TMB – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 25 Feb 2021 11:08:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 TMB–ธนชาต เตรียมเปลี่ยน ‘ชื่อใหม่’ หลังควบรวมกิจการ เป็นธนาคาร ‘ทหารไทยธนชาต’ ใช้ชื่อย่อว่า TTB https://positioningmag.com/1320986 Thu, 25 Feb 2021 10:20:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320986  ‘ชื่อใหม่’ ของ “TMB–ธนชาต” หลังควบรวมกิจการ เตรียมเปลี่ยนเป็นธนาคาร ‘ทหารไทยธนชาต’ ใช้ชื่อย่อว่า TTB

ก่อนหน้านี้ หลายคนสงสัยว่าภายหลัง 2 ธนาคารใหญ่อย่างทหารไทย (TMB) และธนชาต ควบรวมกิจการกันเสร็จเเล้วนั้น จะมีการตั้ง ‘ชื่อใหม่’ ว่าอะไร

ล่าสุด TMB แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเห็นสมควรเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนชื่อธนาคารเป็นธนาคาร ‘ทหารไทยธนชาต’ (TMBThanachart Bank) เป็นไปตามกลยุทธ์การ ‘รีเเบรนด์ดิ้ง’ ของธนาคาร โดยมีแผนจะเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์จาก TMB เป็น ‘TTB’ ต่อไป

TMB เเละธนชาต กำลังจะก้าวสู่การเป็นธนาคารพาณิชย์ ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ในไทย เเละจะมีฐานลูกค้าขยายใหญ่ขึ้น แตะระดับ 10 ล้านราย หลังประกาศดีลควบรวมมูลค่า 1.4 แสนล้าน ตั้งเเต่ช่วงต้นปี 2562 ที่ผ่านมา โดยเริ่มดำเนินการร่วมกัน ตามโมเดล “ONE GOAL” พร้อมตั้งเป้าจะรวมสองธนาคารเป็นหนึ่งเดียวให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคม ปี 2564

สำหรับการ ‘โอนย้ายพนักงาน’ กว่า 11,000 คน จากธนชาตไปธนาคารใหม่นั้น มีการทยอยโอนย้ายเป็นระยะ โดยหากพนักงานจากธนชาต มารวมกันกับพนักงาน TMB ที่มีอยู่ราว 8,000 คน จะทำให้มีจำนวนพนักงานในธนาคารใหม่ทั้งสิ้นราว 19,000 คน
.
อ่านเพิ่มเติม : ภารกิจ “TMB – ธนชาต” ย้ำควบรวมเสร็จในก.ค. 64 ตั้งเป้าปีนี้มีสาขาร่วม 100 แห่ง

 

]]>
1320986
อัปเดตภารกิจ “ทีเอ็มบี – ธนชาต” ย้ำควบรวมเสร็จในก.ค. 64 ตั้งเป้าปีนี้มีสาขาร่วม 100 แห่ง https://positioningmag.com/1291881 Mon, 10 Aug 2020 09:31:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291881 ภารกิจใหญ่ของทีเอ็มบีธนชาตที่กำลังจะก้าวสู่การเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ อันดับ 6 ในไทย หลังประกาศดีลควบรวมมูลค่า 1.4 แสนล้าน ตั้งเเต่ช่วงต้นปี 2019 ที่ผ่านมา เเละเริ่มดำเนินการร่วมกัน ตามโมเดล “ONE GOAL” มาเป็นเวลา 6 เดือนวันนี้เราจะมาอัปเดตความคืบหน้าของดีลนี้กัน

หลังผ่านช่วงวิกฤต COVID-19 ที่กระทบธุรกิจทุกภาคส่วน ล่าสุดธนาคารทหารไทย (TMB) และธนาคารธนชาต ยืนยันว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามเเผนเดิม ตามเป้าหมายที่จะรวมสองธนาคารเป็นหนึ่งเดียว ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคม ปี 2564 

สำหรับการดำเนินงานช่วง 6 เดือนที่ผ่านมานั้น ความคืบหน้าล่าสุดของ ทีเอ็มบีธนชาต ในด้านการให้บริการลูกค้าได้เน้นไปที่การเชื่อมโยงการให้บริการในช่องทางบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น

  • ลูกค้าชำระบิลสินเชื่อรถยนต์ ประกันรถยนต์ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด ของธนาคารธนชาต สามารถทำรายการดังกล่าวได้ผ่านโมบายล์แอปพลิเคชัน TOUCH และตู้ ATM ของทีเอ็มบี (ยกเว้นสินเชื่อบ้าน และประกันรถยนต์) ได้เรียบร้อยแล้ว และในส่วนของลูกค้าทีเอ็มบี สามารถใช้บริการกดเงินไม่ใช้บัตรผ่าน TOUCH เพื่อรับเงินสดจากเครื่อง ATM ของธนชาตได้เช่นกัน

  • ลูกค้าทั้งสองธนาคารสามารถทำรายการ ฝาก ถอน และโอน ได้ฟรี ไม่มีค่าธรรมเนียม ผ่าน ATM/ADM ทั้งของทีเอ็มบีและธนชาต กว่า 4,900 เครื่องทั่วประเทศ  เหมือนตู้ของธนาคารเดียวกัน
  • บริการสาขา ธนาคารได้เปิดตัว สาขาที่ให้บริการร่วม (Co-Location) ระหว่างทีเอ็มบี และธนชาต ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เเละสิ้นปี 2563 ตั้งเป้าหมายอยู่ที่ประมาณ 100 สาขา แบ่งเป็นในกรุงเทพฯ ราว 60 สาขา และต่างจังหวัดอีก 30 สาขา โดยพนักงานทีเอ็มบีสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ทั้งสินเชื่อรถยนต์ใหม่รถใช้แล้วและรถแลกเงินของธนชาตให้กับลูกค้าได้

ประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย หรือ ทีเอ็มบี กล่าวว่า การรวมกิจการของธนาคารทีเอ็มบีและธนาคารธนชาต ภายใต้ One Dream, One Team, One Goal เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยคาดว่ากระบวนการรวมกิจการทั้งสองธนาคาร จะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 

เมื่อภารกิจการรวมธนาคารของเราสำเร็จเรียบร้อยทุกด้าน ธนาคารใหม่ที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ขึ้น แตะระดับ 10 ล้านราย ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์อื่น ทั้งในระดับประเทศและระดับอาเซียนให้ดีขึ้น รวมทั้งสามารถสร้างสรรค์สินค้าและบริการด้านการเงินใหม่ๆ ให้ลูกค้าได้มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น” 

สำหรับการ โอนย้ายพนักงาน กว่า 11,000 คนจากธนชาตไปธนาคารใหม่นั้น ทางทรัพยากรบุคคลกลางได้เริ่มดำเนินการสื่อสารและจะเริ่มดำเนินการโอนการจ้างพนักงาน มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และมีการทยอยโอนย้ายเป็นระยะ ตามเป้าหมายที่วางไว้ เเม้จะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ หากมาพนักงานจากธนชาตมารวมกันกับพนักงานทีเอ็มบี ที่มีอยู่ราว 8,000 คน จะทำให้มีพนักงานในธนาคารใหม่ทั้งสิ้นราว 19,000 คน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2564 นี้เช่นกัน

อ่านต่อ : เปิดเเผนโอนย้ายพนักงานกว่า 11,000 คน ในการควบรวมทีเอ็มบีธนชาต

โดยผู้บริหารของธนาคารใหม่ได้ย้ายมาทำงานร่วมกันทั้งหมดตั้งแต่ต้นปี และตลอดครึ่งปีที่ผ่านมา มีการโอนย้ายพนักงานบางส่วนแล้ว เช่น กลุ่มผู้บริหารระดับสูง พนักงานระดับหัวหน้างาน และพนักงานส่วนปฏิบัติการ  

สำหรับทีเอ็มบี” มีจุดเด่นในการระดมเงินฝาก, Deposit Franchise และรูปแบบการให้บริการด้านการเงินที่แตกต่างจากธนาคารแบบดั้งเดิม (Traditional Bank) ส่วน “ธนชาต” เป็นผู้เชี่ยวชาญการให้บริการสินเชื่อรายย่อยโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ เป็นผู้นำอันดับ 1 ของตลาด โดยเมื่อกระบวนการรวมกิจการเสร็จสิ้น คาดว่าธนาคารใหม่นี้จะมีสินทรัพย์รวมเกือบ 2 ล้านล้านบาท 

ล่าสุด (25 ก.พ.2564) TMB แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเห็นสมควรเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนชื่อธนาคารเป็นธนาคาร ‘ทหารไทยธนชาต’ (TMBThanachart Bank) เป็นไปตามกลยุทธ์การ ‘รีเเบรนด์ดิ้ง’ ของธนาคารโดยธนาคารมีแผนจะเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์จาก TMB เป็น ‘TTB’ ต่อไป

 

]]>
1291881
เปิดเเผนโอนย้ายพนักงานกว่า 11,000 คน ในการควบรวม “ทีเอ็มบี – ธนชาต” https://positioningmag.com/1262244 Tue, 28 Jan 2020 13:32:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262244 เปิดวิสัยทัศน์ “ทีเอ็มบี-ธนชาต” ยกโมเดล “ONE GOAL” เพิ่มฐานลูกค้าเป็น 10 ล้านราย ควบสาขาทับซ้อน ทยอยโอนย้ายพนักงานกว่า 1.1 หมื่นคน ก่อนเดดไลน์กระบวนการควบรวมเบ็ดเสร็จไม่เกิน 1 ก.ค. 2564 รอตั้งชื่อเเบงก์ใหม่ภายใน 18 เดือนจากนี้ 

เดินหน้าผนึกองค์กรต่อเนื่อง หลัง “ทีเอ็มบี-ธนชาต” ประกาศดีลควบรวม 2 ธนาคารใหญ่ของไทยที่มีมูลค่า 1.4 แสนล้าน ตั้งเเต่ช่วงต้นปี 2019 ที่ผ่านมา

สำหรับการโอนย้ายพนักงานกว่า 11,000 คนจากธนชาตไปธนาคารใหม่นั้น ทางทรัพยากรบุคคลกลางได้เริ่มดำเนินการสื่อสารและจะเริ่มดำเนินการโอนการจ้างพนักงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป และจะมีการทยอยโอนย้ายเป็นระยะ

โดยจะเริ่มที่กลุ่มผู้บริหารระดับสูง (C-Suite Level) ก่อน จากนั้นจะเป็นพนักงานระดับหัวหน้างาน (Top Management Level) ซึ่งทั้งสองธนาคารได้ร่วมกิจกรรม Team Building กันตั้งแต่ปีที่ผ่านมา

ปัจจุบันได้โอนย้ายระดับผู้บริหารสูงสุดเรียบร้อยแล้ว โดย 3 เดือนหลังจากนี้จะเป็นการทยอยโอนผู้บริหารระดับกลางลงมา ซึ่งการโอนย้ายพนักงานจะดำเนินการเป็นระยะ เพื่อมารวมกันกับพนักงานทีเอ็มบีที่มีอยู่ราว 8,000 คน ซึ่งจะทำให้มีพนักงานทั้งสิ้นประมาณ 19,000 คน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ค. 2564

ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทีเอ็มบี เปิดเผยว่า การดำเนินการจับมือทางธุรกิจรวมกิจการของทั้งสองธนาคารมีความคืบหน้าไปมาก ในปีนี้ก็จะเดินหน้ากลยุทธ์ ONE DREAM, ONE TEAM, ONE GOAL เพื่อลูกค้าของทั้งสองธนาคาร เป้าหมายจึงไม่ใช่ “หนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสอง แต่ผลลัพธ์ต้องเท่ากับสาม” บริหารและพนักงานทุกคนจะต้องเรียนรู้ผลิตภัณฑ์ซึ่งกันและกัน

“พนักงานทุกคนจะต้องได้รับสวัสดิการเท่าเทียม ซึ่งจะให้สวัสดิการตามอายุงาน ไม่ใช่ตำแหน่ง รวมถึงสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่สมทบให้มากกว่าระบบ”

ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทีเอ็มบี

วิจิตรา ธรรมโพธิทอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านทรัพยากรบุคคล ทีเอ็มบี และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการทรัพยากรบุคคลกลาง ธนาคารธนชาต กล่าวว่า ทางธนาคารได้ให้เงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ในอัตราที่สูงกว่าตลาดเพื่อให้พนักงานสามารถเก็บออมได้เพียงพอไว้ใช้ยามเกษียณ

ส่วนสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลนั้น ธนาคารจัดแผนตรวจสุขภาพโดยคำนึงถึงวัยและอายุของแต่ละคนเป็นหลัก เพราะเชื่อว่าความจำเป็นของการตรวจขึ้นอยู่กับอายุร่างกาย ไม่ใช่ตำแหน่งหรืออายุงาน โดยยังคงเปิดโอกาสให้พนักงานได้เลือกแผนสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่เหมาะสมกับตนเอง นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการเงินกู้สำหรับพนักงานที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การกู้ยืมของธนาคารด้วย

เพิ่มฐานลูกค้าเป็น 10 ล้านราย

อนุวัติร์ เหลืองทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้ารายย่อย กล่าวว่า การรวมสองธนาคารจะทำให้จำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านราย โดยสิ่งสำคัญที่ธนาคารต้องทำคือการนำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้เป็นอาวุธสำคัญในการนำเสนอโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม

“ในบรรดาช่องทางบริการทั้งหลาย พนักงานสาขาทั้งหมดคือหน้าบ้านและถือเป็นด่านแรกที่จะพบกับลูกค้า จึงจำเป็นที่จะต้องมีทักษะในการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและมีคุณภาพที่สุด โดยเราจะมีการอบรมอย่างเข้มข้นและโค้ชชิ่งอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างให้พนักงานสาขากลายเป็นที่ปรึกษาที่มีคุณภาพ”

สำหรับ “ทีเอ็มบี” มีจุดเด่นในการระดมเงินฝาก, Deposit Franchise และรูปแบบการให้บริการด้านการเงินที่แตกต่างจากธนาคารแบบดั้งเดิม (Traditional Bank) ส่วน “ธนชาต” เป็นผู้เชี่ยวชาญการให้บริการสินเชื่อรายย่อยโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ เป็นผู้นำอันดับ 1 ของตลาด

อ่านเพิ่มเติม : ผ่าดีล ควบรวม “TMB” – “ธนชาต” มูลค่า 1.4 แสนล้าน อาจต้องลดสาขา แต่ไม่ลดคน

เปิด Co-Location ควบสาขาทับซ้อน 

ด้านประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า เป้าหมายหลักของธนาคารในตอนนี้คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวภายในกรกฎาคม 2564 โดยคำนึงถึงประสบการณ์ของลูกค้าที่ได้รับบริการเป็นหลัก ว่าต้องไม่ได้รับผลกระทบใดๆ

โดยธนาคารมีแผนที่จะเริ่มทยอยนำเสนอผลิตภัณฑ์ของแต่ละธนาคารให้ลูกค้าของอีกธนาคารได้รู้จักและทดลองใช้ และกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะเริ่มเปิดให้บริการ Co-Location/ Co-Brand Branch ที่เป็นสาขาร่วมระหว่างสองธนาคาร เเละเป็นสาขาที่อยู่ในพื้นที่ใกล้กัน โดยในปีแรกจะเริ่มทำ 90-100 แห่ง จากจำนวนสาขาที่มีอยู่ปัจจุบันจำนวน 900 แห่ง ทำให้จะเหลือ 800 แห่ง ซึ่งยืนยันว่าจะไม่กระทบลูกค้าและพนักงาน

ขณะที่ในเดือนมีนาคม ลูกค้าทั้งสองธนาคารจะได้ใช้บริการ ATM/ ADM จำนวนกว่า 4,700 เครื่อง ฟรีค่าธรรมเนียมฝาก ถอน โอน ลูกค้าทีเอ็มบี ทัช สามารถทำรายการกดเงินไม่ใช้บัตรจากเครื่องของธนชาตได้ และบิลสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ บัตรเครดิตของธนชาต ก็สามารถชำระได้ที่เครื่องของทีเอ็มบี

ทั้งนี้ เมื่อกระบวนการรวมกิจการเสร็จสิ้น ธนาคารใหม่นี้จะมีสินทรัพย์รวมเกือบ ล้านล้านบาท นับเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย 

 

]]>
1262244
ทีเอ็มบี จับมือ บลจ. ธนชาต พันธมิตรรายที่ 11 เสริมทัพความเป็นผู้นำด้านกองทุน เสนอขาย 4 กองทุนเด่นโค้งสุดท้ายปลายปี https://positioningmag.com/1256701 Thu, 12 Dec 2019 05:05:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256701 ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ตอกย้ำจุดยืนและกลยุทธ์การให้บริการด้านกองทุนแบบ Open Architecture ด้วยการเพิ่มพันธมิตรรายที่ 11 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนธนชาต จำกัด (บลจ.ธนชาต) นำเสนอ 4 กองทุน T-LowBeta T-PrimeLowBeta T-LowBetaLTFD และ T-LowBetaRMF ที่เป็นกองทุนเด่นของ บลจ.ธนชาต เน้นการลงทุนหุ้นไทยที่มีความผันผวนของเงินลงทุนน้อยกว่า SET Index มุ่งเน้นการสร้างผลตอบแทนการลงทุนในระยะยาวที่ค่อนข้างสม่ำเสมอและเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับลูกค้าผู้สนใจการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีในโค้งสุดท้ายปลายปี

นางมารี แรมลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้ารายย่อย ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนธนชาต จำกัด หรือ บลจ.ธนชาตได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรรายล่าสุดที่ช่วยตอกย้ำให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมแก่ลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยบลจ.ธนชาต เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนแบบ Active Fund ทั้งตราสารหนี้และตราสารทุนมาอย่างยาวนาน โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าดัชนีชี้วัดให้กับผู้ลงทุน รวมทั้งสร้างสรรค์รูปแบบกองทุนที่แตกต่างเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ เช่น กองทุนที่ลงทุนในหุ้นผันผวนต่ำ (Low Beta Stocks) ที่มีผลงานโดดเด่นจนได้รับการยอมรับ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้ามีตัวเลือกในการลงทุนได้มากขึ้น

ทั้งนี้ ทีเอ็มบีได้เริ่มจำหน่ายกองทุนของบลจ.ธนชาตตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยกองทุนที่เราคัดเลือกเข้ามาเป็นกองหุ้นไทย คือ T-LowBeta และ T-PrimeLowBeta โดยทั้งสองกองทุนเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นมีความผันผวนของเงินลงทุนน้อยกว่า SET Index มุ่งเน้นการสร้างผลตอบแทนการลงทุนในระยะยาวที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ซึ่งเหมาะกับสภาวะตลาดในปัจจุบันที่มีแนวโน้มจะมีความผันผวนสูงขึ้นในอนาคต นอกจากนี้เรายังได้นำกองทุน T-LowBetaLTFD และ T-LowBetaRMF เข้ามาเป็นทางเลือกเพิ่มเติมสำหรับลูกค้าที่ต้องการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีในช่วงโค้งสุดท้ายนี้อีกด้วย

บริการ Open Architecture ของธนาคารได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่องเพราะสามารถเลือกซื้อกองทุนที่มีผลงานดีมีหลากหลายนโยบายการลงทุนจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ชั้นนำกว่า 11 บลจ. ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน), บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด

ทีเอ็มบี มีความมุ่งมั่นที่จะคัดสรรกองทุนดีๆ จากพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ โดยพิจารณาปัจจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพมาให้นักลงทุนได้เลือกลงทุนอยู่ตลอดเวลา พร้อมเพิ่มทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลาย เพื่อให้ลูกค้าลงทุนได้อย่างเสรีมากขึ้นและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีและไปถึงเป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ได้เร็วยิ่งขึ้น

]]>
1256701
ทีเอ็มบี ผนึกกำลังกับเอฟดับบลิวดี เปิดตัว “TMB ABSOLUTE CARE” เจาะกระแส Aging Society ประกันที่แตกต่างด้วยการดูแลตั้งแต่ยังแข็งแรง https://positioningmag.com/1254853 Tue, 26 Nov 2019 08:35:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254853 ทีเอ็มบี จับมือเอฟดับบลิวดี เปิดตัว “ทีเอ็มบี แอปโซลูท แคร์” (TMB Absolute Care) ประกันสุขภาพแผนใหม่ที่ขยายขอบเขตความคุ้มครองให้ดูแลครอบคลุมทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ รวมไปถึงบุคคลรอบข้างมอบความคุ้มครองทั่วโลก ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุดถึง 100 ล้านบาท ไม่พลาดการดูแลสุขภาพทุกระยะดูแลตั้งแต่ยังแข็งแรง เริ่มเปิดจำหน่ายตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไปที่ ทีเอ็มบีทุกสาขา

นางณัฐวรรณ อภิรัตนพิมลชัย หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มลูกค้าบุคคลระดับกลาง ทีเอ็มบี เปิดเผยถึง ภาพรวมทางสังคมที่ส่งผลถึงพฤติกรรมและความต้องการใช้ผลิตประกันสุขภาพในปัจจุบันว่า “เนื่องจากปัจจุบันผู้คนหันมาให้ความสนใจในเรื่องของการดูแลสุขภาพมากขึ้น ประกอบกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ก็ยิ่งทำให้ผู้คนได้รับโอกาสที่จะมีอายุยืนยาวมากขึ้น ส่งผลให้ประชากรทั่วโลกมีอายุยืนยาวเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับประเทศไทยที่กำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัวในปี 2564 ที่จะถึงนี้ ซึ่งพบว่าคนไทยจะมีผู้สูงอายุจำนวนมากถึง 1 ใน 4 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งการมีอายุยืนยาวเป็นเรื่องที่ดีแต่ระหว่างทางก็จะมีความเสี่ยงที่เกิดจากการกินอยู่ การใช้ชีวิต อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เมื่ออายุมากขึ้นเราก็ต้องต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคภัยไข้เจ็บเรื้อรัง หรือที่ต้องได้รับการดูแลรักษาพิเศษ เช่น โรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง โรคปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต โรคตับ เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้เมื่อเป็นแล้วต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินของตัวเองและครอบครัว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องวางแผนเผื่อไว้สำหรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดจากความเจ็บป่วยต่างๆ ซึ่งหากมีหลักประกันสุขภาพที่ดีและตอบโจทย์ก็จะช่วยให้เรารับมือกับภาวะดังกล่าวได้เป็นอย่างดี”

ทีเอ็มบี ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการรับมือภาวะความเจ็บป่วยดังกล่าวจึงได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพแผนใหม่ขึ้น ไม่เพียงแต่เพื่อให้ตอบโจทย์การดูแลสุขภาพที่ครอบคลุมมากกว่าตัวลูกค้าหรือผู้เป็นเจ้าของกรมธรรม์เท่านั้นเท่านั้น แต่จะต้องเป็นแผนประกันที่สามารถดูแลได้ครอบคลุมถึงบุคคลรอบข้าง ดูแลทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจไปพร้อมกันในทุกช่วงเวลาของชีวิตอีกด้วย ดังนั้น ทีเอ็มบีจึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรอย่างเอฟดับบลิวดี (FWD) ออกแบบประกันสุขภาพที่เรียกว่า “ทีเอ็มบี แอปโซลูท แคร์ (TMB Absolute Care)” ขึ้น

นายชวมนต์ วินิจตรงจิตร หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์ธุรกรรมธนาคาร ทีเอ็มบี ได้เปิดเผยถึง แบบประกัน “ทีเอ็มบี แอปโซลูท แคร์” (TMB Absolute Care) ว่า “จากการศึกษาของสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI คาดการณ์ว่าตลอด 60 ปีที่ผ่านมาพบว่าปัจจุบันคนไทยอายุเฉลี่ย 75.3 ปี และมีความเป็นไปได้ว่าคนไทยที่เกิดในปี พ.ศ. 2559 จะมีอายุยืนเฉลี่ยเกือบ 100 ปี ทั้งนี้เพราะความใส่ใจเรื่องสุขภาพทำให้สามารถตรวจพบความผิดปกติทางร่างกายได้ง่ายขึ้น เมื่อตรวจพบเร็วก็ส่งผลให้การรักษาให้หายขาดได้เร็ว และแม้ว่าจะพบโรคภัยไข้เจ็บที่หลากหลายและมีความอันตรายมากขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ดีขึ้นก็ทำให้โรคที่รักษาไม่ได้ในอดีตสามารถเยียวยารักษาได้ทันท่วงทีเช่นกัน และเพื่อตอบโจทย์และให้ลูกค้าได้คลายความกังวลในเรื่องของการดูแลสุขภาพ ดังนั้น ทีเอ็มบี แอปโซลูท แคร์ (TMB Absolute Care) จึงเป็นประกันสุขภาพที่จะมาตอบโจทย์สำหรับผู้ที่มองหาประกันชีวิตรายปีที่เน้นความคุ้มครองสุขภาพที่ครอบคลุม หรือที่เรียกว่าแบบ Life Protection 99/9 คือ ทำได้ตั้งแต่อายุ 6 – 70 ปี คุ้มครองถึงอายุ 85 ปี มอบความอุ่นใจได้มากกว่าด้วยความคุ้มครองสุขภาพที่ดูแลได้ทั่วโลก วงเงินคุ้มครองสูงสุดถึง 100 ล้านบาทต่อปี สามารถคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทุกที่ทั่วโลกแบบเหมาจ่าย สูงสุด 100 ล้านบาทต่อปี และค่าห้องพักสูงสุด 25,000 บาทต่อวัน ดูแลให้ความมั่นใจมากกว่า ด้วยบริการความเห็นที่สองทางการแพทย์ (Medical Second Opinion) และคลายกังวลยามป่วยด้วยการดูแลด้านจิตเวช รวมทั้งดูแลคนที่รักมากกว่า มีค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้ดูแลสูงสุด 5,000 บาทต่อวัน เมื่อรับการรักษาด้วย 5 โรคร้ายแรงตามที่กำหนด และค่าปรึกษาด้านจิตเวชสำหรับครอบครัวเมื่อรับการรักษาด้วยโรคมะเร็ง”

ทีเอ็มบี แอปโซลูท แคร์ เป็นประกันสุขภาพซึ่งมีจุดเด่นอยู่ที่การดูแลที่ครอบคลุมมากกว่าทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจและครอบครัวที่อยู่เคียงข้างๆ เพื่อให้ลูกค้ากลับมาเข้มแข็งเหมือนเดิมเร็วขึ้น ตอบโจทย์ผู้ที่มีภาระความรับผิดชอบสูง ซึ่งด้วยภาระหน้าที่อาจจะทำให้ไม่มีเวลาดูแลสุขภาพและพักผ่อนมากเท่าที่ควร จึงต้องมีหลักประกันสุขภาพไว้เพื่อแบ่งเบาภาระความเสี่ยงไม่ให้กระทบธุรกิจและครอบครัว ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นเหมือนเสาหลักของครอบครัว โดยเฉพาะผู้ที่อายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป แม้ยังมีพลังมาก แต่สุขภาพอาจไม่แข็งแรงสมบูรณ์เหมือนเดิม อินไซต์ความต้องการจริงๆ คือ นอกจากความคุ้มครองแล้ว เป็นเรื่องของเวลา เมื่อป่วยก็ต้องการกลับมาแข็งแรงให้เร็วที่สุด หรือการป้องกันไว้ก่อนเจ็บป่วย เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลา และฟีเจอร์ที่แตกต่างคือ บริการเสริมดูแลจิตใจทั้งผู้ป่วยและคนรอบข้าง เช่น เมื่อเป็นโรคร้ายแรง (มะเร็ง) สามารถรับการรักษาด้านจิตเวชได้ทั้งผู้ป่วยและคนเคียงข้างในครอบครัว มีเบี้ยเลี้ยงให้กับผู้ที่ติดตามมาดูแลเฝ้าไข้ ซึ่งเราพยายามคิดให้ครอบคลุมความเป็นจริงตอบโจทย์ในชีวิตลูกค้ามากที่สุด เพราะกำลังใจมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นได้เร็วขึ้น เพราะคนในปัจจุบันมีอายุยืนยาวขึ้นด้วยหลายปัจจัย ทั้งดูแลตัวเองดีขึ้น วิทยาการความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยขึ้น ช่วยแก้ไขหรือรักษาความเจ็บป่วยได้อย่างแม่นยำและมีสิทธิภาพมากขึ้น แต่ทั้งนี้ความก้าวหน้าดังกล่าวก็ต้องมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเช่นกัน ดังนั้น ทีเอ็มบี แอปโซลูท แคร์ จึงถูกออกแบบมาเพื่อให้เข้ามาช่วยดูแลและเป็นหลักประกันในความเสี่ยงนี้ด้วยการเสนอให้การดูแลรักษาให้ลูกค้าได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่า ทั้งดูแลตัวเองมากกว่า” นายชวมนต์ กล่าวเสริม

นายปรีชา รุธิรพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บริษัท เอฟดับบลิวดี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “แบบประกันสุขภาพ ทีเอ็มบี แอปโซลูท แคร์ เป็นประกันที่ดูแลมากกว่าสุขภาพกาย แต่รวมถึงสุขภาพใจและคนข้างเคียง เพื่อให้เขากลับมาเข้มแข็งได้เหมือนเดิม ซึ่งแบ่งการดูแลเป็น 4 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงที่ 1 เตรียมความพร้อมสุขภาพให้ดีในทุกวัน ได้แก่ ตรวจสุขภาพประจำปี ดูแลรักษาสายตาและการทำเลสิค ดูแลและรักษาทางทันตกรรม และการฉีดวัคซีน รวมถึงการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร ช่วงที่ 2 การดูแลรักษาเมื่อยามป่วย เมื่อเข้ารับการรักษาจากโรคร้าย ทั้งกรณีเป็นผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ค่าอุปกรณ์หรืออวัยวะเทียม การเจ็บป่วยระหว่างอยู่ต่างประเทศ และการเข้ารักษาด้านจิตเวช รวมทั้งการเข้ารับการรักษาจากแพทย์ทางเลือก และจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย 5 โรคร้ายแรง ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมอง การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ และการผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ช่วงที่ 3 การดูแลต่อเนื่อง หลังรับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ทั้งด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู/กายภาพบำบัด การรักษาแบบการแพทย์บูรณาการสำหรับโรคมะเร็ง รวมทั้งการดูแลรักษาแบบประคับประคองระยะสุดท้าย และช่วงที่ 4 หมดกังวลในทุกสถานการณ์ แม้จะเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บฉุกเฉินทั้งในและต่างประเทศและภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และการคลอดบุตร”

โดยแบบประกันสุขภาพ ทีเอ็มบี แอปโซลูท แคร์ มี 3 แผนความคุ้มครอง ให้ลูกค้าของทีเอ็มบีเลือกสรรตามความต้องการ ได้แก่ แผนไดมอนด์ (Diamond) วงเงินคุ้มครอง 100 ล้านบาท คุ้มครองทั่วโลก แผนแพลทินั่ม (Platinum) วงเงินคุ้มครอง 100 ล้านบาท คุ้มครองในประเทศไทย และแผนโกลด์ (Gold) วงเงินความคุ้มครอง 20 ล้านบาท คุ้มครองในประเทศไทย นอกจากนี้ ทีเอ็มบี แอปโซลูท แคร์ ยังมีบริการประสานงานเพื่อเดินทางไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลในต่างประเทศ รวมทั้งมีบริการสายด่วนสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลกให้กับลูกค้า

“ทีเอ็มบี แอปโซลูท แคร์ เป็นประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการรักษาด้วยการแพทย์บูรณาการสำหรับโรคมะเร็ง และครอบคลุม Targeted Therapy หรือการรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลส์มะเร็ง รวมถึงแพทย์ทางเลือก ทำให้ลูกค้าอุ่นใจได้มากกว่าเพราะสามารถเลือกวิธีการรักษาที่ต้องการในสถานพยาบาลระดับ World-Class ในทุกที่ทั่วโลกได้ตั้งแต่วันแรก และเบาใจได้มากกว่าจากการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่าย” นายปรีชากล่าวตอนท้าย

นางสาวสุวิมล ตั้งนิสัยตรง ประธานเจ้าหน้าที่ สายงานช่องทางจัดจำหน่ายผ่านธนาคาร บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า “ความร่วมมือในการออกผลิตภัณฑ์ ทีเอ็มบี แอปโซลูท แคร์ ในครั้งนี้ ถือเป็นการผนึกกำลังระหว่างพันธมิตรทั้งสองอีกครั้งที่พร้อมจะให้บริการด้านผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าทีเอ็มบี โดยเราได้มีการร่วมกันศึกษาความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก หลังจากนั้นจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้า ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมา เราได้ออกผลิตภัณฑ์ร่วมกันหลายตัว เช่น แบบประกัน ทีเอ็มบี เวลธ์ตี้ ลิงค์ (TMB Wealthy Link) ซึ่งเป็นแบบประกันชีวิตควบการลงทุน ที่ได้รับผลตอบรับจากลูกค้ากลุ่มมั่งคั่ง (Wealth) ล่าสุดได้ร่วมกันออกแบบประกัน TMB Wealthy 3 Gens เน้นตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ต้องการส่งมอบมรดกให้กับลูกหลาน ซึ่งทุกผลิตภัณฑ์ได้รับความสนใจจากลูกค้าทีเอ็มบีเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเราจึงจะไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้มีความหลากหลาย และตอบโจทย์ของลูกค้าทีเอ็มบีทุกช่วงชีวิต”

ผู้สนใจ ทีเอ็มบี แอปโซลูท แคร์ (TMB Absolute Care) สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. 1558 กด #9 หรือที่สำนักงานสาขาของทีเอ็มบีทั่วประเทศ

#เพราะคุณต้องได้มากกว่า #GetMOREwithTMB # facebook.com/tmb

]]>
1254853
คอนเฟิร์มไม่ปลดคน! “ทีเอ็มบี-ธนชาต” ควบรวมทรัพย์สิน 2 ล้านล้าน ฐานลูกค้า 10 ล้านคน กลางปี 64 เหลือแบงก์เดียว https://positioningmag.com/1241915 Fri, 09 Aug 2019 09:54:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241915 ประกาศปิดดีลควบรวมกิจการของ 2 ธนาคารทีเอ็มบีและธนชาตเป็นที่เรียบร้อย ถือเป็นดีลประวัติศาสตร์ในกิจการธนาคารใหญ่ที่สุดในประเทศไทยรวมมูลค่าทรัพย์สินทั้ง 2 แบงก์มูลค่า 2 ล้านล้าน ขึ้นอันดับ 6 ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย

มาดูรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของดีลควบรวม 2 ธนาคาร “ทหารไทย (TMB) และ ธนชาต”

โครงสร้างถือหุ้นใหม่

สำหรับสัดส่วนผู้ถือหุ้น ของทั้ง 2 ธนาคารปัจจุบัน ธนชาต ถือหุ้นโดย บมจ.ทุนธนชาต (TCAP) 51.01% สโกเทียแบงก์ (BNS) 48.99% ส่วน ทีเอ็มบี ถือหุ้นโดย กระทรวงการคลัง 25.92% ING 25.02% อื่นๆ 49.06%

เมื่อรวมกิจการ 2 ธนาคาร “ทีเอ็มบีธนชาต” สัดส่วนการถือหุ้นใหม่ ING 21.3% ทุนธนชาต 20.4% กระทรวงการคลัง 18.4% สโกเทียแบงก์ (BNS) 5.6% ผู้ถือหุ้นรายย่อย 34.3%

มูลค่าทรัพย์สิน 2 ล้านล้าน

ศุภเดช พูนพิพัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร ทุนธนชาต (TCAP) กล่าวว่าการรวมกิจการของ 2 แบงก์เป็นความสมัครใจของทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อควบรวมแล้วจะเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่จากเดิมขึ้น “เท่าตัว” มีสินทรัพย์รวมกันเกือบ 2 ล้านล้านบาท

รวมฐานลูกค้า 2 ธนาคาร 10 ล้านคน มีความทับซ้อนกันไม่ถึง 10% มีความเชี่ยวชาญคนละด้าน “ธนชาต” เก่งเรื่องปล่อยสินเชื่อรายย่อย ส่วน “ทีเอ็มบี” เก่งเรื่องหาเงินฝาก หลังจากรวมกันจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

ผู้ถือหุ้นใหญ่ใส่เงินเท่าไหร่

จุมพล ริมสาคร รองปลัดกระทรวงการคลัง ผู้ถือหุ้นทีเอ็มบี กล่าวว่ากระทรวงการคลัง จะลงทุนเพิ่มราว 11,000 ล้านบาท ในธนาคาร “ทีเอ็มบีธนชาต” อีกทั้งมีสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มเติมจากการจัดสรรสิทธิที่พึงมีในกรณีที่ผู้ถือหุ้นรายเดิมไม่ใช้สิทธิเต็มจำนวนเพื่อคงสถานะในผู้ถือหุ้นหลัก

ส่วน ING ผู้ถือหุ้นทีเอ็มบี จะลงทุนเพิ่มอีก 12,500 ล้านบาท ในธนาคารใหม่ทีเอ็มบีธนชาต วางเป้าหมายเป็น

ในฝั่งของทุนธนาชาต (TCAP) จะได้รับเงินสดจากการขายหุ้นธนาคารธนชาตและบริษัทลูก 80,000 ล้านบาท โดยจะนำเงินไปปรับโครงสร้างธุรกิจ 14,000 ล้านบาท และจะเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนของทีเอ็ม จำนวน 44,000 ล้านบาท และซื้อหุ้นของบริษัทย่อยและเงินลงทุนอื่นๆ จากสโกเทียแบงก์ จำนวน 12,000 ล้านบาท

คาดว่า TCAP จะมีเงินสดเหลือจากทำธุรกรรมต่างๆ เหล่านี้ประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะนำไปใช้ลงทุนส่วนอื่นๆ ต่อไป

กลางปี 2564 เหลือแบงก์เดียว

ในส่วนของทีเอ็มบี ที่จะต้องดำเนินการภายหลังจากเงื่อนไขบังคับก่อนตามสัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างทีเอ็มบี ทุนธนชาต และสโกเทียแบงก์ สำเร็จ รวมทั้ง TCAP และธนาคารธนชาต ปรับโครงสร้างแล้วเสร็จ ขั้นตอนสำคัญคือ เดือน ก.ย. ทีเอ็มบีจะจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อขออนุมัติรายการที่เกี่ยวข้องกับการรวมกิจการ รวมถึงการเพิ่มทุนในการจัดหาเงินทุนเข้าเสนอซื้อหุ้นสามัญของธนาคารธนชาตจากผู้ถือหุ้นทุกราย

ทีเอ็มบี จะจัดหาเงินทุนรวม 130,000 ล้านบาท ส่วนแรกจากการออกหุ้นเพิ่มทุน (Equity Fund Raising) คาดว่าจะระดมทุนจากการออกหุ้นเพิ่มจำนวน 42,500 ล้านบาท ส่วนที่สองเป็นการออกและเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ บุคคลภายนอก จำนวน 6,400 ล้านบาท และผู้ถือหุ้นเดิมของธนาคารธนชาตทุกราย จำนวน 57,600 ล้านบาท คาดว่ากระบวนการแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค. 2562

โดยการควบรวม 2 ธนาคาร ให้เหลือ “แบงก์เดียว” คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในกลางปี 2564 โดยระหว่างนี้ลูกค้าของทั้ง 2 ธนาคารยังสามารถใช้บริการทั้ง 2 แห่งได้ตามปกติ

สำหรับชื่อของธนาคารใหม่จากการควบรวม “ทีเอ็มบีธนชาต” ยังไม่สรุป แต่จะเป็นชื่อที่ผสมทั้ง 2 แบรนด์ที่ลูกค้ารู้จักอยู่แล้วเข้าด้วยกัน

คอนเฟิร์มไม่ปลดพนักงาน 19,000 คน

ปัจจุบันธนาคารทีเอ็มบีและธนชาต มีสาขารวมกัน 900 สาขา มีพนักงานรวมกัน 19,000 คน

ประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต ยืนยันว่า จะไม่มีการปลดพนักงานของทั้ง 2 ธนาคาร เพราะต้องรองรับฐานลูกค้า 10 ล้านคน หากเปรียบเทียบกับไซส์ของธนาคารที่มีลูกค้า 10 ล้านคน “ทีเอ็มบีธนชาต” มีบุคลากรน้อยกว่า 20 – 30% ถือเป็นองค์กรที่ Lean อยู่แล้ว

การควบรวมจะมีการลดสาขาที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันบ้างส่วน และต้นทุนด้านไอที การทำตลาดและโฆษณา

]]>
1241915
ME by TMB ตอกย้ำผู้นำเทรนด์ต้นแบบ “ดิจิทัลแบงก์กิ้ง” ที่ให้มากกว่า รุกตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์กลุ่ม Gen D เพิ่มเงินเก็บให้งอกเงย https://positioningmag.com/1218219 Wed, 06 Mar 2019 10:16:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1218219 ME by TMB ผู้นำดิจิทัลแบงก์กิ้ง ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ผ่านบัญชีเพื่อเก็บ เพื่อใช้ และทำให้เงินงอกเงย ด้วยจุดยืนผลตอบแทนที่มากกว่า โชว์ผลงาน 7 ปีเติบโตต่อเนื่อง ลูกค้าเพิ่มเฉลี่ยปีละ 22% พร้อมจ่ายผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยที่มากกว่าให้กับลูกค้าไปแล้วรวม 4,490 ล้านบาท เปิดกลยุทธ์ปี 62 เน้นสร้างประสบการณ์ใหม่รับยุคดิจิทัล พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงความต้องการลูกค้า เจาะกลุ่ม Gen D ใช้โซเชียลและดิจิทัลในชีวิตประจำวัน เสนอเป็นตัวช่วยทำให้เงินเก็บงอกเงย พร้อมผลตอบแทนที่ให้มากกว่าเสมอ

ดร. เบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ME by TMB เปิดเผยว่า ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ME by TMB การธนาคารรูปแบบดิจิทัล (Digital Banking) เพื่อตอบโจทย์คนยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง มีผลการดำเนินงานเติบโตในทิศทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีจำนวนลูกค้ามากกว่า 360,000 บัญชี เมื่อดูจากบัญชีหลักคือ ME SAVE เติบโตเฉลี่ย 22% ต่อปี ทำให้ช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ME ให้ดอกเบี้ยกับลูกค้าไปแล้วรวมทั้งสิ้น 4,490 ล้านบาท

ในช่วงที่ผ่านมา ME ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบโจทย์ลูกค้ายุคดิจิทัลผ่าน 3 ผลิตภัณฑ์ เริ่มจากบัญชี ME SAVE บัญชีเงินฝากดิจิทัลซึ่งให้ดอกเบี้ยสูงถึง 4.5 เท่าของออมทรัพย์ทั่วไปหรือ 1.7% ต่อปี และล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา ได้ปลดล็อคการเปิดบัญชี ME SAVE ได้ผ่านระบบ EKYC (Electronic Know Your Customer) เพื่มความสะดวกให้กับลูกค้าในขั้นตอนยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชัน ME ได้ทุกที่ ทุกเวลาโดยไม่จำเป็นต้องไปยืนยันตัวตนที่สาขาอีกต่อไป และเมื่อกลางปี 2561 ได้เปิดให้บริการบัญชี ME MOVE บัญชีเพื่อใช้จ่าย พร้อมฟีเจอร์ Balance sweep ที่ช่วยคุณปัดเงินที่ยังไม่ใช้ไปเก็บที่ ME SAVE เพื่อรับดอกเบี้ยสูงแบบอัตโนมัติ ซึ่งลูกค้าให้การตอบรับดีมาก โดยเปิดบัญชีถึง 48,000 บัญชี มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 40,000 บัญชี และยังส่งผลให้ลูกค้าทำธุรกรรมกับ ME เพิ่มขึ้นถึง 70% เมื่อเทียบกับปี 2560 พร้อมด้วยล่าสุดเมื่อปลายปีที่ผ่านมาได้มีการเปิดตัว ME SURE ซื้อประกันชีวิตผ่านแอปพลิเคชั่นเป็นรายแรกของไทย

ในปีนี้เราได้แบ่งกลยุทธ์การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านกลยุทธ์ Personalize โดยวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ พร้อมนำเสนอบริการแบบครบวงจร เพื่อให้ลูกค้าได้รับ Digital Experience ผ่านกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่

  1. ME Love You คือ กลุ่มลูกค้าที่ใช้งาน ME เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง มีความเคลื่อนไหวทางบัญชี หรือฝากมากกว่าถอน และรวมถึงกลุ่มที่มีผลิตภัณฑ์ ME ครบทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ โดยจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการ พร้อมด้วยสิทธิพิเศษ (Privilege) ที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้ากลุ่มนี้ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์กับลูกค้า ME และก่อให้เกิดการบอกต่อในอนาคต
  2. ME Miss You คือ กลุ่มลูกค้าที่ขาดการติดต่อกับ ME โดยจะกระตุ้นให้กลับมาเคลื่อนไหวบัญชี พร้อมทั้งนำเสนอประสบการณ์ใหม่ๆ ที่จะทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้ใช้งานบัญชีสะดวกสบายยิ่งขึ้น แล้วทำให้กลับมาใช้ ME เป็นหนึ่งในดิจิทัลไลฟ์สไตล์ของเขา
  3. ME Need You คือ กลุ่มลูกค้าใหม่ ซึ่งในปีนี้ตั้งเป้าอยู่ที่ 20% ของลูกค้าปัจจุบัน โดยเราโฟกัสไปที่กลุ่ม Gen D และ Gig worker หรือ ฟรีแลนซ์ เนื่องจากผลวิจัยพบว่า พฤติกรรมของ Gen D เป็นคนที่มีประสบการณ์กับดิจิทัลเป็นหนึ่งในไลฟ์สไตล์ของเขา ชอบการใช้โซเชียลในชีวิตประจำวัน และยังมี 2 เรื่องใหญ่ที่ Gen D ให้ความสำคัญ ได้แก่ เรื่องการบริหารการใช้จ่ายเพื่อการออม (Manage Spending for Saving) และการบริหารการลงทุน (Manage Investment Portfolio per Risk Appetite)

นอกจากนี้ ผลวิจัยยังพบอีกว่า คนกลุ่มนี้มีเงินเก็บ เช่น การเก็บเงินเพื่อวางแผนท่องเที่ยว เก็บเงินเพื่อซื้อสิ่งของที่ต้องการ หรือเก็บเงินเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่เป็นเป้าหมายในระยะสั้น มากว่าการวางแผนการเงินในระยะยาว ดังนั้น ME จะเข้าไปเป็นตัวช่วยคนกลุ่มนี้ ให้มีเงินเก็บถึงเป้าหมายทั้งในระยะสั้นได้เร็วขึ้น และทำให้เงินเก็บงอกเงยขึ้นเพื่อให้ถึงเป้าหมายในระยะยาวได้ง่ายขึ้นผ่านช่องทางดิจิทัล โดยยังคงใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือเงินเก็บ

ทั้งนี้ กลุ่มลูกค้าของ ME ปัจจุบัน 80% เป็นคนรุ่นใหม่ถึงวัยทำงาน ชอบความคล่องตัว เป็นกลุ่มที่เปิดรับการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต สะดวกกับการทำอะไรด้วยตัวเอง เพื่อผลตอบแทนที่มากกว่า ไม่สะดวกไปทำธุรกรรมที่สาขา โดยมีสัดส่วนอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลกว่า 73% และต่างจังหวัด 27%

ดร. เบญจรงค์ กล่าวต่อว่า ปีนี้ ME ยังมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เพื่อให้ลูกค้าได้มากกว่าเสมอพร้อมกระตุ้นลูกค้าให้หันมาใช้บริการ ME ผ่านแอปพลิเคชันมากขึ้น จากปัจจุบันที่มีลูกค้าใช้งานอยู่ประมาณ 70% โดยมีเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 80% ของลูกค้าทั้งหมด และปัจจุบัน ME กำลังอยู่ใน Sand box หรือ เฟส 2 ของการพัฒนาไปสู่ Full EKYC ที่สามารถเปิดบัญชีได้ด้วยบัตรประชาชน และสมาร์ทโฟนทั้ง Android และ iOS ซึ่งคาดว่าจะสามารถใช้งานได้ภายในไตรมาสที่สองนี้ และจะทำให้ทุกคนสามารถเป็นลูกค้า ME ผ่านแอปพลิเคชันเดียวได้แบบ real time ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่ต้องมายืนยันตัวตนที่สาขาอีกต่อไป

โดยมั่นใจว่าแบงก์จะเป็นตัวช่วยทำอะไรให้ลูกค้าได้มากขึ้น เช่น การเก็บเงินได้มากขึ้น ด้วยฟีเจอร์ Balance sweep ของบัญชี ME MOVE ช่วยปัดเงินที่ยังไม่ใช้ไปรับดอกเบี้ยสูงกับ ME SAVE การใช้จ่ายได้สะดวกขึ้น ด้วยฟีเจอร์ QR payment ของบัญชี ME MOVE การได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น ผ่านผลิตภัณฑ์ใหม่ บัญชีเพื่อการลงทุนที่ได้ผลตอบสูง เพื่อทำให้เงินของคุณงอกเงย รวมทั้งการเก็บเงินพร้อมความคุ้มครองที่มากขึ้น กับ ME SURE ซื้อประกันผ่านแอปพิเคชันพร้อมความคุ้มครองทันที และผลตอบแทนที่ได้รับคืนเข้าบัญชี ME SAVE เพื่อรับดอกเบี้ยทำให้เงินงอกเงย ตลอดจนช่วยทำให้ลูกค้าไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น ด้วยฟีเจอร์และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ใช้งานได้ง่ายขึ้น เพื่อให้ลูกค้า ME ได้สัมผัส Digital Experience แบบเต็มรูปแบบ

“กลยุทธ์ในปีนี้จะเน้นสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ลูกค้าได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ME by TMB มากขึ้น และนำข้อมูลการใช้บริการของลูกค้ามาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น เพื่อตอบโจทย์สิ่งที่ลูกค้าต้องการ หรือ Personalize และในที่สุดจะก้าวสู่ดิจิทัล เอ็กซ์พีเรียนซ์ (Digital Experience) ซึ่งจะศึกษาข้อมูลจากพฤติกรรมของลูกค้า และเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับลูกค้าอย่างตรงจุดมากขึ้น โดยไม่ต้องมีพื้นฐานของสาขาเข้ามาเกี่ยวข้องเลย

สำหรับการพัฒนาดิจิทัลแบงก์กิ้งของประเทศไทยนั้น โดยเฉพาะโมบายแบงก์กิ้งเติบโตเร็วมากจนได้รับการจัดให้สัดส่วนการเข้าถึง mobile banking เป็นอันดับที่ 1 ในโลก หลังจากเปิดให้บริการระบบพร้อมเพย์ และธนาคารพาณิชย์ต่างลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม โดยประเทศไทยยังเน้นเรื่องผลิตภัณฑ์กับฟีเจอร์ ทำให้บริการหลักเป็นเรื่องรับเงิน จ่ายเงิน โอนเงิน และถอนเงิน เป็นต้น

“เราเชื่อว่าการมีผลิตภัณฑ์เงินฝากดิจิทัลใหม่ๆ นำเสนอออกมา จะทำให้ตลาดดิจิทัลแบงก์กิ้งของเมืองไทยขยายตัวเพิ่มขึ้น และเป็นทางเลือกให้ลูกค้าได้ใช้ดิจิทัลอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นผลดีต่อการตอกย้ำแบรนด์ ME ในการเป็นผู้นำดิจิทัลแบงก์กิ้งอันดับหนึ่งของเมืองไทยตั้งแต่เมื่อ 7 ปีที่แล้ว นับได้ว่า ME กลายเป็นโมเดลดิจิทัลแบงก์กิ้งแห่งแรกที่มีบัญชีเพื่อเก็บเงิน เพื่อใช้จ่าย และเพื่อสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นพร้อมความคุ้มค่า บนจุดยืนที่สำคัญของ ME คือเรื่องของการให้ผลตอบแทนที่มากกว่า และทำให้เงินของคุณงอกเงย และเรายังคงยึดมั่นและตั้งเป้าให้ลูกค้าได้ทำธุรกรรมทุกอย่างผ่านช่องทางดิจิทัล 100% เพื่อให้มีความสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าเป็นหลัก ตั้งแต่เริ่มต้น ไปจนถึงวิธีการใช้งานในชีวิตประจำวัน สามารถทำทุกอย่างบนแพลทฟอร์มที่เป็นดิจิทัล” ดร. เบญจรงค์กล่าว

]]>
1218219
ผ่าดีล ควบรวม “TMB” – “ธนชาต” มูลค่า 1.4 แสนล้าน อาจต้องลดสาขา แต่ไม่ลดคน https://positioningmag.com/1216701 Wed, 27 Feb 2019 07:47:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1216701 หลังจากเมื่อคืน (26 กุมภาพันธ์ตกเป็นข่าวครึกโครมเรื่องที่ “TMB” และ “ธนชาต” จะมีการควบรวมอย่างเป็นทางการเช้าวันนี้ (27 กุมภาพันธ์ทั้งคู่ได้จูงมือกันออกมาแถลงข่าวร่วมกันพร้อมกับผู้ถือหุ้นหลักของทั้ง 2 ธนาคาร ได้แก่ ผู้บริหารจากกระทรวงการคลัง, ING Groep N.V. (ING) และ บมจ.ทุนธนชาต (TCAP)

ท่ามกลางการแข่งขันในอุตสาหกรรมการเงินที่รุนแรงมากขึ้นทุกวันธนาคาร ไม่ได้แข่งกับธนาคารด้วยกันอีกต่อไป แต่คู่แข่งที่ขยับเข้ามาใกล้มากขึ้นทุกทีกลับเป็นฟินเทค (FinTech)” ทั้ง “TMB” และธนชาต บอกว่าการควบรวมกันในครั้งนี้จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันดีขึ้นในทุกด้าน ทั้งเงินทุนมากเพียงพอและช่องทางการให้บริการที่เพิ่มขึ้นมากเป็นเท่าตัว

โจทย์การแข่งขันเปลี่ยนไป การมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นจะสร้างความได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน

เพราะ “TMB” มีจุดเด่นในการระดมเงินฝาก, Deposit Franchise และรูปแบบการให้บริการด้านการเงินที่แตกต่างจากธนาคารแบบดั้งเดิม (Traditional Bank) ส่วนธนชาตเป็นผู้เชี่ยวชาญการให้บริการสินเชื่อรายย่อยโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ เป็นผู้นำอันดับ 1 ของตลาด

หลังการควบรวมจะทำให้มีมูลค่าธุรกรรม 1.4 แสนล้านบาท สินทรัพย์รวมอยู่ที่ประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท ฐานลูกค้ากว่า 10 ล้านคน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่หกในอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ไทย

เมื่อแยกย่อยลงไป จะพบว่าสินเชื่อรถยนต์ ก็จะยังเป็นเบอร์ 1 ในตลาด, สินเชื่อบ้าน ขยับขึ้นมาเป็นเบอร์4, สินเชื่อ SME” ขึ้นมาเบอร์ 5 และจำนวนผู้ใช้โมบายแบงกิ้งเกือบ 4 ล้านราย

วันนี้ธนชาตมีจำนวนสาขา 512 สาขา พนักงาน 12,000 คน ฐานโมบายแบงกิ้ง 1 ล้านราย ส่วน TMB มีจำนวนสาขา 400 สาขาต้นๆ พนักงาน 8,000 คน ฐานผู้ใช้โมบายแบงกิ้ง 1 ล้านราย

เมื่อพิจารณาการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ไทยรายอื่นๆ จะพบว่ามีการปิดสาขาและลดจำนวนคน เพราะลูกค้าได้ย้ายการทำธุรกรรมไปสู่ช่องทางดิจิทัลหมดแล้ว เช่นเดียวกับธนาคารทั้งคู่ที่บอกว่า ภายหลังการควบรวมอาจจะมีบางสาขาที่ต้องถูกนำมารวมกัน

ส่วนพนักงานที่มีรวมกันกว่า 20,000 คน ยังยืนยัน ณ วันนี้ ไม่ได้มีแผนลดจำนวนคน แต่จะปรับพนักงานที่ไม่ได้อยู่หน้าสาขาไปทำอย่างอื่น เช่น ย้ายไปสู่โมบายแบงกิ้ง หรือปรับเพิ่มทักษะอย่างอื่นเพื่อขายผลิตภัณฑ์การเงิน เป็นต้น

ส่วนโครงสร้างการบริหาร ใครขึ้นมาเป็น CEO ยังไม่ได้มีการพูดคุยกัน วันนี้ทั้ง 2 ธนาคารยังคงดำเนินธุรกิจไปตามปรกติ ส่วนที่ว่าจะมีการเปลี่ยน “ชื่อใหม่” (Rebranding) คาดว่าชื่อจะออกมาหลังการควบรวมกิจการ อาจจะใช้เวลาหลักเดือน หรือยาวไปถึง 1 ปีก็เป็นไปได้

แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น หลังจากนี้จะต้องเข้าสู่กระบวนการการตรวจสอบสถานะการเงิน (Due Diligence) คาดใช้เวลาราว 2-3 เดือน และเตรียมการเจรจาตกลงเกี่ยวกับสัญญาหลัก (Definitive Agreement) และดำเนินการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ โดยจะเสนอขายเงินลงทุนในบริษัทย่อยและเงินลงทุนอื่น

โดย TMB จะเป็นฝ่ายดำเนินการจัดหาเงินทุนมูลค่าประมาณ 1.30-1.40 แสนล้านบาททั้งนี้ ประมาณ 70% ของเงินทุนที่ต้องจัดหาทั้งหมดนั้นจะมาจากการออกหุ้นเพิ่มทุน และส่วนที่เหลือจะดำเนินการจัดหาด้วยการออกตราสารหนี้

ในส่วนของการออกหุ้นเพิ่มทุนนั้น จะแบ่งสรรเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ โดยหุ้นเพิ่มทุนส่วนแรกมูลค่าประมาณ 50,000-55,000 ล้านบาท จะเป็นการออกหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ TCAP และ Bank of Nova Scotia (BNS) ในเบื้องต้นคาดว่าหุ้นเพิ่มทุนของ TMB จะมีมูลค่าเท่ากับ 1.1 เท่าของมูลค่าทางบัญชีที่ปรับปรุงล่าสุดภายหลังจากการเพิ่มทุน และกระบวนการต่างๆ ที่จะมีการกำหนดไว้ต่อไปในสัญญาหลัก

สำหรับหุ้นเพิ่มทุนส่วนที่เหลือประมาณ 40,000-45,000 ล้านบาทนั้น TMB จะเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นปัจจุบันของธนาคาร โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นหลักในปัจจุบันของธนาคาร รวมทั้งอาจจะมีการออกหุ้นเพื่อเสนอขายหุ้นแก่ผู้ถือหุ้นปัจจุบันรายอื่นๆ หรือนักลงทุนรายใหม่ในวงจำกัดอีกด้วย

คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2562 โดยหลังจากนี้ทางกระทวงการคลัง, ING Groep N.V. (ING) และ บมจ.ทุนธนชาต (TCAP) จะเป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือไม่น้อยกว่า 20%.


ข่าวเกี่ยวเนื่อง

ไม่ต้องลือแล้ว! “TMB” ประกาศควบรวม “ธนชาต” เป็นทางการ ขึ้นอันดับ 6 แบงก์ไทย เตรียมเปลี่ยนชื่อใหม่เร็วๆ นี้

]]>
1216701
ไม่ต้องลือแล้ว! “TMB” ประกาศควบรวม “ธนชาต” เป็นทางการ ขึ้นอันดับ 6 แบงก์ไทย เตรียมเปลี่ยนชื่อใหม่เร็วๆ นี้ https://positioningmag.com/1216545 Tue, 26 Feb 2019 13:37:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1216545 แม้ก่อนหน้านี้ TMB หรือธนาคารทหารไทย จะส่งจดหมายแจง ตลาดหลักทรัพย์ฯ” เรื่องการควบรวมกิจการ แต่ในที่สุดข่าวลือก็ไม่ได้เป็นข่าวลืออีกต่อไป เพราะล่าสุด “TMB” ประกาศควบรวมกับธนชาตอย่างเป็นทางการแล้ว

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ธนาคารทหารไทย ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงแบบไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย (Non-binding Memorandum of Understanding) กับธนาคารธนชาตจำกัด (มหาชน), ING Groep N.V., บริษัททุนธนชาตจำกัด (มหาชน) และ The Bank of Nova Scotia จำกัด (มหาชน)

ภายหลังการรวมกิจการ จะมีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท ฐานลูกค้ากว่า 10 ล้านคน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่หกในอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ไทย โดยหลักๆ จะก่อให้เกิดประโยชน์ใน 3 ด้านคือ

1. ประโยชน์ด้านงบดุล : การรวมกิจการจะทำให้มูลค่าของกิจการเพิ่มขึ้นจากการมีงบดุลที่เหมาะสม (Balance Sheet Optimization) ผ่านการใช้สินทรัพย์และการจัดหาเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีโอกาสได้รับอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่สูงขึ้น และต้นทุนในการจัดหาเงินทุนที่ลดลง

2. ประโยชน์ด้านต้นทุน : การรวมกิจการจะทำให้ได้ประโยชน์จากขนาดกิจการที่ใหญ่ขึ้น (Scale) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการรวมกันของหน่วยงานสนับสนุนที่สำคัญ เช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการตลาด

3. ประโยชน์ด้านรายได้ : การรวมกิจการจะทำให้ฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ช่วยเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้ อีกทั้งการดำเนินงานร่วมกัน จะทำให้มีประสิทธิภาพในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินให้กับลูกค้าได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น รวมถึงความสามารถในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ

คาดว่าธุรกรรมนี้จะมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 130,000-140,000 ล้านบาท โดยได้เตรียมการระดมทุนทั้งการออกตราสารหนี้และการออกหุ้นเพิ่มทุน โดยเงินทุนจากการออกหุ้นเพิ่มทุนคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 70 ของมูลค่าธุรกรรม

สำหรับในส่วนการออกหุ้นเพิ่มทุนประมาณ 50,000 -55,000 ล้านบาทให้แก่ทุนธนชาต และ BNS และอีก 40,000 – 45,000 ล้านบาท จะออกจำหน่ายแก่ผู้ถือหุ้นรายเดิมของ TMB

หลังจากนี้ได้เตรียมเปลี่ยน ชื่อใหม่ (Rebranding) คาดว่าชื่อจะออกมาหลังการควบรวมกิจการ ส่วนพนักงานก็จะจัดการตามความเหมาะสมต่อไป โดยธุรกรรมทั้งหมดน่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2562

ในวันพรุ่งนี้ (27 กุมภาพันธ์ 2562) ทั้ง 2 ธนาคารได้เตรียมแถลงข่าวร่วมกันอย่างเป็นทางการด้วย.


ข่าวเกี่ยวเนื่อง

ทีเอ็มบี ยังไม่เคาะควบรวมธนชาต

]]>
1216545