Airlines – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 15 Mar 2024 01:29:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Cathay Pacific กลับมาอู้ฟู่อีกรอบ มีกำไรสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2010 จ่ายโบนัสพนักงานเกิน 1.5 เดือนได้สบายๆ https://positioningmag.com/1466092 Thu, 14 Mar 2024 08:14:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466092 คาเธ่ย์ แปซิฟิค (Cathay Pacific) รายงานผลประกอบการในปี 2023 นั้นมีกำไรมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาสายการบินจะประสบปัญหาจากการล็อกดาวน์ในฮ่องกง จนกระทบกับธุรกิจ รวมถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสายการบินอย่างการขาดแคลนแรงงานไปจนถึงเรื่องของ Supply Chain ก็ตาม

Cathay Pacific สายการบินรายใหญ่ของฮ่องกง ได้รายงานผลประกอบการของปี 2023 ที่ผ่านมา โดยสายการบินรายใหญ่นี้มีกำไรมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา โดยสายการบินได้กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาเราได้ทิ้งการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ไว้ข้างหลังได้ในที่สุด

ในปี 2023 สายการบินจากฮ่องกงรายนี้มีรายได้รวม 94,485 ล้านเหรียญฮ่องกง หรือคิดเป็นเงินไทย 431,482 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2022 ถึง 85.1% ขณะที่กำไรอยู่ที่ 9,789 ล้านเหรียญฮ่องกง หรือคิดเป็นเงินไทย 44,705 ล้านบาท

สาเหตุที่ทำให้สายการบินมีกำไรทำสถิติสูงสุดคือปริมาณผู้โดยสารที่ฟื้นตัว โดยปลายปี 2023 นั้นปริมาณผู้โดยสารรวมของ Cathay Pacific คิดเป็น 70% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด ขณะเดียวกันยังรวมถึงราคาตั๋วเครื่องบินที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย ส่งผลทำให้สายการบินรายใหญ่รายนี้มีกำไรจากการดำเนินงานที่เพิ่มมากขึ้น

สายการบินยังคาดว่าปริมาณผู้โดยสารรวมคาดว่าจะเติบโตที่ 80% ได้ภายในไตรมาส 2 และจะกลับมาเติบโตเท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดได้ภายในไตรมาส 1 ของปี 2025 ช้ากว่าที่บริษัทคาดไว้ในตอนแรกถึง 3 เดือน

การฟื้นตัวของสายการบินนั้นสอดคล้องกับการท่องเที่ยวของฮ่องกง เนื่องจาก Cathay Pacific เป็นสายการบินหลักประจำสนามบินฮ่องกง และยังเป็นสายการบินรายหลักที่พานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาฮ่องกง

อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบินในประเทศจีนที่เป็นไปอย่างล่าช้ายังได้สร้างผลกระทบต่อ Cathay Pacific ไม่น้อย เนื่องจากเส้นทางการบินนั้นมุ่งตรงสู่หลายเมืองในประเทศจีน และธุรกิจสายการบินยังประสบปัญหาแรงงานขาดแคลนรวมถึงปัญหาเรื่อง Supply Chain

Ronald Lam Siu-por ซึ่งเป็น CEO ของ Cathay Pacific ได้กล่าวถึงการยกเลิกเที่ยวบินในช่วงที่ผ่านมาว่าบริษัทจะจดจำเป็นบทเรียน และปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้น

โดยสายการบินยังกล่าวว่าจะมีการรับพนักงานเพิ่มขึ้นอีก 20% เพื่อตอบสนองกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นด้วย สายการบินยังได้กล่าวว่านักบินของสายการบินยังมีจำนวนที่ขาดแคลน และถ้าหากสายการบินจะกลับมาเติบโตเท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดจะต้องมีการรับพนักงานเพิ่มเติม

นอกจากนี้กำไรที่แตะระดับสูงสุดของสายการบินยังสามารถทำให้มีการจ่ายโบนัสให้กับพนักงานได้มากถึง 7.2 อาทิตย์ หรือคิดเป็นเกือบ 2 เดือน เพื่อที่จะสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน

ที่มา – South China Morning Post, Reuters, HKFP

]]>
1466092
ตั๋วแพงยังคงอยู่! ผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินมองว่า “ปัญหา Supply Chain ต้องใช้เวลาเกือบ 2 ปีถึงจะคลี่คลาย” https://positioningmag.com/1463852 Fri, 23 Feb 2024 11:42:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1463852 ผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินมองว่า ปัญหา Supply Chain ต้องใช้เวลาเกือบ 2 ปีถึงจะคลี่คลาย เนื่องจากหลากหลายปัจจัย ปัญหาดังกล่าวยังทำให้สายการบินได้เครื่องบินล่าช้าลง ส่งผลทำให้ตั๋วยังมีราคาแพงอยู่

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า ผู้ผลิตเครื่องบินหลายราย กล่าวในงาน Singapore Airshow ซึ่งเป็นงานแสดงด้านการบินที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ว่าปัญหา Supply Chain ที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินในช่วงเวลานี้ อาจต้องใช้เวลา 2 ปี สถานการณ์ดังกล่าวถึงจะคลี่คลายลงไปได้

Airbus ผู้ผลิตเครื่องบินจากทวีปยุโรป ได้กล่าวว่าบริษัทต้องส่งวิศวกรระดับหลายสิบคนเพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหา Supply Chain เกิดปัญหาคอขวดที่เกิดขึ้น ขณะที่ Boeing เองก็ต้องเร่งการผลิตเนื่องจากการส่งมอบล่าช้าไปถึง 9 เดือนนับจากเวลาในสัญญาส่งมอบ

บริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินหลายแห่ง ได้บอกกับสำนักข่าว Reuters ว่า ระยะเวลาในการจัดหาชิ้นส่วนต่างๆ เช่น โลหะบางชนิดและกระจกบังลมอาจนานขึ้น 2 ถึง 5 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด เนื่องจากการผลิตวัสดุการบินและอวกาศลดลง การสูญเสียกำลังคนที่มีทักษะในช่วงโควิด รวมถึงแหล่งผลิตชิ้นส่วนที่ลดลงจากการบุกยูเครนโดยรัสเซีย

ปัญหา Supply Chain ยังกระทบกับบริษัทซ่อมเครื่องบินยักษ์ใหญ่อย่าง Lufthansa Technik ซึ่งเป็นบริษัทลูกของสายการบิน Lufthansa จากเยอรมัน ที่ต้องกักตุนอะไหล่ซ่อมเครื่องบินมากขึ้น เพื่อที่จะลดปัญหาการรออะไหล่ยาวนาน

Roberto Tonna ผู้บริหารจาก ALA บริษัทบริหารห่วงโซ่อุปทานด้านการบินกล่าวว่า โลหะไทเทเนียมเกรดการบินนั้นประสบปัญหาขาดแคลนอย่างหนักหลังการบุกยูเครนโดยรัสเซีย ซึ่งปกติชิ้นส่วนไว้ผลิตเครื่องบินนั้นบริษัทจะได้รับชิ้นส่วนไม่เกิน 40 สัปดาห์ แต่ตัวเลขล่าสุดนั้นยาวนานถึง 72 สัปดาห์

ผู้บริหารจาก ALA ยังมองว่ากว่าที่ Supply Chain จะกลับไปเป็นปกตินั้นอาจใช้เวลา 18-24 เดือนเป็นอย่างน้อย

ความต้องการการเดินทางหลังการแพร่ระบาดโควิดนั้นเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้สายการบินต่างๆ ต้องสั่งซื้อเครื่องบินใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อขยายเครือข่ายและลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าน้ำมันเครื่องบิน ซึ่งปกติแล้วเครื่องบินรุ่นใหม่จะมีอัตราการใช้เชื้อเพลิงมีประสิทธิภาพมากกว่ารุ่นเก่า

ความล่าช้ายังทำให้หลายสายการบินต้องจำใจหันกลับไปเช่าเครื่องบินรุ่นเก่ากว่า เนื่องจากปริมาณเที่ยวบินนั้นเติบโตอย่างต่อเนื่อง Cirium บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลด้านการบินคาดว่าสถานการณ์เครื่องบินไม่เพียงพอจะคลี่คลายไปได้ต้องรออย่างน้อยถึงปี 2027

ผลที่เกิดขึ้นคือปริมาณเครื่องบินที่ผลิตไม่ทัน ขณะที่สายการบินแม้จะมีความต้องการเครื่องบินรุ่นใหม่ ก็ไม่สามารถได้เครื่องบินที่เร็วตามความต้องการ ตรงข้ามกับความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลกที่ต้องการเดินทาง แน่นอนว่าราคาตั๋วของสายการบินนั้นราคาอาจยังคงสูงต่อไป

]]>
1463852
หน่วยงานกำกับการบินสหรัฐฯ สั่ง Boeing งดเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องบินรุ่น 737 MAX ออกไปก่อน https://positioningmag.com/1460226 Thu, 25 Jan 2024 07:02:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460226 หน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินของสหรัฐอเมริกา สั่งให้ Boeing งดเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องบินรุ่น 737 MAX ออกไปก่อน หลังจากมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยจากกรณีเครื่องบิน Boeing รุ่น 737 MAX 9 ของ Alaska Airlines มีชิ้นส่วนหลุดระหว่างการเดินทาง

หน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินของสหรัฐอเมริกา (FAA) ได้สั่งให้โบอิ้ง (Boeing) งดเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องบินรุ่น 737 MAX ออกไปก่อน ซึ่งเครื่องบินรุ่นดังกล่าว บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินจากสหรัฐอเมริการายนี้ต้องการที่จะเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อตอบรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากกรณีเครื่องบิน Boeing รุ่น 737 MAX 9 ของ Alaska Airlines มีชิ้นส่วนหลุดระหว่างการเดินทาง บนความสูง 16,000 ฟุต จนทำให้สายการบินต้องนำเครื่องบินกลับสนามบินต้นทาง และเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้โดยสาร

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ FAA ต้องประกาศมาตรการตรวจสอบเครื่องบินรุ่นดังกล่าวทันที ซึ่งแถลงการณ์ของ FAA เมื่อวันที่ 7 มกราคม กล่าวว่า “เราได้สั่งระงับเครื่องบินที่ได้รับผลกระทบ และเครื่องบินเหล่านี้จะยังคงถูกระงับจนกว่า FAA จะพอใจได้ว่าเครื่องบินเหล่านี้มีความปลอดภัย”

หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ FAA ตรวจสอบเครื่องบิน 737 MAX 9 ทั้งหมดทุกสายการบินในสหรัฐอเมริกา และยังทำให้หลายสายการบินที่ใช้เครื่องบินรุ่นดังกล่าวที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกาต่างตรวจสอบชิ้นส่วนว่ามีปัญหาหรือไม่

Mike Whitake ผู้บริหารสูงสุดของ FAA ได้กล่าวว่า ทางหน่วยงานจะไม่ตกลงกับคำขอใดๆ ของ Boeing ในการขยายการผลิตหรืออนุมัติสายการผลิตเพิ่มเติมสำหรับ 737 MAX จนกว่า FAA จะพอใจว่าปัญหาการควบคุมคุณภาพได้รับการแก้ไขแล้ว

หลังจากนี้ FAA จะเข้าตรวจสอบการผลิตเครื่องบินรุ่น 737 MAX ของ Boeing ว่ามีความปลอดภัย ได้มาตรฐานของหน่วยงานกำกับดูแลหรือไม่ และจะมีการสืบสวนต่อผู้ผลิตเครื่องบินรายนี้ถึงคุณภาพในการผลิตรวมถึงต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

เครื่องบินรุ่น 737 MAX ได้สร้างปัญหาให้กับ Boeing อย่างหนักนับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา จากเหตุการณ์สายการบิน Ethiopian และ Lion Air ที่ใช้เครื่องบินรุ่น 737 MAX 8 ตกในระยะเวลาไล่เลี่ยกันในช่วง 5 เดือน จนทำให้เครื่องบินรุ่นดังกล่าวต้องจอดทิ้งไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี เพื่อที่จะตรวจสอบและแก้ไขปัญหา ก่อนที่จะสามารถกลับมาบินได้อีกครั้ง

ปัจจุบัน Boeing ผลิตเครื่องบินรุ่น 737 MAX ได้ประมาณเดือนละ 38 ลำ บริษัทยังมีแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิต โดยคาดว่า David Calhoun ซึ่งเป็น CEO ของ Boeing จะมีการประกาศเป้าหมายการผลิตเครื่องบินรุ่นดังกล่าวภายในช่วงสิ้นเดือนมกราคมที่จะถึงนี้ ก่อนที่จะโดนเบรกโดย FAA

]]>
1460226
ประธานของ Emirates มองผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ทั่วโลกมีแค่ 2 ราย ทำให้สายการบินไม่มีทางเลือกอื่น https://positioningmag.com/1458182 Tue, 09 Jan 2024 15:08:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458182 Tim Clark ประธานสายการบิน Emirates ได้ให้ความเห็นถึงอุตสาหกรรมการบินหลากหลายมิติ โดยประเด็นหลักในช่วงเวลานี้ก็คือปัญหาของเครื่องบิน Boeing 737 MAX 9 ของสายการบิน Alaska ที่มีชิ้นส่วนหลุดกลางอากาศ และยังรวมถึงกรณีผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ทั่วโลกมีแค่ 2 ราย ทำให้สายการบินไม่มีทางเลือกอื่น

สำนักข่าว Bloomberg ได้สัมภาษณ์พิเศษ Tim Clark ประธานสายการบิน Emirates โดยเขาได้ให้ความเห็นถึงอุตสาหกรรมการบินหลากหลายมิติ โดยประเด็นหลักในช่วงเวลานี้ก็คือปัญหาของเครื่องบิน Boeing 737 MAX 9 ของสายการบิน Alaska ที่มีชิ้นส่วนหลุดกลางอากาศ

ประธานของ Emirates มองว่าการที่อุตสาหกรรมการบินนั้นมีผู้ผลิตเครื่องบินเพียงแค่ 2 รายใหญ่ๆ ได้แก่ Boeing จากสหรัฐอเมริกา กับ Airbus จากทวีปยุโรป ทำให้สายการบินนั้นไม่มีตัวเลือกที่ดีไปมากกว่านี้ นอกจากนี้แม้ว่าจะมีผู้เล่นรายใหญ่ซึ่งเป็นรายที่ 3 เข้ามา ก็ถือว่าต้องใช้เวลายาวนานในการไล่ตามผู้ผลิต เจ้าใหญ่ 2 รายนี้ได้

ในขณะที่กรณีเครื่องบินของสายการบิน Alaska ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินของสหรัฐอเมริกา (FAA) ต้องระงับการบินโดยเครื่องบิน Boeing 737 MAX 9 เพื่อที่จะตรวจสอบหาปัญหา และทำให้สายการบินหลายแห่งทั่วโลก เช่น Turkish Airlines จากตุรกี สายการบินจากปานามา Copa Airlines หรือแม้แต่สายการบินในเม็กซิโกอย่าง Aeromexico ก็ได้งดใช้งานเครื่องบินรุ่นดังกล่าวเช่นกัน

Tim Clark กล่าวว่าปัญหาที่เกิดขึ้นของมาจากการตรวจสอบคุณภาพของผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่จากสหรัฐอเมริการายนี้มีปัญหามานานแล้ว แม้ว่าบริษัทจะพยายามร่วมมือแก้ปัญหาในตอนนี้ก็ตาม แต่เรื่องดังกล่าวก็ไม่ได้ช่วยอะไร

ไม่เพียงเท่านี้เขามองว่าในอดีต Boeing ได้ผลิตเครื่องบินที่มีคุณภาพดีมากมาโดยตลอด แต่เขามองว่าบริษัทได้สูญเสียสิ่งดังกล่าวจากฝ่ายบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการย้ายสำนักงานใหญ่ของบริษัท หรือแม้แต่การพึ่งพาวัสดุในการผลิตเครื่องบินจากทั่วโลก

อย่างไรก็ดีเขายังคงมีความเชื่อมั่นใน Boeing และความสามารถในการเอาชนะปัญหาต่างๆ โดยให้ฝ่ายบริหารและคณะกรรมการบริหารแก้ไขปัญหา โดยเขากล่าวว่าปัญหาดังกล่าวนั้นแก้ไขได้ และกอบกู้ได้

กรณีเครื่องบิน Boeing 737 MAX 9 ของสายการบิน Alaska นั้นในท้ายที่สุดประธานของ Emirates มองว่าจะมีการคลี่คลายได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้เขายังมองว่าปัญหาดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับการค้นหาว่าอะไรเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุดังกล่าว และการกำหนดบทบาท รวมถึงความสามารถของบริษัทในการแก้ไขปัญหา

]]>
1458182
สายการบินหลายแห่งระงับบิน Boeing 737 MAX 9 เพื่อตรวจสอบความปลอดภัย หลังชิ้นส่วนหลุดกลางอากาศ https://positioningmag.com/1457879 Mon, 08 Jan 2024 04:31:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457879 หน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินของสหรัฐอเมริกา (FAA) ได้ประกาศให้เครื่องบิน Boeing 737 MAX 9 ระงับบินเป็นการชั่วคราว หลังจากที่เครื่องบินรุ่นดังกล่าวของ Alaska Airlines มีชิ้นส่วนหลุดกลางอากาศ ปัญหาดังกล่าวนั้นทำให้ CEO ของ Boeing ต้องเตรียมเรียกความมั่นใจกลับมา

สายการบินทั้งในสหรัฐอเมริกา รวมถึงในต่างประเทศ ต่างระงับบินเครื่องบิน Boeing 737 MAX 9 เป็นการชั่วคราว หลังจากเครื่องบินของ Alaska Airlines นั้นมีชิ้นส่วนหลุดระหว่างการเดินทาง โดยเครื่องบินรุ่นดังกล่าวได้สร้างปัญหาให้กับ Boeing อย่างหนัก นับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เครื่องบิน Boeing 737 MAX 9 ถูกระงับบินคือ เครื่องบินของ Alaska Airlines เที่ยวบินที่ 1282 ที่ใช้เครื่องบินรุ่นดังกล่าวเป็นหลัก มีชิ้นส่วนหลุดระหว่างการเดินทาง บนความสูง 16,000 ฟุต ซึ่งชิ้นส่วนสำคัญคือประตูฉุกเฉินบริเวณท้ายเครื่องบิน จนทำให้เครื่องบินต้องขอบินกลับสนามบินต้นทาง

เหตุดังกล่าวทำให้ FAA ต้องประกาศมาตรการตรวจสอบเครื่องบินรุ่นดังกล่าวทันที ซึ่งแถลงการณ์ของ FAA เมื่อวันอาทิตย์ (7 มกราคม) กล่าวว่า “เราได้สั่งระงับเครื่องบินที่ได้รับผลกระทบ และเครื่องบินเหล่านี้จะยังคงถูกระงับจนกว่า FAA จะพอใจได้ว่าเครื่องบินเหล่านี้มีความปลอดภัย”

นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังค้นหาประตูฉุกเฉินบริเวณท้ายเครื่องบินที่หลุดออกมา เพื่อที่จะนำมาตรวจสอบถึงปัญหาดังกล่าวด้วย

ในสหรัฐอเมริกา สายการบินที่ใช้เครื่องบิน Boeing 737 MAX 9 เป็นหลักได้แก่ Alaska Airlines รวมถึง United Airlines ได้นำเครื่องจอดไว้ตามสนามบินต่างๆ เพื่อตรวจสอบ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวต่อเที่ยวบินของ 2 สายการบินมีมากถึง 600 เที่ยวบิน และยังทำให้ผู้โดยสารมากถึง 25,000 รายได้รับผลกระทบตามไปด้วย

สายการบินอื่นๆ นอกสหรัฐอเมริกาที่ใช้เครื่องบินรุ่นดังกล่าว เช่น Turkish Airlines จากตุรกี สายการบินจากปานามา Copa Airlines หรือแม้แต่สายการบินในเม็กซิโกอย่าง Aeromexico ได้งดใช้งานเครื่องบินรุ่นดังกล่าวเพื่อทำการตรวจสอบเครื่องบินเช่นกัน

ข้อมูลล่าสุดจาก Flightradar24 ไม่มีเครื่องบินรุ่นดังกล่าวใช้งานในประเทศไทยแต่อย่างใด

ทางด้านฝั่งของ David Calhoun ซึ่งเป็น CEO ของ Boeing จากเดิมที่ต้องไปเข้าร่วมงานสัมมนาด้านผู้นำ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้บริหารสูงสุดของผู้ผลิตเครื่องบินรายดังกล่าว ต้องเตรียมที่จะแถลงข่าวในเรื่องดังกล่าวเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าที่เป็นสายการบิน หรือแม้แต่ผู้ใช้งานเครื่องบินรุ่นดังกล่าว

โดย CEO รายดังกล่าวต้องการสร้างความเชื่อมั่นว่า Boeing สัญญาที่จะผลิตเครื่องบินที่มีความปลอดภัย คุณภาพ หรือแม้แต่ความโปร่งใส ตรงไปตรงมา

เครื่องบินรุ่น 737 MAX ได้มีการนำกลับมาใช้งานอีกครั้งในสหรัฐอเมริกาช่วงปลายปี 2020 หลังจากการตรวจสอบด้านความปลอดภัย และเครื่องบินรุ่นดังกล่าวได้มีการอัปเกรดระบบซอฟต์แวร์ รวมถึงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากอุบัติเหตุตก 2 ครั้งในรอบ 5 เดือน

Boeing ได้คาดหวังกับเครื่องบิน Boeing 737 MAX ว่าจะเป็นเครื่องบินรุ่นที่สร้างกระแสเงินสดให้กับบริษัทในอนาคต อย่างไรก็ดีกลับกลายเป็นว่า เครื่องบินรุ่นดังกล่าวได้สร้างปัญหาให้กับ Boeing เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อมั่นจากลูกค้าสายการบิน หรือแม้แต่ผู้โดยสาร 

ที่มา – BBC, NPR, Fox Business [1], [2]

 

]]>
1457879
สื่อมาเลเซียเผย Tony Fernandes เตรียมวางมือจากบริษัทแม่ของสายการบิน AirAsia ภายใน 5 ปี https://positioningmag.com/1457873 Sun, 07 Jan 2024 16:41:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457873 สื่อมาเลเซียได้สัมภาษณ์พิเศษ Tony Fernandes เตรียมวางมือจาก Capital A บริษัทแม่ของสายการบิน AirAsia ภายใน 5 ปี และจะหันไปเป็นที่ปรึกษาของบริษัท หลังจากในปี 2023 ที่ผ่านมา เขาได้กล่าวว่ามีแผนที่จะลงจากตำแหน่ง และกำลังหาผู้สืบทอดกิจการต่อจากตัวเขา

The Star สื่อมาเลเซียได้สัมภาษณ์พิเศษ Tony Fernandes ซึ่งเป็น CEO และผู้ก่อตั้ง Capital A ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของสายการบินราคาประหยัดอย่างแอร์เอเชีย (AirAsia) เขาได้กล่าวว่ามีแผนที่จะทำงานและวางแผนเตรียมที่จะวางมือภายใน 5 ปีนี้

เขากล่าวกับสื่อมาเลเซียว่า ในปี 2024 นี้จะเป็นช่วง 5 ปีสุดท้ายของเขา และแผนการของผู้ก่อตั้ง Capital A คือต้องการให้สายการบินอย่าง AirAsia กลับมามีกำไรอีกครั้ง หลังประสบกับช่วงเวลายากลำบาก

ปัจจุบันรายได้หลักของ Capital A ยังมาจากสายการบินราคาประหยัด ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 75% ของรายได้รวมทั้งหมดของบริษัท ขณะที่รายได้อื่นๆ นั้นมาจาก โลจิสติกส์ บริการโทรศัพท์มือถือ ประกันภัย ไปจนถึงบริการผ่าน SuperApp ของบริษัท

ก่อนหน้านี้เขาเคยกล่าวว่าต้องการให้บริษัทนั้นมีรายได้จากธุรกิจที่ไม่ใช่การบินมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีหลังจากนี้ และยังได้เปรยว่ามีแผนจะลงจากตำแหน่ง (โดยไม่ได้บอกระยะเวลา) และบริษัทกำลังหาผู้สืบทอดธุรกิจต่อจากตัวเขา

สอดคล้องกับ Vivek Sasheendran ผู้เชี่ยวชาญในการพลิกฟื้นกิจการจาก Vad Capital ในมาเลเซีย ได้กล่าวกับ The Sun สื่อมาเลเซียอีกแห่งว่า แผนการในการหารายได้ในส่วนอื่นของ Tony Fernandes ถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งบริษัทมีฐานข้อมูลลูกค้าจำนวนมาก หรือแม้แต่กลยุทธ์ทางการตลาดที่ได้ผล และยังมีเครือข่าย (ของสายการบิน) ทั่วทั้งอาเซียน

ข้อมูลของ S&P Captial IQ ที่รวมคาดการณ์ข้อมูลของนักวิเคราะห์ คาดว่าผลดำเนินการปี 2023 Capital A จะยังขาดทุนราวๆ 205 ล้านริงกิตมาเลเซีย และบริษัทจะกลับมามีกำไรที่ 434 ล้านริงกิตในปีนี้

หลังจากนี้หัวเรือใหญ่ของ Capital A กล่าวว่าตัวเขาจะไปรับตำแหน่งที่ปรึกษาของบริษัท

]]>
1457873
Cathay Pacific คาดจำนวนผู้โดยสารไปกลับฮ่องกงใกล้เคียงก่อนช่วงโควิดสิ้นปีนี้ได้ หลังได้รับผลกระทบจากล็อกดาวน์มาเป็นเวลานาน https://positioningmag.com/1453195 Fri, 24 Nov 2023 01:59:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453195 สายการบินรายใหญ่จากฮ่องกงอย่าง Cathay Pacific คาดว่าจำนวนผู้โดยสารไปกลับฮ่องกงจะใกล้เคียงกับก่อนช่วงโควิดภายสิ้นปีนี้ได้ และคาดว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจแบบมีกำไรได้แล้ว หลังจากที่สายการบินได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์มาเป็นเวลานาน

สายการบิน Cathay Pacific ได้ออกรายงานจำนวนผู้โดยสารในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สายการบินรายใหญ่ของฮ่องกงรายงานถึงจำนวนผู้โดยสารล่าสุดนั้นมีสัดส่วนราวๆ 70% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาการแพร่ระบาดของโควิด ขณะเดียวกันสายการบินก็คาดว่าปีนี้จะเป็นปีแรกที่สายการบินมีกำไร

สำหรับปัจจัยการเติบโตของผู้โดยสารของ Cathay Pacific ในเดือนที่ผ่านมาคือ การเดินทางสำหรับด้านธุรกิจยังคงเติบโตต่อเนื่อง จากผู้เข้าร่วมงานนิทรรศการและการประชุมในฮ่องกง และรวมถึงงานแสดงสินค้าในมณฑลกวางโจซึ่งอยู่ละแวกใกล้เคียง

ขณะเดียวกันในช่วงเวลาดังกล่าวยังมีเทศกาลใบไม้ร่วงในฮ่องกง ซึ่งถือเป็นวันหยุดในฮ่องกง ส่งผลให้มีปริมาณผู้โดยสารมากขึ้นจากการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ

สายการบินรายใหญ่ของฮ่องกงรายนี้ถือเป็นสายการบินที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดของจีนและฮ่องกงนับตั้งแต่ปี 2020 เทียบกับสายการบินคู่แข่งรายอื่นๆ ในเอเชียที่เริ่มกลับมามีการดำเนินธุรกิจแทบจะปกติแล้ว

ขณะเดียวกันการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบินในประเทศจีนที่เป็นไปอย่างล่าช้ายังสร้างผลกระทบต่อ Cathay Pacific โดยตรง เนื่องจากเส้นทางการบินนั้นมุ่งตรงสู่หลายเมืองในประเทศจีน

นอกจากนี้สายการบินยังได้กล่าวถึงข้อจำกัดต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินทั่วโลก โดยเฉพาะการสรรหาและการฝึกอบรมพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และความท้าทายจากเรื่อง Supply Chain ซึ่ง Cathay Pacific เองก็ได้รับผลกระทบดังกล่าวเช่นกัน

Cathay Pacific ยังคาดการณ์ว่าเส้นทางการบินที่เดินทางไปกลับระหว่างเส้นทางการบินกับฮ่องกงจะคาดว่าจะกลับมาใกล้เคียงก่อนการแพร่ระบาดราวๆ 95% ได้ในช่วงสิ้นปีนี้ แต่ถ้ามองภาพรวมกลุ่มสายการบิน ซึ่งรวมสายการบินราคาประหยัดอย่าง HK Express ภายในปี 2023 จะมีจำนวนผู้โดยสารกลับมาได้ราวๆ 70% เทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด โดยกลุ่มสายการบินมีเส้นทางการบิน 80 เส้นทาง

ในรายงานดังกล่าวสายการบินคาดการณ์ว่าจะกลับมาทำกำไรในปีแรก หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมานั้น Cathay Pacific มีกำไร 4,300 ล้านเหรียญฮ่องกง

]]>
1453195
การบินไทยกำไร 4 ไตรมาสติดต่อกันแล้ว ล่าสุดโกยกำไรไปถึง 1,538 ล้านบาท https://positioningmag.com/1451362 Fri, 10 Nov 2023 06:59:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1451362 หลังจากที่การบินไทยต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ ล่าสุดสายการบินแห่งชาติรายนี้ได้รายงานผลประกอบการล่าสุดในไตรมาส 3 ของปี 2023 มีกำไร 1,538 ล้านบาท ทำให้การบินไทยมีกำไรติดต่อกันถึง 4 ไตรมาสแล้ว

บมจ. การบินไทย ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ในไตรมาส 3 สายการบินแห่งชาติรายนี้ยังทำกำไรได้มากถึง 1,538 ล้านบาท โดยปัจจัยหลักมาจากรายได้จากค่าโดยสารเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะเชื้อเพลิงที่ลดลง

รายได้รวมของการบินไทยในไตรมาส 3 อยู่ที่ 37,008 ล้านบาท เติบโตกว่าปีที่แล้ว 12.6% ปัจจัยหลักที่ทำให้รายได้เติบโตก็คือรายได้จากค่าโดยสารที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสารอยู่ที่ 77.3% ดีกว่าปี 2022 เล็กน้อย ขณะที่รายได้จากกิจการอื่น ๆ เช่น ครัวการบิน ฯลฯ เติบโต รวมถึงรายได้จากดอกเบี้ยรับที่เพิ่มขึ้น

ค่าใช้จ่ายในของการบินไทยในไตรมาส 3 อยู่ที่ 29,289 ล้านบาท ได้ข้อดีจากราคาน้ำมันเครื่องบินที่ลดลง อย่างไรก็ดีสายการบินมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมา 7.6% ขณะที่ค่าซ่อมบำรุงอากาศยานนั้นลดลง

การบินไทยยังได้รายงานกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) หักลบกับค่าเช่าเครื่องบินแล้ว ในไตรมาส 3 นี้มีกระแสเงินสดมากถึง 8,360 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 37.5%

ขณะเดียวกันบริษัทยังได้ขายสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักในประเทศอินโดนีเซีย สำนักงานขายที่ประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการขายเครื่องบิน Boeing รุ่น 747-400 จำนวน 2 ลำ และ Airbus A340-600 จำนวน 1 ลำ

นอกจากนี้การบินไทยยังรายงานถึงการรับโอนเครื่องบินจากสายการบินไทยสมายล์ เนื่องจากบริษัทกำลังปรับปรุงโครงสร้างภายในกลุ่มธุรกิจการบินไทย และทำการบินแทนไทยสมายล์ในเส้นทางบินต่างประเทศ เช่น เกาสง ปีนัง มุมไบ ฯลฯ และคาดว่าการโอนเครื่องบินจะแล้วเสร็จในไตรมาส 1 ของปี 2024

การรายงานกำไรในไตรมาส 3 ของการบินไทยนั้น ทำให้สายการบินแห่งชาติรายนี้มีกำไรติดต่อกัน 4 ไตรมาสแล้ว

หลังจากนี้การบินไทยเตรียมเพิ่มเที่ยวบินไปยังประเทศจีน รวมถึงเส้นทางอื่น ๆ ทำให้การบินไทยมีเส้นทางบิน 51 เส้นทาง และสายการบินยังเตรียมปรับโครงสร้างโดยจัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อลดความซ้ำซ้อน บริหารจัดการด้านธุรกิจ รวมถึงพิจารณาการลงทุนจัดตั้งศูนย์ซ่อมอากาศยานที่สนามบินอู่ตะเภาด้วย

]]>
1451362
MYAirline สายการบินราคาประหยัด ถูกทางการมาเลเซียระงับการบินชั่วคราว หลังขาดสภาพคล่องอย่างหนัก https://positioningmag.com/1448094 Mon, 16 Oct 2023 07:29:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1448094 MYAirline สายการบินราคาประหยัดของประเทศมาเลเซีย ล่าสุดถูกทางการมาเลเซียยึดใบอนุญาตด้านการบินชั่วคราว หลังจากที่สายการบินได้ประกอบธุรกิจได้ไม่ถึง 1 ปีด้วยซ้ำ เนื่องจากปัญหาด้านการเงิน ขาดสภาพคล่องอย่างหนัก

Loke Siew Fook รัฐมนตรีด้านคมนาคมของมาเลเซีย กล่าวว่าได้ระงับใบอนุญาตของ MYAirline ชั่วคราวเป็นเวลา 90 วัน นอกจากนี้ยังได้เตือนสายการบินรายดังกล่าวว่าจะต้องจัดลำดับความสำคัญของสวัสดิการของพนักงาน 900 คน รวมถึงความรับผิดชอบต่อลูกค้าด้วย

โดยปกติแล้วถ้าหากสายการบินในประเทศมาเลเซียต้องการที่จะต่อใบอนุญาตด้านธุรกิจการบินกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบิน จะต้องมีการยื่นงบการเงินให้ตรวจสอบก่อนว่าสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างตลอดรอดฝั่งด้วย ซึ่งใบอนุญาตล่าสุดที่สายการบินคู่แข่งรายอื่นได้ไปนั้นจะต่ออายุปีต่อปี

ก่อนหน้านี้สายการบิน MYAirline ได้แจ้งขอยุติการให้บริการของสายการบิน โดยยกเลิกเที่ยวบินมายังประเทศไทยแบบกะทันหันในวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่าต้องหยุดประกอบกิจการชั่วคราวเพื่อปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นและเพิ่มทุน เนื่องจากประสบปัญหาทางการเงิน

สิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลทำให้ผู้โดยสารในมาเลเซียและสนามบินปลายทางที่สายการบินให้บริการเกิดความเดือดร้อนทันที เนื่องจากสายการบินหยุดให้บริการกะทันหัน ส่งผลทำให้สายการบินอย่าง AirAsia หรือแม้แต่ Batik Air Malaysia ได้ช่วยเหลือโดยลดราคาค่าตั๋วเครื่องบิน 50% ทันที

นอกจากนี้ปัญหาดังกล่าวยังทำให้ Stuart Cross ผู้บริหารสายการบินอย่างรักษาการ CEO ของสายการบินก็ได้ลาออกจากตำแหน่งทันที

ไม่เพียงเท่านี้บริษัทที่ให้เช่าเครื่องบินหลายรายไม่ว่าจะเป็น AerCap และ SMBC Aviation Capital รวมถึงบริษัทอื่นๆ ได้ติดต่อสายการบินเพื่อให้ส่งคืนเครื่องบินที่สายการบินเช่าอยู่ 8 ลำ ขณะเดียวกันคู่แข่งอย่าง AirAsia เองก็เตรียมที่จะขอเช่าเครื่องบิน 6 ลำต่อทันทีจากบริษัทให้เช่าเครื่องบินเหล่านี้

ในช่วงปลายปี 2022 ที่ผ่านมา MYAirline ประกอบธุรกิจการบินโดยใช้เครื่องบินของ Airbus รุ่น A320-200 จำนวน 3 ลำ โดยมีพนักงานกว่า 400 คน ให้บริการผู้โดยสารจากต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ไปยังปลายทางในประเทศมาเลเซีย ได้แก่ โกตาบารู ปีนัง ลังกาวี และตั้งเป้าที่จะทำราคาตั๋วนั้นถูกกว่าคู่แข่งอย่าง AirAsia ได้ สายการบินรายดังกล่าวได้ขยายเส้นทางเพิ่มเติมไปยังปลายทางอื่นๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย

ท้ายที่สุดสายการบินอาจต้องเร่งหานักลงทุนรายใหม่เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องให้กับสายการบินรายนี้ให้กลับมาดำเนินธุรกิจได้ภายในเส้นตาย 90 วันนี้

ที่มา – Free Malaysia Today, New Strait Times [1], [2]

]]>
1448094
ยังฉาวต่อ ศาลสูงออสเตรเลียตัดสิน Qantas เลิกจ้างพนักงาน 1,700 รายช่วงโควิด ละเมิดกฎหมายแรงงาน https://positioningmag.com/1444099 Wed, 13 Sep 2023 03:48:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444099 สายการบินเบอร์ใหญ่ของออสเตรเลียอย่าง Qantas ล่าสุดยังมีข่าวฉาวอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ศาลสูงออสเตรเลียตัดสิน Qantas เลิกจ้างพนักงาน 1,700 รายช่วงโควิด ถือว่าละเมิดกฎหมายแรงงาน แม้ว่าบริษัทจะจ้างพนักงานเหล่านี้กลับมาในฐานะพนักงานชั่วคราวก็ตาม

สายการบินชื่อดังของออสเตรเลียอย่าง Qantas ล่าสุดยังมีมรสุมกระหน่ำบริษัทต่อ เมื่อศาลสูงสุดของออสเตรเลียได้ตัดสินว่าบริษัทได้เลิกจ้างพนักงาน 1,700 รายอย่างผิดกฎหมายช่วงโควิด แล้วได้จ้างงานกลับในฐานะพนักงานชั่วคราว (Outsource)

ศาลสูงออสเตรเลียได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า Qantas ได้เลิกจ้างพนักงานที่สนามบิน 10 แห่งจำนวน 1,700 ราย อย่างผิดกฎหมายในเดือนพฤศจิกายนปี 2020 ซึ่งในคำตัดสินพบว่าสายการบินรายนี้ได้ละเมิดกฎหมาย Fair Work Act ของออสเตรเลีย ซึ่งคุ้มครองสิทธิของพนักงาน

สายการบินชื่อดังของออสเตรเลียได้ไล่พนักงานจัดการสัมภาระและพนักงานทำความสะอาดของสนามบิน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวออสเตรเลียพบกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และธุรกิจของ Qantas กำลังประสบปัญหาการขาดทุนเนื่องจากการปิดพรมแดน

ศาลสูงแห่งออสเตรเลียยืนยันคำตัดสินว่าแม้ Qantas จะมีเหตุผลทางธุรกิจที่ดี แต่สำหรับการปลดพนักงานแล้วจ้างกลับในฐานะพนักงานชั่วคราวครั้งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้พนักงานขาดสิทธิในการมีส่วนร่วมในการดำเนินการทางอุตสาหกรรมที่ได้รับการคุ้มครองรวมถึงการเจรจาต่อรอง

แถลงการณ์ดังกล่าวของ Qantas ได้กล่าวว่า บริษัทเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผลกระทบส่วนบุคคลจากการตัดสินใจจ้างบุคคลภายนอกที่มีต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ และบริษัทขออภัยอย่างจริงใจ

ด้านสหภาพแรงงานขนส่งในออสเตรเลียกล่าวว่า การตัดสินคดีดังกล่าวเป็นข้อพิสูจน์ว่าคณะกรรมการของ Qantas ทั้งหมดจะต้องถูกแทนที่ด้วยคณะกรรมการชุดใหม่ซึ่งรวมถึงตัวแทนพนักงานของสายการบินด้วย และมองว่าการต่อสู้ดังกล่าวเหมือนกับ “คนตัวเล็กที่ล้มยักษ์”

ก่อนหน้านี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา Alan Joyce ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของ Qantas มานานถึง 15 ปีได้ประกาศเกษียณตัวเองจากตำแหน่งก่อนเวลา ท่ามกลางข่าวฉาวของสายการบินจากการขายตั๋วเครื่องบินมากถึง 8,000 เที่ยวบินที่ยกเลิกไปแล้ว ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศ

นอกจากนี้ยังมีข่าวอื่นๆ อย่างเช่น การคืนเครดิตสำหรับลูกค้าที่จองเที่ยวบินในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้นสายการบินกลับกำหนดไว้ว่าอายุของเครดิตนั้นจะหมดภายในสิ้นปี 2023 นี้ หรือแม้แต่การล็อบบี้รัฐบาลออสเตรเลียไม่ให้ Qartar Airways เพิ่มเที่ยวบินเข้ามาในประเทศ

ข่าวดังกล่าวถือว่าเป็นภาระอันหนักหน่วงของ CEO สายการบินคนใหม่อย่าง Vanessa Hudson ที่จะต้องฟื้นฟูความเชื่อมั่นของ Qantas กลับมาหลังจากนี้ 

ที่มา – ABC, BBC, The Guardian

]]>
1444099