australia – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 06 May 2024 09:05:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Qantas ยอมจ่ายค่าปรับและเงินชดเชยให้ลูกค้า 87,000 ราย หลังเปิดขายตั๋วเที่ยวบินทิพย์ https://positioningmag.com/1472192 Mon, 06 May 2024 06:54:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472192 แควนตัส (Qantas) สายการบินรายใหญ่ของออสเตรเลีย ได้ยอมที่จะจ่ายค่าปรับรวมถึงเงินชดเชยเยียวยาลูกค้ารวมกันถึง 120 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หลังจากที่สายการบินได้เปิดขายตั๋วเที่ยวบินที่ไม่มีจริง หรือเที่ยวบินที่ถูกยกเลิกไปแล้วในช่วงปี 2021-2022 สร้างผลกระทบต่อผู้บริโภคมากถึง 87,000 ราย

Qantas สายการบินรายใหญ่ของออสเตรเลีย ได้ยอมที่จะจ่ายค่าปรับรวมถึงเงินชดเชยเยียวยาลูกค้ารวมกันถึง 120 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หลังจากที่สายการบินได้เปิดขายตั๋วเที่ยวบินที่ไม่มีจริง หลังจากที่เป็นคดีความมาตั้งแต่ปี 2022

Gina Cass-Gottlieb ประธานคณะกรรมการการแข่งขันและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลียกล่าวในแถลงการณ์ว่า พฤติกรรมของ Qantas ถือเป็นเรื่องร้ายแรงและไม่อาจยอมรับได้ เนื่องจากผู้บริโภคจำนวนมากวางแผนวันหยุด หรือเดินทางด้านธุรกิจ และการเดินทางดังกล่าวต้องยกเลิกลงหลังจากจองเที่ยวบินดังกล่าวเป็นเที่ยวบินที่ไม่มีจริง

เม็ดเงินที่ Qantas จะต้องจ่ายรวมกันนั้นสูงถึง 120 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 2,922 ล้านบาท ประกอบไปด้วยค่าปรับ 100 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ค่าชดเชยที่ต้องจ่ายให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าวอีก 20 ล้านเหรียญออสเตรเลีย

ผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจะได้รับเงินชดเชยสำหรับเที่ยวบินในประเทศ 225 เหรียญออสเตรเลีย และ 445 เหรียญออสเตรเลียสำหรับเที่ยวบินต่างประเทศ

Vanessa Hudson ซึ่งเป็น CEO ของสายการบินได้กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า การจ่ายค่าปรับและเงินชดเชยนั้นเป็นสิ่งที่สายการบินให้ความสำคัญเนื่องจากต้องการฟื้นฟูความเชื่อมั่นกลับมาอีกครั้งในฐานะสายการบินประจำประเทศออสเตรเลีย

สำหรับเที่ยวบินที่ไม่มีจริงของ Qantas ได้มีการวางขายตั๋วบนเว็บไซต์ของสายการบินในช่วงปี 2021 และ 2022 ซึ่งเป็นปีหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบมากถึง 87,000 ราย

กรณีที่เกิดขึ้นยังทำให้กลุ่มเฝ้าระวังผู้บริโภคของออสเตรเลียรวมตัวกันฟ้องร้อง Qantas จากเหตุการณ์ดังกล่าว

หลังเหตุการณ์การฟ้องร้องของกลุ่มเฝ้าระวังผู้บริโภคของออสเตรเลียยังทำให้ CEO ในช่วงเวลาดังกล่าวอย่าง Alan Joyce ยังต้องประกาศลาออกจากตำแหน่งล่วงหน้า 2 เดือน และยังทำให้สายการบินรายใหญ่ได้ปรับปรุงการบริหารภายในชุดใหญ่ เช่น การตั้ง CEO คนใหม่เพื่อฟื้นฟูภาพลักษณ์ขององค์กร เป็นต้น

ในปี 2023 ที่ผ่านมาสายการบินของออสเตรเลียรายนี้มีกำไรมากถึง 1,744 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 42,473 ล้านบาท แต่สายการบินรายนี้มีข้อวิจารณ์จากผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็น การขึ้นราคาค่าตั๋วเครื่องบิน บริการลูกค้าที่ย่ำแย่ หรือแม้แต่กรณีการปลดพนักงาน 1,700 รายอย่างผิดกฎหมาย

ที่มา – BBC, Al Jazeera, ABC

]]>
1472192
Canva แพลตฟอร์มกราฟิกดีไซน์ คู่แข่งสำคัญของ Adobe ล่าสุดมีมูลค่ากิจการเกิน 9 แสนล้านบาทแล้ว หลังระดมทุนรอบล่าสุด https://positioningmag.com/1459656 Mon, 22 Jan 2024 06:01:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1459656 Canva แพลตฟอร์มกราฟิกดีไซน์จากประเทศออสเตรเลีย คู่แข่งสำคัญของ Adobe ล่าสุดมีมูลค่ากิจการเกือบ 9.3 แสนล้านบาทแล้ว หลังจากบริษัทได้ประกาศระดมทุนรอบล่าสุดมากถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐจากกลุ่มอดีตพนักงานและผู้ลงทุนรายเดิม

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Canva แพลตฟอร์มด้านกราฟิกดีไซน์ ซึ่งเป็นคู่แข่งอีกรายของ Adobe นั้น ล่าสุดมีมูลค่ากิจการอยู่ที่ 26,000 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 930,000 ล้านบาท หลังจากมีการระดมทุนรอบล่าสุด

การระดมทุนรอบล่าสุดของ Canva คาดว่าบริษัทจะได้เม็ดเงินไปมากถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย 53,370 ล้านบาท โดยบริษัทได้ขายหุ้นให้กับอดีตพนักงานและกลุ่มนักลงทุนหน้าเดิม และดีลดังกล่าวยังตามหลังมาจาก Adobe ได้ประกาศยกเลิกดีลการซื้อกิจการของ Figma โดยให้เหตุผลถึงหน่วยงานกำกับดูแลที่อาจไม่ให้ดีลดังกล่าวผ่าน เนื่องจากส่งผลต่อการแข่งขันด้านแพลตฟอร์มออกแบบดีไซน์

นอกจากนี้แหล่งข่าวรายดังกล่าวยังรายงานว่ารายได้ของ Canva ในปี 2023 ยังทำได้มากถึง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในช่วงกลางปี 2023 ที่ผ่านมา Canva ได้เปิดสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคยุโรป โดยบริษัทตั้งเป้าที่จะแข่งขันกับบริษัทเทคโนโลยี เช่น Adobe หรือแม้แต่ Microsoft และการตั้งสำนักงานดังกล่าวนั้นเพื่อดึงดูดลูกค้าองค์กรและลูกค้าแบบบุคคลทั่วไปหันมาใช้โปรแกรมดีไซน์ของบริษัทได้มากขึ้น

Canva ถือเป็นแพลตฟอร์มกราฟิกดีไซน์ ที่เหมาะกับการออกแบบงานง่ายๆ ไม่เน้นความยุ่งยาก บริษัทมีลูกค้าระดับองค์กรทั้ง Unilever ยักษ์ใหญ่ค้าปลีก Zoom Starbucks Rolls Royce หรือแม้แต่ WPP บริษัทโฆษณารายใหญ่ระดับโลกที่ใช้งานแพลตฟอร์มของบริษัท

Melanie Perkins นั้นดำรงประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือ CEO ของ Canva และยังถูกจัดอันดับเป็นมหาเศรษฐีนีเบอร์ 2 ของออสเตรเลียในปี 2022 ซึ่งเธอเองยังได้บริจาคทรัพย์สินส่วนใหญ่ให้กับองค์กรการกุศลด้วย

ปัจจุบัน Canva มีผู้ใช้งานมากถึง 170 ล้านคนต่อเดือนจาก 190 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเติบโตจากปี 2022 ทีผ่านมาซึ่งมีผู้ใช้งาน 135 ล้านคน แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของบริษัทที่มีอย่างต่อเนื่อง

]]>
1459656
ยังฉาวต่อ ศาลสูงออสเตรเลียตัดสิน Qantas เลิกจ้างพนักงาน 1,700 รายช่วงโควิด ละเมิดกฎหมายแรงงาน https://positioningmag.com/1444099 Wed, 13 Sep 2023 03:48:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444099 สายการบินเบอร์ใหญ่ของออสเตรเลียอย่าง Qantas ล่าสุดยังมีข่าวฉาวอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ศาลสูงออสเตรเลียตัดสิน Qantas เลิกจ้างพนักงาน 1,700 รายช่วงโควิด ถือว่าละเมิดกฎหมายแรงงาน แม้ว่าบริษัทจะจ้างพนักงานเหล่านี้กลับมาในฐานะพนักงานชั่วคราวก็ตาม

สายการบินชื่อดังของออสเตรเลียอย่าง Qantas ล่าสุดยังมีมรสุมกระหน่ำบริษัทต่อ เมื่อศาลสูงสุดของออสเตรเลียได้ตัดสินว่าบริษัทได้เลิกจ้างพนักงาน 1,700 รายอย่างผิดกฎหมายช่วงโควิด แล้วได้จ้างงานกลับในฐานะพนักงานชั่วคราว (Outsource)

ศาลสูงออสเตรเลียได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า Qantas ได้เลิกจ้างพนักงานที่สนามบิน 10 แห่งจำนวน 1,700 ราย อย่างผิดกฎหมายในเดือนพฤศจิกายนปี 2020 ซึ่งในคำตัดสินพบว่าสายการบินรายนี้ได้ละเมิดกฎหมาย Fair Work Act ของออสเตรเลีย ซึ่งคุ้มครองสิทธิของพนักงาน

สายการบินชื่อดังของออสเตรเลียได้ไล่พนักงานจัดการสัมภาระและพนักงานทำความสะอาดของสนามบิน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวออสเตรเลียพบกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และธุรกิจของ Qantas กำลังประสบปัญหาการขาดทุนเนื่องจากการปิดพรมแดน

ศาลสูงแห่งออสเตรเลียยืนยันคำตัดสินว่าแม้ Qantas จะมีเหตุผลทางธุรกิจที่ดี แต่สำหรับการปลดพนักงานแล้วจ้างกลับในฐานะพนักงานชั่วคราวครั้งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้พนักงานขาดสิทธิในการมีส่วนร่วมในการดำเนินการทางอุตสาหกรรมที่ได้รับการคุ้มครองรวมถึงการเจรจาต่อรอง

แถลงการณ์ดังกล่าวของ Qantas ได้กล่าวว่า บริษัทเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผลกระทบส่วนบุคคลจากการตัดสินใจจ้างบุคคลภายนอกที่มีต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ และบริษัทขออภัยอย่างจริงใจ

ด้านสหภาพแรงงานขนส่งในออสเตรเลียกล่าวว่า การตัดสินคดีดังกล่าวเป็นข้อพิสูจน์ว่าคณะกรรมการของ Qantas ทั้งหมดจะต้องถูกแทนที่ด้วยคณะกรรมการชุดใหม่ซึ่งรวมถึงตัวแทนพนักงานของสายการบินด้วย และมองว่าการต่อสู้ดังกล่าวเหมือนกับ “คนตัวเล็กที่ล้มยักษ์”

ก่อนหน้านี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา Alan Joyce ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของ Qantas มานานถึง 15 ปีได้ประกาศเกษียณตัวเองจากตำแหน่งก่อนเวลา ท่ามกลางข่าวฉาวของสายการบินจากการขายตั๋วเครื่องบินมากถึง 8,000 เที่ยวบินที่ยกเลิกไปแล้ว ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศ

นอกจากนี้ยังมีข่าวอื่นๆ อย่างเช่น การคืนเครดิตสำหรับลูกค้าที่จองเที่ยวบินในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้นสายการบินกลับกำหนดไว้ว่าอายุของเครดิตนั้นจะหมดภายในสิ้นปี 2023 นี้ หรือแม้แต่การล็อบบี้รัฐบาลออสเตรเลียไม่ให้ Qartar Airways เพิ่มเที่ยวบินเข้ามาในประเทศ

ข่าวดังกล่าวถือว่าเป็นภาระอันหนักหน่วงของ CEO สายการบินคนใหม่อย่าง Vanessa Hudson ที่จะต้องฟื้นฟูความเชื่อมั่นของ Qantas กลับมาหลังจากนี้ 

ที่มา – ABC, BBC, The Guardian

]]>
1444099
Kirin ประกาศซื้อกิจการผู้ผลิตอาหารเสริม Blackmores มูลค่า 42,440 ล้านบาท https://positioningmag.com/1428778 Thu, 27 Apr 2023 05:23:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1428778 คิริน (Kirin) ประกาศเข้าซื้อกิจการผู้ผลิตอาหารเสริมและวิตามินแบลคมอร์ส (Blackmores) ในออสเตรเลียด้วยมูลค่าสูงถึง 42,440 ล้านบาท เป็นการส่งสัญญาณว่าบริษัทนั้นต้องการหารายได้จากธุรกิจอื่นๆ นอกจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้น

Kirin ผู้ผลิตเครื่องดื่มจากประเทศญี่ปุ่น ประกาศเข้าซื้อกิจการ Blackmores ผู้ผลิตอาหารเสริมและวิตามินชื่อดังจากออสเตรเลีย ด้วยมูลค่า 1,880 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 42,440 ล้านบาท เพื่อที่จะขยายรายได้จากธุรกิจเครื่องดื่ม

การเข้าซื้อกิจการดังกล่าวนั้น Kirin ยื่นข้อเสนอซื้อหุ้นของ Blackmores ที่ 95 ดอลลาร์ออสเตรเลียต่อหุ้น ซึ่งมากกว่าราคาปิดของหุ้น Blackmores เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (26 เมษายน) มากถึง 23.7%

ขณะที่เม็ดเงินที่ใช้ซื้อกิจการ Blackmores จะมาจากทั้งกระแสเงินสดภายในบริษัท รวมถึงเงินกู้บางส่วน

หลังจากการควบรวมกิจการแล้วเสร็จนั้นผู้ผลิตเครื่องดื่มจากประเทศญี่ปุ่นได้ชี้ว่าจะใช้ช่องทางจัดจำหน่ายของบริษัทในการขยายตลาดให้กับ Blackmores รวมถึงผู้ผลิตอาหารเสริมและวิตามินชื่อดังจากออสเตรเลียสามารถใช้นวัตกรรมของ Kirin ในการพัฒนาสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด

สำหรับผู้ผลิตวิตามินรวมชื่อดังจากออสเตรเลียนั้นก่อตั้งบริษัทในปี 1932 โดย Maurice Blackmore และเริ่มขยายธุรกิจในมาเลเซียและสิงคโปร์ในช่วงปี 1976 และเข้ามาทำธุรกิจในไทยในปี 1989 ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีขายตามประเทศต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกหลายประเทศ และได้รับความนิยมอย่างสูง

คาดว่าในปี 2023 สัดส่วนรายได้ของ Blackmores นั้น 45% ยังอยู่ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อีก 30% อยู่ในเอเชียแปซิฟิก และอีก 25% นั้นอยู่ในประเทศจีน ซึ่งบริษัทพยายามเจาะตลาดมาเป็นเวลาพักใหญ่

ขณะที่ Kirin มีธุรกิจอยู่ในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โดยธุรกิจสำคัญคือเป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลากหลายชนิด ภายใต้บริษัทลูกที่มีชื่อว่า Lion และการซื้อกิจการของ Blackmores นั้นส่งสัญญาณว่าบริษัทพยายามที่จะหารายได้เพิ่มเติมจากประเทศออสเตรเลียจากธุรกิจที่ไม่ใช่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ดีดีลดังกล่าวนี้จะต้องได้รับไฟเขียวทั้งผู้ถือหุ้นของ Blackmores รวมถึงหน่วยงานกำกับดูแลในออสเตรเลีย ซึ่ง Kirin คาดว่าดีลดังกล่าวจะปิดดีลได้สำเร็จในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้

]]>
1428778
L’Oreal ปิดดีลซื้อแบรนด์สกินแคร์ Aesop มูลค่า 85,675 ล้านบาท จากบริษัทในประเทศบราซิล https://positioningmag.com/1426043 Tue, 04 Apr 2023 05:00:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1426043 ลอรีอัล (L’Oreal) ประกาศซื้อแบรนด์สกินแคร์ชื่อดังที่มีต้นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลียอย่าง เอสอป (Aesop) ด้วยมูลค่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 85,675 ล้านบาท จากเนทูร่าแอนด์โค (Natura & Co) บริษัทเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สกินแคร์จากประเทศบราซิล

สื่อต่างประเทศหลายแห่งได้รายงานข่าวว่า L’Oreal ได้เข้าซื้อกิจการ Aesop จากเนทูร่าแอนด์โค (Natura & Co) ซึ่งเป็นบริษัทเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สกินแคร์จากประเทศบราซิล ด้วยมูลค่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากบริษัทได้จ้างที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อจะหาผู้ที่สนใจในการลงทุนแบรนด์สกินแคร์ดังกล่าว

Nicolas Hieronimus ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ L’Oreal กล่าวว่าแบรนด์นี้เป็น “ส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างความเป็นเมือง ความนับถือตนเอง และความหรูหราที่ไม่อาจปฏิเสธได้” นอกจากนี้เขายังกล่าวว่าบริษัทจะช่วย Aesop ในการขยายธุรกิจเข้าประเทศจีนมากขึ้นกว่าเดิม

ก่อนหน้านี้ทาง Natura & Co ได้ประกาศหาผู้ที่สนใจที่จะเข้าซื้อหุ้นบางส่วน หรือกิจการทั้งหมดของ Aesop โดยมีผู้เข้าร่วมสู้ศึกการประมูลไม่ว่าจะเป็น L’Oreal บริษัทลงทุนในบริษัทนอกตลากหลักทรัพย์ (Private Equity) จากอังกฤษอย่าง Permira รวมถึงคู่แข่งจากประเทศจีนอย่าง Primavera Capital ที่สนใจซื้อกิจการหรือลงทุนในแบรนด์สกินแคร์ชื่อดัง

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ Natura & Co ต้องขายกิจการของ Aesop ออกมานั้นเนื่องจากบริษัทต้องนำเงินไปใช้หนี้ รวมถึงบริษัทประสบปัญหาในการขยายตลาดของแบรนด์สกินแคร์ชื่อดังนี้ทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบัน Aesop มีหน้าร้าน 400 สาขาอยู่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย

สำหรับ Aesop แบรนด์จากออสเตรเลียนี้ก่อตั้งในปี 1987 โดย Dennis Paphitis ซึ่งมีอาชีพช่างทำผม ผู้ซึ่งเริ่มผสมน้ำมันหอมระเหยลงในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในร้านทำผมของเขาที่กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ก่อนที่จะเปิดร้านขายผลิตภัณฑ์เป็นสาขาแรกในชั้นใต้ดินของที่จอดรถในปี 2003 ก่อนที่จะได้รับความโด่งดังจน Natura & Co ได้ซื้อกิจการแบรนด์ดังกล่าวในปี 2012 ด้วยมูลค่า 68 ล้านเหรียญออสเตรเลีย

รายได้รวมทั้งหมดของ Aesop ในปี 2022 ที่ผ่านมานั้นอยู่ที่ 537 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 18,392 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.5% ของรายได้รวมของ Natura & Co เท่านั้น ทำให้บริษัทเครื่องสำอางจากบราซิลรายนี้ตัดสินใจในการขายกิจการออกมาในที่สุด

ที่มา – BBC, Reuters, The Guardian

]]>
1426043
สหราชอาณาจักรเข้าร่วม CPTPP แล้ว หลังสมาชิก 11 ประเทศไฟเขียวเป็นเป็นที่เรียบร้อย https://positioningmag.com/1425780 Fri, 31 Mar 2023 06:56:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425780 สหราชอาณาจักรได้เข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ประเทศสมาชิก 11 ประเทศได้ไฟเขียวให้เข้าร่วม หลังใช้เวลาการเจรจามากกว่า 1 ปี อย่างไรก็ดีผู้เชี่ยวชาญมองว่าการเข้า CPTPP อาจปิดโอกาสไม่ให้เข้าสหภาพยุโรปหลังจากนี้

ปัจจุบันสมาชิก 11 รายของ CPTPP นั้นประกอบด้วย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น ชิลี แคนาดา เปรู มาเลเซีย รวมถึงเวียดนามด้วย

สำหรับการที่สหราชอาณาจักรเข้าร่วมใน CPTPP ตามมาหลังจากการออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) โดยการเจรจาเพื่อเข้าร่วมใช้เวลานับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา และได้รับเสียงตอบรับในเชิงบวกจาก ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ฯลฯ ที่จะได้ประเทศอื่นเข้าร่วม และสหราชอาณาจักรถือว่ามีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เช่นกัน

ขณะที่สหราชอาณาจักรถ้าหากเข้าร่วม CPTPP ได้ก็จะช่วยทำให้ปริมาณการค้าระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าจะเพิ่มการส่งออก กระจายความเสี่ยงในการพึ่งพิงการค้าขายกับทวีปยุโรปในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงกระจายความเสี่ยงเรื่อง Supply Chain มายังทวีปเอเชียมากขึ้น

ตัวเลขการค้าระหว่างสหราชอาณาจักรกับหลายประเทศในกลุ่ม CPTPP ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2022 นั้นมีปริมาณการค้ามากถึง 60,500 ล้านปอนด์ ทำให้สหราชอาณาจักรตัดสินใจที่จะเข้าร่วมกลุ่มดังกล่าว

รายงานของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ มองว่า CPTPP ถือเป็นหนึ่งใน FTA สมัยใหม่ที่ข้อตกลงครอบคลุมมากกว่าด้านการค้า การลงทุน โดยข้อตกลงดังกล่าวนี้ยังขยายขอบเขตไปถึงภาคบริการ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

ผลกระทบโดยรวมของข้อตกลงการค้าถูกกำหนดให้อยู่ในระดับปานกลาง สหราชอาณาจักรกล่าวว่าการเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP จะลดภาษีรถยนต์ สุรา และผลิตภัณฑ์นม ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 1,800 ล้านปอนด์ต่อปีในระยะยาว ซึ่งเป็นตัวเลขที่อาจเพิ่มขึ้นเมื่อมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมข้อตกลงนี้มากขึ้น

หลังจากนี้สหราชอาณาจักรจะลงนามในข้อตกลงเข้าร่วมเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการที่การประชุมระดับรัฐมนตรีในช่วงเดือนกรกฎาคม

อย่างไรก็ดี The Guardian ได้รายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าบางคนกล่าวว่าการเข้าร่วม CPTPP จะส่งผลเสียต่อความสามารถของสหราชอาณาจักรในการกลับเข้าร่วมสหภาพยุโรปในภายหลัง โดยให้เหตุผลว่าข้อตกลงการค้ากับกลุ่มประเทศ CPTPP จะทำให้เกิดความขัดแย้งกันได้ในภายหลัง

ที่มา – The Guardian, CNA, Reuters

]]>
1425780
ให้คนใช้ EV มากขึ้น ธนาคารในออสเตรเลียเลิกเตรียมปล่อยสินเชื่อรถยนต์ที่ใช้น้ำมันในปี 2025 https://positioningmag.com/1397101 Mon, 22 Aug 2022 15:28:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1397101 ธนาคารแห่งหนึ่งในออสเตรเลียได้ประกาศเตรียมเลิกปล่อยสินเชื่อรถยนต์ที่ใช้น้ำมันภายในปี 2025 เนื่องจากต้องการผลักดันให้คนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น รวมถึงกังวลในเรื่องสภาวะโลกร้อนที่กำลังสร้างผลกระทบอย่างมากอยู่ในทุกวันนี้

Bank Australia ธนาคารเก่าแก่อีกรายในประเทศออสเตรเลียเตรียมที่จะยกเลิกการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ซื้อรถยนต์ที่ใช้น้ำมันภายในปี 2025 และมองว่านโยบายดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อที่จะทำให้ออสเตรเลียมีรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น รวมถึงทำให้ประชาชนเข้าถึงรถยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้นด้วย

Sasha Courville ผู้บริหารของธนาคารได้กล่าวว่า สิ่งที่ธนาคารทำนั้นได้ส่งสัญญาณไปถึงผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์ใหม่ว่าควรที่จะเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าหลังจากนี้ เพราะเกี่ยวข้องทั้งสภาวะอากาศที่เปลี่ยนไป รวมถึงการประหยัดต้นทุนตลอดการใช้งาน ขณะที่ธนาคารเลือกปี 2025 ที่จะยกเลิกสินเชื่อรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเนื่องจากเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมและเร็วที่สุดที่จะผลักดันเรื่องดังกล่าว

นอกจากนี้ธนาคารรายดังกล่าวยังมองว่าถ้าไม่ยกเลิกสินเชื่อสินเชื่อรถยนต์ที่ใช้น้ำมันจะทำให้เหมือนล็อกลูกค้าให้ใช้เครื่องยนต์สันดาปที่ปล่อยมลพิษที่สูงขึ้น แถมยังมีค่าใช้จ่ายที่แพงขึ้นในระยะยาว

ข้อมูลจากรัฐบาลออสเตรเลียนั้น ปัจจุบันออสเตรเลียมีจำนวนรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษต่ำเป็นสัดส่วนเพียงแค่ 2% เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกมากถึง 5 เท่า นั่นทำให้รัฐบาลออสเตรเลียพยายามที่จะผลักดันให้มีผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากขึ้น

ไม่เพียงเท่านี้ ผลวิจัยจาก Australia Institute ยังชี้ว่าถ้าหาก 6 ปีที่แล้วออสเตรเลียได้นำนโยบายรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในประเทศจะช่วยให้ออสเตรเลียสามารถประหยัดเงินได้ปีละ 5,900 ล้านเหรียญออสเตรเลียจากการใช้พลังงานประเภทเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลออสเตรเลียกำลังออกมาตรการผลักดันให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ดี ธนาคารจะยังปล่อยสินเชื่อสำหรับรถยนต์มือสองที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นน้ำมันอยู่ โดยธนาคารได้กล่าวว่าถ้าหากตลาดรถยนต์มือสองนั้นเต็มไปด้วยรถยนต์ไฟฟ้าแล้วธนาคารก็จะยกเลิกสินเชื่อดังกล่าวทันที

ที่มา – The Guardian, CNBC

]]>
1397101
ไม่ง้อ! ‘ออสเตรเลีย’ ได้ ‘อินเดีย’ ตลาดส่งออกใหม่หลังถูก ‘จีน’ กีดกัน https://positioningmag.com/1335514 Sun, 06 Jun 2021 04:49:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335514 ความตึงเครียดระหว่าง ‘ออสเตรเลีย’ และ ‘จีน’ เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และทวีความรุนแรงขึ้นหลังจากออสเตรเลียสนับสนุนการเรียกร้องให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับการจัดการกับ COVID-19 ของจีน ส่งผลให้จีนได้ดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อจำกัดการนำเข้าสินค้าจากออสเตรเลีย ซึ่งออสเตรเลียก็ไม่ง้อ พร้อมกับมองหาตลาดใหม่เพื่อบรรเทาความเสียหาย

หลังจากที่ออสเตรเลียสนับสนุนการเรียกร้องให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับการระบาดของ COVID-19 ที่มาจากจีนนั้น ทำให้รัฐบาลจีนได้ดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อจำกัดการนำเข้าของออสเตรเลีย ตั้งแต่การเก็บภาษีไปจนถึงการกำหนดข้อห้ามและข้อจำกัดอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสินค้าของออสเตรเลีย เช่น ข้าวบาร์เลย์ ไวน์ เนื้อวัว ฝ้าย และถ่านหิน

โดยรวมแล้ว เป้าหมายในการส่งออกของออสเตรเลียมีมูลค่าประมาณ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 1.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของออสเตรเลีย ตามข้อมูลของสถาบันโลวีในออสเตรเลีย ขณะที่ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วไม่กี่แห่งในโลกที่มีการเกินดุลการค้ากับจีน เนื่องจากจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย

จากปัญหาดังกล่าวนักวิเคราะห์คาดว่า ออสเตรเลียจะได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดนี้อย่างเลวร้าย แต่ดูเหมือนว่ามาตรการของจีนอาจไม่ส่งผลเสียต่อออสเตรเลียได้มากอย่างที่คิดซะแล้ว เพราะออสเตรเลียกำลังหาตลาดใหม่สำหรับสินค้าของประเทศ

“การส่งออกไปยังจีนได้ทรุดตัวลง แต่การค้าที่สูญเสียไปนี้ส่วนใหญ่ดูเหมือนจะพบตลาดอื่นแล้ว” โรแลนด์ ราจาห์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันโลวีกล่าว

A haul truck is being loaded with dirt and ore at a mine site while another haul truck waits in the foreground.

โดยรวมแล้วการส่งออกของออสเตรเลียไปยังจีนมีหลายสินค้าที่ได้รับผลกระทบยกเว้น ถ่านหิน ที่ทรงตัวตลอดเกือบปี 2020 โดยมีมูลค่าที่ 9 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากหาตลาดส่งออกอื่นเข้ามาทดแทนจีนได้แล้ว ซึ่งสินค้าที่ยังสามารถไปได้ดี ได้แก่ ถ่านหิน, ไม้ซุง, อาหารทะเล และข้าวบาร์เลย์

ภายในเดือนมกราคม 2021 การส่งออกถ่านหินของออสเตรเลียไปยังส่วนอื่น ๆ ของโลกเพิ่มขึ้น 9.5 พันล้านดอลลาร์ต่อปีเมื่อเทียบกับก่อนการสั่งห้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกไปยังประเทศอินเดีย ผลที่ได้คือ ความขัดแย้งกับจีนไม่ได้ทำลายเศรษฐกิจของออสเตรเลียอย่างที่หลายคนคิด

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่ยังประสบปัญหาก็คือ เนื้อ และ ไวน์ โดยอุตสาหกรรมไวน์ของออสเตรเลียต้องดิ้นรนเพื่อชดเชยการสูญเสียตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดระดับพรีเมียม โดยเมื่อต้นปี จีนได้กำหนดหน้าที่ต่อต้านการทุ่มตลาดสำหรับไวน์ของออสเตรเลียบางประเภท โดยอ้างว่าออสเตรเลียได้ทุ่มตลาดและอุดหนุนการส่งออกไวน์ของตนแล้ว และส่งผลเสียต่อภาคการผลิตไวน์ในประเทศของจีนด้วย

‘จีน’ ยืดเวลาขึ้นภาษี ‘ไวน์’ จากออสเตรเลีย 218% ไปอีก 5 ปี

ส่วนการส่งออกเนื้อที่จีนระงับการนำเข้าจากซัพพลายเออร์เนื้อของออสเตรเลียบางรายนั้น ไม่ได้เกิดจากความตึงเครียดทางการค้ากับจีนเท่านั้น แต่ยังอาจมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาภัยแล้งครั้งล่าสุดด้วยเช่นกัน ขณะที่การส่งออกทองแดงไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก แม้ว่าราคาทองแดงจะสูงขึ้นถึงหนึ่งในสามเมื่อเทียบกับระดับก่อนเกิดการระบาด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าออสเตรเลียมีปัญหาในการขนส่งทองแดงด้วย

แม้จะชะลอผลกระทบที่เกิดจากจีน แต่ออสเตรเลียไม่นิ่งนอนใจกำลังตามล่าหาตลาดใหม่ ๆ เนื่องจากความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับจีนไม่มีสัญญาณของการลดระดับลง โดย Michael McCormack รองนายกรัฐมนตรีกล่าวเมื่อพฤษภาคมว่าประเทศกำลังมองหาการกระจายตลาดของสินค้าในประเทศ

Source

]]>
1335514
รัฐบาล ‘ออสเตรเลีย’ มีแผนบังคับ Facebook และ Google แบ่งรายได้ 10% ให้สื่อท้องถิ่น https://positioningmag.com/1283782 Tue, 16 Jun 2020 09:08:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283782 แน่นอนว่าการลง ‘โฆษณา’ จำเป็นต้องอยู่ในสื่อที่มีคนเห็นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่า Social Media ที่เป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก จะเป็นตัวเลือกหลักในยุคนี้ โดยเฉพาะช่วง Covid-19 ที่ผ่านมา แน่นอนว่าสื่อดั้งเดิมอย่าง ‘สิ่งพิมพ์’ เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่โดนผลกระทบไปเต็ม ๆ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าประเทศ ‘ออสเตรเลีย’ กำลังหาทางแก้ปัญหานี้อยู่

ออสเตรเลีย มีแผนที่จะบังคับให้ Facebook และ Google แบ่งรายได้จากค่าโฆษณาที่ได้ให้กับสื่อท้องถิ่น โดยจุดเริ่มต้นของแผนนี้ ได้รับแรงผลักดันอย่างมากจาก บริษัทสื่อยักษ์ใหญ่สองแห่งของออสเตรเลียคือ Rupert Murdoch’s News Corp และ Nine Entertainment

โดยทั้ง 2 บริษัทยืนยันว่า วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมข่าวทั่วโลกนั้นส่วนใหญ่เป็นเพราะ Google, Facebook และบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อื่น ๆ ที่มีรายได้จากการโฆษณาออนไลน์โดยไม่ได้ชดเชยบริษัทสื่ออย่างเป็นธรรม สำหรับการโฆษณากับเนื้อหาข่าวที่ไปเผยแพร่บนฟีดของแพลตฟอร์ม

เม็ดเงินโฆษณาที่เคยไหลไปยังหนังสือพิมพ์ก่อนหน้านี้ ได้ถูกลดทอนลง ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ซึ่งเกิดจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 โดยในประเทศออสเตรเลีย News Corp, Nine Entertainment และสื่ออื่น ๆ ได้ประกาศลดจำนวนพนักงาน กองบรรณาธิการ โดยมีห้องข่าวและหนังสือพิมพ์มากกว่า 170 รายถูกปิดตัวลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ACCC ผู้ควบคุมการแข่งขันของออสเตรเลียคาดการณ์ว่า Google และ Facebook มีรายได้ประมาณ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี จากการโฆษณา ขณะที่สำนักพิมพ์ชั้นนำเรียกร้องให้ทั้ง Facebook และ Google จ่ายเงินอย่างน้อย 10% ของรายได้ให้กับองค์กรข่าวท้องถิ่น

อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนที่แล้ว Google ปฏิเสธข้อเรียกร้องของรัฐ โดยอ้างว่ามันสร้างรายได้เพียง 10 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีจากโฆษณาที่เชื่อมโยงข่าว ส่วน Facebook ปฏิเสธข้อเรียกร้องไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาเช่นกัน

Source

]]>
1283782