Tencent – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 10 Jan 2024 09:49:13 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ลดแลกแจกแถม! ‘ByteDance’ บริษัทแม่ TikTok กำลังเจรจาขายธุรกิจเกมให้ ‘Tencent’ แม้มูลค่าจะลดลง https://positioningmag.com/1458184 Wed, 10 Jan 2024 08:05:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458184 หลังจากช่วงปลายปีที่ผ่านมา มีข่าวว่า ByteDance บริษัทแม่ของแพลตฟอร์มดัง TikTok ได้ยอมแพ้ในการปั้น ธุรกิจเกม โดยมีการปลดพนักงานนับพันคน ล่าสุด บริษัทก็ยืนยันว่ากำลังเจรจากับ Tencent บริษัทเกมยักษ์ใหญ่ของจีน เพื่อขายบริษัทเกมให้

ByteDance ได้ออกมายืนยันว่า บริษัทกําลังเจรจากับผู้ซื้อที่มีศักยภาพหลายรายสําหรับ ธุรกิจวิดีโอเกม และหนึ่งในบริษัทที่กำลังเจรจาคือ Tencent Holdings บริษัทเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลกจริง โดย ByteDance ยอม ลดมูลค่าของสตูดิโอเกมที่จะขาย หลังจากที่เคยใช้เงินลงทุนมากกว่า 100 ล้านหยวน (14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการพัฒนาเกมต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ตัวแทนบริษัทเปิดเผยว่า ByteDance ยังไม่บรรลุข้อตกลงกับ Tencent

ย้อนไปในเดือนพฤศจิกายน South China Morning Post ได้รายงานว่า ByteDance ได้กล่าวกับพนักงานว่า จะยกโครงการเกมส่วนใหญ่ที่ยังไม่ได้เผยแพร่ และขายลิขสิทธิ์อย่างน้อยสองเกม ได้แก่ Crystal of Atlan และ Earth: Revival นอกจากนี้ บริษัทยังเริ่มเลิกจ้างที่กลุ่มธุรกิจเกมซึ่งมีพนักงานเกือบ 2,000 คน แม้ว่าจํานวนพนัก งานที่ได้รับผลกระทบที่แน่นอนจะไม่ชัดเจน เพราะมีพนักงานบางส่วนที่ต้องการอยู่ที่ ByteDance โดยอาจจะย้ายไปยังทีมอื่นได้

แม้จะมีความสําเร็จอย่างมากกับแอปวิดีโอสั้น TikTok และ Douyin (TikTok เวอร์ชันจีน) แต่ ByteDance ก็ล้มเหลวในการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนด้านเกม บริษัทใช้เงินประมาณ 3 หมื่นล้านหยวนในการเข้าซื้อกิจการวิดีโอเกมและการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับสตูดิโอมากกว่า 20 แห่งระหว่างปี 2019 ถึง 2022 โดย Niko Partners ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมเกม เปิดเผยว่า สัดส่วนรายได้จากเกมของ ByteDance มีไม่ถึง 1% จากรายได้รวม

ขณะที่ Yan Shou หัวหน้าหน่วยเกมของ ByteDance ได้กล่าวว่า Zhang Yiming ผู้ก่อตั้งบริษัท ซึ่งลาออกจากตําแหน่งประธานและซีอีโอในปี 2021 ไม่เคยเป็นคนที่ชื่นชอบวิดีโอเกมก่อนที่จะเข้าสู่ตลาด โดยเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในอาชีพการงานของเขาในการลงทุนเชิงกลยุทธ์และจ้างคนหลายคนที่มีพื้นฐานการให้คําปรึกษาและกลยุทธ์เพื่อช่วยเขาบริหารหน่วยเกม และเขาก็เริ่มหมดความอดทนกับการพัฒนาที่ช้า โดยเขากล่าวว่า สตูดิโอ Moonton ของบริษัทยังไม่เติบโตแม้จะเพิ่มจํานวนพนักงานเป็นสองเท่า

Source

]]>
1458184
มูลค่าตลาด ‘Tencent’ หล่นวูบ 5.4 หมื่นล้านเหรียญ หลังจีนออกร่างกฎหมายเพื่อ ‘คุมการเล่นเกม’ ฉบับใหม่ https://positioningmag.com/1457014 Sat, 23 Dec 2023 03:57:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457014 ก่อนหน้านี้ จีน เคยออกกฎห้ามไม่ให้ เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีเล่นเกมออนไลน์เกิน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยจำกัดให้เล่นเกมได้เฉพาะระหว่างเวลา 20.00 น. ถึง 21.00 น. ในวันศุกร์ วันหยุดสุดสัปดาห์ และในที่สาธารณะเท่านั้น วันหยุดเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน นอกจากนี้ยังเสนอกฎเพื่อจำกัดเวลาหน้าจอสมาร์ทโฟนสูงสุดไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน

ด้วยข้อบังคับดังกล่าว ทำให้หุ้นของบริษัทเกมของจีนหลายรายหล่นวูบ และล่าสุด บริษัทเกมก็ต้องกุมขมับอีกรอบจาก ร่างกฎหมายใหม่ ที่ออกโดยหน่วยงานกำกับดูแลการเล่นเกมชั้นนำของจีนได้กำหนดให้เจ้าของเกมออนไลน์ ห้ามออกรางวัลที่จูงใจให้ผู้ใช้เข้ามาล็อกอินบ่อย ๆ รวมถึง ควบคุมการใช้จ่ายเงินและการใช้เวลาบนเกมออนไลน์

จากร่างกฎหมายใหม่ดังกล่าว ทำให้หุ้นของบริษัทเกมรายใหญ่ของจีนร่วงระนาว โดยหุ้นของ เทนเซ็นต์ (Tencent) ร่วงประมาณ 12% สูญเสียมูลค่าตลาดไปประมาณ 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนหุ้นของ เน็ตอีส (NetEase) ร่วงกว่า 25%

“ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจที่มีอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่สร้างขึ้นจากแรงจูงใจหรือรางวัลเพื่อดึงดูดผู้ใช้และเพิ่มความรอยัลตี้” Brian Tycangco นักวิเคราะห์จาก Stansberry Research กล่าว Brian Tycangco นักวิเคราะห์จาก Stansberry Research กล่าว

แม้ว่า Tencent จะมีรายได้หลายทางเพราะเป็นเจ้าของหลายแพลตฟอร์ม เช่น WeChat แต่รายได้ประมาณ 1 ใน 5 ก็มาจาก เกมออนไลน์ในประเทศ ขณะที่ NetEase มีรายได้จากเกมเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนถึง 80% ขณะที่ตลาดเกมของจีนเคยมีการคาดการณ์ว่าปีนี้จะเติบโตเกือบ 14% แตะระดับ 3. 4.24 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากธุรกิจหดตัวลง 10% เมื่อปีที่แล้ว

นับตั้งแต่ปี 2021 ที่ผ่านมา จีนได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อจำกัดการเล่นเกม เนื่องจาก ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง โทษว่า การติดเกมออนไลน์ว่าเป็นสาเหตุให้สายตาสั้นเพิ่มขึ้น และส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจของวัยรุ่นในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดเวลา หรือการออกสิทธิ์ในใบอนุญาตเกมที่ยากยิ่งขึ้น

Source

]]>
1457014
แก้ปัญหาวัยรุ่นตกงานในจีน Alibaba และ Tencent เริ่มกลับมารับเด็กจบใหม่เข้าทำงานแล้ว https://positioningmag.com/1441632 Sat, 19 Aug 2023 10:23:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441632 บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของจีนอย่าง Alibaba และ Tencent เริ่มกลับมารับเด็กจบใหม่เข้าทำงานแล้ว โดยคาดว่าการประกาศรับสมัครงานวัยรุ่นจบใหม่เหล่านี้จะแก้ปัญหาการว่างงานของวัยรุ่นที่สูงมากในตอนนี้ได้ หลังจากตัวเลขอัตราว่างงานในจีนในเดือนก่อนหน้านี้สูงถึง 21.3%

South China Morning Post รายงานข่าวว่า Alibaba และ Tencent บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และถือเป็นหน้าเป็นตาของบริษัทเอกชนจีน ได้ประกาศรับสมัครงานกับนักศึกษาจบใหม่แล้ว โดยการประกาศรับสมัครงานเด็กจบใหม่จากบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้ถือเป็นการส่งสัญญาณหลายประการต่อเศรษฐกิจจีนไม่น้อย

ทาง Alibaba ได้ประกาศรับสมัครงานกับนักศึกษาจบใหม่มากถึง 2,000 ตำแหน่ง โดยตำแหน่งที่เปิดรับนั้นเช่น วิศวกรรม หรือวิศวกรรมด้านข้อมูล ซึ่งตำแหน่งงานดังกล่าวจะทำงานในสำนักงานที่เมืองหางโจว

ขณะที่ทาง Tencent ได้ประกาศว่าจะรับสมัครงานกับนักศึกษาจบใหม่จำนวนมาก ทั้งสำนักงานของบริษัทในประเทศและสำนักงานในต่างประเทศ ซึ่งตำแหน่งงานจะเน้นไปยังด้าน AI ด้าน Cloud Computing ด้านหุ่นยนต์ หรือแม้แต่ด้าน IoT ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม แต่บริษัทไม่ได้กล่าวว่าจะรับพนักงานจำนวนเท่าไหร่

ไม่ใช่แค่ 2 บริษัทเท่านั้น Meituan ยักษ์ใหญ่บริการส่งอาหารในจีน ได้ประกาศรับรับสมัครงานกับนักศึกษาจบใหม่จำนวนมากถึง 5,000 ตำแหน่งเมื่อเดือนที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้ Alibaba ได้ปรับลดพนักงานลงมากถึง 6,541 ตำแหน่งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาบริษัทมีพนักงานทั้งสิ้น 228,675 ราย ขณะที่ Tencent ได้ปรับลดพนักงานจำนวน 6,200 คนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ทำให้เมื่อสิ้นไตรมาส 2 นั้นมีจำนวนพนักงาน 104,500 คน

ปัจจุบันเด็กวัยรุ่นอายุ 16-24 ปีว่างงานนั้นมีอัตราสูงเกิน 20% ไปแล้วด้วยซ้ำ จนทำให้ล่าสุดไม่กี่วันที่ผ่านมา รัฐบาลจีนประกาศว่าจะไม่รายงานตัวเลขดังกล่าวแล้ว

บริษัทเทคโนโลยีจีนในช่วงที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็น Alibaba และ Tencent รวมถึงบริษัทรายอื่น ได้ถูกรัฐบาลเข้ามาปราบปรามอย่างหนักในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการสั่งปรับเงินเป็นจำนวนมาก หรือแม้แต่เข้ามาจัดการในเรื่องการผูกขาดด้านแพลตฟอร์ม

นอกจากนี้รัฐบาลจีนเองยังได้นำนโยบาย “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” มาใช้กับหลายอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมที่โดนใช้มาตรการนี้ด้วยก็คือกลุ่มบริษัทเทคโนโลยี คาดว่ารัฐบาลกำลังเร่งหาวิธีการในการแก้ปัญหาดังกล่าวผ่านการขอร้องให้บริษัทเหล่านี้ช่วยเหลือในการแก้ปัญหานี้ด้วย

คาดว่าในปี 2023 จะมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยประมาณ 11.5 ล้านคน จบการศึกษา ซึ่งถ้าหากรัฐบาลจีนไม่ทำอะไรเลยนั้นอาจทำให้อัตราการว่างงานของวัยรุ่นจีนเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมได้ และการประกาศรับสมัครเด็กจบใหม่ของ Alibaba และ Tencent อาจสร้างความมั่นใจให้บริษัทอื่นๆ กลับมารับสมัครเด็กจบใหม่เข้าทำงานได้ด้วย

]]>
1441632
คุยกับ ‘WeTV’ แพลตฟอร์มที่ยืนหนึ่งตลาดคอนเทนต์เอเชีย กับกลยุทธ์ที่มากกว่าคอนเทนต์โดนใจ แต่ต้องอยู่กับผู้ชมในทุกทัชพอยต์ https://positioningmag.com/1426070 Fri, 07 Apr 2023 10:00:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1426070

เผลอแป๊บเดียว แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิงอย่าง ‘วีทีวี’ (WeTV) ที่ถือเป็นผู้จุดกระแส ‘ซีรีส์จีน’ และกระแส ‘C-Pop’ ให้กับประเทศไทย ก็กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 5 แล้ว และปัจจุบัน WeTV ก็ขึ้นแท่นเป็น Top 3 แพลตฟอร์มสตรีมมิงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง Positioning จะพาไปเจาะลึกถึงกลยุทธ์ของแพลตฟอร์มกับ กนกพร ปรัชญาเศรษฐ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดและการขาย และผู้จัดการ WeTV ประจำประเทศไทย บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จตลอด 4 ปีเต็ม


คาแรกเตอร์ชัด ผู้บุกเบิกคอนเทนต์จีน

ทำตลาดในไทยมา 4 ปีเต็มแล้ว สำหรับ ‘WeTV’ ผู้ให้บริการวิดีโอสตรีมมิงจาก ‘Tencent’ ยักษ์ใหญ่จากจีน โดย กนกพร ยอมรับว่าการแข่งขันนั้นดุเดือดขึ้นทุกวัน เพราะไทยถือเป็นหมุดหมายแรก ๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิงจะเข้ามาทำตลาด โดยผู้เล่นแต่ละรายก็จะมี จุดเด่น และ คาแรกเตอร์ เพื่อดึงดูดผู้ใช้ที่แตกต่างกันไป สำหรับ WeTV ก็จะเน้นที่คอนเทนต์เอเชียโดยเฉพาะ ซีรีส์จีน

ปัจจุบัน WeTV ถือเป็นผู้นำในตลาดคอนเทนต์จากเอเชีย โดยมีทั้งซีรีส์ อนิเมะ รายการวาไรตี้ จากจีน ไทย เกาหลี และญี่ปุ่น สำหรับบนแพลตฟอร์มของ WeTV ที่ให้บริการในไทยนั้นมีจำนวนคอนเทนต์รวมกว่า 1,200 คอนเทนต์ โดยเฉพาะกลุ่มคอนเทนต์จีนที่มีอยู่บนแพลตฟอร์มถึง 50% ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ ซีรีส์จีนย้อนยุค (60%) และโมเดิร์นดราม่า (40%)

“ถ้าคนอยากดูคอนเทนต์จีน เขาก็จะนึกถึงเราเป็น Top of Mind แต่คอนเทนต์จีนอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอเพราะเขามองหาความหลากหลาย ดังนั้น อีก 50% ที่เหลือจะมีทั้งคอนเทนต์จากไทย, เกาหลี, ญี่ปุ่น และอนิเมะ เข้ามาเสริม”


ซีรีส์จีนไม่ได้โบราณอย่างที่คิด

ถ้าเป็นกลุ่มผู้ใหญ่หรือคนยุค 90 อาจจะคุ้นเคยกับซีรีส์และภาพยนตร์จีนมากกว่าคนเจนใหม่ แต่ กนกพร มองว่านั่นไม่ใช่ข้อจำกัด เพราะซีรีส์จีนในปัจจุบันไม่ได้เหมือนในอดีต แม้ฉากหลังจะย้อนยุคแต่พล็อตเรื่องเป็นแบบสมัยใหม่ เพราะซีรีส์ส่วนใหญ่จะสร้างมาจากนิยาย ทำให้คนเปิดใจได้ไม่ยาก นอกจากนี้ ดารา คอสตูม เอฟเฟกต์ การถ่ายทำ ก็อลังการ ทำให้สามารถรับชมได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง นอกจากนี้ ก็จะมีกลุ่มที่เป็นแฟนนิยายตามมาดูซีรีส์

“ซีรีส์จีนในยุคปัจจุบันแม้จะมีฉากหลังเป็นยุคเก่า แต่พล็อตเรื่องมีความร่วมสมัยและหลากหลายมาก ทั้งแนวต่อสู้กำลังภายใน สืบสวนสอบสวน อย่างเรื่อง เทียบท้าปฐพี (Who Rules The World) ก็มีนางเอกเป็นตัวนำในการดำเนินเรื่อง แหวกขนบสังคมชายเป็นใหญ่”

โดยในปีที่ผ่านมา WeTV มีจำนวนผู้ใช้งาน MAU (Monthly-active user) เติบโตขึ้น 20% ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยในฝั่งของไทยตลอด 3 ปีที่ผ่านมายอดการรับชมคอนเทนต์จีนยังเป็นอันดับ 1 เติบโต 12%
(รองลงมาคือคอนเทนต์ไทยและอนิเมะ) ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าในกลุ่มผู้ใช้งานคนไทยตอบสนองต่อคอนเทนต์จีน โดยปัจจุบัน ผู้ใช้งาน WeTV ในไทยนั้น ราว 75% เป็นกลุ่มอายุ 18-45 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง


ย้ำจุดแข็งเบอร์หนึ่งคอนเทนต์เอเชีย พร้อมส่ง ‘มินิซีรีส์’ เสริมแกร่งด้านคอนเทนต์

ในส่วนของกลยุทธ์ด้านคอนเทนต์ แน่นอนว่าคอนเทนต์จีนยังเป็นกลยุทธ์หลัก แต่ที่เพิ่มเติมคือ มินิซีรีส์ โดยจะเป็นซีรีส์  สั้น ๆ ตอนละ 5-10 นาที มีความยาวประมาณ 30 ตอน โดยหลังจากลองเปิดตัวมาประมาณ 1 ปีในไทยก็ได้รับกระแส  ตอบรับอย่างดี เกิดกระแสบนโลกออนไลน์มากมาย สอดคล้องกับการเติบโตของระยะเวลาการออกอากาศบนแพลตฟอร์ม WeTV ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่โตถึง 420% สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการและความนิยมคอนเทนต์ประเภทวิดีโอสั้น (Short-video) ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจุดเด่นของมินิซีรีส์คือ จะสามารถดูง่าย จบในตอน ปัจจุบัน มินิซีรีส์ในแพลตฟอร์มมีมากกว่า 100 เรื่อง อีกส่วนที่จะเน้นคือ อนิเมะจีน ที่จะมาจับกลุ่มผู้ชายเป็นหลัก รวมถึงคอนเทนต์ประเภท วาไรตี้ ที่จะช่วยดึงดูดกลุ่มเด็กอายุ 15-18 ปี

สำหรับคอนเทนต์ออริจินัล WeTV ก็มีแผนจะผลิตอย่างต่อเนื่องทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทย โดยประเทศไทยได้วางเป้าหมายที่จะผลิตให้ได้ปีละ 4-6 เรื่อง ทั้งซีรีส์วายและซีรีส์ดราม่า โดยจะนำไปฉายให้ครบทุกประเทศที่แพลตฟอร์มให้บริการ อย่างล่าสุดซีรีส์ เมียหลวง ก็ได้รับความนิยมทั้งในไทยและต่างประเทศ ด้วยการครองอันดับ 1 ในหลายพื้นที่ให้บริการทั้งไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา โดยหนึ่งในจุดมุ่งหมายในการทำออริจินัลของ WeTV คือ อยากทำคอนเทนต์ไทยไปสายตาโลก

“อย่างที่เขาพูดกันว่าซีรีส์วายก็อาจจะกลายเป็นหนึ่งในซอฟต์เพาเวอร์ของไทยได้ เพราะเป็นอีกคอนเทนต์ที่ไปตกแม่ ๆ จากต่างประเทศ สำหรับ WeTV ปีที่แล้วก็มีออริจินัลซีรีส์วายออกไป 2 เรื่อง คือ กลรักรุ่นพี่ และ 609 Bedtime Story สำหรับปีนี้ล่าสุดก็มีการจับมือกับพาร์ทเนอร์ผลิตซีรีส์วายอย่าง Dee Hup House และ Just Up นำซีรีส์วาย “ค่อยๆ รัก Step by Step” เวอร์ชัน Uncut มาออกอากาศที่ WeTV ”


ขยายพันธมิตร 100% ทุกด้าน

ที่ผ่านมา WeTV ขยายฐานพันธมิตรแทบ 100% ในทุกแกนทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาค ซึ่งการจับมือกับพันธมิตรถือเป็นอีกกลยุทธ์ของแพลตฟอร์มทั้งการเพิ่มจำนวนผู้ใช้และรายได้ โดยในฝั่งของการเพิ่มจำนวนผู้ใช้ WeTV ได้จับมือกับช่องดิจิทัลทีวี เช่น ช่อง 8 ที่นำซีรีส์จีนไปฉายตลอด 7 วัน เพื่อให้ผู้บริโภคได้ลองรับชมซีรีส์จีน ถือเป็น Win-Win Strategy
เพราะช่องก็ได้คอนเทนต์คุณภาพไปฉาย ส่วน WeTV อาจจะได้ลูกค้าใหม่ที่ไม่อยากรอชมคอนเทนต์บนทีวี

อีกกลุ่มพันธมิตรสำคัญคือ ผู้ให้บริการการสื่อสารและโทรคมนาคมชั้นนำในแต่ละประเทศ อาทิ Telkomsel และ Indihome ในประเทศอินโดนีเซีย AIS, TRUE และ DTAC ในประเทศไทย โดยในระดับภูมิภาค WeTV ยังเป็นพันธมิตรกับแบรนด์และเอเจนซีโฆษณาชั้นนำระดับโลกมากมาย ซึ่ง WeTV ยังเตรียมจัดกิจกรรมโรดโชว์รายไตรมาสในภูมิภาค เพื่อเพิ่มโอกาสด้านพันธมิตรใหม่ๆ ทั้งกลุ่มเอเจนซีโฆษณา อาทิ GroupM, Omnicom Media Group (OMG), และ Dentsu รวมถึงกลุ่มนักโฆษณาและการตลาดในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มองเห็นศักยภาพจากการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย ผ่าน WeTV

“เราเชื่อว่าทุกคนพยายามมองหาสิทธิพิเศษให้กับกลุ่มลูกค้าของเขา เราก็ขอเป็น 1 ในสิทธิพิเศษที่เขาจะให้กับลูกค้า โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่กลุ่มโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์เติบโตสูงมากจริง ๆ รวมไปถึงการทำโฆษณาบนแพลตฟอร์ม OTT เพราะปัจจุบันผู้บริโภคยอมรับชมโฆษณามากขึ้น”


เข้าหาแม่ ๆ ในทุกทัชพอยต์

กนกพร ย้ำว่า แน่นอนว่าทุกแพลตฟอร์มใช้คอนเทนต์เป็นสิ่งแรกในการดึงดูดผู้ใช้ แต่สิ่งสำคัญคือ การสื่อสารกับผู้ใช้งาน โดย WeTV ให้ความสำคัญกับ คอมมิวนิตี หรือ แฟนด้อม มาก ดังนั้น บนแพลตฟอร์มเองก็จะมีการนำเทคโนโลยีจาก Tencent มาพัฒนา In-App engagement Feature ไม่ว่าจะเป็น Killing Feature อย่าง Flying Comment หรือคอมเมนต์เรียลไทม์ระหว่างรับชมคอนเทนต์ และฟีเจอร์ Send Love ที่ให้แฟนๆได้ร่วมส่งของขวัญ ร่วมโหวตให้กับดารา ศิลปินที่ชื่นชอบได้ นอกจากนี้ยังนำฟีเจอร์นี้มาผนวกกับ On Ground Activity เช่น กิจกรรมแฟนมีตติ้ง หรือกิจกรรม WeTV AWARDS ที่จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานได้มีส่วนร่วมกับ WeTV แบบเอ็กซ์คลูซีฟตลอดทั้งกิจกรรม นอกจากนี้ WeTV ก็มีการทำงานอย่างใกล้ชิดกับเหล่าแฟนคลับซีรีส์จีนและคอมมิวนิตีที่อยู่บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ

“เหล่าแฟนคลับหรือแม่ ๆ สำคัญมาก เพราะถ้าเขาดูและเขาชื่นชอบก็จะมีการบอกต่อ เราก็จะมีการทำงานอย่างใกล้ชิด พยายามจัดงานแฟนมีตกับศิลปิน และมีการใช้ฟีเจอร์อย่าง Live เพื่อให้แฟนคลับทางบ้านได้ดูด้วย โดยเราพยายามจะจัดให้ได้ 4-6 ครั้ง/ปี”


โอกาสเติบโตมากพอ ๆ กับความท้าทาย

สำหรับเป้าหมายของ WeTV ในปีที่ 5 นี้ กนกพร ระบุว่า ต้องการรักษาการเติบโตที่ 20-30% และต้องการขยายกลุ่มผู้ใช้ที่เด็กลง ปัจจุบัน ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไทยมีประมาณ 52 ล้าน ผู้ที่ใช้งาน OTT มีประมาณ 26 ล้านคน เฉลี่ยผู้ใช้จะมีแพลตฟอร์มประมาณ 4.5 แพลตฟอร์ม/คน แสดงว่ายังมีโอกาสสร้างการเติบโต

ปัจจุบัน สัดส่วนของผู้ใช้งานแบบ VIP ในแต่ละวันมีสัดส่วนประมาณ 25% โดยเป้าหมายของ WeTV ในอนาคตคือ เพิ่มสัดส่วนเป็น 50% โดย WeTV ก็ได้มีการจัดแพ็คเกจที่หลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค เช่น แพ็คเกจ 129 บาท/เดือน, 339 บาท/ 3 เดือน และ 1,200 บาท/ปี อย่างไรก็ตาม WeTV ให้บริการแบบไฮบริด ดังนั้น แพลตฟอร์มจึงสามารถเติบโตจากสมาชิกและรายได้จากฝั่งโฆษณา

“ความท้าทายของแพลตฟอร์ม OTT ในตอนนี้ คือ ผู้ใช้แต่ละกลุ่มก็ชัดมากและไม่ค่อยข้ามกัน ดังนั้น เมื่อตัวเลือกเยอะขึ้น การแข่งขันก็ต้องเพิ่มขึ้น และในอนาคตจะยิ่งเห็นการแข่งขันด้านราคากันมากขึ้น สำหรับ WeTV เองมองว่าว่าในความท้าทายตรงนี้ ยังมีโอกาสให้เราเติบโตได้ ไม่ว่าผู้ใช้จะอยากเอ็นจอยคอนเทนต์เราแบบไหน เราก็พยายาม Customize แพ็คเกจให้ตอบโจทย์มากที่สุด”

จากทั้ง 3 กลยุทธ์ที่ WeTV ได้วางไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มคอนเทนต์คุณภาพใหม่ ๆ การขยายพันธมิตรในทุกมิติทั้งด้านคอนเทนต์ไปจนถึงการเข้าถึงผู้ใช้งานและคู่ค้า รวมถึงการเสริมแกร่งคอมมิวนิตีทั้งจากพลังของกลุ่มแฟนๆภายนอกและ In-App Feature ล้วนตอกย้ำว่า WeTV ไม่หยุดอยู่แค่ Top 3 ผู้ให้บริการคอนเทนต์คุณภาพของเอเชียแน่นอน และ WeTV ก็พร้อมใช้ความแข็งแกร่งของแพลตฟอร์มเป็นส่วนผลักดันคอนเทนต์ไทยให้ออกไปสู่สายตาผู้ชมทั่วโลกอีกด้วย

]]>
1426070
Tencent เผยบริษัทกำลังสร้างแชทบอท AI เตรียมผนึกเข้ากับ WeChat และธุรกิจ Cloud หลังจากนี้ https://positioningmag.com/1425886 Fri, 31 Mar 2023 15:41:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425886 Dowson Tong รองประธานอาวุโสของ Tencent บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของประเทศจีนได้กล่าวว่าบริษัทกำลังพัฒนาแชทบอท AI คล้ายกับ ChatGPT และเตรียมผนึกเข้ากับ QQ และ WeChat รวมถึงบริการ Tencent Cloud ของบริษัทหลังจากนี้

Dowson Tong รองประธานอาวุโสของและยังเป็น CEO ของธุรกิจ Cloud ของ Tencent ได้กล่าวในงาน Boao Forum for Asia ซึ่งจัดที่มณฑลไห่หนานของประเทศจีน ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีผู้บริหารระดับสูงของหลายบริษัทในจีนเข้าร่วม ซึ่งเขาได้กล่าวว่าบริษัทกำลังพัฒนาแชทบอทระบบ AI คล้ายกับ ChatGPT อยู่ในตอนนี้

ขณะเดียวกันเขาได้ตอบคำถามของนักข่าวจีนในเรื่องถึงจะนำบริการดังกล่าวมาใช้นั้นเขากล่าวว่าแชทบอทระบบ AI ระบบ AI ดังกล่าวจะนำมาใช้ในบริการแชตทั้ง QQ และ WeChat นอกจากนี้ยังนำมาใช้กับบริการในภาคธุรกิจอย่าง Tencent Cloud ของบริษัทด้วย

ความเคลื่อนไหวของ Tencent ได้ตามหลังจาก Baidu บริษัทเทคโนโลยีของจีน เตรียมเปิดตัวแชทบอทระบบ AI คล้ายกับ ChatGPT ซึ่งชื่อว่า Ernie ขณะที่ Alibaba ซึ่งเป็นคู่แข่งรายสำคัญเองก็กำลังพัฒนาตัวแชทบอทดังกล่าวและกำลังให้พนักงานบริษัทสามารถทดสอบระบบได้

สำหรับ ChatGPT ของ OpenAI ทำงานโดยการเรียนรู้จากข้อมูลจำนวนมหาศาลถึงวิธีการตอบคำถามของผู้ใช้ในลักษณะที่เหมือนมนุษย์ และยังนำเสนอข้อมูลเช่นเครื่องมือค้นหา รวมถึงความสามารถอันหลากหลาย เช่น การเขียนบทความให้เหมือนกับกวีได้

รองประธานอาวุโสของของ Tencent ยังกล่าวว่าแชทบอทระบบ AI จะเป็นหนึ่งในหลาย ๆ บริการที่บริษัทกำลังเตรียมที่จะเปิดตัว แต่ทางบริษัทไม่ได้มองว่า ChatGPT เป็นภัยคุกคามทางธุรกิจ ที่จะต้องรีบจัดการในทันที

ที่มา – China Daily, CLS

]]>
1425886
“เทนเซ็นต์ คลาวด์” ส่ง Metaverse Solution Suite ยกระดับองค์กรไทยสู่อีกขั้นของการดำเนินธุรกิจยุคดิจิทัล https://positioningmag.com/1422737 Tue, 21 Mar 2023 10:00:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422737

ต้องบอกว่าเทรนด์ด้านเทคโนโลยีที่ร้อนแรงที่สุดในยุคนี้ คงหนีไม่พ้น Metaverse (เมตาเวิร์ส) เรียกได้ว่าธุรกิจหลายแวดวงทยอยตบเท้าก้าวสู่โลก Metaverse กันอย่างคึกคัก ไม่ว่าจะเป็นแวดวง ค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์ โทรคมนาคม สถาบันทางการเงิน และอีกหลากหลายวงการ

ถ้าให้อธิบายอย่างเข้าใจง่ายที่สุด Metaverse เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อระหว่างโลกเสมือน และโลกความเป็นจริงเข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ และจากการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้การเชื่อมต่อนั้นแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น หลายองค์กรเริ่มมองหาโอกาสจากการสร้างแพลตฟอร์มที่สามารถเชื่อมต่อกับ Metaverse ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง และสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้กับผู้ใช้งานได้

จากรายงานของ Deloitte ได้วิเคราะห์ว่าผลจาก Metaverse ที่มีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ GDP ทั่วเอเชีย จะอยู่ที่ 0.8 ถึง 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปีภายใน พ.ศ. 2578 คิดเป็นประมาณ 1.3-2.4% ของ GDP

ด้าน เทนเซ็นต์ (Tencent) ยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยีระดับโลก ก็ไม่พลาดเป็นผู้นำกระแสนี้ ล่าสุดประกาศกลยุทธ์ Immersive Convergence ที่จะหลอมรวมดิจิทัลเข้าสู่โลกความจริงโดยเชื่อมต่อระหว่างโลกเสมือน และโลกความเป็นจริงผ่านเทคโนโลยีอันล้ำสมัยต่างๆ ของ เทนเซ็นต์

นายกฤตธี มโนลีหกุล รองประธานเทนเซ็นต์ คลาวด์ อินเตอร์เนชันแนล ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า

“Metaverse จะเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่จะมาดิสรัปอุตสาหกรรมต่างๆ ปัจจุบันองค์กรต่างๆ รวมถึงผู้ประกอบการทั่วโลกต่างให้ความสนใจและจับตามอง ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ Immersive Convergence ของ    เทนเซ็นต์ที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับแผนการดำเนินงานผ่านความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ด้วยโครงสร้างพื้นฐาน และการให้บริการดิจิทัล ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อกับโลกจริงและ Metaverse ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด โดยองค์กรต่างๆ จะได้รับประโยชน์มากมายจากบริการที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse ของเทนเซ็นต์ คลาวด์”

“ในฐานะผู้ให้บริการคลาวด์ชั้นนำระดับโลกที่พร้อมเป็น Digital Enabler ให้กับทุกองค์กร เทนเซ็นต์ คลาวด์ จึงได้นำเสนอ Metaverse Solution Suite เพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการอัปเกรดองค์กรเข้าสู่โลก Metaverse โดยมาพร้อมบริการแบบครบวงจร ที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถใช้เครื่องมือ และบริการในการสร้างโลก Metaverse ให้สมจริงด้วยโซลูชันต่างๆ มากมาย ยกตัวอย่าง เช่น

  • โซลูชันสำหรับการสร้าง Virtual Scene ที่ช่วยในการสร้างการจำลองเสมือนจริง การสร้างสำเนาดิจิทัลให้สมจริงและใกล้เคียงกับของจริงมากที่สุด อาทิ Tencent Cloud Real-time Cloud Rendering และ Digital Twins ที่ช่วยในการจำลองและสร้างภาพกราฟิกเสมือนจริงแบบเรียลไทม์
  • โซลูชันสำหรับการสร้าง Digital Human & Avatar อาทิ Digital Human,Text Driven Digital Human และ Avatar Based on Real-Time Capturing โซลูชันที่ผสานการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน และคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับการสร้างมนุษย์ดิจิทัลที่สามารถแสดงออกและโต้ตอบได้ มอบประสบการณ์ที่หลากหลายให้แก่ผู้ใช้งานใน Metaverse
  • โซลูชันสำหรับสร้างการสื่อสารแบบโต้ตอบ (Interactive Media & Communication) คือ โซลูชันที่ช่วยเชื่อมต่อผู้ใช้งานผ่านการโต้ตอบแบบเรียลไทม์ และความรู้สึกที่เสมือนจริงผ่านการใช้งาน AR/VR ซึ่งประกอบด้วย (1) Game Multimedia Engine (GME) โซลูชันการสนทนาเสียงในการเล่มเกมแบบครบวงจร ด้วยฟีเจอร์การปรับปรุงรูปแบบและประเภทเกมให้มีประสิทธิภาพเชิงลึกสูงสุด โดยสามารถรองรับการสนทนาด้วยเสียงระหว่างผู้เล่นหลายคน ระบบการระบุหาต้นตอเสียงแบบสามมิติ ข้อความเสียง และการแปลงคำพูดเป็นข้อความ เพื่อให้ผู้เล่นได้เพลิดเพลินไปกับการเล่นเกมใน Metaverse (2) Tencent Real-Time Communication (TRTC) เป็นโซลูชันการโทรด้วยเสียง/วิดีโอแบบกลุ่มและการไลฟ์สตรีมมิงแบบโต้ตอบคุณภาพสูง และให้ความคุ้มค่า มีเวลาหน่วงต่ำตอบสนองได้อย่างฉับไวภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว (3) Cloud Streaming Services (CSS) บริการเพื่อการถ่ายทอดสัญญาณสดการแปลงรหัสการแพร่สัญญาณและการรับชมย้อนหลังที่รับประกันเวลาที่หน่วงต่ำเป็นพิเศษ อีกทั้งยังให้คุณภาพของวิดีโอในระดับUltra-high สามารถรองรับผู้ใช้งานจํานวนมากในเวลาเดียวกันได้อย่างราบรื่น ไม่สะดุด
  • โซลูชันสำหรับรองรับการประมวลผล (Computing Power) คือโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยรองรับการประมวลผลที่เสถียร และมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วย (1) GPU Cloud Computing (GCC) เซิร์ฟเวอร์คลาวด์ที่สามารถประมวลผลข้อมูลกราฟิกด้วยความเร็วสูง (2) Edge Computing Machine (ECM) ที่ช่วยให้ระบบประมวลผลสามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จากการขยาย node การประมวลผลให้อยู่บน node ที่ใกล้กับผู้ใช้งานใน Metaverse มากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงความแออัดของเครือข่าย และให้บริการที่ลื่นไหลมากยิ่งขึ้น

เพื่อให้หลายคนได้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ขอยกตัวอย่างธุรกิจที่ใช้โซลูชัน Metaverse ของ                   เทนเซ็นต์ คลาวด์ในการสร้างสรรค์บริการและผลิตภัณฑ์ดิจิทัล อย่าง Metalife เครื่องมือสื่อสารใหม่จากญี่ปุ่นที่สามารถใช้เป็นทั้งสำนักงาน สถานที่จัดงานกิจกรรม ห้องเรียน พื้นที่ทำงานนอกสถานที่ และห้องประชุมใน Metaverse โดยเทนเซ็นต์ คลาวด์ได้ให้การสนับสนุนโซลูชัน Tencent Real-Time Communication (TRTC) แก่ Metalife เพื่อให้ผู้ใช้งานเชื่อมต่อถึงกันในสภาพแวดล้อมที่ให้ความรู้สึกกลมกลืนเสมือนจริง นอกจากนี้ยังช่วยให้องค์กรสามารถสร้างสรรค์บริการ Live Streaming แบบ Interactive ที่มีเกิดการ Lag น้อยที่สุด และมีค่าความหน่วง (Latency) จากต้นทางถึงปลายทางทั่วโลกในระดับต่ำกว่า 300 มิลลิวินาที เพื่อเป็นหลักประกันถึงประสบการณ์เสียงและภาพที่ยังคงราบรื่นแม้ในสภาวะที่มีอัตราการเกิด Packetloss ถึง 80% นอกจากนี้เทคโนโลยีนี้ยังมีความเข้ากันได้สูงมากในทุกแพลตฟอร์มและภูมิภาค จึงเป็นตัวเลือกที่ทรงพลังในการสร้างแพลตฟอร์ม Metaverse

นี่คือตัวอย่างขององค์กรธุรกิจที่นำ Metaverse มาสร้างโอกาสทางธุรกิจได้อย่างน่าสนใจ แต่การก้าวเข้าสู่โลก Metaverse นั้น ต้องยอมรับว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่ท้าทายสำหรับหลายๆ องค์กรทั้งในต่างประเทศ รวมถึงในประเทศไทย เนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีคลาวด์และ AI บนโครงสร้างพื้นฐานที่มีความซับซ้อน

ด้วยเหตุนี้ การมีพาร์ทเนอร์ทางเทคโนโลยีที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ จึงเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่จะช่วยให้การสร้างสรรค์โลก Metaverse เป็นไปได้อย่างราบรื่น

“เทนเซ็นต์ คลาวด์ในฐานะ Digital Enabler พร้อมที่จะสนับสนุนองค์กรไทยในการขยายธุรกิจไปทั่วโลกผ่านการให้บริการด้านโซลูชันที่สอดรับกับแนวทางขององค์กรนั้นๆ เพื่อผลักดันธุรกิจให้ไปสู่เป้าหมายด้วยจุดแข็งรอบด้านที่จะช่วยให้ทุกองค์กรเข้าถึงโซลูชันที่ช่วยสร้างโลก Metaverse ได้อย่างสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็น ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีเสียงและวิดีโอที่สั่งสมมากว่า 20 ปี ผสานความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานจากพื้นที่ให้บริการที่ครอบคลุม 70 พื้นที่ใน 26 ภูมิภาคทั่วโลก และการมี Data Center ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยถึง 2 แห่ง ตลอดจนมีทีมงานคนไทยที่มีความเชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำ และการสนับสนุนแก่องค์กรต่างๆ ในไทยได้อย่างครบวงจร” นายกฤตธี กล่าวสรุป

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เทนเซ็นต์ คลาวด์ ได้ ที่นี่

]]>
1422737
รัฐบาลจีนเข้าถือหุ้นบริษัทเทคโนโลยี ทั้ง Alibaba และ Tencent ผ่านกลไก Golden Shares https://positioningmag.com/1415488 Sat, 14 Jan 2023 06:57:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1415488 รัฐบาลจีนได้เข้าถือหุ้นบริษัทเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น Alibaba และ Tencent ผ่านกลไก Golden Shares ที่ถือหุ้นสัดส่วนราวๆ 1% แต่มีสิทธิ์สามารถควบคุมทิศทางของบริษัทเหล่านี้ว่าจะไม่ให้ออกนอกลู่นอกทางที่รัฐบาลจีนได้วางไว้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวนำมาใช้หลังจากรัฐบาลเข้ามาปราบปรามบริษัทเทคโนโลยีอย่างหนักในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

สื่อต่างประเทศทั้ง Reuters และ Bloomberg รวมถึง Financial Times ได้รายงานข่าวว่ารัฐบาลจีนได้เข้าถือครองหุ้นของ Alibaba รวมถึง Tencent ผ่านกลไก Golden Shares ซึ่งจะทำให้มีสัดส่วนในการถือหุ้นบริษัทเหล่านี้ราวๆ 1% แต่มีสิทธิ์ในการควบคุมทิศทางของบริษัทเหล่านี้ว่าจะไม่ให้ออกนอกลู่นอกทางที่รัฐบาลจีนได้วางไว้

สาเหตุที่ทำให้รัฐบาลจีนเข้ามาถือหุ้นส่วนน้อยแทนการควบคุมเนื่องจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หน่วยงานของรัฐบาลได้เข้ามาปราบปราม รวมถึงปรับบริษัทเทคโนโลยีเป็นเงินมหาศาล ไม่ว่าจะเป็น Alibaba ที่โดนปรับมากถึง 86,000 ล้านบาท (ในช่วงเวลานั้น) หรือแม้แต่คู่แข่งอย่าง Tencent เองก็โดนปรับเช่นกัน

การเข้ามาปราบปรามกลุ่มเทคโนโลยี รวมถึงกลุ่มการศึกษาออนไลน์ ไปจนถึงภาคส่วนอื่นๆ ของรัฐบาลจีนได้ส่งผลเสียมหาศาลต่อเศรษฐกิจ รวมถึงสร้างผลกระทบต่อตลาดหุ้นด้วย ทำให้มูลค่าบริษัทในตลาดหุ้นจีนหายไปไม่น้อยกว่า 40% นับตั้งแต่มีการเข้าปราบปราม

การใช้กลไก Golden Shares ของจีนนั้นได้เริ่มต้นมาตั้งแต่การเข้าถือหุ้นของบริษัทเทคโนโลยีจีนในช่วงปี 2022 ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น Weibo ไปจนถึงบริษัทแม่ของ TikTok อย่าง ByteDance โดยหน่วยงานกำกับดูแลบริหารไซเบอร์สเปซของจีน (CAC) จะตั้งกองทุนเอาไว้ถือหุ้นบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้

นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมสื่อที่รัฐบาลจีนนี้ออกกฎหมายโดยใช้กลไก Golden Shares ในปี 2016 มาเพื่อควบคุมสื่อมากขึ้นด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ในกรณีของ Alibaba นั้นรัฐวิสาหกิจของจีนหลายแห่งเองก็ได้สนใจที่จะเข้ามาลงทุนในกลไก Golden Shares ของบริษัทไม่ว่าจะเป็น China Mobile เครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่สุดของจีน CITIC ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังจีนถือหุ้น หรือแม้แต่ China Post

]]>
1415488
Tencent ปรับแผนการซื้อกิจการ เน้นซื้อบริษัทเกมในทวีปยุโรป และต้องเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ https://positioningmag.com/1402891 Mon, 03 Oct 2022 16:16:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1402891 แผนการลงทุนในบริษัทเกมของ Tencent ครั้งนี้แสดงให้เห็นตลาดเกมในประเทศจีนนั้นเริ่มชะลอตัวลง หลังจากที่ทางการจีนได้เข้าปราบปรามบริษัทเทคโนโลยี ส่งผลทำให้เกิดความไม่แน่นอนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี รวมถึงรายได้ของบริษัทที่ลดลง

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า Tencent ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีจากจีน เตรียมปรับกลยุทธ์ในการลงทุนในกิจการต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจเกม โดยเน้นไปที่การเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทผู้พัฒนาเกม หลังจากที่ยักษ์ใหญ่รายดังกล่าวนี้ประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจในประเทศจีน ซึ่งเติบโตได้ช้าลง

แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ได้กล่าวกับ Reuters ว่าบริษัทได้เบนเป้าหมายใหม่ไปยังผู้ผลิตหรือผู้พัฒนาเกมในทวีปยุโรป นอกจากนี้บริษัทยังเตรียมที่จะถือหุ้นในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญ ซึ่งโดยปกติแล้ว Tencent มักจะมีการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง รวมถึงผู้พัฒนาเกมด้วย อย่างไรก็ดีบริษัทมักจะถือหุ้นเป็นสัดส่วนที่ไม่สูงมากนัก

กลยุทธ์ในการลงทุนของ Tencent ที่เป็นเช่นนี้เกิดจากตลาดเกมในประเทศจีนเริ่มชะลอตัวลง หลังการเข้ามาปราบปรามรวมถึงจัดระเบียบของรัฐบาล ส่งผลทำให้เกิดความไม่แน่นอน รวมถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 134,034 ล้านหยวน ลดลง 3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2021 ที่ผ่านมา ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 28,139 ล้านหยวน ซึ่งถือว่าเป็นการลดลงของรายได้ครั้งแรกของบริษัทอีกด้วย

นอกจากแหล่งข่าวอีกรายของ Reuters ยังกล่าวว่าบริษัทเกมแล้วยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีจากจีนรายนี้ได้เตรียมที่จะลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับด้าน Metaverse ในยุโรปอีกด้วย

เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาบริษัทมีแผนเตรียมที่จะขายหุ้นในบริษัทที่ลงทุนไว้ ไม่ว่าจะเป็น Meituan บริการส่งอาหาร KE บริการออนไลน์ด้านอสังหาริมทรัพย์ รวมถึง Didi บริการเรียกรถ เป็นต้น หลังจากที่ได้พิจารณาการลงทุน ซึ่งเงินส่วนหนึ่งที่ได้จะนำมาโฟกัสกับธุรกิจหลักๆ ของบริษัทหลังจากนี้ ซึ่งธุรกิจเกมก็เป็นหนึ่งในนั้น

]]>
1402891
Tencent เตรียมขายหุ้นที่ลงทุนในบริษัทอื่นๆ เตรียมกลับมาโฟกัสธุรกิจหลักหลังจากนี้ https://positioningmag.com/1401093 Tue, 20 Sep 2022 18:25:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401093 เทนเซ็นต์ (Tencent) ยักษ์ใหญ่ไอทีของจีน เตรียมที่จะขายหุ้นในบริษัทที่ตัวเองลงทุน เช่น Meituan บริการส่งอาหาร ฯลฯ โดยบริษัทจะนำเงินที่ได้มาซื้อหุ้นของบริษัทกลับคืน รวมถึงนำมาลงทุนและโฟกัสในธุรกิจหลักของบริษัทเพื่อเพิ่มการเติบโตหลังจากนี้

Wall Street Journal รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Tencent ยักษ์ใหญ่ไอทีของจีนเตรียมที่จะขายหุ้นในบริษัทที่ลงทุนไว้ ไม่ว่าจะเป็น Meituan บริการส่งอาหาร KE บริการออนไลน์ด้านอสังหาริมทรัพย์ รวมถึง Didi บริการเรียกรถ เป็นต้น หลังจากได้พิจารณาการลงทุนของบริษัท

เงินที่ขายหุ้นได้จากบริษัทเหล่านี้ Tencent จะนำมาซื้อหุ้นของบริษัทกลับคืน รวมถึงนำมาต่อยอดธุรกิจหลักของบริษัทเพื่อที่จะเพิ่มอัตราการเติบโตหลังจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจวิดีโอเกม หรือธุรกิจการแพทย์

ถ้าหากรวมมูลค่าของ 3 บริษัทข้างต้นที่ Tencent ถือหุ้นไว้จะมีมูลค่าเกือบๆ 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ถ้าหากนับมูลค่าหุ้นที่ยักษ์ใหญ่ไอทีของจีนลงทุนในบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แล้วนั้นมูลค่าอาจสูงถึงเกือบ 83,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ขณะเดียวกันสถานะเงินสดของ Tencent เองนั้นล่าสุดอยู่ที่ราวๆ 26,300 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีหนี้สินน้อยมาก และในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 134,034 ล้านหยวน ลดลง 3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2021 ที่ผ่านมา ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 28,139 ล้านหยวน ซึ่งถือว่าเป็นการลดลงของรายได้ครั้งแรกของบริษัทอีกด้วย

ก่อนหน้านี้ Tencent ถือเป็นบริษัทเทคโนโลยีของจีนที่ลงทุนในสตาร์ทอัพจนเติบโตกลายเป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของจีนหลายแห่ง อย่างไรก็ดีบริษัทกลับได้รับผลกระทบจากการเข้ามาปราบปรามรวมถึงจัดระเบียบทางธุรกิจโดยรัฐบาลจีน ส่งผลทำให้บริษัทต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการทำธุรกิจครั้งใหญ่

]]>
1401093
รายได้ ‘Tencent’ ลดลงครั้งแรก หลังจีนคุมเข้มอุตสาหกรรม ‘เกม’ และนโยบาย ‘Zero Covid’ ทำพิษ https://positioningmag.com/1396645 Thu, 18 Aug 2022 04:41:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1396645 รายได้ของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เบอร์ต้น ๆ ของจีนอย่าง ‘เทนเซ็นต์’ (Tencent) ลดลงทุกไตรมาสเป็นครั้งแรกเมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากกฎระเบียบที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเล่นเกมในประเทศจีนและการฟื้นตัวจากการระบาดของ COVID-19 ยังไม่เต็มร้อย

Tencent รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 2 ที่พลาดเป้าทั้งรายได้และกำไร โดยรายได้รวมอยู่ที่ 134,034 ล้านหยวน ลดลง 3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน มีกำไรสุทธิ 28,139 ล้านหยวน โดยหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้รายได้ของ Tencent หดหายมาจากการคุมเข้มอุตสาหกรรมเกมของรัฐบาล เนื่องจากรายได้ประมาณ 1 ใน 3 ของ Tencent มาจากเกม

โดยเมื่อปีที่แล้ว หน่วยงานกำกับดูแลของจีนได้ออกกฎที่จำกัดระยะเวลาที่ เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถเล่นเกมออนไลน์ได้สูงสุด 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้น นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับดูแลยังระงับการอนุมัติเกมใหม่ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2021 จนถึงเมษายนปีนี้ และเกมที่พัฒนามาจำเป็นต้องได้รับไฟเขียวจากหน่วยงานกำกับดูแลก่อนที่จะเผยแพร่และสร้างรายได้

นักวิเคราะห์ที่ China Renaissance กล่าวว่า Tencent เปิดตัวเกมมือถือเพียง 3 เกมในช่วงไตรมาสที่ 2 ดังนั้นบริษัทจึงใช้เกมเก่าสร้างรายได้ไปก่อน และ Tencent ได้ออกมาเปิดเผยว่า รายได้จากเกมในจีนช่วงไตรมาส 2 ก็ ลดลง 1% เมื่อเทียบเป็นรายปี มาอยู่ที่ 31,800 ล้านหยวน ในขณะที่รายรับจากเกมต่างประเทศลดลงในอัตราเดียวกันเหลือ 10,700 ล้านหยวน เนื่องจากการระบาดที่คลี่คลาย คนเลยใช้เวลาเล่นเกมลดลง ไม่เหมือนช่วงที่ COVID-19 ระบาดหนัก

ไม่ใช่แค่การคุมเข้มเกมของภาครัฐ แต่การที่เศรษฐกิจของจีนฟื้นตัวจาก COVID-19 ได้ช้า เนื่องจากนโยบาย Zero Covid ก็ส่งผลต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยเศรษฐกิจจีนขยายตัวเพียง 0.4% ในไตรมาส 2 ซึ่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทฟินเทค คลาวด์ และโฆษณา โดยรายได้จากโฆษณาออนไลน์ในไตรมาสที่สองมีจำนวนทั้งสิ้น 18,600 ล้านหยวน ลดลง 18% เมื่อเทียบเป็นรายปี

อย่างไรก็ตาม Ma Huateng ซีอีโอของ Tencent กล่าวว่า ธุรกิจน่าจะกลับมาฟื้นตัว หากเศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นตัว โดยระหว่างนี้ บริษัทกำลังพยายามจะ ควบคุมต้นทุน ของบริษัทเพื่อลดการใช้จ่ายในธุรกิจ และได้ปิดธุรกิจบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่เช่นการศึกษาออนไลน์และลดขนาดการสูญเสียบนคลาวด์

“เราสร้างรายได้ประมาณครึ่งหนึ่งจาก FinTech และ Business Services รวมถึงการโฆษณาออนไลน์ ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาพรวมเศรษฐกิจ ซึ่งน่าจะกลับมาเติบโตได้ หากเศรษฐกิจของจีนขยายตัว”

Source

]]>
1396645