังไม่ถึง ดังนั้น Starlink จะช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร้ข้อจำกัด ล่าสุด Starlink ก็ได้เคาะราคาค่าบริการแล้วที่ 99 ดอลลาร์หรือประมาณ 3,000 บาท แต่จะมีค่าอุปกรณ์เพิ่มเติมอีก 499 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 15,000 บาท โดยปัจจุบันในอเมริกามีผู้ลงทะเบียนให้ความสนใจที่จะใช้บริการแล้วกว่า 700,000 รายเลยทีเดียว ส่วนประเทศไทยเองมีข่าวว่าจะเริ่มใช้งานได้ในปี 2022

(Photo by Justin Sullivan/Getty Images)

กสทช. สั่งเบรกจริงหรือ?

หลังจากที่มีข่าวว่าจะให้บริการในไทย ทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้ออกมาระบุว่า การให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมต่างชาติในประเทศไทย ต้องได้รับการอนุญาตจาก กสทช. ก่อนเริ่มให้บริการ โดยกรณีนี้ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม และการอนุญาตให้ใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมต่างชาติเพื่อให้บริการในประเทศ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีผู้ยื่นขอรับอนุญาตเพื่อให้บริการดังกล่าวในประเทศไทย มีแต่เพียงการขอข้อมูลและปรึกษาการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมต่างชาติ เท่านั้น

ซึ่งทำให้หลายคนมองว่า กสทช. ออกมาสั่งเบรกบริการ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การขออนุญาตให้บริการเป็นเรื่องปกติของหลายประเทศไม่ใช่แค่ไทย ดังนั้น กสทช. ไม่น่าจะมาเบรกอะไร

ไม่ได้มีแค่ อีลอน มัสก์ที่ทำ

ย้อนไปปี 2011 Google เปิดตัวโครงการ ‘Loon’ เพื่อส่งบอลลูนให้ลอยอยู่เหนือท้องฟ้าและควบคุมให้เคลื่อนที่อยู่ในบริเวณที่ยังขาดการเชื่อมต่อด้านอินเทอร์เน็ต อาทิ ในขุนเขา มหาสมุทร ทะเลทราย ขณะที่ Facebook เองก็มีโครงการ ‘Aquila’ ซึ่งทดลองส่งเครื่องโดรนให้ล่อนอยู่ในท้องฟ้าเป็นเวลานาน เพื่อส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล แต่ทั้ง 2 โครงการต่างก็เงียบหายไปตามกาลเวลา

นอกจากนี้ยังมี โครงการ ‘Project Kuiper’ ของ ‘Amazon’ ที่ต้องการสร้างเครือข่ายดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO) จำนวน 3,236 ดวงเพื่อให้สัญญาณอินเทอร์เน็ตกับผู้คนในพื้นที่ที่อยู่ระหว่างพิกัด 56 องศาเหนือถึง 56 องศาใต้ หรือระหว่างสกอตแลนด์และบริเวณอเมริกาใต้ ซึ่งคาดว่าครอบคลุมพื้นที่การใช้งานของประชากรกว่า 95% แต่โครงการดังกล่าวก็เงียบไปอีกเช่นกัน

มีความเป็นไปได้ว่าโครงการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมความเร็วสูงนั้นใช้เงินลงทุนมหาศาลเลยทำให้ต้องเบรกไป เพราะโครงการ Starlink ก็ต้องใช้เงินลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3 แสนล้านบาท แต่ทางอีลอน มัสก์ก็คาดว่าจะทำเงินได้ถึงปีละ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 9 แสนล้านบาทเลยทีเดียว

สำหรับคนไทยก็รอดูแล้วกันว่าในปี 2022 จะได้ใช้บริการไหม สำหรับใครที่อยากลองใช้ก็อดใจรออีกสักนิดนะ

]]>
1319657
อินโดนีเซีย บุกอวกาศ ชวน “อีลอน มัสก์” มาตั้งฐานยิงจรวด SpaceX ชูจุดเด่นใกล้เส้นศูนย์สูตร https://positioningmag.com/1310525 Tue, 15 Dec 2020 17:38:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1310525 รัฐบาลอินโดนีเซีย ออกตัวเชิญชวนเจ้าพ่อเทคโนโลยีอย่างอีลอน มัสก์ซีอีโอ Tesla เเละผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ให้มาสร้าง “ฐานปล่อยจรวด” ไปยังอวกาศบนพื้นที่ของเกาะอินโดฯ

Jodi Mahardi โฆษกกระทรวงการประสานงานกิจการทางทะเลและการลงทุนอินโดนีเซีย กล่าวกับ AFP ว่า อินโดนีเซียมีพื้นที่หลายแห่งตั้งอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ซึ่งเหมาะกับการใช้เป็นฐานปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศ โดยจะทำให้จรวดเดินทางเข้าสู่วงโคจรได้ง่ายกว่าการปล่อยจรวดจากพื้นที่อื่น อีกทั้งยังลดต้นทุนการใช้เชื้อเพลิงซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการปล่อยจรวดเเต่ละครั้งลดลงไปด้วย

SpaceX เพิ่งทดลองปล่อยจรวด Starship หรือ SN8 ที่ฐานปล่อยจรวดในรัฐเท็กซัสของสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อน เเม้การทดลองดังกล่าวจะล้มเหลว เเต่มัสก์บอกว่า การทดลองที่เกิดขึ้นเป็นความสำเร็จ เพราะทีมพัฒนาได้เรียนรู้จุดอ่อนและมีข้อมูลเพียงพอในการพัฒนาจรวดรุ่นต่อไปแล้ว

ความร่วมมือของอีลอน มัสก์ กับรัฐบาลอินโดนีเซีย เริ่มเเน่นเเฟ้นขึ้น หลัง Tesla กำลังตามหาเเหล่งขุมทรัพย์
เเบตเตอรี่” ซึ่งอินโดนีเซีย เป็นประเทศผู้ผลิต “แร่นิกเกิล” มากที่สุดในโลกนั่นเอง

ดังนั้น การร่วมลงทุนกับรัฐบาลอินโดนีเซีย จึงเป็นเหมือนการ “จองวัตถุดิบ” เพื่อผลิตแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนมหาศาลที่จะเป็นยานยนต์แห่งอนาคต

เเละเมื่อวันที่ 11 .. ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด ได้พูดคุยกับอีลอน มัสก์ ถึงความเป็นไปได้ที่ SpaceX จะเข้ามาศึกษาเกี่ยวกับการตั้งฐานยิงจรวดในอินโดนีเซีย

โดยสถาบันอากาศและอวกาศแห่งชาติอินโดนีเซีย หรือ LAPAN ประกาศเมื่อปีที่แล้วว่า มีแผนที่จะสร้างศูนย์อวกาศแห่งแรกของประเทศบนเกาะ Biak นอกชายฝั่งทางเหนือของเกาะนิวกินี ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรต่างประเทศ

สำหรับศูนย์อวกาศเเห่งนี้ ตั้งเป้าจะพัฒนาจรวดและฐานปล่อยจรวดขึ้นสู่วงโคจรโลก มีกำหนดทดสอบจรวดครั้งแรกในปี 2024

ย้อนกลับไป เมื่อปี 2007 อินโดนีเซียเคยทดสอบปล่อยจรวดขนาดเล็ก RX-250 ซึ่งสามารถทะยานขึ้นไปที่ระดับความสูง 53 กิโลเมตร เรียกได้ว่ามาถึงครึ่งทางจากระดับความสูงที่ถูกกำหนดให้เป็นเขตพรมแดนอวกาศ (Karman Line) ซึ่งอยู่ที่ 100 กิโลเมตร

ด้านกระเเสข่าวเกี่ยวกับการพัฒนาด้านอวกาศในไทย ตอนนี้ก็คึกคักไม่น้อย หลัง “เอนก เหล่าธรรมทัศน์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประกาศว่า เร็ว ๆ นี้ ประเทศไทยจะเป็นชาติที่ 5 ของเอเชีย ที่สามารถผลิตยานอวกาศและส่งไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้ เเละคาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 7 ปี ซึ่งจุดประเด็นให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์อย่างกว้างขวาง ส่วนจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเเค่ไหน ก็ต้องติดตามกันต่อไป

 

ที่มา : AFP 

]]>
1310525
SpaceX เซ็นดีลส่งนักท่องเที่ยวสู่ “อวกาศ” ปี 2021 จัดทัวร์ยาว 8 วันจับกลุ่มมหาเศรษฐี https://positioningmag.com/1267221 Fri, 06 Mar 2020 08:00:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1267221 SpaceX ประกาศจับมือเซ็นสัญญากับสตาร์ทอัพ Axiom Space เพื่อส่งนักท่องเที่ยวขึ้นอวกาศภายในครึ่งปีหลังปี 2021 โดยวางโปรแกรมทัวร์ยาว 8 วันในสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) 

SpaceX เซ็นสัญญากับ Axiom Space ขายทัวร์ไปอวกาศสำหรับนักท่องเที่ยว นักวิจัย และนักบินอวกาศจากต่างประเทศ ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ NASA โดยทัวร์โปรแกรมนี้จะพานักท่องเที่ยวบินไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) อยู่ที่นั่นเป็นเวลา 8 วัน ก่อนจะกลับมายังพื้นโลก

แต่ละเที่ยวบินสามารถจุผู้โดยสารได้ 3 คนเท่านั้น โดยจะบินไปกับยานอวกาศ Crew Dragon ของ SpaceX ซึ่งเป็นยานอวกาศระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 ฟุต โดยมีผู้ควบคุมอากาศยานที่ผ่านการฝึกฝนแล้วบินไปด้วย 1 คน

ทั้งนี้ ทั้งสองบริษัทขอไม่เปิดเผยรายละเอียดราคาทัวร์ แต่ก่อนหน้านี้ทัวร์อวกาศที่เคยไปเยือน ISS สนนราคาหลักสิบล้านเหรียญสหรัฐต่อคน

การเซ็นดีลกับ Axiom Space เป็นดีลที่สองของ SpaceX ในการจัดทัวร์อวกาศ ก่อนหน้านี้ SpaceX ผู้พัฒนายานอวกาศเอกชน เพิ่งจะประกาศดีลกับ Space Adventures เพื่อทำทัวร์ขึ้นยานอวกาศโคจรรอบโลก โดยบริษัท Space Adventures เป็นผู้มีประสบการณ์ในการจัดทัวร์อวกาศ บริษัทนี้เคยจัดทริปมาแล้ว 8 ครั้งระหว่างปี 2001-2009 เพื่อพานักท่องเที่ยวมหาเศรษฐีไปเทียบท่า ISS แต่ทริปทั้งหมดนั้นใช้การขอโดยสารไปกับยานอวกาศ Soyuz ของรัสเซีย

ดังนั้นถ้าหากทัวร์ของ Axiom ร่วมกับ SpaceX สำเร็จตามเป้าหมาย จะเป็นยานอวกาศท่องเที่ยวรายแรกของสหรัฐฯ ที่ได้เข้าไปเทียบท่า ISS (แต่ไม่ใช่รายแรกของโลก)

สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) (photo: NASA)

ISS นั้นเป็นสถานีทดลองอวกาศขนาดยักษ์ ภายในมีนักบินอวกาศทั้งจากสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ อีกหลายสิบประเทศที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นไปทำงานตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา และ NASA มีความสนใจที่จะเปิดให้ สถานี ISS สามารถทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ได้มากขึ้น ทำให้ปีที่ผ่านมา NASA เปิดเผยว่าองค์กรจะอนุญาตให้มีทัวร์นักบินอวกาศเอกชนสามารถเข้าไปเยือน ISS ได้ปีละ 2 ครั้ง

อย่างไรก็ตาม แม้จะประกาศดีลกันอย่างชื่นมื่น แต่ต้องไม่ลืมว่าก่อนหน้านี้ก็มีหลายบริษัทที่ต้อง ‘ผิดหวัง’ มาแล้ว ตัวอย่างเช่นบริษัท Bigelow Aerospace ที่จะใช้ยาน Crew Dragon ของ SpaceX บินไปเทียบท่า ISS โดยตั้งราคาตั๋วไว้ถึง 52 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่สุดท้ายแผนของพวกเขากลับถูกยกเลิก

การแข่งขันในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอวกาศยังต้องลุ้นกันต่อว่าใครจะได้เป็นผู้นำ โดยนอกจาก SpaceX แล้วยังมีอีกสองบริษัทอเมริกันที่แข่งขันกันอยู่ ได้แก่ Virgin Galactic และ Blue Origin ซึ่งทั้งคู่ประกาศไปก่อนหน้านี้ว่าจะจัดทัวร์อวกาศระยะสั้นบินสูง 60 ไมล์เหนือพื้นโลกเพื่อให้เห็นทัศนียภาพของดาวโลกจากภายนอกและสัมผัสสภาวะไร้น้ำหนักไม่กี่นาทีก่อนบินกลับ

Source

]]>
1267221
อะไรกัน? Elon Musk ขายเครื่องพ่นไฟเกลี้ยงโกย 10 ล้านดอลล์ได้ใน 4 วัน https://positioningmag.com/1155395 Fri, 02 Feb 2018 00:15:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1155395 ไม่ว่าจะเพราะ Twitter หรือเพราะพลังในตัว Elon Musk เอง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคือเจ้าพ่อแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Tesla สามารถขายเครื่องพ่นไฟหรือ flamethrower โกยเงิน 10 ล้านเหรียญเข้าบริษัทในเครือได้สำเร็จใน 4 วัน โดยที่ไม่มีการซื้อสื่อโฆษณา มีเพียงการส่งข้อความและโชว์วิดีโอบน tweet ไม่กี่ครั้ง

มหาเศรษฐีชื่อก้องโลก Elon Musk ประกาศปิดการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สุดแหวกแนวชิ้นล่าสุดของตัวเองเมื่อวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา นั่นคือ flamethrower หรือเครื่องพ่นไฟซึ่งมีคนสนใจสั่งซื้อจนเกลี้ยง 20,000 ชิ้น มูลค่าเครื่องละ 500 เหรียญ หรือประมาณ 15,700 บาท

ข้อความที่หนุ่ม Musk ใช้ประกาศขาย flamethrower มีเนื้อหารับประกันว่าจะทำให้งานปาร์ตี้มีชีวิตชีวาทันที ผลคือ tweet นี้ได้รับความสนใจจนทำให้เม็ดเงินกว่า 10 ล้านเหรียญโบยบินจากกระเป๋าชาว Twitter เข้าสู่บริษัท The Boring Company ซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการขุดอุโมงค์อย่างรวดเร็ว บริษัทที่ Musk ก่อตั้งขึ้นล่าสุด

ก่อนที่จะมาขายเครื่องพ่นไฟ มหาเศรษฐีผู้อยู่เบื้องหลังบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Tesla และบริษัทจรวด SpaceX อย่าง Musk ได้ขายหมวกในนาม The Boring Company ปรากฏว่าสามารถขายหมดเกลี้ยง 50,000 ชุด ระดมเงินล้านได้จากหมวก “Boring hat” ที่ขายในราคา 20 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 650 บาท

การระดมเงินล้านได้สำเร็จด้วยหมวก นำไปสู่การทำสินค้าใหม่อย่าง flamethrower ซึ่งคาดว่านอกเหนือจาก flamethrower หนุ่ม Musk ก็จะมีสินค้าใหม่มาขายเพื่อระดมทุนอีกในอนาคต

ประเด็นนี้สำนักข่าว Reuters รายงานว่าโครงการระดมทุนครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่นักวิเคราะห์ทางการเงินและนักลงทุนใน Tesla กำลังสงสัยว่า Musk จะต้องหาเงินทุนเพิ่มอีกหลายพันล้านเหรียญ เนื่องจากต้องดิ้นรนเพราะ Tesla ไม่สามารถผลิตได้ทันกำหนดการเดิมที่ Musk เคยประกาศไว้

สิ่งที่เราสามารถสรุปได้จากกรณีของ Musk คือความลงตัวของพลังทั้ง 4 ส่วนที่ทำให้ flamethrower กลายเป็น กระแสทรงอิทธิพล

• ส่วนแรกคือข้อความ Tweet มหาเศรษฐี Musk เลือก Tweet วันเสาร์ว่าเมื่อผีดิบกลายร่าง คุณจะดีใจที่ได้ซื้อเครื่องพ่นไฟโดยไม่ลืมปิดท้ายด้วยการกระตุ้นให้ผู้อ่านตื่นเต้นปนท้าทาย ว่าจะลองเล่นกับไฟ หรือจะเลือกเก็บเงินไว้กับตัว

• ส่วนที่ 2 คือความแหวกแนว เครื่องพ่นไฟเป็นอุปกรณ์ที่บางครั้งถูกเรียกว่าเครื่องฉีดไฟ ซึ่งมีภาพลักษณ์เป็นอาวุธที่ใช้สำหรับการรบในเมือง และการเคลียร์บังเกอร์แบบสุดโหด การลุกขึ้นมาขาย flamethrower ถือว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดา จึงสามารถเรียกความสนใจจากชุมชน Twitter ในสหรัฐได้อยู่หมัด โดยผู้สั่งซื้อจะได้รับเครื่องดับไฟฟรี และจะต้องคลิกเซ็นสัญญาข้อตกลงให้เรียบร้อยก่อนรับสินค้าในครึ่งหลังปีนี้

• ส่วนที่ 3 คืออิทธิพลของ Musk จุดนี้เคยมีชาวออนไลน์แซวว่า หาก Musk ลุกขึ้นมาขายเศษหินเศษดินจากการขุดอุโมงค์ ก็อาจมีคนสนใจซื้อถล่มทลายไม่ต่างกัน

• ส่วนที่ 4 คือแผนลับ อันนี้หลายคนเดาว่าลึกๆ แล้ว Musk เองอาจรู้แก่ใจว่าการจำหน่าย flamethrower เป็นเรื่องล่อแหลม และทำให้เรื่องนี้กลายเป็นข่าวดังได้ในเวลาข้ามคืน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะหน่วยงานท้องถิ่นในสหรัฐฯ บางส่วนไม่พอใจ เกรงว่าจะมีการนำ flamethrower ไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ซึ่ง Musk มีการทำการบ้านมาอย่างดี และ Tweet ตอบว่า ข้อบังคับในสหรัฐฯ อนุญาตให้มีการใช้งาน flamethrower ที่ยิงไฟในระยะไม่เกิน 10 ฟุต ซึ่ง flamethrower ของบริษัทถูกออกแบบมาเพื่อความบันเทิง ไม่เป็นอันตราย 

แถมยังหยอดตบท้ายว่ามีดหั่นสเต็กยังเป็นอันตรายได้มากกว่าทำให้มีผู้ถูกใจข้อความนี้มากกว่า 9,600 ครั้ง ถูกส่งต่อไปอีกราว 900 ครั้ง

ทั้ง 4 ส่วนนี้ แปลว่าบทเรียนการตลาดยุคใหม่ กำลังแจ้งเกิดให้ทุกคนได้เรียนรู้เพิ่มอีกบทแล้ว

ที่มา

]]>
1155395